กุญแจ

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ปัจจุบันใช้ชื่อว่า พระสูตร
หลักๆเป็นพระสุตตันตปิฎก

พระสูตรแต่ละพระสูตร เปรียบเสมือนกุญแจ
เจอกุญแจดอกหนึ่ง จะไปเจอกุญแจดอกอื่นๆ
ไขความเนื้อความพระสูตร จากรู้สิ่งหนึ่งไปรู้อีกสิ่งหนึ่ง
จนมาแจ่มแจ้งคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ

แล้วทำให้กระจ่างในตัวสภาวะต่างๆในพระสูตร
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ปัญหาคือ คนที่ตีความที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นั้นๆ
ผู้ที่ตีความไม่ใช่เพียงอรรถกถาเท่านั้น
แต่มีอุบาสก อุบาสิกา มาร่วมในการแก้ไขพระสูตร
ด้วยเหตุนี้พระสุตันติปิฎก จึงมีการสอดใส่ทิฏฐิของคนลงไปด้วย

จะไม่มีปัญหา ถ้าผู้นั้นปฏิบัติจนแจ่มแจ้งตัวสภาวะวิมุตติด้วยตัวเอง
ตัวหนังสือสักแต่ว่าหนังสือ กำหนดตามจริง
คืออ่านได้ แต่อย่ายึดมั่นถือมั่นในตัวอักษร(หนังสือ)

= อธิบาย =

คำว่า ตรงนี้ว่าเรารู้ได้อย่างไร
“ปัญหาคือ คนที่ตีความที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นั้นๆ
ผู้ที่ตีความไม่ใช่เพียงอรรถกถาเท่านั้น
แต่มีอุบาสก อุบาสิกา มาร่วมในการแก้ไขพระสูตร
ด้วยเหตุนี้พระสุตันติปิฎก จึงมีการสอดใส่ทิฏฐิของคนลงไปด้วย”

ที่รู้ได้ เพราะได้เจอน้องผู้หญิงคนหนึ่ง เขาติดตามเรามานานแล้ว
อันนี้เขามาเล่าให้ฟังที่หลัง
น้องคนนี้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ จนได้มรรคผลตามจริง(โสดาปัตติผล)
ที่สิ่งที่เราได้เขียนไว้ในบล็อก น้องเจอบล็อกได้ก็เหมือนหลายๆคนที่เข้ามาหาเรา ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ส่วนที่เรารู้ว่าน้องมีส่วนในการแก้ไขพระไตรปิฎก
โดยการใส่ความเห็นส่วนตนลงในพระสูตรนั้น
ไม่ใช่แค่น้องคนเดียว มีคนอื่นๆ(พระ) ที่มาร่วมด้วย
การตีความพระสูตรใช้ชื่อว่า ฉบับมหาจุฬาฯ

คือ ต้องปฏิบัติให้แจ่มแจ้งตัวสภาวะให้ได้กอน
ที่สำคัญควรปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ตามลำดับ
เริ่มจากศิล ด้วยพระสูตร
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔


หากทำตามที่พระพุทธเจ้า
เวลาไปวัด จะเจอพระภิกษุสอนทำกรรมฐาน
เป็นการต่อยอดสิ่งที่เคยกระทำไว้ในอดีต
เป็นเรื่องสัญญาที่เคยกระทำไว้

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย

ย่อมได้เปรียบบุคคลที่
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย


หลังจากที่ได้อ่าน
๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
รูปฌาน ๔
[๑๕๗] ดูกรอานนท์
มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก
เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ทำให้รู้คำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
ไม่ได้หมายถึงพระอรหันต์ ตามที่เคยอ่านๆมา

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกว่า เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา(ไตรลักษณ์)
ทำกรรมฐาน
สมถะ ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ได้แก่ ผู้ที่ได้อบรมกายและจิตด้วยการทำกรรมฐาน
จะใช้คำบริกรรม(สมถะ)หรือไม่ใช่คำบริกรรม(รูปนาม)
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั่งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ตราบใดที่ยังมีกายปรากฏ เวทนาจึงมี

เวทนาที่มีเกิดขึ้นทางกาย ที่มีเกิดขึ้นจะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่

หากได้เคยการสดับ(การฟัง)
การสนทนาจากผู้ที่เจอเวทนากล้า
และสามารถกำจัดความกลัวลงไปได้
ไม่มากคือน้อยกว่าคนที่ไม่เคยฟังมาก่อน

ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติ
แม้เวลาจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่เป็นมิจฉาสมาธิ
เมื่อมีเวทนากล้าเกิดขึ้น หากสามารถอยู่กับปัจจุบันได้ ไม่มีความกลัว
คนประเภทนี้จะได้เปรียบกว่าผู้ที่ได้รูปฌาน อรูปฌาน แล้วดิ่ง ไม่รู้สึกตัว
นั่งกี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็ดิ่ง ไม่รู้สึกตัว

เหตุของกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นทำให้รู้เห็นแปลกๆ แล้วติดใจ
นี่คือเส้นบางๆกั้นระหว่างสัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ
ระหว่างบุคคลที่ได้เคยสดับกับบุคคลที่ไม่ได้สดับมาก่อน

กลับมาเรื่องเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ได้แก่ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
คือ วิมุตติ
มีเกิดขึ้ขณะทำกรรมฐาน และขณะดำเนินชีวิต
เวทนากล้าเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
กำหนดตามความเป็นจริง สภาวะรูปนามมีเกิดขึ้นตามจริง
จะมีสภาวะสองอย่างมีเกิดขึ้น
คือ เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นอยู่กับใจที่รู้อยู่
แยกออกจากกัน ไม่ปะปนกัน แล้วดับ
หากอินทรีย์ ๕ แก่กล้า
วิมุตติ(สภาวะจิตดวงสุดท้าย) จะมีเกิดขึ้นตามจริง

หากอินทรีย์ ๕ ยังมีกำลังอ่อน
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น จะค่อยๆคลายหายไปเอง
หากเสพเนืองๆ ทำให้ค่อยๆละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

ด้วยเหตุนี้ บางสำนัก จะเน้นเรื่องวิปัสสนา(ไตรลักษณ์)
คือเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐานเป็นหลัก
ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความยึดมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
สำคัญว่านี่คือมรรคผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เกิดจากไม่เคยสดับ ไม่เคยรู้ตัวสภาวะของคำที่ว่ามรรคผล
ไปฟังบุคคลที่ไม่เคยได้มรรคผลตามจริง
ทำให้ติดอุปกิเลส ที่เกิดความพอใจสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทำนองว่า ทำได้แค่นี้ก็พอแล้ว
คำว่า พอแล้ว เกิดจากความสมคัญผิดเรื่องสิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
เรื่องกรรมและผลของผล ค่อนข้างละเอียด
เหตุนี้ ทำให้เวียนว่ายตายเกิด


เพราะเหตุนี้ บุคคลที่ได้รับการอบรมกายและอบรมจิต
ประกอบกับ บุคคลนั้น
กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ทำให้รู้วิธีการละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
และย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม


มิคสาลาสูตร
ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก
๑๐ จำพวกเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ทุศีล แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า
ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ
ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ
เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี
ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น
บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง
กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
ดูกรอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต
ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไป ทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีราคะกล้า แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า
ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ
เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี
ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น
บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
เป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขาตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย
บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
อย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร
และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล

ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

= อธิบาย =

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง
เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขาตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขาตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

บุคคลจำพวกนี้ คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

นำมาจากพระสูตรนี้

นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อมั่นในโลกนี้ คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ๕ จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ฯ

เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ

แก้ไขใหม่ ๑๘ มีค. ๖๖

มานั่งอ่าน ทำให้รู้ว่าเขียนสภาวะตกไป
เรื่องโคตรภูญาณ
ประมาณว่าเมื่อไตรลักษณ์ปราฏ
อาจจะมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต(ทุกขาปฏิปทา)
หรือมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน(สุขาปฏิปทา)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดต่อ
โคตรภูญาณเกิดขึ้นต่อ

หากมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ
แต่โคตรภูญาณยังไม่ปรากฏ
นั่นหมายถึงยังไม่ได้โลดาปัตติผล

ไว้จะมาเขียนแยกตัวสภาวะออกจากกัน
มีตย.ของผู้ที่ได้โสดาปัตติผลตามจริง
บางครั้งก็ลืมไปนะว่าไม่ได้เขียนแยกไว้


ก่อนจะมาเป็นเจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ต้องรู้ชัดสภาวะวิมุตติปาริสุทธิ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

เมื่อแจ่มแจ้งสภาวะ วิมุตติปาริสุทธิ ตามจริง
จึงจะแจ่มแจ้งคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

ค่อนข้างจะซับซ้อน คือ
แจ้งสภาวะวิมุตติที่มีเกิดขึ้นตามจริงก่อน
จึงจะแจ่มแจ้งคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง ที่หลัง

ก็คือ เมื่อวิชชา ๓ ปรากฏตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะ จึงปรากฏตามจริง
จะแจ่มแจ้งสภาวะวิมุตติปาริสุทธิ ที่มีเกิดขึ้นตามจริงก่อน
(เดิมที่มักจะเรียกว่าสภาวะจิตดวงสุดท้าย)
แล้วจึงจะแจ่มแจ้งสภาวะที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้เกี่ยวกับคำว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ

พอจะพูดได้ว่า
เมื่อได้วิชชา ๓ ตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะ ปรากฏตามจริง
แจ่มแจ้งสภาวะวิมุตติที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เมื่อได้ศึกษาพระธรรมในพระสูตรต่างๆ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เกี่ยวกับคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ
ประกอบกับแจ่มแจ้งสภาวะวิมุตติที่มีเกิดขึ้นตามจริงด้วยตัวเอง
จึงทำให้รู้รายละเอียดของคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตตินั้น
ก็คือสภาวะวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริงน่ะแหละ

เมื่อยังไม่แทงตัวอักษร(คำเรียก)
ย่อมไม่เข้าใจคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

“ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล
ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้”

ซึ่งตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงก็ได้แก่ วิมุตติ

ทุกคำที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมนั้น
เป็นตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เพียงแต่หากยังยึดติดตัวหนังสือ จะทำให้ยึดติดในสิ่งที่รู้มา
ทำให้ไม่รู้ชัดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ

