กัลยาณมิตรและลักษณะกัลยาณมิตร

คำเรียกว่า กัลยาณมิตรและลักษณะกัลยาณมิตร


อุปัฑฒสูตร
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคม
ของชาวศักยะชื่อสักระ ในแคว้นสักกะของชาวศากยะทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์เทียวนะ พระเจ้าข้า.

[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น
ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว
ดูกรอานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

[๖] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ …
สัมมาวาจา …
สัมมากัมมันตะ …
สัมมาอาชีวะ …
สัมมาวายามะ …
สัมมาสติ …
สัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

[๗] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น
พึงทราบโดยปริยายแม้นี้

ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ
ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา
ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร
ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น
พึงทราบโดยปริยายนี้แล.


ทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘
[๓๘๑] พระผู้มีพระภาคประทับ … เขตพระนครสาวัตถี …
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระโอกาส ความปริวิตกแห่งใจบังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้เข้าที่ลับพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วนั่นแหละ
สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ดูกรมหาบพิตร ธรรมที่อาตมภาพกล่าวดีแล้วนั่นแหละ
สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนดี
ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว ฯ

[๓๘๒] ดูกรมหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมของหมู่เจ้าศากยะ ชื่อว่านครกะ ในสักกชนบท
ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น ภิกษุอานนท์เข้าไปหาอาตมภาพถึงที่อยู่
ครั้นแล้ว ก็อภิวาทอาตมภาพ แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุอานนท์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นคุณกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์
ดูกรมหาบพิตร เมื่อภิกษุอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว
อาตมภาพได้กล่าวกะภิกษุอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น
ดูกรอานนท์ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว
ดูกรอานนท์ นี่ภิกษุผู้มีมิตรดีพึงปรารถนา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
จักเจริญอริยมรรคมีองค์แปด จักกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ ฯ

[๓๘๓] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้อย่างไร ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน
ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ …
ย่อมเจริญสัมมาวาจา …
ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ …
ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ …
ย่อมเจริญสัมมาวายามะ …
ย่อมเจริญสัมมาสติ …
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ อย่างนี้แล ฯ

ดูกรอานนท์ โดยปริยายแม้นี้ พึงทราบว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ฯ

ดูกรอานนท์ ด้วยว่าอาศัยเราเป็นมิตรดี
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเกิดได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเจ็บป่วยได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความตายได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
ย่อมหลุดพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจได้ ฯ

ดูกรอานนท์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ฯ

[๓๘๔] ดูกรมหาบพิตร เพราะเหตุนั้นแหละ พระองค์พึงทรงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี
ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกอย่างนี้แล ฯ

ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย
พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี พึงทรงอาศัยอยู่เถิด ฯ

ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
หมู่นางสนมผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า
พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ฯ

ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
แม้กษัตริย์ทั้งหลายผู้ตามเสด็จ จักมีความคิดอย่างนี้ว่า
พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ฯ

ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
แม้กองทัพ (ข้าราชการฝ่ายทหาร) ก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า
พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ฯ

ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
แม้ชาวนิคมและชาวชนบทก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า
พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ฯ

ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
แม้พระองค์เองก็จักเป็นผู้ได้รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว
แม้หมู่นางสนมก็จักเป็นผู้ได้รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว
แม้เรือนคลังก็จักเป็นอันได้รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว ฯ

[๓๘๕] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา
ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

บุคคลผู้ปรารถนาโภคะอันโอฬารต่อๆ ไป พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒
คือประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า
เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์
ผู้มีปัญญาจึงได้นามว่า “บัณฑิต” ฯ


วิภังคสูตร
อริยมรรค ๘
[๓๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังอริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์
ในทุกขสมุทัย
ในทุกขนิโรธ
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม
ความดำริในอันไม่พยาบาท
ฃความดำริในอันไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.

[๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน
เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน
เจตนาเครื่องงดเว้น
จากปาณาติบาต
อทินนาทาน
จากอพรหมจรรย์
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย
สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น
ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน
มีวิตกวิจาร
มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.


พราหมณสูตร
อริยมรรคเรียกชื่อได้ ๓ อย่าง
[๑๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี
ด้วยรถเทียมด้วยม้าขาวล้วน
ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว
ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ด้ามพัดก็ขาว
ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ดังนี้.

