ทุกอย่างเกิดจากเหตุ ….

 
ทุกอย่างเกิดจากเหตุ …….. เหตุไม่มี …… ผลย่อมไม่เกิด  ….. ย่อมไม่มีการแสดงผลรับ ….
   กรรมคืออะไร?   กฏแห่งกรรมคืออะไร?   กรรมคือการกระทำ   กฏแห่งกรรมก็คือกฏแห่งการกระทำ  แต่ถ้าพูดเรื่องกรรมหรือกฏแห่งกรรมอาจจะมีบางคนพูดว่างมงาย เชื่ออะไรกับกฏแห่งกรรม  เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ไม่ดี ทำไมถึงชอบโยนโทษไปที่กรรม  ถ้าไม่โทษกรรม ( การกระทำที่เขาได้สร้างขึ้นมาเอง ) แล้วจะไปโทษใคร  เพราะเขายังไม่เข้าใจถ้าเขาเข้าใจเรื่องกรรมหรือการกระทำเขาจะไม่พูดเช่นนั้นเลย  ที่พูดเพราะเขายังไม่รู้  เขารู้แค่ที่เขาพูด  บางคนรู้ทั้งรู้ก็ยังทำ เพราะเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นถูกแล้ว ถูกในความคิดของตัวเอง  จริงแล้วก่อนทำนั้นเราควรทบทวนก่อน ควรพิจรณาก่อน ว่ามีการเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่นไหม  นำศิล ๕ มาเป็นหลัก หมั่นทำบ่อยๆ รู้ลงไปบ่อยๆ จะได้มีความรู้ตัวตลอดเวลาในสิ่งที่กำลังคิดซึ่งกำลังจะทำให้เกิดการกระทำให้เกิดขึ้น
    บางคนไปเข้าพิธีที่เขาเรียกว่า " พิธีแก้กรรมหรือพิธีตัดกรรม "  หากเป็นกรรมหรือการกระทำที่ได้ลงมือกระทำไปแล้ว แก้ไม่ได้  เราต้องแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ไปแก้ที่ปลายเหตุ  บางคนบอกว่า ต้องโทษกรรม เพราะกรรมทำให้มีชีวิตเป็นเช่นนี้  กรรมหรือการกระทำ ใครเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้นล่ะ ตัวเองทั้งนั้น แต่มองไม่เห็นดูไม่ออก เพราะมัวไปมองแต่นอกตัว ไปโทษตัวหนังสือสมมุติบัญญัติที่ชื่อว่า " กรรม "  เพราะความไม่รู้  เนื่องจากยังขาดการศึกษาในเรื่อง " กรรม "
    แก้ต้นเหตุแก้อย่างไร  " ปัจจุบัน " ไง  ก็คือการไม่สร้างกรรมใหม่ ( การกระทำ ) ที่เป็นอกุศลกรรมให้เกิดขึ้นอีก  แรกๆอาจจะยาก คือมันอาจจะยากถ้าเราเพียงแค่คิด แต่ไม่ได้ลงมือทำ  หากลงมือทำจริงๆ ไม่มีอะไรที่จะยากเกินที่เราจะทำได้  ส่วนที่ผ่านไปแล้ว เราไปแก้ไขอะไรไม่ได้  เราต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ได้ทำไปแล้ว อะไรจะเกิดก็ต้องยอมรับความจริง  ไม่ใช่ไปใช้วิธีแก้แบบผิดๆ  อันนั้นก็เหมือนกับการได้สารภาพบาป ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นแค่ระดับหนึ่งเท่านั้นเอง 
      สร้างเหตุดี ผลที่ได้รับย่อมดี  สร้างเหตุไม่ดี  ผลที่ได้รับย่อมไม่ดี 
    

