สัมมาทิฏฐิ

สิ่งที่เราเขียนมานั้น จะค่อยๆรู้ ก็เขียนมาเรื่อยๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ผุดหรือจิตเกิดการพิจรณาโดยสภาวะของมันเอง ปราศจากตัวตน และตัณหา ทิฏฐิ เข้ามาเกี่ยวข้อง

เมื่อวานสิ่งที่เขียน เช้านี้จิตพิจรณาของมันเอง ทำให้รู้ว่า อุปาทาน ๔ นั้น ความรู้ความเห็นเกี่ยวกับคำเรียกเหล่านั้น เช่น คำว่ากามุปาทาน เป็นเรื่องของตัณหา ๓
กามตัณหา(กาพภพ) ละกามตัณหา
ภวตัณหา รูปภพ(รูปภพ) อรูปภพ(อรูปภพ) ละภวตัณหา ละภพ ๓
วิภาวตัณหา อัตตวาทุปาทาน ละวิภาวตัณหา(อวิชชา)
ความรู้ความเห็นมีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดขึ้นแล้วดับ

วิชชา ๑(สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๑
อัปปณิหิตวิโมกข์(รู้ชัดทุกขังที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง/ปรมัตถ์) มีเกิดขึ้นก่อน
สภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
ละสักกายทิฏฐิ ละความเห็นผิดเป็นตัวตนเรา เขา
และละความเห็นผิดเรื่องกรรมและผลของกรรม(สัมมาทิฏฐิ)

วิชชา ๒(สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒)
สุญญตวิโมกข์(รู้ชัดอนัตตาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง/ปรมัตถ์) มีเกิดขึ้นก่อน
สภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นต่อแล้วดับ
ละความเห็นผิดในตัวตนของเรา ของเขา
และละความเห็นผิดเที่ยงและสูญ

วิชชา ๓(สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๓)
อนิมิตตวิโมกข์(รู้ชัดอนิจจังที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง/ปรมัตถ์) มีเกิดขึ้นก่อน
สภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
ละอัตตวาทุปาทาน(ละความเห็นผิดเกี่ยวกับทิฏฐิ ๖๒ ประการใน ๑. พรหมชาลสูตร)
ทำให้ละมานะ


คือ ความรู้ความเห็นในคำเรียก อุปาทาน

กามมุปาทาน

ทิฏฐุปาทาน

สีลลัพตปรามาส

อัตตวาทุปาทาน

จะเข้าใจต้องแจ้งอริยสัจ ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ และสัมมาทิฏฐิ คือ
ครั้งที่ ๑ วิชชา ๑ ละความผิดในอุปาทาน ๔

ครั้งที่ ๒ วิชชา ๒ ละความผิดในอุปาทาน ๔

ครั้งที่ ๓ วิชชา ๓ ละความผิดในอุปาทาน ๔

ครั้งที่ ๔ วิมุตติญาณทัสสนะ ละความเห็นผิดในขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕


สัมมาทิฏฐิ มีความรู้ความเห็นตอนแรกรู้เฉพาะตนก่อน
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย แล้วดับ
ในวิชชา ๑ ๒ ๓ ความรู้ความเห็นที่มีเกิดขึ้น ในแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน
คือขณะก่อนเกิดความดับ ก็มีความแตกต่างกัน(วิโมกข์ ๓)

เช่น สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๑ รู้ชัดสภาวะทุกข์(อัปปณิหิตวิโมกข์)
ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นตัวตน เรา เขา
เมื่อปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น แล้วดับ
หลังจากนั้น แจ้งอริยสัจ ๔ มีเฉพาะผู้ที่ได้วิโมกข์ ๘ ครั้งแรก
ส่วนที่เหลือขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕ คือ
วิธีการกระทำเพื่อดับทุกข์ คือดับตัณหา ๓ ตามลำดับ
จนวิมุตติญาณทัสสนะ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จะแจ้งคำว่า วิมุตติ ที่มีลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
คือสภาวะจิตดวงสุดท้าย มีเกิดขึ้น ๓ ครั้ง
แจ้งอริยสัจ ๔ มี ๔ ครั้ง
วิธีการกระทำเพื่อดับทุกข์(ดับตัณหา ๓)
สัมมาทิฏฐิ มีเกิดขึ้น ๔ ครั้ง

สรุป ต้องเขียนเริ่มตั้งแต่
๑. สีลปาริสุทธิ
การรักษาศิล ขึ้นอยู่กับฟังจากใคร
การรักษาศิล(ทางกาย วาจา ใจ) ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ผลที่ได้รับ ย่อมไม่เหมือนกัน

