ทุกขังกับกายคตาสติ

การทำความเพียรเพื่อดับเหตุทุกข์ การรู้ชัดจิต
ทำให้สามารถประคบประคองจิตให้ผ่านจากเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่(อวิชชา)ไปได้

เมื่อก่อน ก็ไม่รู้ว่าที่เราตั้งชื่อเรียกเองว่า เจริญสติ โดยใช้การรู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นโดยการกำหนดอารมณ์ต่างๆที่มีเกิดขึ้น
ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า ความรู้สึกต่างๆที่มีเกิดขึ้นในชีวิตมีชื่อเรียกว่า กิเลส เมื่อไม่รู้ก็ย่อมกระทำต่างๆตามความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น(โลภะ โทสะ โมหะ)
ชีวิตย่อมดำเนินไปตามกรรม(การกระทำ) และผลของกรรม

จนกระทั่งเจอหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ท่านรู้หนอ ไม่ว่าเราจะคิดอะไร หลวงพ่อจะพูดทันที
อาจด้วยเหตุปัจจัยที่เคยกระทำมาร่วมกับหลวงพ่อ จึงทำให้เชื่อในสิ่งที่ท่านสอนเนืองๆเรื่องกฏแห่งกรรม

หลวงพ่อพูดเนืองๆว่า ท่านไม่ได้พาใครไปนิพพาน ท่านสอนเรื่องกฏแห่งกรรม เพื่อให้ทุกคนช่วยตนเอง
ที่เราปฏิบัติได้ผลมากนี้เกิดจากเรื่องกรรมและผลของกรรม พยายามอดทน อดกลั้น หลวงพ่อบอกว่า ทำความดี ต้องฝืนใจ
สมัยพุทธกาล ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง เช่น “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”
สมัยปัจจุบัน ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง เช่น เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม
พยายามอดทน อดกลั้น เหมือนที่หลวงพ่อบอกว่า ทำความดี ต้องฝืนใจ

เมื่อไตรลักษณ์แจ้งจากจิต คือ รู้ว่าทุกข์ แต่ไม่มีชื่อว่ารู้ไตรลักษณ์หรือคำเรียกต่างๆ
จะรู้อย่างเดียวว่า มันทุกข์(อาการ) แบบนั้น ไม่ใช่รู้ว่าไตรลักษ์ปรากฏจากจิต(คำเรียก)
ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน
ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน
ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
เมื่อเห็นว่าผู้นั้นมีความศรัทธาหยั่งลงแล้ว ย่อมต้องใจฟังคำสอน และปฏิบัติตาม ดังที่มีให้เห็นเป็นตัวอย่างดังนี้
นันทิยสูตร
อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท
[๑๖๐๒] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้น ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม … ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.

ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง มีลักษณ์ที่เกิดชัด นิวรณ์มาก กรรมฐานที่เหมาะสมได้แก่ การเจริญกาคตาสติ
สำหรับบุคคลที่เป็นฆราวาส “พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน”

กล่าวคือ พยายามอดทน อดกลั้นในเรื่องการสร้างเหตุนอกตัว โดยใช้มนสิการว่า

มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

หมายเหตุ;
“ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง”
หมายถึง ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวม

ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู … ดมกลิ่นด้วยจมูก … ลิ้มรสด้วยลิ้น …ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก … วิหิงสาวิตก …
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ

และเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน ได้แก่ การเจริญกายคตาสติ

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph … 182&Z=4496

และขณะทำกรรมฐาน ใช้มนสิการโดยแยบคาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้น
แล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
นี่ย่อที่สุด สำหรับผู้ที่รู้ชัด”ทุกขัง”
เป็นที่มาของคำที่ว่า “เห็นทุกข์ เห็นธรรม”
ต่อจากนั้น

“พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน

เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท”
บอกก่อนว่า ผลจะได้มากหรือน้อย ขึ้นชื่อว่าพยายาม ผลย่อมได้
ยังดีกว่าไม่ทำ(หยุดสร้างเหตุนอกตัวและทำกรรมฐาน)อะไรเลย

บางครั้งท้อถอย แต่ยังพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว และยังทำกรรมฐาน
เดินจงกรม บางคนรู้กายขณะกำลังเดินจงกรม(กำหนดย่อย)
ต่อด้วยนั่ง รู้ตามลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
หรือขณะนั่ง รู้กายที่ท้องพองยุบ(ลมหายใจเข้า) ท้องยุบ(หายใจออก) ทำต่อเนือง

เน้นมากๆ ต้องเดินก่อนนั่ง เพื่อปรับให้อินทรีย์สมดุลย์(สมาธิกับสติ)
ผลที่ได้คือ
การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป

แก่นของสภาวะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้แก่ มีรูปนาม เป็นอารมณ์

แก่นของสภาวะวิปัสสนา
ได้แก่ วิโมกข์ 3 ที่มีเกิดขึ้นขณะเกิดมรรค ผล ตามความเป็นจริง

สภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ(สัมมาสมาธิ)

วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามีเพียง ๙ อย่าง คือ

สุญญตา อนัตตา

 

คำเรียกต่างกัน สุญญตา อนัตตา เรือนว่าง

สภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นตัวเดียวกัน
แตกต่างกันที่ เหตุปัจจัยที่ทำให้มีเกิดขึ้น

สุญญตา เรือนว่าง อนัตตา
มีลักษณะอาการเกิดขึ้นเหมือนๆกัน

กล่าวคือ เป็นอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
มีเกิดขึ้นเฉพาะ สัมมาสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น ใจที่รู้
แยกขาดออกจากกัน ไม่ปนกัน กายส่วนกาย จิตส่วนจิต

 

เมื่อก่อน รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า สุญญตา เรือนว่าง(กายส่วนกาย จิตส่วนจิต)
มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

 

วันนี้ รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า อนัตตา

ซึ่งเกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวาง
เป็นสภาวะที่ ละเอียดกว่า สุญญตา เรือนว่าง
เป็นเรื่องของ อนุสัยกิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

 

ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือสภาวะที่เรียกว่า ทุกขัง

สามารถรู้ได้จาก ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตและขณะทำความเพียร
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ ความเป็นทุกข์(ทุกขัง)

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะทำความเพียร
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะจิตเป็นสมาธิ
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

แยกรูป แยกนาม
กายส่วนกาย จิตที่รู้อยู่

ทุกข์ที่มีเกิดขึ้นทางกาย ใจที่รู้
แต่ไม่รู้สึกทุกข์ตามกายไปด้วย

พูดให้เห็นภาพชัดมากขึ้น

เช่น ขณะทำสมาธิ เกิดเวทนาที่ขา ปวดขา
จะรู้ตั้งแต่ กำลังเริ่มปวด กำลังปวด และกำลังคลายความปวด
โดยมีใจที่รู้อยู่ โดยไม่ได้รู้สึกปวดตามกายที่มีเวทนาเกิดขึ้นอยู่

 

ความไม่เที่ยงหรือสภาวะที่เรียกว่า อนิจจัง

สามารถรู้ได้จาก ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต และขณะทำความเพียร
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ

สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะทำความเพียร
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะจิตเป็นสมาธิ
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

เช่น เมื่อมีนิมิต โอภาส หรือสภาพธรรมต่างๆเกิดขึ้น

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่ติดอุปกิเลส

 

เคยอ่าน วิปัสสนาทีปนีฎีกา
มีแปลกใจเหมือนกันว่า

ทำไมสภาวะ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)
และสภาวะทุกขัง

มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง

แต่อนัตตา มีคำอธิบายไว้นิดเดียว

 

อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญฺจกํ กสฺมา?

อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา.

รูป, นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจัง
เพราะมีการ วิปริต ผิดแปลก เปลี่ยนไป
โดย ความดับ

หรือ อีกนัยหนึ่ง

เพราะ มีแล้ว ไม่มี
คือ เกิดขึ้นแล้ว ก็สูญสิ้น ดับไม่มีเหลือ

 

อนิจจลักขณะ

อุปฺปาทวยญฺญถตฺตํ อนิจฺจลกฺขณํ

หุตฺวา อาภวสงฺขาโต วา อาการวิกาโร

ความเกิดขึ้น เสื่อมไป และเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักขณะ

หรือ อีกนัยหนึ่ง

อาการที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สูญสิ้น ดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า อนิจจลักขณะ

 

 

ทุกขัง

วิสุทธิมัคอรรถกถากล่าวว่า

ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขฺติ วจนโต ปน ศเทว ขนธฺปญฺจกํ ทุกฺขํ กสฺมา?

อภิณฺหปฏิฬนา

รูป,นาม ขันธ์ ๕ นั้นแหละชื่อว่า ทุกขัง
สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕
ถูกเบียดเบียน บีบคั้นอยู่เนืองๆ
โดยความเกิด และความดับ

 

ทุกขลักขณะ

อภิณฺหปฏิปีฬนาคาโร ทุกฺขลกฺขณํ

อาการถูกเบียดเบียน บีบคั้น อยู่เนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักขณะ

 

 

อนัตตา

วิสุทธมัคอรรถกถากล่าวว่า

ยํ ทุกขํ ตทนตฺตาติ ปน วจนโต ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา. กสฺมา?
อสวตฺตนโต

นาม,รูป ขันธ์ ๕ นี้แหละชื่อว่า อนัตตา
สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น

 

อนัตตลักขณะ

อาการที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด
ชื่อว่า อนัตตลักขณะ

 

คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕,นิพพาน,บัญญัติ

กับคำว่า

ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา
ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕

ทั้งสองบทนี้ ล้วนเป็นแต่ พุทธภาษิต ทั้งสิ้น

แต่องค์ธรรม ไม่เหมือนกัน
การเป็นดังนี้ เพราะ

เนื่องมาจากการแสดงธรรมเทศนาของพระพุทธองค์
ทรงมุ่งหมาย เป็นคนละแง่

คือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ทรงแสดงในแง่ที่จะให้พุทธบริษัททั้งหลาย ได้ทราบถึง
สิ่งทั้งปวง ที่มีอยู่ในโลก

ไม่ว่าจะเป็น ปรมัตถ์ หรือ บัญญัติ
ล้วนเป็น อนัตตาทั้งสิ้น

ส่วน ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา นั้น
ทรงแสดง รูป,นาม ขันธ์ ๕
ที่เป็นอารมณ์ของ วิปัสสนาญาณ ประการเดียว

เหตุนั้น คำว่า อนัตตา ที่มีอยู่ในบททั้งสอง
จึงได้องค์ธรรม ไม่เท่ากัน

 

ตอนนี้ไม่แปลกใจแล้วว่า
ทำไมสภาวะ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)
และสภาวะทุกขัง

มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง

แต่อนัตตา มีคำอธิบายไว้นิดเดียว

วันนี้ รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า อนัตตา

ซึ่งเกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวาง
เป็นสภาวะที่ ละเอียดกว่า สุญญตา เรือนว่าง
เป็นเรื่องของ อนุสัยกิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

เหตุปัจจัยจาก สภาวะความตาย ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นเหตุปัจจัย ให้รู้ชัด ในสภาวะ อนัตตา

 

 

 

10-10-2559

วลัยพร

กรรมเก่า (ปุราณกัมม)

ภิกษุทั้งหลาย !
กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) ….ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่า เป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)

อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้ เกิดความรู้สึกขึ้น)

เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ปฏิจจสมุปบาท
ว่าด้วย ผัสสะ เป็นเหตุของ การเกิด เวทนา

ขันธ์ ๕
ว่าด้วย รูป(ผัสสะ) เป็นเหตุของ การเกิด เวทนา

ภาษาชาวบ้าน
ว่าด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต (ณ ปัจจุบัน ขณะ)

สิ่งนั้นๆ(ผลของเหตุ ได้แก่ กรรม หรือ การกระทำในอดีต ส่งผลมาให้ได้รับ ในรูปของเหตุ/สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต)

ทำให้มี ( เป็นเหตุให้เกิด) ความรู้สึกยินดี(ถูกใจ/ชอบ) ยินร้าย(ไม่ถูกใจ/ชัง) เกิดขึ้น

สมาธิบดบังสภาวะ

สมาธิมีทั้งดีและไม่ดี ที่กล่าวว่าดี เพราะเป็นสัมมาสมาธิ ที่กล่าวว่าไม่ดี เพราะเป็นมิจฉาสมาธิ และสมาธิที่มีมากเกิน ย่อมมีโทษมากกว่าประโยชน์ หากไม่รู้จักวิธีนำมาใช้ให้ถูกทาง

ถ้าเป็นเมื่อก่อน เราจะรู้สึกเศร้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในตอนนี้  ปัญหาคนขาดการคิดพิจรณา ความศัทธาที่ขาดปัญญา การสอนให้ผู้คนงมงายสิ่งนอกตัว สื่อต่างๆที่กำลังแพร่หลายอยู่ ที่ล้วนหลอกลวงตัวเองกัน

เราถูกหลอกกันมานานเท่าไหร่แล้ว โง่กับกิเลสกันมานานเท่าไหร่แล้ว เคยรู้ถึงเรื่องราวตรงนี้กันมั่งไหม จะก่อภพก่อชาติกันไปเรื่อยๆอีกนานเท่าไหร่  เคยคิดพิจรณาบ้างไหม

