เยธัมมา+โยนิโส

31 ส.ค. 2012  เหตุที่มาของโยนิโสมนสิการ

เมื่อยังไม่แจ้งใน โยนิโสมนสิการ
สิ่งที่คิดว่าอ่านแล้วรู้ อ่านแล้วเข้าใจ หรือแม้กระทั่ง คิดแล้วรู้ แล้วคิดว่า รู้นั้นๆ เป็นปัญญา  แท้จริง ล้วนเป็นเพียงสัญญา
เนื่องด้วยเหตุปัจจัย ของแต่ละคน แต่ละยุค แต่ละสมัย โยนิโสมนสิการ จึงเป็นเพียง สัญญา
ที่ไม่ใช่สภาวะตามความเป็นจริง ซึ่งมีใช้อยู่ในปัจจุบัน

พระผู้มีพระภาค ทรงวางทางไว้ให้อย่างดีแล้ว ประเสริฐสุดแล้ว
คือ ธรรมทั้งมวล จบลงที่ โยนิโสมนสิการ

 

.

เย ธมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตถาคโต
เตสัญจ โย นิโรโธ จ เอวัง วาที มหาสมโณฯ

เป็นประโยค ยะ ตะ นะครับ แยกได้ดังนี้นะครับ
(เย ธัมมา) อันว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใด (เหตุปปะภะวา) มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน (คือ เกิดจากเหตุนั่นเอง) (จ) ด้วย
(โย นิโรโธ) อันว่า ความดับใด (เตสัง ธรรมานัง)แห่งธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น (จ) ด้วย
(ตถาคโต) อันว่า พระตถาคต (อาห) ตรัส (เหตุง)ซึ่งเหตุ (เตสัง ธรรมานัง)แห่งธรรมทั้งหลาย เหล่านั้นด้วย
(อาห)ตรัส (ตัง นิโรธัง) ซึ่งความดับนั้นด้วย
(มหาสมโณ) อันว่าพระมหาสมณะ (วาที) เป็นผู้มีปกติกล่าว (เอวัง) อย่างนี้

.
ค่อนข้างจะสับสนนะครับ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนบาลี เพราะประโยคนี้มี ยะ ตะ ถึงสองตัวด้วยกัน
ส่วนตัวนี้คือ เหตุง ต้องเป็น เหตุง นะครับ ศัพท์เดิม คือ เหตุ ลงทุติยาวิภัติ จึงต้องผันเป็น เหตุง แปลว่า ซึ่งเหตุครับ
(ขอบคุณผู้แปลและถอดคำบาลี hug0_boss)

.

คาถาในพระไตรปิฏก : มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธ์
เรื่องสาริปุตตโมคคลานวัตถุ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ
เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ

————–

โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๕, พ.ศ. ๒๕๓๓,
พ.ศ. ๒๕๓๖)

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคต ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับของธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้

==========================

อรรถกถาสารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา

สองบทว่า น ตฺยาหํ สกฺโกมิ ตัดบทว่า น เต อหํ สกฺโกมิ แปลว่า สำหรับท่าน เราไม่อาจ.
แต่ว่า พระเถระถึงปฏิสัมภิทาญาณในธรรมวินัยนี้ จะไม่อาจเพื่อแสดงธรรมเพียงเท่านี้หามิได้

.

โดยที่แท้ ท่านคิดว่า เราจักปลูกความเคารพในธรรมแก่ผู้นี้
ได้ถือเอาข้อที่การแสดงธรรมในพุทธวิสัยโดยอาการทั้งปวงไม่ใช่วิสัยของท่าน จึงกล่าวอย่างนั้น.

.

บาทคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา มีความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่าธรรมมีเหตุเป็นแดนเกิด.
พระเถระแสดงทุกขสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.

.

บาทคาถาว่า เตสํเหตุ ํ ตถาคโต อาห มีความว่า สมุทยสัจชื่อว่าเหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น
พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้นด้วย.

.

บาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ มีความว่า พระตถาคตตรัสความดับคือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะแม้ทั้ง ๒ นั้นด้วย
พระเถระแสดงนิโรธสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.

.

ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ในคาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย.
เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรคซึ่งเป็นเหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย.

.

อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ นี้ สัจจะแม้ ๒  เป็นอันพระเถระแสดงแล้วอย่างนี้ว่า
ความดับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้นและอุบายแห่งความดับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้น ฉะนี้แล.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะยังเนื้อความนั้นนั่นแลให้รับกัน จึงกล่าวว่า พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้.
.

บาทคาถาว่า เอเสว ธมฺโม ยทิ ตาวเทว มีความว่า
แม้ถ้าว่า ธรรมที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีไซร้ ธรรมเพียงเท่านี้เท่านั้นคือคุณ มาตรว่าโสดาปัตติผลนี้เท่านั้น

“อันข้าพเจ้าจะพึงบรรลุ ถึงอย่างนั้นธรรมนี้นั่นแล อันข้าพเจ้าค้นหาแล้ว”

.

บาทคาถาว่า ปจฺจพฺยถา ปทมโสกํ มีความว่า
พวกข้าพเจ้าเที่ยวค้นหาทางอันไม่มีความโศกใด ท่านทั้งหลายนั่นแล ย่อมตรัสรู้ทางอันไม่มีความโศกนั้น.

อธิบายว่า ทางนั้น อันท่านทั้งหลายบรรลุแล้ว.
.

กึ่งคาถาว่า อทิฏฺฐํ อพฺภุติตํ พหุเกหิ กปฺปนหุเตหิ มีความว่า ทางอันไม่มีความโศกนี้
ชื่ออันข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นแล้วทีเดียว ล่วงไปนักหนาตั้งหลายนหุตแห่งกัลป์

“สารีบุตรปริพาชกแสดงข้อที่ตนมีความเสื่อมใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุที่ไม่ได้เห็นทางนั้นด้วยประการดังนี้”
.

27 ก.พ. 2013
โยนิโสมนสิการเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เหตุเพราะ เป็นเหตุของการเกิด มรรคมีองค์ ๘
ได้แก่ ดับภพชาติปัจจุบันและอริยมรรค มีองค์ ๘ ได้แก่ ดับภพชาติในวัฏฏสงสาร

.

28 ก.ย. 2013  โยนิโสมนสิการ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้
แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา  วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้  วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ
รู้แต่เพียงว่า สิ้นไป ในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.
.

หมายเหตุ:

ที่พระองค์ ทรงตรัสสอนแบบนี้ เพราะเหตุว่า ตราบใด ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ อวิชชา ยังไม่ถูกทำลายจนหมดสิ้น เหตุของการเกิด ย่อมยังมีอยู่
จึงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น โดยใช้หลัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าใส่อะไรๆ ลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้น

.

เพราะ เมื่อใส่อะไรๆลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นเหตุให้ สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย
เมื่อไม่ใส่อะไรๆ ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สิ่งที่เกิดขึ้น ดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย คือ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา

 

ที่มาของคาถาเยธัมมา

https://walailoo2010.wordpress.com/2016/12/27/%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%b2-%e0%b9%80%e0%b8%a2-%e0%b8%98%e0%b8%a1%e0%b8%ba%e0%b8%a1%e0%b8%b2-%e0%b9%80%e0%b8%ab/

โยนิโสมนสิการ

๘ พค. ๖๑

สภาวะสัญญา เกี่ยวกับลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำเรียกต่างๆ มีตั้งแต่หยาบจนละเอียด

การจดบันทึก จะทำให้เห็นความผิดแผกแตกต่างของสภาวะสัญญาที่มีเกิดขึ้น ครั้งนี้รู้แบบนี้ ครั้งต่อๆไปรู้นั้นๆเปลี่ยนไป จนกระทั่งแจ่มแจ้งในที่สุด ธรรมทั้งหลายทั้งปวง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ควรกำหนดรู้ อย่าหมายมั่นในสิ่งที่คิดว่ารู้

ทั้งหมดนี้เขียนจากประสพการณ์โดยตรง

ปฏิจจสมุปบาท คำเรียกต่างๆในปฏิจจจะ ล้วนมีสภาวะกำกับอยู่ทุกคำเรียก จะรู้ชัดได้ ต้องเกิดจากจิตภาวนา ไม่ใช่จากการศึกษาเพียงอย่างเดียว

