โสดาบัน

ผู้แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จะรู้ชัดในสภาวะ ปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง และรู้ชัดในสภาวะเหล่านี้ ทั้งหมด

http://archive.org/search.php?query=creator%3A%22Bodhiyalai%22

อนุโมทนา กับธรรมทาน เสียงอ่านค่ะ

 

สัญญาถูกกระตุ้น

การฟังสิ่งใดก็ตาม ธรรมนั้นๆ เป็นเหตุของ ความเบื่อหน่ายกำหนัด ธรรมนั้นๆ เป็นสิ่งที่ควรฟัง

วันนี้ รู้สึกยินดี ขอบคุณเทคโนโลยี่ ไม่ต้องหาอ่านในพระไตรปิฎก มีผู้มาอ่านให้ฟัง จากการทำ ธรรมทาน ทางเสียงอ่าน พระไตรปิฎก

ฟังธรรม ของสัตบุรุษ นั่นคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้อ่าน เท่ากับสะสมสัญญา ไม่ชาติใด ชาติหนึ่ง บรรลุมรรค ผล นิพพาน อย่างแน่นอน

ธรรมที่มาจากพระโอษฐ์ เที่ยงแท้ แน่นอน ไม่แปรผัน ฟังจากต้นฉบับ ดีกว่า ฟังจากผู้ที่ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิของตนอยู่

ขอบคุณ การเสียสละของผู้ อ่านออกเสียง ให้ฟัง
ขอบคุณ การทำความเพียรของตนเอง ที่ทำให้ได้ฟังธรรม ของสัตบุรุษ

สภาวะมาสอนตลอด

กว่าจะรู้ว่าอะไร เป็นอะไร จะเห็นชัดในเรื่องของความรู้สึก(ที่มีอยู่) เกิดขึ้นก่อน ส่วนการหยุดสร้างเหตุนอกตัว เป็นวิธีการดับเหตุแห่งทุกข์(การเกิด)

การที่อยู่ภายในห้อง ไม่คบค้าสมาคมกับใคร จะเห็นความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นแบบนี้ ค่อนข้างยาก จะเห็นความสงบเป็นส่วนใหญ่

เมื่อถูกให้เดินทาง โดยสภาวะนำทาง ให้รู้ชัดในสภาวะที่มีอยุ่ ตามความเป็นจริง เชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า จากบทเรียนผ่านๆมา

กว่าจะตอบโจทย์เรื่องราวของสภาวะในช่วงนี้ได้ เรื่องความคับแค้นใจ ความขมขื่นใจ ความรู้สึกต่างๆ ที่ทำให้เป็นทุกข์ เกิดขึ้นไม่นาน ก็จบลงตามเหตุปัจจัยของทุกข์นั้นๆเอง

เมื่อเหตุปัจจัยตรงนี้จบลง สภาวะจะจัดสรรให้ได้ไปที่อื่นต่อ เพราะ ต้องอยู่ได้ทุกๆสภาวะ ตามความเป็นจริง

โดยไม่มีการสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ถึงแม้ยังมีกิเลสอยู่ก็ตาม โดยไม่ต้องอดทน กดข่ม อดกลั้น แบบก่อนๆ

อัสสาทะ อาทีนพ นิสสรณะ

[๕๔๕] เมื่อใดรู้แจ้งชัด ซึ่ง

อัสสาทะ (ความยินดีความเพลิดเพลิน)

อาทีนพ (โทษที่ไม่น่ายินดีความขมขื่น)

นิสสรณะ (นิพพาน)

ของโลกตามความเป็นจริง

แล้วเมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงมีใจไม่ถูกกักขังออกได้หลุดพ้นไปจากโลก(อัสสาทสูตร)

[๕๔๖] สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใด ไม่รู้ แจ้งชัด ซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และ
นิสสรณะของโลกอย่างถูกต้องตามจริง

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่นับว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ
ไม่นับว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. (สมณสูตร)

