ความซับซ้อนของสมถะ

เราถนัดเรื่องสมถะ
เพราะรู้ชัดในเรื่องวิโมกข์ ๘ ประการด้วยตนเอง

ทว่าในการอธิบายรายละเอียด กลับขัดกัน
คือ คิดว่าตัวเอง สามารถอธิบายเรื่องวิปัสสนา ปัญญาวิมุติ
อธิบายได้ชัดเจนแจ่มแจ้งกว่าในส่วนของสมถะ

หรือเพราะว่า รายละเอียดในส่วนของปัญญา
มีข้อเจาะจงตัวที่ทำให้มีเกิดขึ้นโดยเฉพาะ ไม่มีความซับซ้อน

ปัญญาวิมุติ มีเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีเสื่อม
เหมือนบุคคลที่ได้มรรค ผล นิพพาน
เป็นอริยบุคคลในแต่ละประเภท
ไม่มีการเสื่อมกลับมาเป็นปถุชนอีก

แต่อริยปัญญา ได้แก่ วิปัสสนาญาณ สามารถเสื่อมได้
กล่าวคือ กำลังสมาธิที่อยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
สัมมาสมาธิไม่มี วิปัสนาญาณย่อมไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้

แต่ความเสื่อมนี้ จะมีเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ไม่มีการเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ เสื่อมแบบซ้ำซากไม่มี

.

ผิดกับสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ
มีรายละเอียด ความซับซ้อนอยู่มาก
ถึงแม้จะมีเหตุปัจจัยให้สมาธินทรีย์เสื่อมได้ก็ตาม
แต่จะมีเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่มีครั้งต่อๆไป

ที่บอกว่ามีความซับซ้อนอยู่มาก
เพราะเกี่ยวข้องกับอุภโตภาค และกายสักขี

.

ยังอยู่ในส่วนของการอธิบายเรื่อง พระอรหันต์
ที่เป็นสอุปาทเสนิพพานธาตุ(ปัจจุบัน)

ยิ่งมาเจอพระสูตรนี้

“เราย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด
ภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม
อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย

ย่อมประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรม
อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย

ย่อมประพฤติต่อเราด้วยมโนกรรม
อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย

ย่อมนำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก
อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย

เราเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ
พึงกล่าวผู้ใดว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ

บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวเรานั่นเทียวว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะฯ”

.

ทำให้เกิดการสังเกตุพระธรรมคำสอนนี้
“อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง
มีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ”

ภพตรงนี้ หมายถึง กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ให้ดูตรง “มีในปัจจุบันนี้และเพราะสิ้นตัณหา”

เป็นเรื่องของ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

“ส่วนนิพพานธาตุ เป็นที่ดับสนิท
แห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส”

หมายถึง สภาวะจิตดวงสุดท้าย ขณะทำกาละ
หากยังไม่ทำกาละ เป็นเรื่องของ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

ดูตรงนี้ “เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลาย
โดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า”

“อันมีในเบื้องหน้า” หมายถึง สภาวะจิตดวงสุดท้าย ขณะทำกาละ
เป็นเรื่องของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ
เมื่ออวิชชาถูกทำลาย ที่ตั้งแห่งวิญญาณไม่มี
ภพทั้งหลายย่อมดับสนิท

ปฏิบัติ แต่ไม่รู้ปริยัติ

ปฏิบัติ แต่ไม่รู้ปริยัติ
ซึ่งเคยบอกไว้แล้วว่า ไม่ต้องกังวล
รู้แค่ไหน(จากการปฏิบัติ)
ให้รู้แค่นั้น ไม่ต้องไปขวนขวายนอกตัว
เพราะเมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม
จะมีเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้ชัดในพระธรรมคำสอนนั้นๆเอง

หรือหากสนใจศึกษา มีขวนขวายหานอกตัว
หาพระธรรมคำสอนในข้อที่คิดว่าจะสามารถทำให้กระจ่างแจ้งแก่ตนได้
ก็ขวนขวายได้ แต่อย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่คิดว่าน่าจะใช่
ตามความรู้ความเห็นของตนที่มีเกิดขึ้น(สัญญา)
แม้คิดว่า ใช่ ก็ให้กำหนดรู้ว่า วันนี้รู้แบบนี้

ไม่มีการนำความรู้ความเห็นนั้นๆ
น้อมใจเชื่อเข้าสู่ความมี ความเป็นอริยบุคคลต่างๆ
ตามที่เคยอ่านหรือเคยฟังมา

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

อุปกิเลส จะได้ไม่มีเกิดขึ้น

.

มีเหตุปัจจัยให้เจอพระธรรมคำสอนนี้
เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ที่ข้าพเจ้าบอกมาตลอดนั้น
ในพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ ก็มีปรากฏอยู่

.