ผลของการให้

 
ผลของการให้โดยไม่หวังผล ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน  ………
     ในชีวิตของเราที่ผ่านมาและในปัจจุบัน เราทำเช่นนี้มาตลอด  ใครไม่มีข้าวกิน  เราจะซื้อข้าวและน้ำให้กิน  ใครไม่มีตังค์ เราไม่ให้ แต่จะถามว่ากินข้าวหรือยัง ถ้าเขาตอบว่ากินแล้ว เราจะเดินผ่าน เพราะเราถือว่า อันนี้ต้องมี จะมีตังค์หรือมีคนให้กินแล้ว ก็แล้วแต่ ถือว่าท้องเขาอิ่มแล้ว เราไม่ให้ตังค์เด็ดขาด เป็นการไปสนับสนุนให้เขามาขอตังค์  แต่ถ้าตอบว่ายังไม่ได้กินข้าง เราจะพาเข้าไปที่ร้านอาหาร เขาอยากกินอะไรให้เขาสั่ง ทั้งน้ำและอาหาร เราจ่ายตังค์ให้ โดยไม่คิดหวังผลตอบแทนกลับเขา และเราก็ไม่ถามเข้าด้วยว่าทำไมเขาถึงไม่มีตังค์  ไม่ถามเลย ทุกคนย่อมมีเหตุผลของเขา  เพื่อมายืมเงิน เราจะถามก่อนว่า จะเอาเงินไปทำอะไร ถ้าเขาบอกว่า เอาไปจ่ายค่าเทอมลูก เราจะไปจ่ายให้เองที่โรงเรียน แต่ไม่ให้ตังค์เพื่อนเด็ดขาด เพราะส่วนมากจะไม่ได้เป็นไปตามนั้น ส่วนมากเอาเงินไปจับจ่ายไร้สาระ เวลาขับมอไซค์ เราเจอคนเดินถนนทั้งๆที่ไม่รู้จักกัน เราจะถามเขาว่าไปแถวไหน ถ้าเราวิ่งผ่าน เราก็จะให้เขาขึ้นรถมากับเรา เราไม่เคยกลัวคนแปลกหน้า เพราะเราเชื่อมั่นในเรื่องกรรม หากเราและเขาไม่เคยทำร้ายกันมา เขาย่อมไม่ทำเรา เราไม่เคยกลัว
   มีอยู่วันหนึ่ง เวลา ตี 3 ครึ่ง เราขับรถไปตลาด ฝนก็ตกหนัก ซอยที่เราวิ่งอยู่จะมีรถวิ่งผ่านน้อยมาก น้ำก็ท่วม มีผู้ชายกำลังเดินลุยน้ำ เราไม่รู้จักหรอก ฝนก็กำลังตกอยู่ด้วย เราถามเขาว่าจะไปไหน เขาบอกว่า จะกลับบ้าน ไม่มีรถวิ่งผ่านเลย เราให้เขาขึ้นรถมากับเขา พอคุยกัน เราก็ได้กลิ่นทินเนอร์ผสมกับกลิ่นเหล้า ถ้าถามว่าตอนนั้นกลัวไหม เราไม่กลัว บอกแล้วว่าอะไรจะเกิดมันก้ต้องเกิด  เขาเป้นผู้ชายเด็กวัยรุ่น ไปเที่ยวกับเพื่อนมาแล้วตังค์หมด ไม่มีค่ารถกลับบ้าน บ้านอยู่ท้ายบ้าน  เขาถามว่าไม่กลัวเขาหรือ เราบอกว่าไม่กลัวหรอก หากเราไม่เคยทำร้ายกันมา เขาย่อมไม่ทำร้ายเรา เขาบอกว่า พูดเหมือนยายเขาเลย ยายเขาชอบทำบุญมากๆ เวลามีเรื่องอะไรเกิดขึ้นก็แล้วแต่ ยายจะชอบพูดแบบนี้เสมอๆ  เขาว่าเขาจะบวชให้ยาย เราเลยแนะนำวัดอโศการามให้ พอถึงตลาด เราส่งตังคืให้เขา 50 บาท บอกว่าให้เป็นค่ารถกลับบ้าน เขายกมือไหว้พร้อมกับพูดว่า ขอบคุณมากๆเลยครับ ไม่คิดว่าจะเจอคนใจดี ให้ทั้งอาศัยรถมา ให้ทั้งตังค์ เราบอกว่า ไม่เป็นไร ตรงไหนช่วยได้ ก็ยินดีช่วย เดินทางดีๆนะ ข้ามถนนมองรถก่อนล่ะ ไม่ต้องรีบ