โสตาปัตติยังคสูตร

โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ

การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังธรรม ๑
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล

เมื่อตายไปก็ไม่ มาสู่โลกนี้อีก

เจ้านายถามว่า แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า ไม่ต้องมาเกิดอีก

ตอบไปว่า รู้นะ อธิบายแบบหยาบๆ อธิบายรายละเอียดไม่ได้

วันนี้ มีเหตุให้เจอ ว่าด้วย สรทสูตร

[๕๓๔] เมื่อธรรมจักษุอันปราศจากธุลีไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวก พร้อมกับ
การเกิดความเห็นขึ้นนั้น

สังโยชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)

วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)

สีลัพพตปรามาส(ความลูบคลำในศีลพรต)

อริยสาวก ย่อมละได้ถ้าละอภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา) และพยาบาทได้เมื่อตายไปก็ไม่ มาสู่โลกนี้อีก

ถ้าถามว่า ที่ว่าแบบหยาบๆคืออะไร?

ให้ดูในพระไตรปิฎก เรื่อง พระอานาคามี ในแต่ละระดับของการละกิเลส สภาวะของอนาคามิมรรค และอนาคามิผล ไม่แตกต่างจาก โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล แม้กระทั่ง สกาทาคามิมรรค สกทาคามิผล อรหัตมรรค อรหัตผล

มีลิงค์จากพระไตรปิฎก อยู่ในบล็อก ต้องหาดู มีเรื่องของ รายละเอียด สภาวะของโสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหันต์ มีแยกออกมาว่า มีจำวนนเท่าไหร่ ของแต่ละประเภท

ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น

๑. ผู้ที่พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ชื่อว่า โสดาปัตติมรรค เพราะ อริยมรรค มีองค์ ๘ เกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า โสดาบัน

ก. สัทธานุสารี

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตา … หู … จมูก … ลิ้น … กาย … ใจ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เป็นปกติ.

ภิกษุ ทั้งหลาย.! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไป
ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว
จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร
ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

๒. ผู้ที่มีสภาวะสัมมาสมาธิเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า โสดาปัตติมรรค เพราะ อริยมรรค มีองค์ ๘ เกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า โสดาบัน

ประเภท ข. ธัมมานุสารี

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่ง โดยประมาณอันยิ่ง
แห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการ อย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว
จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร
ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

โสดาปัตติผล มีเพียงหนึ่งเดียว คือ แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

สภาวะของคำเรียกต่างๆ มีไว้เพื่อให้ดูเรื่องสภาวะของการละกิเลส ไม่ใช่ไปยึดติดกับคำเรียกว่า เป็นนั่น เป็นนี่ หรือแม้กระทั่ง การแต่งตั้งจากผู้อื่น

การยึดติดแบบนั้น เรียกว่า สัญญา มีแต่เหตุของการสร้างเหตุของการเกิด เพราะยึดติดการแต่งตั้งสมมุติบัญญัติจากการเทียบเคียงสภาวะเอาเองของตนเอง และจากผู้อื่น ที่มีเหตุปัจจัยร่วมกัน ให้มาเชื่อกัน จึงเชื่อฟังกัน

ขันติ โสโรจจะ

บางสิ่งที่รู้ แต่ไม่รู้คำเรียก

หลายๆครั้ง ที่ได้เขียนสภาวะที่เกิดขึ้นลงไป ไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่กระทำแบบนั้น มีคำเรียก คือ ถ้าจะรู้ จะรู้แต่คำเรียกของสภาวะโดยตรง

ส่วนกิริยาของ การกระทำ หมายถึง เหตุที่เกิดขณะที่ กำลังกระทำ ก็มีคำเรียก วันนี้ มีเหตุให้รู้ถึงสิ่งที่วลัยพรเขียนประจำว่า ในเรื่องการสร้างเหตุของ การดับเหตุของการเกิดภพชาติ ณ ปัจจุบัน ขณะ ในแต่ละขณะ

