นิวรณ์น้อยและสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์
เรียกว่า วิปัสสนา คือกำหนดรู้ผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

กำหนดเนืองๆ(ต่อเนื่อง) จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สภาวะที่มีเกิดขึ้นคือ วิปัสสนาญาณ(อนิมิตตเจโตสมาธิ)
ได้แก่ สิ่งที่มีเกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่ ปราศจากตัวตน(คำบัญญัติ) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

“เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า”
ได้แก่ วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์) มีเกิดขึ้นก่อน
สมถะ(สัมมาสมาธิ/วิปัสสนาญาณ) มีเกิดที่หลัง

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา


หลุดพ้นด้วยปัญญา

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

“ย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ รูปนาม

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป”
ได้แก่ ละอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) มีปรากฏ

“และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ วิโมกข์ ๓


สมิทธิสูตร
[๒๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระสมิทธิว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ท่านพระสมิทธิตอบว่า วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีนามรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ท่านผู้เจริญ ฯ
ส. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น ย่อมถึงความต่างกันในอะไร ฯ
ส. ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย ฯ
ส. มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง ฯ
ส. มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข ฯ
ส. มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่ ฯ
ส. มีสติเป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นยิ่ง ฯ
ส. มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น ฯ
ส. มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่หยั่งลง ฯ
ส. มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ท่านตอบว่า มีนามรูปเป็นอารมณ์
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นถึงความต่างกันในอะไร
ท่านตอบว่า ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย
ท่านตอบว่า มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง
ท่านตอบว่า มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข
ท่านตอบว่า มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่
ท่านตอบว่า มีสติเป็นใหญ่
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นยิ่ง
ท่านตอบว่า มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น
ท่านตอบว่า มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง
ท่านตอบว่า มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ

ดูกรท่านพระสมิทธิ ดีละ ดีละ เป็นการดีแล้ว ท่านอันเราถามปัญหาก็แก้ได้
แต่ท่านอย่าทะนงตน ด้วยการแก้ปัญหานั้น ฯ

เสียหายหมด หลุดพ้นด้วยปัญญา

ว่าด้วย การหลุดพ้นด้วยปัญญา และที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มีพระธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

คำว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง
ขณะทำกรรมฐาน ตัวสภาวะหมายถึง ไม่มีการใช้คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติ
มีรูปนามเป็นอารมณ์
ตัวสภาวะได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่
เช่น รู้ลมหายใจเข้า หายใจออก รู้ตามความเป็นจริง ไม่มีการนับ 1 2 3 ฯลฯ
รู้ท้องพอง ขณะลมหายใจ รู้ท้องยุบ ขณะลมหายใจออก รู้ตามความเป็นจริง

จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สมถะ(สัมมาสมาธิ) เกิดที่หลัง ชื่อว่า อนิมิตตเจโตสมาธิ

คำว่า หลุดพ้นด้วยปัญญา
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เช่น กายแตก กายระเบิด ไตรลักษณ์ปรากฏ

สภาวะเขียนคร่าวๆ รายละเอียดไว้เขียนที่หลัง


ส่วนตรงนี้เป็นสัทธรรมปฏิรูป ก็ไม่รู้ว่ามีเกิดขึ้นในสมัยไหน

มันยิ่งกว่า วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค ญาณ ๑๖
คือมาเปลี่ยนตัวสภาวะให้เป็นตามความรู้ความเห็นของตน(คนแปล) ดูจากการตีความตัวสภาวะ(@เชิงอรรถ)

ซึ่งไม่ใช่สภาวะหลุดพ้นด้วยปัญญา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๓. ปัญญาวิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต
[๔๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า‘ปัญญาวิมุต ปัญญาวิมุต’ ผู้มีอายุ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ปัญญาวิมุต”๑-

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และเธอย่อมรู้ชัดปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒-

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อมรู้ชัดสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”

เสียหายหมด กายสักขี

อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว

สภาวะที่เรียกว่า กายสักขี
ได้แก่ สมถะ(สัมมาสมาธิ)

กายสักขี(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ)
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นคนละตัวกันกับโสดาบันประเภทกายสักขี(โสดาปัตติผล)

———-

ว่าด้วยคำว่า กายสักขี และสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

คำว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง
ขณะทำกรรมฐาน ตัวสภาวะหมายถึง มีการใช้คำบริกรรม
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ การนับเป็นจังหวะ กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า มีบัญญัติเป็นอารมณ์

จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ซึ่งสามารถมีเกิดขึ้นทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสัมมาสมาธิ
สภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรียกว่า กายสักขี
คือ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีกายเป็นสักขี
ซึ่งเกิดจากสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม
ส่วนจะทำให้รู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ขึ้นอยู่กับกำลังสติ
ต้องอาศัยการเดินจงกรม แล้วต่อด้วยนั่ง
กำลังสติที่เกิดจากการเดินจงกรม เป็นการสะสม
ซึ่งเคยเขียนไว้ว่า การเดิน ๖ ระยะ กำลังสติที่มีเกิดขึ้น จะมีกำลังมากขึ้นมากว่าสักแต่เดิน เพียงแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน
เป็นที่มาของคำว่า ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ได้แก่ รู้ชัดความเกิด ความดับในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
เห็นความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
.

“เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด”

คำว่า ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
หมายถึง ตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องสังโยชน์สูตร

คำว่า อนุสัยย่อมสิ้นสุด
ได้แก่ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม คืออินทรีย์ ๕ พร้อม สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) จึงมีเกิดขึ้น โดยไม่ต้องตั้งใจว่าจะให้มีเกิดขึ้น

ละตัณหา คือ ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
จะรู้ชัดด้วยตนเอง ขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้น

สภาวะตรงนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สุขาปฏิปาทา
จะเกิดขึ้นเร็วหรือจะเกิดช้า ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
คือมีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
มาในรูปแบบของนิมิตที่เสมือนจริง คือเหมือนมีเกิดขึ้นในชีวิต ทั้งที่นั่งอยู่
เรียกว่า สังขารนิมิต

เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดสภาวะโคตรภู(ถูกดูด)
จะมีเกิดขึ้นครั้งแรกในก่อนจะได้โสดาปัตติผล ครั้งเดียวเท่านั้น

การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
ความรู้ ความเห็นที่มีเกิดขึ้นในข้อปฏิบัติแบบนี้ เรียกว่า กายสักขี


ส่วนตรงนี้เป็นสัทธรรมปฏิรูป ก็ไม่รู้ว่ามีเกิดขึ้นในสมัยไหน

มันยิ่งกว่า วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค ญาณ ๑๖
คือมาเปลี่ยนตัวสภาวะให้เป็นตามความรู้ความเห็นของตน(คนแปล) ดูจากการตีความตัวสภาวะ(@เชิงอรรถ)

ซึ่งไม่ใช่สภาวะกายสักขีตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๒. กายสักขีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นกายสักขี

[๔๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กายสักขี กายสักขี’
ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า กายสักขี”๒-

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกาย๓- โดยประการนั้นๆ อยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว(๑)

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
และอายตนะคือจตุตถฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือจตุตถฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๒-๔)

@เชิงอรรถ :
@๑ นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่าง
@สิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)
@๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
@๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๓/๓๑๖)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๖}

ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา และอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคืออากาสานัญจายตนฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยนิปปริยายแล้ว”

สมถะ วิปัสสนา กับ รถ ๗ ผลัด

ความแตกต่างระหว่าง สมถะ วิปัสสนา กับ รถ ๗ ผลัด

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับ สมถะ วิปัสสนา

สมถะและวิปัสสนา
จาก ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ตัวสภาวะที่สำคัญ คือ

บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน

  • ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
  • อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
    สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
    เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้
โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

๘. อินทรียสังวรสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์
แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์
แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


รถ ๗ ผลัด จาก

๔. รถวินีตสูตร
ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร

ตัวสภาวะที่สำคัญ คือ

สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน

วัตถุกถาสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่างเป็นไฉน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อย
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สันโดษ
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สันโดษ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สงัด
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สงัด และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
และกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ปรารภความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้แล ฯ

ปุณณมันตานีปุตตเถราปทานที่ ๗ (๕)
ว่าด้วยผลแห่งการแสดงธรรม
[๗] เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พวกศิษย์ห้อมล้อมแล้ว
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้อุดมบุคคล พระมหามุนี พระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชาแล้ว ทรงประกาศกรรมของเราโดยย่อ
เราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ได้บังคมพระศาสดาประคองอัญชลี มุ่งหน้าเฉพาะทิศทักษิณกลับไป
ครั้นได้ฟังโดยย่อแล้ว แสดงได้โดยพิสดาร ศิษย์ทุกท่านดีใจ ฟังคำเราผู้กล่าวอยู่ บรรเทาทิฏฐิของตนแล้ว
ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนเราแม้ฟังโดยย่อ ก็แสดงได้โดยพิสดาร ฉะนั้น