๖. วิมุตติสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ

ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร

ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร

แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ

ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา

เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา

.
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป

หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม
อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้
บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ

 

๑๑ มิย.๑๘

จุดเริ่มต้นของการทำความเพียรของแต่ละคน
แตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่

ไม่ว่าใครจะปฏิบัติแบบไหน รูปแบบใด ใช้ได้หมด
อย่าไปวิตกกังวลว่า ที่ทำอยู่นั้นใช้ได้หรือเปล่า

บางคนชอบสวดมนต์อย่างเดียว ก็สวดไป
บางคนชอบนั่งอย่างเดียว ก็นั่งไป
บางคนชอบเดินเป็นหลัก ก็เดินไป
บางคนชอบนำธรรมะมาคิดพิจรณา ก็คิดไป

ไม่ว่าจะทำแบบไหน ใช้ได้หมด
.
ทีนี้จะให้คำแนะนำกันอย่างไร
นั่นก็ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติ มีจุดประสงค์อะไร

สัมมาทิฏฐิ

สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า

ทานที่ให้แล้ว มีผล

ยัญที่บูชาแล้ว มีผล

สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล

ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่

โลกนี้มี โลกหน้ามี

มารดามี บิดามี

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่

นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

.

ปริยัติ มรรคมีองค์ ๘

ปฏิบัติ สมถะและวิปัสสนา

ปฏิเวธ โยนิโสมนสิการ

.

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

อริยสัจ ๔ และผัสสะ

กล่าวโดยย่อ
จิต เจตสิก รูป นิพพาน

.

เขียนเหมือนจะสั้น
แต่การอธิบายรายละเอียดทั้งหมด ไม่สั้นเลย
ยาวมาก เกี่ยวกับเรื่อง

กรรม

เหตุเกิดของกรรม

กรรมเก่า

กรรมใหม่

เวมัตตตาแห่งกรรม

วิบากแห่งกรรม

กัมมนิโรธ

กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา

 

 

สัมมาทิฏฐิ

.
กัจจานโคตตสูตร
ว่าด้วยพระกัจจานโคตร

{๔๒} [๑๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ … เขตกรุงสาวัตถี

ครั้งนั้น ท่านพระกัจจานโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า
สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ นี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
{๔๓} กัจจานะ โดยมากโลกนี้อาศัยที่สุด ๒ อย่าง
คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑

ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นของโลก
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ความไม่มีในโลก ก็ไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก
ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส
แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบาย
และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย
อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้

ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น
ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ

พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ

.

{๔๔} ที่สุดอย่างที่ ๑ นี้ คือ
สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ที่สุดอย่างที่ ๒ นี้ คือ สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่

ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ อย่างนี้
ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

กัจจานโคตตสูตรที่ ๕ จบ

.

.

ปริยัติ อริยมรรคมีองค์ ๘

ปฏิบัติ สมถะและวิปัสสนา

ปฏิเวธ เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

.

อวิชชา สังขาร วิญญาณ

อริยสัจ ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท

.
กล่าวโดยย่อ
จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ภพ-มโนกรรม

12 กุมภาพันธ์

คำสนทนาระหว่าง ก.กับ ข.

ข.
ตอนที่จิตขาดสติ สัมปัญชัญญะ
เมื่อเกิดความคิดจิตมันหมอกมัวเหมือนอยู่ในความฝัน
เกิดเวทนาความรู้สึก เกิดตัญหาชอบไม่ชอบ
และปรงแต่งต่อซ้ำไปซ้ำมา นั้นมันก็เท่ากับเกิดภพ นับไม่ถ้วน
เกิดมโนกรรมนับไม่ถ้วน

จนกระทั่งเรามีสติเกิดขึ้นความมืดการปรุงแต่งเวทนาเหล่านั้นดับ
กลับมารู้อยู่กับกาย จึงหยุดลง

และเกิดเหตุการเหล่านี้เป็นวงจรซ้ำๆ
เข้าใจแบบนี้ถูกไหม

.

ก.
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

๑ ความคิด ที่เกิดจากความชอบใจ ไม่ชอบใจ คือ มโนกรรม
ส่วนตัณหา เป็นตัวผลักดัน ให้เกิดการกระทำ

.
ยกตย. เห็นกระเป่า แล้วเกิดความชอบใจ อยากได้กระเป๋า
นี่ ๑ ความคิด แต่ยังไม่เป็นมโนกรรม

ขณะเกิดความอยากได้ เริ่มคำนวณเงินในกระเป๋า แต่มีเงินไม่พอซื้อ
ก็คิดต่อว่า ถ้าขโมยได้ จะขโมย นี่ ๑ มโนกรรม
คือ อยากได้จนถึงขั้นคิดจะขโมย

.
แล้วปรุงแต่งต่อ ถ้าได้มาจะเอาไปทำอะไร
ตรงนี้ยังอยู่ในการปรุงแต่ง
คือ ขาดสติ เลื่อนลอย

มีแค่นี้
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ คือ ในแต่ละขณะ

ดูปัจจุบันเป็นหลัก หากยังมีปรุงแต่งต่อ ยังอยู่ในมโนกรรมตัวเดิม
แค่เลื่อนลอย ไม่มีสติ พอมีสติ หยุดคิดไปเอง

มโนกรรมตรงนั้น จบแค่นั้น

เมื่อมีอะไรมากระทบอีก ทำให้เกิดความคิดที่เพิ่งดับไปเมื่อกี้
กลับมาคิดอีก นี่มโนกรรมตัวใหม่

.

