จิตตานุปัสสนา

๑๓ พค. ๖๑

ความคมชัดของกิเลส ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ก็มีความแตกต่างกัน ไม่ต้องเกิดสภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อม ความคมชัดในกิเลสที่มีเกิดขึ้น สามารถมีเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่ความรู้สึกนึกคิดต่างกัน

สมัยที่จิตเสื่อม สมาธิเสื่อม ความคมชัดของกิเลส เหมือนโดนหนามทิ่มแทง เหมือนเข็มแทงเข้าไปในเนื้อ รู้สึกชัดแบบนั้นเลย ด้วยเหตุปัจจัยนี้ จึงทำให้เกิดความทุกข์ ความบีบคั้น ความทนอยู่ได้ยาก เรื่องขันธ์ ๕ อะไรนี่ ตัดทิ้งไปได้เลย รู้แบบลูบๆคลำๆ

สิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ เกิดจากตัณหา ความอยากให้กำลังสมาธิที่เสื่อมหายไปหมดสิ้น กลับมาเป็นเหมือนเดิม มีเหมือนเดิม ความอยากมากเท่าไหร่ ความเพียรยิ่งทวีคูณ เพียรหนัก เพียรเพราะรู้ว่า มีวิธีเดียว ต้องทำแบบนี้เท่านั้น กำลังสมาธิจะฟื้นคืนกลับมาเหมือนเดิม

.
ปัจจุบัน เวลาที่กิเลสมีเกิดขึ้น รู้ทันมากขึ้น รู้ชัดมากขึ้น รู้เป็นปกติ โดยไม่ต้องจ้องดูหรือสนใจดูแต่อย่างใด รู้ปกติเหมือนลมหายใจเข้าออก

ถ้าไม่เคยประสพพบเจอกับสภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อมมาก่อน ความคมชัดของกิเลสที่มีเกิดขึ้นแบบนี้ อาจทำให้คิดว่า นี่สมาธิเสื่อมหายไปอีกแล้วอย่างงั้นเหรอ ทว่าความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ครั้งนี้ไม่ได้ทำให้เป็นทุกข์แต่อย่างใด รู้ชัดก็จริง แต่ไม่เป็นทุกข์ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีเกิดขึ้นเนืองๆเป็นปกติเหมือนเดิม

“จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ทุกข์,เหตุแห่งทุกข์,วิธีดับเหตุแห่งทุกข์

๑๖ มิย.๕๗

ทุกข์

 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้น ว่า

“ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

 

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า

“ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง” ดังนี้ :

นั้นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฏฐิ ที่ถือว่าเที่ยง).

 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบ ให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า

“ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

 

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า

“ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้” ดังนี้:

นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ).

 

กัสสะปะ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง

ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า

 

“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;

….ฯลฯ….ฯลฯ….ฯลฯ….

 

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,

ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

 

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

 

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว,

จึงมีความดับแห่งสังขาร;

 

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;

…. ฯลฯ…. ฯลฯ….ฯลฯ….

 

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล,

ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

 

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้.

– นิทาน. สํ. ๑๖/๒๔/๕๐.

 

 

 

 

 

 เหตุแห่งทุกข์

 

อุปวาณะ! เรากล่าวว่า

ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น(ปฏิจจสมุปปันนธรรม).

 

ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้นเล่า ?

อุปวาณะ ! ทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น. ….

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเอง

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองก็หามิได้ผู้อื่นทำให้ ก็หามิได้

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

– นิทาน. สํ. ๑๖/๔๙/๘๗.

