๒๘ มีค.๕๕ (ยึด/ไม่ยึด)

นั่ง ๒ ชม. กับ นั่งต่ออีก ๑ ชม.

มีความรู้สึกตัวมากขึ้นทั้งก่อนนอนและก่อนที่กำลังตื่นนอน รู้ชัดในอารมณ์ของสมาธิที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า การนอนหลับ เป็นสภาวะของจิตตั้งมั่นหรือเรียกว่า สมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ยังเป็นมิจฉาสมาธิ
เพราะยังขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นเหตุให้ ไม่สามารถรู้ชัดภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมได้

แค่ดู/แค่รู้

สองสภาวะ มองผ่านๆอาจจะดูเหมือนๆกัน เพียงมีความแตกต่างของสภาวะ พยัญชนะอาจจะดูไม่แตกต่าง

แค่ดู เกิดอะไรขึ้นก็ดู ดูทุกอย่างตามความเป็นจริง แล้วยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

แค่รู้ เกิดอะไรขึ้น รู้อย่างเดียว ไม่ว่าจะรู้นอกหรือรู้ใน รู้อย่างเดียว แล้วยอมรับตามความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งนอกและใน

น้ำหนักในการให้ค่าของสภาวะแค่ดูกับแค่รู้

ลักษณะคำว่า แค่ดู อาจจะดูมีความหนักในการกระทำ คือ อาจจะเอาจิตจดจ่อคอยจ้องมองสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ไม่มีอะไรเกิด ก็พยายามจ้องดูว่า เมื่อไหร่จะเกิดขึ้นสักที เมื่อไหร่จะดับหายไปสักที

ลักษณะคำว่า แค่รู้ อาจจะดูมีความเบาในการกระทำ คือ ไม่ต้องไปใส่ใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะเมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น ก็แค่รู้ รู้ไปตามความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับตามความเป็นจริง

เหตุของแต่ละคนสร้างแตกต่างกันมา

แค่ดู อาจจะเป็นสัปปายะเหมาะสำหรับบางคน

แค่รู้ อาจจะเป็นสัปปายะเหมาะสำหรับคนบางคน

ใช้คำไหนๆก็ได้ ที่สามารถแค่ดูหรือแค่รู้ โดยไม่ต้องแบกเอาไว้ เพราะท้ายสุดทั้งสองสภาวะจบลงเหมือนๆกัน คือ การปล่อยวางโดยไม่ต้องคิดปล่อยวาง

๒๗ มีค. ๕๕ (ทวนจากผลไปหาเหตุ)

นั่ง/นอน ๔ ชม. นั่ง/นอน ๓ ชม.

สภาวะหลังๆ เปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่องสมาธิ เริ่มตั้งแต่ออกจากงานประจำมา ขณะนั่งสมาธิ บางครั้งเหมือนจิตยังไม่เต็มอิ่ม ส่วนมากจะต้องต่อด้วยนอน คือ เกิดสภาวะนี้บางครั้ง

พอจิตเต็มอิ่ม จะรู้สึกตัวเอง ไม่ต้องกำหนดอะไร แรกๆจะรู้ชัดภายในได้ดี สักพักความรู้สึกทั้งหมดจะดับวูบลงไป แล้วไม่รู้สึกตัวอีกเลย

ส่วนสภาวะเวลาก่อนจะหลับในการนอนหลับกลางคืน มีความรู้สึกตัวมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน จิตจะรู้อยู่ในกายแบบนั้น จนกระทั่งหลับไป จะว่าไปก็เหมือนๆสภาวะที่นั่งแล้วต่อด้วยนอน อาการที่รู้และเกิดขึ้นจะค่อนข้างคล้ายคลึงกัน

ชีวิตที่น่าเบื่อ

ไม่มีอะไรที่จะได้ดั่งใจ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นของเราสักอย่างเดียว แม้กระทั่งอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดก็ไม่ใช่ของเรา เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ เวลาสภาวะนี้เกิด สติไม่ทัน รู้สึกเหนื่อยมากๆ เหนื่อยอยู่ข้างใน เหมือนคนหมดแรง อยากจะนอนแล้วก็นอน ไม่อยากทำอะไรเลย