ข.
สมมุติเจอผัสสะปุ๊บความคิดเกิดปั๊บ
สมมุติคิดชั่ว มันรู้แล้วหยุดเลย
อ่อ บังคับไม่ได้มันชั่ว ของมันเอง หนึ่งขณะจิต
ถึงมันชั่วของมันเองก็จัดเป็น1มโนกรรมไหม

ก.
ประมาณนั้นแหละ
ดูเป็นขณะ ไม่นำมารวมกัน

เหมือนการกระทำทางกาย ทำไปแล้วคือทำไปแล้ว
ทำใหม่ คือทำใหม่ ไม่นำมารวมกัน

การฟุ้งปรุงแต่ง ตามความชอบใจ ไม่ชอบใจที่เกิดขึ้น
เกิดจากขาดสติ คือ ไม่อยู่กับปัจจุบัน

.
วิธีแก้ชั่วคราว ให้กำหนดรู้ อยากคิด ปล่อยให้คิด
อย่าไปพยายามหยุดคิด มันจะทุกข์

จะดี จะชั่ว มันก็แค่ความคิด
เป็นเรื่องของกิเลสที่มีอยู่

แต่หิริ โอตัปปะ จะเป็นตัวช่วยกดข่มไว้
คือ เกิดความละอายแก่ใจ

สมาธิก็เป็นตัวช่วยส่วนหนึ่ง
ถ้าไม่มีสมาธิ จะรู้สึกทุกข์ จนไม่มีที่จะอยู่
ทุกครั้งที่เกิดเวทนา เหมือนมีหนามแหลมคมทิ่มเนื้อ

.

ข.
ใช่ ที่เจออยู่ต้องทำมากขึ้นเพื่อใช้สมาธิช่วย
จะเหมือนไส้เดือนคลุกขี้เถ้า

ก.
จะเหมือนไส้เดือนคลุกขี้เถ้า ตรงนี้แค่เลื่อนลอย ยังไม่รู้ชัด
ถ้ารู้ชัดเหมือนโดนเข็มจิ้มเนื้อ ความคมชัดของกิเลส เป็นแบบนี้

เมื่อรู้สึกเหมือนคลุกขี้เถ้า ก็ปรุงได้เรื่อยๆ ทำให้หม่นหมอง
ดีที่ยังรู้ ดีกว่าไม่รู้

.

ข.
ใช่
ฝึกต่อ ตราบที่ยังมีลมหายใจ

การคิดพิจรณา

เมื่อก่อน เคยอ่านเจอเรื่องการคิดพิจรณา
ก็คิดว่า ตัวเองนั้น คิดพิจรณาอะไรกับใครเขาไม่เป็นหรอก

มาตอนนี้ รู้ชัดด้วยตนเองว่า
คำว่า คิดพิจรณาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

การคิดพิจรณาของคนอื่นๆ
ย่อมหยิบเรื่องมาคิดพิจรณาตามเหตุปัจจัยของตน

สำหรับตัวเองนั้น
การคิดพิจรณา คือ การขีดเขียนสัญญาต่างๆออกมา

ระหว่างที่ขีดเขียน เป็นการทบทวนสภาวะต่างๆไปในตัว
เพราะต้องอาศัยเทียบเคียงกับลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นที่พบเจอมา
ส่วนจะใช่ตามความเป็นจริงหรือไม่ ไม่มีการให้ค่า
แค่เขียนไปตามที่รู้เห็นเองตามความเป็นจริง

อุภโตภาค

11 กพ. 61

จากพระสูตรหนึ่ง ไปขยายใจความอีกพระสูตรหนึ่ง
เป็นการอธิบายรายละเอียดในความหมายของคำเรียกนั้นๆ

.
เกี่ยวกับพระอรหันต์ ในสอุปาทิเสนิพพานธาตุ
ที่มีเรื่องเวทนาและอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง

.
เคยเขียนไว้ว่า หมายถึง อุภโตภาควิมุติ
คำว่าอินทรีย์ ๕ หมายถึง อินทรีย์ ๕ พละ ๕

ถ้าเจโตวิมุติ ไม่มีเหตุปัจจัยให้เสื่อม
ก็ยังคงสภาพของอุภโตภาควิมุติ
กล่าวคือ อินทรีย์ ๕ ไม่มีการบุบสลาย

.

ไปอ่านเอจพระสูตรหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกอินทรีย์ ๕
ได้แก่ จักขุอินทรีย์ โสตินทรีย์ฯลฯ

เป็นเรื่องของ อุปทานขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นกับปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ฯลฯ

สำหรับอริยสาวก
จักขุอินทรีย์ ฯลฯ จะใช้เรียกว่า อินทรีย์ ๖

นี่เป็นความต่างของคำเรียก”อินทรีย์ ๕”
ในพระอริยบุคคลกับปถุชน

คำว่า พระอริยบุคคล แค่เขียนตามคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกไว้
ที่ใช้ในการสื่อสารไปในทางเดียวกัน
คือ ผู้ที่มีวิชชาเกิดขึ้นแล้ว
ได้แก่ รู้แจ้งในอริยสัจ ๔

.
สภาวะสัญญาต่างๆที่มีเกิดขึ้น ใช่ว่าจะอยากเขียน
แต่ต้องเขียนออกมา ไม่งั้นมันจคิดไม่หยุด
ครุ่นคิดแต่สัญญา คำเรียกนั้นๆ ทำให้เกิดความรำคาญใจ
จึงต้องเขียนออกมาให้หมด จนกว่าจะหยุดคิด
แต่มีเหตุดีอยู่อย่างหนึ่ง ไม่ชอบสอนใคร

เคยเจอมาแล้ว เคยคิดอยากจะสอน
ทีนี้เห็นตัวมานะเกิด เหมือนดั่งงูพิษ ส่งเสียงขู่ฟ่อๆๆๆ
เมื่อเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด ความอยากสอน จึงหายไปหมดสิ้น

 

ความหมายของ “อินทรีย์ ๕”
สำหรับผู้ที่ยังมีอุปทานในขันธ์ ๕

.

