๖. อากังเขยยสูตร

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง

ประกอบด้วยวิปัสสนา

พอกพูนสุญญาคาร.

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

หมายเหตุ;

หมายถึง การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต)
สิ่งที่เกิดขึ้น(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เป็นเรื่องของ กรรมเก่า(การกระทำที่เคยกระทำไว้ในอดีต)
ส่งมาให้รับผล ในรูปแบบของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
(วิบากกรรม /เวทนา ที่มีเกิดขึ้น)

ให้โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง กาย วาจา(ไม่สานต่อ)
เป็นการดับรอบเฉพาะตน(ดับเหตุปัจจัยของการเกิด)

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว(กรรมใหม่/วจีกรรม กายกรรม ไม่มี)

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว(มรรค-อริยมรรค มีองค์ 8)

กิจที่ควรทำ(หยุด) ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง

หมายเหตุ;

ทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิในระดับฌาน(มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ)

มิจฉาสมาธิ
สมาธิที่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้
(สมาธิบดบังกิเลส)

สัมมาสมาธิ
สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม

ประกอบด้วยวิปัสสนา

หมายเหตุ;

ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นทั้งในการดำเนินชีวิต
และขณะทำความเพียร

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ) เนืองๆ

สภาพธรรมที่มีชื่อเรียกว่า วิปัสสนา
(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา/ไตรลักษณ์)
ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

เมื่อใจน้อมลงสู่วิปัสสนา(ไตรลักษณ์)เนืองๆ

หากมีผัสสะใดเกิดขึ้น
ใจย่อมน้อมลงสู่วิปัสสนาเอง โดยไม่ต้องคิดพิจรณา

เป็นเหตุปัจจัยให้จิตเกิดการปล่อยวาง จากผัสสะที่มีเกิดขึ้น
โดยไม่ต้องคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง

พอกพูนสุญญาคาร

หมายเหตุ;

อยู่ในเรือนว่าง

สุญญตา

เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า
หมายถึง สุญญตา หรือ สภาวะที่ปราศจาก ความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งที่เกิดขึ้น

1. ที่มีเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต
ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

2. ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ สัมมาสมาธิ
คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

หากเป็นมิจฉาสมาธิ หรือที่เรียกว่า สมถะ
วิญญาณ/ธาตุรู้ จะมีเกิดขึ้นไม่ได้เลย
จนกว่าสมาธิจะคลายตัวหรืออ่อนกำลังลง

 

กิเลส ยิ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดยิ่งกว่ากรรม

หากรู้เท่าทันกิเลส
ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้รู้เท่าทันกรรม

กรรม หมายถึง การกระทำ

กิเลส หมายถึง ความ โลภ ความโกรธ ความหลง
ตัณหา ความทะยานอยาก เป็นตัวกระตุ้น

อยากได้นั่นนี่ แล้วไม่ได้ดั่งใจนึก
เป็นเรื่องของ กิเลส เป็นเรื่องของ ความไม่รู้ที่มีอยู่

เมื่อไม่ได้ดั่งใจนึก
ถ้าแค่คิดถึงความอยากได้ของตน
แต่ไม่มีนึกถึงผู้อื่น หรือไม่มีการนำผู้อื่นมาเกี่ยวข้อง
นี่เป็นเรื่องของ กิเลสที่มีเกิดขึ้นในใจตนล้วนๆ

เมื่อไม่ได้ดั่งใจนึก
คิดถึงความอยากได้ของตน

แล้วมีนึกถึงผู้อื่น หรือมีการนำผู้อื่นมาเกี่ยวข้อง
นี่เป็นเรื่องของมโนกรรม
เป็นเรื่อง ความนึกคิด ที่ไหลไปตามกิเลส
ฟุ้ง ปรุงแต่ง กลายเป็นเรื่องราวขึ้นมา

แค่นึกไม่พอ ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกายวาจา
ใช้ถ้อยคำเบียดเบียนผู้อื่น

เป็นเรื่องของการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น
ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่

ชีวิต จะเป็นอย่างไร
ขึ้นอยู่กับความนึกคิดและการกระทำของตัวเอง

หากชีวิตตกต่ำหรือมีชีวิตที่ไม่ดี
ล้วนเกิดจากความนึกคิดและการกระทำของตัวเองล้วนๆ

กรรม

 

เหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?
คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ(ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น
ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่องผูก)
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?

คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรม
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง

เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น
ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว

เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?

คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรม
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า

เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น
ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว

เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน  เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย! (อีกอย่างหนึ่ง)เหตุ ๓ ประการนี้
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?

คือ  ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑,

ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,

ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไร ?

คือ บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว

ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?

คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง

ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?

คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า

ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.

 

 

 

สิงหาคม 2016
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031  

คลังเก็บ