 

 

 

หมายเหตุ:

 

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต)

สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ)

และไม่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(สักแต่ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น/ผัสสะ)

 

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่

เป็นเหตุให้ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

 

 

เป็นเหตุปัจจัยให้ เกิดการสร้างเหตุออกไป/ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป(ชาติ/วจีกรรม กายกรรม)

ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(ภพ/มโนกรรม)

 

ชรามรณะ(โลกธรรม ๘)

โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส  จึงมีบังเกิดขึ้น

 

 

เมื่อยังมีการเกิด ได้แก่ นามรูป สาฬยตนะ ย่อมมี ผัสสะ ย่อมมี

ตราบใด ที่ยังมีชีวิต เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงผัสสะต่างๆได้

 

 

 

วิธีดับเหตุแห่งทุกข์

 

จึงควรศึกษาผัสสะให้ถ่องแท้ ว่าทำไม

เมื่อผัสสะเกิด จึงมีความรู้สึกนึกคิดต่างๆเกิดขึ้น แม้กระทั่ง ไม่รู้สึกอะไรเลย(เฉยๆ)

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔ ประการ เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ว่าจะเกิดขึ้น กับบุคคลที่อยู่ใน ยุคไหน สมัยไหนก็ตาม สภาวะนี้ไม่มีแปรเปลี่ยน ตามยุค ตามสมัย เพราะ ธรรมนี้ อกาลิโก คือ อยู่เหนือกาลเวลา

ทุกข์ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ

ลักษณะของ ทุกข์ รู้แบบหยาบๆ ได้แก่ ความรู้สึกถูกบีบคั้น การทนอยู่ได้ยาก

รู้ แบบละเอียดมากขึ้น ได้แก่ การเกิด ทุกๆการเกิด ล้วนเป็นทุกข์

เมื่อรู้ชัดในทุกข์ รู้ว่า ทุกข์ที่บีบคั้น ล้วนเป็นแดนเกิด ของการสร้างเหตุ ให้เกิดภพชาติใหม่เนืองๆ(ปัจจุบัน ขณะ) ย่อมแสวงหา วิธีดับทุกข์

ความศัรทธา เป็นเหตุให้ เกิดการทำความเพียรต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลา เป็นเหตุให้ รู้วิธีการดับทุกข์ ที่เกิดจาก ปัจจุบัน ขณะ(ผัวสสะ) เป็นเหตุปัจจัย

สิ่งนอกตัว ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ ไม่สามารถน้อมเอา คิดเอาเองได้ เมื่อรู้ได้ดังนี้ จึงเกิดการปล่อยวาง ลงไปเรื่อยๆ

จึงมุ่งดับเหตุที่ตนเอง มากกว่า คิดดับนอกตัว เพราะ ตราบใด ที่ยังมีลมหายใจอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้น ทุกๆขณะ ที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด นั่นแหละเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่

นี่แหละ วิธีตัดหรือการสร้างเหตุของการดับเหตุภพชาติปัจจุบัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ด้วยการสร้างเหตุออกไป ด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่ หรือ รู้แล้ว อดทนกดข่ม ไม่ไหว นั่นแหละ เหตุปัจจัย ที่มีเกิดขึ้นใหม่อีก

การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

วิธีการ ต้องมีองค์ประกอบสองอย่างรวมกัน ไม่งั้น ได้ผลช้า

๑. หยุดสร้างเหตุนอกตัว ณ ปัจจุบัน ขณะ(ผัสสะเกิด) ที่เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆก็ตาม มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ซี่งเป็นการ สร้างเหตุของ การดับภพชาติปัจจุบัน ส่วนจะดับสนิทหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างอยู่

๒. ทำสมถะ ควรหาพี่เลี้ยง ที่รู้เรื่องสภาวะจิตเป็นสมาธิ บางคนนั่งแล้วหลับทุกครั้ง นั่นแหละ จิตเป็นสมาธิ แต่สติด้อยกว่า กำลังสมาธิมีมากกว่า สภาวะสัมปชัญญะ จึงเกิดขึ้นไม่ได้

เป็นเหตุให้ ขาดความรู้สึกตัว ขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่ วิธีแก้ คือ การปรับอินทรีย์ เดินมากกว่านั่ง สังเกตุสภาวะตัวเองไปเรื่อย จนปรับอินทรีย์เกิดความสมดุลย์

เป็นเหตุให้ สติกับสมาธิ มีกำลังไม่เหลื่อมล้ำมากน้อยไปกว่ากัน เมื่อสภาวะสัมปชัญญะเกิดขึ้นได้ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

