สภาวะของเจ้านาย

08/09/2566
เล่าเรื่องสภาวะของเจ้านาย
หลังจากวันที่ ๒๗ สค.

วันธรรมดา ยังคงปฏิบัติ ๒ รอบ
เช้า ตี ๕ ถึง 6 ครึ่งเช้า เดินครึ่งชม. นั่ง ๑ ชม.
กลางคืน เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.
ตอนหลังลดการนั่งเหลือ ๑ ชม.
เวทนากล้าเกิดขึ้นบ่อย
เมื่อวันจันทร์นี้เอง

วันหยุด ปฏิบัติ ๓ รอบ
เช้า ตี ๕ ถึง 6 ครึ่งเช้า เดินครึ่งชม. นั่ง ๑ ชม.
บ่าย 3 ถึง 6 โมงเย็น เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.
กลางคืน สาม-สี่ทุ่ม เดินหนึ่งชม. นั่ง ๒ ชม.

เริ่มลดเวลาการนั่งลงตั้งแต่วันจันทร์นี้
เกิดจากอาการปิติเกิดขึ้นน้อยลง
สภาวะสุขเกิดไม่นาน
เวทนากล้าเกิดขึ้นนานกว่าเมื่อก่อน

จึงบอกเขาว่า ค่อยๆปรับอินทรีย์ได้
ตอนแรกเห็นว่าเขามีปิติกล้า สภาวะดูผาดโผน
สภาวะแปลกๆ จึงปล่อยก่อน ยังไม่พูดอะไร
สภาวะอะไรมีเกิดขึ้น แค่ดูอยู่
เพราะรู้ว่าเขาเองก็อยากรู้ว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะไปทางไหน สิ้นสุดตรงไหน
ต่อให้เราพูดอะไรไป เขายังไม่ฟังหรอก ต้องรู้ด้วยตน เขาจึงจะฟัง
พอมาเจอเวทนากล้า

เขาบอกว่า ตอนเวทนากล้ามีเกิดขึ้น
เขาทนไม่ไหวจึงคิดในใจว่าให้มันตายไปเลย
แล้วเวทนาจะค่อยๆหายไป ไม่เห็นมีกายแตกกายระเบิดเกิดขึ้นเลย

เราบอกว่า อย่าไปคิดเอาเอง
ต้องรู้ด้วยตน จึงจะเข้าใจเอง
หากมีกายแตกกายระเบิดเกิดขึ้น เวทนากล้าก็ทำอะไรไม่ได้หรอก
เพราะกายและจิตจะแยกออกจากกัน ทำให้เข้าถึงก่อน ค่อยมาพูด
ขนาดตอนนี้นั่งแค่ ๑ ชม. แทบจะทนไม่ไหวเหมือนเมื่อก่อน

เขาพยักหน้า แล้วบอกว่าจะเป็นบางครั้ง ไม่ได้เกิดบ่อย

เราบอกว่าว่าจะเกิดบ่อยหรือนานๆเกิด แต่ยังมีเวทนากล้ามาปรากฏอยู่
ไม่ต้องไปฝืนใจหรอก ค่อยๆทำตามสเตปจะดีกว่า
เมื่ออินทรีย์ ๕ แก่กล้า
ต่อให้เวทนากล้ามีเกิดขึ้น ก็ยังนั่งได้ โดยใจไม่เป็นทุกข์
จากนั่ง ๑ ชม. รอดูหนึ่งอาทิตย์
หากเวทนาที่มีเกิดขึ้น มีน้อยลง ให้เพิ่มอีกเป็น ๑ ชม.ครึ่ง
การปรับอินทรีย์ ปรับแบบนี้แหละคืออาศัยการสังเกตุสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน
จาก ๑ ชม.ครึ่งมาเป็น ๒ ชม. สภาวะจึงจะมั่นคงมากขึ้น
ตราบใดยังมีกายอยู่ เวทนาย่อมมี
ก็เพิ่มการนั่งขึ้นไปอีก เป็น ๒ ชม.ครึ่ง
พอนั่งได้โดยเวทนาไม่รบกวน
ก็เพิ่มการนั่งเป็น ๓ ชม. สภาวะจึงจะมั่นคงกว่าเดิมอีกมากขึ้น
อินทรีย์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
จะดูตัวสภาวะสัมปชัญญะเป็นหลัก ขณะจิตเป็นสมาธิ

อาทิตย์ 27/08/2566
สภาวะของเจ้านายที่มีเกิดขึ้น
จะเป็นอาการปีติ และมีเวทนากล้ามีเกิดขึ้นด้วย
ตอนนี้อาการปิติ เขาบอกว่ามีเกิดขึ้นน้อยลง
ส่วนเวทนากล้า ปวดขา เหน็บชา ยังเป็นอยู่
ปวดมากถึงร้องไห้ได้ ปวดสุดๆ
เขาเล่าเรื่องสภาวะให้ฟัง การอยู่กับเวทนาโดยไม่ต้องสู้เวทนา
ตัวข้างในจะมาสอนว่าทำแบบนี้ เขาทำตาม ทำให้จากเวทนาหนักเบาลง
วันหยุดเขาจะทำกรรมฐาน ๓ รอบ
ตีสี่ เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.
บ่ายสาม เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒.ชม.ครึ่ง
สามทุ่ม

เขาถามเรื่องการปรับอินทรีย์ เรื่องสมาธิ
ประมาณว่า กำลังสมาธิจากเนวสัญญาฯ ทำให้ลงได้เหรอ
เราบอกว่า ไม่ได้ทำให้ลดลง คือได้เนวสัญญาฯ ไม่มีใครอยากให้เป็นแบบนั้นหรอก
แต่สามารถลดกำลังสมาธิลงได้
เช่น ปฏิบัติได้อรูปฌาน แสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่
แล้วไม่รู้ว่าสภาวะของตนเองอยู่ตรงไหน
เพราะอรูปฌานเวลาเกิดขึ้นจะเหมือนๆกัน ไม่แตกต่างเลย
วิธีการลดกำลังสมาธิ ไม่ใช่ไปลดฌาน
เช่นจากเนวสัญญาฯ ให้ลดลงไปกว่าเนวสัญญาฯ ทำไม่ได้หรอก
คือมีเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเลย ยกเว้นมีเหตุให้สมาธิเสื่อม หรือล้มเลิกปฏิบัติ
ส่วนกำลังสมาธิ สามารถลดลงได้
ลงไปที่รูปฌาน

เมื่อนั่งลง หลับตา จะมีแสงสว่างเจิดจ้าเกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่
เคยนั่งใช้เวลาเท่าไหร่ ให้คงที่ไว้แค่นั้น
ให้มาเพิ่มเดินจงกรม เพิ่มเวลาการเดินไปเรื่อยๆ
คือเดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง เคยนั่ง ๓หรือ ๔ ชม. ใช้เวลาเท่าเดิม
เมื่อทำแบบนี้ให้สังเกตุว่าเวลาแสงสว่างเจิดจ้ามีเกิดขึ้น
แล้วมีรู้ว่ากายนั่งอยู่ด้วยไหม หากไม่มี
ให้เพิ่มเดินจงกรมไปอีกจาก ๑ ไปเป็น ๒ ชม. แล้วนั่ง
ทำแบบนี้ แล้วสังเกตุสภาวะที่มีเกิดขึ้น
สุดท้าย หลังเดินจงกรมตามเวลาที่กำหนดไว้ แล้วนั่ง
จะมีแสงสว่างเจิดจ้าและรู้กายที่นั่งอยู่
นี่คือสัมมาสมาธิที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ให้เดินจงกรมตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ต้องเพิ่มอีก
ส่วนนั่ง สามารถเพิ่มเวลานั่งได้
เมื่อสติดี สัมปชัญญะมีเกิดขึ้นแล้ว
จะมีการเห็นความเกิดับขณะจิตเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ
การเห็นความเกิดดับ ทำให้รู้ว่าสภาวะของตนอยู่ตรงไหน
ส่วนมรรคผลไม่ต้องไปสนใจในคำเรียก
เมื่ออินทรีย์ ๕ แก่กล้า ตัวสภาวะจะมีเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องตั้งใจหวัง

คำถาม

บางคนมีความสงสัยว่า ทำกรรมฐาน
การนั่งนาน จะมีผลต่อสุขภาพไหม เช่นต่อร่างกายที่นั่งนาน

คำตอบ

ไม่มีผลกระทบทั้งสิ้น
ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพของแต่ละคน
ล้วนเกิดจากการกิน การนอน สังคมที่คลุกคลี การใช้ชีวิต
ส่วนกรรมฐาน ยิ่งทำ ชีวิตยิ่งดี
ยิ่งปฏิบัติหลายรอบได้ ยิ่งดีมากๆ

สมัยที่ทำความเพียรหนัก เวลาป่วย สมาธิชาวยทำให้ทุเลาลง
ดูเป็นสมองสิ ความจำเสื่อมก็ได้สมาธินี่แหละทำให้ดีขึ้น
พูดตามจริง หากไม่ได้กรรมฐาน ชีวิตของเราก็คงไม่รู้ว่าจะเป็นแบบไหน

อันนี้สภาวะของเจ้านายวันนี้ 27/08/2566
วันนี้ เจ้านายตื่นก่อนตีสี่
เดินจงกรม ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.
เขาเล่าสภาวะให้ฟัง เวทนาเปลี่ยนไป
มีเวทนาเหมือนเดิม แต่ไม่มีร้อนที่ขา อีกตัวจะรู้สภาวะที่มีเกิดขึ้น เหมือนจะแยกออกจากกัน

เราจึงบอกว่า ไม่มีอาการปีติอีกละเหรอ

เขาบอกว่า วันนี้ไม่มี จะมีสุขเกิดขึ้น

เราบอกว่า งั้นไปดูการปฏิบัติในรอบต่อไป ซึ่งเขาจะทำตอนบ่าย
สภาวะที่มีเกิดขึ้น เหมือนครูมาสอน
ของเขาฟังเรื่องสภาวะจากเราบ่อย จดจะจดจำ เรียกว่าปัญญา
จะมาผุดเหมือนมีคนมาพูดสอนให้กำหนดแบบนี้ ให้ทำแบบนี้ อันนี้เรียกว่าสัญญา

ถามเขาว่า สภาวะอื่นๆล่ะมีเกิดขึ้นไหม
เขาบอกว่ามีสีขาว
เราบอกว่าโอภาส
เขาบอกว่าจากเหมือนฟ้าแล่บ มาเป็นสีขุ่นๆ
เราบอกว่า สีไข่มุก
เขาบอกว่าใช่ แบบนั้น ต่อมา จะเป็นสีขาว แต่ยังไม่เจิดจ้า
เราบอกว่าโอภาสจะมีหลายสี ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
ยิ่งสมาธิมีกำลังมาก จะเป็นเปิดไฟ แสงสว่างเจิดจ้า

เขาบอกว่า เข้าใจล่ะ เรื่องเวทนากับปีติ ไว้ดูปฏิบัติรอบใหม่

เราบอกว่า หากไม่มีเวทนากล้าหรือมีปีติเกิดขึ้นอีก
จะรู้กาย ท้องพองยุบ รู้ลมหายใจ
สภาวะอะไรที่มีเกิดขึ้นให้แค่ดู รู้ หากครบ ๕ วัน จะเพิ่มการนั่งจาก ๒ ชม. มาเป็น ๒ ชม.ครึ่ง
จะค่อยๆเพิ่มเวลาการนั่ง ส่วนเดินจงกรม คงที่เวลาเท่าเดิม ๑ ชม. ไม่ต้องเพิ่ม เพิ่มเวลาเฉพาะนั่ง
จาก ๒ ชม.ครึ่ง มาเป็น ๓ ชม. เพิ่มไปเรื่อยๆ
โอภาสจะมีเกิดขึ้น แสงสว่างเจิดจ้า กายหาย ไม่รู้กายที่นั่งอยู่
ทุก ๕ วันเพิ่มเวลาการนั่งไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะมีสภาวะถอดกายทิพย์มีเกิดขึ้น ค่อยมาปรับอินทรีย์กันใหม่
จากเคยเดิน ๑ ชม. มาเป็น ๒ ชม. การนั่งใช้เวลาเท่าเดิม ไม่ต้องเพิ่ม
เพิ่มการเดินจงกรม จะมีแสงสว่างเจิดจ้ากับกายที่นั่งอยุ่ อันนี้สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นแล้ว
เมื่อกายมี เวทนาย่อมมี
เวทนากล้าจะมีเกิดขึ้นอีกครั้ง
เอาเป็นว่าการรู้การเห็นจะรู้รายละเอียดได้ ต้องปฏิบัติตามที่บอกว่า

เขาบอกว่าเข้าใจแล้ว

รอบบ่าย เดินจงกรม ๑ ชม. นั่งตั้งเวลา ๒ ชม.
นั่งจนครบเวลาที่ตั้งไว้ ยังนั่งต่อ เลิกนั่งตอน ๑๙.๐๐ น.

