เยธัมมา+โยนิโส

31 ส.ค. 2012  เหตุที่มาของโยนิโสมนสิการ

เมื่อยังไม่แจ้งใน โยนิโสมนสิการ
สิ่งที่คิดว่าอ่านแล้วรู้ อ่านแล้วเข้าใจ หรือแม้กระทั่ง คิดแล้วรู้ แล้วคิดว่า รู้นั้นๆ เป็นปัญญา  แท้จริง ล้วนเป็นเพียงสัญญา
เนื่องด้วยเหตุปัจจัย ของแต่ละคน แต่ละยุค แต่ละสมัย โยนิโสมนสิการ จึงเป็นเพียง สัญญา
ที่ไม่ใช่สภาวะตามความเป็นจริง ซึ่งมีใช้อยู่ในปัจจุบัน

พระผู้มีพระภาค ทรงวางทางไว้ให้อย่างดีแล้ว ประเสริฐสุดแล้ว
คือ ธรรมทั้งมวล จบลงที่ โยนิโสมนสิการ

 

.

เย ธมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตถาคโต
เตสัญจ โย นิโรโธ จ เอวัง วาที มหาสมโณฯ

เป็นประโยค ยะ ตะ นะครับ แยกได้ดังนี้นะครับ
(เย ธัมมา) อันว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใด (เหตุปปะภะวา) มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน (คือ เกิดจากเหตุนั่นเอง) (จ) ด้วย
(โย นิโรโธ) อันว่า ความดับใด (เตสัง ธรรมานัง)แห่งธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น (จ) ด้วย
(ตถาคโต) อันว่า พระตถาคต (อาห) ตรัส (เหตุง)ซึ่งเหตุ (เตสัง ธรรมานัง)แห่งธรรมทั้งหลาย เหล่านั้นด้วย
(อาห)ตรัส (ตัง นิโรธัง) ซึ่งความดับนั้นด้วย
(มหาสมโณ) อันว่าพระมหาสมณะ (วาที) เป็นผู้มีปกติกล่าว (เอวัง) อย่างนี้

.
ค่อนข้างจะสับสนนะครับ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนบาลี เพราะประโยคนี้มี ยะ ตะ ถึงสองตัวด้วยกัน
ส่วนตัวนี้คือ เหตุง ต้องเป็น เหตุง นะครับ ศัพท์เดิม คือ เหตุ ลงทุติยาวิภัติ จึงต้องผันเป็น เหตุง แปลว่า ซึ่งเหตุครับ
(ขอบคุณผู้แปลและถอดคำบาลี hug0_boss)

.

คาถาในพระไตรปิฏก : มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธ์
เรื่องสาริปุตตโมคคลานวัตถุ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ
เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ

————–

โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๕, พ.ศ. ๒๕๓๓,
พ.ศ. ๒๕๓๖)

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคต ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับของธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้

==========================

อรรถกถาสารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา

สองบทว่า น ตฺยาหํ สกฺโกมิ ตัดบทว่า น เต อหํ สกฺโกมิ แปลว่า สำหรับท่าน เราไม่อาจ.
แต่ว่า พระเถระถึงปฏิสัมภิทาญาณในธรรมวินัยนี้ จะไม่อาจเพื่อแสดงธรรมเพียงเท่านี้หามิได้

.

โดยที่แท้ ท่านคิดว่า เราจักปลูกความเคารพในธรรมแก่ผู้นี้
ได้ถือเอาข้อที่การแสดงธรรมในพุทธวิสัยโดยอาการทั้งปวงไม่ใช่วิสัยของท่าน จึงกล่าวอย่างนั้น.

.

บาทคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา มีความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่าธรรมมีเหตุเป็นแดนเกิด.
พระเถระแสดงทุกขสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.

.

บาทคาถาว่า เตสํเหตุ ํ ตถาคโต อาห มีความว่า สมุทยสัจชื่อว่าเหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น
พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้นด้วย.

.

บาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ มีความว่า พระตถาคตตรัสความดับคือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะแม้ทั้ง ๒ นั้นด้วย
พระเถระแสดงนิโรธสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.