เราเป็นผู้ฉลาดในนัยแห่งพระอภิธรรม เป็นผู้ฉลาดในความหมดจดแห่งกถาวัตถุ
ยังปวงชนให้รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัลปที่ ๕๐๐ แต่ภัทรกัลปนี้
มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ พระองค์ผู้ปรากฏด้วยดี ทรงสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ใน ๔ ทวีป
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระปุณณมันตานีปุตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

“หนอ”

๑๒ พค.๖๑

ประโยชน์ของการใช้ “หนอ” ในการกำหนด

.

การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง

การทำความเพียร เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
การใช้พองหนอ ยุบหนอ เป็นการกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของร่างกายที่มีเกิดขึ้น ขณะหายใจเข้า ท้องพองขึ้น หายใจออก ท้องยุบลง

แรกๆ อาจจะกำหนดไม่ค่อยได้ เพราะใจมักชอบแว่บไปโน่นนี่(คิด)
เมื่อทำบ่อยๆ จนทำเกิดเป็นวสี คือ จิตจดจำได้ คำบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ ที่ใช้กำกับ จะหายไปเอง ไม่ต้องใช้พองหนอ ยุบหนอในการกำหนดอีกต่อไป เป็นสภาวะของรูปนาม ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้น(ท้องพอง-ยุบ) กับใจที่รู้อยู่

ที่มาของปฏิสัมภิทามรรค วิปัสสนาญาณ ๙ ของพระสารีบุตร
กล่าวคือ สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์

ส่วนญาณ ๑๖ เป็นการแตกข้อปลีกย่อยออกมา
ผู้ที่ประสพพบเจอด้วยตนเอง เมื่อมาอ่าน จึงจะเข้าใจ
ภาษาชาวบ้าน หมายถึง ต้องผ่านญาณ ๑๖ มาแล้ว จึงจะอ่านได้อย่างเข้าใจในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามคำอธิบาย

หากไม่เคยผ่านญาณ ๑๖ (อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ)
อ่านแล้ว มีแต่การคาดเดา หาใช่ตามความเป็นจริงไม่

การการอธิบายความทั้งหมด ที่ตรงกับสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ล้วนลงรอยเดียวกัน กล่าวคือ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ใช่เรื่องความมี ความเป็นแต่อย่างใด
มีแต่เรื่องของ อริยสัจ ๔

เหตุปัจจัยให้ความมี ความเป็นมีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจากตัณหา

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

.

การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง

เป็นสภาวะของศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ
ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ
อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ

การใช้หนอในการกำหนดรู้ในผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เช่น ทางตา รูปที่มากระทบ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเห็นหนอ รูหนอ

เสียงที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเสียงหนอ ยินหนอ รู้หนอ พร้อมกับหายใจยาวๆ ลึกๆ

ฯลฯ

เป็นการสำรวม สังวร ระวัง ไม่สร้างเหตุออกไปทางกาย วาจา
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

การเดิน แบ่งออกเป็น ๖ ระยะ ตั้งแต่หยาบ จนละเอียด
เช่น อย่างหยาบ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

กิน ดื่ม ถ่าย นอน ทุกอิริยาบาทใช้หนอกำกับทุกอย่าง
เช่น เสียงหนอ ยินหนอ เห็นหนอ กลิ่นหนอ กินหนอ ดื่มหนอ กลืนหนอ นอนหนอ รู้หนอฯลฯ

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย

.

ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ

.

เมื่อมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอ่นเป็นที่พึ่ง 
มีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

สิ่งที่มีเกิดขึ้นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคิด คือ

.

๑. ไม่มีคิดถึงอนาคต การปรุงแต่งต่างๆล่วงหน้า จึงไม่มี

ไม่มีการคิดว่า ถ้าไม่มีเงินจะอย่างไร
เมื่อไม่มีเงิน ย่อมไม่มีกิน ไม่มีการคิดว่า ถ้าไม่มีกินจะทำอย่างไร

ถ้าไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จะทำอย่างไร

ฯลฯ

ความคิดเกี่ยวกับอนาคตทั้งหมด จะไม่มีเกิดขึ้น
เพราะทุกคำถาม มีคำตอบไว้หมดแล้วว่า ควรทำอย่างไร
คือ ความคิดเหล่านี้ หากมีเกิดขึ้น
ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนแต่อย่างใด

.