ที่สำคัญ ต้องละคำเรียกต่างๆนี้ ทิ้งไปเลยจากใจ
คือ เราเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
ต้องไม่มีความเรียกเหล่านี้อยู่ในอนุสัย ไม่กำเริบเกิดขึ้นมาอีก

ให้บอกตัวเองเนืองๆว่า
เราปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด(อนุปาทาปรินิพพาน)
เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อ “ความเป็น”

หากเรายังมีความคิดในใจว่า เราเป็น
นั่นหมายถึงยังถอนตัณหาไม่ได้

หากเมื่อละตัณหา เรื่องความเป็นลงไปได้
ตัวสภาวะจะดำเนินต่อเนื่อง ไม่ติดขัด
เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวหนังสือ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในพระธรรมที่ผุดขึ้นมา
สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น แล้วเก็บรวบรวมไว้ เหมือนการต่อจิ๊กซอ
จากรู้คำเรียกหนึ่ง(ในพระสูตร) จะไปรู้คำเรียก(ในพระสูตร)ต่อๆไป
รู้ที่ละตัว ไม่ได้รู้เป็นแบบกลุ่มก้อน ไม่ใช้แบบนั้น

เดิมที่ เข้าใจว่าคำว่า เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ
เข้าใจว่าเป็นสมถะและวิปัสสนา

เป็นเรื่องการทำกรรมฐาน
สมถะ มีใช้บริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์

ก่อนหน้า สิ่งที่เคยรู้มาก่อนโดยตัวสภาวะ
จึงทำให้เข้าใจว่า จะต้องเป็นแบบนี้ๆ
ที่ไม่ติดคำเรียกเหล่านี้ เกิดจากการกำหนดตามจริง
ไม่นำความรู้เห็นนี่ไปสร้างกรรมกับผู้อื่น
ใช้วิธีการเขียนมาเรื่อยๆ


พาลวรรคที่ ๓
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้

วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย
เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

.
๕. อนุคคหสูตร
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติ เป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

.
ขยายใจความหมายของคำว่า เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ

๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี
ปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ๑
ความสำคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง ๑
ความสำคัญว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ ๑
ความสำคัญในการละ ๑
ความสำคัญในความคลายกำหนัด ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์

เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้
ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสาร
ที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างนี้แล ฯ


จากพระสูตรที่เคยอ่านมา ทำให้เห็นแบบนั้น
ต่อมาเจอพระสูตรนี้ มาช่วยขยายความเข้าใจมากขึ้น
แต่ก็ยังเข้าใจเหมือนเดิม ไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด

๒. อัฏฐกนาครสูตร
พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ
รูปฌาน ๔
[๒๐] ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ปฐมฌานนี้
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล
ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

= อธิบาย =

จากพระสูตรนี้ พูดตัวสภาวะ จะเหมือน ๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒

คำว่า ความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ได้แก่ ทำกรรมฐาน
สมถะ มีใช้บริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่อง จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่อง จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

.
ตรงนี้
“สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”
ได้แก่ จะสมถะหรือวิปัสสนา
หากไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

หากยึดติดตัวหนังสือนี่
จะทำให้เข้าใจผิดคิดว่า เมื่อมีไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
เท่ากับได้มรรคผลตามจริง

.
ตรงนี้
“ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น”
คือยังพอใจในจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ



พอมาเจอพระสุตรนี้ จบเลย
มีรายละเอียดทั้งหมด
จึงทำให้รู้แล้วว่า คำว่า เจโตวิมุติ และคำว่า ปัญญาวิมุตติ
ให้สังเกตุตรงคำว่า วิมุตติ
วิมุตติ จะมีใช้อยู่สองสภาวะคือ วิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะ
วิมุตติปาริสุทธิ หมายถึงได้มรรคผลตามจริง ปราศจากตัณหา
วิมุตติญาณทัสสนะ ไม่ใช่เพียงการแจ้งอริยสัจ ๔ เท่านั้น

๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
รูปฌาน 4
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น
และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

= อธิบาย =

ตรงนี้
“รูปฌาน 4”
หมายถึงการทำกรรมฐาน
สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ปฏิบัติต่อเนื่องจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
ปฏิบัติต่อเนื่องจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

“เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง”
ตัวสภาวะตรงนี้มีเกิดขึ้นเฉพาะสัมมาสมาธิ
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ปรากฏตามจริง
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

สีลสูตร
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

คำว่า เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕ ตามจริง

“เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

คำว่า ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติปาริสุทธิ)ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

มรรค เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ปล่อยความยึดมั่นถือมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น
(บางคนใช้โยนิโสมนสิการว่า ไม่ตายหรอก ทำให้อดทน จนผ่านไปได้)
เมื่อจิตปล่อย เวทนากล้าที่มีอยู่จะค่อยๆคลายหายไป(ตรงนี้เกิดก่อน) หรือดับ(เกิดที่หลัง)

(จึงมาเป็นคำว่า
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ปล่อยความยึดมั่นถือมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)

กับคำว่า
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ เวทนากล้าที่มีอยู่จะค่อยๆคลายหายไป แต่สภาวะจิตดวงสุดท้ายไม่ปรากฏ)

ผล ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติปาริสุทธิ)ปรากฏตามจริง

คำว่า วิมุตติปาริสุทธิ
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงได้แก่
วิชชา ๑
วิชชา ๒
วิชชา ๓

วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง

คำว่านิพพาน ตัวสภาวะตามจริง คือดับภพ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ)
ดับตัณหา ๓ และดับอุปาทานขันธ์ ๕


แก้ไข 4 สค. 65

๒. สามัญญผลสูตร
เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู
วิชชา ๘
วิปัสสนาญาณ
มโนมยิทธิญาณ
อิทธิวิธญาณ
ทิพยโสตญาณ
เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
จุตูปปาตญาณ
อาสวักขยญาณ

= อธิบาย =

มโนมยิทธิญาณ
อิทธิวิธญาณ
ทิพยโสตญาณ
เจโตปริยญาณ
เกิดจากกำลังสมาธิในอรูปฌาน
ทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ยังเป็นโลกียะ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
จุตูปปาตญาณ
อาสวักขยญาณ
เป็นเรื่องการได้มรรคผลตามจริง
เป็นโลกุตตระ

วิชชา ๑ โสดาปัตติผล
โคตรภูญาณมีเกิดขึ้นต่อ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
มีเกิดขึ้นเฉพาะผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ

วิชชาข้อแรก เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น
ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …

บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
นี่เป็นสภาวะของโสดาบันประเภท กายสักขี ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนไดมรรคผลตามจริง

วิชชา ๒ อนาคามิผล
จุตูปปาตญาณ
มีเกิดขึ้นผู้ปฏิบัติได้รูปฌานและอรูปฌาน

วิชชา ๓ อรหัตผล
อาสวักขยญาณ
มีเกิดขึ้นผู้ปฏิบัติได้รูปฌานและอรูปฌาน

แก้ไข 3 กย. 65

บันทึก

กำลังทะยอยเขียนการกำหนด
ยืนหนอ
เดินจงกรม มีทั้งหมด 6 ระยะ

สิ่งที่เขียนก็นำมาจากการที่เราได้แนะนำการกำหนดให้กับผู้ปฏิบัติ
คือต้องให้ผูปฏิบัติทำตามได้ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ
ทำให้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีเกิดขึ้น
เห็นความเกิดและความดับขณะเดินจงกรมในแต่ก้าว
เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดอยู่ปัจจุบัน
สภาวะที่เราพูดถึงมีเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ
จึงทำให้เราจึงทะยอยเขียน
เพราะเห็นว่า สิ่งที่เราบอก สามารถทำให้ผู้อื่นปฏิบัติตามและได้ผลจริง

ก่อนอื่น ต้องรู้ว่าเราเป็นสมอง มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร
แล้วเราต้องมาให้คำแนะนำผู้ปฏิบัติ ทำให้รู้สึกยากในเรื่องการใช้คำพูด ต้องนึกคำเรียก ตัวสะกด บางครั้งนึกไม่ออก มีผลต่ออารมณ์ ทำให้แปรปรวน และมีผลต่อหัวใจ

สาเหตุที่ยังสามารถแนะนำน้องได้ ทั้งๆที่มีผลต่อหัวใจที่เป็นอยู่
เกิดจากเรากำหนดตามจริง รู้สึกอย่างไร ก็พูดแบบนั้น ไม่ปกปิด
ด้วยเหตุนี้ เมื่อเขาก็รู้ว่าการกำหนดของเขา แรกๆยังทำไม่ได้ ก็พยามกำหนดให้ทันปัจจุบัน เมื่อเขาเริ่มทำได้ ทำให้เราไม่ต้องหนักใจเหมือนตอนแรกๆ

การที่จะแนะนำคนอื่นได้
ผู้ที่รับคำแนะนำต้องละตัวตนที่ตนมีอยู่ให้ได้ก่อน
คนส่วนมากจะไม่รู้ตามจริงว่าจิตนั้นปกปิดอะไรไว้บ้าง
ที่เรารู้ เมื่อรู้ภายในของตัวเองได้
ย่อมรู้ภายนอกคือจิตของคนอื่น ไม่แตกต่างกัน
แม้ไม่มีเจโต รู้วาระจิตของผู้อื่นได้
แต่สามารถรู้ได้ ไม่ต้องมีสมาธิอะไรมากมายแค่รูปฌาน
แต่สติปัฏฐาน ๔ ทำให้รู้ทุกอย่าง

นับว่าผู้ปฏิบัติที่ติดตามอยู่กับเรา และพยามปฏิบัติตามที่เราบอก
ค่อนข้างต้องใช้ความพยามกว่าคนอื่นๆ
อาศัยว่าน้องคุ้นเคยกับเราประมาณ 10 ปี
ปฏิบัติแบบไม่รู้เรื่องปริยัติ ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น
ตอนนั้น เรารู้แค่ไหน ก็อธิบายให้รู้แค่นั้น
ที่น้องสามารถปฏิบัติต่อเนื่องได้
เกิดจาก ศิล สีลปาริสุทธิ ที่เราพูดให้เขาฟังบ่อยๆ
ทำให้เขาค่อยๆเข้าสู่ทางมรรค ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ธรรมิกสูตรที่ ๑๔