.

ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ในคาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย.
เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรคซึ่งเป็นเหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย.

.

อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ นี้ สัจจะแม้ ๒  เป็นอันพระเถระแสดงแล้วอย่างนี้ว่า
ความดับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้นและอุบายแห่งความดับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้น ฉะนี้แล.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะยังเนื้อความนั้นนั่นแลให้รับกัน จึงกล่าวว่า พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้.
.

บาทคาถาว่า เอเสว ธมฺโม ยทิ ตาวเทว มีความว่า
แม้ถ้าว่า ธรรมที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีไซร้ ธรรมเพียงเท่านี้เท่านั้นคือคุณ มาตรว่าโสดาปัตติผลนี้เท่านั้น

“อันข้าพเจ้าจะพึงบรรลุ ถึงอย่างนั้นธรรมนี้นั่นแล อันข้าพเจ้าค้นหาแล้ว”

.

บาทคาถาว่า ปจฺจพฺยถา ปทมโสกํ มีความว่า
พวกข้าพเจ้าเที่ยวค้นหาทางอันไม่มีความโศกใด ท่านทั้งหลายนั่นแล ย่อมตรัสรู้ทางอันไม่มีความโศกนั้น.

อธิบายว่า ทางนั้น อันท่านทั้งหลายบรรลุแล้ว.
.

กึ่งคาถาว่า อทิฏฺฐํ อพฺภุติตํ พหุเกหิ กปฺปนหุเตหิ มีความว่า ทางอันไม่มีความโศกนี้
ชื่ออันข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นแล้วทีเดียว ล่วงไปนักหนาตั้งหลายนหุตแห่งกัลป์

“สารีบุตรปริพาชกแสดงข้อที่ตนมีความเสื่อมใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุที่ไม่ได้เห็นทางนั้นด้วยประการดังนี้”
.

27 ก.พ. 2013
โยนิโสมนสิการเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เหตุเพราะ เป็นเหตุของการเกิด มรรคมีองค์ ๘
ได้แก่ ดับภพชาติปัจจุบันและอริยมรรค มีองค์ ๘ ได้แก่ ดับภพชาติในวัฏฏสงสาร

.

28 ก.ย. 2013  โยนิโสมนสิการ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้
แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา  วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้  วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ
รู้แต่เพียงว่า สิ้นไป ในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.
.

หมายเหตุ:

ที่พระองค์ ทรงตรัสสอนแบบนี้ เพราะเหตุว่า ตราบใด ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ อวิชชา ยังไม่ถูกทำลายจนหมดสิ้น เหตุของการเกิด ย่อมยังมีอยู่
จึงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น โดยใช้หลัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าใส่อะไรๆ ลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้น

.

เพราะ เมื่อใส่อะไรๆลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นเหตุให้ สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย
เมื่อไม่ใส่อะไรๆ ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สิ่งที่เกิดขึ้น ดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย คือ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา

 

ที่มาของคาถาเยธัมมา

https://walailoo2010.wordpress.com/2016/12/27/%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%b2-%e0%b9%80%e0%b8%a2-%e0%b8%98%e0%b8%a1%e0%b8%ba%e0%b8%a1%e0%b8%b2-%e0%b9%80%e0%b8%ab/

แม่น้ำหลายสาย

สิ่งเหล่านี้(การกระทำ) เรากระทำมาหลายชาติๆ เพียงแต่ในชาตินี้ ระลึกไม่ได้ การเขียน ก็เขียนแบบนี้ๆๆๆๆๆ แต่ทว่ารายละเอียดมากขึ้นตั้งแต่หยาบจนกระทั่งละเอียด กว่าจะเข้าสู่ แก่น จนกว่าจะรวบได้ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด

แม่น้ำมีหลายสาย(สำนัก)

1. ทำดี ต้องฝืนใจ เชื่อเรื่องกรรม(การกระทำ) และวิบากกรรม(ผลของกรรม) เช่น เจริญสติ