       อีกครั้งหนึ่งนี่เรื่องขอทาน คิดแล้วก็ขำเจ้าตัวน้อย มันร้ายจริงๆ แต่เขาคงจะหิวและเป้นห่วงเพื่อนเขาจึงทำเช่นนั้น วันนั้น เราไปตลาดกับรุ่นน้อง ไปหาซื้อของกิน เจอขอทานเป็นเด็กผู้หญิงมาขอตังค์ เราถามว่า กินข้าวหรือยัง เขาบอกว่า ยังไม่ได้กิเลย เราก็บอกว่า งั้นมากินข้าว อยากกินอะไรก็สั่งเอง เดี๋ยวจ่ายตังค์ให้  เขาบอกว่า งั้นเดี๋ยวหนูมานะน้า  แล้วเขาก้วิ่งหายไป เราก็ไม่ได้สนใจอะไร สักพัก …. โอ้โห… พากันมาเป็นกลุ่มเลย มาถึงก็บอกว่า เพื่อนหนูก็ยังไม่ได้กินข้าวกัน เราก็บอกว่า ไปสั่งข้าวกับน้ำได้เลย อยากกินอะไรก็สั่งเอาเอง  เจ้าอุษา ( น้องมาด้วยกัน หัวเราก็กเลย ) ษาบอกว่า พี่เสร็จแน่ท่าทางหลายตังค์ น่าจะให้ตังค์ไปแค้ไม่กี่บาท  เราบอกว่า ไม่เป้นไร ให้ท้องเขาอิ่มดีกว่าให้ตังค์เขา พอเราจ่ายตังค์ อิอิ … ตังค์เราพกมาไม่พอ มันประมาณสองหรือสามร้อยกว่าบาท จำไม่ได้เรื่องมันนานแล้ว แต่สร้างความประทับใจมากๆๆๆๆๆๆ  เลยต้องยืมเงินษาจ่ายแทน  กลับไปถึงที่ทำงาน เป็นเรื่องเล่าขำๆในที่ทำงานกันไปเลย ยังไงก็ขอยืนยันว่า ให้กินข้าว ไม่ให้ตังค์ เพื่อนๆจะรู้ เพราะเราเวลาซื้ออาหารก็เหมือนกัน เราจะเลี้ยงเพื่อนๆประจำ ไม่เคยคิดเล็กคิดน้อยกับเพื่อน  เห็นเพื่อนชอบกินอาหารที่เราซื้อมาเราก็ดีใจแล้ว
   ผลตอบแทนมันกลับปรากฏขึ้นมากมายอย่างไม่คาดคิด ทุกวันนี้ เราอยากกินอะไรเราก็ได้กิน ต้องเรียกว่า มีโยมอุปฐาก  ประมาณว่า อยากกินอะไรก็แล้วแต่สมใจนึกทุกอย่าง  ไม่ว่าจะซื้ออาหาร ซื้อเสื้อผ้า สิ่งของอะไรก็แล้วแต่ จะซื้อได้ในราคาถูกและได้ของที่มีคุณภาพ น้องที่บ้านเขาก็ถามว่า ทำไมตัวเขาเองไม่เคยซื้อได้อะไรดีๆแล้วถูกบ้างเลย ก็เลยเล่าเรื่องต่างๆในการให้แก่ผู้อื่นให้เขาฟัง ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา น้องคนนี้ชอบทำบุญและทำทานมากกว่าเมื่อก่อน ให้อย่างเดียวเลย  เขาบอกว่า มันได้ผลจริงๆพี่ เหมือนอย่างที่พี่บอกเลย เดี๋ยวนี้อยากกินอะไรก้ได้กิน ได้กินอย่างสมใจนึก ไม่ต้องไปวิ่งหา นี่แหละผลของการให้โดยไม่หวังผล
   รถมอไซค์ที่ขับอยู่ก็เหมือนกัน มันเป็นเรื่องที่แปลกมาๆ รถเสียทีไร ต้องเสียหน้าร้านซ่อมมอไซค์ทุกครั้งเลย  มีอยู่หลายครั้งที่ไปบ้านเพื่อน ไปทำความสะอาดบ้านให้เพื่อน รับจ๊อบพิเศษ เป็นหมู่บ้านคนมีฐานะ ตอนมืดนี่จะหารถออกยากมากๆ แต่เราก็จะดชคดีทุกครั้งที่มีคนเมตตา ถามว่าจะไปไหน แล้วรับเรามาส่งปากทางหมู่บ้านให้ทุกครั้งเลย  โชคดีจริงๆ