เมื่อทำต่อเนื่อง ตัวสภาวะเหล่านี้จึงปรากฏตามจริง
เสพเสนาสนะที่สมควร คือความสงัด
คบหากัลยาณมิตร
ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่
ทำให้ตัวสภาวะดำเนินถูกทาง
มรรคมีองค์ ๘ ปรากฏตามจริง
คือยืนอยู่หน้าประตู
หากผ่านประตูนี้ไปได้ ก็สามารถเปิดประตูต่อๆไปได้ที่ซ่อนอยู่ข้างใน

เหมือนศิล ไม่ใช่เพียงศิล ๕ อย่างเดียว
จะมีสีลปาริสุทธิ คือปราศจากตัณหาและอุปาทาน เป็นไปตามลำดับ
การฟังธรรม จึงเริ่มจาก
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
แล้วกระทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ใน ธรรมิกสูตรที่ ๑๔

เมื่อฟังแล้ว
เมื่อเจอสัตบุรุษ ท่านจะอธิบายขั้นตอนต่อไป

สัตบุรุษ มี ๒ ประเภท


สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
วิมุตติปาริสุทธิปรากฏตามจริง มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
หมายถึงร่างกายไม่บอบช้ำ ขณะได้มรรคผลตามจริง

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
วิมุตติปาริสุทธิปรากฏตามจริง มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
หมายถึงร่างกายบอบช้ำ กว่าจะได้มรรคผลตามจริง
ทุกคนจะได้ความรู้เรื่องกรรมและผลของกรรม
จากสัตบุรุษประเภททุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

เราจะพูดเฉพาะที่อ่านสภาวะของท่านเหล่านั้น
จากการเล่าของสิ่งที่มีเกิดขึ้นกับท่าน
ในประเทศไทย มี ๒ ท่าน

๑. หลวงปู่มั่น สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น จะเป็นพระหรือฆราวาส
ความรู้ความเห็น จะหนักไปทางเรื่องสมาธิ

๒. หลวงพ่อจรัญ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญ จะเป็นพระหรือฆราวาส
ความรู้ ความเห็น จะหนักไปทางปัญญา

= อธิบาย =

คำว่า จะหนักไปทางเรื่องสมาธิ
หมายถึงหลวงปู้มั่น ปฏิบัติได้วิโมกข์ ๘
ปฏิบัติต่อเนื่องจนได้มรรคผลตามจริง มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ส่วนลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น จะหนักไปทางสมาธิ
ปัญหาคือ สมาธิจะมี ๒ แบบ
มิจฉาสมาธิ
สัมมาสมาธิ

หากปฏิบัติจนได้อรูปฌาน มีโอภาสแสงสว่างไม่ประมาณ
มีสองสิ่งปรากฏ คือ โภาสกับใจที่รู้อยู่
ตรงนี้หากผู้นั้นไม่รู้เรื่องสมาธิ อาจทำให้สำคัญผิดว่าตนได้มรรคผล
คิดว่าเห็นรูปนามตามจริง ทำให้ติดอุปกิเลส สภาวะจะจมแช่อยู่แค่นั้น
เมื่อตาย ไปเกิดที่ไหน ก็แล้วแต่
เป็นเรื่องกรรมและผลของกรรมของแต่ละคน

(อันนี้สามารถยกตัวอย่างให้เห็นได้
เจ้านาย เขาทำกรรมฐานตามที่เราบอก เดินจงกรม ต่อนั่ง
ต่อมาเขาระลึกชาติได้ เขาเคยเกิดสมัยหลวงปู่มั่น บวชเป็นพระ
เขาบอกว่ายังมีรูปปั้นของเขา มีตั้งอยู่ในตู้ เรียบเรียงรวมกับหลวงปู่มั่น
เขาไม่ได้เป็นพระอรหันต์
เมื่อตาย เขาจึงต้องเกิดใหม่ ครั้งนี้เกิดเป็นเขาปัจจุบัน
เราถามว่า ตอนนั้นเขาเป็นพระชื่ออะไร
เขาบอกว่า ลืมไปล่ะ จำไม่ได้ นานมาแล้ว
เขาเล่าให้ฟังว่า เขาเลยเกิดเป็นหมู ไม่รู้กี่ชาติ เกิดเป็นหมูนาน)

หากปฏิบัติจนได้อรูปฌาน มีโอภาสแสงสว่างไม่ประมาณ
มีสองสิ่งปรากฏ คือ โภาสกับใจที่รู้อยู่
เมื่อสภาวะมาดำเนินถึงตรงนี้ ต้องปรับอินทรีย์
คือเดินจงกรม ให้มากกว่านั่ง จนกว่าจะอินทรีย์สมดุลย์
จะทำให้เปลี่ยนจากมิจฉาสมาธิมาเป็นสัมมาสมาธิ
คือมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ
ทำให้เห็นความเกิด ความดับ ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

แต่ส่วนมากเท่าที่เห็นมา
คือพอปฏิบัติได้อรูปฌาน จะรู้เห็นแปลกๆ รู้วาระจิตของคนอื่น
บางคนติดใจ พอใจในสิ่งที่รู้เห็นสภาวะจึงจมแช่อยู่แค่นั้น

คำว่า จะหนักไปทางปัญญา
หมายถึง หลวงพ่อจรัญ ปฏิบัติได้วิโมกข์ ๘
ปฏิบัติต่อเนื่องจนได้มรรคผลตามจริง มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
เวลาเทศนา หลวงพ่อจรัญจะเทศนาเรื่องกรรมและผลของกรรม
เรื่องราวที่ท่านเจอมา วิบากของท่าน
ส่วนลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญ เป็นพระและฆราส
จะเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ
คือเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม

ส่วนสมาธิ ท่านจะสอน
เริ่มจากกำหนดยืนหนอ
กำหนดเดินจงกรม
กำหนดตอนนั่ง

การกำหนดยืนหนอ
หลวงพ่อท่านมีประสพการณ์กว่าจะรู้ชัดการกำหนดยืนหนอ
ต้องไปหาอ่านเรื่องพระในป่า หลวงพ่อดำ

ทั้งหมดนี้เราเล่าเรื่องตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทิ้งไปได้เลยว่าท่านนั้นๆเป็นนั้นๆ
เราไม่สนใจคำเรียก สนใจเฉพาะตัวสภาวะของท่าน

ถ้าถามว่าในประเทศไทย มีแบบนี้อีกมั๊ย
คำตอบ เราไม่รู้หรอก ที่เรารู้เกิดจากลูกศิษย์เขียนหนังสือเล่า
เช่น หลวงตามาหาบัว เขียนหนังสือเกี่ยวกับหลวงปู่มั่น
ลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญ นำประวัติและคำสอนของหลวงพ่อจรัญ ผ่านทางหนังสือและยูทูป

ส่วนท่านอื่นๆ อาจมี แต่ไม่ขอพูดถึง
เราดูสภาวะแล้วไม่เด่นเหมือนหลวงปู่มั่นและหลวงพ่อจรัญ
จึงพูดเฉพาะหลวงปู่มั่นและหลวงพ่อจรัญ

คำถาม ทำไมสัตบุรุษ ต้องปฏิบัติได้วิโมกข์ ๘
แล้วสมาธิต่ำกว่านี้ ใช้ไม่ได้เหรอ

คำตอบ ต่ำกว่านี้ใช้ไม่ได้
เพราะไม่มีสุญญตา นิพพาน อริยสัจ ๔ สัมมาทิฏฐิ มารองรับ
จะรู้หรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม หากได้มรรคผลตามจริง
จะมีสุญญตา นิพพาน อริยสัจ ๔ สัมมาทิฏฐิ มารองรับ
ความรู้ ความเห็น ต้องตรงกับพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
เกี่ยวกับการได้มรรคผลตามจริงในแต่ละมรรต

สมัยพุทธกาล จะได้มรรคผลตามจริง
ต้องฟังจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น

ปัจจุบัน เมื่อไม่มีพระพุทธเจ้า จะมีพระธรรมเป็นที่พึง
พระสูตรในแต่ละพระสูตรสำคัญมาก
ต้องไม่เลื่อนลอย สัมผัสเป็นรูปธรรมได้ ปฏิบัติตามได้
และจากผลของผู้ปฏิบัติตามจริง ไม่ใช่จากการท่องจำ
ฉะนั้น การสดับ การศึกษา สุตะ การปฏิบัติ สำคัญมาก

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ ขึ้นอยู่กับฟังจากใคร
มีเรื่องกรรมและผลของกรรมมาเกี่ยวข้อง
คือวิบาก จึงให้คนนั้นๆมาสนทนาด้วยหรือมาแนะนำหรือมาเป็นครูมาสอน

คำว่า อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ การสดับ การศึกษา การท่องจำจนขึ้นใจ(สุตะ)

คำว่า อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ ขึ้นอยู่กับสนทนากับใคร
มีเรื่องกรรมและผลของกรรมมาเกี่ยวข้อง
คือวิบาก จึงให้คนนั้นๆมาสนทนาด้วยหรือมาแนะนำหรือมาเป็นครูมาสอน

คำว่า อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ การทำกรรมฐาน
สมถะ มีใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ

คำว่า อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ ไตรลักษณ์ มีเกิดขึ้นตามจริง
เกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน มีเวทนากล้าเกิดขึ้น

คำว่า ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ
ได้แก่ วิมุตติปาริสุทธิ ปรากฏตามจริง

อัตตวาทุปาทาน

คำถามว่า เวลาเราเห็นภายนอก เป็นตัวตน เรา เขา ชาย หญิง ป่ะ

คำตอบ เห็นสิ ตาไม่บอดนี่ เวลาผัสสะมากระทบ เวลาเห็นชาย หญิง ฯลฯ ก็เห็นปกติน่ะแหละ เหมือนการเห็นแบบคนทั่วๆไปน่ะแหละ

จะเล่าให้ฟังเรื่องคำว่า ไม่เห็นเป็นตัวตน เรา เขา สิ่งที่มากระทบ สักแต่ว่ามากระทบแล้วดับ เกิดและดับ อยู่อย่างนั้น
จะมี 4 สภาวะ ที่จะเห็นแบบนั้นได้

1. มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ผู้นั้นได้วิโมกข์ ๘ เมื่อจิตเป็นสมาธิในเนวสัญญาฯ ผัสสะที่มากระทบ สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น มองเห็นทุกสิ่งปกติ แต่ไม่มีคำเรียก เกิดและดับอยู่อย่างนั้น แม้กระทั่งร่างกายทุกส่วน ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต้องรอให้สมาธิคลายตัวก่อน จึงจะเคลื่อนไหวร่างกายได้
หากยังทำงานอยู่ มีผลกระทบต่อชีวิต เพราะเวลาจิตสมาธิเนวสัญญาฯมีเกิดขึ้น ไม่สามารถบังคับร่างกายทุกส่วนได้ ต้องปล่อย จนกว่ากำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นนั้นคลายลง จะกลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้

2.อันนี้เจอตอน STROKE ครั้งแรก ปี 61 ลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดเส้นเลือดในสมองส่วนระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ความจำเสื่อม อาการที่มีเกิดขึ้นเหมือนกับเวลาจิตเป็นสมาธิเนวสัญญาฯ ผัสสะมากระทบ ไม่มีคำเรียก สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น แต่ร่างกายต่างๆสามารถเคลื่อนไหวได้ปกติ ที่เป็นแบบนี้เกิดจากสภาวะสัญญาเสียหาย ไม่สมบูรณ์เหมือนคนปกติมีขันธ์ ๕ อยู่ครบ
เมื่อสภาวะสัญญาเสียหาย เวลากระทบอะไรก็ตาม จะไม่รู้สึก ต่อให้เอามีดมาแทง จะไม่รู้สึกเลย จากนั้นดูแลตัวเอง กินวิตมินซี วิตมินบี ทำให้เริ่มรู้สัมผัสสะได้ แต่ไม่เป็นเต็มร้อย ปีนี้ 65 เริ่มรู้สึกสัมผัสมากขึ้น แต่ไม่เต็มร้อยเหมือนคนทั่วไป เหมือนอาการที่ดาราฝรั่งเป็นอยู่ แล้วต้องเลิกเล่นหนัง เพราะการสื่อสารมีปัญหา

3.มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน ละสักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ เวลามีเวทนากล้าเกิดขึ้น ไม่กลัว กำหนดตามจริง สักพักอาการที่เป็นอยู่จะคลายหายไปเอง

4.มีเกิดขึ้นขณะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง อะไรเกิดก็ตาม กำหนดตามจริง ไม่กลัว ไม่มีความคิดเกิดขึ้น ต่อทุกสิ่งให้ดำเนินตัวสภาวะ ตายก็คือตาย ไม่กลัว แบบเจอบ่อย จนชิน แต่ยังไม่ตาย อาจเพราะยังไม่ถึงเวลา

หัวใจวายตาย เวลาจะใกล้ตาย จะเจ็บปวดสุดๆ เหมือนมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน มีเวทนากล้ามีเกิดขึ้น แบบนั้นเลย อาการปวดหลังสุดๆมีเกิดขึ้นตอนกำลังเดินจงกรม แผ่นหลังเหมือนถูกฉีกออกจากกัน เหมือนแบบในหนัง ใช้ม้าแยกร่างขาดออกจากกัน ความเจ็บปวดแบบนั้นแหละ ไม่ต้องกินยา(หมอให้ยาไว้กินเวลาเจ็บหัวใจมากๆหรือปวดหลังมากๆ)

หัวใจล้มเหลว จะรู้สึกแน่นๆที่หัวใจ หายใจไม่ออก แล้วหมดสติ

ความหลงลืม อันนี้เป็นมาตั้งแต่ยังไม่เป็นสมอง เป็นคนที่หลงลืมง่าย วางอะไรไว้ก็ลืม เป็นเรื่องปกติ ตอนเป็นSTROKE ครั้งแรก ได้เข้าเครื่องตรวจMRI ได้เห็นว่าเนื้อสมองฝ่่อ เราก็ว่าทำไมเราจึงขี้หลงลืมได้ง่าย

อ่านเจอเรื่องมีพระภิกษุสงสัยว่าทำไมพระอรหันต์(จำชื่อทำไมไ่ด้) จึงหลงลืมได้

พระพุทธเจ้าทรงสอบพระอรหันต์รูปนั้นว่า ลืมอริยสัจ ๔ มั๊ย
พระอรหันต์รูปนั้น ท่านตอบว่า ไม่ลืม

ตรงนี้บางคนไม่เข้าใจเรื่องการหลงลืมของพระอรหันต์
พระอรหันต์หลงลืมได้เกิดจากชรา แต่ไม่หลงลืมขนาดเป็นอัลไซมอร์หรอก
เกิดจากอินทรีย์ ๕ สม่ำเสมอ อริยมรรคมีองค์ ๘ รู้แล้ว รู้เลย ไม่ลืม

การได้มรรคผลตามจริง ทุกท่านจะมีวิมุตติปาริสุทธิ อัตโนมัติ
คำอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงนั้น หมายถึงวิมุตติปาริสุทธิ
หากไม่มีวิมุตติปาริสุทธิ ไม่สามารถแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงได้
คือผู้ที่ได้มรรคผลตามจริง ต้องผ่านความตาย(จิตดวงสุดท้าย)ทุกคน

ส่วนเรื่องนิพพาน เป็นเรื่องภพชาติของการเกิด
อวิชชา สังขาร วิญญาณฯ
ต้องแยกออกจากกัน
อย่านำมารวมกัน

ส่วนคำว่า ไม่เห็นตัวตน เรา เขา สัตว์ ชาย หญิง
พระอรหันต์ที่ได้มรรคผลตามจริง จะไม่พูดหรอก

มันเป็นเพียงวาทะของบุคคลนั้น ที่ยังยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

สังโยชน์

๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

ดูกรมาลุงกยบุตร
ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วว่าอย่างไร?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

[๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร
เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ?

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า
แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่
ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร
นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียง
อันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว

ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต
เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น
แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้
เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น
แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้
เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง
พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้
เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

รูปฌาน ๔
[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก
เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์

อรูปฌาน
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา
และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต
คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นอาสวะ
ถ้าไม่บรรลุ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่.
เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น
คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์.

อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่านั่นมีอยู่ นั่นประณีต
คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ นิพพาน ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ
ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล.
ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร
ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.

ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

= อธิบาย =

“เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น”

คำว่า อินทรีย์
ได้แก่ อินทรีย์ ๕ โดยเฉพาะสมาธินทรีย์

ส่วนตรงนี้

“ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร
ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้
จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.”

ต้องอ่านในหมวดจิตตปาริสุทธิ จึงจะเข้าใจ

= วิธีการปฏิบัติ ให้ศึกษาในสิกขา ๓ =


อุภโตภาควิมุตติ
[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้
๘ ประการเป็นไฉน คือ

๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑

๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒

๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓

๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา
เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕

๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ
ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ เหล่านี้
เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง
ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป
เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ
อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป กว่าไม่มี

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ

= อธิบาย =

“จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป
เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน”

คำว่า เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ได้แก่ สมถะ วิปัสสนา

คำว่า เพราะอาสวะสิ้นไป
ได้แก่ ละตัณหา ทำให้ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

“เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน”

สามารถอธิบายได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 หมายถึง แจ้งอริยสัจ ๔
แต่สามารถทำให้ติดอุปกิเลสได้
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เรียนรู้มา(บัญญัติ)

แบบที่ 2
อธิบายสภาวะตามจริงการได้มรรคผลตามจริง
ทำให้อุปกิเลสไม่มีเกิดขึ้น
โดยใช้พระสูตร เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องการละสังโยชน์

๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

รูปฌาน 4
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น
และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

อรูปฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต
คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง
สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นอาสวะ
ถ้าไม่บรรลุ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น
ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ปฏิปทานี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

= อธิบาย =

คำว่า เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕ ตามจริง

“เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

คำว่า ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติปาริสุทธิ)ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

มรรค เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ผล ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง

“อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ
อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป กว่าไม่มี”

คำว่า อุภโตภาควิมุตติ
ได้แก่ ผู้ปฏิบัติได้อรูปฌาน( 5 6 7 8)
จนได้มรรคผลตามจริง(อรหัตผล)

คำว่า อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป กว่าไม่มี
ได้แก่ ผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ
จนได้มรรคผลตามจริง(อรหัตผล)
จะประณีตกว่าผู้ปฏิบัติได้อรูปฌานอื่นๆ(5 6 7)

เพราะผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ
เวลาได้มรรคผลตามจริง(โสดาปัตติผล อนาคามิผล อรหัตผล)
สภาวะตัวแรกที่จะรู้ก่อนคือ
เนวสัญญาฯ จะปรากฏขณะดำเนินชีวิต

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างก็ดี
พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.
ไม่ใช่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

เมื่อมาทำกรรมฐาน
จะมีความรู้ความเห็นผุดขึ้นมา
จะว่าปัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าสัญญาก็ไม่ใช่
นิพพาน ดับภพ
อวิชชา สังขาร วิญญาณ
แม้จะรู้หรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติได้รูปฌาน(1 2 3 4) อรูปฌาน(5 6 7)
เวลาได้มรรคผลตามจริง(โสดาปัตติผล อนาคามิผล อรหัตผล)
จะไม่มีความรู้ความเห็นเหล่านั้นมีเกิดขึ้น
ต้องอาศัยฟังครูพูด
ครูรู้แค่ไหนก็อธิบายได้แค่นั้น
ฉะนั้นการสิกขา ๓ สำคัญมาก

ด้วยเหตุนี้ ทำไมการปฏิบัติได้วิชชา ๓ จึงมีความสำคัญมาก
หากได้มรรคผลตามจริง(อรหัตผล) เมื่อได้วิชชา ๓ ตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏตามจริง
ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเรื่องเหตุที่ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมไป

๕. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๒
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมไม่ตรึกตรอง ไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ … อัพภูตธรรม เวทัลละ
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