เป็นเหตุให้ รู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุสภาวะสัญญาเกิด สำหรับผู้ที่ไม่รู้ จะเรียกว่า ปัญญา ให้ใช้หลักโยนิโสมนสิการ กับทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น สงสัย สักแต่ว่า สงสัย ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม เดี๋ยวมีเหตุ ให้รู้เอง จะรู้ทีละนิดๆ รู้แบบหยาบๆ

สภาวะที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ อาจมีโอภาสเกิดร่วมหรือไม่เกิดก็ได้ โอภาสจะเกิดตามกำลังของสมาธิ ยิ่งสมาธิมีกำลังแนบแน่นมากๆ โอภาสจะมีแสงสว่าง ตามกำลังของ สมาธิ ณ ขณะนั้นๆ

สภาวะที่เอ่ยมานี้ มีชื่อเรียกว่า สัมมาสมาธิ หมายถึง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตั้งแต่ ปฐมฌาน เป็นต้นไป

การจะรู้แจ้ง อริยสัจ ๔ ก็ตาม นิพพานก็ตาม จะเกิดจากการทำความเพียรต่อเนื่อง เกิดกับผู้ที่มีสภาวะ สัมมาสมาธิ เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เกิดจาก การน้อมเอา คิดเอาเอง จากตำราที่ได้ร่ำเรียนมา อันนั้นเป็นเพียง สภาวะอุปกิเลส ที่เกิดขึ้น

ส่วนขณิกสมาธิ ที่นำมาสอนกันแพร่หลาย ล้วนเป็นเพียงอุบาย ของท่านผู้รู้ เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติ ไม่ลำบากยากนัก จะได้ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติ

ขณิกสมาธิ ทำได้เพียง ดับภพชาติปัจจุบัน เพราะ สังโยชน์ ยังไม่ถูกทำลายลงเป็น สมุจเฉทประหาน อนุสัย จึงเนืองนองอยู่ในขันธสันดาน อย่างมาก แค่เบาบางลงไป แต่ยังไม่ถูกทำลายหมดสิ้น จึงมีชื่อเรียกว่า มรรค มีองค์ ๘

สภาวะ สมุจเฉทประหาน ของสังโยชน์ต่างๆ ที่จะเกิด ในขณะที่เป็น สภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น จึงมีชื่อเรียกตามสภาวะที่เกิดขึ้นว่า อริยมรรค มีองค์ ๘

ทุกขอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์,
ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข,
ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็น ทุกข์ ;

กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ (ขันธ์ห้าอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) เป็นตัวทุกข์ ;

นี้ เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์.
– ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.

ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์, แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์,
แม้โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์, การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ :

กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,
ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,
ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์,

กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! การเกิด การกำเนิด การก้าวลง การบังเกิด
การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย
การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลาย ในจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ,

นี้เราเรียกว่าความเกิด.

ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ,

นี้เราเรียกว่าความแก่.

ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ
การแตกแห่งขันธ์ การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ,

นี้เราเรียกว่าความตาย.

ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความโศก ความเศร้า ความเป็นผู้เศร้า ความโศกกลุ้มกลัด
ความโศกสุมกลุ้มกลัด ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันความทุกข์ ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว ;

นี้ เรียกว่า ความโศก.
– มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕.

ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความโศก การโศก ภาวะแห่งการโศก ความโศกในภายใน
ความโศกทั่วในภายใน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
หรือของบุคคล ผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว,

นี้เราเรียกว่าความโศก.

ภิกษุ ท. ! ความรํ่าไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน
ภาวะแห่งผู้คร่ำครวญ ภาวะแห่งผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
หรือของบุคคลผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว.

นี้เราเรียกว่าความร่ำไรรำพัน.

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! การทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางกาย
การทนยากที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย ความรู้สึกที่ไม่ดี อันเกิดแต่ความกระทบทางกายใดๆ,

นี้เราเรียกว่าความทุกข์กาย.