ไม่ว่าจะเรื่องการทำนายทายทักที่กำลังแพร่หลายกันในตอนนี้ ไม่ว่าจะเรื่องการกล่าวโทษสิ่งนอกตัวหรือแม้กระทั่งวิญญาณต่างๆ ล้วนเป็นการแนะแนวทางที่ไม่ถูกต้อง มีแต่ทำให้คนหลงงมงาย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไปว่ากันไม่ได้อีก เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ล้วนเกิดจากการกระทำที่แต่ละคนทำหรือสร้างกันขึ้นมาเองทั้งสิ้น เราได้แต่มอง มองแค่นั้น เมื่อเข้าใจถึงเหตุและผล จึงได้แต่มองเพราะเหตุนี้

บางสภาวะที่บางคนปฏิบัติแล้วเห็นได้ชัดในสภาวะนั้นๆ  แล้วทำให้ผู้ปฏิบัติวิตกกังวลหรือเกิดความสงสัยในสภาวะที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆว่าคืออะไร บางคนทุกข์เพราะการให้ค่า ให้ค่าว่าสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นๆ ตัวเองเป็นโรคอะไรหรือเปล่า

นี่แหละ ทุกข์เพราะคิด ทุกข์เพราะสงสัย สงสัยยังไม่พอ ปรุงแต่งต่อ จนทำให้ใจนั้นเกิดทุกข์ 

อยากจะบอกเหมือนกันว่า สภาวะนั้นๆเรียกว่าอะไร พอนึกถึงสภาวะที่ผ่านๆมาของตัวเองแล้ว มันเหมือนดาบสองคม ถ้าบอกเขาแล้ว เขาแค่รู้ ตั้งใจปฏิบัติต่อไป มันก็จบลงแค่นั้น

แต่ถ้า บอกแล้ว เขากลับไปคอยจดจ้องจะให้เกิดสภาวะนั้นๆตลอดเวลา ถ้าสภาวะนั้นๆไม่เกิดอีกล่ะ  ทุกข์อีกแล้ว ทุกข์เพราะการคาดเดาอีก  ทุกข์เพราะไม่ได้ดั่งใจ  นี่แหละ บอกก็ดี ไม่บอกก็ดี เราเลยปล่อยตามความเป็นจริง โดยไม่บอก

ให้ทุกๆคนเรียนรู้ทุกๆสภาวะด้วยตัวเอง ให้รู้ด้วยตัวเอง จะได้เลิกสงสัยและให้ค่าน้อยลงไปเรื่อยๆ เมื่อสภาวะอื่นๆเกิดต่อ แต่ถ้าด้านการคิดพิจรณาเราจะช่วยแนะนำต่อยอดให้ แต่เรื่องสภาวะ ขอเงียบดีกว่า เพียงแต่บอกว่าให้ทำต่อไป

มีแต่ความทุกข์

๓๐ เมย. ๕๔

 ความทุกข์ของคนแต่ละคน ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่

ทุกข์แต่ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ 

ไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับทุกข์ที่คิดว่าทุกข์ จริงๆแล้วมันใช่ทุกข์จริงหรือไม่

หลายวันมานี่ มีแต่เรื่องของน้องชาย เรื่องของแม่ ทุกข์ของแม่ที่มีกับลูก เรารู้สึกอัดอั้นตันใจมากๆ กับเรื่องภายในครอบครัว ที่ไม่สามารถช่วยใครๆได้  ช่วยได้แค่รับฟังความรู้สึกของแต่ละคน

มีแต่คนดื้อ  ดื้อแต่ไม่รู้ว่าดื้อ ไม่ยอมรับว่าตัวเองนั้นดื้อ นี่แหละเหตุแล้วก็เหตุของความทุกข์ ที่คนในครอบครัวเรากำลังทุกข์กันอยู่  เราเองต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วย ทั้งๆที่ไม่น่าจะต้องเดือดร้อน จะทำเฉยๆก็กลายเป็นคนแร้งน้ำใจ

ต้องไปทั้งๆที่ไม่ได้อยากไป ทั้งๆที่รู้เหตุทั้งปวงดี และรู้ดีว่าควรทำอย่างไร พูดไปก็เท่านั้น มีใครบ้างที่จะฟังเรา ไม่มีเลย มีแต่มองนอกตัวกัน มีแต่ความเสียใจกัน แต่ไม่คิดจะสร้างเหตุที่ดี เราถึงบอกว่า ใบ้รับประทาน

กับแม่ ที่ยังมีเหตุกับเราตลอด  เราพยายามที่จะไม่แตะต้องแม่ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม แม่ไม่เคยฟังเราเลย แม้กระทั่งเรื่องการปฏิบัติ แม่จะฟังเฉพาะกับพระที่แม่เคารพและเชื่อถือเท่านั้น มีแต่เสียเงิน นี่แหละเหตุ

เราบอกกับน้องว่า บอกแม่สิ ให้แม่ปฏิบัติบ้าง  ทั้งๆที่แม่ยังบวชชีอยู่  ให้ตั้งใจแผ่เมตตาให้น้องชายไป ซึ่งก็เป็นลูกแม่ที่เป็นเหตุให้แม่กำลังทุกข์มากๆในตอนนี้   เรารู้ดีว่า เราบอกกับแม่เองไม่ได้ แม่ไม่ฟังเรา

แม่เราก็เหมือนคนอื่นๆที่ยังไม่รู้  มีแต่ความศรัทธานอกตัว ไม่ได้สนใจเรื่องการปฏิบัติ  มีแต่เรื่องเสียเงินให้กับความศัรทธาที่มีอยู่  น้องบอกว่า เมื่อวานแม่เป็นลมหลายรอบ เนื่องจากทำใจไม่ได้เวลาที่เห็นน้องชายนอนแบบไม่รู้สึกตัวอย่างนั้น

เราบอกน้องว่า ถึงเราไป สู้ให้เราอยู่ทางนี้จะดีกว่า เรายังทำของเราได้เต็มที่ แผ่เมตตาให้น้องและเจ้ากรรมนายเวรของน้องตลอด ไปที่นั่นไม่เห็นมีประโยชน์อะไร มีแต่ทำให้แม่สร้างเหตุกับเราเปล่าๆ บอกตามตรง เราไม่อยากกลับบ้าน

ที่บ้านมีแต่หมาๆๆๆๆๆ นอนกับหมา   อาบน้ำก็ว่าเรา ทำอะไรก็ว่าเรา คอยจับผิดตลอด แล้วจะให้เราไปทำไม  เรานั่งสมาธิ ก็ว่าอีก ง่วงนอนก็ไปนอนบนบ้านสิ จะมานั่งหลับแบบนี้ทำไม จะบ้าตายเลยเรา นี่แหละเหตุของรู้ไม่เหมือนกัน