อาทิตย์

เสาร์ 26/08/2566
วันนี้เจ้านายปฏิบัติ ๓ รอบ
รอบเช้า
ตื่นตี ๔ เดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๒ ชม.
บ่าย ๓ เดินจงกรม ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.ครึ่ง
ก่อนนอน เดินจงกรม ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.

สภาวะรวม
ขณะเดินจงกรม ระยะที่ ๖
มีสติ สัมปชัญญะ สมาธิ มีเกิดขึ้นแล้ว
ทำให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะเดิน
จิตเป็นสมาธิตั้งแต่เดินจงกรม

เมื่อมานั่งต่อ จิตเป็นสมาธิต่อเนื่อง
สภาวะอื่นๆโดยรวม ยังมีปีติเกิด โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ ขณิกาปีติ ขุททกาปีติ
ตัวที่มียังคงเกิดบ่อย โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ
เวลาสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะบังคับไม่ได้

เราบอกว่า กำลังสติของเขายังอ่อน
หากสติมีกำลังมาก แค่ดู แค่รู้ สภาวะเหล่านี้จะคลายหายไปเอง

เวทนากล้า ปวดขา
การเบื่อหน่าย เกิดจากความไม่ชอบใจสภาวะที่มีเกิดขึ้น เหมือนไม่ไปไหน บังคับก็ไม่ได้

เขาบอกว่า ใช่ แบบนั้นเลย เวลาเวทนาและปีติมีเกิดขึ้น
เมือนจะมีสองสภาวะเกิดขึ้น บางครั้งสาม มีเกิดขึ้น
แรกๆสภาวะจะแยกออกจากกัน แค่ดู แค่รู้ กับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
บางครั้งมีตัวที่สามมีเกิดขึ้น มาสอนว่าให้กำหนดแบบนี้ ทำแบบนี้ๆ

เราบอกว่า ตัวที่มาสอน เรียกว่าสัญญา
ที่เกิดจากเขาฟังบ่อยทั้งเรื่องปริยัติและเรื่องสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
จิตจดจำไว้ แล้วไม่ลืม จะมาผุดขึ้นขณะทำกรรมฐานนี่แหละ

เขาบอกว่า เข้าใจล่ะ

25/08/2566
เช้า ตื่นตี ๔ เดินจงกรม ครึ่งชม. ต่อนั่ง 2 ชม.
เมื่อคืน เขาเดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๒ ชม.
ยังคงมีเวทนากล้ามีเกิดขึ้นอยู่ แสนสาหัส แต่ไม่ทำให้เขาท้อถอย

24/08/2566
เมื่อคืน เขาเดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๒ ชม.
ยังคงมีเวทนากล้ามีเกิดขึ้นอยู่ แสนสาหัส
ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในสภาวะเหล่านี้
มีคิดว่าเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น ทำให้อยากจะออกพ้นจากสภาวะนี้ให้ได้

เขาบอกว่าเห็นทุกข์
เห็นความไม่ชอบใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
อาการหมุนๆยังมีอยู่
อาการเหวี่ยงยังมีอยู่
แต่น้อยลงกว่าวันแรกๆ

เช้านี้ เขาตื่นเกือบตีสี่ เปิดแอร์ เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๒ ชม.

หลังเขาออกจากกรรมฐาน
เขาเล่าให้ฟังว่า วันนี้มีทั้งทุกข์และสุข
ทุกข์
ที่เกิดจากเวทนากล้าแสนสาหัสยังมีอยู่

สุขที่เกิดจากจิตเป็นสมาธิ
จะเกิดซ้อนๆกัน

เขาบอกว่าใจอยากจะออกจากเวทนากล้าให้ได้

มีอีกตัวจะบอกว่าก็ต้องละรูปให้ได้ก่อน

อีกตัวบอกว่าต้องนิโรธเท่านั้น

มีพิจรณาอริยสัจ๔
แต่ยังไม่เข้าใจนิโรธ
สรุปนี่ดับอะไร ดับรูปหรือดับอะไร

เราอธิบายอริยสัจ ๔ ให้ฟัง

ทุกข์ เกิดจากอุปาทานขันธ์ ๕

สมุทัย ได้แก่ ตัณหา ๓

นิโรธ ดับตัณหา ๓

มรรคปฏิปทา มรรคมีองค์ ๕

สภาวะของเจ้านายอยู่ตรงนี้
คือเห็นฝั่ง พยายามว่ายไปถึงฝั่ง

คำว่า ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้
ได้แก่ ตัณหา
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ตัวแรกคือสักกายทิฏฐิ

เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
สภาวะโคตรภูญาณมีเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังเข้าไปข้างในได้
เพราะกำลังสมาธิยังน้อย
ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเพิ่มวิริยะขึ้นอีก
จากปฏิบัติรอบเดียวก่อนนอน มาเป็นสองรอบ
ปฏิบัติรอบเช้า ตีสี่ถึงหกโมงครึ่ง แล้วไปทำงาน
ปฏิบัติก่อนนอน เดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๒ ชม. เมื่อคืนนอนเที่ยงคืนกว่านิดๆ
ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง ในรูปแบบของเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
เขาบอกว่าเข้าใจเลยทำไมจึงเกิดความเบื่อหน่าย
สภาวะที่มีเกิดขึ้นบังคับไม่ได้
เขาบอกว่าเห็นทุกข์
เมื่อเช้ามีการพิจรณาอริยสัจ ๔ เขาบอกว่านิโรธ ยังไม่เข้าใจ

เราบอกว่าเป็นสัญญาจากที่เขาฟังเราพูดเนืองๆ
“ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา
น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่าย
ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้
เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา
ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด
ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของตน
จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน”

.
เขาส่งข้อความมาถามเรื่องคำเรียก
นี่ส่งข้อความมาให้

ตอนนี้กำลังสมาธิดีมาก ๆ
เหมือนกำลังทำกรรมฐานอยู่เลย
สุดยอดไปเลย

เราจึงบอกว่าสภาวะรู้ด้วยตนจะเข้าใจ จะทำให้ตั้งใจทำความเพียรไม่ท้อถอย

เขาบอกว่า ตอนนี้นั่งทำงานอยู่ ปีติตัวเย็นมันเกิดพร้อมกับสัมปชัญญะ
ตอนเดิน ๆ รู้เท้าชัดเจนเหมือนกับกำลังเดินจงกรมอยู่

เราบอกว่าเห็นป่ะ รู้ด้วยตนจากการปฏิบัติ สามารถพิสูจน์ได้

Yes, right

“เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”


๒๓ สค. ๒๕๖๖

เจ้านายตื่นตอนตี ๔ นิดๆ
เขาเดินจงกรม ครึ่งชม. ต่อนั่งไม่ต้องตั้งเวลา
เพราะเขาต้องไปทำงาน จะมีการตั้งเวลาตื่นทุกวัน
ออกจากการทำกรรมฐาน เขานั่งไป ๒ ชม.

วันนี้เขามีคำถามว่า สังขารกับอุปาทานเหมือนกันไหม
เราบอกว่า คนละตัวกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นคนละอย่างกัน
สังขาร เป็นการปรุงแต่ง ตัวสภาวะมีที่มีเกิดขึ้น มีแค่นี้
เพราะอวิชชาที่มีอยู่ ทำให้เกิดการกระทำออกไป
ทางกาย วาจา ใจ ที่เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่

อุปาทาน คืออุปาทาน ๔ ที่เกิดจากฉันทราคะในอุปทานขันธ์ ๕
ที่เกิดจากตัณหา ๓
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

เขาถามว่าขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหน
ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อุปาทานขันธ์ ๕ เกิดจากฉันทะ ความพอใจ
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีเกิดขึ้น
จึงมาเป็นอุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทาน ๔ กับอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
อุปาทานขันธ์ ๕ เกิดจากฉันทะ ความพอใจ
อุปาทาน ๔ เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

เขาถามว่ามีพระสูตรไหม
เราบอกว่านี่สิ สิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์แล้ว
แล้วทรงบัญญัติในคำเรียกเหล่านี้ไว้
ทุกคนสามารถจะรู้ด้วยปัญญา ๓ แบบ

การฟัง การอ่าน การศึกษา จำขึ้นใจด้วยการท่องจำ
เรียกว่า สุตามยปัญญา

การนำสิ่งที่ฟังมา อ่านมา ศึกษามา จำขึ้นใจด้วยการท่องจำ
แล้วนำมาพิจรณาในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน “โยนิโสมมนสิการ”
เรียกว่า จินตามยปัญญา

ด้วยปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา แล้วเข้าถึงธรรมตามจริง
แจ่มแจ้งแทงตลอดตัวสภาวะตามจริง
เรียกว่า ภาวนาปัญญา

“ได้ชี้นรก สวรรค์ พระนิพพาน กิเลส ตัณหา โดยจะแจ้งสิ้นเชิง
เมื่อผู้ใดได้ฟังแล้ว ปรารถนาสุขทุกข์ประการใด
ก็จงเลือกประพฤติตามความปรารถนา”

.
เขาเล่าให้ฟังตอนเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
จะเข้าใจที่เราเล่าเรื่องร่างกายเหมือนจะถูกฉีก
ที่เคยฟังเราเล่านั้น ยังไม่ไม่รู้หรอก
พอเจอกับตน จึงเข้าใจ มิน่าถึงเรียกว่าปัจจัจตัง
การฟัง จะรู้ได้ต้องปฏิบัติ แล้วสภาวะนั้นๆมีเกิดขึ้น จึงจะเข้าใจ

เขาเล่าต่อ ตอนแรกปวดที่กายที่นั่งก่อน ปวดสุดๆ
แล้วมารู้ที่ขาซ้าย รู้สึกถึงความเย็นมากๆที่ขา
แล้วไปรู้ที่ขาขวา จะร้อนเหมือนถูกเผา
จะมีความจำในอดีตผุดขึ้นมา
วันนั้นเขาทำอาหาร เปิดแก๊ส แล้วมีแมลงมาตอม แล้วแมลงถูกแก๊สเผาหมด
แมลงคงจะร้อนแบบนี้ ร้อนมากๆ
มีพิจรณาอริยสัจ ๔
ทุกข์เป็นแบบนี้เอง บังคับไม่ได้ จะทำตามใจไม่ได้ เห็นความไม่พอใจ
เกิดจากเวทนากล้าที่เจอมาตลอด เหมือนสภาวะไม่ไปไหน
ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย อยากเลิก แต่ไม่คิดจะเลิก ยังนั่งต่อ

เขาบอกว่าตอนนี้เข้าใจละทำไมเราถึงบอกว่าให้ตั้งเวลา
หากไม่ตั้งเวลา เวลาเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
พอถึงสภาวะนั้นๆมีเกิดขึ้น จะเลิกนั่งต่อ
หากตั้งนาฬิกา แล้วยังไม่ตามเวลาที่ตั้งไว้ จะเลิกไม่ได้
มีเวลาที่ตั้งไว้เป็นบังคับ
กัดฟัน พยายามอดทน ต่อมาตัวสั่นทั้งตัว ทั้งโยก ทั้งหมุน หัวสั่นหัวคลอน
มันเกิดขึ้นเอง ไม่ได้จะทำขึ้นมา
หากใช้คำบริกรรมรู้หนอถี่ๆ จะทำให้สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะหายไปทันที
จากประสบการณ์ ทำให้เขาแค่รู้ตามจริง ไม่ใช้คำบริกรรม
ปล่อยให้ตัวสภาวะดำเนินด้วยตัวของสภาวะเอง