มองไปรอบๆห้อง อยากจะทิ้งๆข้าวของไปให้หมด ไม่ต้องมีอะไรเลย มีห้องว่างๆก็พอ แต่ทำไม่ได้ ของที่ซื้อมา เป็นของที่จำเป็นต้องใช้ภายในครอบครัว คิดถึงสภาพพระ ไม่ต้องสะสมอะไรเลย เงินทองก็ไม่ต้องสะสม ข้าวของไม่ต้องสะสม

ยิ่งสมัยนี้ด้วย สะดวกสบายไปทุกอย่าง นี่แหละหนอ การเปรียบเทียบที่ยังมีอยู่ในบางครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดทุกข์ได้เหมือนกัน ทุกข์ที่เกิดจากความเบื่อหน่ายในชีวิต เพียงแค่แว่บ แล้วหายไปเองโดยไม่ต้องกำหนดใดๆ

สภาวะต่างๆในบัญญัตินั้นๆ ล้วนเป็นสภาวะทวนจากผลไปหาเหตุ จากเหตุไปหาผล กลับไปกลับมาแบบนี้ มีแต่เหตุปัจจัยต่อกัน มีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้ เพิ่งมารู้ชัดในสภาวะโยนิโสมนสิการ

๒๖ มีค.๕๕ (ศิล/ไร้ความกังวล)

๒๖ มีค.๕๕ (ศิล/ไร้ความกังวล)

นั่ง ๔ ชม.

เมื่อคืน จิตเป็นสมาธิดี นั่งตั้งแต่ ๔ ทุ่ม จนถึงตี ๓

ศิล

พระผู้มีพระภาค ทรงแนะแนวการสร้างเหตุของการตัดภพตัดชาติในปัจจุบันและภพชาติในวัฏสงสารไว้ให้แล้ว

การสร้างเหตุของการเกิดภพชาติในปัจจุบันนั่นคือ ศิล

ศิล กล่าวโดยสภาวะ คือ แค่รู้ แค่ยอมรับ ในสิ่งที่ตนมีและเป็นอยู่ แต่ไม่สร้างเหตุออกไป

ความไม่รู้

ด้วยความไม่รู้ชัดในสภาวะของศิล จึงทำการสมาทานศิลด้วยจิตที่มีกิเลส มีแต่ใจทะยานอยาก จึงเป็นที่มาของสภาวะ สีลัพพตปรามาส

กล่าวโดยสภาวะ คือ ทำการสมาทนาศิล แต่ไม่หยุดการสร้างเหตุ(ยินดี/อนุโมทนา ยินร้าย/นินทา)

เหตุเพราะ ไม่รู้ชัดในสภาวะของศิล รู้เพียงบัญญัติ(เปลือก)

สภาวะศิล

เมื่อยังไม่สามารถรู้ชัดในศิลโดยสภาวะ จึงต้องอาศัยการสมาทานในการสร้างเหตุของของการเกิดสภาวะศิลโดยบัญญัติไปก่อน

การสมาทานศิลโดยบัญญัติ เป็นอุบายของการสร้างเหตุการเกิดสภาวะของศิลที่เป็นสภาวะปรมัตถ์

การสร้างเหตุของสภาวะศิลจากสภาวะบัญญัติเป็นสภาวะปรมัตถ์ เมื่อผัสสะเกิด แค่ดู สักแค่รู้ แค่เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะ/สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

เพียงยอมรับตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน แต่ไม่สร้างเหตุออกไป

ศิล จึงเป็นเหตุของการตัดภพชาติในปัจจุบันเพราะเหตุนี้ เหตุมี ผลย่อมมี เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

การสมาทาน เหมือนดาบสองคม เมื่อสมาทานไปแล้ว ทำไม่ได้ ย่อมเสียสัจจะ ผู้ที่เสียสัจจะ คิดทำสิ่งใด ย่อมไม่ประสพความสำเร็จ

หากทำได้ นั่นคือ การดับที่ต้นเหตุของการสร้างเหตุให้เกิดภพชาติในปัจจุบัน

ทุกๆบัญญัติ ล้วนมีสภาวะปรมัตถ์ซ้อน ซ่อนอยู่ภายใน เพียงแต่จะสามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องดับเหตุที่ตนเองก่อน ดับได้ จิตย่อมเบาสบาย ปัญญาย่อมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