แม้กระทั่งเกิดจากจิตภาวนา ก็ยังเชื่อไม่ได้ ต้องอาศัยการศึกษาพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่ใช่ศึกษาจากการตีความเพียงอย่างเดียวจากอาจารย์ต่างๆที่ยังมีอุปธิ(กิเลส)

สมัยก่อน สิ่งที่เคยจดบันบันทึกมาตลอด มีความผิดพลาดมากมาย คือ เพี้ยนไปจากสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำเรียกนั้นๆ ทำให้ความหมายของคำเรียกนั้นๆ เมื่อนำมาใช้ในการสื่อสาร ผิดเพี้ยนไปด้วย ทีนี้จะว่ากันก็ไม่ได้ ใครเชื่อใครแล้วแต่เหตุปัจจัย

เช่น เกี่ยวกับ สังขาร วิญญาณ ในปฏิจจะ ก็เคยรู้แบบหยาบๆ คือ คิดว่าเป็นสังขาร วิญญาณในขันธ์ ๕ ซึ่งมีเกิดขึ้น ขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย ขณะทำกาละ นี่ก็ผ่านไปอีก

ต่อมาเข้าใจว่า เป็นปฏิสนธิวิญญาณ ตามที่เคยอ่านพบเจอมา นี่ก็อีกหนึ่ง เข้าข่ายของวิญญาณ เป็นตัวเวียนว่ายตายเกิด

สิ่งที่รู้ในตอนนั้นก็รู้เฉพาะตน ที่เกิดจากความรู้ชัดในสภาวะจิตดวงสุดท้าย ขณะทำกาละ แต่ยังขาดการศึกษาพระธรรมคำสอน ซึ่งยังไม่มีเหตุปัจจัยให้เจอสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้แบบจำเพาะเจาะจง

การอธิบายความหมาย ตลอดทั้งลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำเรียกนั้นๆ ต้องอธิบายเป็นสเตป ตามลักษะอาการที่มีเกิดขึ้น ไม่ใช่อธิบายแบบสรุปหรือก้าวกระโดด

เมื่อมาเจอพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับวิญญาณ เหตุปัจจัยของการเกิดวิญญาณ เป็นเหตุให้เกิดการทบทวนสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น จะเป็นแบบนี้ตลอด กำหนดรู้มาตลอด แต่ก็เขียนออกมาเรื่อยๆ

คำว่า วิญญาณ ที่มีลักษณะอาการเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

วิญญาณในปฏิจจะ ที่มีผู้นำมาใช้กับปฏิสนธิวิญญาณ จึงทำให้ความหมายของวิญญาณผิดแผกไปกว่าเดิมคือ วิญญาณเป็นตัวเวียนว่ายตายเกิด เช่น

๑) มารดาและบิดาในโลกมนุษย์นี้ร่วมกัน
๒) มารดามีไข่สุก
๓) มีสัตว์เข้าไปเกิด
(มหาตัณหาสังขยสูตร)

ข้อสอง หากปราศจากวิญญาณหยั่งลงในครรภ์มารดา
นามธรรมและรูปธรรมแห่งความเป็นมนุษย์
ย่อมไม่อาจบังเกิดขึ้นได้
(มหานิทานสูตร)

คำว่า วิญญาณหยั่งลงในครรภ์มารดา หากตีความตามตัวหนังสือ อาจเข้าใจว่า น่าจะใช่ปฏิสนธิวิญญาณ ตามที่เคยอ่านมา

แต่เมื่อมาศึกษาพระธรรมคำสอน กลับกลายเป็นคนละเรื่องกัน

ความมีเกิดขึ้นของชีวิต เกิดจาก ธาตุ ๖ ซึ่งมีวิญญาณธาตุประกอบอยู่ด้วย

[๑๒๐] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน

จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ

นี้เรียกว่าวิญญาณธาตุ

อะไรที่ยังไม่รู้ตามความเป็นจริงด้วยตนเอง อย่าไปฟันธงว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่
จะกลายเป็น สิ่งนี้จริง สิ่งอื่นเปล่า แทนที่ฟังแล้ว อ่านแล้ว จะเกิดการคิดพิจรณา
กลับกลายเป็นความยึดมั่นถือมั่นไปทันที

ถ้าคิดคนเดียวก็แล้วไป แต่เมื่อนำไปสนทนากับผู้อื่นที่มีความเห็นต่าง
เมื่อไม่รู้ทันตัณหาที่กำลังมีเกิดขึ้น แทนที่จะเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
กลับกลายเป็นวิวาทะไปทันที ยิ่งต่างฝ่ายต่างถูกอวิชชาปิดกั้นไป ถ้าเป็นในเนต อย่างมากแค่ถกเถียงกัน หรือถึงขั้นด่าทอกันก็มี แต่ในโลกของความจริง อาจมีเกิดขึ้นมากกว่านั้น

คำเรียกเดียวกัน แต่คนละความหมาย

30 เมย. 18

คำเรียกเดียวกัน แต่คนละความหมาย

.