เขาบอกว่าเรื่องปริยัติและการปฏิบัติ เข้าใจมากขึ้น
หัวขบวน พาไปผิดทาง ผู้ที่ตามหัวขบวนนี้ ย่อมหลงทางไปด้วย
เราบอกว่า ใช่ ทั้งหมดนี้เกิดจากการกระทำของตนที่เคยกระทำไว้
แล้วมาเจอหัวขบวนที่เคยสร้างกรรมให้มาเชื่อกัน
มาในชาติปัจจุบัน มาเจอกันอีก แค่ฟัง ก็เชื่อทันทีและปฏิบัติตาม

ฉะนั้นตัวสภาวะที่มีสำคัญก็คือศิล
การสดับพระะรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
แต่การที่จะรู้จักบุคคลที่เรานำมากล่าวถึงนี้
ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ที่กระทำในแต่ละขณะๆๆๆๆ

.
เขาให้ดูหน้าจอของนาฬิกา
เมื่อคืน เขาเดินจงกรมใกล้สี่ทุ่ม เลิกนั่งเกือบตีหนึ่ง
ตื่นตีสี่ เดินจงกรม ครึ่งชม. ต่อนั่ง ๒ ชม.
นาฬิกาเขียนไว้ว่า การนอนปกติ 7.16
เขาถอดนาฬิกาออก 6.15 ยังเป็นแสงสีม่วงอ่อน แล้วขาดหายไป
เราบอกว่าจิตของเขายังเป็นสมาธิในอุปจารสมาธิ
เขาเลิกนั่งตอน 6.30


๒๒ สค. ๒๕๖๖

สิ่งที่ดิฉันเขียนไว้มานั้น ให้อ่านไปเรื่อย
โดยเฉพาะเรื่องศิล
จะเข้าใจรายละเอียดเรื่องการดับภพชาติของการเกิด
ไม่ใช่แค่การปิดอบาย
จะทำให้เกิดฉันทะมีเกิดขึ้นในเรื่องการปฏิบัติ
และให้ดี ควรทำกรรมฐานไปด้วย จะดีมากๆ
เคยปฏิบัติในรูปแบบไหน ทำไปก่อน ไม่ต้องไปเปลี่ยนรูปแบบ
เพราะขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง ซึ่งมาแก้ไขได้

ศิลสำคัญมาก
การสดับพระธรรมสำคัญมาก
ทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่มีอยู่ เบาบางลง
การรู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนี้ๆ
จะทำให้ตัวปัญญามีเกิดขึ้น
แม้จะเป็นเพียงจากการฟัง อ่าน หรือท่องจำก็ตาม

กว่าที่ดิฉันจะเขียนรายละเอียดเรื่องการปฏิบัติได้
ความจำเสื่อมไปกี่ปีก็ตาม แต่สภาวะที่มีเกิดขึ้นจากการปฏิบัติไม่หายไปไหน
รู้แล้ว รู้เลย จำสภาวะทุกอย่างได้หมด เพียงแต่นึกคำเรียกไม่ออก
รู้ว่าสภาวะนี้ๆมีเกิดขึ้น ควรกระทำแบบไหน ควรกำหนดแบบไหน

ยิ่งล่าสุดที่ฟังสภาวะการปฏิบัติของเจ้านายที่มีสภาวะโคตรภูญาณมีเกิดขึ้น
แม้เขายังเข้าไปข้างในไม่ได้
เกิดจาก
๑. กำลังสมาธิที่มีอยู่ขณะนั้นๆ ยังน้อยไป
๒. ที่ห้องไม่ได้จัดพื้นที่ให้ใหม่ เขานั่งใกล้ตู้เสื้อผ้า
เวลามีแรงเหวี่ยงเกิดขึ้น เขากลัวหัวไปโขลกประตูตู้
เขาบอกว่ามีเกิดขึ้น ๒ ครั้ง ตอนแรกนึกว่ามีครั้งเดียว
เขาบอกว่ามีสองครั้ง ในการปฏิบัติรอบเดียวกัน
ที่มีเหมือนมีลมมหาศาลจะดูดเกิดขึ้นตอนที่มีการเหวี่ยง
คือไม่ใช่เวทนากล้าเพียงอย่างเดียว
จะมีลมหมาศาลมีเกิดขึ้นด้วย แล้วจะดูด มีแสงสว่างเกิดขึ้นด้วย

พอเราฟังที่เขาเล่าสภาวะให้ฟัง
ทำให้รู้สมัยก่อนการปฏิบัติในอดีตของเรา ทำไมเมื่อผ่านเวทนากล้ามาได้
จิตจะเข้าสู่อรูปฌาน มีแสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ จมแช่ไม่ไปไหน
จะลืมตาหรือหลับตา จะมีแสงสว่างเจิดจ้า กายไม่รู้กาย
จนมาเจอพระครูภาวนานุกูลมาปรับอินทรีย์ให้ใหม่
ให้เดินมากกว่านั่ง จนมีแสงสว่าง รู้กายที่นั่งอยู่ด้วย
แล้วตัวสภาวะจะดำเนินของตัวสภาวะเอง

กว่าจะรู้นะ นึกสภาวะตรงนี้ไปเลย
พอเจ้านายกลับมาปฏิบัติ มีสภาวะเวทนากล้ามีเกิดขึ้น
เขากำหนดตามจริง
อาการเหวี่ยงที่มีเกิดขึ้น เขาบอกว่าเหมือนจะซ้อนกัน
บางครั้งมีเวทนากล้ามีเกิดขึ้น ปีติจะมีเกิดขึ้น ทำให้เวทนาจะเบาลง
บางครั้งมีเวทนากล้ามีเกิดขึ้น สุขจะมีเกิดขึ้น ทำให้เวทนาจะเบาลง
สภาวะจะเกิดสลับอยู่อย่างนี้
บาครั้งไม่มีทั้งปีติและสุข จะมีเพียงเวทนากล้าล้วนๆ
อาการเหวี่ยงจะมีเกิดขึ้น แรงมาก เหมือนร่างทรง
เหมือนคนออกกำลังหนัก

สภาวะของเราจะไม่เป็นแบบนั้น
เวทนากล้าเพียงอย่างเดียว จะไม่มีอาการเหวี่ยง
เคยอ่านเจอ อาการเหวี่ยงแบบนี้
บางคนเรียกว่าสมาธิหมุน
คือเวลาอาการเหวี่ยงมีเกิดขึ้น จะแรงมาก แล้วมีโอภาสมีเกิดขึ้น
บางคนจะใช้วิธีนี้ในการรักษาการเจ็บป่วย

เมื่อเช้า เขาตื่นมาตีห้า มาทำกรรมฐาน
เวลามีน้อย เขาเดินจงกรมครึ่งชม. นั่งไม่ตั้งเวลา นั่งไป ๑ ชม.ครึ่ง
เขาบอกว่าเวทนาหนัก กำหนดตามจริง

วันนี้เขาเล่าให้ฟังว่า เขารู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในตน
จะรู้สึกข้างในสงบ เป็นสมาธิง่าย
เมื่อคืนหลังทำกรรมฐานเสร็จ เขาคุยกับเราเรื่องการปฏิบัติ
เขาถามเรื่องสภาวะการปฏิบัติต่างๆ เราเล่าให้เขาฟังสภาวะตามลำดับ
จะสภาวะอะไร อย่างไร สภาวะใดมีเกิดขึ้นต่อ
คุยจนตีสอง เราบอกเขาว่านอนเถอะ พรุ่งนี้ไปทำงานนี้
เมื่อก่อน เขาไม่ทำกรรมฐาน เวลาเขาหลับ จะกรนเสียงดังมาก
เวลาเขากรน เราจะใช้มือแตะที่ตัวเขา ให้เขารู้สึกตัว จะได้ไม่กรน
ตั้งแต่เขาทำกรรมฐาน เวลาเขาหลับ ไม่มีกรนอีกเลย

ตอนนี้เขาทำกรรมฐานวันละสองครั้ง
ตอนเข้าและก่อนนอน
เขาบอกว่า เหมือนข้างในจะอิ่ม จะมารู้สึกตัว สุขเกิด ให้นอนก้นอนต่อไม่ได้
เขาจึงลุกตอนตีห้า มาทำกรรมฐาน
เรื่องเดินจงกรม เดินระยะที่ ๖ เป็นอัตโนมัติ
ทุกย่างก้าวการเคลื่อนไหว จะรู้ขึ้นที่ใจ รู้ชัดเท้าที่กระทบ
บางครั้งเดิน ๑ ชม.ครึ่ง ต่อนั่ง ๑ ชม.ครึ่ง
เขาบอกว่ารู้สึกสมาธิมีกำลังมากกว่าเดิม นั่งได้นานกว่าเดิม
แม้จะมีเวทนากล้าก็ตาม นี่เขาทำกรรมฐานล่ะ กว่าจะเลิกเกือบตีหนึ่งทุกวัน


รวมสภาวะของเจ้านาย

ตั้งแต่เขากลับมาทำกรรมฐาน แรกๆทำวันละรอบ
เดินจงกรม ๑ ช. ต่อนั่ง ๑ ชม.
เขาถามว่าจำได้ไหมว่าเขาเริ่มทำกรรมฐานวันไหน
เราบอกว่า จำไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าได้โพสไว้หรือเปล่า
เพราะไม่แน่ใจว่าเขาจะทำต่อเนื่องหรือแค่อยากทำ
จากดูที่โพสไว้ 16/08 /2566
หลังจากนั้นมา จากที่บันทึกไว้
เมื่อคืน เขาเดิน ๑ ชม.ครึ่ง นั่ง ๑ ชม. ๒๐ นาที ไม่ตั้งนาฬิกา

17/08/2566
เขาตื่นตี ๕ เดินจงกรมครึ่งชม.ต่อนั่ง ๑ ชม.
กลางคืนเดิน ๑ ชม. นั่ง ๑ ชม.ครึ่ง
18/08/2566 เดินจงกรมระยะที่ ๖
เขาตื่นตี ๕ เดินจงกรมครึ่งชม.ต่อนั่ง ๑ ชม.กว่านิดๆ
เขาบอกนะ แต่เราไม่ได้จดไว้ เพราะไม่คิดว่าเขาจะทำจริงๆ
กลางคืน เขาเดิน ๑ ชม.ครึ่ง นั่ง ๑ ชม. ๒๐ นาที ไม่ตั้งนาฬิกา
เข้านอน ตี ๑

19/08/2566
ตื่นตี ๔ ครึ่ง เดิน ครึ่งชม. นั่ง ๑ ชม.
กลางคืน เดินจงกรม ๑ ชม.ครึ่ง เดินระยะที่ ๖ ต่อ นั่ง ๑ ชม.ครึ่ง
ออกจากกรรมฐาน ตี ๑
นอนตีสอง คุยกันเรื่องการปฏิบัติและสภาวะที่มีเกิดขึ้น

20/08/2566
ทำกรรมฐานตอนตี ๕ เดินครึ่งชม.ต่อนั่ง ๑ ชม.
เมื่อคืนเขาเดินจงกรม ๑ ชม.ครึ่ง เดินระยะที่ ๖ ต่อ นั่ง ๑ ชม.ครึ่ง
ออกจากกรรมฐานเที่ยงคืนครึ่ง