เพียงแค่รู้ รู้ซ้อนรู้ รู้ลงไปตาามความเป็นจริงของสภาวะ/สิ่งที่เกิดขึ้น รู้ซ้อนรู้ ล้วนเป็นเพียงสัญญา

วันใดใจหยุดรู้ สักแต่ว่ารู้ สภาวะปัญญาย่อมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ไร้ความกังวล

สภาวะไร้ความกังวล ได้แก่ ผู้ที่รู้แจ้งสภาวะพระนิพพานตามความเป็นจริง

๒๔ – ๒๕ มีค.๕๕ (รู้ซ้อนรู้)

๒๔ มีค.๕๕

นั่ง ๔ ชม.

วันครอบครัว

๒๕ มีค.๕๕ (รู้ซ้อนรู้)

สิ่งใดที่ให้ค่า นั่นแหละคือ สภาวะของรู้ซ้อนรู้ ล้วนเป็นเพียงสัญญา จึงมีแต่เหตุแล้วก็เหตุ เหตุมี ผลย่อมมี

ส่วนสภาวะรู้ รู้แล้วหยุด รู้แล้วจบ นั่นแหละคือ สภาวะปัญญาที่เกิดจากการเห็นตามความเป็นจริง รู้สักแต่ว่ารู้ เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

๒๓ มีค.๕๕ (รู้)

เดิน ๕ ชม. นั่ง ๔ ชม.

ทุกลมหายใจเข้าออกมีค่ามากๆ ทำอะไรก็ได้ที่เป็นเหตุให้จิตรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ

อย่าไปมองว่า นั่นกิเลส นี่กิเลส กิเลสก็มีประโยชน์ ถ้ารู้จักโยนิโสมนสิการ คือ ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้สภาวะตามความเป็นจริงที่ยังมีอยู่และเป็นอยู่ ปรากฏขึ้นชัด

หลักการปฏิบัติไม่ได้มีอะไรมาก

ภายนอก หยุดสร้างเหตุตามความรู้สึกยินดี/ยินร้ายที่เกิดขึ้นจากผัสสะเป็นเหตุปัจจัย

ภายใน สร้างสัมมาสมาธิให้เกิด เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นเองตามความเป็นจริง

การสร้างสัมมาสมาธิให้เกิด

ฝึกจิตให้เสพอารมณ์ขณะเป็นสมาธิเนืองๆ จนสามารถรู้ชัดในสภาวะของจิตขณะกำลังเป็นสมาธิ

เกิดเวลาไหนหรือในอิริบทไหนก็รู้ ให้รู้ชัดได้อย่างนั้น จึงค่อยปรับอินทรีย์ระหว่างสมาธิกับสติให้เกิดความสมดุลย์ เป็นเหตุให้สภาวะสัมปชัญญะเกิด

สภาวะที่เกิดขึ้น มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะจิตเป็นสมาธิ นี่แหละคือสภาวะสมถะ-วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔

เมื่อทำจนชำนาญ จะเป็นการเจริญอิทธิบาท ๔ เป็นการทำตามสภาวะตามความเป็นจริงตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ไม่ใช่ทำตามบัญญัติด้วยความทะยานอยาก เหตุมี ผลย่อมมี

เหตุที่ปิดกั้นสภาวะการเห็นตามความเป็นจริงเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากใครหรืออะไรทำให้เกิดขึ้น เกิดจากความทะยานอยาก ทำเพราะอยาก จึงเกิดทุกข์เพราะความอยาก

เพียงยอมรับตามความเป้นจริง ในสิ่งที่ยังมีและเป็นอยู่ ยอมรับไป รู้สึกยังไงยอมรับไปตามนั้น แต่อย่าสร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

คิดได้ รู้สึกได้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ยอมรับไป อย่าสร้างเหตุ เพราะนั่นแหละคือเหตุที่มาปิดกั้นสภาวะ ทำให้ไม่เห็นตามความเป็นจริง ภพชาติ วัฏสงสาร ยืดยาวออกไปเรื่อยๆ เหตุจากใจที่ยอมไม่ได้ หยุดไม่ได้

โยนิโสมนสิการ

ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามความเป็นจริง แต่ไม่กระทำสิ่งใดลงไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