๕. สมนุปัสสนาสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕

[๙๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

เมื่อพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นตนเป็นหลายวิธี
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

.

ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ

ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

.
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมตามเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมตามเห็นรูปในตน ๑
ย่อมตามเห็นตนในรูป ๑
ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน …
ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน …
ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน …
ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมตามเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมตามเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณ ๑.

การตามเห็นด้วยประการดังนี้แล
เป็นอันผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น

.
เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น

ในกาลนั้น อินทรีย์ ๕ คือ
จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ย่อมหยั่งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่
ธรรมทั้งหลายมีอยู่
อวิชชาธาตุมีอยู่.

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์
ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า
เราเป็นดังนี้บ้าง
นี้เป็นเราดังนี้บ้าง
เราจักเป็นดังนี้บ้าง
จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง
จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาดังนี้บ้าง
จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้
ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่
ในเพราะการตามเห็นนั้นทีเดียว

.
เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา
อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า

เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง
เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

จบ สูตร ๕.

.

.

สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็น

[๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อพิจารณา ก็พิจารณาเห็นตนเป็นไปต่างๆ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด พิจารณาเห็น
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร

.
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

๑. พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป

๒. พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ

๓. พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ

๔. พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

๕. พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา
หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ

การพิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดว่าผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’
เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ ย่อมเกิดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ

๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑- ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒- มีอยู่

เมื่อปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ถูกความเสวยอารมณ์
ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว
เขาก็มีความ ยึดมั่นถือมั่นว่า

‘เราเป็น’บ้าง
‘เราเป็นนี้’บ้าง
‘เราจักเป็น’บ้าง
‘เราจักไม่เป็น’บ้าง
‘เราจักมีรูป’บ้าง
‘เราจักไม่มีรูป’บ้าง
‘เราจักมีสัญญา’บ้าง
‘เราจักไม่มี สัญญา’บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’บ้าง

ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ
ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล

เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓- จึงเกิดขึ้น

เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า

‘เราเป็น’ บ้าง ‘
เราเป็นนี้’ บ้าง ‘
เราจักเป็น’ บ้าง
‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง
‘เราจัก มีรูป’ บ้าง
‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”

สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ

.
หมายเหตุ :

๑. มนะ ใจ
ธรรม ธรรมารมณ์

๒. อวิชชาธาตุ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔

.

เกิดจากผัสสะอันสัมปยุตด้วยอวิชชา.
เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงฯลฯ

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่ อุปทานขันธ์ ๕ ย่อมมีเกิดขึ้น
เมื่อความยึกดมั่นถอมั่นในขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

.
๓. วิชชาเกิด การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ (ปัญญินทรีย์)

 

สภาวะสัญญาที่มีเกิดขึ้นต่อเนื่อง
การขีดเขียนสภาวะสัญญาต่างๆมาตลอด

เปรียบเหมือนจิ๊กซอตัวอักษรของคำเรียกนั้นๆ
ที่วางอยู่ กระจัดกระจาย ไม่เป็นคำเรียกแต่อย่างใด
เป็นเพียงแต่ตัวอักษร ก. ข. ค. ง. ฯลฯ เท่านั้นเอง

บางครั้งจับอักษรนี้มาต่อ
สักระยะหนึ่ง ไม่ใช่ละ ต้องรื้อใหม่

มาวันนี้ การต่อจิ๊กซอของตัวอักษร
เกี่ยวกับคำเรียกต่างๆได้ทั้งหมดจนครบถ้วนกระบวนความ
มีความคิดว่า ควรเริ่มเขียนจากคำเรียกใดก่อน

.

หัวใจพระธรรมคำสอน ไม่ใช่เรื่องมรรค ผล
แต่เป็นการทำความเพียรที่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสนิท
เพื่อสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว

.

ซึ่งมีอยู่ในพระสูตรที่ทรงตรัสกับพระสารีบุตร
เเกี่ยวกับพระอริยบุคคลประเภทต่างๆ
พระองค์จะทรงตรัสต่อเมื่อถูกถาม
ปกติแล้วพระองค์จะไม่ตรัส
เพราะเมื่อสาวกฟังแล้ว อาจทำให้เกิดความประมาท
คือเกิดความยินดีพอใจในความมี ความเป็นอริยบุคคล

.