21/08/2566
ตื่นตี ๔ ครึ่ง ทำกรรมฐาน เดินครึ่งชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.กว่า ไม่ตั้งเวลา
ที่ไม่ตั้งเวลา เพราะตั้งนาฬิกาตอนเช้าไว้แล้ว เขานั่ง ๑ ชม.ครึ่ง
เมื่อคืน เขาเริ่มตั้งนาฬิกาตามที่เราบอกไว้
เดินระยะที่ ๑ หนึ่งชม. นั่ง ๒ ชม.
เราบอกว่าการตั้งเวลา ต้องฝึกที่จะควบคุมจิต
สิ่งที่ทำไว้จะสะสมไว้ในจิต จิตจะจดจำได้
จะทำให้เวลาปรับอินทรีย์จะทำง่าย
ที่เขาตั้งเวลาที่สองชม.
จากที่เขาสังเกตุตัวเอง จะเห็นว่าหากนั่ง ๑ ชม. สภาวะยังคงไปต่อได้อีก
จึงตั้งนาฬิกาที่ ๒ ชม.
เขาบอกว่าสังเกตุมา พอใกล้เวลาที่ตั้งไว้ เวทนาสุดๆเลย
เมื่อวาน เขาไม่ได้ตั้งเวลา พอดูเวลา เขานั่งไม่ถึง ๒ ชม.ขาด ๒ นาที
เราบอกว่าตั้งนาฬิกานะดีแล้ว ทำให้รู้ว่าความอดทนมีแค่ไหน
แล้วเขาเลือกทางที่เราอธิบายไว้เรื่องจากรูปฌานไปสู่อรูปฌาน
หากทำได้ ให้จิตเสพสภาวะที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
พอนั่ง หลับตาปั๊บ แสงสว่างเจิดจ้าจะมีเกิดขึ้นทันทีและใจที่รู้อยู่
แล้วมีความรู้เห็นแปลกๆมีเกิดขึ้น เช่น ถอดกายทิพย์ รู้ใจของคนอื่น
เรียกว่าฤทธิ์ทางใจ
เมื่อมีสภาวะมีเกิดขึ้นแล้ว ค่อยมาปรับอินทรีย์กันใหม่
ให้เดินมากกว่านั่ง จนกว่าทุกครั้งที่นั่ง
หลับตาลง แสงสว่างเจิดจ้า และกายที่นั่งอยู่
หากเป็นแบบนี้ ตัวสภาวะจะดำเนินของตัวสภาวะเอง
คือเมื่อกายมี เวทนาย่อมมี
จะเจอเวทนากล้าอีก กำหนดตามจริง
ที่ยังมีเวทนานี้มีเกิดขึ้นอีก ทั้งๆที่ผ่านเวทนากล้ามาได้แล้ว
เราบอกว่าตราบใดยังมีกาย เวทนาย่อมมี เป็นเรื่องปกติ
ที่โอภาสหรือแสงสว่างน่ะ เกิดจากกำลังของสมาธิที่มีเกิดขึ้น
ทีนี้ที่เราบอกว่าตอนที่โคตรภูญาณมีเกิดขึ้น แต่เขาเข้าไปไม่ได้
เกิดจากกำลังสมาธิยังน้อย
ส่วนสภาวะโคตรภูญาณจะมีเกิดขึ้นตอนไหน คาดเดาไม่ได้หรอก
เขาบอกว่าเข้าใจละ

22/08/2566
ตื่นก่อนตี ๕ เดิน ครึ่งชม. นั่ง ๑ ชม.กว่า
เลิกทำกรรมฐาน 06.30 ตามนาฬิกาที่ตั้งไว้ตอนเช้า วันทำงาน
เขาให้ดูนาฬิกาที่แสดงค่าการนอนทั้งๆที่เขานอน ๓ ชม.
แต่นาฬิกแสดงไว้ว่า เขาหลับดี 7.23 ชม.
ทั้งที่เขานอนตอนตี ๑ กว่าๆ ตื่นใกล้ตี ๕ เท่ากับนอน ๓ ชม. เหมือนเมื่อวาน
เราบอกว่า นาฬิกาจะจับอาการดีพหรืออัปนาสมาธิที่มีเกิดขึ้น
เขาเริ่มเดินจงกรมเกือบสี่ทุ่ม เดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๒ ชม.
นาฬิกาโชว์เขานอนแล้ว ทั้งๆที่เขาทำกรรมฐานอยู่
เราบอกว่าเขา ตั้งใจทำกรรมฐาน ทั้งเช้าและกลางคืน
จะทำให้อินทรีย์ ๕ แก่กล้า กำลังสมาธิจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
เขาเล่าเรื่องเวทนากล้า เขารู้สึกตัวตลอด แต่อดทนอดกลั้น ไม่ขยับตัว
ตอนเหวี่ยงมีเกิดขึ้น ไปบังคับไม่ได้หรอก
หากกำหนดรู้หนอที่เคยทำ สภาวะเหวี่ยงจะหายไปเอง
เขาจึงเลือกกำหนดตามจริง ให้ไปถึงที่สุด
ตอนนี้อาการเหวี่ยงเริ่มน้อยลง คือมีอยู่ แต่สั้นลง
เวทนาหนักขึ้นๆ
เขาพูดเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ใครเป็นคนบัญญัติไว้
เราบอกว่าพระพุทธเจ้าสิ พระองค์ทรงตรัสรู้ด้วยตนพระองค์เอง
เขาบอกว่าอัศจรรย์นะ กาย เวทนา จิต ธรรม
เมื่อมีกาย เวทนาย่อมมี จิต ธรรม
เราบอกว่าตั้งใจทำกรรมฐาน ทำให้แจ่มแจ้งสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ส่วนปริยัติ ผู้ที่อธิบายรู้แค่ไหน ย่อมอธิบายได้แค่นั้น
เขาบอกว่าคนที่หลงมีเกิดขึ้นแบบนี้เอง
เราบอกว่า เป็นเรื่องกรรมที่เคยสร้างร่วมกันไว้ทั้งสองฝ่าย


14 สิงหาคม

เล่าเรื่องสภาวะของเจ้านาย
เรื่องการเปลี่ยนแปลงของเจ้านายเคยเล่าไว้
ก่อนหน้าเขาได้ฟังพระรูปหนึ่ง แรกๆเขาชอบ
พอฟังบ่อยๆ เขาบอกว่ามีแต่เรื่องสมาธิ เขาไม่ชอบล่ะ

แล้วที่ทำให้เขาเกิดการบันดาลใจให้ตั้งใจปฏิบัติใหม่
หลังจากที่ไม่ได้ทำมาหลายปี ตามที่เคยเล่าไว้แล้ว
เขาได้อ่านสภาวะของคนใหม่ที่มาหาเรา ได้ส่งสภาวะมาให้เราดู
เขาเห็นว่าคนนี้ปฏิบัติก่อนนอน และตอนตี ๔ ทุกวัน
ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ประกอบกับได้ฟังที่เราพูดเรื่องผลของกรรมฐาน

เขาได้ฟังบ่อยมากๆ เวลาเราเล่าเรื่องสภาวะต่างๆ
ซึ่งหลายสภาวะมีเกิดขึ้นขณะเขาทำกรรมฐาน
แม้เขาจะกลับมาเริ่มปฏิบัติใหม่ สภาวะที่เคยทำไว้ไม่หายไป
เขาเดินจงกรม ๑ ชม. นั่งไม่ตั้งนาฬิกา
เวลาเขาเลิกทำกรรมฐาน เขานั่งได้ครบ ๑ ชม. โดยไม่ต้องตั้งเวลา

ถามเขาเรื่องการเดินจงกรม
เขาเล่าให้ฟัง บางครั้งก่อนเดิน จะบริกรรมยืนหนอ ๕ ครั้ง(บริกรรมปากเปล่า)
บางครั้งไม่ต้องบริกรรมรู้หนอ คือเดินระยะที่ ๖ ก่อน แล้วค่อยมาปรับ
เวลากลับ บางครั้งจะบริกรรมกลับหนอ บางครั้งไม่ใช้คำบริกรรม

เราบอกว่า อ้อ เข้าใจล่ะ เกิดจากเขาเคยปฏิบัติมาก่อน แล้วทิ้งไป
พอกลับมาปฏิบัติใหม่ ไม่ต้องทำตามรูปแบบเหมือนครั้งแรก
สามารถปรับการปฏิบัติด้วยตน เราแค่ดูสภาวะของที่เขาเล่าให้ฟัง
จะได้รู้ว่าสภาวะของเขาอยู่ตรงไหน

เราถามเขาว่า เวลานั่งใช้คำบริกรรมหรือใช้วิธีกำหนดแบบไหน
เขาบอกว่า ไม่ได้ใช้คำบริกรรม แค่นั่ง
เพราะเวลาเขาเดินจงกรม เขาเดินระยะที่ ๖ ไม่ใช้คำบริกรรม
จะเป็นสมาธิตั้งแต่เดินจงกรม
พอมานั่งต่อ จิตจะเป็นสมาธิต่อเนื่อง
อาการเวลาเป็นสมาธิจะรู้สึกเย็นไปทั้งตัว

เขาบอกว่า แค่รู้ว่านั่ง รู้ไปเรื่อยๆ
ไม่มีเจาะจงว่าจะรู้ลมหายใจหรือไปเจาะจงรู้ท้องพองยุบ
สภาวะอะไรมีเกิดขึ้น จะแค่รู้

ถามเขาว่ามีความคิดเกิดขึ้นไหม
เขาบอกว่ามี แต่หายไปเอง เกิดสั้นๆ เขาไม่ได้สนใจ
เวลาเวทนามีเกิดขึ้น เป็นเหน็บชา ปวดขา
ปีติเกิด อาการสภาวะปีติที่มีเกิดขึ้นของเขา

เราบอกว่าเป็น เรียกว่าโอกกันติกาปีติ
พอปีติเกิด เวทนาหนักที่เกิดขึ้นจะหายไป
จะเป็นแบบนี้เวลาเวทนาเกิดขึ้น

เมื่อคืน เขานอนตั้งแต่น่าจะหกโมงเย็น เขาตื่นมาตอนตี ๕
มาเปิดแอร์ ความเย็นจะทำให้จิตเป็นสมาธิง่าย
เขาเดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
ตอนนี้สภาวะของเขาจะเป็นแบบนี้

อ้อ เขาเล่าให้ฟัง
เขาบอกว่าเวลากายหายไป จะมีความมืดเกิดขึ้นก่อน
แล้วจะมีแสงสว่างเหมือนฟ้าแล่บ ๒ ครั้ง เกิดแป๊บเดียว
ตอนนี้สภาวะของเขาจะเป็นแบบนี้

จะเล่าสภาวะการปฏิบัติของเขาในอดีตให้ฟัง
สมัยก่อน เราไปวัดบ่อย พาเขาไปด้วย ไปเข้ากรรมฐาน ๓ วัน
ที่ศูนย์วิปัสสนานานาธาตุ เป็นห้องแอร์ เป็นสัปปายะของเราและเขา
บางครั้งเขามีวันพักร้อน จะลาพักร้อนไปกับเรา
เข้ากรรมฐาน ๕ วัน ที่ธรรมโมลี เขาใหญ่
ที่นั้นหน้าหนาว จะเป็นสัปปายะต่อการปฏิบัติ อาการเย็นดีมากๆ
ที่เขาปฏิบัติก้าวหน้าเพราะเหตุนี้แหละ
ปฏิบัติจนถึงมีสภาวะจิตสับปะหงกกิดขึ้น

คำว่าจิตสัปหงก
เวลาอาการที่มีเกิดขึ้นจะมีแสงสว่าง เหมือนจะงุบลงไป
แต่ไม่มีสัปหงกที่หัว แต่มีเกิดขึ้นภายใน
เราเรียกเองว่าจิตสัปหงก คือไม่ได้เกิดที่กาย แต่มีเกิดขึ้นข้างใน
สามารถนับจำนวนได้ว่ามีเกิดขึ้นกี่ครั้ง

แค่จะบอกว่า สำหรับคนที่ยังบังคับตัวเองให้ทำกรรมฐานไม่ได้
ควรจะเข้ารับกรรมฐานที่วัดใกล้บ้าน
หรือวัดที่มีสัปปายะในการปฏิบัติของตน
จะ ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน จะทำให้สภาวะก้าวหน้า
เพราะปฏิบัติหลายรอบในหนึ่งวัน

หากอยู่บ้าน จะไม่สามารถปฏิบัติหลายรอบได้
เกิดจากมีข้ออ้างให้กับตัวเอง
ทำให้ไม่สามารถทำหลายรอบเหมือนอยู่วัด
อันนี้พูดได้เพราะเจอกับตัวเอง
กว่าที่เราจะมีสภาวะจนปัจจุบันนี้ได้ เราก็ปฏิบัติแบบนั้นมาก่อน
เมื่อมีความมั่นคงทางใจเรื่องการปฏิบัติได้แล้ว ไม่ได้ไปวัดอีก
ทำกรรมฐานที่บ้าน ทำหลายรอบติดต่อกัน
ในวันหนึ่งทำหลายรอบทำทั้งวันจนถึงเช้า ไปทำงานก็ทำอีก
เพราะห้องทำงาน สัปปายะเหมาะกับการปฏิบัติ
กลายเป็นปฏิบัติ ๒๔ ชม.