คำว่า กำหนด ที่เราใช้พูดประจำนั้น
หมายถึง โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ให้กำหนดรู้
รู้สึกนึกคิดอะไร หรืออย่างไร ให้กำหนดรู้

ไม่ใช่กำหนดรู้หนอ เห็นหนอฯลฯ อะไรแบบนั้น
พอมาพูดคุยกัน ก็เลยกลายเป็นคุยคนละเรื่อง
พูดยังไง ก็ไม่ลงรอยเดียวกันสักที

ปฏิบัติมาหลายปี ไตรลักษณ์ไม่เคยเห็นแบบแจ่มแจ้งแก่ใจ
แล้วจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดได้อย่างไร

.

สำหรับผู้ปฏิบัติ วันนี้ปฏิบัติ สภาวะที่เกิดขึ้นเป็นแบบไหน จดจำไว้
วันต่อๆไปในแต่ละวัน จะเหมือนเดิม ไม่เหมือนเดิม รายละเอียดแตกต่างกันไป
หากกำหนดรู้ตามความเป็นจริง จะเห็นว่า สภาวะแต่วันมีเปลี่ยนแปลง
บางครั้งดูเหมือนเดิม แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน

เมื่อทำแบบนี้เนืองๆ กำหนดรู้เนืองๆ
ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมประจักษ์แจ้งแก่ใจขึ้นมา
ที่ไตรลักษณ์ไม่ปรากฏให้เห็น เพราะมัวแต่ไปกำหนดผิดที่ ไปรู้หนอ เห็นหนอ
บริกรรมแค่ปาก แต่ไม่ลงไปถึงใจ คือไม่มีการจดจำ แค่มีเกิดขึ้นแล้วปล่อยให้ผ่านไป

.

บางคนยึดติดความรู้ ความเห็นเดิมๆที่เคยมี
พูดอะไรไป ก็วกกลับไปเรื่องเดิมๆ สภาวะเดิมๆ
พูดตามตรง ก็กลัวจะไม่ถูกใจเขา พูดอ้อมๆ เขาก็ไม่เข้าใจ
ความสนิทกันนี่ไม่ดีเลยนะ เพราะทำให้เกิดความเกรงใจกัน
ทำให้ต้องรักษาน้ำใจกัน

ไม่เหมือนกับผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ ที่รู้จักกันเพราะเรื่องปฏิบัติ
ที่เขามาขอคำแนะนำ แล้วเราใยังคงห้คำแนะนำอยู่
อันนั้นพูดตามความเป็นจริงได้ ไม่ต้องเกรงใจกัน

สภาวะที่เกิดจากสมาธิ ไม่ใช่ความวิเศษหรือพิเศษอันใดเลย
มันเป็นเรื่องปกติ เป็นความปกติที่มีเกิดขึ้นจากผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง

จะสันตติขาด ฆนบัญญติแตก ให้รู้ชัดขนาดไหน
จะเกิดความรู้ชัดขึ้นมาในใจ อยู่ในอิริยาบทไหน กระทบรู้ขึ้นมาในใจ
สิ่งเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้
เป็นแค่เรื่องปกติของสภาวะเท่านั้นเอง ตัวปัญญายังไม่เกิดเลย

กำหนดตั้งแต่หยาบ ยืน เดิน นั่ง นอน
จนถึงอิริยาบทย่อย กิน ดื่ม ถ่ายฯลฯ
ทำมานานแค่ไหน ไตรลักษณ์เป็นแค่เงา
ควรพิจรณาได้แล้วว่าเพราะอะไร
มันไม่ใช่เรื่องการทำไม่ต่อเนื่อง
แต่เป็นเพราะติดกับดักคำเรียก “กำหนดรู้หนอ เห็นหนอฯลฯ”
รู้หนอ เห็นหนอ ไม่ได้ผิดอะไรด้วย แต่ตัวผู้ปฏิบัติถือมั่นเอง
ติดกับดักสภาวะเดิมๆ ที่เป็นเรื่องของสภาวะที่เกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สภาวะมาสอนความไม่เที่ยง แต่ไม่รู้ไม่เห็น เพราะอโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ

5-03

ติดกับดักคำเรียก

บางครั้ง สุตตะ
มีผลกระทบต่อสภาวะเช่นกัน

.
หากติดอยู่แค่คำว่า โสดาบัน สกทาคา อนาคามี พระอรหัต์
หรือแม้กระทั่งคำว่า อริยบุคคล และบรรลุธรรม
ย่อมเป็นอุปสรรคต่อสภาวะที่ยังมีอยู่ขึ้นไปอีก

.
เหมือนกับคำว่า เจโตวิมุติ ถึงจะเป็นอริยะ(สัมมาสมาธิ)
หากขาดการศึกษาพระธรรมคำสอน ขาดกัลยาณมิตรแนะนำ
ลูบคลำอยู่กับเรื่องสังโยชน์ ไม่ต่างกับสีลัพพตปรามาส

เป็นเหตุปัจจัยให้ไม่สามารถรู้ชัดถึงแก่นของเจโตวิมุติอันเป็นอริยะ
ได้แก่ เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ที่เป็นแก่นของโจโตวิมุติทั้งหมด

.
เจโตวิมุติ ถึงจะเป็นอริยะ ก็มีข้อแตกต่างเช่นกัน

.
ส่วนปัญญาวิมุติ ที่เป็นอริยะ
เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ธรรมฝ่ายเสื่อม ไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้
เพราะมีปัญญินทรีย์ ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ เป็นตัวแปร

.

ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน
แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในปัจจุบัน โดยการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในปฏิทาวรค

๑.
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
โดยมีโยนิโสมนสิการ เป็นตัวแปร

.
๒.
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
โดยมีโยนิโสมนสิการ เป็นตัวแปร

.
๓.
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป
โดยมีปัญญินทรีย์ เป็นตัวแปร

.
๔.
อุปกิเลส สามารถละได้โดย โยนิโสมนสิการ

 

6-06

ถ้าถามข้าพเจ้าว่า การปฏิบัติแบบไหนดีที่สุด

.
คำตอบคือ ไม่มีรูปแบบไหนดีที่สุด
มีแต่รูปแบบไหน ถูกจริตใคร
รูปแบบนั้น เป็นสัปปายะเหมาะแก่คนนั้น

.
ถ้าถามว่า ปฏิบัติแล้ว ทำให้รู้โดยตามลำดับ ละโดยตามลำดับ
รูปแบบไหนจึงจะสมเหตุสมผล

คำตอบ สำหรับคนทั่วไป แล้วแต่เหตุปัจจัยในแต่ละคน

สำหรับวลัยพร การเจริญสมถะและวิปัสสนา
ที่ประกอบด้วย โยนิโสมนสิการ

ปุจฉา-วิสัชนา สติปัฏฐาน ๔

ปุจฉา ธรรมที่เป็นอุปการะแก่อารมณ์ของวิปัสสนามีอะไรบ้าง

วิสัชนา ถ้าบอกว่า รูปนาม พูดแบบนี้ ผู้ที่ไม่รู้ปริยัติ ปฏิบัติตามได้ยาก มัวมาท่องอะไรคือ รูป อะไรคือ นาม

ถ้าบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเรียกว่า รูป
ใจที่รู้อยู่ เรียกว่า นาม

จะเข้าใจมั๊ยเนี่ย เอาเป็นว่า รู้สึกเยอะไปนะ

.

เข้าสู่การปฏิบัติเลยดีกว่า

ที่เรียกว่า วิปัสสนา ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุปัจจัยให้ วิปัสสนา คือ ไตรลักษณ์ หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.

ปุจฉา สติปัฏฐาน ๔ เป็นสมถะ หรือ วิปัสสนา

วิสัชนา เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

สมถะ ในที่นี้หมายถึง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทั้งที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ และมีรูปนามเป็นอารมณ์
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
เกิดความรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม
ได้อย่างต่อเนื่อง

วิปัสสนา หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

.