นั่งหลับ

 

ที่งานนี่ดีมากๆ โซฟาที่โรงงานนั่งห้อยขาได้ เหมาะสำหรับทำสมาธิ เรานั่งนี่ เป็นสมาธิตลอดเลย มีสติรู้ตัวตลอด น้อยครั้งที่จะขาดสติ (ดิ่ง )
ก็เลยเปลี่ยนเก้าอี้ ยกเก้าอี้พลาสติกข้างล่างขึ้นไปแทน เพราะลองนั่งแล้ว รู้สึกโอเค พนักเก้าอี้รองหลังได้พอดี ความสูงต่ำกว่าศรีษะ
ประมาณว่า ถ้าหลับต้องสับประหงก จะทำให้รู้ตัว เสียดายเวลานอนน่ะ ไม่ใช่อะไรหรอก

เราจะชอบถามตัวเองเสมอๆว่า จะเอานอนสั้น (เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร) หรือจะนอนยาว (พระนิพพาน)
ความเพียรที่เราทำตอนนี้ช่างน้อยเสียเหลือเกิน ถ้านำไปเปรียบเทียบกับความเพียรที่ผ่านมา

สักแต่ว่า …..

เพิ่งเข้าใจคำพูดของหลวงพ่อภาวนานุกูลที่ท่านจะพูดเสมอๆในการให้คำแนะนำเวลาติดขัดหรือเจอสภาวะบางอย่าง ท่านจะบอกเสมอๆว่า เมื่อเกิดอะไรขึ้น อย่าไปชอบใจ อย่าไปชัง ให้ตั้งจิตไว้กลางๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่าเห็น อย่าไปให้ค่าหรือความหมายใดๆในสิ่งที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ให้ทำจิตให้ได้อย่างนี้ตลอดเวลา 
     เพิ่งมาเข้าใจเมื่อวานนี้เอง เมื่อก่อนก็พยายามทำแบบที่หลวงพ่อบอก แต่มันก็ยังมีเอ๊ะอยู่ในใจ เพียงแต่จะถามก็ถามไม่ได้ เพราะรู้อยุ่แล้วว่า เวลาหลวงพ่อตอบ ท่านจะบอกว่าอย่างไร ก็เลยเลิกถาม ถึงจะมีเอ๊ะก็ปล่อยให้มันเอ๊ะไปอย่างนั้น  ที่บอกว่าเพิ่งมาเข้าใจเมื่อวานนี้ก็คือ ตั้งแต่ที่เจอปัญหาว่า จู่ๆความกำหนัดมันก็เกิดทั้งๆที่เราไม่ได้คิดอะไรเลย กำลังปฏิบัติอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้  เคยถามหลวงพ่อเหมือนกัน เรื่องการกำหนดให้เกิดเป็นอสุภะ ซึ่งท่านก้บอกว่า จะกลับไปหาสมถะอีกทำไม ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดอย่างเดียว นี่ท่านบอกอย่างนี้  ซึ่งครั้งนี้ ไม่ใช่เราไม่เชื่อ แต่เราก็อยากจะลองทำดู พยายามกำหนดนิมิตอสุภะให้เกิดขึ้น แต่ทำไม่ได้ นิมิตนี่ เราไม่เคยมีมาตั้งนานแล้ว เพราะเราไม่เอาเลย เมื่อวานนี้ เราก็เดินจงกรม เดินไปคิดไป พิจรณาไป ว่าทำไมมันถึงเกิดอารมณ์เช่นนั้น มันเกิดแล้วก็หาย เกิดแล้วก็หาย ทั้งๆที่เราไม่ได้ดูหรือคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นสื่อซึ่งสามารถทำให้เกิดอารมณ์ชนิดนี้ขึ้นมาได้ เดินไปก็ค่อยๆทบทวนไป  จู่ๆก็นึกถึงคำพูดของคุณนุขึ้นมาว่า ผู้ที่ด้อยปริยัติหรือขาดการศึกษา ต่อให้ไตรลักษณ์มาปรากฏอยู่ตรงหน้า พวกนี้ก็จะไม่รู้ เพราะขาดการพิจรณา ขาดการเรียนรู้ จนกว่าปัญญาจะเกิดขึ้นเอง พวกนี้ถึงจะรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น …
      เรานะพอนึกถึงตรงนี้ ร้อง โหๆๆๆๆๆ …. คิดว่าอะไร ทำไมมันถึงเกิด  ที่แท้ไตรลักษณ์มาแสดงให้เห็นตรงหน้า ไม่ว่าจะเรื่องเวทนาที่ผ่านมา เรื่องโอภาส ที่เกิด ดับ อยู่อย่างนั้น นี่มาเรื่องความกำหนัดอีก  พอคิดพิจรณา โน่น …. ไปนึกถึงคำสอนของหลวงพ่อพระครูถาวนานุกูลทันทีเลย ในสิ่งที่ท่านบอกเรามาตลอดเวลา  เราเข้าใจเลย วางลงได้ทันทีในความสงสัยในสภาวะที่เกิดขึ้น เดี๋ยวนี้ ถึงแม้จะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม ก็ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างเดียว ไม่มีเอ๊ะอีกแล้ว ทุกอย่างมันล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเราไปให้ค่าให้ความหมายในสิ่งที่เกิดขึ้น มันก็กลายเป็นอัตตาทันที อย่างนี้นี่เอง เพราะขาดการศึกษาในปริยัติ ขาดการพิจรณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ได้แต่ดู ได้แต่คิด คิดแล้วคิดอีก จนหยุดคิด เพราะคิดว่า ไม่รู้จะคิดไปทำไม ก็เลยวางลงได้ชั่วขณะหนึ่ง พอนึกถึงอีกก็คิดอีก
                         

