มรรคญาณ ผลญาณ

06 พค. 2566
ไม่ได้แก้ไขใหม่ ให้ดูสภาวะที่มีเกิดขึ้นปัจจุบัน มีเขียนไว้

—–

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

มุดรู หลวงพ่อเยื้อน เท่าที่ได้ฟังมา มีท่านนี้ท่านเดียว

สภาวะจิตดวงสุดท้าย วลัยพร

ชื่อเรียกทั้งสอง ตั้งขึ้นมาเอง ตามความรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ที่เรีกแตกต่าง ขึ้นอยู่กับจะตั้งชื่อขึ้นมา ตามความรู้ชัดของบุคคลนั้น ตามความเป็นจริง เป็นสภาวะเดียวกัน ซึ่งมีชื่อตามคำเรียกของปริยัติว่า มรรคญาณ ผลญาณ

หลวงพ่อเยื้อน ท่านปฏิบัติเพราะศรัทธาในครูอาจารย์ เวลาท่านแสดงธรรม ท่านจะพูดถึงเรื่องความศรัทธา และความศัรทธาที่ท่านมีต่อครูอาจารย์ สภาวะที่ท่านพูดชัดเจนคือ จะตายได้ยังไง ก็นั่งอยู่ ท่านก็เลยปล่อย แล้วมีแรงดูดเกิดขึ้น เหมือนถูกดูดเข้าไปในรู ท่านจึงตั้งชื่อเองว่า มุดรู

.

วลัยพร ปฏิบัติเพราะทุกข์ ไม่อยากทุกข์ แรกเริ่ม ปฏิบัติด้วยตนเอง เรียนรู้ทุกสภาวะด้วยตนเอง ไม่ได้นำไปถามใคร

มีช่วงหนึ่ง ความที่ว่าเริ่มอ่านหนังสือ เริ่มรู้ปริยัติ สงสัยคำว่า อุทยัพพยญาณ เคยถาม แต่เจอคำตอบประมาณว่า เหมือนการกินอาหาร คนไหนกินคนนั้นอิ่ม เราฟังแล้ว คิดนะ ถ้าไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้ ไม่ต้องมาทำท่าเหมือนรู้หรอก ซึ่งเรามารู้ด้วยตนเองจากสภาวะและจากหนังสือวิปัสสนาทีนีฎีกา เกี่ยวกับอุปกิเลส จึงถึงบางอ้อ แหม่ หลงซะตั้งนาน

ที่ตอนนั้น อ่านแล้วไม่เข้าใจ เพราะมัวสงสัยว่าคืออะไร แม้กระทั่งภังคญาณเช่นกัน จะอ่านเข้าใจและแทงตลอดสภาวะนั้นๆได้ ต้องหลังจาก อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ มีเกิดขึ้นแล้ว จึงจะอ่านหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกา จึงจะเข้าใจ ถ้ายังไม่ผ่าน อ่านไม่รู้เรื่องหรอก

อีกครั้ง เจอที่สำนักหนึ่ง ถามเรื่องสังขารในขันธ์ ๕ เหตุที่ถาม เพราะมีพระท่านหนึ่ง ท่านแสดงธรรมให้ผู้ปฏิบัติฟังว่า สังขารคือ ความคิด ซึ่งเราคิดว่า มันไม่ใช่ มันเป็นการปรุงแต่ง ก็เลยเดินเข้าไปถามที่นี่

สำนักนี้บอกว่า มาเรียนที่นี่ จะได้รู้วิธีเป็นโสดาบัน นี่ก็ผีบ้า ถามเรื่องสังขาร ในขันธ์ ๕ ว่าหมายถึงการปรุงแต่งใช่มั๊ย ดันผ่ามาพูดแบบนี้ เราขอบคุณตามมารยาท เดินออกมา ไม่เคยคิดจะเดินกลับเข้าไปอีก ไม่อยากเป็นผีบ้า หอบสังขาร

ครั้งแรกที่เกิดสภาวะ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ตอนนั้น ยังไม่รู้อะไรหรอก ตั้งชื่อเอง ตามความรู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้น