ข้อปฏิบัติสมถะ(สัมมสมาธิ)และวิปัสสนา(ไตรลักษณ์)

๑. เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

การกำหนดรู้ในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

.

๒. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

การกำหนดรู้ในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทานภพ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

๓. การเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป
คือ ทำทั้งข้อ ๑ และข้อ ๒

.

หาอ่านและศึกษาได้ในปฏิทาวรรค ที่ ๒
ทุกขาปฏิปทา
สุขาปฏิปทา
ปฏิบัติอดทน
ปฏิบัติข่มใจ
ปฏิบัติระงับ

.

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

สมถะเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ดูตย.สมัยพุทธกาล
ที่บำเพ็ญสมถะแบบฤาษี

.

สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ จะมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนา อันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

.

วิปัสสนาเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีหรอก
มีหลักฐานยืนยัน อยู่ในพระไตรปิฎก

เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง)

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

.

สรุป การทำความเพียร ไม่ต้องไปท่องจำ ไม่ต้องไปรู้อะไรมาก
เอาเวลาท่องจำ มาปฏิบัติดีกว่า ยังเห็นผลกว่า

ไม่คิดยกตัว แต่เป็นตย.ให้เห็น
ดูวลัยพรสิ เริ่มต้นทำความเพียร ไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว
พระไตรปิฎกไม่เคยอ่าน คำเรียกอะไรๆก็ไม่รู้จัก
ขนาดมีคนถามว่า ดำริคืออะไร ยังตอบไไปว่า คำพูด

แล้วดูปัจจุบันสิ สิ่งที่ขีดเขียนนำมาจากไหน
แจ้งออกมาจากใจทั้งนั้น ที่เรียกว่า สัญญา
เก็บสะสมมาเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นปัญญา
สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้

.

หากยังชอบศึกษา ชอบท่องจำ
อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนนะ

โยนิโสมนสิการ
เป็นหัวใจของการทำความเพียร

ทำลายอุปทานขันธ์ ๕
วิชชาเกิด

 

ความรู้ชัดในสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ
สมถะ ที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

.

.

ความรู้ชัดในสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ล้วนเกิดจาก
โยนิโสมนสิการ

ย่อมแจ้งใน จิตดวงสุดท้าย ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย

ย่อมแจ้งใน อริยสัจ 4
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

2.ย่อมแจ้งใน จิตดวงสุดท้าย
ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย

การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มีเกิดขึ้น

==================

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส

และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจสี่

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง
เพราะไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง

เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ
ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง
เพราะไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?

สี่อย่าง คือ อริยสัจ คือ ทุกข์
อริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
อริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอดซึ่ง
อริยสัจสี่ประการเหล่านี้แล

เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ
ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้

อวิชชา

พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้
ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร ?

และด้วยเหตุเท่าไร
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา

แน่ะภิกษุ ! ความไม่รู้อันใด

เป็นความไม่รู้ในทุกข์
เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์
และเป็นความไม่รู้ ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

นี้เราเรียกว่า อวิชชา

และบุคคลชื่อว่าถึงแล้วซึ่งอวิชชา
ก็เพราะเหตุไม่รู้ความจริงมีประมาณเท่านี้แล

พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า วิชชา วิชชา ดังนี้
ก็วิชชานั้นเป็นอย่างไร ?

และด้วยเหตุเท่าไร
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา

แน่ะภิกษุ ! ความรู้อันใด

เป็นความรู้ในทุกข์
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความรู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์
และเป็นความรู้ ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

นี้เราเรียกว่า วิชชา

และบุคคลชื่อว่าถึงแล้วซึ่งวิชชา
ก็เพราะเหตุรู้ความจริงมีประมาณเท่านี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้
พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด

==================

เหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติ
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส
และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติ
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
วิธีการปฏิบัติ ได้แก่

สมถะ
(สัมมาสมาธิ)

วิปัสสนา
(ไตรลักษณ์)

โยนิโสมนสิการ
ได้แก่ ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)

รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น
(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ/ความรู้สึกนึกคิด)

