กามสัญโญชน์และภวสังโยชน์

กามสัญโญชน์และภวสังโยชน์

คำว่า กามสัญโญชน์หรือกามสังโยชน์
ได้แก่ กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

คำว่า ภวสังโยชน์
ได้แก่ ภวโยคะ ภวตัณหา ภวราคะ ภวาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
มีบางคนตีความว่าเป็นหมายถึงสังโยชน์ ๑๐ ประการ
ซึ่งตัวสภาวะภวสังโยชน์นั้น เป็นสภาวะของภวตัณหา
ไม่ใช่สังโยชน์ ๑๐ ประการ

การที่ละสังโยชน์ ๑๐ ประการ ต้องหลุดพ้นจากวิภวตัณหาให้ได้ก่อน
ภวสังโยชน์ มีเกิดขึ้นในวิชชา ๒ เท่านั้น

หลุดพ้นจากกามสังโยชน์ ดับกามภพ
หลุดพ้นจากภวสังโยชน์ ดับรูปภพ อรูปภพ
แต่ยังหลุดพ้นจากวิภวตัณหาไม่ได้
เมื่อยังทำไมไม่ได้ อวิชชายังมีอยู่

ที่ดูเพี้ยนๆกันเพราะเหตุนี้แหละ
นำไปปะปนกัน
ภวสังโยชน์น่ะเป็นเรื่องของภวตัณหา
ภวโยค ภวตัณหา ภวราคะ ภวาสวะ

ส่วนคำว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ กับ ภวสังโยชน์
เขียนไม่เหมือนกันและลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

๒. ปัญจัตตยสูตร (๑๐๒)
” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ
ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้แม้ใดในญาณนั้นแจ่มแจ้ง
แม้ส่วนของความรู้นั้น
บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ
เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นของหยาบและความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่
ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น
เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้นคือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ”

.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อุทธัมภาคิยสูตร
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯ

.
๒. อลคัททูปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ
ผลแห่งการละกิเลส
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้
เป็นของตื้น เปิดเผยปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป.

.
มูลปริยายวรรค
๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว

อธิบาย

คำว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว
ได้แก่ กามาสวะ ภวสวะ ทิฏฐิสวะ อวิชชาสวะ สิ้นแล้ว

คำว่า ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
ได้แก่ วิชชา ๒ อรหัตมรรค ดับเฉพาะตน
วิชชา ๓ อรหัตผล เพื่อตน เพื่อคนอื่น ช่วยคนอื่นได้ พระสัทธรรมไม่เสื่อม

“มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว”
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อ
ตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ
ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

คำว่า หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
หลุดพ้นจากตัณหา ๓
ตัณหาดับ อุปาทาน(๔)ดับ ภพ(๓)ดับ ชาติดับ

กามฉันทะกับกามราคะ

ตอนนี้พอจะเขียนได้คร่าวๆ

“กามฉันทะ” กับ “กามราคะ” นี่แตกต่างกันอย่างไร

  • กามฉันทะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของเวทนา
  • กามราคะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของตัณหา

กามุปาทาน
กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นสภาวะตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ผัสสะ เวทนา ตัณหา
ผัสสะ โลกสันนิวาส
เวทนา กามฉันทะ
ตัณหา
สามารถละให้บรรเทาได้จากการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
และการเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ ทุกขลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละสักกายทิฏฐิตามจริง(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
แจ้งอริยสัจ ๔
ละสักกายทิฏฐิ ละสีลลัพพตปรามาส ละวิจิกิจฉา
ได้แก่
กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑
สัทธาวิมุตบุคคล ๑
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)


แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากโลกสันนิวาส มาเป็นกามคุณ ๕
เวทนา ละกามฉันทะ มาเป็นราคะ
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

สรทสูตร
[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหกในเมื่อสรทสมัยยังอยู่ห่างไกล
อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า
ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว
ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่อริยสาวก
อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด
พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑
อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ


วิชชา ๒
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ อนัตตลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตานุทิฏฐิตามจริง(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากกามคุณ ๕ มาเป็นโลกธรรม ๘
เวทนา จากราคะ มาเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ละราคะ โทสะ โมหะ เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกวิปัตติสูตร
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไร
เป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ … ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้
แม้ความเสื่อมลาภ …แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ … แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้
เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ
ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา
ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์
เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้
ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด
ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ …ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
แม้ความเสื่อมลาภ … แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ …
แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ
ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา
ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์
ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้
ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศกเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกธรรมสูตร
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑
ทุกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดาธรรมอันน่าปรารถนา
ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ


วิชชา ๓
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ อนิจจลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตวาทุปาทาน(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
อรหัตมรรค อรหัตผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากโลกธรรม ๘
มาเป็นสภาวะของขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในขันธ์ ๕
เวทนา จากสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
มาเป็นชอบใจ พอใจ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ มีเกิดขึ้นพอประมาณในใจ
ไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด ๑ ความสงสัย ๑
มานะ ๑ ความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์คือความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

อวิชชา

อวิชชา
ตั้งแต่เขียนมาเรื่อยๆ เข้าใจมากขึ้นคำเรียกว่าอวิชชา
ไม่จำเป็นต้องเขียนว่าอวิชชาเกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
เพราะอวิชชา แจ้งอริยสัจ ๔
แต่การที่เขียนรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้น
จะมีประโยชน์ต่อบุคคลที่ศึกษาและปฏิบัติอยู่
เวลาเข้าถึงธรรมมรรคผลตามลำดับ เมื่อธรรมผุดขึ้นมา “นิพพานดับภพ”
เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔ จะยังไม่ให้ความสำคัญในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ไม่ให้ความสำคัญในสิ่งที่ผุดขึ้นมา “นิพพาน”

เพราะคำว่า “นิพพาน ดับภพ” ที่ผุดขึ้นมานั้น
มีเกิดขึ้นเฉพาะบุคคลที่ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น

จะเป็นโสดาปัตติผล อนาคามิผล อรหัตผล ก็ตาม
จะมีคำว่านิพพานดับภพ ผุดขึ้นมาเหมือนๆกัน
หลังการเข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริง
หากมีกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
คำว่านิพพาน ดับภพ จะไม่มีเกิดขึ้น

คำว่า นิพพาน
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นการดับตัณหา ดับแล้วไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีก
เป็นสภาวะเดียวกับคำว่า นิโรธในอริยสัจ ๔

วิชชา ๓
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็มีญาณว่าหลุดพ้น
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

คำว่าแจ้งอริยสัจ ๔
สภาวะที่มีเกิดขึ้น ความรู้ความเห็นจะแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
สุดท้ายจะรู้เหมือนกัน

จะเป็นอุภโตภาควิมุติ(อรูปฌาน)หรือปัญญาวิมุติ(รูปฌาน) ก็ตาม
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
แจ้งอุปาทาน ๔ ตามจริง
พูดถึงเฉพาะผู้ที่เข้าถึงธรรมวิชชา ๓ ตามจริง

หากเป็นเพียงวิชชา ๒ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สิ่งที่รู้เห็นจะเป็นการดับเฉพาะตน

ยังไม่สามารถแจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ยิ่งอุปาทาน ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง การจะรู้เห็นได้ย่อมทำได้ยาก
เกิดจากยังไม่แทงตลอดในพยัญชนะ อรรถะ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ยังเป็นผู้ที่มีตัณหาและทิฏฐิ คือยังละวิภวตัณหายังไม่ได้
ละได้เพียงกามตัณหา ภวตัณหา คือ ละกามภพ รูปภพ อรูปภพ
จะให้พูดอธิบายเต็มปาก ทำไม่ได้ เพราะยังไม่เข้าถึงสภาวะนั้นๆ

กีฎาคิริสูตร
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่
และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่
แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

อธิบาย

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
แจ้งอุปาทาน ๔ ตามจริง

ด้วยเหตุนี้การเข้าถึงธรรมวิชชา ๓ สำคัญมาก
หากวิชชา ๓ ยังไม่มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมไม่มีเกิดขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้คำว่า ปัจจเวกขณญาณ ใช้ได้เฉพาะพระเสขะ
จะนำมาใช้กับวิมุตติญาณทัสสนะ ไม่ได้

พระอเสขะจะไม่ใช้คำว่าปัจจเวกขณญาณ
จะใช้คำว่าวิมุตติญาณทัสสนะ

เหมือนคำว่าคำว่า สัมมาญาณะกับยถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นสภาวะตัวเดียวกัน

คำที่เรียกใช้คนละอย่างกัน
มีเรื่องมรรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง

หากยังไม่ได้อรหัตผล
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสเรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
หลังได้อรหัตผลตามความเป็นจริง
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสเรียกว่า สัมมาญาณะ