2. สำรวม สังวร อินทรีย์ 5 อิริยบท 4 เช่น ญาณ 16

3. อานาปาสติ เช่น พุทโธ

4. ปริยัติ(พระไตรปิฎก) เช่น อภิธรรม

5. กสิณ

แม่น้ำหลายทั้งสาย(ธรรมานุสารี,สัทธานุสารี,กายสักขี) เข้าสู่เส้นทางสติปัฏฐาน 4 ที่มีชื่อเรื่องแตกต่างกัน(บัญญัติ)

เป็นเรื่องของตามเหตุปัจจัย(กรรมและผลของกรรม และอวิชชาที่มีอยู่)ของแต่ละคน

เพราะอวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุปัจจัยให้ยึดมั่นถือมั่นในบัญญัติเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำตามความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น

จิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน
ถ้ารู้ทันตัณหา อุปาทานที่มีเกิดขึ้น ก็ทำงานไม่ได้

ถ้าไม่เกิดสภาวะสัญญาณเสื่อม ก็คงไม่สามารถรวบรวมแบบนี้ได้ เพราะสมองได้รับการกระทบกระเทือน เป็นเรื่องของวิบากกรรม “ทุกขัง”

 

 

ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

ก่อนที่มีพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่อง สัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

[๔๖๙] พระนครสาวัตถี.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้

เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด.

เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้.

เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

๙. เทวธาวิตักกสูตร

ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน

เรื่องวิตก

[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง
และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ
ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี
คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า
เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน
เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ
ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย
และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่าเนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืน
และกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป
ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่านเมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้ว
อยู่อย่างนี้อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า
อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น]
เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย
ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย
เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก
เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้
ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้
ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน
เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.

ว่าด้วยวิชชา ๓

๙. เทวธาวิตักกสูตร

ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน

เรื่องวิตก

ว่าด้วยวิชชา ๓

[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน …

บรรลุจตุตถฌาน … เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้

ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาทมีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น

.

หมายเหตุ;

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

.

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว

เราจึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า

สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลายวิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น

.

หมายเหตุ;

อนาคามิมรรค อนาคามิผล

.

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสส่งตนไปอยู่ฉะนั้น.

.

หมายเหตุ;

อรหันตมรรค อรหันตผล

รู้ตามลำดับ ละตามลำดับ

ตติยปัณณาสก์
ผาสุวิหารวรรคที่ ๑
๑. เวสารัชชกรณสูตร

[๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น
ผู้มีศรัทธา ๑
เป็นผู้มีศีล ๑
เป็นพหูสูต ๑
เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑
เป็นผู้มีปัญญา ๑

ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ไม่มีศรัทธา
ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศรัทธา

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ
ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ทุศีล ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศีล

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ
ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้เป็นพหูสูต

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ
ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารภความเพียร

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ
ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้แล ฯ

 

.

นาถกรณวรรคที่ ๒

เสนาสนสูตร

[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เสพอยู่ คบอยู่ ซึ่งเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่นานนัก
พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑

เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ๑

เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริง ในศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ที่เป็นวิญญู ๑

ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑

เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะในธรรมวินัยนี้ อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก สมบูรณ์ด้วยทาง ไปมา กลางวันไม่เกลื่อนกล่น กลางคืนเงียบเสียง ปราศจากเสียงอึกทึก มีเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานน้อย ๑

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคือง แก่ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะนั้น ๑

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นพหูสูต ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ในเสนาสนะนั้น ๑

ภิกษุนั้นเข้าไปหาพระเถระเหล่านั้นตามกาลอันสมควร แล้วย่อมสอบถาม ไต่ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของข้อนี้เป็นอย่างไร ๑

ท่านพระเถระเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ย่อมทำให้ง่ายซึ่งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย ย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยแก่ภิกษุนั้น ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เสพอยู่ คบอยู่ ซึ่งเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่นานนัก ก็พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๑

.