ให้กำหนดรู้ในความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

กระทำไว้ในใจ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
ได้แก่ ไม่สร้างเหตุออกไปทางกาย วาจา
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

กล่าวคือ
การกำหนดรู้ในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ,อรูปภพ)
(รูปภพ/รูปฌาน,อรูปภพ/อรูปฌาน)

เป็นความรู้สึกนึกคิด ที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย
ซึ่งมีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร

วิถีแห่งการรู้แจ้ง

วิถีแห่งการรู้แจ้ง

แจ้งใน นิพพาน
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ย่อมแจ้งใน ปฏิจจสมุปบาท
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ทั้ง 12 คำเรียก
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ย่อมแจ้งใน อริยสัจ 4
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

1.ย่อมแจ้งใน ทุกข์,สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
เกิดจากอะไร เป็นเหตุปัจจัยให้มีเกิดขึ้น

2.ย่อมแจ้งใน จิตดวงสุดท้าย
ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มีเกิดขึ้น

หากไม่แจ้งในนิพพาน
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ย่อมไม่แจ้งในปฏิจจสมุปบาท ทั้ง12 อาการ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

เพราะเหตุปัจจัยนี้
อริยสัจ4 จึงเป็นหัวใจของข้อปฏิบัติ
และเป็นผลของการการปฏิบัติ

ธรรมที่มีอุปการะคุณมากในการปฏิบัติ

ทั้งทางโลก
(การดำเนินชีวิต)

และทางธรรม
(การทำความเพียรเพื่อละเหตุแห่งทุกข์)

ได้แก่

สมถะ
(สัมมาสมาธิ)

วิปัสสนา
(ไตรลัษณ์)

โยนิโสมนสิการ
(การกำหนดรู้ใน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ/ความรู้สึกนึกคิด ที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย)

โยนิโสมนสิการ

[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร
คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ

 
หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะฯลฯ
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ

 
[๕๘] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ
นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง

 

บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
[๕๙] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้เนกขัมมะแล้ว
ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้
แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท
เป็นอันได้ความไม่พยาบาทแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา
เป็นอันได้อาโลกสัญญาแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นอันได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้การกำหนดธรรม
เป็นอันได้การกำหนดธรรมแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ
เป็นอันได้ญาณแล้ว

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์
เป็นอันได้ความปราโมทย์แล้ว

ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว
และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ

โยนิโสมนสิการ

การทำความเพียร
ไม่ว่าจะเจอสภาวะใดๆก็ตาม

ให้กำหนดรู้ (โยนิโสมนสิการ) รู้ว่ามีเกิดขึ้น
อย่าน้อมใจเข้าสู่สิ่งที่คิดว่าเป็น คิดว่าใช่
คือ คิดว่ามี คิดว่าอะไรๆ ในสมมุติ
(โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์)

หากน้อมเข้าสู่ความมี ความเป็น
ย่อมติดกับดักหลุมพรางกิเลส(ตัณหา)
แล้วยิ่งนำสิ่งที่คิดว่ามี คิดว่าเป็น คิดว่าใช่
(โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์)
ไปสร้างเหตุนอกตัว(กายกรรม วจีกรรม)
กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น

เมื่อติดกับดักหลุมพรางกิเลส
เพราะไม่กำหนดรู้(อโยนิโสมนสิการ)

ทุกข์,สุขที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
จึงมีเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

ผัสสะ = สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต

เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ = ความรู้สึกนึกคิด)

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่(ความไม่รู้ชัดในผัสสะ)
จึงหลงกระทำตามตัณหา กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

ปล่อยให้ก้าวล่วงไปออก
(ชาติ/กายกรรม วจีกรรม)

ตกอยู่ในวังวนของโลกธรรม 8
(ชรา มรณะ/ความเสื่อม)

ทุกข์ สุข จึงมีเกิดขึ้นในชีวิตเพราะเหตุนี้
(โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส)

 

เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ อุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

.

และเป็นเหตุปัจจัยให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ

ขณะใกล้ตาย(จิตดวงสุดท้าย)

เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

อวิชชา ความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔

สังขาร
(การปรุงแต่ง/สิ่งที่เคยกระทำไว้ทางกาย วาจา ใจ)

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

วิญญาณ ๖/สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ย่อมไปเกิดตามนั้นทันที(31 ภพภูมิ)

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