ขณะอยู่ในอิริยาบทนั่ง ตอนนั้นทำสมาธิอยู่ สภาวะที่กำลังมีเกิดขึ้น เหมือนคนจมน้ำ ขาดอากาศหายใจ แรกๆดิ้นรน พยายามสูดอากาศ พยายามหายใจ เห็นความทุกข์ ความบีบคั้น แล้วปลงตก คือ รู้ว่ายังไงก็ต้องตาย ก็เลยคิดว่า ตายก็ดีเหมือนกัน ชีวิตน่าเบื่อเหลือเกิน แล้วเหมือนมีแรงดูดมหาศาล ดูดเข้าไป ระหว่างที่ถูกดูดเข้าไป เหมือนในหนังนะ ที่เขาเรียกว่าหลุมดำ แต่สว่างนะ ไม่มืด สองฝังด้านข้าง เป็นเรื่องราวในแต่ละอดีตชาติ ดูไม่ทันหรอก แค่รู้ว่าเป็นเรื่องราวเหล่านั้น แล้วหลุดผั่วะออกมา

หลังจากผ่านสภาวะนั้มาแล้ว ตอนนั้นยังไม่รู้หรอกนะว่า คืออะไร และมีคำเรียกว่าอะไร รู้แต่ว่า ด้วยอาชีพที่เคยทำมา อาการที่ถูกดูดเข้าไปนั้น อาการเหมือนหมอเวลาทำคลอด แล้วใช้เครื่องดูด ช่วยในการทำคลอด ความรู้สึกจึงเหมือน คลอดออกมา อะไรประมาณนั้น คือ เหมือนตาย แล้วเกิดใหม่ทันที จึงเรียกเองว่า สภาวะจิตดวงสุดท้าย

ก็เพิ่งมาเปลี่ยนคำเรียกเมื่อไม่มีชม.มานี่เอง เรียกว่า มรรคญาณ ผลญาณ

มรรคญาณ หมายถึง วิโมกข์ ๓
ผลญาณ ความรู้ชัดในสภาวะสักกายะทิฏฐิ ที่ถูกประหาณเป็นสมุจเฉทประหาณ คือ กรณะของวลัยพร เป็นไทจากตัณหา ประกอบกับ ในสมัยนั้น เป็นผู้ได้วิโมกข์ ๘ จึงมีชื่อเรียกว่า กายสักขี

หลังจากนั้น มีเหตุปัจจัยให้กำลังสมาธิ ที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น เกิดจาก การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไปรู้จักกับพวกถ่ายเทสมาธิ แต่ไม่เคยเชื่อเรื่องพวกนี้ เจอนักถ่ายเทสมาธิ เล่นเอาสมาธิที่มีอยู่ หายไปหมดสิ้น แรกๆคือ โกรธมาก ที่โกรธ เพราะเสียดาย กว่าจะทำได้ ไม่ใช่ง่ายๆ ปฏิบัตินี่ น้ำตานองหน้าตลอด แล้วคนอื่นมาเอาไปแบบหน้าตาเฉย จะไม่ให้โกรธได้ยังไง

แต่เพราะสภาวะนี้ จึงทำให้รู้ชัดคำที่เรียกว่า กิเลส ทำให้รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า กิเลส เป็นครั้งแรกในชีวิต ต่อมา ทำให้รู้ชัดคำว่า ในดีมีเสีย ในเสียมีดี ถึงแม้สมาธิจะเสื่อมหายไปหมด ไม่มีท้อถอย หรือเลิกปฏิบัติ ยังคงทำความเพียรต่อเนื่อง ทำเพราะชื่อว่า จะทำให้ไม่ต้องทุกข์ แล้วก็เป็นตามนั้นจริงๆ ดูจากชีวิตในปัจจุบัน ต้องใช้เวลา ใช้ความเพียรเข้าแรก ใช้ความอดทน อดกลั้น เข้าแรก อดทนต่อทุกความชอบใจ และไม่ชอบใจ โดยเฉพาะความไม่ชอบใจ ที่ผู้อื่นกระทำกับเรา ตรงนี้แรกๆ ใช้ความอดทน อดกลั้นมาก ถ้าทนไม่ไหว เอาเหมือนกันนะ พอกรรมส่งผล บอกตัวเองว่า ไม่น่าเลยเรา ต้องอดทน อดกลั้นให้มากกว่านี้ แค่เจ็บใจ ไม่ตายหรอก

นี่เป็นสภาวะสมัยก่อน ก่อนที่จะมีสภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ ๒

.