๒. สอุปาทิเสสสูตร

ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล

สารีบุตร ธรรมบรรยายนี้
ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาก่อน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะประสงค์ว่า ชนทั้งหลายฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว
อย่านำมาซึ่งความประมาท

อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวธรรมบรรยายนี้โดยมุ่งถึงปัญหา”

.
บทว่า น ตาวายํ สาริปุตฺต ธมฺมปิรยาโย ปฏิภาสิ ความว่า ก็ในข้อนี้ได้ความหมายดังนี้ว่า ธรรมดาความไม่แจ่มแจ้ง ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เราจักไม่กล่าวธรรมปริยายนี้ก่อน.
บทว่า มายิมํ ธมฺมปริยายํ สุตฺวา ปมาทํ อาหรึสุ ความว่า บุคคลทั้งหลาย เมื่อไม่ทำความเพียรเพื่ออรหัตในเบื้องบน อย่าถึงความประมาทด้วยเข้าใจว่า นัยว่าเราทั้งหลาย พ้นแล้วจากอบาย ๔ ดังนี้.
บทว่า ปญฺหาธิปฺปาเยน ภาสิโต ท่านแสดงว่า เรากล่าวว่า เรากล่าวตามปัญหาที่ท่านถามแล้วดังนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเหตุนั้นเท่านั้นให้เกิด เพื่อบรรเทาฉันทราคะในภพทั้งหลายของบุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล้ว จึงได้ตรัสพระสูตรนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูถแม้มีประมาณน้อย ย่อมมีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวซึ่งภพแม้มีประมาณน้อยโดยที่สุด แม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือฉันนั้นเหมือนกัน.

 

ยกตัวอย่าง เกี่ยวกับมรรคมีองค์ ๘
สมัยก่อน ตอนที่อ่านเจอพระสูตรเหล่านี้
เข้าใจว่า เป็นเรื่องของ ผัสสะ เพียงอย่างเดียว

เพิ่งจะรู้ชัดไม่กี่วันนี้เองว่า
เป็นเรื่องของ มรรคมีองค์ ๘
ข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสนิท
เพื่อสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว

.

เหตุปัจจัยที่ทำให้รู้ เกิดจากข้อสอบนักธรรมตรีในเนต
เป็นคำถามเรื่อง ปัญญาอันเห็นชอบ

ถ้ากล่าวโดยสภาวะ ปัญญาความเห็นชอบ หมายถึง ไตรลักษณ์
วิโมกข์ ๓ เกิดก่อน อริยสัจ ๔ เกิดที่หลัง

คำอธิบายออกจะดูวนๆ เพราะจะย้อนกลับไปมา
คือ วิโมกข์ ๓ รู้จากการปฏิบัติ
ส่วนอริยสัจ ๔ สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดที่หลัง

เมื่อรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
ย่อมมีความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

ต่อมาได้เขียนอธิบายเรื่องสอุปาทิเสนิพพานธาตุ
มีเหตุให้เจอพระสูตรที่อธิบายความแตกต่างเรื่องอินทรีย์ ๕
ระหว่างพระอริยะกับปถุชน

ยิ่งเขียนออกมา สัญญาต่างๆก็ยิ่งเกิด
ท้ายสุดจึงได้รู้ว่า สัญญาต่างๆ ที่เขีนมาต่อเนื่องนั้น
เป็นเรื่องของคำเรียกใด

สรุปแล้ว มรรคมีองค์ ๘ ในภาคปริยัติ
การอธิบายลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
โดยปราศจากตัวตนหรือความเห็นของตนเข้าแทรกแซง

.

พระสูตรทั้งหมดนี้ เป็นข้อปฏิบัติ
ที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘
จนแจ่มแจ้งนิพพานตามความเป็นจริงด้วยตนเอง
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

.

เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร

 

[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะทั้งหลาย แคว้นสักกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุทุกรูปควรทำแท้

แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุทุกรูปไม่ควรทำเลย

ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะความไม่ประมาทภิกษุเหล่านั้นกระทำแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นไม่ควรประมาท

 

ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่
เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
รูปเหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่

เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้ ฯลฯ

รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
รสเหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่

เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ

เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้ ฯลฯ

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
ธรรมารมณ์นั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่

เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ

เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้

.

.

ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวารสำรวมด้วยดี
กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.

.

.

๖. มหาสัจจกสูตร

[๓๙๖] สัจจกนิครนถ์พอนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทำโอกาสเพื่อแก้ปัญหาแก่ข้าพเจ้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใด ก็ถามเถิด.

ส. พระโคดมแนะนำพวกสาวกอย่างไร
และคำสั่งสอนของพระโคดมมีส่วนอย่างไรที่เป็นไปมากในพวกสาวก?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายว่า

รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง
สัญญาไม่เที่ยง
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
วิญญาณไม่เที่ยง

รูปไม่ใช่ตน
เวทนาไม่ใช่ตน
สัญญาไม่ใช่ตน
สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน
วิญญาณไม่ใช่ตน
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย.

.

[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า
ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม
จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท
ข้ามความสงสัยเสียได้
ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้
ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ
สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท
ข้ามความสงสัยเสียได้
ปราศจากความแคลงใจ อันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน.

.

[๔๐๒] ส. ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเท่าไร
ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ …
เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ
ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ
ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ
ความเห็นอันยอดเยี่ยม ๑
ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ๑
ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม ๑.