เราจึงไม่เคยปฏิบัติให้ที่บ้านเห็นเพราะแบบนี้แหละ เพราะรู้สวนทางกัน  ขนาดพูดเรื่องเหตุให้ฟัง ยังไม่ฟังเลย เถียงข้างๆคูๆ เราเลยเลือกที่จะไม่พูดดีกว่า

วิบากกรรมของทุกคน

เรื่องกรรม เราพูดมานานแล้ว ไม่มีใครเชื่อเราสักคนเดียว เราเตือนทุกคนมาตลอด อย่าประมาทในเรื่องของกรรม ให้หมั่นสร้างกุศลกันบ้าง ไม่มีเลยที่จะมาเชื่อเรา เอาแต่เที่ยว กิน ไม่แตกต่างกับเราในอดีตเลย

พอเจอทุกข์แล้วเป็นไง มีแต่โศกาอาดรู ร้องไห้กันตลอดเวลา  พอเห็นเราไม่ได้แสดงความรู้สึกเสียใจอะไรด้วย ก็ว่าเราอีก โดนทั้งขึ้นทั่งร่อง ตั้งแต่พ่อเสีย น้องชายคนที่  ๒  เสีย นี่น้องชายคนที่ ๓ ที่ว่าป่วยอยู่ไอซียู ใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่

ความตาย เรื่องปกติ

เรื่องของความตาย เราเห็นเป็นเรื่องปกติ สักวันทุกคนต้องตาย แม้กระทั่งเราก็ไม่มียกเว้น ทำไมต้องมานั่งเสียใจกัน ทำไมไม่ทำวันที่ยังมีลมหายใจเหลืออยู่ให้ดีที่สุด ให้มีสติไว้ จะได้ไม่ต้องไปทุกข์ใจกับเรื่องของความตาย

นี่เรื่องของข้างบ้านเรา บ้านเลี้ยงเด็กนะ นับถือใจเลย บ้านนี้คุยกับเรามาตลอด ตอนนี้สามีเขาป่วย นอนแบบไม่รู้สึกตัวเหมือนกัน หมอให้เซ็นเอกสารหมดแล้ว ไม่ต้องปั๊มหัวใจถ้าหัวใจหยุดเต้น ไม่ต้องฉีดยาศพ เพราะบริจาคร่างกายไว้แล้ว

นี่แหละการเตรียมตัวตายก่อนที่จะตายจริง เตรียมไว้ให้พร้อม คนอยู่หลังจะได้ไม่ต้องมาเสียเงินเสียทอง มานั่งทำพิธีศพแบบสิ้นเปลืองกัน

เราบอกว่า กระดูกก็ไม่ต้องเอากลับมาทำพิธีอะไร แล้วไม่ต้องเอากลับมาบ้านด้วย ยกให้เป็นอาจารย์ใหญ่ไปเลย เอากลับมาเดี๋ยวก็เก็บรักษาไม่ดี เป็นเชื้อราเพราะความชื้นอีก สุดท้ายเอาไปลอยน้ำอีก เสียประโยชน์ไปเปล่าๆ

ภรรยาเขาบอกว่า ตั้งใจทำแบบนั้น จะไม่ทำพิธีอะไรทั้งสิ้น ถ้าตายจริง โทรฯแจ้งรพ.จุฬา ให้มารับศพไปได้เลย  นี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่สามีเขาได้สร้างกุศล

เราบอกว่า เอาเงินใส่มือนะ แล้วให้พูดที่ข้างหู ให้เขาตั้งใจอธิษฐาน แล้วนำเงินนั้นไปทำบุญหรือสังฆทาน ให้ทำแบบนี้ทุกวัน เพราะยังมีโอกาสทำอยู่ ตายแล้วจะไม่ได้ทำ

เขาบอกว่า ทำทุกวันเลย เวลานั่งเฝ้า จะสวดมนต์ให้สามีฟังตลอด แล้วคอยพูดเรื่องบุญกุศลให้ฟัง นี่เขาไม่ได้บอกกับคนแถวๆบ้าน เดี๋ยวชาวบ้านจะว่าบ้า เพราะไม่เข้าใจ

เราบอกว่า ดีแล้ว คนอื่นๆช่วยอะไรไม่ได้หรอก เราน่ะแหละต้องช่วยตัวเอง  ลุงยังหายใจได้อยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้สึกตัวก็ตาม แต่ยังสามารถให้ลุงสร้างกุศลได้

พูดไปแล้ว คิดถึงแม่นะ แม่น่ะทำประกันไปหนึ่งแสนบาท แม่บอกว่าเอาไว้สำหรับงานศพ เพื่อคนอื่นๆจะได้ไม่ต้องเดือดร้อน เราน่ะพูดตั้งนาน เรื่องการสร้างกุศลก่อนตาย กว่าแม่จะยอมไปทำเรื่องบริจาคร่างกาย

แรกๆไม่ยอมเลย เราต้องยกเหตุผลต่างๆให้ฟัง เรื่องงานศพก็เหมือนกัน เราบอกว่า ตายแล้วก็แล้วกัน ก็แค่ร่างๆหนึ่ง เหมือนศพทั่วๆไปไม่แตกต่างเลย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา กุศลก็น้อยมากๆ สู้บริจาคร่างสร้างกุศลจะดีกว่า

แล้วไม่ต้องมาทำพิธีอะไรให้วุ่นวาย ทางรพ.เขาจัดการให้เสร็จ ให้แม่เอาเงินแสนน่ะ มาทำบุญตอนที่มีชีวิตอยู่จยังดีกว่า กุศลได้เต็มๆ  ตายไปแล้ว แม่จะทำอะไรไม่ได้เลย   แม่งอนเราไปพักหนึ่งนะ กว่าจะเข้าใจในสิ่งที่เราพูด

แต่ยังมีแย้งนะว่า หากน้องๆเราคิดจะจัดงานศพ ก็ให้จัดได้  เราล่ะเซงเลย เดี๋ยวดูนะ มีทะเลาะกันอีก เรื่องเงินช่วยงานศพ นี่ก็ของกูๆๆๆๆๆๆ เพื่อนกูๆๆๆๆๆๆๆ ส่วนเราน่ะ กูไม่เอา ของเพื่อนกู กูก็ไม่เอา ใครอยากได้ เอาไปเลย

สุดท้าย พี่น้องแตกคอกันอีก เพราะเรื่องเงินช่วยในงานศพ สองงานมาแล้ว มีเรื่องมาตลอด เราน่ะคนกลาง คอยพูดทั้งสองทางไม่ให้ทะเลาะกัน ก็อีแค่เงินงานศพ เดี๋ยวตายกันเอง ทีนี้ใครล่ะแย่งกันอีก เคยคิดกันบ้างไหม