เล่าสภาวะของเจ้านาย 16/08 /2566

เล่าเรื่องเหตุปัจจัยก่อน
ทำไมบางคนได้ฟังของใครพูดเรื่องสภาวะทำให้เกิดความสนใจ ชอบใจ
ทำไมบางคนฟังแล้วไม่ชอบใจ
ทำไมบางคนได้ฟังแล้วเฉยๆ
เกิดจากกรรมที่เคยกระทำไว้ร่วมกันในอดีตชาติ ทั้งคนรู้จักและคนไม่รู้จัก
การที่หลายๆคนเริ่มต้นการสู่เส้นนี้ ล้วนเกิดจากกรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีต
มาในชาติปัจุบัน ทำให้เกิดความสนใจอีกครั้ง
ส่วนชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือเฉยๆ
หากเคยสร้างกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดความชอบใจ
มาปัจจุบันมาเจอกัน แม้จะไม่รู้จักกันก็ตาม
พอฟัง ทำให้เกิดความชอบใจ
กรณีไม่ชอบใจก็เช่นกัน
กรณีที่ฟังแล้วเฉยๆ
เกิดจากไม่เคยสร้างกรรมมาร่วมกันที่ทำให้เกิดความชอบใจและไม่ชอบใจ
ตัวสภาวะมีแค่นี้

กรณีสภาวะของเจ้านายเมื่อได้ฟังสิ่งที่ตนชอบ
แรกๆย่อมสนใจ อันนี้เป็นเรื่องปกติ สัญญาก่ายังไม่เกิด
เมื่อสัญญาเกาผุดขึ้นมา
เพราะสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตน
จากชอบใจ กลายเป็นไม่สนใจอีก
ก็เหมือนอาหารที่ดูน่ากิน น่าอร่อย
ตอนหิว จะรู้สึกอร่อย อยากกินอีก
พอกินอีกหลายครั้ง จากอร่อย กลายเป็นอาหารธรรมดา ไม่อร่อยอีก
สภาวะเรื่องการปฏิบัติจะเป็นแบบนี้แหละ
จะเริ่มจากความไม่รู้ก่อน พอได้สัมผัสด้วยตน
พอได้ฟังสิ่งที่ตนสัมผัสด้วยตน แล้วไม่มีอะไรที่แตกต่างไปอีก
จึงทำให้ไม่สนใจอีก ต่อให้ตั้งค่าหัวข้อดูน่าไปฟัง
เมื่อรู้แล้ว รู้ชัดด้วยตนแล้ว จะไม่ไปฟังอีก

การฟังธรรมก็เช่นกัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตั้งแต่แรกเริ่ม
จากฟังง่าย ไม่ต้องตีความ อ่านแล้วดูง่ายๆ แค่นี้เองเหรอ

พอฟังธรรมสัตบุรุษ จะเพิ่มรายละเอียดลงไปอีก
จะเพิ่มเรื่องการฝืนใจ ความอดทนอดกลั้น
ที่เกิดจากความศรัทธามีเกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิดความฝืนใจ

พอฟังธรรมสัปบุรุษ จะละเอียดขึ้นไป จะเริ่มเข้าสู่ปริยัติ
เริ่มเป็นคำเรียกเฉพาะที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ต้องตั้งใจมากกว่าเดิม มีพิจรณามากขึ้น
เพราะเข้าสู่เรื่องปัญญา แม้จะเกิดจากฟัง อ่าน การศึกษา ท่องจำ ก็ตาม
สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำเพื่อดับทุกข์คือดับตัณหา

เขาเดินจงกรมระยะที่ ๖ เป็นเวลา ๑ ชม.
กำหนดตามจริง ไม่ใช้คำบริกรรม
ต่อนั่ง ๑ ชม. ไม่ตั้งเวลา
ตอนเขานั่ง เราเห็นอาการเวลาที่เคยดูพวกร่างทรง
หากเราไม่รู้มาก่อน จะคิดว่าเขาจะเป็นร่างทรง
จริงๆแล้วเป็นอาการปีติ โยกตัว สั่น หมุนหัว ตัวสั่นพั่บๆ
พอสภาวะนั้นมีเกิดขึ้นเสร็จ เข้าสู่ความสงบ
พอเขานั่งเสร็จ เขาลุกขึ้นขาเป็นเหน็บ

เราถามว่าตอนปีตีเกิดทำให้ไม่กำหนดรู้หนอ สิ่งเหล่านี่จะหยุด
เขาบอกว่า แค่อยากรู้ว่าจะเกิดนานแค่ไหน จึงไม่กำหนด
เรา ถามเดินจงกรม
เขาบอกว่าเป็นสมาธิมีตั้งแต่เดิน สุขเกิดบ่อย
พอนั่งปีติจึงเกิดทันที สุขเกิด แล้วสงบ
วันนี้จิตมีพิจรณาขันธ์ ๕
เราถามว่าพิจรณาว่าอะไร
เขาบอกว่ารูป เมื่อรูปมีเกิดขึ้น เวทนาย่อมมี
เวทนาที่ขา พอเวทนาเกิดขึ้นปีติจะเกิด ทำให้เวทนาจะหายไป
ไปพิจรณาสัญญา สิ่งที่ฟังมา ฟังเราพูดมาเรื่อยๆ จะจดจำ
สังขาร แต่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร
เราบอกว่า สังขาร เป็นการปรุงแต่ง ตัวสภาวะมีแค่นี้
เราบอกว่าก็เหมือนที่เขาฟังพระ แล้วเขาชอบ แล้วคิดว่านี่คืออาหารโอชะ
พอฟังบ่อยๆ จากอาหารโอชะ
กลายเป็นอาหารธรรมดาไม่น่าสนใจ จึงไม่ฟังอีก
ก็ผู้พูด รู้แค่ไหนย่อมพูดแค่นั้น พูดแต่เรื่องสมาธิ
ส่วนเขาปฏิบัติอยู่แล้ว แค่หยุดปฏิบัติมานาน
พอเริ่มต้นใหม่ แล้วไปฟังพระพูด ที่คิดว่าเป็นแบบนั้น ยังมองไม่เห็น
พอมาปฏิบัติใหม่ สภาวะเก่าๆจะมีเกิดขึ้นอีก
สภาวะไม่แตกต่างที่พระพูด
เหตุนี้ทำให้เขาไม่ฟังอีก
เขาพยักหน้า
เขาบอกว่าปฏิบัติรู้ด้วยตนเองดีกว่า ฟังแล้วเรื่องเดิมๆ มีแต่เรื่องสมาธิ
เราบอกว่าเขาติดเสียง ชอบสำนวนคำพูด เรียกว่าหลงเสียง
ที่หลุดจากเสียงที่ได้ฟัง
เพราะสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นการปฏิบัติของเขา ไม่จำเป็นต้องฟังอีก
เขาพยักหน้า

.
ที่เจ้านายเลิกสนใจอีก ไม่มีอะไรหรอก
พระพูดแต่เรื่องลมหายใจ จดจ่อลมหายใจ
เรื่องสมาธิ ที่มีหลายๆคนนำมาพูดกัน

ส่วนเจ้านาย เขาปฏิบัติเรียกว่าวิปัสสนา แค่รู้
ไม่จดจ่อทั้งลมหายใจ ทั้งพองยุบ
อาการตรงไหนเกิด จะแค่รู้สภาวะที่มีเกิดขึ้น
ที่เขาทำได้

ข้อแรก เขาเป็นคนที่มีนิวรณ์น้อย ไม่จำเป็นต้องใช้ให้จิตเกาะ
เดินจงกรม ความคิดมีเกิดขึ้น
เขายังคงรู้การเคลื่อนไหวของเท้า
ความคิดหายไปเอง
สมาธิมีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม

ข้อสอง พอมานั่งต่อ จิตยังคงเป็นสมาธิต่อเนื่อง
ความคิดเกิดขึ้นแป๊บเดียว หายไปเอง เขาแค่รู้ว่ามีเกิดขึ้น
สุขมาเกิดแทน พอเวทนาเกิดขึ้น เกิดมากขึ้น ปีติเกิด เวทนาหายไป
สภาวะของเขาจะเป็นแบบนี้

ตอนที่ทำเขาว่าปฏิบัติแบบไหน เวลานั่ง
เขาบอกว่านั่งเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร แค่รู้สภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เราจะอธิบายให้ฟังว่าทำไมเขาทำแบบนี้ได้
ข้อแรก เขาเป็นคนที่มีนิวรณ์น้อย
ข้อสอง เขาเดินจงกรมก่อนนั่ง ขณะเดินจงกรม เขาเป็นสมาธิ
พอนั่ง สมาธิยังคงเป็นต่อเนื่อง สภาวะของเขาจึงแค่รู้
ไม่ต้องทำเหมือนที่คนอื่นๆทำกัน
ไม่ต้องไปพยายามรู้ลมหายใจ
ไม่ต้องจดจ่อรู้ลมหายใจหรือท้องพองยุบ แค่รู้
เวทนามีเกิดขึ้น ปีติเกิด ตัดเวทนาที่มีเกิดขึ้น สุขเกิดต่อ เข้าสู่ความสงบ

คนที่มีสัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตามจริง
เวลาเดินจงกรม กำหนดยืนหนอ เดินจงกรม จะรู้ชัดเท้าในแต่ละขณะ
พอมานั่ง เวลาเป็นสมาธิ จะรู้ชัดเท้าเหมือนเดินจงกรม
เวลานอน จะรู้ชัดเท้าเหมือนเดินจงกรม
รู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ

เราบอกว่าการที่มีความเห็นแตกต่างกัน
เกิดจากการฝึกกายและจิต
หากไม่เคยฝึก จะมีความรู้เหล่านี้มีเกิดขึ้นในตนหรอก
ต่อให้อธิบายก็ไม่สามารถอธิบายได้หรอกเพราะไม่มีเกิดขึ้นในตน

การฟังธรรมจะทำให้ละโมหะหรือความหลง ลงไปได้

การฟังธรรมจะทำให้ละโมหะหรือความหลง ลงไปได้

การสดับพระธรรมจากพระอริยะ
ทำให้สามารถรักษาศิล ๕
สนใจรักษาอุโบสถ
ทำให้เข้าสู่เส้นทางของมรรคมีองค์ ๘ โดยตัวของสภาวะเอง
แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม

เมื่อฟังบ่อยๆ อ่านบ่อยๆ ทำให้เกิดศรัทธา
เมื่อเกิดศรัทธา ทำให้เกิดการปฏิบัติตาม
ยกตย. บางคนที่ฟังคนพูดถึงโสดาบัน คำว่าอริยะ
ทำให้เกิดความอยากเป็นพระโสดาบัน

ด้วยเหตุปัจจัยที่มีอยู่ของแต่ละคน
ในสิ่งที่ตนเคยกระทำไว้ในอดีตที่สะสมไว้ในอดีตชาติ
เมื่อมาเกิดในชาติปัจจุบัน จะทำให้เจอบุคคลที่พูดเรื่องโสดาบัน
พระโสดาบัน จะปิดอบายได้ ทำให้เกิดความอยากเป็นพระโสดาบัน
แล้วพยามปฏิบัติของผู้ที่บอกของการเข้าถึงโสดาปัตติผล
ส่วนมากจะเน้นเรื่องการทำกรรมฐาน
ที่ไม่พูดเรื่องศิล เกิดจากผู้พูดจะรู้เพียงศิล ๕ เท่านั้น