๒. จิตตปาริสุทธิ
วิธีการทำกรรมฐาน
วิธีละนิวรณ์
วิธีละความยึดมั่นถือมั่นสิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

๓. ทิฏฐิปาริสุทธิ
ได้แก่ ผัสสะ
สามารถเกิดจากฟังผู้ที่รู้เห็นมาก่อน(แจ้งอริยสัจ ๔)
หรือจากการศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๔. วิมุตติปาริสุทธิ
ก่อนจะรู้อาการลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า วิมุตติ
คือจะมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงก่อน ครั้งที่ ๑
ความรู้ความเห็นต่างๆเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ จะมีเกิดกับผู้ปฏิบัติวิโมกข์ ๘ ครั้งแรกก่อน
ที่นี้ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕ คือสภาวะสัญญาเกิดก่อน
ถ้ายึดมั่นถือมั่น ทำให้ไม่สามารถความรู้เห็นอื่นๆ ที่ยังมีอยู่

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าผู้ปฏิบัติได้วิโมกข์ ๘
เนื่องจากกำลังสมาธิมาก ทำให้ไม่สามารถรู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
การที่จะรู้วิธีการกระทำเพื่อดับทุกข์ จะรู้แค่เพียงการรักษาศิล และทำกรรมฐาน
ตามความรู้ของเห็นที่ตนรู้จากการปฏิบัติ

เมื่อมีเหตุปัจจัยให้กำลังสมาธิที่มีอยู่(วิโมกข์ ๘) เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ทำให้รู้ชัดเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
คือรู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำเรียกเหล่านี้(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ)
ทำให้แทงตลอดอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ทำให้นำความรู้ความเเห็นนี้สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์คือดับกามตัณหา
คือดับกามภพ เป็นสิ่ง(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ) ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
.
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติได้รูปฌาน อรูปฌาน จะไม่รู้อริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง อาศัยการศึกษาหรือการฟังผู้ที่ผ่านทางนี้มาก่อน แล้วตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง ไม่ท้อถอย ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม(ศิล สมาธิ ปัญญา) สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒ จะมีเกิดขึ้น

แล้วปฏิบัติเดิมๆซ้ำๆ ตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง ไม่ท้อถอย ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม(ศิล สมาธิ ปัญญา) สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๓ มีเกิดขึ้น วิมุตติญาณทัสสนะจะมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง จะรู้ว่าวิมุตติที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงก็คือสภาวะจิตดวงสุดท้าย ส่วนความรู้ความเห็น จิตจะมีการพิจรณาเรื่องขันธ์ ๕และอุปทานขันธ์ ๕
.
สิ่งที่เขียนไว้เมื่อวานเกี่ยวกับอุปาทาน ๔
เป็นสภาวะของผู้ที่มีวิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ความรู้ความเห็น สัมมาทิฏฐิ ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ครั้งที่ ๒) ที่มีเกิดขึ้น จะมีความรู้ความเห็นเฉพาะตน ก่อนดับ
คือจะมีเกิดขึ้นตามที่เขียนไว้

วิชชา ๒

สัมมาทิฏฐิ
ความรู้ความเห็นมีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒(วิชชา ๒)

๑๒. ทิฏฐิสูตร
[๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฐิ ๒ อย่างพัวพันแล้ว
บางพวกย่อมติดอยู่
บางพวกย่อมแล่นเลยไป
ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ
เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ
จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไรเล่า
ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล
ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า
เมื่อใด ตนนี้เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก นี้ละเอียดนี้ประณีต นี้ถ่องแท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ย่อมน้อมไปในนิพพานตามความเป็นจริง เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป

ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้
ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ภพใหม่
เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

.

๑๐. ภวสูตร
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภพ ๓ นี้ควรละ ควรศึกษาในไตรสิกขา
ภพ ๓ เป็นไฉน
คือ
กามภพ
รูปภพ
อรูปภพ
ภพ ๓ นี้ควรละ.

ไตรสิกขาเป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา
อธิจิตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา
ควรศึกษาในไตรสิกขานี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแลภพ ๓ นี้ เป็นสภาพอันภิกษุละได้แล้ว
และเธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้

เมื่อนั้นภิกษุนี้เรากล่าวว่า
ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว
ได้ทำที่สุดทุกข์ เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ

.

