สีลัพพตุปาทานและสีลปาริสุทธิ

สีลัพพตุปาทาน
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

สีลัพพตปรามาส
เกิดจากสีลัพพตุปาทาน

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม


สีลปาริสุทธิ
สภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่มั่นคงทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน
ได้แก่ ตัณหา

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

= อธิบาย =

“โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว”

คำว่า โสดาปัตติผล
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ การกระทำของตน(พระนางโคธา)

คำว่า ตรัสรู้
ได้แก่ พระอรหันต์
แจ้งอริยสัจ ๔
อริยศีล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ

คำว่า จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
ได้แก่ หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป

สีลัพพตปรามาส

ตอนที่ยังไม่มีครอบครัว มื้อเย็นแทบจะไม่แตะ ไม่ได้ตั้งใจทำ แต่ทำด้วยความเคยชิน

พอมีครอบครัว วลัยพร กินครบ ๓ มื้อ โดยเฉพาะ มื้อเย็นของคนอื่นๆ อาจะเรียกว่ามื้อเย็น

มื้อเย็นสำหรับ วลัยพร คือ มื้อดึก เพราะ กว่าคุณสามี กลับมาถึง กว่าจะได้กินข้าว โน่น หลัง สามทุ่ม บางครั้งเกือบเที่ยงคืนก็มี

แล้ว วลัยพร ก็ต้องนั่งกินเป็นเพื่อน อร่อยบ้าง ไม่อร่อยบ้าง แล้วแต่ความชอบใจในอาหารชนิดนั้นๆ

เหตุที่ต้องกินเป็นเพื่อน เพราะ เวลาคุณสามีกินข้าวคนเดียว จะกินเหมือนสักแต่ว่ากิน กินได้น้อย

พอไปนั่งกินเป็นเพื่อน เขาจะพูดว่า โน่นก็อร่อย นี่ก็อร่อย ตามด้วยผลไม้ ไม่ก็ขนมหวาน เป็นแบบนี้ทุกวัน

ชีวิตของวลัยพรและครอบครัว อยู่แบบเพียงพอ(พอใจ) คือ ทำตามเหตุปัจจัย   ไม่ได้อยู่แบบ “ติดดี”

การที่ใคร ใช้ชีวิตแบบไหน จะเสพกามหรือไม่เสพกาม ไม่ใช่ตัววัดผลความก้าวหน้าทางจิต

ตัววัดผล ความก้าวหน้าทางจิต คือ การกระทำ หรือ การสร้างเหตุทางกายกรรม วจีกรรม ตามความรู้สึก ยินดี ยินร้าย ที่เกิดขึ้น ส่วนมโนกรรม เว้นไว้ได้ แค่รู้ไปว่า ยังมีอยู่ เพราะยังมีกิเลส

นอกเหนือจาก สมถะ-วิปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔
การกระทำ ที่คิดว่า การทำเช่นนี้ๆ สามารถบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ได้ ล้วนเป็น สีลัพพตปรามาส

ทุกสรรพสิ่ง ล้วนมีเหตุ เป็นแดนเกิด

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