ทำไมจึงเป็นแบบนั้น
เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่ของผู้พูด
ไม่รู้ว่าคำว่า ศิล ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีหลายแบบ

การสดับธรรมจากพระอริยะและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติตาม นี่ก็ศิลอีกอย่างหนึ่ง

การสดับธรรมจากสัตุบุรษและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติตาม นี่ก็ศิลอีกอย่างหนึ่ง

การสดับธรรมจากสัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติตาม นี่ก็ศิลอีกอย่างหนึ่ง

เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น ประจักษ์ ยังไม่ปัญญามีเกิดขึ้นในตน
เวลาพูด จะพูดแต่เรื่องสมาธิ
สุดท้ายติดกับดักเรื่องสมาธิ

ใช้สมาธิกดข่มความคิดที่มีเกิดขึ้น เพียงชั่วครั้งชั่วคราว
ในการดำเนินชีวิต ความโลภ ความโกรธ ความหลงมีเกิดขึ้น
เมื่อความไม่รู้ที่มีอยู่
กรณีคนที่ได้แนะนำให้ทำสมาธิ สมาธิที่มีเกิดขึ้นจะกดข่มความรู้สึกนึกคิด
ที่ไหนได้ ตัวที่ทำให้เกิดการกระทำ ไม่ใช่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
แต่เป็นตัณหาหรือความอยากที่มีเกิดขึ้น
เมื่อไม่รู้ทัน จึงกระทำตามใจอยาก

การฟังธรรมจากพระอริยะ
รักษาศิล ๕ อานิสงส์การรักษาศิล ๕
เข้าวัด รักษาอุโบสถ ได้ฟังพระเทศนา อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ
การทำทาน อานิสงส์ของการทำทาน

แม้กระทั่งการทำทาน พระองค์ทรงตรัสไว้เรื่องการทำทาน

ทานสูตร
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคคราใกล้จัมปานคร
ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว ขอได้โปรดเถิด
พวกกระผมพึงได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ
ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน

อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตร
แล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล
และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากพึงมีหรือพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี
และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้ เสวยผลทานนี้
เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน
แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา
เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน
เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี
อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น
และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย
เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

= อธิบาย =
“เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ”

คำว่า ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ได้แก่ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์

“เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้”

คำว่า เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ เกิดในสวรรค์ชั้นต่างๆ และปรินิพพานที่นั่น

เวลาทำทาน ทำบุญ สร้างกุศลใดๆก็ตาม ตั้งใจอธิษฐาน
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
เป็นการอธิษฐานที่ปราศจากตัณหาและทิฏฐิ
เมื่อกระทำเนืองๆ เป็นการสะสมทำให้ไม่มีความหวังในการทำทานนั้นๆ
เพราะรู้ว่า เหตุมี ผลย่อมมี
ไม่จำเป็นต้องมีความหวัง
คือ ในการให้ทานนั้น
ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

คำว่า นิพพาน
ได้แก่ ดับตัณหา

กามตัณหา เมื่อดับลงไปได้ ทำให้ดับกามภพ
ภวตัณหา เมื่อดับลงไปได้ ทำให้ดับรูปภพ อรูปภพ
วิภวตัณหา เมื่อดับลงไปได้ ทำให้ดับอวิชชา

วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
ทำให้แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
ทำให้ดับอุปทาน ๔ ไม่กำเริบมีเกิดขึ้นอีก

ทำให้ละวาทะต่างๆที่มีอยู่
ที่เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
เช่นคำพูดทำนองว่า สมถะ ทำอานาปานสติ ทำแล้วไม่เกิดปัญญา
คือโทษนอกตัว ไม่โทษความไม่รู้ที่มีอยู่ในตน

หรือพูดทำนองว่า ตู้พระไตรปิฎกที่แท้จริงอยู่ที่จิตของเราเอง
ที่ผู้พูดทำนองนี้ เกิดจากยังเข้าไม่ถึงธรรมหรือสภาวะธรรมที่มีอยู่ตามจริง
เมื่อเข้าไม่ถึง จึงทำให้เกิดคำพูดทำนองแบบนี้

หลายๆคนที่ติดหล่ม สภาวะไม่ไปไหน
เกิดจากหย่อนเรื่องความเพียร
สำคัญผิดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน
ทำให้เกิดความสำคัญตนผิดว่าเข้าถึงธรรมตามจริง
เมื่อเป็นแบบนี้ ทำให้เกิดความประมาท หย่อนความเพียร
สภาวะจึงจมแช่อยู่แค่ไหน

เมื่อนำทิฏฐิที่ตนมีอยู่ จากความเชื่อส่วนตัว
ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
โสดาปัตติผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง
อนาคามิผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง
อรหัตผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เมื่อไม่เคยฟังมาก่อน ไม่เคยอ่านมาก่อน
ย่อมทำให้เกิดความสำคัญสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนว่าเข้าถึงธรรม
เจอครั้งเดียว จบแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว
ทำให้สร้างวาทะขึ้นมาเกิดขึ้น ทำนองว่า
“พระไตรปิฎกอยู่ในตนนี่แหละ ไม่ต้องไปอ่าน ไม่ต้องศึกษา ปฏิบัติโลด”

ปัญญา

ผัสสะ เวทนา

สภาวะมีเกิดขึ้นตอนสมาธิเสื่อม
หลังจากการเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง
จึงทำให้รู้ชัดสภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆๆ
จึงทำให้สามารถแยกสภาวะที่มีเกิดขึ้น ออกจากกันได้
หากมีสมาธิมากเหมือนอดีต จะไม่สามารถแยกสภาวะหรืออาการที่มีเกิดขึ้น ออกจากกันได้
เพราะกำลังสมาธิที่อยู่ จะบดบังไม่ใช่รู้ผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เวลานั่ง จะเห็นว่าจิตมีหลายสภาวะ
ตัวหนึ่งสแยะเขี้ยว
ตัวหนึ่งยิ้ม
ตัวหนึ่งหัวเราะ
ตัวหนึ่งแค่ดู
มารู้ที่หลังว่านี่คือกิเลส ไม่ใช่จิต
กิเลสมีเกิดขึ้นหลายรูปแบบ

ตรงนี้นำมาจากบันทึกที่เขียนไว้

“ตอนนี้เห็นสภาวะของผู้ดู ผู้รู้แยกตัวออกจากกันได้ชัด
ทุกๆการกระทบจะมีสภาวะสองตัวนี่เกิดขึ้นชัดมากกว่าตัวผู้รู้
คือ เมื่อผัสสะมากระทบ หรือมีสิ่งที่เกิดขึ้น จะมีผู้รู้เกิดก่อน
แต่ถ้าเป็นเมื่อก่อน จะเกิดตัวผู้รู้ก่อนสภาวะอื่น

สภาวะตัวผู้รู้ คือ ตัวกู ของกูที่มีอยู่มากนี่แหละ
สภาวะตัวผู้รู้ เป็นต้นเหตุของการสร้างภพชาติให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เนืองๆ
อยู่ที่ว่าสติทันไหม”

ส่วนตรงนี้ มาอธิบายให้เข้ามากขึ้นในสภาวะที่เขียนเล่าไว้
คำว่า สภาวะตัวผู้รู้ คือ ตัวกู ของกูที่มีอยู่มากนี่แหละ

ปริยัติ เรียกว่า สักกายทิฏฐิ
ในสมัยจะไม่รู้คำเรียก จะเรียกสภาวะที่มีเกิดขึ้น

ส่วนตรงนี้ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นในอดีตที่เขียนไว้
“แรกๆจะรู้ชัดสภาวะมีเกิดขึ้นก่อน
ตัวผู้รู้ สภาวะคือ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น มีให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
แล้วมีการกระทำออกไป เหตุมี ( วจีกรรม กายกรรม ) ผลย่อมมี
เมื่อมีเกิดขึ้นเนืองๆ
ทำให้รู้ชัดลักษณะอาการสภาวะที่มีเกิดขึ้น เราจึงเรียกว่า สภาวะตัวผู้รู้

ผู้ดู สภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น แค่ดู
ไม่มีการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผล”

ทำให้คำว่า ผู้รู้ในความหมายของเรา
นั่นหมายถึงสภาวะสักกายทิฏฐิที่มีเกิดขึ้นตามจริง

คำว่า ผู้ดู ได้แก่ จิต
เมื่อไม่มีอุปาทาน จิตจะเป็นเพียงธาตุรู้

ถ้าถามว่าเราได้อย่างไร
คำตอบ รู้ตอนที่หลังสมาธิเสื่อม แล้วพยามกลับมาทำกรรมฐานใหม่
เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ ซึ่งแรกๆค่อนข้างยากมากๆ
เพราะจิตเข้าสู่ความว่าง ประมาณว่า เวลาการทำกรรมฐาน
เมื่อก่อนจะใช้คำบริกรรมพองหนอ ยุบหนอ
รู้ลมหายเข้า ท้องพอง บริกรรมรู้หนอ
รู้ลมหายใจ ท้องแฟ่บ บริกรรมยุบหนอ
ปกติหากทำแบบนี้ ทำให้จิตเป็นสมาธิง่าย
แต่ครั้งนี้ จะไม่เป็นแบบนั้น
เมื่อรู้ลมหายใจ รู้ท้องพอง
พอรู้อาการท้องที่พองขึ้น บริกรรมพองหนอ
เหมือนเข้าสู่ความว่าง ไม่สามารถใช้คำบริกรรมได้
ทำหลายครั้ง สภาวะจะเป็นแบบนั้นทุกครั้ง
ทำให้หันมาใช้วิธีกำหนดตามจริง
รู้ชัดสิ่งไหนมีเกิดขึ้น ให้รู้สิ่งนั้น
เช่น รู้หายใจเข้า รู้ตามจริง
ไม่ต้องพยายามที่จะรู้ ไม่ต้องจดจ่อ รู้ธรรมชาติลมหายใจเข้า
บางครั้งรู้ท้องพองยุบที่มีเกิดขึ้น
ทำเหมือนเดิมคือไม่ต้องเอาจิตไปจดจ่อในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แค่รู้ธรรมชาติของอาการท้องพองยุบ
ส่วนลมหายใจก็ลมหายใจ สภาวะจะแยกออกจากกัน จะรู้ทีละอย่าง ไม่ป่ะปนกัน
สภาวะนี้ เรามารู้คำเรียกที่หลัง เรียกว่า การแยกของรูปนามที่มีเกิดขึ้นตามจริง

ที่เรามารู้ในคำเรียกรูปนามนี้ได้
เกิดจากเจอพระสูตร ปัญญาสูตร
คือกำลังสมาธิเนวสัญญาฯที่เสื่อมให้ไปหมดสิ้น
ทำให้รู้คำว่ารูปนามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
สมาธิเสื่อม แต่การแจ้งอริยสัจ ๔ รู้แล้ว ไม่มีวันเสื่อม
ดูจากตอนป่วย ความจำเสื่อม
สิ่งที่รักษาไม่ใช่แค่ยาเพียงอย่างเดียว
ได้สมาธิมารักษาด้วย
โอภาส แสงสว่างเจิดจ้าเฉพาะศรีษะ
จะรู้สึกถึงความร้อนกำลังไชชอนเข้าไปข้างในสมอง
จะรู้ชัดมากๆอาการไชชอน เหมือนจะให้ลิ่มเลือดหลุดออก แต่ไม่หลุด
รู้สึกว่า ๓ วัน ความจำค่อยๆกลับคืนมา
สิ่งแรกแทนที่จะนึกถึงคนที่อยู่ด้วย หรือแม่ พี่น้องหรือลูก เปล่าเลย
อันนี้จำได้ไม่มีลืมเลย
สิ่งแรกที่ความจำคืนกลับมา จิตกำลังพิจรณาอริยสัจ ๔ ปฏิจจะ
ความรู้ความเห็นที่มีเกิดขึ้นตอนที่มีเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งที่สอง
แม้จะผ่านเวลามาหลายปี น่าจะ ๘ ปีกระมั่ง ดันจำได้
ด้วยเหตุนี้ ทำให้รู้ว่าความจำทางโลก
เมื่อมีอาการความจำเสื่อม ความจำทางโลกจะจำไม่ได้
ความจำทางธรรม การแจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
มีเกิดขึ้นในตนแล้ว จะไม่เสื่อม