๗. ธาตุสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ
ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

เริ่มต้นการศึกษา

สำหรับผู้ที่มีฐานเรื่องการทำกรรมฐาน บางครั้งเกิดความสงสัยว่าควรใช้วิธีการปฏิบัติแบบไหน จึงจะเหมาะกับตัวเอง
ตรงนี้ หากใครยังทำกรรมฐานอยู่ อาจจะทำบ้าง ไม่ทำบ้าง ทำๆหยุดๆ ไม่สม่ำเสมอ ให้เริ่มต้นการศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ จะได้ตรวจสอบตัวเองว่า การใช้ชีวิตในอดีตจนถึงปัจจุบัน เคยใช้ชีวิตแบบไหน มีมั๊ยที่ตรงกับที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้ เพราะการใช้ชีวิตมีผลกระทบต่อการทำกรรมฐาน คือสิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน ทำให้ปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ปฏิบัติมีแต่นิวรณ์มากกว่าการรู้ชัดในสติปัฏฐาน ๔
ส่วนคำว่า สติปัฏฐาน ๔ และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง มีอาการเกิดขึ้นแบบไหน ตรงนี้จะอธิบายที่หลัง ให้ศึกษาตรงนี้ก่อนเรื่องการใช้ชีวิตให้ถูกตรง


พระสูตรที่นำมาลงนี้ สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักปริยัติหรือภาษาพระเวลาเทศน์ พระสูตรนี้ไม่ต้องตีความ เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสแบบง่ายๆ เข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ตีความว่า คำนี้ๆคืออะไร


อาศัยของเก่าที่เคยกระทำไว้ในอดีตสะสมไว้ มาในชาติปัจจุบันนี้ ทำให้เกิดความศรัทธาในพระพุทธเจ้า แม้จะไม่เคยเจอพระองค์ตัวเป็นๆก็ตาม เมื่ออ่านสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่มีความสงสัย แล้วพร้อมปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้


เริ่มจากการฟังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง อ่านแล้วให้พิจรณาการกระทำที่ตัวเองกระทำอยู่ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันว่า ตัวเองในปัจจุบันนี้ มีการใช้ชีวิตแบบไหนอยู่ มีบ้างไหมที่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้เรื่องการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง


ทีฆชาณุสูตร
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกฬิยะชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกฬิยะ
ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดบุตร ใช้จันทน์ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินและทองอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าเถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร
๔ ประการเป็นไฉน
คือ อุฏฐานสัมปทา ๑
อารักขสัมปทา ๑
กัลยาณมิตตตา ๑
สมชีวิตา ๑ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัวชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูลด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงบริโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักไป
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น
ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
ศึกษาจาคสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญ ทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนักไม่ให้ฝืดเคืองนัก
ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด
กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก
ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่โถง
จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อฉะนั้น
ก็ถ้ากุลบุตรผู้ที่มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง
จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา

แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก
ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสมชีวิตา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ
คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระนั้น ฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ
คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้าปิดทางไหลออกของสระนั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดีสหายดี เพื่อนดี ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาสัมปทา ๑
สีลสัมปทา ๑
จาคสัมปทา ๑
ปัญญาสัมปทา ๑ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้
เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสีลสัมปทา ฯ
ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามือชุ่มยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าจาคสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา

ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ฯ
คนหมั่นในการทำงาน
ไม่ประมาท
จัดการงานเหมาะสม
เลี้ยงชีพพอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้
มีศรัทธา
ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ถ้อยคำ
ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางสัมปรายิกประโยชน์เป็นนิตย์
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง
คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้า
บุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ


ปัตตกรรมวรรคที่ ๒
ปัตตกรรมสูตร
ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการนี้ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาสัมปทา ๑
สีลสัมปทา ๑
จาคสัมปทา ๑
ปัญญาสัมปทา ๑

ดูกรคฤหบดี ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัย ย่อมเป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ … เป็นผู้จำแนกธรรม
ดูกรคฤหบดี นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา

ก็สีลสัมปทาเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่าสีลสัมปทา

ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน
คือ ความตระหนี่ มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน
นี้เรียกว่าจาคสัมปทา

ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน
บุคคลมีใจอันความโลภไม่สม่ำเสมอ คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว
ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำ
เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำอยู่
ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
บุคคลมีใจอันพยาบาทครอบงำ …
อันถีนมิทธะครอบงำ …
อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ …
อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว
ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำ
ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสของจิต
ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสของจิตเสียได้
รู้ว่า พยาบาท …
ถีนมิทธะ …
อุทธัจจกุกกุจจะ …
วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของจิต ย่อมละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสของจิต

ดูกรคฤหบดี เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้
เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท …
ถีนมิทธะ …
อุทธัจจกุกกุจจะ …
วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้น ย่อมละเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการนี้แล อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ฯ

มิถุนายน 2021
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930  

คลังเก็บ