การบรรลุทำ

นำบทสนทนาเรื่องเหตุแห่งทุกข์มาให้อ่านเป็นบทนำก่อนจะเข้าหัวข้อหลักของเรื่อง
คือ สภาวะ ทำไมถึงเรียก สภาวะ แล้วสภาวะที่แท้จริงนั้นคืออะไร

walai says: ตอนนี้กำลังโดนทดสอบทั้งคู่ คนทำเล็บโดนไม่มีงาน งานน้อยลง เริ่มใจเสีย ก็อธิบายให้เขาฟังนะ กำลังโดนทดสอบ ถ้าไม่ทำก็อด ทำก็อด แต่มีทางอื่นๆมาเกื้อหนุน

ooสาธุoo says: เหมือนผมวันนี้ ร้าน 4 โมงครื่งแล้วมี 2 โต๊ะเอง วันนี้ลงคาถาไม่ดี

walai says: ไม่เที่ยงค่ะ บทเรียนค่ะ สภาวะมาสอนไม่ให้ยึดติด รู้สึกว่าจะโดนกันเป็นแถบๆ ก็ต้องอธิบาย ไม่งั้นเดี๋ยวเลิกกันหมด เพราะไม่เข้าใจ

คนเลิกทำเพราะเหตุนี้แหละ ถูกทดสอบแล้วไม่ผ่าน ใจไม่ถึง มีความอยากได้เยอะ โดนกันหมด

ตัวเองก็โดนนะ เอางานมาเสนอ ให้ไปทำไกลกว่าเดิม แต่ได้เงินมากถึง 3 เท่า บ้านไม่ต้องเช่า ความอยากได้ อยากมี คือจุดอ่อนของผู้คน ทุกคนกลัวความไม่มี

ooสาธุoo says: ของธรรมดาครับ ทุกคนต้องการทั้งนั้น ทีแรกผมยังคิดว่าปฎิบัติแล้วจะทำให้เรารวยขื้น
แต่ตอนนี้สิ่งที่ได้มาถืงยังไม่ถืงแค่ไหน ก็คิดว่ามีค่ามหาศาล

walai says: ส่วนมากจะคิดแบบนั้นค่ะ เรื่องปกติ

ooสาธุoo says: เอาแค่กินไปวันๆๆๆพอครับ

walai says: ค่ะ มันไม่ใช่เรื่องของเงินทอง แต่เป็นเรื่องของใจหรือจิตนี่เอง

ooสาธุoo says: ครับ วันนี้ไม่ได้ปฎิบัติเต็มรูปแบบ ไปทำรถนะครับ กลับมาก็จะ11โมง เลยไม่ได้ส่งการบ้าน

walai says: ทุกคนอยากมีความสุข ไม่มีใครหรอกที่อยากเจอความทุกข์
แต่เพราะเหตุที่ทำลงไปด้วยความไม่รู้ต่างหาก ชีวิตจึงเป็นไปเช่นนั้น

ooสาธุoo says: ครับ ไม่มีใครอยากเจอทุกข์ แต่เราไปหาเข้ามาเองทั้งนั้น ถ้าไม่รู้นะ

walai says: คำว่าเต็มรูปแบบ อาจจะเดิน 5 นาที นั่ง 5 นาทีก็ได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากมาย ให้เราทำตามความสะดวก

ooสาธุoo says: ผมนึกว่า1กับ1 คือ เดิน 1ชม.และต่อด้วยนั่ง 1 ชม.

walai says: เปล่าค่ะ เราไปให้ค่าเอง แต่หลักๆ ถ้าสามารถทำได้จริงๆคือ 1กับ 1 ถ้าทำได้น่ะค่ะ ทำไม่ได้ไม่เป็นไร สะสมหน่อวยกิตไป เหตุของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน

เวลาที่ได้ปฏิบัติจึงได้ไม่เท่ากัน สุดแต่ว่าใครจะรู้จักพลิกแพลงสัปปายะเอาเอง ทุกอย่างอยู่ที่จิตค่ะ นั่ง 5 นาทีหรือแค่เศษเสี้ยวของวินาที จิตสงบจากกิเลสไปได้ นี่ก็กุศลแล้วค่ะ

ooสาธุoo says: ใช่ครับ

walai says: ดีกว่านั่งเป็นชม.แล้วไม่รู้อะไรเลย ทำไปค่ะ แล้วจะเข้าใจอะไรมากขึ้น ทำต่อเนื่อง

ooสาธุoo says: เมื่อกี้แฟนคุยเรื่องคนทำเล็บให้ผมฟัง ว่า 2 วันนี้ เขาไม่ค่อยได้ลูกค้า
แต่เขาก็บอกว่าเดี๋ยวนี้ลูกดีขื้น เมื่อก่อนลูกต้องเอาวันละ100 เดี๋ยวนี้ให้เท่าไรก็เอา

walai says: ค่ะ ได้อย่างเสียอย่าง ไม่มีอะไรที่ได้ดั่งใจ 100% เหตุทำมายังไง ผลต้องเป็นไปตามนั้น

ooสาธุoo says: ครับ ปกติการทำการค้าก็เหมือนกับไม่เที่ยงอยู่แล้วครับ ได้มากได้น้อยตามแต่เหตุ

walai says: จะหาแบบนี้ได้ที่ไหนคะ ทั้งได้ ทั้งชดใช้ หนี้เก่า ย่อมหมดลงไปเรื่อยๆ หนี้ใหม่ไม่สร้างเพิ่ม
สักวันย่อมเป็นอิสระ ไม่เหมือนสร้างหนี้ไม่รู้จบ สร้างไปด้วยความไม่รู้ แล้วจะไปโทษใครล่ะ ตัวเองทั้งนั้น มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ตะเกียกตะกายที่จะมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

สุดท้ายเลยเป็นหนี้ไม่รู้จักจบจักสิ้น วัฏสงสารถึงยืนยาวเพราะเหตุนี้ เหตุที่ทำกันเองนี่แหละ
ไม่ได้มีใครเขาบังคับให้ทำเลย

ooสาธุoo says: ครับ ใช่เลย ตัวเราทำเอง ไปโทษใคร เราเป็นผู้สร้างเหตุ เราก็ต้องรับผล

walai says: ความไม่รู้ไงคะ ถ้าเราไม่มาเรียน เราไม่มีทางรู้เลย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเหตุอีก การจะเจอครูที่สอนให้รู้โดยตรง หาได้ยากยิ่งนัก มีแต่ครูชวนเที่ยว พาเที่ยวไปเรื่อย เลยไม่พบต้นเหตุสักที

เมื่อยังไม่พบต้นเหตุ ย่อมหยุดไม่ได้ เพราะไม่รู้จักตัวต้นที่แท้จริงของต้นเหตุ ว่าต้นเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร

บางทีเจอครูแล้ว เจอแล้วก็ยังไม่เชื่อ เพราะไม่ได้สร้างเหตุมากับครูคนนั้น ไม่งั้นคนสมัยพุทธกาลบรรลุธรรมกันหมดแล้ว พระเทวทัติเองก็คงบรรลุ ขนาดพระพุทธเจ้ามาโปรดเองแท้ๆ ยังมองไม่เห็นเลย นี่ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมากันเองทั้งนั้น

ooสาธุoo says: ครับ ผมยอมรับครับว่าการเป็นอาจารย์เป็นศิษย์นะ ต้องสร้างเหตุมาด้วยกัน ไม่งั้นไม่มาเจอกันได้หรอกครับ ดูจากคุณและผม

walai says: ไม่เที่ยงค่ะ แต่ละชาติล้วนไม่เที่ยง ศิษย์ก็เป็นอาจารย์ได้ อาจารย์ก็เป็นศิษย์ได้
เพราะเคยสร้างเหตุร่วมกันมา จึงมาเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันต่อ จึงไม่เคยยึดในเรื่องของอาจารย์หรือศิษย์

ooสาธุoo says: แต่ที่สำคัญจริงๆๆๆนะครับ มาจากเหตุที่เราทำนะละครับสิ่งสำคัญ

walai says: เมื่อรู้จักเหตุที่แท้จริงแล้ว เหตุนั้นๆย่อมจบได้ง่ายมากขึ้น ทีนี้อยู่ที่เราละ การสร้างเหตุใหม่ที่กำลังทำให้เกิดขึ้น อดทนได้ไหม เพราะใหม่ๆสติยังไม่ทัน ต้องใช้ความอดทน อดกลั้นเข้าช่วย

ooสาธุoo says: ตอนนี้นะครับใช้เหตุเก่าแต่เหตุใหม่พยายามไม่สร้าง

walai says:ถึงบอกไงคะ รู้หนอนี่มีค่ายิ่งกว่าอะไรทั้งปวง ถึงเรียกว่า คาถามหาเศษฐี มือใหม่นะคะ ถ้าขาดพี่เลี้ยง เจอความยากจนข้นแค้น เลิกไปกันหมดแทบทั้งนั้น

เลิกทำ เพราะความไม่รู้ วิบากกรรม ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากนะ แต่อยู่ที่คนๆนั้นว่า เมื่อรู้แล้ว มีความอดทน มีความอดกลั้นพอไหม

ooสาธุoo says: เออถ้าผมคิดนะครับ การหากินยากนะครับ ตามความคิดผมนะ มันมาจากเหตุที่เขาสร้าง
ถืงเขาจะมาปฎิบัติหรือไม่มาก็ตาม ต้องเจอเหตุที่ทำมา แต่ถ้ามาปฎิบัติจะทำให้เขาไม่ทุกข์กับสิ่งที่เจอ

walai says: ไม่ว่าจะยากหรือง่าย เหตุที่เกิดในปัจจุบัน คือผลที่เกิดจากเหตุที่เขาทำไว้ในอดีต

ooสาธุoo says: ใช่ครับ

walai says: แต่ถ้ามาปฎิบัติเขาจะทำให้เขาไม่ทุกขกับสิ่งที่เจอ …………….
อันนี้อยู่ที่กำลังของสติ และความเข้าใจในเรื่องของเหตุที่ทำมาด้วยค่ะ ถ้ายังไม่เข้าใจ ปฏิบัติยังไงก็ทุกข์อยู่ดี

ooสาธุoo says: ครับอันนั้นจริงครับ

walai says: สภาวะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนค่ะ ยิ่งสภาวะเปลี่ยนไปมากเท่าไหร่ สภาวะนั้นๆยิ่งละเอียดมากขึ้น รู้ที่เคยรู้ยิ่งละเอียดมากขึ้น

วันนี้คือคุณเข้าใจและพูดในแบบของคุณตามที่คุณรู้ วันข้างหน้ารู้นั้นๆจะเปลี่ยนไป จะละเอียดมากยิ่งๆขึ้น

ooสาธุoo says: ครับ ผมถืงบอกตัวเองเสมอว่าผมเห็นว่าทุกข์เกิดตรงไหนแล้วจะดับตรงไหน

walai says: ค่ะ เห็นว่ายังไงคะ

ooสาธุoo says: ทุกข์เกิดที่จิต เราไปให้ค่าหรือตีค่า แต่ถ้าสติและสัมปชัญญะเรามีพอ เราก็จะไม่ทุกข์กับสิ่งที่เราคิด มีแต่คำว่าแค่รู้

walai says: เห็นไหมคะ คุณยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดของสภาวะทั้งหมดได้ ตอนนี้คุณอธิบายได้แบบหยาบๆ แบบละเอียดยังอธิบายไม่ได้ แต่พอพูดไปปั๊บ คุณจะเข้าใจได้ทันที่

เหตุแห่งทุกข์เกิดจากอะไร เกิดจากการไปหลงให้ค่าให้ความหมายต่อทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้น หรือที่เรียกว่าผัสสะหรือการกระทบ

สิ่งใดที่มากระทบแล้วทำให้จิตเรากระเพื่อมไม่ว่าจะมากหรือน้อย นั่นคือตัวต้นเหตุที่เราเคยกระทำเอาไว้กับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ตามการให้ค่าของเรา

บางสิ่งกระทบ แต่จิตเราไม่กระเพื่อม เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่าเห็น ทุกอย่างล้วนสักแต่ว่า แต่ไม่มีผลส่งมาที่จิต นั่นคือ เราไม่เคยสร้างเหตุมากับสิ่งๆนั้น สิ่งที่มากระทบ

ooสาธุoo says: สุดยอดเลยครับ ผมได้ความรู้อีกแล้ว อาจารย์สอนผมเพิ่มมาอีกแล้ว จริงๆๆๆๆครับ ความละเอียดผมยังไม่ถืง แต่พออาจารย์สอนเท่านั้นละ บางอ้อเลย

walai says: อันนี้เป็นเพียงแค่การจำค่ะ วันใดสภาวะของคุณละเอียดมากขึ้น คุณจะรู้และพูดสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองและในแบบของตัวเอง แต่ความหมายเดียวกัน คือ เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงเกิดจากอะไร อุปทานหรือการให้ค่า นี้ ล้วนเกิดจากการปรุงแต่งของจิตทั้งสิ้น

เราจึงต้องมาเจริญสติเพราะเหตุนี้เพื่อจะได้เห็นตามความเป็นจริง

การที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องมีสติ สัมปชัญญะที่สามารถรู้เท่าทันจิตได้

ผลของการเจริญสติ จึงได้ทั้ง ศิล สมาธิ ปัญญา เพียงแต่ว่าแต่ละคนสร้างเหตุมาไม่เหมือนกัน

ooสาธุoo says: ขอบคุณมากครับ

walai says: บางคนสร้างด้านสมาธิมามาก การเจริญสติจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มาเป็นตัวช่วย
ส่วนคนที่ไม่มีพื้นฐานอะไรเลย เรียกว่าต้นทุนต่ำจริงๆ นี่คือความคิดนะคะ