๖. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๓
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความมีนัยไม่ดี
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก
ประกอบด้วยธรรมกระทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต
มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ย่อมไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ
เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก
ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
ประชุมชนรุ่นหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง
ประชุมชนเหล่านั้น
ก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก
ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว
ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน แช่งกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน
ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ดี ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมเป็นเนื้อความที่มีนัยดี
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต
เล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมไม่ขาดเค้ามูล มีหลักฐานอยู่
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ
ย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด
เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกัน
ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดี
ไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกันและกัน
ไม่ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น
คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

ทิฏฐุปาทานและทิฏฐิปาริสุทธิ

ทิฏฐุปาทาน
ความเห็นที่เกิดจากตัณหา
ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในอุปาขันธ์ ๕

ทิฏฐิปาริสุทธิ
ความเห็นที่ปราศจากตัณหา
ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่


ครั้งที่ 1 โสดาปัตติผล
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ทำให้สัมมาทิฏฐิปรากฏตามจริง

เป็นความรู้ความเห็นของผู้ปฏิบัติสมถะ วิปัสสนา
ได้อรูปฌาน เนวสัญญาฯ นิโรธ
เวลาได้มรรคผลตามจริง
จะมีความรู้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยตัวเอง

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ
วิชชาข้อแรก
เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น
ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

จึงมาพระสูตรนี้
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

= อธิบาย =

คำว่า สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
ได้แก่ พระอนาคามี

คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
ได้แก่ พระอรหันต์

อริยสัจ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน
เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ
ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ
เจรจาชอบ
การงานชอบ
เลี้ยงชีวิตชอบ
ความเพียรชอบ
ความระลึกชอบ
ความตั้งใจชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

อริยมรรคมีองค์ ๘
ความเกิด อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ
ความดับ อวิชชา สังขาร วิญญาณฯลฯ

จึงมาเป็นพระสูตรนี้
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของโสดาบันประเภทกายสักขี
ของผู้ปฏิบัติสมถะ วิปัสสนา ได้วิโมกข์ ๘ จนได้มรรคผลตามจริง

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …

บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จึงมาเป็นพระสูตรนี้
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เกี่ยวกับคำว่า สัตบุรุษ

๑๐. จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐)
[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ
[๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ
จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า ฯ

ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ
นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ฯ

[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ฯ

[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษหรือไม่หนอ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ
นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า ฯ
ภิ. รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ
นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ
ภักดีต่อสัตบุรุษ
มีความคิดอย่างสัตบุรุษ
มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
มีการงานอย่างสัตบุรุษ
มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ
ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ

[๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้
เป็นผู้มีศรัทธา
มีหิริ มีโอตตัปปะ
มีสุตะมาก
มีความเพียรปรารภแล้ว
มีสติตั้งมั่น
มีปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ฯ

[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้
มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก
มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ ฯ

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้
ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ ฯ

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้
ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ ฯ

[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้
เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ
งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด
งดเว้นจากคำหยาบ
งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ ฯ

[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้
เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
งดเว้นจากอทินนาทาน
งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ ฯ

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า
สัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล
การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี
โลกนี้มี
โลกหน้ามี
มารดามีคุณ
บิดามีคุณ
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีอยู่
สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
สัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ฯ

ครั้งที่ 2 สกทาคามิผล
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ทำให้สัมมาทิฏฐิปรากฏตามจริง

เป็นที่มาของพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เกี่ยวกับคำว่า สัปบุรุษ

ครั้งที่ 3 อนาคามิผล
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ทำให้สัมมาทิฏฐิปรากฏตามจริง
ปัจจุบัน เป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
เป็นที่มาของพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมคำว่า ปุริสบุคคล

ครั้งที่ 4 อรหัตผล
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ทำให้สัมมาทิฏฐิปรากฏตามจริง

อัตตวาทุปาทานและทิฏฐุปาทาน

แก้ไข 8-10-65

ยังไม่อยากจะลบทิ้ง
ทั้งๆที่อัตตาวาทุปาทาน
เป็นเรื่องของสักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ

ทิฏฐุปาทาน ได้เขียนจบแล้ว
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ที่ยังไม่ลบ
เวลากลับไปอ่านย้อนหลัง
ทำให้รู้ว่ากว่าจะเขียนรายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ ต้องใช้เวลา
ดังที่เราได้เขียนไว้ว่าเหมือนจิ๊กซอ
แค่เขียนออกมาเรื่อยๆ เดี๋ยวจะได้พระสูตรที่สมบูรณ์


๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามฉันทะ
พยาบาท
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

[๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ?

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้
มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่
ก็กามฉันทะในกามทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต
เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น
แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้
เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น
แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้
เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง
พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้
เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

รูปฌาน ๔
[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก
เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์

อรูปฌาน
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต
คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นอาสวะ
ถ้าไม่บรรลุ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่.
เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น
คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์.

อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่านั่นมีอยู่ นั่นประณีต
คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ นิพพาน ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ
ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล.
ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร
ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.

ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

= อธิบาย =

“เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น”

คำว่า อินทรีย์
ได้แก่ อินทรีย์ ๕ โดยเฉพาะสมาธินทรีย์

“ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า”

คำว่า เจโตวิมุติ
ได้แก่ อุภโตภาควิมุตติ
ผู้ปฏิบัติได้สมถะ วิปัสสนา ได้อรูปฌาน( 5 6 7 8 )
เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องจนได้อรหัตผล ตามจริง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ

คำว่า ปัญญาวิมุติ
ได้แก่ ผู้ปฏิบัติในสมถะ วิปัสสนา ได้รูปฌาน( 1 2 3 4 )
เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องจนได้อรหัตผล ตามจริง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า ปัญญาวิมุติ

= วิธีการปฏิบัติ ให้ศึกษาในสิกขา ๓ =


6 พค. 65 ก่อนที่จะมาเขียนเกี่ยวกับสักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ พร้อมทั้งอุบายเครื่องละสังโยชน์

เจอบันทึกที่เขียนไว้
24 ต.ค. 2011 ๑. ทิฏฐิสังโยชน์
08 มิ.ย. 2013 มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ
4 พฤษภาคม 2022 สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ
6 พค. 65 อุบายเครื่องละสังโยชน์

ใช้เวลา 10 ปี ในการเขียนตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงให้สมบูรณ์ได้
ที่แน่นอน หากขาดพระสูตร ที่เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็คงไม่สามารถเขียนรายละเอียดทั้งหมดได้
เพราะสิ่งที่รู้ที่เห็น เป็นเพียงตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ไม่มีคำเรียกใดๆ

ตรงนี้อธิบายยังไม่จบเพราะมีความเกี่ยวข้องกับ
อัตตวาทุปาทาน(สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ)และทิฏฐุปาทาน

คำว่าจบแบบสมบูณ์เกี่ยวกับคำที่เรียกว่า สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ

แต่ทิฏฐิสังโยชน์ ยังไม่จบ

ทิฏฐุปาริสุทธิ
การแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง มี 4 แบบ

เวลาอธิบายต้องแยกอธิบายออกจากกัน
เวลาอ่าน จะเข้าใจมากขึ้นในตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

และวิมุตติญาณทัสสนะ ต้องอธิบายแยกออกจากกัน
เพราะวิมุตติญาณทัสสนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
และขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง

วิมุตติญษทัสสนะ ไม่ได้หมายถึงแจ้งอริยสัจ ๔ อย่างเดียวเท่ากัน แบบที่ท่องจำมา
การอธิบายรายละเอียดของคำว่า อริยสัจ ๔ จะมีแความแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง ความรู้ความเห้นของบุคคลนั้น
ที่สำคัญจะแจ่มแจ้งด้วยตัวเอง ต้องปฏิบัติได้วิชชา ๓ ให้ได้ก่อน
วิมุตติญาณทัสสนะ จะปรากฏตามจริง
ปราศจากตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา มาเกี่ยวกับข้อง


ทิฏฐิสังโยชน์
สมัยนั้นมีความรู้ความเห็นวิธีการกระทำเพื่อดับภพชาติณปัจจุบัน
เป็นการดับเหตุเฉพาะตน คือแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
มี 2 แบบ
มีเกิดขึ้นมรรคได้มรรคผลตามจริง(วิชชา ๑) แจ้งนิพพาน แจ้งอริยสัจ ๔
ต่อมามีเหตุให้กำลังสมาธิที่มีอยู่(วิโกมข์ ๘) เสื่อมหายไปหมดสิ้น ไม่มีเหลือ
ทำให้รู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ฯลฯ ที่มีเกิดขึ้นตามความจริง
ซึ่งมารู้ที่หลังว่า นี่ก็เป็นการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง เป็นครั้งที่ 2

อริยสัจ ๔ เป็นเรื่องการดับภพชาติ
แต่ความรู้ความเห็นจะแตกต่างกัน

อริยสัจ ๔ ตัวแรก สิ่งที่รู้ ดับได้เฉพาะตน
อริยสัจ ๔ ตัวที่ 2 สิ่งที่รู้ ดับเฉพาะตนและแนะนำคนอื่นให้ปฏิบัติตามได้

นับว่าตัวเองสร้างเหตุไว้ดี ไม่ยึดมั่นถือมั่นในคำเรียกต่างๆ
กำหนดสิ่งที่รู้ที่เห็นตามจริง บางครั้งมีพลั้งเผลอ
แต่ความรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) ทำให้เริ่มต้นใหม่

การเขียน เขียนตามจริง เขียนมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ
เหมือนสมุดบันทึกช่วยเรื่องความจำ
สิ่งที่เขียนไว้ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เหตุนี้แม้ป่วยจนความจำเสื่อม คำเรียกต่างๆจำไม่ได้ ต้องใช้เวลาฟื้นความจำ
สำหรับตัวสภาวะจะแยกออกมา เป็นเรื่องของจิต ที่สะสมไว้(สัญญา)
แม้ความจำเสื่อมเกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ
แต่ตัวสภาวะที่รู้แจ้งด้วยตัวเอง ไม่เสื่อม
อริยสัจ ๔ แจ้งแล้วแจ้งเลย ไม่เสื่อม

การกำหนดยืนหนอ
การกำหนดขณะเดินจงกรม มีทั้งหมด 6 ระยะ
การกำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริงขณะจิตเป็นสมาธิ
ความรู้ความเห็นเหล่านี้ ไม่เสื่อม