๒. คิดถึงอดีต หรือเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมา มีแต่คิดพิจรณาเรื่องความผิดพลาดที่มีเกิดขึ้นจากอะไรเป็นปัจจัย ความประมาทต่างๆ การคิดพิจรณาที่มีเกิดขึ้นนี้ เป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

.

๓. อยู่กับปัจจุบัน
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เป็นเรื่องของ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
สงบ ระงับ มากกว่าสานต่อ
เป็นสภาวะศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

.
เจริญสมถะและวิปัสสนา คู่เคียงกันไป
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ มีรูปนามเป็นอารมณ์
การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม
มีเกิดขึ้นมากกว่าแว่บออกไปนอกตัว

เริ่มต้นที่แตกต่าง

เริ่มต้นที่แตกต่าง เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน

เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

 

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

 

เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะ สัมมาสมาธิ

 

 

เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง)

ภิกษุย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

 

[๔] ภิกษุนั้นเจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร

คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา

สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า

 

เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะ ศิล
เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ

 

 

สุดท้าย ลงรอยเดียวกัน

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
อันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมกำหนัดในจักษุ
กำหนัดในรูป
กำหนัดในจักษุวิญญาณ
กำหนัดในจักษุสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว
ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมกำหนัดในมโน
กำหนัดในธรรมารมณ์
กำหนัดในมโนวิญญาณ
กำหนัดในมโนสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว
ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคล
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป
ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ
ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส
ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว
ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป

และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้

จะละความกระวนกระวาย แม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา
ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่า
มีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญ
อัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า

มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้
คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในมโน
ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ
ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส
ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว
ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป

และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใดความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้
เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ
สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗

 

จะอ่านพระธรรมคำสอนนี้ ให้เข้าถึงลักษณะอาการ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของคำเรียกต่างๆนี้ได้

ต้องรู้แจ้งแทงตลอดในสภาวะเหล่านี้ด้วยตนเองก่อน
นิพพาน
ปฏิจจสมุปบาท และ อริสัจ ๔
ผัสสะ และ อริยสัจ ๔

สมถะ-วิปัสสนา

ปฏิทาวรรค ๒

ปฏิทา ๔

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299

 

ขยายใจความ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=69

 

ขยายใจความอุปกิเลส ๑๐

Hello world!

 

 

 

เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง)

ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นผู้มีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นผู้มีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นผู้มีโมหะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

[๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติระงับ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ
เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ
เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษาจักขุนทรีย์
ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ฟังเสียงด้วยหู …
ดมกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษามนินทรีย์
ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก … วิหิงสาวิตก …
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

หมายเหตุ;

ข้อปฏิบัติ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ
กล่าวคือ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) กระทำไว้ในใจ

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)
กระทำไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
(ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น)

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ สภาพธรรมที่มีชื่อเรียกว่า วิปัสสนา
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

เมื่อรู้ชัดใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีเกิดขึ้นเนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจาก ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้น

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

สมาธิที่มีเกิดขึ้น จากจิตที่ปล่อยวางจากผัสสะ
มีชื่อเรียกตามความรู้ชัดในสภาวะนั้นๆ

จิตที่เกิดการปล่อยวางจากผัสสะ เพราะรู้ชัดในอนัตตา
สมาธิที่มีเกิดขึ้น มีชื่อว่า สุญญตสมาธิ ๑

จิตที่เกิดการปล่อยวางจากผัสสะ เพราะรู้ชัดในอนิจจัง
สมาธิที่มีเกิดขึ้น มีชื่อว่า อนิมิตตสมาธิ ๑

จิตที่เกิดการปล่อยวางจากผัสสะ เพราะรู้ชัดในทุกขัง
สมาธิที่มีเกิดขึ้น มีชื่อว่า อัปปณิหิตสมาธิ ๑

เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

 

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น โดย

ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิต มีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯลฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

วิปัสสนาด้วย อรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนามีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

ภาวนา

ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา

ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด

ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8&book=9&bookZ=33

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