เมื่อมีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตว่า

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตรัสรู้

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงฝึกพระองค์แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสงบได้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามพ้นแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อข้ามพ้น

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิทแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิท.

 

13 กพ. 61

ยังคงอยู่ในเรื่องของสอุปาทเสนิพพานธาตุ

.

วันนี้มีสัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นว่า

เจโตวิมุติ มี ๒ ชนิด

โลกียะ ๑ โลกุตระ ๑

.

ขณะที่มีสัญญาเกิดขึ้น ก็มีภาพในอดีตผุดขึ้นมา
ภาพของการทำความเพียร จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในแต่ละขณะ
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น มีกำลังมาก ก้าวเข้าสู่ความดับ
จนกระทั่งมีเหตุปัจจัยให้เกิดสภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อม
กำลังสมาธิที่เคยมีมาก เสื่อมหายไปหมดสิ้น
เป็นเรื่องของ กรรมและการให้ผลของกรรม
คือ กรรมมาตัดรอน

แต่ความที่ศรัทธาหยั่งลงแล้ว มีกำลังมาก
แทนที่จะเกิดความท้อถอยในการทำความเพียร
เมื่อรู้ชัดด้วยตนเองว่า การทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
มีเกิดขึ้นได้อย่างไร จึงทำให้เกิดความเพียรกล้า
จนกระทั่งกำลังสมาธิคืนกลับมา
ถึงจะไม่มีกำลังมากเหมือนเมื่อก่อน
แต่ยังดีกว่าปล่อยให้จิตเสื่อมจากสมาธิ

ด้วยเหตุปัจจัยจากการที่สมาธิเสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้เกิดความรู้ชัดว่า ทำอย่างไร จึงจะทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้
การทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

.

เมื่อจิตเกิดการทบทวนสภาวะเดิมๆที่เคยมีเกิดขึ้น

เจโตวิมุติ หมายถึง สมถะ
ได้แก่ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ที่มีเกิดขึ้นในรูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ

.
สมถะ
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

มี ๒ ชนิด

๑. สมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิ

๒. สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ

.

สมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิ
หากสภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อม มีเกิดขึ้น
สามารถมีเกิดขึ้นได้หลายครั้ง

.
สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ
หากสภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อม มีเกิดขึ้น
จะมีเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวเท่านั้น และไม่มีวันเสื่อมอีกต่อไป
เพราะรู้ชัดด้วยตนเองว่า สภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อมนั้น
เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย จึงสามารถควบคุมเหตุปัจจัยตรงนี้ได้

.

เจโตวิมุติได้แก่ สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ เป็นอริยะ กล่าวคือ
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสนิท
เพื่อสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว

เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เสื่อมหายไปหมดสิ้น
อริยปัญญา ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ย่อมเสื่อมไปได้เช่นกัน
เพราะวิปัสสนาญาณ มีเกิดขึ้นได้เฉพาะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
แต่ก็ฟื้นคืนกลับมาได้เช่นกัน

มีความเด่นเฉพาะของสมถะที่เป็นสมัมาสมาธิ
นอกจากความรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้ว
ยังมีอีกอย่างหนึ่งคือ

เจโตวิมุติ ที่เป็นโลกุตระ ถึงจะมีเหตุปัจจัยให้จิตเสื่อม สมาธิเสื่อม
เป็นเหตุปัจจัยให้อริยปัญญาเสื่อมลงไปด้วยก็ตาม
แต่ญาณไม่เสื่อม

ญาณในที่นี้หมายถึง ปัญญาวิมุติ
ปัญญาวิมุติ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีวันเสื่อม

นี่คือ ข้อดีของ อุภโตภาควิมุติ
แม้มีเหตุปัจจัยที่ทำให้อินทรีย์ ๕ ได้แก่ สมาธินทรีย์เสื่อม
แต่อินทรีย์ที่เหลือ ไม่เสื่อมตามไปด้วย

เมื่อทำความเพียรต่อเนื่อง
สมาธินทรีย์ ย่อมฟื้นคืนกลับมา
อาจจะเป็นอุภโตภาควิมุติอีกครั้งได้ และไม่มีวันเสื่อมอีกต่อไป
เพราะชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖

หรือสมาธิที่ฟื้นคืนกลับมาใหม่ ไม่ถึงวิโมกข์ ๘
เพียงเพียงสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ
ที่มีเกิดขึ้นในรูปฌาน อรูปฌาน
ก็สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้เช่นกัน
เพียงแต่ไม่ได้เป็นอุภโตภาควิมุติเท่านั้นเอง

.

ถ้าไม่มีพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้
ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถอธิบายแจกแจงรายละเอียดแบบนี้ได้
ถึงแม้จะรู้ชัดด้วยตนเองแล้วก็ตาม

เพราะข้าพเจ้า ไม่ได้เป็นผู้มีปัญญามาก
มีปัญญาแค่พอประมาณ

ขโมยธรรม(สุสิมะ)

14 มกราคา 2561

อ่านเจอเรื่อง ขโมยธรรม
ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

“สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน
ญาณในพระนิพพานเกิดภายหลัง ฯ

.