จิตไว

 
หลังจากที่เกิดโอภาสถี่มากๆพักหลัง ทั้งๆที่บางทีไม่ได้นั่งสมาธิเลย ก็เกิด
นั่งคิดอะไรก็ตาม ถ้าเกิดความนิ่งเมื่อไหร่ก็จะเกิด ถ้าทำอะไรอยุ่แล้วเกิดอาการมึนๆง่วงๆน่ะ
แค่หลับตาแว๊บเดียวโอภาสจะเกิดทันทีเลย ขนาดขยับตัวก็ยังไม่หาย สักพักก้จะหายไปเอง
 
พักนี้สมาธิมันทรงอยู่ทั้งวัน เราก็งงๆว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งๆที่ไม่ได้ปฏิบัติมากเท่าเมื่อก่อน
 เมื่อเช้าแทบแย่ เราขับมอไซค์ไปทำงาน จู่ๆก็มีอาการมึนๆง่วงๆขึ้นมา เราไม่จอดรถ ฝืนขับต่อ มันจะวูบให้ได้
มือไม้มันอ่อนไปหมด แทบแย่กว่าขับถึงโรงงาน เหตุที่ไม่จอดเพราะเราไม่ยอมทำตามจิตมัน
เรารู้ว่า จิตมันทรงสมาธิอยู่ เราไม่ยอม เอาสติเข้าสู้
 
ตัดสินใจโทรฯหาหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูล ปรึกษาท่านว่า
ควรจะทำอย่างไร เพราะมันเกิดบ่อยมากๆ
 
หลวงพ่อพระครูฯ: อย่าไปรู้สึกอะไรกับมัน อย่าไปชอบ หรือชัง ทำใจให้วางเฉยให้ได้ เพราะถ้าไปชอบจะกลายเป็นนิกันติ
คือวิปัสสนูกิเลสนั่นเอง ถ้าทำใจวางเฉยได้ มันจะเป็นวิปัสสนาเกิดขึ้นเอง
 