[๑๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว
เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี

ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน
ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว
ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ด้ามก็ขาว
ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ?

[๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
อาจบัญญัติได้ คำว่ายานอันประเสริฐ
เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง
เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง.

[๑๕] ดูกรอานนท์ สัมมาทิฏฐิ
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๖] ดูกรอานนท์ สัมมาสังกัปปะ
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๗] ดูกรอานนท์ สัมมาวาจา
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๘] ดูกรอานนท์ สัมมากัมมันตะ
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๙] ดูกรอานนท์ สัมมาอาชีวะ
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๐] ดูกรอานนท์ สัมมาวายามะ
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๑] ดูกรอานนท์ สัมมาสติ
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๒] ดูกรอานนท์ สัมมาสมาธิ
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๓] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ
เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง
เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง
นั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล.

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา
ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๒๔] อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ
ศรัทธากับปัญญาเป็นแอก
มีศรัทธาเป็นทูบ
มีหิริเป็นงอน
มีใจเป็นเชือกชัก
มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุม
รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ
มีญาณเป็นเพลา
มีความเพียรเป็นล้อ
มีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ
ความไม่อยากได้เป็นประทุน

กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท
ความไม่เบียดเบียน
และวิเวกเป็นอาวุธ
มีความอดทนเป็นเกราะหนัง
กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ

พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้
เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
ย่อมออกไปจากโลกโดยความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้

สีลปาริสุทธิ

สีลปาริสุทธิ


๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า สัมมาทิฐิ
ได้แก่ การสดับ การฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


คำว่า อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว

ใช้ 4 พระสูตรในการอธิบายตามลำดับ
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
กาฬิโคธาสูตร
ทานสูตร
๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)

บางบุคคลที่ได้อ่านแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยว่า
ทำไมจึงเขียนเรื่องกรรมและผลของกรรม แยกออกจากสีลปาริสุทธิ

เรื่องกรรมและผลของกรรม
เขียนอธิบายให้สำหรับผู้ที่ยังละวิจิกิจฉายังไม่ได้
และยังมีความสงสัยเรื่องการรักษาศิลและการทำทาน

ส่วนสีลปาริสุทธิ หมายถึงบุคคลที่ไม่มีความสงสัย
ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้ตามลำดับ
และเรื่องการทำทาน ให้อยู่ในการรักษาศิล
จะทำให้เข้าใจมากขึ้นทำไมต้องรักษาศิล ทำไมต้องทำทาน
หากปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้นั้น
ทำให้วิจิกิจฉา(สงสัย) สักกาทิฏฐิ(เห็นเป็นตัวตน เรา เขา) เบาบางลง


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก


ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง
ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์
ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

.

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

.
หมายเหตุ;
“โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว”

คำว่า โสดาปัตติผล
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ การกระทำของตน(พระนางโคธา)

คำว่า ตรัสรู้
ได้แก่ พระอรหันต์
แจ้งอริยสัจ ๔
อริยศีล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ

คำว่า จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
ได้แก่ หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป


ทานสูตร
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคคราใกล้จัมปานคร
ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว
ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ
ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน

อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล
และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากพึงมีหรือพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี
และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้ เสวยผลทานนี้
เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน
แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา
เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
บิดา มารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ไม่หุง หาไม่สมควร
เขาให้ทาน คือ ข้าวฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่
แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน
เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น
และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย
เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก

และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

.
“เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ”

คำว่า ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ได้แก่ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์

.
“เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้”

คำว่า เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ เกิดในเทวดาชั้นพรหม และปรินิพพานที่นั่น


๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)
[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท
สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค
ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด ฯ

[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรโคตมี
พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์

พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค
ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด
แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูกรโคตมี
พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ ฯ

[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด
พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีอุปการะมาก
เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยง ประทานพระขีรรสแด่พระผู้มีพระภาค
เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มเต้าพระถัน
แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี

พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
จึงทรงถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้

ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
จึงทรงงดเว้นจากปาณาติบาต
จากอทินนาทาน
จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท
จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้

ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงประกอบด้วย
ความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ทรงประกอบด้วยศีล ที่พระอริยะมุ่งหมายได้

ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงเป็นผู้หมดความสงสัยใน
ทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาค
ก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ฯ

[๗๐๙] พ. ถูกแล้วๆ อานนท์ จริงอยู่บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว
เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรมด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร

บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว
งดเว้นจากปาณาติบาต
จากอทินนาทาน
จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท
จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว
เป็นผู้หมดความสงสัย
ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ฯ

[๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ

ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑

ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒

ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔

ให้ทานแก่พระอนาคามี
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖

ให้ทานแก่พระสกทาคามี
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘

ให้ทานในพระโสดาบัน
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐

ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑

ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒

ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓

ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔ ฯ

[๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น

บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล

พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล

พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม

พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง

พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้
จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้งในพระสกทาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้งในพระอนาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ

[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑

ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒

ให้ทานในภิกษุสงฆ์
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓

ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔

เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕

เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖

เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ

[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล
จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก
คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ

[๗๑๔] ดูกรอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง
๔ อย่างเป็นไฉน
ดูกรอานนท์
ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ

[๗๑๕] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหกอย่างไร ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหก
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ

[๗๑๖] ดูกรอานนท์
ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ

[๗๑๗] ดูกรอานนท์
ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร
ดูกรอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ ฯ

[๗๑๘] ดูกรอานนท์
ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ

ดูกรอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง ฯ

[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า

(๑) ผู้ใดมีศีล
ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ

(๒) ผู้ใดทุศีล
ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม
มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนมีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ

(๓) ผู้ใดทุศีล
ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม
มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ ฯ

(๔) ผู้ใดมีศีล
ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนมีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ

สัทธานุสารี

พระโสดาบัน ประเภทสัทธานุสารี
ได้แก่เชื่อพระพุทธเจ้าและพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ไม่ว่าพระองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่และปรินิพพานแล้ว
ปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงแสดงนั้นไว้
โดยไม่มีความลังเล ไม่มีความสงสัย

วิธีการอธิบายเรื่องสัทธานุสารี มีแค่นี้
หมายถึงสิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ยังไม่รวมในสัทธานุสารี ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

สำหรับฆราวาส ที่ต้องการเป็นพระโสดาบัน
เมื่อปฏิบัติตาม ถึงเวลามรณะ
เมื่อเกิดใหม่จะเกิดในมนุษย์และเทวดาเท่านั้น


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่มั่นคงทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์
ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้
ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ พระโสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.
พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

หมายเหตุ;

“โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว”คำว่า โสดาปัตติผล
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ การกระทำของตน(พระนางโคธา)

คำว่า ตรัสรู้
ได้แก่ พระอรหันต์
แจ้งอริยสัจ ๔
อริยศีล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ

คำว่า จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
ได้แก่ หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป


สภาคตสูตร
เทวดาสรรเสริญผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
[๑๕๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายปลื้มใจไปสู่ที่ประชุมแล้ว
กล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
เทวดาเหล่าใดประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในภพนั้น

เทวดาเหล่านั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
พวกเราประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า เห็นปานใด
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาบังเกิดในที่นี้

แม้อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น
ก็ย่อมเกิดในสำนัก
พวกเทวดาดังจะร้องเชิญว่า มาเถิด ดังนี้

อีกประการหนึ่งอริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
เทวดาเหล่าใดประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในภพนั้น
เทวดาเหล่านั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
พวกเราประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาบังเกิดในที่นี้

แม้อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานนั้น
ก็ย่อมเกิดในสำนัก
พวกเทวดาดังจะร้องเชิญว่า มาเถิด ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายปลื้มใจไปสู่ที่ประชุมแล้ว
กล่าวถึงผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล.


มหานามสูตร
สมบัติของอุบาสก
[๑๕๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าอุบาสก?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร
บุคคลผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่า เป็นอุบาสก.

[๑๕๙๑] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน
เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท
เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

[๑๕๙๒] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.

[๑๕๙๓] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกอยู่ครอบครองเรือน
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ.

[๑๕๙๔] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

คำว่า ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ได้แก่ อริยสัจ ๔

พฤศจิกายน 2021
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930  

คลังเก็บ