ทำให้เกิดการทบทวนสภาวะ และสิ่งที่เคยเขียนไว้
ไล่ทบทวนแต่ละสภาวะที่มีเกิดขึ้น

เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความรู้ชัดสิ่งที่เรียกว่า กิเลส
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
เมื่อไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต
ทุกๆการกระทบ จะรู้ชัดมาก
เปรียบเหมือนหนามทิ่มแทงลงในเนื้อ

ด้วยเหตุปัจจัยนี้ ทำให้รู้ชัดใน ปัจจเวกขณะญาณ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

ปฏิจจสมุปบาทในส่วนที่เหลือ รู้แบบคลุมเครือ ไม่ชัดเจน

.

ต่อมา มีสัญญาเกิดขึ้น
นิพพานคือ ความดับภพ ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า ภพ หมายถึงสิ่งใด
กำหนดรู้มาเรื่อยๆ สัญญามีเกิดขึ้นเนืองๆ เขียนออกมาเรื่อยๆ

จนกระทั่งรู้ชัดว่า ภพ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
เป็นเรื่องของ มโนกรรม

ต่อมา เริ่มแยกแยะได้ว่า คำว่า ดับภพ หมายถึงสิ่งใด
หมายถึง การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
และการดับเหตุปัจจัยภพชาติของการเกิดเวียนว่ายในสังสารวัฏ

จนกระทั่งมาแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับ

ผัสสะกับอริยสัจ ๔(ตัณหา)

ปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ ๔(อวิชชา)

.

สรุปจากสภาวะทั้งหมด ที่รู้ชัดด้วยตนเอง
ตรงกับคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ คือ
ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน(ความรู้ชัดในผัสสะ/ปัจจเวกขณญาณ)
ญาณในนิพพานเกิดทีหลัง(นิพพานคือความดับภพ)
เป็นเหตุปัจจัยให้ รู้ชัดในปฏิจจสมุปบาทส่วนที่เหลือ
ค่อยๆชัดมากขึ้น จนกระทั่ง รู้ชัดแบบแจ่มแจ้งในที่สุด

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต คือ กามภพ
เป็นเรื่องของ มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น)

มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน คือ รูปภพ
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอรูปฌาน คือ อรูปภพ

ชาติ การเกิด การได้ครบแห่งอายตนะ
หมายถึง กายกรรม วจีกรรม
กล่าวคือ กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น

ชรา มรณะ ความเสื่อม
หมายถึง โลกธรรม ๘

โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปยาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

.

ทำไมอริยสัจ ๔ จึงเป็นหัวใจพระธรรมคำสอน
เพราะ อินทรีย์ ๕ ประการ ได้แก่
สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์

จะบรรลุเร็ว(รู้เร็ว) หรือบรรลุช้า(รู้ช้า)
ตัวแปรคือ ปัญญินทรีย์ ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

มรรคมีองค์ ๘

ข้อปฏิบัติ มรรคมีองค์ ๘

ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสนิท
เพื่อสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว

 

 

ยกตัวอย่าง เกี่ยวกับมรรคมีองค์ ๘
สมัยก่อน ตอนที่อ่านเจอพระสูตรเหล่านี้
เข้าใจว่า เป็นเรื่องของ ผัสสะ เพียงอย่างเดียว

เพิ่งจะรู้ชัดไม่กี่วันนี้เองว่า
เป็นเรื่องของ มรรคมีองค์ ๘
ข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสนิท
เพื่อสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว

.

เหตุปัจจัยที่ทำให้รู้ เกิดจากข้อสอบนักธรรมตรีในเนต
เป็นคำถามเรื่อง ปัญญาอันเห็นชอบ

ถ้ากล่าวโดยสภาวะ ปัญญาความเห็นชอบ หมายถึง ไตรลักษณ์
วิโมกข์ ๓ เกิดก่อน อริยสัจ ๔ เกิดที่หลัง

คำอธิบายออกจะดูวนๆ เพราะจะย้อนกลับไปมา
คือ วิโมกข์ ๓ รู้จากการปฏิบัติ
ส่วนอริยสัจ ๔ สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดที่หลัง

เมื่อรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
ย่อมมีความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

ต่อมาได้เขียนอธิบายเรื่องสอุปาทิเสนิพพานธาตุ
มีเหตุให้เจอพระสูตรที่อธิบายความแตกต่างเรื่องอินทรีย์ ๕
ระหว่างพระอริยะกับปถุชน

ยิ่งเขียนออกมา สัญญาต่างๆก็ยิ่งเกิด
ท้ายสุดจึงได้รู้ว่า สัญญาต่างๆ ที่เขีนมาต่อเนื่องนั้น
เป็นเรื่องของคำเรียกใด

สรุปแล้ว มรรคมีองค์ ๘ ในภาคปริยัติ
การอธิบายลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
โดยปราศจากตัวตนหรือความเห็นของตนเข้าแทรกแซง

.

พระสูตรทั้งหมดนี้ เป็นข้อปฏิบัติ
ที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘
จนแจ่มแจ้งนิพพานตามความเป็นจริงด้วยตนเอง
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

.

เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร

 

[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะทั้งหลาย แคว้นสักกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุทุกรูปควรทำแท้

แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุทุกรูปไม่ควรทำเลย

ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะความไม่ประมาทภิกษุเหล่านั้นกระทำแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นไม่ควรประมาท

 

ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่
เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
รูปเหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่

เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้ ฯลฯ

รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
รสเหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่

เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ

เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้ ฯลฯ

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
ธรรมารมณ์นั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่

เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ

เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้

.