คำว่า สัมมาวิมุตติ
ได้แก่ วิมุตติปาริสุทธิ
ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย

คำว่า ปาริสุทธิ
ได้แก่ ปราศจากตัณหาและทิฏฐิ
มีเกิดขึ้น ๓ ครั้ง

วิมุตติปาริสุทธิ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกที่มีเกิดขึ้นในพระเสขะ
สัมมาวิมุตติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกที่มีเกิดขึ้นในพระอรหันต์

กามราคะและราคะ

กามราคะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่า ตัณหา
ราคะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่า เวทนา

ในพระสูตร
อนุสยวรรคที่ ๒
อนุสยสูตรที่ ๑
และอนุสยสูตรที่ ๒
ใช้คำเรียกผิด ไม่ตรงกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ในพระสูตรได้แก้ใหม่ให้แล้ว

หากไม่เข้าใจ ให้ศึกษาในพระสุตร
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ
เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์
คือความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ


อนุสยสูตรที่ ๑
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ อนุสัย คือ ราคะ ๑
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑
อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑
อนุสัย คือ มานะ ๑
อนุสัย คือ ภวราคะ ๑
อนุสัยคือ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้แล ฯ

อนุสยสูตรที่ ๒
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ อนุสัย คือ ราคะ ๑
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑
อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑
อนุสัยคือ มานะ ๑
อนุสัย คือ ภวราคะ ๑
อนุสัย คือ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล ภิกษุละอนุสัย คือราคะเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ละอนุสัย คือ ปฏิฆะ …
อนุสัย คือ ทิฏฐิ …
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา …
อนุสัย คือ มานะ …
อนุสัย คือ ภวราคะ …
อนุสัย คือ อวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

อันนี้ก็ได้เขียนให้ถูกต้องตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต
ผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว

อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส

ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

“สอุปาทิเสส
ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ”

คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
ได้แก่ ละภวตัณหา(สิ้นภวสังโยชน์)

คำว่า สิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ
ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา

คำว่า อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ได้แก่ สมาธินทรีย์ ไม่เสื่อม

“อนุปาทิเสส
ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด”

คำว่า สิ้นกิเลส
ได้แก่ สิ้นตัณหา ๓
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

คำว่า มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
ได้แก่ ละกามภพ ละรูปภพ ละอรูปภพ เป็นสมุจเฉท

ตัณหา ๓

กามุปาทาน เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

ตัณหา ๓
กามตัณหา กามาสวะ กามโยคะ กามราคะ
ภวตัณหา ภวาสาวะ ภวโยคะ ภวราคะ
วิภวตัณหา อวิชชา อวิชชาสวะ อวิชชาโยคะ

คำว่า ตัณหา ๓ ทำไมจึงมีคำเรียกแตกต่างกัน ดังนี้
กามตัณหา กามาสวะ กามโยคะ กามราคะ
ภวตัณหา ภวาสาวะ ภวโยคะ ภวราคะ
วิภวตัณหา อวิชชา อวิชชาสวะ อวิชชาโยคะ

เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่
ไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ไม่แจ้งขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง

ผู้ใดละได้

คำเรียกว่า กามตัณหา
ละด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ในสกทาคามิผล
ปัจจุบันเป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามตัณหา
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

คำเรียกว่า กามาสวะ
ละด้วยอรหันตผล( วิชชา ๓ )
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามาสวะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

คำเรียกว่า กามโยคะ
ละด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ( วิชชา ๓ )
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามโยคะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

คำเรียกว่า กามราคะ
ละด้วยการแจ้งขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามราคะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

อัตตาวาทุปาทาน

๗. เขมสุมนสูตร

ครั้นเมื่อท่านเขมะหลีกไปแล้วไม่นาน
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
คนที่ดีกว่าเราไม่มี
คนที่เสมอเราไม่มี
หรือคนที่เลวกว่าเราไม่มี
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย
ครั้งนั้นแล ท่านพระสุมนะทราบว่าพระศาสดาทรงพอพระทัยเรา
จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคแล้ว หลีกไป

ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปแล้วไม่นาน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรทั้งหลายย่อมพยากรณ์อรหัตผลอย่างนี้แล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป

ส่วนว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
เขาเหล่านั้น ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ

พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ประพฤติเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ ฯ

.

หมายเหตุ;

คำว่า ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ
ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

.

คำว่า โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
ได้แก่ อวิชชาที่มีอยู่

.