กำลังจะเขียนเรื่อง การแทงตลอดในสภาวะสักกายทิฏฐิ จึงต้องเล่าเรื่องราวสภาวะก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะมามีเหตุปัจจัยให้แทงตลอดในสภาวะสักกายทิฏฐิ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่เกิดการการอ่าน การฟังผู้อื่น แต่รู้ชัดด้วยตนเอง

สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๑ ยังไม่รู้ว่าคืออะไร

สภาวะจิตดวงสุดท้ายที่ ๒

สภาวะปัจจุบัน ไม่ได้ทำความเพียรตามรูปแบบ ปฏิบัติตามสัปปายะ
ทำตามความสะดวก ชอบนั่งโซฟามากกว่านั่งพื้น
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ
แม้ในอิริยาบทนอน คำว่าหลับ ไม่เคยมีเกิดขึ้นนานมากแล้ว
จะรู้ชัดจิตเป็นสมาธิ หากกำลังสมาธิที่เกิดขึ้นไม่มากพอ
คืนนั้นจะรู้สึกตัวทั้งคืน จิตมีคิดพิจรณาทบทวนสภาวะต่างๆทั้งคืน
บางครั้ง กำลังสมาธิมีมาก จะดับวูบลงไปเอง
.

เพราะสภาวะเดิม มีเกิดขึ้นอีกครั้ง คือ รู้ชัดในสภาวะจิตดวงสุดท้าย เพียงแต่ครั้งนี้ไม่เปลี่ยน ไม่ได้เกิดขึ้น ขณะทำความเพียร แต่มีเกิดขึ้น ขณะกำลังนั่งทำงานอยู่ รู้สึกเจ็บที่หัวใจมาก ทนไม่ไหว เดินไปนอน จนกระทั่งสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้น ครั้งนี้  ทำให้จดจำได้แม่นยำ ไม่มีลืม

ความรู้ชัดความทุกข์ เหมือนครั้งแรก แต่น้อยกว่า รู้ชัดในสภาวะกายและจิตแยกขาดออกจากกัน กายส่วนกาย จิตส่วนจิต สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่  รู้ชัดในอนัตตา มีชื่อเรียกว่า สุญญตวิโมกข์  สภาวะที่มีเกิดขึ้นในครั้งนี้ รู้ชัดใน อวิชชา สังขาร วิญญาณ กล่าวคือ เหตุปัจจัยของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ

มีหลักอยู่ข้อหนึ่ง เพราะรู้ชัดในทุกข์ ระลึกอดีตชาติที่เคยเกิดในชาติก่อนๆได้ ถึงไม่กี่ชาติ แต่ทำให้รู้ว่า ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ล้วนเป็นทุกข์

หุหุ ชาติที่เกิดเป็นกษัตริย์ ทำกรรมหนักมากที่สุด ยืนอยู่บนกำแพง สั่งเผาเมือง ฆ่าคน เพราะเหตุปัจจัยนี้ บุคคลที่มีอำนาจอยู่ในมือ เมื่อยังมีอวิชชา จึงถูกตัณหาครอบงำง่าย มีโอกาส สร้างกรรมใหม่ เพราะโลภะ โทสะ โมหะ ได้ง่ายที่สุด ทีนี้จะไปว่ากันก็ไม่ได้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของผู้นั้น

มีอยู่สถานที่หนึ่ง มักไปประจำ เป็นสถานไม่มีคน ไม่มีอะไรสักอย่างเดียว มีแต่แสงสว่าง จะไม่เดินต่อ นั่งลง แล้วกำหนด จะกลับมารู้ที่กาย

https://walailoo2010.wordpress.com/?fbclid=IwAR0iRJ6LCzGcts7d7nm14frcCW91JCoq8OcFmxYSlOjjWV_l0DEwYxoOkjI

สภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)

ดีใจที่เจอความตาย

เล่าให้เจ้านายฟังว่า วันก่อน เจ็บหัวใจมาก
อาการเหมือนครั้งก่อนไม่มีผิด

เขาถามว่า แล้วเป็นไง

เราบอกว่า แว่บแรกที่รู้สึกคือ ดีใจ
ที่จะได้เจอสภาวะจิตดวงสุดท้ายอีก(ความตาย)

พอรู้สึกดีใจปั๊บ อาการที่เจ็บหัวใจมาก หายไปทันที

เราบอกเขาว่า ไม่แน่นะ ถ้าต้องไปอยู่แพร่
วลัยพรอาจจะมีสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ตาย) เกิดขึ้นที่นั่น

.

.