สั้นๆ

ดูตามความเป็นจริง/เหตุ รู้ตามความเป็นจริง ไม่สร้างเหตุออกไป

ความรู้ชัด/สัมมาสติ ตัดภพชาติปัจจุบัน

ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม/สัมมาสมาธิ ตัดภพชาติในวัฏสงสาร

รู้ซ้อนรู้ คือสัญญา

สภาวะ/ลักษณะที่เกิดขึ้น คือ คิดซ้อนคิด แล้วนำสิ่งที่คิดว่ารู้ไปสร้างเหตุต่อ


รู้แล้วหยุด คือ ปัญญา

สภาวะ/ลักษณะที่เกิดขึ้น คือ รู้ตามความเป็นจริง ไม่สร้างเหตุต่อ

๒๒ มีค.๕๕ (เพิ่มขนาดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๒๒ มีค.๕๕ (http://kodseries.com/title-00078 ซีรีย์เกาหลี Gye Baek)

เดิน ๕ ชม. นั่ง ๕ ชม.

จอโน๊ตบุ๊ค เพิ่มขนาดหน้าจอ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

จากจอ 14″ เป็นจอ 21″

จากการจอธรรมดา เป็นจอ LCD

จากภาพธรรมดา เป็นภาพ 3 มิติ

เป็นผลพลอยได้จากการเจริญอิทธิบาท 4 เนืองๆ

เพียงรู้ชัดในจิตได้ว่า สัปปายะแบบไหนที่เหมาะแก่จิตในการเป็นสมาธิ

ที่สำคัญต้องเป็นสภาวะสัมมาสมาธิ คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะจิตเป็นสมาธิ

จากจอธรรมดา เป็นจอ LCD ถ้าเปรียบเทียบกับทีวึ

แต่ที่ดูอยู่เป็นโน๊ตบุ๊ค จะเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้ชัดกว่าจอทีวี ขนาดของจอจะขยายขึ้นเอง ต้องปิดไฟดู อย่าเปิดไฟ

เปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น เหมือนเวลาที่ดูหนังในโรงภาพยนต์ มิติของคีย์บอร์ด ตลอดจนหน้าจอจะออกมาเหมือนดูหนังในลักษณะแบบนั้น

จะเห็นภาพแบบนั้นได้ จิตต้องเป็นสมาธิขณะที่กำลังดูอยู่ด้วย เหมือนกับการเล่นกสิณ

ถ้ากำลังของสมาธิลดลง ภาพจะย่อขนาดลง ถ้ากำลังสมาธิแนบแน่นดี จะเห็นภาพมีลัษณะแบบนั้นชัดมาก โดยไม่ต้องไปกำหนดอะไรแต่อย่างใด เกิดเองเป็นปกติเหมือนเรากำลังหายใจธรรมดาๆนี่แหละ

เมื่อเข้าออกสมาธิได้คล่อง เป็นสภาวะปรมัตถ์ คือเป็นปกติ เหมือนหายใจเข้าออกเป็นปกติ โดยไม่ต้องอาศัยคำบริกรรมภาวนา หรือต้องพยามกำหนดรู้เพื่อให้เกิดสมาธิจะเจอสภาวะนี้เอง

ผู้ที่เจริญอิทธิบาท ๔ จะเจอสภาวะแบบนั้นเหมือนๆกัน

มีแค่นี้

ชีวิตมีแค่นี้เอง ไม่ใช่เกิดจากดี/ชั่ว ถูก/ผิด แต่เกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ ตราบใดที่ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ย่อมหลงเวียนว่ายในวัฏสงสารตราบนานแสนนาน

เรื่องจริงกับนิยายไม่แตกต่างกัน

ซีรีย์เกาหลี Gye Baek

ชีวิตคนเรามีเท่านี้เอง เกิดแล้วก็ตาย

๒๑ มีค.๕๕ ( ศิล สมาธิ ปัญญา)

๕ ชม. นั่ง ๔ ๑/๒ ชม.