เราจะไปพูดว่า คนนั้นคนนี้ต้นทุนต่ำไม่ได้อย่างเด็ดขาด บางทีต้นทุนเขาอาจจะมีมาสูงมากกว่าเราอีก แต่เนื่องจากเหตุที่เขาทำมา สภาวะเขาเลยแสดงให้เห็นแบบนั้น

การบรรลุทำ ไม่ได้อยู่ที่ทำก่อนหรือทำหลัง ไม่ได้อยู่ที่ความขยันหรือขี้เกียจ แต่อยู่ที่เหตุทำมาต่างหาก เวลาและสิ่งต่างๆ ไม่ใช่ตัวมาวัดผล ไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จ

เช่น ขยันแต่โง่ก็มี ขี้เกียจแต่ปัญญาแยบคายก็มี แต่พอมาเจริญสติ ทุกคนมีค่าเท่ากันหมด ไม่มีใครโง่ ไม่มีใครฉลาด ไม่มีใครขยัน ไม่มีใครขี้เกียจ ไม่มีการให้ค่าใดๆ

บรรลุทำ คือหมายถึง บรรลุจากเหตุที่กระทำ อาจจะเขียนไม่เหมือนคนอื่นๆนะคะ

ooสาธุoo says: ผมนึกว่าเขียนผิด ถ้าธรรมอย่างนี้นะครับ

walai says: จริงๆแล้วเขียนผิดค่ะ แต่พออ่านแล้ว เออเขียนแบบนี้ดีกว่า มองเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนดี

ooสาธุoo says: ขอบคุณมากครับที่วันนี้ให้ความรู้กับผมมากเลยครับ

สรุป

ทุกข์ เปรียบเสมือนโรค คือ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือที่เรียกว่า สภาวะ

เหตุแห่งทุกข์ เปรียบเสมือนต้นเหตุแห่งโรคที่เป็น คือ อุปทาน
การไปให้ค่า ให้ความหมายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

นิโรธ เปรียบเสมือนความหายจากโรค คือ ดับกิเลส ที่เป็นต้นเหตุทั้งปวง

มรรค เปรียบเสมือนยารักษาโรค คือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔
เรียกภาษาชาวบ้านแบบง่ายๆคือ การเจริญสตินี่เอง

ต้นเหตุแห่งทุกข์

 
ต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ล้วนเกิดจากตัวตัณหา ความทะยานอยากนี่เอง
เพรายังไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ จึงหลงไขว่คว้าหาทุกข์มาใส่ตัวเองกันเนืองๆ
หลงผิด มองเห็นทุกข์ เป็น สุข  นี่แหละ เหตุแห่งทกข์ เกิดจากอุปทาน การให้ค่า ตามกิเลสของแต่ละคน
 
เหตุทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน
ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนกระทำกันไว้ทั้งหมด
สะสมกันมากี่ภพกี่ชาติ สะสมความทุกข์ไว้ในหัวใจ แต่ไม่รู้ว่านั่นคือทุกข์
หลงกกกอดความทุกข์ไว้ทั้งตัวและหัวใจ หลงภาพมารยาแห่งกิเลส หลงเล่นสนุกกับกิเลส
เพราะกิเลสบดบังดวงตาให้มืดบอด  มีแต่ สติ สัมปชัญญะเท่านั้นแหละ ที่จะเปิดดวงตาให้เกิดปัญญา ให้เห็นตามความเป็นจริงได้
ไม่ว่าใครหน้าไหนก็ช่วยไม่ได้หรอก ต้องช่วยตัวเอง ต้องทำด้วยตัวเอง หากยังไม่อยากที่จะต้องทุกข์อีกต่อไป ไม่รู้จักจบสิ้น

พระปฏาจาราเถรี

 
                       ปฏาจาราเป็นธิดาเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี เป็นที่รักเป็นที่หวงแหนของบิดามารดามาก ไม่ย่อมให้คบหาสมาคมกับบุรุษ ถึงกับสร้างปราสาท 7 ชั้นให้นางอยู่จะไปไหนทีต้องขออนุญาต ทำให้นางรู้สึกอึดอัดมาก จนในที่สุดนางเกิดความรักกับคนใช้ในบ้าน มีความสัมพันธ์กันลับๆ โดยที่บิดามารดาไม่ทราบ เมื่อทราบว่ามารดาบิดาจะให้แต่งงานกับลูกชายเศรษฐีที่มีฐานะเท่าเทียมกัน นางก็นัดแนะกับชายคนรักหนีออกจากบ้านไปอยู่ชนบทห่างไกล ทนอยู่อย่างอดๆ อยากๆ เพราะอานุภาพแห่งความรัก ไม่นานก็ตั้งท้องลูกคนแรก
                   
                         เมื่อใกล้จะคลอดนางนึกถึงบิดามารดาคิดว่า “ถ้าคลอดลูกท่ามกลางบิดมารดา ญาติพี่น้อง คงจะอบอุ่นและปลอดภัย” จึงขอร้องให้สามีพากลับบ้าน สามีกลัวความผิดของตนเองเกรงว่าจะถูกเศรษฐีทำร้ายไม่ยอมให้อภัย จึงบ่ายเบี่ยงไม่ยอมพานางกลับ  เมื่อสามีไม่อยู่บ้านวันหนึ่ง นางก็หนีกลับบ้าน ระหว่างทางเกิดปวดท้องรุนแรงและคลอดลูกในระหว่างทางนั้น สามีตามมาทันจึงพากลับบ้านตามเดิม
                   
                         ครั้งตั้งท้องคนที่สอง นางก็อ้อนวอนสามีให้พากลับบ้านอีก สามีก็บ่ายเบี่ยงเช่นเคย นางจึงพากลูกหนีสามีไปอีก สามีตามมาทันบังเอิญว่าวันนั้นเกิดพายุฝนกระหน่ำสายน้ำหลากมาก สามีไปหาใบไม้มาทำเพิงหลบฝนแต่เคราะห์ร้ายถูกงูกัดตาย ในขณะที่รอสามีมานางก็คลอดลูกคนที่สองในท่ามกลางฝนตกหนัก นางต้องทนทุกข์ทรมานตลอดคืน
                   