เรา: ก็ไม่ได้ชอบหรอกนะหลวงพ่อ ( คิดในใจไปด้วยว่า โอภาสมันก็คือนิมิตดีๆนี่เอง เราจะไปเอาทำไม ) แต่พักนี้มันเกิดถี่มากกว่าเดิม
 
หลวงพ่อฯ: เดินจงกรมให้มากขึ้น นั่งให้น้อยลง
 
เรา: แล้วมันจะหายไหมหลวงพ่อ
 
หลวงพ่อฯ: หายสิ ทำต่อไป
    
แต่เราก็คิดนะ คิดถึงหลวงพ่อพุธ ในสมัยก่อน ที่เรายังไม่รู้จักเรื่องสมาธิดีพอ
แต่เราเป็นสมาธิทั้งวัน แล้วเกิดโอภาสตลอด ท่านให้เราเริ่มใหม่ใหม่ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงจตุถฌาน 1 2 3 4 ให้ทำอยู่แบบนั้น
ท่านบอกว่า จิตเราไวเกินไป ให้ปรับลงมา 
 

ทางสายกลาง

 
เมื่อคืนลองเดินแล้วนั่งสลับกันทั้งคืน  ความรู้สึกก็คือท่าทางคงจะไม่ถูกจริตกับเรา เราถามตัวเองว่า เราต้องการอะไรที่เร่งความเพียร  ยังมีความอยากอยู่ใช่ไหม อยากสำเร็จใช่ไหม  เหมือนที่แม่จันทาในหนังสือบอกใช่ไหมว่าให้อดนอนปฏิบัติติดต่อกัน 15 วันจะเห็นผล  เรายังต้องการเห็นผลอะไรอีก ในเมื่อรู้แล้วว่า หากพละ 5 ยังไม่พร้อม ญาณทัสสนะไม่มีวันเกิด ต่อให้เร่งความเพียรก็เถอะ จะมาทรมาณร่างกายตัวเองทำไม  ยิ่งตอนนี้ทำงานด้วย จะกลายเป็นว่า เราไปเบียดเบียนเวลางาน ( ง่วงนอนแล้วไปนั่งหลับเวลาทำงาน ถึงจะไม่มีคนเห็นก็เถอะ แต่ตัวเรารู้นี่ ) ต่อให้เราเร่งความเพียร แต่ถ้ายังมีความอยากแฝงอยู่ล่ะก็ ปัญญาที่ว่าไม่มีทางมาแสดงให้เห็นหรอก เราก็ผ่านสภาวะตรงนั้นมาแล้วนี่ ทำแบบเดิมน่ะดีแล้ว อย่าไปอยากเลย  ปฏิบัติครั้งละ 2 ช.ม. ก็พอ ทำวันละกี่รอบก็ได้  เดินสายกลางน่ะดีที่สุด อะไรที่มันตึงหรือหย่อนเกินไปย่อมไม่ดี  อาการเบื่อน่ะท่าทางจะหายยาก เพราะมันเป็นสภาวะที่ยังวนๆอยู่  เบื่อตรงนี้ยังแค่หยาบๆ เขาเรียกว่าชิมลาง ยังไม่ใช่เบื่อจริง  หลวงพ่อครูบาฯปรีชาท่านบอกว่า ถ้าเข้าถึงนิพพิทาญาณเมื่อไร มันจะเบื่อยิ่งกว่านี้ แบบว่าไม่อยากพบหน้าผู้คน พบปะสนทนากับใคร เบื่อการเวียนว่ายตายเกิด  ที่หลวงพ่อออกธุดงค์ไปอยู่ตามป่ามาหลายปีก็เพราะแบบนี้แหละ ทุกวันนี้หลวงพ่อก็ไม่ค่อยจะออกมาเจอกับญาติโยม  ยกเว้นใครติดขัดในเรื่องการปฏิบัติจริงๆ เดี๋ยวได้เจอหลวงพ่อเอง 
      คิดถึงวันที่กลับจากปฏิบัติที่วัดตาลเอน แล้วแวะกราบนมัสการหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูลที่วัดนาค  ใจยังคิดอยู่เลยว่าจะได้เจอหลวงพ่อปรีชาไหม  ความจริงเราก็เข้าใจที่ท่านพูด แต่ความรู้สึกเหมือนมันค้างๆคาๆใจยังไงก็ไม่รู้  กุศลเก่ามี วาสนาคงเคยทำร่วมกับครูบาฯท่านมา  พอกราบลาหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูลเสร็จ ถอยออกมาแล้ว ตั้งใจว่าจะกลับ หลวงพ่อปรีชาท่านก็เดินเข้ามา  เราน่ะดีใจสุดๆ  พระครูภาวนานุกูลท่านให้ด้านการปฏิบัติ แต่หลวงพ่อปรีชาให้ทั้งทางด้านปัญญาและการปฏิบัติ  สนทนาธรรมกับท่านนี่ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ  แน่นเอี้ยดเลย  ทุกวันนี้ยังอ่านโสฬสธรรมที่ท่านให้เป็นการบ้านมา  เราต้องไปเอาปัญญามาจากท่านมาเป็นแนวทางการปฏิบัติ  ( ตอนนี้กำลังอมยิ้มคิดถึงตอนได้สนทนากับครูบาฯท่าน ) ท่านเมตตามากๆ ไอ้เราก็กล้าพอที่จะถกธรรมกับท่าน  ทั้งๆที่ปริยัติเราออกจะรู้น้อยมากๆ แต่ท่านก็เมตตา ท่านยิ้มตลอด  กับหลวงพ่อปรีชาและพระครูภานานุกูลนี่สนทนากับท่านได้เต็มที่เลย  พูดแล้วก็รู้สึกปีติจังเลย 
   