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้บันทึกเรื่องเวลา บันทึกน้อยคง เพราะการปฏิบัติฝังลึก หยั่งรากลงไปลึกแล้ว ทุกลมหายใจเข้าออก จิตจะรู้อยู่อย่างนั้น ไม่ต้องไปบังคับเพื่อที่จะรู้ รู้เพราะรู้

ศิล สมาธิ ปัญญา

ศิล/การดูตามความเป็นจริง เป็นเหตุของการตัดเหตุของการเกิดในภพชาติปัจจุบัน

ภาวนา/สัมมาสมาธิ เป็นเหตุของการตัดภพชาติในวัฏสงสาร

สัปปายะ/ดูหนัง

การดูหนังเป็นอีกหนึ่งสัปปายะ ที่ช่วยในการยืน/เดิน เวลาทำงาน หากดูด้วยจิตคิดพิจรณา ไม่ไหลไปตามการแสดงออกของแต่ละตัวคร สิ่งที่มองเห็นได้ชัด ตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมา ไม่พ้นโลกธรรม ๘ อยู่ดี ในหนึ่งตน
มีดีและชั่ว ไม่มีดีหรือชั่วเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ยิ่งดูยิ่งเห็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ล้วนมีแต่ทุกข์

สัปปายะ/เย็บผ้า

การเย็บผ้า เป็นอีกหนึ่งสัปปายะที่ถูกกับสภาวะ ยืนเย็บผ้าไปด้วย ดูหนังไปด้วย เดินทำงานบ้านไปด้วย จิตมีงานทำตลอดเวลา สมาธิเกิดขึ้นเนืองๆ มีความแนบแน่นมากน้อยแตกต่างกันไป

สัปปายะ/อากาศ

อากาศไม่ร้อนมากเป็นใช้ได้

สัปปายะ/อิริยาบท

เดินกับยืนให้มาก แล้วต่อด้วยนั่ง โดยนำไปใช้ในการทำงานและทำกิจกรรมอื่นๆในขณะที่ผ่อนคลายอิริยาบท เช่น ดูหนัง เล่นเกมส์

ในอิริยาบทนั่ง นั่งแบบไหนจึงจะเกิดสมาธิได้ง่ายที่สุด จะรู้ชัดแบบนี้ได้ ต้องรู้ชัดในอารมณ์ขณะจิตเป็นสมาธิ ไม่ว่าจะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัว

๑๘-๒๐ มีค. ๕๕ (ถูกทาง/ไม่ถูกทาง)

๑๘ มีค. ๕๕

เดิน ๕ ชม. นั่ง ๔ ชม.

๑๙ มีค. ๕๕

เดิน ๕ ชม. นั่ง ๔ ชม.

๒๐ มีค.๕๕ (ถูกทาง/ไม่ถูกทาง)

การปฏิบัติ ตัววัดผลการปฏิบัติ ไม่มีคำว่า ถูกทางหรือไม่ถูกทาง แต่เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่ สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ให้ดูเรื่องเหตุ ไม่ใช่ดูว่าได้อะไร เป็นอะไรในบัญญัติ

การที่กล่าวว่า ได้อะไร เป็นอะไรในบัญญัติ ล้วนเกิดจากกิเลส ใจทะยานอยาก อยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆในบัญญัติ

ให้ดูกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ดูการกระทำ หากยังมีการกล่าวโทษนอกตัว ยังมีการกล่าวว่า ดี/ชั่ว ถูก/ผิด ใช่/ไม่ใช่ ล้วนติดอยู่ในโลกธรรม ๘ ได้แก่ สภาวะสักกายทิฏฐิที่มีอยู่ คือ การเอาความมีตัวตน(ความรู้สึกนึกคิด) เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น

โยนิโสมนสิการ

โยนิ แปลว่า เหตุ

มนสิการ แปลว่า กระทำไว้ในใจ

ลักษณะ/สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การดูสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดความรู้สึกนึกคิดยังไง รู้ไปตามนั้น ยอมรับไปตามนั้น แต่ไม่สร้างเหตุ/การกระทำ ออกมาตามแรงผลักดันของกิเลสที่เกิดขึ้น

กล่าวโดยย่อ คือ เมื่อผัสสะเกิด(ภายนอก) ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามความเป็นจริง แต่ไม่กระทำสิ่งใดลงไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

