การให้ทาน

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส

แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว นํ้า … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสวะขะยาวะหัง

นิพพานัง ปัจจโยโหตุ

สาธุ

การอยู่คนเดียวสบาย

เมื่อพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นเข้าก็มาก็กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่ามาอยู่จำพรรษาพระองค์เดียวในป่าไม่ลำบากหรือ

พระองค์ตรัสตอบทำนองว่า ไม่ลำบากเพราะมีช้างปาเลยยกะคอยดูแล เหมือนคนมีเพื่อนดีอยู่ด้วยกันก็มีความสุข

การมีเพื่อนไม่ดีแม้มีมากเท่าใดก็เป็นทุกข์ การอยู่คนเดียวสบายเสียดีกว่า

ปเร จ น วิชานนฺติ มยเมตฺถ ยมามฺหเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ตโต สมฺมนฺติ เมธคา.

“ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้ตัวว่า
‘พวกเราพากันย่อยยับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นี้’

ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่นั้นย่อมรู้ชัด,
ความหมายมั่นกันและกัน
ย่อมสงบเพราะการปฏิบัติ
ของชนพวกนั้น.”

ความตาย

สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่
ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต
ทั้งที่มั่งมี และ ยากจน
ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า.
เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว
ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ
ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น

วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว
เราจักละพวกเธอไป
สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี
มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี
ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด

ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
มหา. ที. ๑๐/๑๔๑/๑๐๘.

มรรค – อินทรีย์สังวร

https://books.google.co.th/books?id=GvtnBgAAQBAJ&pg=PT25&lpg=PT25&dq=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&source=bl&ots=ZtLWfhrKrG&sig=l2tQWG8KmBmaPix9dPx8UuhoB-g&hl=en&sa=X&ved=0CE4Q6AEwCGoVChMI9PPwp6OHyAIVkAWOCh3TIwTe#v=onepage&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&f=false

https://books.google.co.th/books?id=uv9nBgAAQBAJ&pg=PT132&lpg=PT132&dq=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&source=bl&ots=93Kl98-6bZ&sig=tUEYD-SUNK8WZi5rc6jA4pqjrd4&hl=en&sa=X&ved=0CFIQ6AEwCWoVChMI9PPwp6OHyAIVkAWOCh3TIwTe#v=onepage&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&f=false

พระไตรปิฎก อรรถกถา

http://www.tripitaka91.com/tripitaka91_1.php?book_code=77

8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&source=bl&ots=93Kl98-6bZ&sig=tUEYD-SUNK8WZi5rc6jA4pqjrd4&hl=en&sa=X&ved=0CFIQ6AEwCWoVChMI9PPwp6OHyAIVkAWOCh3TIwTe#v=onepage&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&f=false

ไม่พึงถือประมาณในบุคคลอื่น

๒๕ กค.

ใช้พระธรรมคำสอน ปลอบประโลมใจ
ให้อดทน อดกลั้น เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ไม่พึงถือประมาณในบุคคลอื่น

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี

ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

มิคสาลาสูตร
[๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย

ครั้งนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร

คือบิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่าน
กระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้น
ดุสิต

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีสติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของมิคสาลาอุบาสิกา ลุกจากอาสนะกลับไปแล้ว

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาข้าพระองค์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า

ข้าแต่ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร

คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลงดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ยินดีด้วยภรรยาของตนแม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงชั้นดุสิต

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร

เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลาอุบาสิกาว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาลไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร

และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล

ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก
๑๐ จำพวกเป็นไฉน

ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี

ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติ แม้อันเกิดในสมัย

ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติ แม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัด
ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัด
ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่านแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย

บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอดมีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล

ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใดบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้นบุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้

ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕

หน้า ๑๒๒

http://etipitaka.com/read/thai/24/119/

ตามรอยพระพุทธเจ้า

ฤทธิ์ของอริยะ 

ภิกษุทั้งหลาย ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า 
ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มาก… มีอานุภาพมาก… คือ

(๑) ทาน การให้

(๒) ทมะ การบีบบังคับใจ,

(๓) สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้
อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.