                         เมื่อสว่างแล้วนางได้อุ้มลูกน้อยที่พึ่งคลอดใหม่และจูงลูกชายคนโตเดินตามหาสามีเมื่อทราบว่าสามีตายแล้วก็เกิดร้องไห้เสียใจพาลูกกลับเมืองสาวัตถีพบกระแสน้ำไหลเชี่ยวขวางทางอยู่ ครั้งจะพาลูกทั้งสองข้ามน้ำไปพร้อมกันก็ไม่ได้ จึงวางลูกชายคนโตให้รออยู่ฝั่งนี้ แล้วอุ้มเอาลูกคนเล็กข้ามน้ำไปวางไว้ที่ฝั่งโน้น กลับมาเพื่อจะรับลูกคนโตข้ามน้ำ พอไปถึงกลางลำธาร ได้มีเหยี่ยวใหญ่ตัวหนึ่ง เห็นเด็กน้อยพึ่งคลอดเข้าใจว่าเป็นชิ้นเนื้อจึงโฉบลงมา นางรีบยกมือทั้งสองขึ้นร้องตะโกนไล่เหยี่ยวเสียงดังลั่น สายเสียแล้วเหยี่ยวได้โฉบเอาลูกน้อยของนางไปต่อหน้าต่อตา  ฝ่ายลูกชายคนโตเห็นแม่ยกมือขึ้นร้องนึกว่าแม่ร้องเรียก ก็กระโจนลงน้ำจะมาหาแม่ ถูกกระแสน้ำพัดหายไปในบัดดล ปฏาจาราได้สูญเสียทุกอย่างหมดสิ้น สามีตายในระหว่างทาง ลูกชายคนหนึ่งถูกเยี่ยวโฉบไป อีกคนถูกน้ำพัดไป ชีวิตมั่นช่างโหดร้ายอะไรเช่นนี้ นางร้องไห้คร่ำคราญอย่างน่าสงสารไปตลอดทาง  
 
                         ระหว่างเดินทางมุ่งหน้าไปเมืองสาวัตถี พบชาวเมืองคนหนึ่งเดินสวนทางมา นางจึงถามถึงบิดามารดาของตน เมื่อได้รับคำตอบว่าเมื่อคืนนี้ฝนตกหนักได้พัดกระหน่ำบ้านเศรษฐีพังทับคนในบ้าน บิดมารดาและพี่ชายของได้ตายหมดแล้วเท่านั้น สติที่พอมีอยู่บ้างก็ขาดผึ่งทันที นางล้มลงสิ้นสติไปทันที ฟื้นขึ้นมาอีกที่ก็กลายเป็นคนเสียสติเดินวนเวียนไปอย่างไร้จุดหมาย จนผ้าผ่อนที่นุ่งอยู่หลุดหายไป ก็ไม่รู้สึกตัว ชาวเมืองเห็นนางก็ไล่ตะเพิดว่า “หญิงบ้าไปที่อื่นๆไป” ไม่มีใครปรารถนาให้นางเข้าใกล้ ถ้าใครสักคนรู้เบื้องหลังของนางคงจะสงสารนางไม่กล้าไปเป็นแน่แท้  นางเดินสะเปสะปะ หัวเราะบ้างร้องไห้บ้างเข้าไปยังวัดเชตวัน
                         
                          ขณะนั้นพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมเทศนาอยู่ อุบาสกอุบาสิกาต่างก็ออกปากไล่นางให้หนีไป พระพุทธองค์ตรัสอนุญาตพวกเขาให้นางเข้ามา พร้อมกับตรัสเตือนสติว่า “น้องหญิง จงกลับไปสติกลับมา”
                   
                          นางได้สติคืนมาเห็นตัวเองเปลือยกายล่อนจ้อนต่อหน้าธารกำนัล ก็นั่งลงด้วยความละอาย อุบาสกคนหนึ่งได้โยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท กราบทูลพลางร่ำไห้ไปพลางถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนาง นางกลายเป็นคนไร้ญาติขาดมิตรไปแล้ว
                   
                          พระพุทธองค์ตรัสว่า “อย่าคิดมากเลย ปฏาจารา สามี ลูกทั้งสอง บิดา มารดา และพี่ชายของเธอก็ตายไปแล้ว ถึงเธอจะร้องไห้จนน้ำตาท่วมตัว เธอก็ช่วยให้เขาเหล่านั้นฟื้นขึ้นมาไม่ได้ น้ำตาของผู้ที่ร้องไห้เพราะรักวิปโยคในสังสารวัฏอันยาวนานนี้ ถ้าจะวัดกันแล้ว มีมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่เสียอีก เธออย่าได้มัวประมาทอยู่เลย จงทำที่พึ่งแก่ตัวเองเถอะ แล้วเธอจะไม่ต้องเสียน้ำตาอีกต่อไป ปิยชนคนที่เรารักทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นไม่อาจเป็นที่พึ่งแก่เราได้ดอก นอกจากเราต้องพึ่งตัวเราเอง”
                   
                           เมื่อได้ฟังพระดำรัสตรัสปลอบโยน นางก็ค่อยบรรเทาความเศร้าโศกลง จิตใจสงบผ่องใส ฟังพระธรรมเทศนาจบได้บรรลุโสดาปัตติผล จึงทูลขอบวชเป็นภิกษุณี พระพุทธองค์ได้ส่งเธอไปบวชในสำนักภิกษุณี
                   
                           เมื่อบวชแล้ว ในวันหนึ่ง พระเถรีเทน้ำจากหม้อดินล้างเท้า มองเห็นน้ำไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วซึมหายไปในดิน เทลงครั้งที่สองน้ำไหลไปไกลกว่าเดิมแล้วก็ซึมหายไป เทลงครั้งสามน้ำไหลไปไกลกว่านั้นอีกแล้วก็ซึมหายไป นางได้คิดว่า “ชีวิตคนเราก็เหมือนกับน้ำที่เทออกจากหม้อน้ำ บางคนตายแต่อายุยังน้อย บางคนตายเมื่อเข้าวัยกลางคน บางคนตายในวันแก่ชรา ชีวิตนี้ไม่แน่นอน”
                   
                           ทันใดนั้นก็มีแสงสว่างวาบ พระพุทธองค์ปรากฏต่อหน้านางตรัสว่า “ปฏาจารา เธอคิดถูกแล้ว การมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวของคนที่พิจารณาเห็นความเกิดดับแห่งเบญจขันธ์ ประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปีของคนที่มองไม่เห็นสัจจะข้อนี้”
                   
                           เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระปฏาจาราเถรีได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทา พระเถรีได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ในตำแหน่งเอตทัคคะทางด้านเป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัยอย่างยิ่ง ประสบการณ์ชีวิตเบื้องหลังชีวิตของนางกลายเป็นประโยชน์แก่นางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นางได้นำเอาประสบการณ์ไปสอนภิกษุณีและสตรีทั้งหลายได้เป็นอย่างดี จึงมักปรากฏว่ามีเหล่าสตรีผู้มีปัญหาชีวิตมาขอคำแนะนำจากนางเป็นจำนวนมาก
                    ชีวิตของพระนางปฏาจาราเถรี จึงเป็นชีวิตที่น่าศึกษาและเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่กำลังประสบความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งให้ยืนหยัดต่อสู้ต่อไป

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