คือ แค่รู้ ยอมรับ ไม่สร้างเหตุ

ความรัก

มันเป็นเรื่องแปลกอีกอย่างหนึ่งในชีวิต ตัวเองนั้นไม่เคยรู้จักกับคำว่ารักแบบทางโลกๆที่เขานำมาแสดงหรือนำมาพูดๆกัน แต่เวลาดูหนัง โดยเฉพาะหนังเกาหลี ที่เกี่ยวกับประวัติตั้งแต่กษัตริย์จนกระทั่งนักรบ ซึ่งในเนื้อหาจะมีสอดแทรกเรื่องราวของความรักลงไปในเนื้อเรื่อง

ซึ่งเวลาที่ดูทุกๆครั้ง กลับเข้าใจในความรู้สึกที่เรียกว่ารัก เข้าใจในความรู้สึกว่าคนที่ตกอยู่ในสภาวะนั้นรู้สึกอย่างไร
ทั้งๆที่ตามความเป็นจริงของชีวิตตั้งแต่เกิดมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ กลับไม่เคยมีความรู้สึกที่เรียกว่ารัก แบบที่เขานำมาแสดงหรือนำมาพูดๆกันเลย

ความรักทางโลก ล้วนเป็นความหลงในสงสาร

กับ darling ที่อยู่ด้วยกันทุกวันนี้ เราอยู่ด้วยกันเพราะความรู้ชัดในสภาวะ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน การยอมรับในสิ่งที่ต่างคนต่างเป็นอยู่ มีบ้างบางครั้งที่มีความรู้สึกที่เรียกว่าหึง/ยินร้าย แต่ไม่ใช่หึงหวง /โทสะ

แค่รู้ว่ามี ไม่ไปยึดกับสิ่งที่รู้ คือ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ยอมรับตามความเป็นจริง

เวลาที่เรียกเขาทุกๆครั้งว่า darling นั่นคือ ความรู้สึกดีๆที่มีให้ แต่ไม่ใช่ความรู้สึกที่เรียกว่ารักแบบทางโลกๆ ที่เรามองเห็นว่า ล้วนมีแต่ความทุกข์ แม้กระทั่งความรักที่มีให้กับพ่อ แม่ พี่ น้องฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ รู้สึกแบบนั้นมาตลอด ตั้งแต่จำความได้

ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อมีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต จึงไม่เคยมีน้ำตาไหลออกมาหรือแม้กระทั่งการร้องไห้คร่ำครวญ ไม่เคยมีและไม่เคยเป็นตั้งแต่จำความได้ และเป็นคนไม่ชอบไปงานศพ

เนื่องจากไปครั้งใด เวลากลับมาทุกครั้ง จะมีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง เหมือนคนป่วย เหตุนี้จึงไม่ค่อยไปงานศพ ยกเว้นจำเป็นจริงๆ ยิ่งปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึง ไม่ว่าจะงานอะไรๆ ส่วนมากไม่เคยไป อย่างมากใส่ซองให้เท่านั้นเอง

เป้าหมาย

เมื่อรู้ชัดในเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องวางเป้าหมายอีกต่อไป เพียงทำตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ โดยอาศัยสัปปายะที่เหมาะแก่จิตในแต่ละสภาวะเท่านั้นเอง เช่น บางสภาวะเกิดความเบื่อหน่ายมาก ไม่อยากทำอะไร พักจิตในสมาธิเป็นหลัก

บางสภาวะสมาธิมาก นั่งไปเลย บางสภาวะกิจการงานยังไม่เสร็จ อยู่ในอิริยาบทเดินกับยืนเป็นหลัก เป็นเหตุให้ เวลาจิตเป็นสมาธิ สมาธิที่เกิดขึ้นจะตั้งมั่นอยู่ได้นาน แนบแน่นดีฯลฯ

อิริยาบทใดๆก็ได้ ที่เป็นเหตุให้รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ

ภายนอกแค่รู้ ภายในรู้ชัด

๑๗ มีค. ๕๕ (วันครอบครัว/โยนิโสมนสิการ)

พักในสมาธิเป็นระยะ

วันหยุดของdarling ถือว่าเป็นวันของครอบครัว มีแต่การปรนนิบัติคนในบ้านเป็นหลัก เป็นเหตุที่มาของชื่อ แม่บ้านรีโมท

ความเหมือนของสภาวะ

วันหยุดของdarling นั่นคือวันที่เรามีความขี้เกียจมากกว่าปกติ เพราะเขาชอบทำกับข้าว อร่อยด้วยนะขอบอก ชอบทำแต่ไม่ชอบล้าง บางทีก็แซวเขานะ หัดล้างชามเองบ้างก็ดีนะ เดี๋ยวจะลืมหมดว่า ล้างชามน่ะต้องทำยังไงบ้าง