หมายถึง เมื่อผัสสะเกิดหรือมีสิ่งที่มากระทบ ซึ่งทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

การกระทำแบบนี้ ใช้หลักของของ โยนิโสมนสิการ
โยนิ หมายถึง เหตุ คือ ดูตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น

มนสิการ หมายถึง การกระทำไว้ในใจ
คือ รู้ตามความเป็นจริง คือ รู้ไปตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เพียงแต่ แค่รู้ว่า มีสิ่งเกิดขึ้น แล้วทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ไม่ว่าจะเป็นการสรรเสริญ เยินยอ หรือการนินทาว่าร้าย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ให้อดทน อดกลั้น กดข่มใจ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น

การอดทน อดกลั้น กดข่มใจ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ก็เพิ่งรู้นะว่า การกระทำแบบนี้ มีคำเรียกว่า ขันติ โสโรจจะ

สัญญา กับ ปัญญา

การทำความเพียร

ในเรื่องของการปฏิบัติ การทำความเพียรในอิริยาบทต่างๆ ทำตามรูปแบบต่างๆ ซึ่งแล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน

ผลที่เกิดขึ้นเหมือนๆกันคือ สภาวะสัญญา จะมีความรู้ต่างๆผุดขึ้นมามาก น้อยในแต่ละครั้ง สภาวะเหล่านี้ ล้วนเป็นเพียงสัญญา ยังไม่ใช่ปัญญา

การรู้ จะค่อยๆรู้ไปทีละท่อน ทีละคำ เหมือนการผสมคำให้เกิดเป็นประโยคขึ้นมา

ไม่ว่าคำเรียกเหล่านั้น จะเรียกว่าอะไรก็ตาม หมายถึงสิ่งใดก็ตาม
รู้แล้ว ยังมีการสร้างเหตุนอกตัว ยามที่ผัสสะเกิด

รู้แล้ว ยังมีการสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น รู้นั้นๆ เป็นสัญญา

ไม่ว่าคำเรียกเหล่านั้น จะเรียกว่าอะไรก็ตาม หมายถึงสิ่งใดก็ตาม
รู้แล้ว เป็นเหตุให้หยุดการกระทำต่อ ผัสสะ ที่กำลังเกิดขึ้น

ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกยินดี-ยินร้าย ที่เกิดขึ้น นั่นแหละคือ ปัญญาที่แท้จริง

รู้ตรงนี้

สติ

ผลของการสอบทุกครั้ง(ผัสสะ) เป็นตัวบ่งบอกว่า สติที่มีอยู่ มีมากน้อยแค่ไหน

มีมาก แค่รู้มากขึ้น หยุดการสร้างเหตุได้ทัน

มีน้อย ยังมีหลงสร้างเหตุต่อ

๑. สติ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ จะแค่รู้มากขึ้น สักแต่ว่ารู้ รู้แบบหยาบๆก่อน เมื่อผัสสะเกิด/มีสิ่งมากระทบ รู้ว่า รู้สึกนึกคิดอย่างไร แต่ยังมีหลงสร้างเหตุอยู่ หลงสร้างเหตุไปแล้ว ก็รู้ว่าหลง

๒. มีสติมากขึ้นอีก เมื่อผัสสะเกิด/มีสิ่งมากระทบ รู้ว่า รู้สึกนึกคิดอย่างไร แต่ไม่สร้างเหตุออกไป ต้องกดข่ม หรือใช้ความอดกลั้น

๓. มีสติมากขึ้นอีก เมื่อผัสสะเกิด/มีสิ่งมากระทบ รู้ว่า มองสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยใจที่เป็นธรรม คือ รู้ว่า เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล โดยไม่ต้องกดข่ม หรืออดกลั้นแต่อย่างใด ที่จะไม่สร้างเหตุออกไป