กลับมารู้ที่กายและจิต

 
หลังจากส่งจิตออกนอกมาหลายวัน มันเบื่อน่ะ
เห็นอะไร อ่านอะไรก็โศกาอาดรู ไม่รู้เป็นบ้าอะไร แค่อ่านเรื่องนางทาส
จริงๆแล้วหนังทีวีไม่ชอบดูแต่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ  เมื่อคืนอ่านเรื่องนางทาส
อ่านแล้วก็กลับมามองที่ตัวเอง นิยายที่เขาเขียนน่ะมันก็เรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปจะต้องเจอ
จะเจอดีหรือร้ายก้อยู่ที่การกระทำของเขาที่เคยกระทำมา
 
เราก็ย้อนถามตัวเองว่า อยากเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้อีกหรือ 
ลองคิดดู แค่ปัจจุบันชาตินี้นี่แหละ เราน่ะปฏิบัติเข้าสู่ฌาน 4 ได้ตั้งแต่อายุ 11 ปีแล้ว
แต่เพราะวิบากกรรมจึงทำให้ต้องไปชดใช้หนี้กรรมไม่ได้ปฏิบัติต่ออย่างที่ควรเป็น
 
ถึงได้พบครูบาฯก็เป็นเพียงแค่ทางผ่าน ไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง
ไม่มีใครมาบอกมาสอน อย่างครูบาฯท่านกล่าวไว้ว่า  ชาติต่อไปจะระลึกได้หรือเปล่า อย่าไปคิดเลย
ต้องมาเริ่มต้นใหม่ทุกๆชาติ กรรมเท่ากับต้องสร้างเพิ่มขึ้นไปอีกกว่าจะรู้ตัว
 
เราเองก็ยังคงติดหลุมสบาย  ต้องใช้แรงกระตุ้นให้ตัวเองปฏิบัติ
ทั้งๆที่รู้แล้วว่า เส้นทางเหลืออีกแค่นิดเดียว  แต่จิตมันเป็นอะไรก็ไม่รู้ มันอาดรูแบบอกไม่ถูก
กึ่งกลัวกึ่งกล้าที่จะก้าวต่อไป หรือยังมีความอาลัยชาติภพอยู่ ทั้งๆที่รู้ว่า มันไม่มีอะไรน่าอาลัย
   
เมื่อคืนก็ขึ้นปฏิบัติ ตั้งแต่ผ่านเวทนาแบบโหดๆมา 
เดี๋ยวนี้ไม่ต้องไปทุกข์ร้อนอะไรมากมายกับเวทนาที่เกิด 
แต่ความเบื่อเรายังแก้ไม่ได้ เบื่อนักก็ใช้การเจริญสติอย่างเดียว
 