อังคสูตร

[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑
ละพยาบาทได้แล้ว ๑
ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อัน เป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ ฯ

กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว
ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ
และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ

ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ละองค์ ๕ สมบูรณ์ แล้วด้วยองค์ ๕ ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้ ฯ

การสิกขา

ช่วงนี้ ที่ไม่ได้เขียนอะไร(ตรงนี้)
กำลังขมวดสภาวะแต่ละสภาวะ
ให้เข้าที่เข้าทางตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้

.

[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ
เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก

.

เสขสูตรที่ ๓
สิกขา ๓ เป็นไฉน คือ

อธิศีลสิกขา ๑
อธิจิตตสิกขา ๑
อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้

แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วน
ย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน

ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ

.

การตั้งอยู่ในอรหัตตผล

[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้
– ด้วยการศึกษาโดยลำดับ
– ด้วยการทำโดยลำดับ
– ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้

เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม

ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว

เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ

เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด

เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ

ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง

ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร

เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย

และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี
การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี
การฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี
ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี

ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี
การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว
เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้
ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร

 

.

ป.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้บ้างหรือ ฯ

พ. ดูกรปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่ ฯ

พ. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีการศึกษาไปตามลำดับ
มีการกระทำไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ
มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง

ดูกรปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้
มีการศึกษาไปตามลำดับ
มีการกระทำไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ
มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑
ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ

.
ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด
สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

ดูกรปหาราทะ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา
ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๒
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
.
ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ฉันใด

ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม
มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว
มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์
เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา

ดูกรปหาราทะ ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรม
มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว
ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์

แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง
ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๓
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ

.
ดูกรปหาราทะ แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ฉันใด

ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าสมณศากยบุตรทั้งนั้น

ดูกรปหาราทะ ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าเป็นสมณศากยบุตรทั้งนั้น

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๔
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ

.
ดูกรปหาราทะ แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทรและสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ ฉันใด

ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน
ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น

ดูกรปหาราทะ ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๕
ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
.
ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด
ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน
ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส

ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยมีรสเดียว คือ วิมุตติรส

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๖
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
.
ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใด

ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัย นี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘

ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด
รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ
สติปัฏฐาน
๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๗
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
.
ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ มีอยู่ ฉันใด

ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ
พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งชีวิตมีในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ
พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์
นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

ดูกรปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ

 

.

บุคคล ๗ จำพวก
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน

คืออุภโตภาควิมุตบุคคล ๑ ปัญญาวิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล ๑ ธัมมานุสารีบุคคล ๑ สัทธานุสารีบุคคล ๑.
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

.

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.
.

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่

พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้

.

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะ
บางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญาประพฤติดีแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่

พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้

.

[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว
มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่าสัทธาวิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่ากิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่

พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

.

[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น

อีกประการหนึ่งธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น
บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรคบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่

พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

.

[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น
บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะ
ที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่

พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

.

การตั้งอยู่ในอรหัตตผล
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้
เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง
เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้
ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว

เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่
ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ

เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด
เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย
และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี
การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้
ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร

.

บท ๔

[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษจะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดงแล้วนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวกไหนจะเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิสข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆเห็นปานนี้ว่า
ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้ คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ

สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า
เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ กีฏาคิริสูตร ที่ ๑๐.

จบ ภิกขุวรรค ที่ ๒.

ยิ่งกว่าคำว่า คุ้ม

ปฏิบัติที่ไม่รู้ปริยัติ
เปรียบเสมือนคนที่เดินทาง ขาดแผนที่และเข็มทิศ(คำแนะนำ/เหตุปัจจัย)

แต่จะเดินตรงทาง(ดับ)หรือออกนอกทาง(เกิด)
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย(กรรมและผลของการ)

ทว่าอะไรจะแพ้ความเพียร มั่นมุ่ง ไม่ท้อถอย
ไม่ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นในชีวิต ยังคงเดินต่อเนื่อง

 

คุ้มค่ายิ่งกว่าคำว่า คุ้ม ที่แลกกับชีวิต(ความรู้สึก)

เมษายน 2019
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930  

คลังเก็บ