แม้มีอาการความจำเสื่อม เกิดจากการเจ็บป่วย
ความรู้เห็นตรงนี้ ไม่หายไปไหนเลย
วิธีการดับตัณหา ยังจำได้ ไม่หายไปไหน

สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การอ่าน การศึกษา

จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการพิจรณา
เช่นการฟัง การอ่าน การท่องจนขึ้นใจในพระสูตร แล้วนำมาพิจรณา
เช่นการปิดอบาย ไม่ได้เกิดจากความอ่าน ฟัง แล้วเชื่อเพียงอย่างเดียว
แต่เกิดจากนำพระสูตรเกี่ยวกับปิดอบาย
แล้วนำมาพิจรณา ตกลงใจเชื่อว่าเส้นทางนี้ที่เดินอยู่
ถูกตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ และปฏิบัติตาม

ภาวนามยปัญญา เกิดจากการภาวนาหรือทำกรรมฐาน
ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การอ่าน การท่องจำ มาก่อน

๔. ปัญญาสูตร
[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว
เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา
ชื่อว่าไม่เสื่อม
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน
ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล
เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก
ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป
เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา
โลกพร้อมด้วยเทวโลก
ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง

ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ
ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง
ได้แก่ เป็นเพียงบัญญัติ พยัญชนะ ตัวอักษร

คำว่า ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ ซึ่งความสิ้นไปแห่งภพและชาติ
ได้แก่

เห็นความเกิดและความดับในรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
เห็นความเกิดและความดับในรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะกำลังเดินจงกรม

เห็นความเกิดและความดับในรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน
รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิมุตติปรากฏตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔ ปรากฏตามจริง


ส่วนตรงนี้นำมาจากวิกิ อ่านแล้ว เราว่าโอเคนะ
ตรงสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ

ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ

โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน
(สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)

โดยการคิดค้น การตรึกตรอง
(จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด)

โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา
(ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับปัญญา3อย่างคือ
กาลามสูตร จัดเป็นสุตามยปัญญา
โยนิโสมนสิการ จัดเป็นจินตามยปัญญา
สมถะและวิปัสสนา จัดเป็นภาวนามยปัญญา
ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง
จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา


สิ่งที่เขียนตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน

จริงๆแล้วเขียนมานานตั้งแต่ก่อนนึกชื่อไม่ออก อะไรไฟว์อะไรเนี่ยแหละ
เมื่อมีเวิดเพรสเกิดขึ้น เรามองว่าเหมือนไดอารี่ สามารถบันทึกเรื่องราว
ทั้งสิ่งที่มีเกิดขึ้นชีวิตและมีเกิดขึ้นตอนทำกรรมฐาน
เขียนตามความเป็นจริง ทั้งความรู้สึกนึกคิดและสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะปฏิบัติ
เขียนมาเรื่อยๆ ไม่รู้อะไรสักอย่าง ปริยัติ ไม่รู้เลย

ที่สามารถปฏิบัติเข้าถึงการเห็นตามความเป็นจริง
เริ่มจากความไม่รู้มีเกิดขึ้นก่อน
เมื่อไม่รู้ จึงสร้างกรรม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อะไรมากมาย
ไม่มีความละอายใจ เพราะไม่รู้ไง ความละอายใจจะเอามาจากที่ไหนล่ะ
แค่จดบันทึกใส่สมุดไว้ก่อน แล้วมาลอกสิ่งที่เขียนไว้ในสมุด
ทำแบบนี้ทุกๆวัน เหมือนเป็นเรื่องปกติ
หากวันไหนไปทำงาน แล้วลืมสมุด จะรู้สึกชีวิตเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง

การเขียนบันทึก ทำให้ไม่ต้องไปพูดกับใคร คือไม่พูดมาก ปากมาก ขี้โม้
ด้วยเหตุนี้ คนที่เข้ามาอ่าน พูดทำนองว่าขี้โม้ อันนี้เจอบ่อย
บางคนด่าทอ ก็มีอยู่
เราก็บอกว่าก็อย่าเข้ามาอ่าน ทุกคนน่ะขี้โม้ทั้งงั้นแหละ
พูดมาก ปากมาก ชอบกล่าวหาคนอื่นๆ
นี่ขนาดไม่รู้จักกัน แค่เข้ามาอ่าน ก็มาว่าคนอื่น
คนอ่านไม่แตกต่างหรอก อาจจะขี้โม้กว่าเราอีก
เพราะเราแค่เขียนออกมา เป็นการสร้างกรรมน้อยมาก
แตกต่างจากพวกพูดมาก ปากมาก ทั้งนินทา ทั้งกล่าวหาต่อคนอื่น
เวลามรณะมีเกิดขึ้น ไประลึกถึงสิ่งใด ก็ไปเกิดภพภูมิตามนั้นทันที

การทำความเพียร ทำให้มีสติ รู้จักตนแท้จริง
ว่าตัวเองเป็นคนประเภทไหน ขี้เกียจ ขี้เหนียว ขี้นินทา สารพัดอยู่ในตัว
เพียงแต่ไม่เคยฝึกเพื่อจะรู้สิ่งที่มีเกิดขึ้นในตน ย่อมหลง หาทางออกไม่ได้
แรกๆไม่รู้หรอกนะ เริ่มจากความไม่รู้ก่อน
อาศัยของเก่าที่เคยกระทำไว้ในอดีตชาติ
ทำให้เจอคนที่เคยสร้างกรรมไว้ร่วมกัน
เริ่มจากสอนเรื่องการทำสมาธิ
ซึ่งเราเคยเล่าไว้แรกๆ ชีวิตวัยเด็ก เรียนชั้นประถมปลาย
ไปเที่ยววัดเขาสุกิม เป็นกระฐิน รถทัวร์
ขาไปกลับอา ขากลับหลงกับอา
ได้กลับรถทัวร์ของนักศึกษามหาลัยอะไรไม่รู้ จำไม่ได้
พี่ๆเขาสงสาร พาเราส่งถึงสัตหับ พี่เขาอยู่กทม.

การเล่าเรื่องพวกนี้ ไม่เบื่อเลยนะ เหมือนการผจญภัยในวัยเด็ก
ไปวัดเขาสุกิม ทำให้เจอหลวงพ่อสมชาย
ท่านรู้หนอ สมัยนั้นท่านดังมากๆ
เริ่มต้นทำกสิณก็เพราะท่านยื่นเส้นทางให้เราเลือกเอาเอง
เป็นหนังสือ ท่านไม่ได้อธิบายทั้งสิ้น โยนหนังสือให้
แล้วบอกว่าไปอ่านดู ชอบแบบไหน ให้ลองทำแบบนั้น

การบันทึกที่เราเขียนเหมือนหนังสือนิยายเล่มใหญ่
ปัจจุบันยังเขียนอยู่ แต่การเขียนเปลี่ยนไป
ตั้งแต่หัวใจล้มเหลวครั้งล่าสุด
สภาวะเปลี่ยนไป มีบางสิ่งที่มีเกิดขึ้น ทำให้การเขียนเข้าสู่ปริยัติ
สมัยก่อน สิ่งที่เขียนเป็นเรื่องราวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทั้งขณะเดินชีวิตและมีเกิดขึ้นขณะทำความเพียร
กำหนดยืน
กำหนดเดินจงกรมมี ๖ ระยะ
แล้วต่อนั่ง
ต้องตั้งเวลา การตั้งเวลาทำให้ไม่ทำตามใจอยากเวลามีเกิดขึ้น
เช่นอยากนั่งต่อ ใจสงบนี้ ทำให้อยากนั่งต่อ
หรืออยากเลิกนั่ง เวลาเจอเวทนากล้า
หรือเบื่อ อยากไปสิ่งอื่นๆที่อยากทำเหมือนคนอื่นๆเขาทำกัน
ไปห้างบิ๊กซี อยู่ใกล้ที่พัก อยากไปหาแอร์เย็นๆ ที่บ้านร้อนมาก
สารพัดความอยาก แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่มีเกิดขึ้นมีชื่อเรียกว่าตัณหา
สารพัดข้ออ้างมาไว้กับตัวเอง

จำคำพูดของหลวงพ่อจรัญท่านพูดไว้ตอนท่านยังมีชีวิตอยู่
ที่เราเอาดีได้เพราะฝืนใจ ทำตามที่ท่านเทศนาและปฏิบัติตาม
“ทำดีต้องฝืนใจ…คำสอนหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
ถ้าตามใจตัวจะเอาดีไม่ได้ ถ้าฝืนใจไม่ได้ เอาดีไม่ได้
ถ้าตามใจตัวจะแพ้ตลอด คนที่เป็นอิสระต้องชนะใจตัวเอง
ถ้าท่านทั้งหลายปล่อยไปตามอารมณ์
ไม่มีการกำหนด จะไม่มีทางชนะใจตัวเอง
ความอดทนเป็นสมบัติของนักต่อสู้
ความรู้เป็นสมบัติของนักปราชญ์
ความสามารถเป็นของนักประกอบกิจ
ความมีระเบียบทุกชนิดเป็นสมบัติของผู้ดี”

สภาวะของหลวงพ่อจรัญเป็นตย.ที่ชัดเจนของคำว่าสัตบุรุษ
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
สภาวะของหลวงพ่อเป็นทุกขาปฏิปทา
สภาวะมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
อุบัติเหตุรถชนกัน ท่านคอหัก

สภาวะของสัตบุรุษ
ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
คือได้สมาบัติ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง
เป็นพระโสดาบันประเภทกายสักขี
หลังได้มรรคผลตามจริง
จะเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

ถ้าถามว่าเรารู้ได้ยังไง
คำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน จึงสามารถพูดได้เต็มปาก
พูดและอธิบายรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นสเตปๆ
ไม่ได้จากการฟังเล่าของคนอื่น แล้วนำมาพูด
คำพูดการอธิบายจึงมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆๆๆ
ไม่ใช่หยิบเรื่องนั้นมาพูด เรื่องโน้นนำมาพูด สะเปะสะปะ

อันนี้เริ่มต้นที่เราจะพูดเรื่อง
สภาวะตัวผู้รู้
ตัวผู้รู้
ผู้ดู
เป็นสิ่งที่เรารู้เห็นด้วยตน และไม่ได้นำเรื่องเล่าของคนอื่นแล้วนำมาเขียน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
ยกตย. คำว่า ผู้รู้ ที่หลวงปู่ดุลย์พูดถึง เจอผู้รู้ให้ทำลาย
หากคนที่ไม่เข้าใจคำว่าผู้รู้ที่หลวงปู่นำมาเรียกเฉพาะตนนั้น
สภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงนั้น ให้ไปหาสภาวะของท่านเยื้อน
สภาวะนี้มีเกิดขึ้นในตัวท่าน
ก็สามารถทำให้ท่านเยื้อนสำคัญผิดว่าตนเข้าถึงอรหันต์
นี่แหละผู้รู้ ถ้ายึด อุปาทานหรืออุปกิเลสมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ

คำว่า ผู้รู้ ที่หลวงปู่ดุลย์ท่านเรียกนั้น
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง เป็นสภาวะสัญญาที่มีเกิดขึ้น
ยังไม่ใช่สภาวะปัญญา
แรกๆท่านไม่รู้หรอก ท่านมารู้ที่หลังเพราะสิ่งที่ท่านรู้นั้น ความรู้เห็นมีแค่นั้น
คือดับเฉพาะตน ไม่มีเรื่องตัวปัญญามีเกิดขึ้น