คำว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
ได้แก่ ละมานะ เกิดจากละวาทะเราเป็น ตนเป็น เขาเป็น

เมื่อละอัตตาวาทุปาทานได้
ย่อมไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
เพราะรู้ชัดประจักษ์แจ้งว่า ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้น มีแต่เรื่องขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕

ตัณหา

คำที่เรียกว่า ตัณหา
สภาวะและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นในแต่ละคำที่เรียกว่า ตัณหา

 

นันทิ เป็นชื่อของตัณหา ที่เกิดจากความยินดี พอใจ ในขันธ์ ๕

จึงเป็นที่มาของคำที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕

จึงเป็นที่มาของคำที่เรียกว่า อุปาทาน ๔

จึงเป็นที่มาของคำที่เรียกว่า สังโยชน์ และอาสวะ

 

 

กามตัณหา เป็นชื่อของตัณหา ที่เกิดจากความยินดี พอใจในผัสสะ เป็นที่มาของคำที่เรียกว่า กามราคะ

กามราคะ ความยินดี พอใจที่มีเกิดขึ้นในผัสสะ

ทางโลก ความยินดี พอใจ(เวทนา)ในโลกธรรม ๘

ทางธรรม ความยินดี พอใจ(เวทนา)ในการรู้ชัดรูปนาม ที่เกิดจากสภาวะไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ที่มีเกิดขึ้น

 

 

ภวตัณหา เป็นชื่อของตัณหา ที่เกิดจากความยินดี พอใจในภพ(ทางใจ) เป็นที่มาของคำที่เรียกว่า ภวราคะ

ภวราคะ ความยินดี พอใจที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ทางโลก ความยินดี พอใจในรูปฌานและอรูปฌาน เพราะความติดใจ จึงกลายเป็นภพ(ทางใจ)

ทางธรรม  สภาวะที่มีเกิดขึ้นในสมถะและวิปัสสนา  แล้วทำให้น้อมใจเชื่อว่า ตนเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ ทำให้เกิดความยินดี พอใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น

 

 

วิภาวตัณหา เป็นชื่อตัณหา ที่มีเกิดขึ้นจากความไม่รู้ชัดในขันธ์ ๕
เมื่อไม่รู้จึงยินดี พอใจในวาทะต่างๆ เช่น ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ไม่ตายและไม่เกิด ไม่เกิดและไม่ตาย ฯลฯวิภาวราคะ ความไม่อยาก ที่มีเกิดขึ้นในผัสสะ

ทางโลก ความไม่อยากเกิด ไม่อยากแก่ ไม่อยากป่วย ไม่อยากตาย

างธรรม ความไม่อยากเป็นอะไรๆทั้งหมด เช่น ไม่อยากเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ เพราะขึ้นชื่อว่าการเกิด ล้วนเป็นทุกข์

 

 

 

โกศลสูตรที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบันมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริงด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กาม
ทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

 

เหตุของอวิชชา

เหตุของการเกิด ณ ปัจจุบัน ขณะ เริ่มตั้งแต่ ผัสสะ

กับ เหตุของการเกิด การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร เริ่มตั้งแต่อวิชชาจนถึง มรณะ

ทั้งสองสภาวะนี้ เหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน และเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏสงสาร ถึงสภาวะจะแยกออกจากกัน แต่เหตุปัจจัย เกี่ยวเนื่องกัน

เหตุของการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร เกิดจาก อวิชชาที่มีอยู่

เหตุจากอวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุให้เกิดการสร้างเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน(ผัสสะ/สิ่งที่เกิดขึ้น)

เหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน เป็นเหตุทำให้เกิด การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

จนกว่า อวิชชาถูกทำลายลง ย่อมรู้วิธีการดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน

(ดับผัสสะ โดยการไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น/ไม่สานต่อ)

เหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบันสั้นลง ภพชาติการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏสงสาร ย่อมสั้นลง

จนกว่า อวิชชาถูกทำลาย จนหมดสิ้น
การเวียนว่ายตายเกิด ย่อมไม่มีเกิดขึ้นอีกต่อไป

ทุกขสมุทยอริยสัจ

เมื่อคืน ถามเจ้านายว่า ทุกขสมทัยอริยสัจ คืออะไร ระหว่างตัณหา กับ อวิชชา

เจ้านายตอบว่า อวิชชาสิ

เราถามว่า ทำไมจึงเป็นอวิชชา ถ้ามีคนมาบอกว่า แล้วในพระไตรปิฎก บางพระสูตร พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา และมีบางพระสูตร พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุยอริยสัจ คือ อวิชชา