ถ้าถามว่าเบื่ออะไรก็ตอบไม่ได้ เมื่อคืนจะให้นั่งทั้งคืนก็นั่งได้ นั่งแค่ตี 2 ก็บอกตัวเองว่าพอละ
แผ่เมตตา กรวดน้ำ อธิษฐานจิต พอล้มตัวนอนลงไปมันสว่างพรึ่บขึ้นมาเลย เราก็คิด เอ้าอยากเป็นสมาธิก็เป็นไป
มันสว่างอยู่อย่างนั้นเราก็นอนดู ไม่สนใจอะไร
     
เดี๋ยวนี้เวทนาก็เกิดขึ้นหายไป กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว
เราก็เพียงแค่ดูตามความเป็นจริงที่เกิด  ปกติแล้ว เราแค่นั่ง 1 ช.ม. นี่ก็แทบจะแย่แล้ว
ยิ่งถ้าไม่เดินจงกรมก่อนนี่ทรมาณสุดๆ พักหลังนี่กลับไม่เป็นอย่างนั้น จะให้นั่งกี่ช.ม.ก็นั่งได้
 
แต่เราเบื่อ แบบที่บอก ไม่รู้ว่าเบื่ออะไร เดินจงกรมเดี่ยวนี้ก็รู้ไปตามอริยาบททั้งหมดที่กระทบ 
ยืนนี่หลับตายืนไม่ได้ มันจะดิ่งอย่างเดียว ใช้กำหนดจากหัวลงเท้าก็ไม่ได้ มันจะดิ่ง
 
ต้องใช้ลืมตายืนพิจรณาตั้งแต่หัวถึงเท้าแทน จะไปกำหนดแบบนั้นไม่ได้
ถึงไม่มีการกำหนดยืนหนอก็เถอะ แค่ตามลมหายใจขึ้นลง มันก็จะดิ่งเข้าสู่สมาธิตลอดเลย  มันช่างไม่สมดุลย์เล๊ย   

พระมหากัจจานะ

 
   พระมหากัจจานะ เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อให้พิศดาร ได้สรรเสริญแต่พระศาสดาว่า เป็นเยี่ยมกว่าสาวกอื่นในทางนั้น  วันหนึ่ง พระศาสดาทรงแสดงธรรมว่า
    ผู้มีปัญญา ไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
    ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดที่ยังไม่มาถึงแล้ว สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้มาถึง
    ผู้ใดเห็นแจ้งในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้นๆ ในกาลนั้นๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้นรู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนืองๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมฤตยูราชที่มีเสนาใหญ่ ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
     ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกเข้าวิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ช่องเพื่อจะกราบทูลถามความแห่งคำที่ตรัสโดยย่อให้กว้างขวาง เห้นความสามารถของพระมหากัจจานะ จึงไปหา อาราธนาให้ท่านอธิบาย  ท่านอธิบายให้ฟังว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้น ตามความพิศดารว่า
     เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลไกลล่วงแล้ว ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่พึงจะถูกต้องด้วยกาย ใจกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจของเรา มีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณอันความกำหนัดผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆ ผู้ที่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่าตนตามคิดสิ่งที่ล่วงไปแล้ว  ไม่คิดอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ตามคิดสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
      บุคคลใดตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูปเป็นต้น ของเราจักเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆ ผู้ที่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ชื่อว่ามุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะหมายในสิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้นๆ สิ่งที่ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่มุ่งหมายสิ่งที่ตนยังมาไม่ถึงแล้ว
      นัยน์ตากับรูปอย่างละ ๒ ๆ อันใดเหกิดขึ้นจำเพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นๆผูกวิญญาณได้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆ ผู้เพลิดเพลินสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่าง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นๆไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้นๆ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้นๆอย่างนี้ ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
 
 
จากหนังสือ อนุพุทธประวัติ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  พุทธศักราช ๒๔๖๒

พฤษภาคม 2008
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  

คลังเก็บ