ท่านเยื้อนก็เช่นกัน
หากอยากรู้ไปหาฟังเอาเอง
เราได้เคยฟัง ทำให้รู้ว่าทำไมท่านเยื้อนจึงปักใจเชื่อในสภาวะที่มีเกิดขึ้น

ถ้าถามว่าเรารู้ได้อย่างไร
คำตอบ สิ่งนี้มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน
เราเองก็เคยติดอุปกิเลสมาก่อน ให้ความสำคัญสภาวะที่มีเกิดขึ้น
จะผุดขึ้นมา อาจจะเป็นนิมิตเสียงเป็นคำบอกเล่า หรือคำเรียกผุดขึ้นมา
เช่น นิพพาน ดับภพ ดับอวิชชา สังขาร วิญญาณฯ ปฏิจจะ
ก่อนจะรู้ว่าสภาวะเหล่านี้เป็นเพียงสภาวะสัญญา ยังไม่ใช่ปัญญา
เพราะยังไม่สามารถนำมาดับทุกข์ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้
พูดได้แต่เรื่องการทำกรรมฐาน ทำสมาธิ กรรมและผลของกรรม มีแค่นั้น

ด้วยเหตุนี้คำว่าผู้รู้ที่เราเขียนไว้ในบล็อก
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะแตกต่างจากหลวงปู่ดุลย์ที่พูดถึง
“พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง”
เป็นสภาวะคนละตัวที่หลวงปู่ดุลย์พูดไว้
จริงๆแล้วเป็นเพียงสภาวะสัญญาที่มีเกิดขึ้น ไม่ใช่จิต

บางคนให้นิยามคำว่าผู้รู้ว่า “ผู้รู้ คือ อวิชชาตัวแม่”

ทำให้การให้คำนิยามแตกต่างกัน ทั้งๆใช้เรียกชื่อเหมือนๆกัน
แต่พออธิบายของคำว่าผู้รู้ กลับแตกต่างกัน
ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่ความรู้ความเห็นของบุคคลนั้น

สิ่งเราเขียนไว้เป็นการรู้ที่ละอย่างเป็นสเตป
มีเกิดขึ้นหลังเข้ามรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง
หลังจากกำลังสมาธิในเนวสัญญาเสื่อมหายไปหมดสิ้น
เกิดจากการคลุกคลี ผ่านคุยทางโทรศัพท์ ถูกดูดสมาธิไปหมดเกลี้ยง


บุคคลที่ได้ฟัง อ่านพระสูตร แล้วพอใจปฏิบัติตามเพื่อปิดอบาย
ก็อ่านแค่เรื่องการกระทำเพื่อปิดอบาย
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ต่อไปเป็นเรื่อง “ปัญญา”
๑. สุตมยปัญญา ๒. จินตามยปัญญา

การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติ
แม้จะเป็นปัญญาที่เกิดจากการฟัง อ่าน สึกษา ท่องจำก็ตาม
เพราะพระสูตร เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
เหมาะสำหรับผู้ที่พอใจในการศึกษา
ทั้งผู้มีนิวรณ์มากและผู้ที่มีนิวรณ์น้อย
เมื่อได้ศึกษา ทำให้สิ้นสงสัยในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ผลของการปฏิบัติตาม

ธนสูตรที่ ๒
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้
๗ ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์
คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก
ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในทานและการจำแนกทาน
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗
ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ

ปิดอบาย

สำหรับคนใหม่และทุกคน

ทางโลก
กินปลา ทำให้ฉลาด

ทางธรรม
การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาลง
ความโลภ ความโกรธ ความหลง เบาลง

ความหลง
สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
การได้ฟังธรรมและปฏิบัติตาม
ทำให้ละสักกายะทิฏฐิ เห็นเป็นตัวตน ของตน เบาบางลง แม้ไม่รู้ปริยัติก็ตาม
ไม่หลงเชื่อในคำเรียก “โสดาบัน” ที่บอกเล่าต่อๆกัน
เพราะคำว่าโสดาบัน มีหลายประเภท

หากต้องการเพียงปิดอบาย
เพียงการสดับพระธรรมและปฏิบัติตาม
ทำให้ปิดอบาย

ไม่ใช่ตามที่คำเล่าต่อๆกันมา
ทำให้สำคัญผิดตนว่าเป็นพระโสดาบัน มานะมีเกิดขึ้น
หรือพูดทำนองว่าพระโสดาบันยากแท้จริงๆ เพราะเป็นพระอริยะ

วิจิกิจฉา ความลังเล ความสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
การสดับพระธรรม ทำให้สิ้นสงสัยและสามารถปฏิบัติตามได้
พระพุทธเเจ้ามีอยู่จริง ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่
พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
พระสงฆ์ที่ปฏิบัติชอบ สาวกที่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า มีอยู่จริง

สีลลัพพตปรามาส
รักษาศิลด้วยอุปาทาน ที่เกิดจากคำบอกเล่าต่อๆกันมา
การสดับพระธรรม ทำให้ละสีลลัพพตปรมาสและสามารถปฏิบัติตามได้
“เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ
ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ”

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
เวรสูตรที่ ๒
อานันทสูตร
กาฬิโคธาสูตร
๕. อนุคคหสูตร
อุปนิสาสูตรที่ ๑
ธนสูตรที่ ๒


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญา ความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ
ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

อธิบาย

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย


มีคำถาม
ข้าพเจ้าเคยได้ยินมาว่า พระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันก็สามารถ
ปิดอบายภูมิ และจะได้ตรัสรู้ในการข้างหน้า ไม่ตกต่ำอีกเลย
จึงขอเรียนถามว่า

  1. มีเหตุมีปัจจัยอย่างไร จึงให้ผลนั้น
  2. อกุศลจิตที่เคยสั่งสมมาไม่ให้ผลหรือ

คำตอบ
การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้ปิดอบายภูมิ และตรัสรู้ในเบื้องหน้า

เวรสูตรที่ ๒
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ

ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้
อริยสาวกย่อมสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ
อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑

ประกอบด้วยความเลื่อมใส
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ
เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ
ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ

อธิบาย

“ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ”
คำว่า สัมปรายภพ
ได้แก่ หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว

บางคนไม่เข้าใจ
จะตั้งคำถามว่า
สามารถหอบความเป็นพระโสดาบันไปด้วยได้ไหม
คำตอบ ทุกสิ่งที่กระทำไว้จะกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ถูกบันทึกไว้ในจิตของทุกๆคน
เวลาจะสิ้นมรณะ ระลึกถึงสิ่งใด ย่อมไปตามสิ่งที่ระลึกถึง
เช่น ฆ่าสัตว์ จะมีนิมิตหรือภาพขึ้นมาปรากฏ กำลังฆ่าสัตว์
พอสิ้นใจ ย่อมไปอบาย


ตรงนี้อยู่ในหมวดปัญญา
บุคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษร สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ที่เกิดจากการฟัง อ่าน ศึกษา ท่องจำจนขึ้นใจ ไม่ลืม มาเป็นสุตตะ
สุตมยปัญญา
จินตามยปัญญา โยนิโสมนสิการ
ทำให้โมหะ ความหลง ที่มีอยู่ เบาบางลง
การสร้างกรรมหรือการกระทำทางกาย วาจา ใจ
ไม่กระทำถึงขั้นพาไปสู่อบาย

คำว่า ปถุชนกับอริยสาวก
ความแตกต่างระหว่างปถุชนกับอริยสาวก

หากได้อ่านพระสูตรที่ดิฉันได้เขียนมาเรื่อยๆ
จะทำให้ถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นในคำว่าอริยสาวกกับปถุชน
ที่ยึดมั่นถือมั่นสำคัญว่าตนอยู่เหนือกว่าคนอื่น ดีกว่าคนอื่น

การฟังธรรม จะทำให้เข้าใจในคำเรียกที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

อานันทสูตร
ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน
[๑๔๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ อยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร
ออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์
เพราะละธรรมเท่าไร เพราะเหตุประกอบธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้
พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า?

[๑๔๘๖] ท่านพระอานนท์กล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เพราะละธรรม ๔ ประการ
เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการ
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น
ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้จำแนกธรรม.

[๑๔๘๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น
ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ
อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน.

[๑๔๘๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น
ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ
เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

[๑๔๘๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความทุศีลเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความทุศีลเห็นปานนั้น
ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เป็นศีลไม่ขาด …
เป็นไปเพื่อสมาธิ
เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้น.

[๑๔๙๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการนี้
เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการนี้
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย

พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.
.
= อธิบาย =

“โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว”

คำว่า โสดาปัตติผล
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ การกระทำของตน(พระนางโคธา)

คำว่า ตรัสรู้
ได้แก่ พระอรหันต์

คำว่า จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
ได้แก่ หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป

.

ส่วนตรงคำตอบนี้
ผู้ที่ตอบ รู้แค่ไหน ย่อมอธิบายเพียงแค่นั้น

“เพราะท่านได้เป็นผู้บรรลุคุณธรรมขั้งสูง เป็นพระอริยเจ้า
เป็นผู้ประเสริฐด้วยคุณมีศีลบริสุทธิ์ไม่ขาด
มีศรัทธามั่นคง มีปัญญาตรัสรู้อริยสัจจธรรม
ท่านละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๓ แล้ว
อกุศลที่เคยกระทำก่อนที่จะเป็นพระอริยบุคคล ยังมีโอกาสให้ผลได้ แต่ไม่นำเกิดในอบาย
และเพราะเป็นธรรมดาของพระอริยเจ้าที่จะไม่ไปสู่ที่ต่ำ ฯ”

พระไตรปิฎกมี ๘๔๐๐๐ ธรรมขันธ์
แล้วแต่หยิบพระสูตรเล่มไหนมาอธิบาย
ขึ้นอยู่กับการรู้การเห็นของบุคคลนั้น
ที่เกิดขึ้นจากเคยฟัง เคยอ่าน ท่องจำมาจนขึ้นใจ
ทั้งปฏิบัติและไม่ได้ปฏิบัติ
ทำให้พูดหรืออธิบายสิ่งที่มีเกิดขึ้นตามความรู้เห็นของตน ณ ตอนนั้น


๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ


อุปนิสาสูตรที่ ๑
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปฏิสารไม่มี
ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อความปราโมทย์ไม่มี
ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีความปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อปีติไม่มี
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อปัสสัทธิไม่มี
สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อสุขไม่มี
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี
นิพพิทาชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อนิพพิทาไม่มี
วิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร
เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์
เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ
เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ
เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

อธิบาย

“สุขมี สมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์”

คำว่า สมาธิ
หมายถึงจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

“สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า สมาธิ
ในที่นี้หมายเฉพาะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ

คำว่า ยถาภูตญาณทัสนะ
ได้แก่ ผัสสะ
เป็นเหตุปัจจัยให้การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ลักษณะสัมมาสมาธิที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
เห็นความเกิด ความดับที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


บุคคลที่ได้ฟัง อ่านพระสูตร แล้วพอใจปฏิบัติตามเพื่อปิดอบาย
ก็อ่านแค่เรื่องการกระทำเพื่อปิดอบาย
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ต่อไปเป็นเรื่อง “ปัญญา”
๑. สุตมยปัญญา ๒. จินตามยปัญญา

การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติ
แม้จะเป็นปัญญาที่เกิดจากการฟัง อ่าน สึกษา ท่องจำก็ตาม
เพราะพระสูตร เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
เหมาะสำหรับผู้ที่พอใจในการศึกษา
ทั้งผู้มีนิวรณ์มากและผู้ที่มีนิวรณ์น้อย
เมื่อได้ศึกษา ทำให้สิ้นสงสัยในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ผลของการปฏิบัติตาม

ธนสูตรที่ ๒
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้
๗ ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์
คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก
ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในทานและการจำแนกทาน
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗
ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ

สิงหาคม 2023
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

คลังเก็บ