สภาวะนี่เป็นเรื่องที่แปลกมาก
ลักษณะก่อนที่จะมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดขึ้น
ที่มีเกิดขึ้นเหมือนๆกันทั้งสองครั้งคือ
ความรู้สึกเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
ความรู้สึกบีบคั้น ความทนอยู่ได้ยาก
และความเบื่อหน่ายในภพชาติของการเกิด

จะมีเกิดขึ้นแบบนี้ทั้ง 2 ครั้ง

ที่แตกต่างกันคือ ลักษณะที่มีเกิดขึ้นของสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ครั้งแรก จากโรคภูมิแพ้ ที่เป็นอยู่

ลักษณะอาการตาย คือ ขาดอากาศหายใจ
เหมือนคนจมน้ำ แล้วหายใจไม่ออก

ก่อนตาย มีดิ้นรน พยายามหายใจ แต่หายใจไม่ออก
ลมหายใจเฮือกสุดท้าย ปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน
เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายกับการมีชีวิตอยู่

อาการที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะที่มีเกิดขึ้น รู้ชัดทั้งหมด

ผลของการตายครั้งแรก
ทำให้รู้ชัดในลักษณะอาการของทารกแรกเกิด

เคยทำงานอยู่ห้องคลอด
อาการเหมือนเด็กแรกคลอด ที่หมอใช้เครื่องช่วยดูดออกมา

สภาวะนี้ รู้ชัดในสภาวะ ทุกขัง โดยความเป็นทุกข์ มากที่สุด

ครั้งที่ 2 เจ็บหัวใจมาก แล้วหัวใจวายตาย
ก่อนตาย ไม่มีดิ้นรน รู้ทุกขณะที่เจ็บหัวใจ รู้สึกเจ็บมาก
ปลายเท้าสั่นระริก เหมือนปลาที่ถูกทุบหัว

ลมหายใจเอือกสุดท้าย ปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน
เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายกับการมีชีวิตอยู่

อาการที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะที่มีเกิดขึ้น รู้ชัดทั้งหมด

สภาวะนี้ รู้ชัดในสภาวะอนัตตา มากที่สุด
เห็นกายและจิต แยกขาดออกจากกัน
อาการที่เกิดขึ้นกับกาย ใจรู้อยู่ ไม่ป่ะปนกัน

ผลของการตายครั้งที่ 2
ทำให้รู้ชัดว่า การที่ต้องตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย
เวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภพภูมิ ล้วนเกิดจาก
ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้น ขณะลมหายใจเฮือกสุดท้าย

มีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก

มีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ
งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่

.

มรณสัญญา หมายถึง ปรารภความตายเนืองๆ
เหตุปัจจัยจาก ความเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
และความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

.

สภาวะนี้ เป็นตัวแปรของทุกๆสภาวะที่ปฏิบัติทุกๆรูปแบบ
ซึ่งเคยมีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ภิกษุเกิดนิพพิทากล้า ฆ่าตัวตาย และวานให้ผู้อื่นฆ่าตน

ขณะฆ่าตัวตายหรือขณะที่โดนผู้อื่นปลิดชีวิต

ชั่วขณะจิตนั้น เป็นเรื่องของ สภาวะจิตดวงสุดท้าย
หรือวิโมกข์ ๓ ที่เคยเขียนไว้

บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ทำความเพียร และบุคคลที่ทำความเพียรทุกรูปแบบ
เจอสภาวะนี้เหมือนกันหมด

เพียงแต่ปถุชนไม่ได้สดับ
ไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

และบุคคลที่ได้สดับและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
แต่การทำความเพียร ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

เมื่อไม่เบื่อหน่าย ย่อมไม่คลายกำหนัด
จิตย่อมไม่หลุดพ้น

“บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว
ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น

ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว ความกลัว
ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น”

เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน

สุญฺญตวิโมกฺขมุข

อนมิตฺตวิโมกฺขมุข

อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

การคิดพิจรณา จากประสพการณ์ที่เคยพบเจอ ขณะทำความเพียร

ทั้ง ๓ คำเรียกนี้
เป็นเรื่องของ จิตดวงสุดท้าย
ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย)

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
จะปรากฏขึ้นในลักษณะของนิมิต
แต่เสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ
เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้

เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก
ที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

มีหลายๆคน ที่วลัยพรเคยอ่านพบเจอมาหรือเคยพูดคุยด้วย
เมื่อเขาเหล่านั้น เจอภาพที่ทำให้รู้สึกกลัวตาย

ความไม่รู้ที่มีอยู่
บางคน ระลึกถึงสิ่งที่ตนพึ่งพาอยู่
เช่น ระลึกถึงครูอาจารย์ของตน ให้มาช่วยตน