เป็นแบบนี้ จะอธิบายว่าอย่างไร

เจ้านายตอบว่า ก็ให้ไปดูปฏิจจสมุปบาทสิ ตัณหาอะไรเป็นแดนเกิด สุดท้ายก็ไม่พ้นอวิชชา

เราบอกว่า ตอบง่ายดี อ้างอิงปฏิจจสมุปบาทเป็นหลัก แล้วรู้ไหมว่า ทำไมบางพระสูตร พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา บางพระสูตร ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ อวิชชา

เจ้านายตอบว่า แล้วมันเป็นยังไงล่ะ

เราบอกว่า พระพุทธเจ้า ทรงให้ธรรมะแต่ละคน ตามเหตุปัจจัยของคนๆนั้น

เพราะ ทรงหยั่งรู้ว่า ควรให้ธรรมะข้อใด จึงจะทำให้ ผู้นั้น รู้แจ้งในสภาวะข้อธรรมนั้นๆได้

เป็นเหตุให้ การละอาสวะ จึงมีหลากหลายรูปแบบ เพราะเหตุนี้
อันนี้ วลัยพรนำเรื่อง ทุกขสมุทัย ที่เกี่ยวกับตัณหาและอวิชชา มาเขียนรายละเอียดอีกที

เพื่อชี้ให้เห็นถึง ความแตกต่างเกี่ยวกับทุขสมุัทยอริยสัจ ที่มีตัณหาเป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

และ ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีอวิชชา เป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

 

 ทุกขสมุทยอริยสัจ

บางพระสูตร พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา
บางพระสูตร ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ อวิชชา

พระองค์ ทรงให้ธรรมะแต่ละคน ตามเหตุปัจจัยของคนๆนั้น
เพราะ ทรงหยั่งรู้ว่า ควรให้ธรรมะข้อใด จึงจะทำให้ ผู้นั้น รู้แจ้งในสภาวะข้อธรรมนั้นๆได้
เป็นเหตุให้ การละอาสวะ จึงมีหลากหลายรูปแบบ เพราะเหตุนี้

ว่าด้วย การละอาสวะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v … =238&Z=384

ความแตกต่างเกี่ยวกับทุขสมุัทยอริยสัจ ที่มีตัณหาเป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

และ ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีอวิชชา เป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

เวลาพระองค์ทรงแสดงธรรม จะทรงแสดงความแตกต่างของสภาวะนั้นๆไว้

เมื่อทรงแสดง ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีเหตุปัจจัยจาก อวิชชา จะทรงแสดงแบบนี้

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกอง
ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

หมายเหตุ:

ตรงนี้ ทรงแสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาท ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่เกิดจาก อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย
เป็นเรื่องของ เหตุของการเวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏฏสงสาร

กล่าวคือ ในปฏิจจสมุปบาท ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งปวง

ทรงหมายเอา ตัณหา ที่เป็นเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน(ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย)
และอวิชชา ที่เป็นเหตุของการทำให้เกิด การเวียว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร รวมเข้าด้วยกัน

เมื่อทรงแสดง ทุกขสมุทัยอริยสัจ ที่มีเหตุปัจจัยจาก ตัณหา จะทรงแสดงแบบนี้

ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ตัณหานี้ใด ทำความเกิดอีก เป็นปกติ เป็นไปกับด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจ แห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,

นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
(ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ?

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ?

สิ่งใดในโลกมีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ;
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น,

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น.
ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ?

ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ… มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

รูปทั้งหลาย… เสียงทั้งหลาย…. กลิ่นทั้งหลาย…. รสทั้งหลาย…. โผฏฐัพพะ
ทั้งหลาย….ธรรมารมณ์ทั้งหลาย….

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไป ตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา….ความรู้แจ้งทางหู….ความรู้แจ้งทางจมูก….ความรู้แจ้ง
ทางลิ้น….ความรู้แจ้งทางกาย….ความรู้แจ้งทางใจ….

มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

การกระทบทางตา…การกระทบทางหู… การกระทบทางจมูก…การกระทบ
ทางลิ้น…การกระทบทางกาย…การกระทบทางใจ…

มีภาวะ เป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางหู…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป… ความจำหมายในเสียง… ความจำหมายในกลิ่น…
ความจำหมายในรส… ความจำหมายในโผฏฐัพพะ… ความจำหมายในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความนึกถึงรูป…ความนึกถึงเสียง… ความนึกถึงกลิ่น… ความนึกถึงรส…
ความนึกถึงโผฏฐัพพะ….ความนึกถึงธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความอยากในรูป…ความอยากในเสียง… ความอยากในกลิ่น…. ความอยาก
ในรส…. ความอยากในโผฏฐัพพะ… ความอยากในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความตริหารูป…ความตริหาเสียง… ความตริหากลิ่น… ความตริหารส…
ความตริหาโผฏฐัพพะ… ความตริหาธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)…ความไตร่ตรองต่อเสียง…
ความไตร่ตรองต่อกลิ่น… ความไตร่ตรองต่อรส… ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ..
ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น.
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.

หรือ แบบนี้

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน?
ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน?

ที่ใดเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก?

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.

หมายเหตุ:

เหตุของอวิชชา ที่มีอยู่

ตรงนี้ ทรงแสดงเรื่อง ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่เกิดจาก ตัณหา เป็นเหตุปัจจัย
โดยมีเวทนา และ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

กล่าวคือ หมายถึง เหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดการ สร้างเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน ให้บังเกิดขึ้น
ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ(ผัสสะ)

เหตุเนื่องจาก อวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น
โดยที่สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น(ผัสะ)ทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด

เพราะ ความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป(ชาติ หมายถึง การเกิด กำเนิด การปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม)

ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)

จึงเป็นเหตุให้ เหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน เกิดขึ้นทันที
เหตุจากตัณหา เป็นเหตุปัจจัย และ จากอวิชชา ที่มีอยู่

สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะๆๆๆๆๆ มีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

คำสอน ที่พระองค์ทรงสอน จึงมีหลากหลายเพราะเหตุนี้
มีทั้งเหตุของฝ่ายเกิด และเหตุของฝ่ายดับ
เพียงแต่ จะรู้ชัดในสภาวะที่พระองค์ ทรงตรัสไว้ไหม

การที่จะรู้ชัด ในสภาวะต่างๆเหล่านี้
ต้องแจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง(แบบหยาบ)

เป็นเหตุปัจจัยให้ แจ้งใน สภาวะนิพพาน ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุปัจจัยให้ แจ้งใน สภาวะปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุให้ แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(ที่ละเอียดมากขึ้น)

และสามารถนำความรู้ชัด ในสภาวะเหล่านี้ มากระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุด แห่งทุกข์ได้(นิพพาน)

กล่าวคือ กระทำเพื่อ ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ คือ การกระทำเพื่อ ดับเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน

และการกระทำเพื่อ ดับเหตุของการเกิด เวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร
สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเฉพาะ จิตภาวนาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดจาก การน้อมเอา คิดเอาเอง

ส่วนผู้ที่รู้บางจำพวก(รู้จากการได้ศึกษา หรือ ฟังมา) ล้วนเกิดจาก สัญญา
เพราะ ยังไม่สามารถ นำสิ่งที่รู้ มากระทำเพื่อ ให้เกิดการ หยุดสร้างเหตุนอกตัวได้

และมีผู้รู้ บางจำพวก(รู้จากการได้ศึกษา หรือ ฟังมา)
ถึงแม้จะเกิดจาก สัญญา แต่ได้มีการสร้างเหตุมาดังนี้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร ของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แมสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรม
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ”

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it … agebreak=0

เมื่อสร้างเหตุมาดังนี้ ย่อมสามารถนำสิ่งที่รู้(ถึงแม้ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง)
ที่เกิดจาก การศึกษา หรือ ได้ฟังมาก็ตาม

ก็สามารถนำสิ่งที่รู้(สัญญา) นำมากระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

อวิชชาและตัณหา


[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ
ในกาลก่อนแต่นี้ ภวตัณหาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำ
อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวภวตัณหาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของภวตัณหาควรกล่าวว่า อวิชชา แม้อวิชชาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรกล่าวว่านิวรณ์ ๕ แม้
นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
นิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์
แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความ
ไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่า ความไม่มี
ศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม
แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้
บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์ การ
ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การ
ไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชาที่บริบูรณ์ ย่อมยังภวตัณหาให้บริบูรณ์ ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้และ
บริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

 

ตัณหาสูตร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2782&Z=2853&pagebreak=0

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