๔. มีสติมากขึ้นอีก เมื่อผัสสะเกิด/มีสิ่งมากระทบ รู้ว่า สักแต่ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆเกิดขึ้น

อย่างอื่นยังไม่รู้ ตอนนี้รู้แค่นี้ ในเรื่องของ สติ ที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ

เริ่มใหม่

ทุกๆนาที ที่ตั้งใจจะทำอะไร แล้วมีเหตุให้ ไม่ได้ทำ เพียงแค่มองว่า ไม่เที่ยง เริ่มใหม่ได้ ตราบใดที่ยังมีโอกาส เดือนนี้ไม่ได้ เดือนหน้าเริ่มใหม่ นั่นคือ การเข้ากรรมฐาน ๗ วัน

การเข้ากรรมฐาน ๗ วัน ถือว่า เป็นการตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ผู้ที่มีพระคุณ ตลอดจนผู้ที่ยังมีเหตุร่วมต่อกัน เป็นการใช้หนี้แบบ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนผลที่ส่งไป อาจจะช้าหรือเร็ว ถึงจะรับได้ นั่นก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

ภพชาติปัจจุบัน

เช้านี้ เจ้านายถามว่า อทิปปัจยตา คืออะไร

เรา คิดในใจว่า เอาอีกละ เห็นเป็นหนังสือไปได้ ไปหาในกูเกิ้ลโน่น

เจ้านายพูดต่อว่า พอดีได้ฟัง เรื่องภพชาติปัจจุบัน เกิดดับอยู่ทุกขณะ

เราบอกว่า แล้วเขาอธิบายรายละเอียดไหม ที่ว่าเกิดดับทุกขณะน่ะ

เจ้านายบอกว่า ไม่มีรายละเอียด เขาพูดแค่นั้น

เราบอกว่า ในตำราก้มีอยู่ ไม่รู้ว่าจะหมายถึงตัวเดียวกันไหม มีเขียนไว้ว่า จิตเกิดดับทุกขณะ

เจ้านายถามว่า แล้วตกลงที่ว่า ภพชาติเกิดดับทุกขณะคืออะไร

เราบอกว่า ทุกๆผัสสะที่เกิดขึ้นไง ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นน่ะ ถ้าถูกใจก็ตอบสนองออกไป เช่น ไปสรรเสริญเยินยอเขา

ถ้าไม่ถูกใจ ก็ตอบโต้ออกไป เป็นการสร้างเหตุทะเลาะกัน

ถ้าแค่รู้ว่า พอใจกับไม่พอใจ เก็บเอาไว้ในใจ ไม่ไปสานต่อ เหตุก็ไม่มี ก็จบลงตรงนั้น หากเขายังไม่จบ ปล่อยไป นั่นคือ เหตุที่ยังมีอยู่ แค่รู้ไปอย่างเดียว

เจ้านายบอกว่า แล้วคนที่ฟังจะเชื่อไหม

เราบอกว่า ก็ช่างไปสิ ไปสนใจทำไม คนที่รู้แล้วน่ะ ไม่ติดตามใครหรอก เพราะอะไรรู้ไหม ถ้ามีเหตุร่วมกัน ในทางที่ต้องมาเชื่อกัน ต่อให้หนีไปไกล สุดท้าย ต้องกลับมาหาใหม่ หนีไม่พ้นกันหรอก

ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างสิ ตอนที่ทรงสนทนากับโยคี โยคีฟังเสร็จ เดินหลีกหนีไป ไม่สนใจ พระพุทธเจ้าก็ไม่เห็นจะไปตามงอนง้อหรือตามอธิบายอะไร

คือ คนไหนบอกได้ สอนได้ จะทรงบอก

คนไหนสอนไม่ได้ ทรงไม่ติดตามคือ ทิ้งไปเลย ถ้ามีเหตุร่วมกัน เดี่ยวกลับมาหาเองแหละ

Previous Older Entries

มิถุนายน 2013
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

คลังเก็บ