หมายเหตุ:

เมื่อรู้ชัดในสภาวะผัสสะ/สิ่งที่เกิดขึ้นว่า
เพราะเหตุใด สิ่งที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด

ทำให้รู้ว่า

สิ่งที่เคยกระทำไว้ทาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ส่งมาในรูปของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น

การรู้ชัด ในผัสสะ ที่เกิดขึ้น เช่นนี้ได้ สามารถรู้ด้วยการฟัง รู้ด้วยการอ่าน รู้ด้วยการภาวนา

เป็นเหตุให้ เกิดการกระทำเช่นนี้ ทุกๆครั้งที่ผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด)

ผลแห่งวิบากกรรม ๓(ผลของการกระทำดังนี้) หมายถึง

๑. ทาน การให้ หมายถึง การให้อภัย
ให้อภัยต่อการกระทำของผู้อื่น ที่มีกับตน

๒. ทมะ การบีบบังคับใจ หมายถึง อดทน อดกลั้น กดข่มใจ
ไม่สร้างเหตุออกไปทาง(ไม่ปล่อยให้ ก้าวล่วงออกไป) กายกรรม วจีกรรม
ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

๓. สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้
หมายถึง เมื่อกระทำได้เช่นนี้(การหยุดสร้างเหตุนอกตัว)
เป็นเหตุให้ เกิดความสำรวม สังวร คือ ระวัง ทุกๆครั้งที่ผัสสะเกิด

http://www.buddha-quote.com/?page_id=1418

การฆ่าอย่างดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ – หน้าที่ ๒๙๘
เกสีวรรคที่ ๒
๑. เกสีสูตร

[๑๑๑] ครั้งนั้นแล สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า

ดูก่อนเกสี
ท่านอันใคร ๆ ก็รู้กันดีแล้วว่าเป็นสารถีผู้ฝึกม้า
ก็ท่านฝึกหัดม้าที่ควรฝึกอย่างไร
สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสีกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ฝึกหัดม้าที่ควรฝึกด้วยวีธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง.

พ. ดูก่อนเกสี
ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่าน
ไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง
ท่านจะทำอย่างไรกะมัน ?

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าม้าที่ควรฝึกของข้าพระองค์
ไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง
ก็ฆ่ามันเสียเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะคิดว่าโทษมิใช่คุณอย่าได้มีแก่สกุลอาจารย์ของเราเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษชั้นเยี่ยม
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกบุรุษที่ควรฝีกอย่างไร.

พ. ดูก่อนเกสี
เราแล ย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง
ดูก่อนเกสี ในวิธีทั้ง ๓ นั้น

การฝึก ดังต่อไปนี้ เป็นวิธีละม่อม คือ
กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้
วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้
มโนสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมุโนสุจริตเป็นดังนี้
เทวดาเป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้

การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีรุนแรง คือ
กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้
วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้
มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้
นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัย เป็นดังนี้

การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง คือ
กายสุจริต เป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้
กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้
วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้
วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้
มโนสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนสุจริตเป็นดังนี้
มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้
เทวดาเป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้
นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัยเป็นดังนี้.

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์
ไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทำอย่างไรกะเขา ?

พ. ดูก่อนเกสี ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของเรา
ไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อมด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง
เราก็ฆ่าเขาเสียเลย

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า ฆ่าเขาเสีย ?

พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควรฝึกใด
ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง

ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

ดูก่อนเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝีกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
นี้เป็นการฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริย.

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้อที่พระตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
แม้สพรหมจารีผู้วิญญูชนก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าวควรสั่งสอน
นั่นเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบเกสีสูตรที่ ๑

การกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ไม่มีการระคนด้วยหมู่เป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการระคนด้วยหมู่
ไม่ตามประกอบซึ่งความยินดีในการระคนด้วยหมู่ ไม่มีคณะเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในคณะ
ไม่ตามประกอบซึ่งความยินดีในคณะแล้ว จักเป็นผู้ผู้เดียวยินดียิ่งในปวิเวก (ความสงัดถึงที่สุด) ดังนี้นั้น :
นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

เมื่อเป็นผู้ผู้เดียวยินดียิ่งในปวิเวกอยู่ จักถือเอาซึ่งนิมิตสำหรับจิตได้ ดังนี้นั้น :
นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

เมื่อถือเอาซึ่งนิมิตสำหรับจิตได้อยู่ จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้
นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

ครั้นทำสัมมาทิฏฐิได้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้
นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

ครั้นทำสัมมาสมาธิได้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้ ดังนี้นั้น :
นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

ครั้นละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งนิพพานได้ ดังนี้นั้น :
นั่นเป็นฐานะที่มีได้, ดังนี้แล.
– ฉกฺก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๓๓๙.

การละสังโยชน์

ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก.

สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ :-

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกที่ยังละไม่ได้, และมีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้, มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ทั้งยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิดอีกได้ด้วย, แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.
(๔)บุคคลบางคนในโลกนี้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้ว และยังละสังโยชน์ด้วยเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

(ประเภทที่ ๑) ภิกษุ ท. ! พระสกิทาคามี นี้แล เป็นผู้ยังละสังโยชน์ ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ไม่ได้ทั้งหมด
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้ และละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๒) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ทั้งหมด แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกไม่ได้
และละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๓) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่างนี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ด้วย ละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย
แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้.

(ประเภทที่ ๔) ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ และยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.
– จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.

ใครทำ ใครรับ

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้น ว่า
“ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า “ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง” ดังนี้ :
นั้นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฏฐิ ที่ถือว่าเที่ยง).

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า
“ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า “ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้” ดังนี้ :
นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ).
กัสสะปะ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วน
สุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า

“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; ….ฯลฯ….ฯลฯ
….ฯลฯ…. เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว,

จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;
…. ฯลฯ…. ฯลฯ….ฯลฯ….เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล, ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้.
– นิทาน. สํ. ๑๖/๒๔/๕๐.
(พุทธศาสนามิได้ถือว่าจิตเป็นบุคคล กระแสการปรุงแต่งทางจิตเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ
ผลที่เกิดขึ้นเป็นความทุกข์จึงมิใช่การกระทำของบุคคลใด ;

ดังนั้น จึงมิใช่การกระทำของบุคคลผู้รู้สึกเป็นทุกข์ หรือการกระทำของบุคคลอื่นใด
ที่ทำให้บุคคลอื่นเป็นทุกข์.

นี้เป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนาที่สอนเรื่องอนัตตา ไม่มีสัตว์บุคคลที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ
มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตาซึ่งจิตรู้สึกได้เท่านั้น ;
เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในพุทธศาสนา ที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงที่สุด).
หมายเหตุ:

สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้นั้น ในบทความนี้ ไม่ได้กล่าวถึงอนัตตา ไม่มีข้อความใด ที่เกี่ยวข้องกับอนัตตา

แต่หมายถึง เหตุและผล คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ) และสิ่งที่กระทำลงไป(ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ)
ล้วนเกิดจากอวิชชา ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ สภาวะปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

ท่านไม่ได้ตรัสถึงอนัตตา หรือเรื่องจิต แต่ตรัสแบบกลางๆ ไม่เข้าหาส่วนสุดทั้งสอง
ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต อะไรเป็นเหตุปัจจัย

“กัสสะปะ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง
ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า

“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; ….ฯลฯ….ฯลฯ
….ฯลฯ…. เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

อุปวาณะ! เรากล่าวว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
(ปฏิจจสมุปปันนธรรม).

ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้นเล่า ?
อุปวาณะ ! ทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น. ….

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย
ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองก็หามิได้ผู้อื่นทำให้ ก็หามิได้
ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.

– นิทาน. สํ. ๑๖/๔๙/๘๗.

(คำว่า ผัสสะ ในที่นี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือกระแสแห่งการปรุงแต่งในทางจิต, มิใช่บุคคล ;
ดังนั้นจึงกล่าวว่า ทุกข์นี้ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น เป็นเพียงกระแส แห่งการปรุงแต่งทางจิต).

หมายเหตุ:

คำกล่าวเช่นนี้ “ทุกข์นี้ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น เป็นเพียงกระแสแห่ง การปรุงแต่งทางจิต”

แสดงถึง ไม่เชื่อเรื่องกรรม(การกระทำ)
และผลของกรรม(ผลที่ได้รับจากการกระทำ)

แต่ไปกล่าวโทษว่า เป็นการปรุงแต่งของจิต

การปรุงแต่งของจิต เป็นเรื่องปลายเหตุ

ผัสสะ เป็นต้นเหตุ

เมื่อยังมีการเกิด ได้แก่ นามรูป สาฬยตนะ ย่อมมี ผัสสะ ย่อมมี
ตราบใด ที่ยังมีชีวิต เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงผัสสะต่างๆได้

จึงควรศึกษาผัสสะให้ถ่องแท้ ว่าทำไม เมื่อผัสสะเกิด จึงมีความรู้สึกต่างๆเกิดขึ้น
แม้กระทั่ง ไม่รู้สึกอะไรเลย(เฉยๆ)
นี่สิ เป็นสิ่งที่ควรศึกษา ไม่ใช่ไปกล่าวโทษนอกตัว(จิต)

พระธรรมคำสอน ที่พระองคืทรงตรัสไว้

ผัสสะ

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