เมื่อเป็นดังนี้
จิตจะหลุดจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น
กลับมารู้ที่กายแทน

บางคน เจอผู้แนะนำที่ไม่รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้
เมื่อมีการบอกเล่าสภาวะ ผู้แนะนำจะบอกว่า
ให้กำหนดรู้หนอๆๆๆๆ(ใช้คำบริกรรม)
จนกลับมามีสติ กลับมารู้ที่กาย

นี่คือ ความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้แนะนำท่านนี้
เพราะไม่เคยพบประสพเจอด้วยตนเอง
จึงไม่อาจแนะแนวทางที่ควรปฏิบัติ

มีบางคนเคยพบเจอสภาพธรรมเหล่านี้
เมื่อพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่ง

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
เวลาใครพูดใครถามอะไร ก็จะบอกว่า เจอครั้งเดียวแล้วจบ
ซึ่งสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เลย

หลังจากพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่งมาแล้ว
กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังไม่ให้รู้ชัดในกิเลสที่ยังมีอยู่
หรือรู้ว่ามีอยู่ แต่สักว่ามีเกิดขึ้น เหมือนจางๆ
เหมือนเกิดแล้วดับหายไปอย่างรวดเร็ว

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ตัณหาจึงนำหน้า น้อมเอาคิดเอาเองว่า
สภาพธรมที่มีเกิดขึ้นนี้ เข้าถึงความมี
ความเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ ที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมา

เมื่อน้อมใจเชื่อดังนี้แล้ว
การที่จะรู้ชัดชัดในสภาพธรรมอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย

แต่อย่างน้อย ด้วยความศรัทธา
บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีศิล
เมื่อกายแตก ย่อมสู่สุคติอย่างแน่นอน

ทั้ง ๓ สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของ ไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ปราศจาก การน้อมเอาคิดเอาเอง
หรือปราศจาก ความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

หากยังมีห่วง มีอาลัย ที่เกิดจากจิตใต้สำนึก
สภาพธรรมนี้ จะหายไปและกลับมารู้ที่กายทันที

จงจำไว้ว่า
เมื่อสภาพธรรมทั้ง ๓ ตัวใดตัวหนึ่ง มีเกิดขึ้นในใจตน
หลังจากผ่านสภาพธรรมนั้นๆมาแล้ว
อุเบกขา หรือ กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังหรือกดข่มกิเลส
ให้รู้สึกเหมือนกิเลสที่มีเกิดขึ้นนั้น เบาบางลงมาก

ให้กำหนดรู้ ตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น
อย่าน้อมเข้าสู่ความเป็นนั่น เป็นนี่

เพราะจะติดกับดักหลุมพรางกิเลส
สภาวะการปฏิบัติทางจิต จึงจมแช่อยู่แค่นั้น

จะใช้เวลามากหรือน้อยแค่ไหน ที่จะหลุดจากกับดักหลุมพรางกิเลสนี้ได้
ขึ้นอยู่ จิตที่เกิดการปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งที่คิดเอาเองว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ ตามคำเรียกต่างๆ
หรือตามตำราที่มีเขียนขึ้นมา ตามความรู้ที่มีอยู่ของผู้เขียนนั้นๆ

คำอธิบายลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

เรื่องตรงนี้ เป็นเรื่องของ การเจริญสมถะ(สัมมาสมาธิ)และวิปัสสนาตวบคู่กัน

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ จิตภาวนา โดยนับจาก ความดับ(คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติ)
มามีรูปนาม เป็นอารมณ์(ภังคญาณ)

จึงเป็นที่มาของ คำที่เรียกว่า ญาณ ๑๔ ในปฏิสัมภิทามัคค วิปัสสนาญาณ ๙
วิปัสสนาญาณ ๑๐ อภิธัม วิปัสสนาญาณ ๑๖

ทั้งหมด เป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวข้องกัน

วิโมกข์ ๓ อย่าง

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ คือ…

๑. ด้วยความเป็นใหญ่ บุคคลเมื่อมนสิการโดย

ความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่

๒. ด้วยความตั้งมั่น บุคคลเมื่อมนสิการโดย

ความเป็นสภาพ ไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่น ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่น ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมตั้งจิตไว้มั่น ด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์

๓. ด้วยความน้อมจิตไป บุคคลเมื่อมนสิการโดย

ความเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิต ไปด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมย้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์

