เอกพีซีโสดาบัน

เอกพีซีโสดาบัน

เป็นโสดาบันที่ได้โสดาปัตติผล และแจ้งอริยสัจ 4

.

เธอเป็นพระเอกพีซีโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
มาเกิดยังภพนี้ภพเดียวเท่านั้นแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

.

๘. โกสัมพิยสูตร

ทิฏฐิที่เป็นนิยยานิกธรรม

[๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้ มีอยู่หรือหนอ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

และเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก
คือปากอยู่ ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว
ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง

ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้แล้ว มิได้มีเลย
จิตเราตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย

นี้ญาณที่ ๑ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว.

.

[๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราเสพเจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน
ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือหนอ?

อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน
ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตน

นี้ญาณที่ ๒ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

.

[๕๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มีอยู่หรือหนอ?

อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด
สมณะหรือพราหมณ์อื่น นอกธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี

นี้ญาณที่ ๓ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

.

[๕๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อมต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่งอาบัตินั้น ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดงเปิดเผย ทำให้ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป

เปรียบเหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย ถูกถ่านไฟ
ด้วยมือหรือด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดา เช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น

นี้ญาณที่ ๔ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

.

[๕๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอย่างไร ของเพื่อนสพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ความเพ่งเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่

เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินด้วยชำเลืองดูลูกด้วยฉะนั้น. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น

นี้ญาณที่ ๕ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

.

[๕๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ทำให้มีประโยชน์ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตฟังธรรม

อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น

นี้ญาณที่ ๖ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

.

[๕๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า

บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม

อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น

นี้ญาณที่ ๗ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

.

[๕๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้ว ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล

.

หมายเหตุ;

เป็นโสดาบันที่ได้โสดาปัตติผล แต่ยังไม่แจ้งอริยสัจ 4

เอกพีซีโสดาบัน

ชาติสุดท้าย

.

“เธอเป็นพระเอกพีซีโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป 
มาเกิดยังภพนี้ภพเดียวเท่านั้นแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”

.

นำมากล่าวย่อ

ได้แก่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล
(อนุโลม โคตร มรรคญาณ ผลญาณ)

การประหาณกิเลสได้ ๕ อย่าง
สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑
สีลัพพตปรามาส ๑
อปายคมนียกามราคะ ๑
อปายคมนียปฏิฆะ ๑

และแจ้งอริยสัจ 4(ธรรมฐิติญาณ และ ญาณในพระนิพพาน)

 

สัตขัตตุปรมะโสดาบัน

สัตขัตตุปรมะโสดาบัน แบบที่ ๑
เกิด 7 ครั้ง มนุษย์และเทวดา

หมายถึง เมื่อถึงตายแล้ว

.

ค. โสตาปันนะ

ภิกษุ ท. ! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็น
ในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้
(ตามที่กล่าวแล้วในข้อบนมีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ;

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส)
ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม)
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต)
มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.

.

สารีบุตร ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส (โสต)
ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
– มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๑.

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัย คือมานะ อนุสัยคืออวิชชา
เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

.

การคบสัตบุรุษ ๑

การฟังธรรม ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้
เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว

บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

.

การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑

๑. ยังศรัทธาให้เกิดและทรงจิตไว้ด้วยสัมมาทิฏฐิ

ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล ๑
ยัญที่บูชาแล้วมีผล ๑
การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ๑
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วมีอยู่ ๑
โลกนี้มี ๑ โลกหน้ามี ๑
มารดามี ๑ บิดามี ๑
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี ๑
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่ ๑

.

๒.

คิดพิจรณาเนืองๆว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

.

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

.

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

.

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

.

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

.

พ. ดูกรวัปปะ เมื่อ ภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

.
ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็นฯ

.

ทำปฏิบัติตามแล้ว แต่ถ้ายังไม่สามารถพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบได้(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

บุคคลเหล่าใด ก็มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

.

หมายเหตุ;

คำว่า “สัตขัตตุปรมะโสดาบัน เกิด 7 ครั้ง มนุษย์และเทวดา”

การเขียนอธิบายติดไว้ก่อน คือ สภาวะทั้งหมดแจ่มแจ้งทุกอย่าง แต่การเขียนตัวหนังสือแบบสะกดมันมาก อย่างน้อยได้รู้วิธีการปฏิบัติ และได้รู้สภาวะกันด้วยนะ

เคลัญญสูตรที่ ๑

เคลัญญสูตรที่ ๑

[๓๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ
รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมเป็นผู้มีปรกติ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล ฯ
.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัว
ในการก้าวไป ในการถอยกลับ

ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึก
ในการแล ในการเหลียว

ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัว
ในการคู้เข้า เหยียดออก

ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัว
ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร

ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัว
ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม

ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัว
ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ

.

[๓๗๗] ถ้าเมื่อภิกษุนั้น มีสติสัมปชัญญะ
ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้

สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า
สุขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราแล

ก็แต่ว่าสุขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้น
ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง

ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
ก็สุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้

เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ
ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่

เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ
ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่
ย่อมละราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาเสียได้ ฯ

.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น

เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น
อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง

ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
ก็ทุกขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้
เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ
ความสละคืน ในกายและในทุกขเวทนาอยู่

เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ
ความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่
ย่อมละปฏิฆานุสัยในกายและในทุกขเวทนาเสียได้ ฯ

.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้
อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น

เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อทุกขมสุขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น
ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง

ก็กายนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
ก็อทุกขมสุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้
เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ
ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่

เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ
ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่
ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาเสียได้ ฯ

.

[๓๘๐] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน

ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน

ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา
ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น

ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา
ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา
ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ

.

[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้
เพราะสิ้นน้ำมันและไส้
ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ

มกราคม 2019
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

คลังเก็บ