เขาบอกว่า ลืมหมดแล้ว ตอนนี้ล้างไม่เป็น ใช้เป็นอย่างเดียว อีกอย่างเราชอบล้างชามไม่ใช่เหรอ เราบอกว่า ไม่ได้ชอบ แต่ต้องทำ ไม่ใช่ทำเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ แต่ทำเพราะรู้ว่าทำอะไรอยู่(เหตุ)

โยนิโสมนสิการ

ไม่ว่าผัสสะ/เหตุใดๆเกิดขึ้น ที่ทำให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้ายต่อสิ่งๆนั้น นั่นแหละคือผลของเหตุในอดีตมาส่งผลให้ได้รับในรูปของผัสสะหรือเหตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ไม่ว่าจะรู้สึกนึกคิดอะไร เพียงยอมรับตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต แค่รู้ว่ามีและเป็นอยู่ แต่ไม่สร้างเหตุออกไปตามแรงผลักดันของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้น คือ ภายนอก แค่รู้ ดูตามความเป็นจริงของสภาวะหรือสิ่งที่กำลัง เกิดขึ้นภายใน ยอมรับตามความเป็นจริง

นี่แหละคือสภาวะโยนิโสมนสิการ พูดสั้นๆ ได้แก่ ภายนอก แค่รู้ ภายใน ยอมรับ เป็นเหตุให้สภาวะศิลเกิดขึ้น

ศิลโดยสภาวะแท้จริงเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ ไม่ใช่เกิดจากการสมาทานแต่อย่างใด การสมาทาน เมื่อสมาทานแล้ว ยังสร้างเหตุ นั่นเป็นเพียงการลูบคลำศิล เป็นสภาวะรู้โดยบัญญัติ หากรู้โดยสภาวะ ย่อมมุ่งหยุด หรือดับเหตุที่ตนเอง

พระผู้มีพระภาค จะสอนผู้ใดก็ตาม ทรงสอนตามสภาวะของผู้นั้น คำสอนของพระผู้มีพระภาคจึงหลากหลาย

เดินทางเดียวอย่าเหยียบซ้ำรอยกัน

อย่าไปเลียนแบบการปฏิบัติของผู้อื่น เพราะนั่นคือสภาวะของผู้อื่น ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ของผู้นั้น

เดินทางเดียว คือ มุ่งพระนิพพาน (ความดับภพชาติปัจจุบันและในวัฏสงสาร)

อย่าเหยียบซ้ำรอยกัน คือ อย่าไปทำเลียนแบบสภาวะของผู้อื่น เพราะผลที่ได้รับ ย่อมมีความสมหวังและผิดหวัง เกิดเนื่องจากการทำด้วยใจทะยานอยาก ทำด้วยใจที่คาดหวัง

คำแนะนำ ค้นหาสัปปายะที่เหมาะแก่สภาวะแก่จิต ในแต่อิริยาบทให้เจอ คือ หาจิตตัวเองให้เจอ ว่าชอบสัปปายะแบบไหน ที่เหมาะแก่จิตภาวนา

เดินทางเดียว ไม่เหยียบซ้ำรอยกัน

ทุกๆเส้นทางที่เดินหรือแนวทางการปฏิบัติของแต่ละคน ล้วนแตกต่างไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่

เดินทางเดียว คือทุกคนมุ่งพระนิพพาน(ความดับภพชาติปัจจุบันและในวัฏสงสาร)

ไม่เหยียบซ้ำรอยกัน คือ สภาวะ(สิ่งที่เกิดขึ้น) แตกต่างกันไปตามเหตุที่มีอยู่และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ของแต่ละคน

พุทธพจน์

มีพุทธวจนะแสดงเรื่อง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือโยนิโสมนสิการไว้ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด
ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

“เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ
ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค(มรรคมีองค์ ๘) แก่ภิกษุ ฉันนั้น

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มากซึ่งอริยอัษฏางคิกมรรค”

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทอง เป็นบุพนิมิตมาก่อน ฉันใด โยนิโสมนสิการก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗

เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีความเจริญเต็มบริบูรณ์

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ (องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้) ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้นหรือให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย

“เมื่อโยนิโสมนสิการ นิวรณ์ ๕ ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ โพชฌงค์ ๗ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์”

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตาม ที่เป็นกุศลอยู่ ในภาคกุศล อยู่ในฝ่ายกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีโยนิโสมนสิการเป็นมูลรากประชุมลงในโยนิโสมนสิการ, โยนิโสมนสิการ เรียกว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้วกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือให้สัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น สัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น”

เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนโยนิโสมนสิการเลย โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย

สำหรับภิกษุผู้เสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอย่างอื่น แม้สักอย่าง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ภิกษุผู้ใช้โยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น

เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย

เมื่อโยนิโสมนสิการอสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ราคะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ เมื่อโยนิโสมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ โทสะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น โทสะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ เมื่อโยนิโสมนสิการ (โดยทั่วไป) โมหะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้

ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม ๙ อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล กล่าวคือ เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมผ่อนคลายสงบ (ปัสสัทธิ)

เมื่อกายผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง เมื่อนิพพิทา ก็วิราคะ เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ

กิเลส แค่รู้ว่ามี แล้วยอมรับตามความเป็นจริง แต่อย่าปล่อยให้กิเลสที่เกิดขึ้นครอบงำ จนก่อให้เกิดการกระทำออกไป

ตราบใดที่ยังมีกิเลส คิดได้ รู้สึกได้ ปรุงแต่งได้ ไม่ต้องไปพยามกดข่มแต่อย่างใด ปล่อยให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นในใจตามความเป็นจริง แล้วทุกอย่างจะจบลงไปตามเหตุปัจจัยเอง

ถ้าไปกดข่มกิเลสเอาไว้ ไม่ปล่อยให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริง คนที่ทุกข์คือเจ้าตัวเอง ยิ่งคิดยิ่งทุกข์ จนกลายเป็นความพยาบาทไปโดยไม่รู้ตัว

สิ่งที่ควรทำ คือ กดข่มจิตไม่ให้คล้อยตามแรงผลักดันของกิเลสที่เกิดขึ้น ให้เป็นการกระทำออกไป

คือ แค่รู้ว่ามี ยอมรับว่ามี แต่อย่ายึด

หมายเหตุ:

การเขียนสภาวะ ไม่ได้เจาะจงหมายถึงใครหรือสิ่งใดเป็นพิเศษ แต่หมายถึงสภาวะตามความเป็นจริง

๑๖ มีค. ๕๕(นิวรณ์)

เดินกับยืน ๔ ชม.นั่ง ๓ ชม.

นิวรณ์ไม่ได้เป็นเหตุของการฝึกจิตให้ตั้งมั่น แต่นิวรณ์คือผลที่เกิดจากของจิตที่ตั้งมั่นแล้ว(การกดข่มกิเลส)

เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่นั่นแหละเหตุ หากรู้ชัดในสภาวะ จะไม่กล่าวโทษนอกตัว/นิวรณ์

เมื่อกำหนดจิตเลิกนั่งสมาธิ มีอาการง่วงนอน จิตไม่สดชื่นแจ่มใส อาการแบบนี้ เป็นอาการของกำลังสมาธิที่ยังคงค้างอยู่ ถ้าอยากจะนั่งต่อก็นั่งได้ หรือจัดสัปปายะให้ตรงกับสภาวะที่เป็นอยู่ ให้หาที่นอน นอนไปเลย

บางครั้งนอนแล้วอาจจะกลับไปทันที บางครั้งนอนลงไปแล้ว นอนไม่หลับ จิตจะมีวิตก วิจาร คือมีความคิดใดๆขึ้นมา อาจจะเป็นความรู้ต่างๆแปลกๆเกิดขึ้น หรือความคิดเกี่ยวกับชีวิตที่เป็นอยู่ก็ตาม ให้แค่รู้ อย่าไปยึดติดกับสภาวะที่เกิดขึ้น ปล่อยให้จิตพักผ่อนในสมาธิเต็มที่แล้ว ตื่นขึ้นมา จิตจะสดชื่นเบิกบาน

Previous Older Entries

มีนาคม 2012
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  

คลังเก็บ