๔. ด้วยความนำออกไป บุคคลเมื่อมนสิการโดย

ความเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ย่อมนำออกไปสู่นิพพานอันดับ
ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์

เมื่อมนสิการ โดยความทุกข์ ย่อมนำออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ
ด้วยสามารถแห่งอัปณิหิตวิโมกข์

เมื่อมนสิการ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ
ด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์

หมายเหตุ:

ทั้งหมดนี้ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะที่กำลังหยุดสร้างเหตุนอกตัว

สถานะ เศร้านิ กว่าจะรู้
ก็ยังดีที่ได้รู้ อย่างน้อยๆ มีประโยชน์ต่อผู้มีเหตุปัจจัยร่วมกัน
จะทำให้ไม่หลงสภาวะ ในความมีและความเป็นอะไรกัน

จริงๆแล้ว ในความเป็น ก็เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสภาวะ
ถึงจะเป็นโสดาบันบุคคล ยังไงก็ยังต้องเกิด จะเอาไปทำไม แค่รู้ก็พอแล้ว

ยิ่งถ้ารู้แล้วยึด การเกิดในวัฏฏสงสาร ถึงจะเกิดไม่เกิน ๗ ชาติ
ย่อมไม่พ้น ชาติ ขรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส
จะเอาความมีและความเป็นไปทำไม

การเกิดแห่งโลก คือการเกิดแห่งกระแสปฏิจจสมุปบาท
ที่เกิดขึ้นในใจคนทุกคราวไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็การเกิดขึ้น (สมุทโย) แห่งโลก
เป็นอย่างไรเล่า(การเกิดขึ้นแห่งโลก เป็นอย่างนี้คือ 

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย,
ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดจักขุวิญญาณ;

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ
(จักษุ+รูป+จักษุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ, เพราะมี
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,
ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก.

เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย, ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดโสตวิญญาณ;

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา,
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
…ฯลฯ…
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,
ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน:
นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก.

เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย,
ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดฆานวิญญาน;

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ + กลิ่น + ฆานวิญญาณ)
นั่นคือ ผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา…ฯลฯ…
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,
ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย,
ซึ่งรสทั้งหลาย
จึงเกิดชิวหาวิญญาณ;

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา + รส + ชิวหาวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;…ฯลฯ..
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโมทนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งกายด้วย, ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ;
การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
…ฯลฯ… เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,
ชรามรณะ โสกปริเทวะทุกขะโมมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย,
ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดมโนวิญญาณ;

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (มโน + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,
ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปยาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน:
นี้คือการเกิดขึ้นแห่งโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แล คือการเกิดขึ้นแห่งโลก.

สูตรที่ ๔ โยคักเขมิวรรค สฬายตนสังยุตต์ สฬา.สํ.๑๘/๑๐๘/๑๕๖,
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

วิโมกข์ ๓

วิโมกข์ แปลว่า ความพ้น, ความหลุดพ้นวิเศษ มีความหมายเช่นเดียวกับ วิมุตติ
ใช้หมายถึงพระนิพพานก็ได้

ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์เป็นไฉน
นิพพานอันเป็นที่ดับ เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์ ฯ

สภาวะวิโมกข์ ๓

สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นคำเรียกของสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะหยุดสร้างเหตุนอกตัว

สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ ต้องรู้จัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่

ขณะที่ผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆนานา

มีสติรู้อยู่ กับสิ่งที่เกิดขึ้น

ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

ชั่วขณะนั้น สภาวะศิล สมาธิ ปัญญา(ไตรลักษณ์) จะเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

สภาวะสัมมาสมาธิ(วิปัสสนา)

เมื่อมีสภาวะสัมมาสมาธิเกิดขึ้น สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติ

คือ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ

เพียงแต่ แรกรู้ เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่
สภาวะที่เกิดขึ้น อาจจะดูแปลกประหลาดมหัศจรรย์

แท้จริงแล้ว ยังไม่ใช่สภาวะปัญญา
เป็นความปกติ ของสภาวะที่เกิดขึ้น ในสมาธิเท่านั้นเอง

ที่กล่าวว่า ยังไม่ใช่ปัญญา เพราะ ยังไม่สามารถนำมากระทำ
เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้ (นิพพาน)

มีแต่จะนำไปสร้างเหตุ ของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้นเนืองๆ
เหตุจาก ศรัทธาแรงกล้า(กับสภาวะที่เกิดขึ้น)

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