.

ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวารสำรวมด้วยดี
กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.

.

.

๖. มหาสัจจกสูตร

[๓๙๖] สัจจกนิครนถ์พอนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทำโอกาสเพื่อแก้ปัญหาแก่ข้าพเจ้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใด ก็ถามเถิด.

ส. พระโคดมแนะนำพวกสาวกอย่างไร
และคำสั่งสอนของพระโคดมมีส่วนอย่างไรที่เป็นไปมากในพวกสาวก?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายว่า

รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง
สัญญาไม่เที่ยง
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
วิญญาณไม่เที่ยง

รูปไม่ใช่ตน
เวทนาไม่ใช่ตน
สัญญาไม่ใช่ตน
สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน
วิญญาณไม่ใช่ตน
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย.

.

[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า
ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม
จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท
ข้ามความสงสัยเสียได้
ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้
ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ
สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท
ข้ามความสงสัยเสียได้
ปราศจากความแคลงใจ อันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน.

.

[๔๐๒] ส. ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเท่าไร
ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ …
เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ
ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ
ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ
ความเห็นอันยอดเยี่ยม ๑
ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ๑
ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม ๑.

เมื่อมีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตว่า

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตรัสรู้

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงฝึกพระองค์แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสงบได้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามพ้นแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อข้ามพ้น

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิทแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิท.

บันทึก

การจดบันทึกที่มีเขียนเกี่ยวกับการทำความเพียร
และสัญญาต่างๆที่มีเกิดขึ้น

เริ่มตั้งแต่ปีพศ. ๒๕๔๗
จนถึงปีนี้ ๒๕๖๑

สัญญา ความรู้ต่างๆ ที่เกิดจากความรู้ชัดในผัสสะ
ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต และขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จนกระทั่งกลายเป็นปัญญา มรรคปฏิปทา
ข้อปฏิบัติของการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

.

สิ่งที่รู้เห็น และที่จดบันทึกมาตลอด
เป็นสิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร
และขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ภาษาหรือคำพูดที่ใช้ในสมัยก่อน
จึงเป็นการใช้คำเฉพาะตน
ยังยากที่จะอธิบายราละเอียดทั้งหมดได้

หลังจากที่มีสภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
มีเหตุปัจจัยให้ได้มาศึกษาพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ภาษาหรือคำพูดที่ใช้
เริ่มอธิบายรายละเอียดของคำเรียกนั้นๆ
ตามลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น

คือ สามารถนำไปประพฤติหรือปฏิบัติตามได้
ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่ได้ศึกษาและไม่รู้ปริยัติก็ตาม

ฉะนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติ ที่ไม่รู้ปริยัติ
อ่านพระธรรมคำสอน อาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม
ไม่จำเป็นต้องกังวล

เพียงตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง
เมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม
สัญญา ความรู้ต่างๆ ปัญญา จะลงรอยเดียวกัน
กับพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้
ที่เนื่องด้วยการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

กล่าวคือ

นิพพาน ภพดับ(การดับเหตุปัจจัยของการเกิด)

ปฏิจจสมุปบาท(อวิชชา สังขาร วิญญาณ)
และอริยสัจ ๔(อวิชชา)

ผัสสะ (ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)
และอริยสัจ ๔ (ตัณหา)

กล่าวโดยย่อ จิต เจตสิก รูป(อุปทานขันธ์ ๕) นิพพาน

และข้อปฏิบัติ มรรคมีองค์ ๘
ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา

วิธีการปฏิบัติ ปฏิทาวรรค ๒

จิตสว่าง

บุคลลที่ทำความเพียรต่อเนื่อง
ในอิริยาบท ๔ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ
“จิตสว่างอยู่”

เมื่อเป็นดังนี้
คำว่า หลับ จะไม่มีเกิดขึ้นอีกต่อไป

จึงต้องอาศัย ถีนมิทธะ
เป็นตัวช่วยให้จิตตกภวังค์
เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน

.

ถีนมิทธะ
สำหรับคนทั่วไป คือ อาการง่วง หาวนอน
แต่สำหรับบุคคลที่คำว่า หลับ ที่ไม่มีเกิดขึ้นอีกต่อไป

อาการถีนมิทธะ ที่มีเกิดขึ้น
ทำให้จิตตกภวังค์ เกิดอาการวูบ หรือวาบ ขึ้นมา
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ สว่าง
รูปปรากฏบ้าง

ยิ่งสว่างมากเท่าไหร่
รูปที่มีอยู่ ย่อมหายไปหมดสิ้น เหลือแต่จิตที่รู้อยู่
แล้วดับลงไปในที่สุด

.

เมื่อรู้สึกตัว
บางครั้ง จิตเกิดก่อนที่จะรู้กาย
บางครั้ง รู้ชัดทั้งตัวที่กำลังนอนอยู่

.

.

“กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
อบรมจิตให้สว่างอยู่”

.

อิทธิบาท ๔

Previous Older Entries

กุมภาพันธ์ 2018
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728  

คลังเก็บ