เพียงแต่ใช้เวลาในการที่เขียนอธิบายรายละเอียดต่างๆออกมาได้
การที่ที่ทำให้เขียนช้า เกิดจากการเจ็บป่วยทางสมอง
ทำให้มีผลกระทบต่อความคิด ความอารมณ์(แปรปรวน) การสะกดคำ

แม้จะมีสภาพตัวเองเป็นแบบนี้(คนป่วยสมอง)
ไม่ทำให้ความรู้ความเห็นที่มีอยู่ รู้เฉพาะตน ไม่เสื่อมหายไป

ตอนนี้รู้แล้วว่า การสอบอารมณ์ ทำไมแรกเราเน้นเรื่องสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงขณะนั่ง
เกิดจากขาดการศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ละตัณหา(ความอยาก)
ให้กำหนดตามจริง ไม่นำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น

เมื่อความจำค่อยๆคืนกลับมาแบบจะเล็กน้อย แต่มีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ
จะทำให้รู้ว่าควรกำหนดแบบไหน ให้ถูกต้องตัวสภาวะ
แล้วทำให้ตัวสัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตามจริง
จะไม่ไปสนใจเรื่องสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะนั่ง

ให้ความสำคัญเรื่องการกำหนดยืนหนอและการกำหนดขณะเดินจงกรม
หากกำหนดถูกตัวสภาวะ(การกระทบ) ตัวสภาวะจะดำเนินตามเองเป็นอัตโนมัติ

เมื่อเวลานั่ง ไตรลักษณ์ย่อมปรากฏตามจริง
ไม่ต้องอยากปฏิบัติเพื่อเป็น
ไม่ต้องไปคิดว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นนั้นๆมีชื่อเรียกว่าอะไร

ด้วยเหตุนี้ คนที่ได้สดับ ได้สุตตะ ได้ศึกษาในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
คนนั้นจะได้เปรียบกว่าคนที่ไม่ได้สดับ


24 ต.ค. 2011 ๑. ทิฏฐิสังโยชน์

ทิฏฐิสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือ ความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก

สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัว ตน เรา เขา ได้แก่ อุปทานในขันธ์ ๕
เช่น ในการนั่งว่า เรานั่ง ในการนอนว่า เรานอน เป็นต้น

เช่น เมื่อเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏทัพพะ
เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม และเป็นของยั่งยืน

โดยสภาวะ คือ ยึดความเห็นของตน
ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนี้ใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ ตามความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น

ธรรมชาติของจิต
จิตมีสภาวะรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทางกาย เวทนา จิต ธรรม
ซึ่งเป็นธรรมชาติของจิตที่จะรู้อารมณ์ต่างๆเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เป็นความปกติของจิต

ทิฏฐิสังโยชน์
กิเลสและสังโยชน์ที่มีองค์ธรรมเดียวกัน คือ ทิฏฐิสังโยชน์กับทิฏฐิกิเลส

ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าปัญขันธ์นี้เป็นของแห่งตน

เรื่องสักกายทิฏฐินี้ พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังปรากฏในสังยุตตนิกายพระบาลีว่า :-
สตฺติยา วิย โอมฏฺโฐ ทยหมาโน ว มตฺถเก
สกฺกายทิฏฺฐิ ปหานาย สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช
ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร รู้สึกตนประหนึ่งถูกศาสตราวุธอันมีคมทิ่มแทงอยู่ หรือดุจถูกไฟไหม้อยู่บนศรีษะ
พึงเป็นผู้มีสติไม่ประมาทอยู่เถิด เพื่อจะได้กำจัดเสียซึ่งสักกายทิฏฐิ

ทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็น

ผัสสะ
เหตุของความไม่รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะที่เกิดขึ้น
ไม่รู้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนั้น ว่าเกิดขึ้นจากอะไร
ไม่รู้ว่าทำไมผัสสะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจึงมีผลต่อจิตบ้าง
ไม่มีผลต่อจิตบ้าง
แต่ละครั้งทำไมไม่เหมือนกัน

ทำไมจึงมีความรู้ึกยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ
ต่อผัสสะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง

ความไม่รู้ในเหตุ
เพราะเหตุของความไม่รู้ตามความเป้นจริงในเรื่องผัสสะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้
ความรู้สึกยินดี หรือยินร้ายที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลก่อให้เกิดการกระทำลงไปด้วยความไม่รู้
เป็นการกระทำที่มีเจตนาบ้าง ไม่มีเจตนาบ้าง ตามความไม่รู้ที่มีอยู่
สักกายทิฏฐิอันเป็นกิเลสตัวแรกนี้ เป็นเหตุให้ต้องได้รับความเดือดร้อนวนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์
โดยไม่อาจนับภพชาติได้ ก็ด้วยอำนาจทิฏฐิกิเลสนี้เอง

โดยเหตุ
สักกายะทิฎฐิ เป็นสภาวะแบบหยาบของมานะกิเลส
คือ เป็นการทำงานของขันธ์ ๕ ที่ยังมีความไม่รู้
เป็นเหตุให้การยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕
ด้วยความไม่รู้จึงยึดมั่นในความคิดของตนเองที่มีต่อผัสสะที่กำลังเกิดขึ้น

เป็นเหตุให้เกิดการให้ค่าต่อผัสสะหรือสิ่งที่มากระทบหรือสภาวะที่เกิดขึ้น
ว่าสิ่งๆนั้นถูกบ้าง ผิดบ้าง เป็นเหตุให้เกิดความชอบ ชัง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งที่มากระทบ

โดยสภาวะ
สักกายะทิฏฐิ กล่าวโดยสภาวะ ได้แก่ ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้น
มีความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ว่าจะชอบ, ชัง แม้กระทั่งเฉยๆ
ซึ่งไม่รู้ถึงเหตุว่า ทำไมจึงชอบ, ชัง หรือทำไมไม่รู้สึกอะไรเลย (โมหะ)
จากความไม่รู้ถึงเหตุตรงนี้ เป็นเหตุให้สร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้ที่ยังมีอยู่
กระทำลงไปตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น ผลที่ได้รับคือ สุขบ้าง ทุกข์บ้างตามอุปทานที่มีอยู่

เรา, เขา
ได้แก่ การนำความรู้สึกนึกคิดของตัวเองที่มีอยู่ไปให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
แม้กระทั่งบุคคลอื่นๆก็เป็นเช่นเดียวกัน
โดยการนำความรู้สึกนึกคิดของเขาที่มีอยู่ให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

เนื่องจากความไม่รู้ที่มีอยู่
จึงไม่รู้ถึงเหตุว่าทำไมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ จึงมีความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน
ทั้งๆที่เป็นเรื่องเดียวกัน
เพียงแตกต่างที่ตัวบุคคลและสภาวะแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น

กล่าวในแง่ของการคิดพิจรณา
ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕
เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าปัญขันธ์นี้เป็นของแห่งตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล, เรา, เขา
เช่น ในการยืน เดิน นั่ง นอน ก็เข้าใจว่าตนเป็นผู้ยืน เดิน นั่ง นอน
ความเข้าใจผิดเช่นนี้ ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อันเป็นความเห็นที่ผิด
ที่ทำให้ติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏฏสงสาร

การสอนเช่นนี้ เป็นเพียงอุบายในการถ่ายถอนอุปทานที่มีอยู่
เพื่อละความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ให้ลดน้อยลงไป

ตามความเป็นจริง
โดยสภาวะที่แท้จริงของตัวสักกายทิฏฐินั้น ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น
ให้ค่าว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนั้นใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ เป็นการให้ค่าตามรู้สึกความชอบหรือชัง
ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น

เนื่องจากไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงเรื่องเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ
ไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเกิดจากอะไร
แล้วทำไมบางสิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อจิต เป็นเหตุให้เกิดความชอบ, ชัง
ทำไมบางสิ่งไม่มีผลกระทบต่อจิต เป็นเหตุให้รู้สึกเฉยๆ

เพราะความไม่รู้ชัดในความเป็นจริงตรงนี้
จึงเป็นเหตุให้ก่อให้เกิดการกระทำลงไปด้วยความไม่รู้ที่ยังมีอยู่
ด้วยเจตนาและไม่เจตนาทางกาย วาจา ใจ(ความรู้สึกนึกคิด)

ส่วนการยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนเป็นเรื่องปกติที่คิดว่าเรายืน เราเดิน เรานั่ง เรานอน
ตราบใดที่ยังมีสภาวะเป็นกายบัญญัติ ย่อมนึกคิดแบบนั้น
จนกว่าจะเป็นสภาวะปรมัตถ์ ความรู้สึกนึกคิดตรงนี้จะไม่มี

แม้กระทั่งที่บอกว่ารูปเดิน รูปยืน รูปนั่ง รูปนอน ล้วนแต่เป็นบัญญัติที่ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติทั้งสิ้น
ไม่ใช่สภาวะตามความเป็นจริง
ถ้าเป็นสภาวะตามความเป็นจริง
จะรู้แบบธรรมชาติ ไม่มีบัญญัติต่างๆเข้าไปเกี่ยวข้อง

ทำอย่างไรจึงจะละสักกายทิฏฐิได้
การละสักกายทิฏฐิมีวิธีเดียวเท่านั้น
คือ การสร้างเหตุของการเกิดสภาวะสมุจเฉทประหาน
ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา

ข้อมูลทั้งหมด นำมาลงไว้ชั่วคราว ข้อความที่เขียนทั้งหมดยังไม่เขียนไม่เสร็จ


08 มิ.ย. 2013 มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ

คำว่า ทิฏฐิ เป็นคำกลางๆ หมายถึง ความคิดเห็น

ถ้าใส่ คำว่า มิจฉา เข้าไป เป็น มิจฉาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นผิด

ถ้าใส่ คำว่า สัมมา เข้าไป เป็น สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูก

อันนี้กล่าวโดย ปริยัติ

กล่าวโดยสภาวะ
มิจฉาทิฏฐิ เกิดจาก เมื่อ ผัสสะเกิด แล้ว นำความเห็นของตนที่มีอยู่
ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตามความรู้สึกยินดี-ยินร้าย ที่เกิดขึ้น
เป็นเหตุให้ มีการสร้างเหตุออกไปทางวจีกรรมบ้าง กายกรรมบ้าง
เช่น กล่าวว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนั้นดี สิ่งนี้ชั่ว สิ่งนี้เป็นกุศล สิ่งนี้เป็นอกุศล ฯลฯ

ภาษาชาวบ้าน
มิจฉาทิฏฐิ คือ
ใครเห็นไม่เหมือนตน คนนั้นผิด
ใครเห็นเหมือนตน คนนั้นถูก
สร้างเหตุวิวาทะให้เกิดขึ้นเนืองๆ

สัมมาทิฏฐิ เกิดจาก เมื่อผัสสะเกิด ใช้หลัก โยนิโสมนสิการ
คือ ดูตามความเป็นจริงของผัสสะที่เกิดขึ้น รู้ตามความเป็นจริง
คือ รู้สึกนึกคิดอย่างไร รู้ไปตามนั้น แต่ไม่สร้างเหตุออกไปทางวจีกรรมหรือกายกรรม
ขณะที่ โยนิโสมนสิการ มรรค มีองค์ ๘ ย่อมเกิด

มิจฉาทิฏฐิกับสัมมาทิฏฐิ
มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นจาก สักกายทิฏฐิหรือทิฏฐิกิเลส หรือทิฏฐิสังโยชน์


4 พค. 65 สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ

๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ
[๑๐๘] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่งอุทานว่า
ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเรา ก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.