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางใจ ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางใจ ความทนได้ยาก
ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความความกระทบทางใจ ;

นี้ เรียกว่า ความทุกข์ใจ.
– มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕.

ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความกลุ้มใจ ความคับแค้นใจ ภาวะแห่งผู้กลุ้มใจ
ภาวะแห่งผู้คับแค้นใจ ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วย ความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
หรือของบุคคลผู้อันทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบแล้ว,

นี้เราเรียกว่าความคับแค้นใจ.

ภิกษุ ท. ! ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น
อันเป็นที่ไม่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ แก่ผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์
ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา.

การที่ไปด้วยกัน การมาด้วยกัน การหยุดอยู่ร่วมกัน ความปะปนกันกับด้วยอารมณ์
หรือบุคคลเหล่านั้น,

นี้เราเรียกว่า ความระคน ด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็ นที่รักเป็ นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะเหล่านั้น
อันเป็นที่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ ของผู้ใด

หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก
หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขาคือมารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม,

การที่ไม่ได้ไปร่วม การที่ไม่ได้มาร่วม การไม่ได้หยุดอยู่ร่วม ไม่ได้ปะปนกับด้วยอารมณ์
หรือบุคคลเหล่านั้น,

นี้เราเรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความที่สัตว์ปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

“โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ,”

ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา.
แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

“โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา และความแก่ไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ,”

ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา.
แม้นี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา….
มีความตายเป็นธรรมดา…. มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา….

…. ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา.
แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็ นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

นี้คือ ขันธ์เป็นที่ตั้ง แห่งความยึดถือได้แก่ รูป,
ขันธ์เป็นที่ตั้ง แห่งความยึดถือได้แก่ เวทนา,
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือได้แก่ สัญญา,
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือได้แก่ สังขาร,
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือได้แก่ วิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เราเรียกว่า กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เป็นทุกข์.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุ เป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จัก ความดับไม่เหลือของทุกข์,
และพึงรู้จักทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น,

ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่
เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์, ความโศก
ความรํ่าไรรํ่าพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข ;

กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่, ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่,
ที่คลายช้า มีอยู่, และที่คลายเร็ว มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์
รวบรัดแล้ว ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล ;

หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัด
แล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า

“ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็ นผล
หรือมิฉะนั้น ก็มีการแสวงหาที่พึ่งภายนอกเป็นผล.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ผลของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.

ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์,

ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ….

ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์,
และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น,

เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.
– ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า.

อุปาทานขันธ์ห้า อย่างไรเล่า ?

อุปาทานขันธ์ห้าคือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์
วิญญาญูปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.
– มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๗๙.

ความเป็นทุกข์สามลักษณะ

ภิกษุ ท. ! ความเป็นทุกข์ มีสามลักษณะเหล่านี้.
สามลักษณะ เหล่าไหนเล่า ? สามลักษณะคือ :-

๑. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะทนได้ยาก,
๒. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่น พร้อมกันไปในตัว,
๓. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะแห่งความแปรปรวนเป็นไปต่าง ๆ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ความเป็นทุกข์สามลักษณะ.
– มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๕/๓๑๙.

ความทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ตามธรรมชาติ

ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป
บันเทิงแล้วในรูป ย่อม อยู่เป็ นทุกข์ เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป.
(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. ! ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้
รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป ตามเป็นจริง
ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในรูป ไม่บันเทิงในรูป ยังคงอยู่เป็นสุขแม้
เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป.
(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).
– สฬา. สํ. ๑๘/๑๕๙/๒๑๖.

อายตนะหกเป็นทุกขอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อายตนะภายในหก.

อายตนะภายในหกเหล่าไหนเล่า ?
หกคือ จักขุอายตนะ โสตะอายตนะ ฆานะอายตนะ ชิวหาอายตนะ กายะอายตนะ มนะอายตนะ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือ ทุกข์.
– มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๕/๑๖๘๕.

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