[๑๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอุทานอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ
ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑
ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑.

เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง
ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.

ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.

ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา.

ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง
ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.

ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.

[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล
ผู้ใดเห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ

เธอย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง
ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง.

ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่าทุกข์.

ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา.

ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง
ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.

ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.

ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น
เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แลว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๑๑๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว
ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี
แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ฯลฯ
ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเรา ก็ไม่พึงมี
กรรมสังขาร จักไม่มี
ปฏิสนธิของเรา ก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่
วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เราจักบัญญัติการมา การไปจุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ
เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด
ในรูปธาตุ
ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ
ในสังขารธาตุ
ในวิญญาณธาตุ
เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้
เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ
ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงามไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป
เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.
เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป

ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา

ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา

ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร

ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

สักกายทิฏฐิสูตร
[๒๕๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
บุคคลรู้เห็นจักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
บุคคลรู้เห็นหู …
รู้เห็นจมูก…
รู้เห็นลิ้น…
รู้เห็นกาย…
รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฐิได้ ฯ

= อธิบาย =

สักกายทิฏฐื

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) มากระทบ
เห็นเป็นตัวตน เรา เขา
การละสักกายทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการรักษาศิล

มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เป็นตัวตนของเรา.
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(ทุกขัง)
การละสักกายทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการทำกรรมฐาน
เวทนากล้าปรากฏ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) กับใจที่รู้อยู่ ทั้งสองสภาวะแยกออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
เวทนากล้า ความเจ็บปวด กับ ใจที่รู้อยู่
แต่ไม่เสวยเวทนาที่มีเกิดขึ้น(ไม่เจ็บปวดตามด้วย) สักแต่ว่ามีเกิดขึ้นแล้ว แล้วคลายหายไปเอง

มีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่ เวทนากล้ามีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(อัปปณิหิตวิโมกข์)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

การละสักกายทิฏฐิเป็นสมุจเฉท มีเกิดขึ้นใน
โสดาปัตติมรรค เวทนากล้า ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
โสดาปัตติผล สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

ผู้ทีละสักกายทิฏฐิเป็นสมุจเฉท
ได้แก่ พระโสดาบัน(กายสักขี สัทธาวิมุต ทิฏฐิปัตตะ)
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ)
ปรากฏตามความเป็นจริง(ครั้งที่ 1/วิชชา 1)
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามมิมรรค)


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์
[๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ

พ. ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้
นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป
สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสังขารเกิดขึ้น
อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ.
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้
นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.

ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย
[๑๙๑] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก?

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้และสรรพนิมิตภายนอก.

.
อัตตานุทิฏฐิสูตร
[๒๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
บุคคลรู้เห็นหู…
รู้เห็นจมูก…
รู้เห็นลิ้น…
รู้เห็นกาย…
รู้เห็นใจโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ ฯ

= อธิบาย =

อัตตานุทิฏฐิ

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

มีเกิดขึ้นขณะขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) มากระทบ
เห็นนั่นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา.
การละอัตตานุทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการรักษาศิล

มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เป็นตัวตนของเรา.

เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(อนัตตา)

การละอัตตานุทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการทำกรรมฐาน

เวทนากล้าปรากฏ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) กับใจที่รู้อยู่ ทั้งสองสภาวะแยกออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
เวทนากล้า ความเจ็บปวด กับ ใจที่รู้อยู่
แต่ไม่เสวยเวทนาที่มีเกิดขึ้น(ไม่เจ็บปวดตามด้วย) สักแต่ว่ามีเกิดขึ้นแล้ว แล้วคลายหายไปเอง

มีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่ เวทนากล้ามีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(สุญญตวิโมกข์)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

การละอัตตานุทิฏฐิเป็นสมุจเฉท มีเกิดขึ้นใน
อนาคามีมิมรรค เวทนากล้า ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
อนาคามีมิผล สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

ผู้ที่ละอัตตานุทิฏฐิเป็นสมุจเฉท
ได้แก่ พระอนาคามี
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ)
ปรากฏตามความเป็นจริง(ครั้งที่ 2/วิชชา 2)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค) ในสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคารมาตุปราสาท ในพระวิหารบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก.
ก็ในสมัยนั้นแล ในคืนวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญ มีพระจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาค อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว ประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง.

[๑๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะพึงทูลถามเหตุประการหนึ่ง กะพระผู้มีพระภาค
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสที่จะพยากรณ์ปัญหา แก่ข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงนั่ง ณ อาสนะของตนแล้ว ถามปัญหาที่เธอมุ่งจำนงเถิด
ภิกษุนั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ อาสนะของตน
ทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
เหล่านี้ ใช่ไหม พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้แหละภิกษุ.

ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น
หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้
และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้
แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน

ว่าด้วยฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๕] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ แตกต่างกันหรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ต่างกันภิกษุ ดังนี้แล้ว
ได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล
ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้
พึงมีเวทนาเช่นนี้
พึงมีสัญญาเช่นนี้
พึงมีสังขารเช่นนี้
พึงมีวิญญาณเช่นนี้.
ดูกรภิกษุ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ต่างกันด้วยประการฉะนี้แล.

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าขันธ์
[๑๘๖] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ขันธ์ จึงชื่อว่าขันธ์

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
นี้เรียกว่ารูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าสังขารขันธ์
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์.
ดูกรภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์.

ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งขันธ์ ๕
[๑๘๗] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปรากฏ?

พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ.
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ.

ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์
[๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ
เป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ

พ. ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป
สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสังขารเกิดขึ้น
อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ.
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.

ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย
[๑๙๑] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก?

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้และสรรพนิมิตภายนอก.

ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำจะถูกต้องอัตตา
[๑๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้นด้วยพระทัยแล้ว
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา
มีใจถูกตัณหาครอบงำ
จะพึงสำคัญสัตถุศาสน์ว่าเป็นคำสอนที่ควรคิดให้ตระหนักว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว
ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ
ในบาลีประเทศนั้นๆ
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.


ตรงนี้อธิบายยังไม่จบเพราะมีความเกี่ยวข้องกับ
อัตตวาทุปาทาน(สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ)

คำว่าจบแบบสมบูณ์เกี่ยวกับคำที่เรียกว่า สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ

แต่ทิฏฐิสังโยชน์ ยังไม่จบ

ทิฏฐุปาริสุทธิ
การแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง มี 4 แบบ

เวลาอธิบายต้องแยกอธิบายออกจากกัน
เวลาอ่าน จะเข้าใจมากขึ้นในตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

บันทึก

5 พค. 65

จำได้ว่า เริ่มเขียนพระสูตร
เกิดจากความจำเสื่อม

อาการความจำเสื่อม ทำให้ละคำเรียกต่างๆลงไปได้
ความจำจะค่อยๆคืนกลับมา
สิ่งแรกที่รู้คำเรียกไม่ใช่สมุตติทางโลก เช่น รถ คน สัตว์ฯลฯ
แต่เป็นอริยสัจ ๔ ที่รู้เห็นหลังจากสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งแรก ที่ผ่านไป
เขียนเรื่องอริยสัจ ๔ เป็นเรื่องแรก

ก่อนหน้าจะเกิดความจำเสื่อม
เกิดจากลิ่มเลือดอุดในเส้นเลือดในสมอง
เป็นส่วนระบบประสาทอัตโนมัติ

ก่อนหน้าที่ป่วยเป็นด้านสมอง ทำให้มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร การพูด การคิด การสะกดคำ
มีสภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดขึ้นครั้งแรก
(มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน มีอาการเหมือนคนจมน้ำ หายใจไม่ออก แรกๆตะเกียก ตะกาย พยามหายใจให้ได้ ยิ่งทำยิ่งหายใจไม่ออก สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดี จะได้เกิดใหม่ จิตจึงปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ลงไปได้ ส่วนอาการอื่นๆ เคยเขียนเล่าไว้เกี่ยวกับสภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ ๑ ตามนั้นเลย)

การใช้ชีวิตยังปกติ แต่มีความรู้ความเห็นการดับภพเฉพาะตน(สีลปาริสุทธิ)
ส่วนการทำกรรมฐาน ทำมั่งไม่ทำมั่ง ไม่สนใจล่ะ
จะทำหรือไม่ทำ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิอัตโนมัติเอง
จะเดิน ยืน นั่ง นอน จะทำอะไรก็ตาม จิตเป็นสมาธิเอง
ตอนนั้นคิดว่าสบายล่ะ ไม่ต้องทำอะไรอีก
ตายไปแล้ว ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก รู้แค่นั้น

การใช้ชีวิตด้วยความไม่รู้
ไม่มีการศึกษาสิกขา ๓ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้

การใช้ชีวิต จึงมีความประมาท
ติดหนังซีรีย์ กว่าจะเลิกดูหนังตีสาม ทำแบบนี้ จำไม่ได้นานเท่าไหร่
ต่อมาป่วยเป็นไทรอยด์เป็นพิษ แต่ไม่รู้หรอก
นน.ลดลงเร็ว นน.หายไป 10 กว่ากิโล
ร่างกายเหมือนกระดูกเดินได้
ต่อมานน.เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ มากขึ้น
ต่อมาขาบวม เท้าบวม เดินไม่ค่อยไหว จึงไปพบหมอที่คลีนิคแถวบ้าน
ความดันสูงจนวัดไม่ได้ ต้องนั่งพัก จนกว่าความดันลดลงจึงวัดได้
หมอนัดให้เจาะเลือด แพงมาก 2500 บาท
ผลแลป หมอไม่บอกอะไร บอกแค่ว่าต้องไปรพ. ให้นอนรพ.
จะเขียนใบส่งตัวให้ แต่เราไม่รู้เรื่องพวกนี้ จึงไม่สนใจ
เรื่องไทรอยด์เป็นพิษ มารู้ที่หลัง

ต่อมามีสภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดเป็นครั้งที่ ๒
ตอนนั้นไม่รู้หรอก เข้าใจว่าหัวใจวาย แต่ไม่ตาย กลับมามีชีวิตใหม่
ก็ยังไม่รู้หรอกนะว่าสิ่งที่มีเกิดขึ้นคืออะไร
รู้แต่ว่า ไม่ตาย

มีอาการหัวใจวายมีเกิดขึ้นอีกสองครั้ง
ที่ไม่เป็นอะไร เพราะอาศัยการกำหนดตามจริง ไม่กลัว อดทน
จนเจ้านายมาเจอ จึงบอกว่าให้ไปหาหมอ จึงไปหาหมอที่รพ.ราม
ที่ไปรพ.ราม
ข้อแรกอยู่ใกล้บ้าน เจ้านายเป็นจ่ายค่ารักษา
ข้อสอง ความไม่รู้เรื่องบัตรทอง ไม่รู้สักอย่าง


ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : ANS )

เป็นระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (involuntary nervous system)
เป็นระบบประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ
เช่น กล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะต่าง ๆ

กล้ามเนื้อหัวใจที่หัวใจ และต่อมต่าง ๆ ให้ทำงานโดยอัตโนวัติ
ทำให้ร่างกายดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติประกอบด้วย
เส้นประสาทของระบบประสาทอัตโนวัติ มี 2 ตอน คือ
ตอนแรก คือ เส้นประสาทหน้าปมประสาทหรือเซลล์ประสาทก่อนแกลงเกลีย
มีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม เชื่อมระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับปมประสาทอัตโนวัติ

ตอนที่ 2 คือ เส้นประสาทหลังปมประสาทหรือเซลล์ประสาทหลังแกงเกลีย
เป็นเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างปมประสาทอัตโนวัติกับอวัยวะตอบสนอง

ปมประสาทอัตโนวัติ
เป็นส่วนที่มีตัวเซลล์ประสาทของระบบประสาทอัตโนวัติ
ที่อยู่นอกระบบประสาทกลางอยู่

และเป็นตำแหน่งที่มีการไซแนปส์ของเซลล์ประสาทหน้า
ปมประสาทกับเซลล์ประสาทหลังปมประสาท

เซลล์ประสาทอัตโนวัติ มี 2 เซลล์
เซลล์ประสาทหน้าปมประสาท มีตัวเซลล์อยู่ในไขสันหลัง
และมีแอกซอนไปสิ้นสุดที่ปมประสาทอัตโนวัติซึ่งเป็นจุดที่ไซแนปส์

เซลล์ประสาทหลังปมประสาท
มีตัวเซลล์ประสาทอยู่ในปมประสาทอัตโนวัติ
และมีแอกซอนอยู่ที่อวัยวะตอบสนอง

ระบบประสาทอัตโนวัติ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ
โดยมีลักษณะในการทำงานตรงกันข้าม คือ

ระบบประสาทซิมพาเทติก (symoathetic nerve)

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasymoathetic nerve)

เรื่องระบบประสาทอัตโนมัติ นำข้อความมาจาก
ระบบประสาทอัตโนวัติ – ThaiGoodView.com

สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ

สักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิ

๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ
[๑๐๘] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่งอุทานว่า
ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเรา ก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.

[๑๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอุทานอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ
ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑
ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑.

เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง
ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.

ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.

ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา.

ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง
ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.

ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.

[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล
ผู้ใดเห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ

เธอย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง
ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง.

ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่าทุกข์.

ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา.

ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง
ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.

ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.

ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น
เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แลว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๑๑๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว
ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี
แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ฯลฯ
ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเรา ก็ไม่พึงมี
กรรมสังขาร จักไม่มี
ปฏิสนธิของเรา ก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่
วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เราจักบัญญัติการมา การไปจุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ
เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด
ในรูปธาตุ
ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ
ในสังขารธาตุ
ในวิญญาณธาตุ
เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้
เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ
ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงามไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป
เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.
เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป

ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา

ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา

ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร

ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

.

สักกายทิฏฐิสูตร
[๒๕๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
บุคคลรู้เห็นจักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
บุคคลรู้เห็นหู …
รู้เห็นจมูก…
รู้เห็นลิ้น…
รู้เห็นกาย…
รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฐิได้ ฯ

= อธิบาย =

สักกายทิฏฐื

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) มากระทบ
เห็นเป็นตัวตน เรา เขา
การละสักกายทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการรักษาศิล

มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เป็นตัวตนของเรา
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(ทุกขัง)
การละสักกายนุทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการทำกรรมฐาน
เวทนากล้าปรากฏ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) กับใจที่รู้อยู่ ทั้งสองสภาวะแยกออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
เวทนากล้า ความเจ็บปวด กับ ใจที่รู้อยู่
แต่ไม่เสวยเวทนาที่มีเกิดขึ้น(ไม่เจ็บปวดตามด้วย) สักแต่ว่ามีเกิดขึ้นแล้ว แล้วคลายหายไปเอง

มีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่ เวทนากล้ามีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(อัปปณิหิตวิโมกข์)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

การละสักกายทิฏฐิเป็นสมุจเฉท มีเกิดขึ้นใน
โสดาปัตติมรรค เวทนากล้า ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
โสดาปัตติผล สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

ผู้ทีละสักกายทิฏฐิเป็นสมุจเฉท
ได้แก่ พระโสดาบัน(กายสักขี สัทธาวิมุต ทิฏฐิปัตตะ)
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ)
ปรากฏตามความเป็นจริง(ครั้งที่ 1/วิชชา 1)
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์
[๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ

พ. ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้
นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป
สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสังขารเกิดขึ้น
อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ.
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้
นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.

ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย
[๑๙๑] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก?

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้และสรรพนิมิตภายนอก.

.
อัตตานุทิฏฐิสูตร
[๒๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
บุคคลรู้เห็นหู…
รู้เห็นจมูก…
รู้เห็นลิ้น…
รู้เห็นกาย…
รู้เห็นใจโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ ฯ

= อธิบาย =

อัตตานุทิฏฐิ

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

มีเกิดขึ้นขณะขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) มากระทบ
เห็นนั่นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา.
การละอัตตานุทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการรักษาศิล

มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เป็นตัวตนของเรา
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(อนัตตา)
การละอัตตานุทิฏฐิ ละชั่วคราวโดยการทำกรรมฐาน
เวทนากล้าปรากฏ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) กับใจที่รู้อยู่ ทั้งสองสภาวะแยกออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
เวทนากล้า ความเจ็บปวด กับ ใจที่รู้อยู่
แต่ไม่เสวยเวทนาที่มีเกิดขึ้น(ไม่เจ็บปวดตามด้วย) สักแต่ว่ามีเกิดขึ้นแล้ว แล้วคลายหายไปเอง

มีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่ เวทนากล้ามีเกิดขึ้น ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง(สุญญตวิโมกข์)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

การละอัตตานุทิฏฐิเป็นสมุจเฉท มีเกิดขึ้นใน
อนาคามิมรรค เวทนากล้า ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
อนาคามิผล สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

ผู้ที่ละอัตตานุทิฏฐิเป็นสมุจเฉท
ได้แก่ พระอนาคามี

มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ)
ปรากฏตามความเป็นจริง(ครั้งที่ 2/วิชชา 2)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค) ในสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคารมาตุปราสาท ในพระวิหารบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก.
ก็ในสมัยนั้นแล ในคืนวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญ มีพระจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาค อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว ประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง.

[๑๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะพึงทูลถามเหตุประการหนึ่ง กะพระผู้มีพระภาค
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสที่จะพยากรณ์ปัญหา แก่ข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงนั่ง ณ อาสนะของตนแล้ว ถามปัญหาที่เธอมุ่งจำนงเถิด
ภิกษุนั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ อาสนะของตน
ทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
เหล่านี้ ใช่ไหม พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้แหละภิกษุ.

ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น
หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้
และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้
แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน

ว่าด้วยฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๕] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ แตกต่างกันหรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ต่างกันภิกษุ ดังนี้แล้ว
ได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล
ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้
พึงมีเวทนาเช่นนี้
พึงมีสัญญาเช่นนี้
พึงมีสังขารเช่นนี้
พึงมีวิญญาณเช่นนี้.
ดูกรภิกษุ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ต่างกันด้วยประการฉะนี้แล.

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าขันธ์
[๑๘๖] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ขันธ์ จึงชื่อว่าขันธ์

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
นี้เรียกว่ารูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าสังขารขันธ์
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์.
ดูกรภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์.

ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งขันธ์ ๕
[๑๘๗] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปรากฏ?

พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ.
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ.

ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์
[๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ
เป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ

พ. ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป
สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสังขารเกิดขึ้น
อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ.
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.

ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย
[๑๙๑] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก?

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้และสรรพนิมิตภายนอก.

ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำจะถูกต้องอัตตา
[๑๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้นด้วยพระทัยแล้ว
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา
มีใจถูกตัณหาครอบงำ
จะพึงสำคัญสัตถุศาสน์ว่าเป็นคำสอนที่ควรคิดให้ตระหนักว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว
ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ
ในบาลีประเทศนั้นๆ
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.

พฤษภาคม 2022
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  

คลังเก็บ