สังโยชน์กิเลสกับจิตใต้สำนึก

.

วันนี้มีภาพเรื่องราวต่างๆ ปรากฏขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธนั้น
ในภาพนั้นเราเป็นผู้หญิง เป็นผู้ที่มีอทิธิฤทิธิ์มากมาย ใครๆก็สู้ไม่ได้
ไม่ขอเล่ารายละเอียดต่างๆ

สภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นเรื่องของ ความยินดีพอใจในผัสสะ(กามภพ)
รูป รส กลิ่น เสียง โผฏทัพพะ ธรรมารมณ์

ในนิมิตนั้น เหมือนเรื่องราวมีเกิดขึ้นจริง
แต่ท้ายสุด จิตกลับมีการคิดพิจรณาว่า
วังวนนี้ยืดยาวจริง ไม่ขออยู่ในวังวนนี้อีก
แล้วกลับมารู้ที่กาย

.

สภาวะจิตใต้สำนึก เป็นอะไรที่อธิบายได้ยาก
ที่แน่ๆ นิมิตช่วงหลังๆ ใจมันเป็นเป็นแบบนี้ “ไม่เอา”
เป็นการตอกย้ำชัดๆว่า จะลืมตา หรือหลับตา
สภาวะ “ไม่เอา” ชัดมากขึ้น

 

คิดพิจรณากับภาพที่ปรากฏทางใจ

สภาวะการคิดพิจรณาเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
จากความคิด กลายเป็นนิมิต มีเกิดขึ้น มากขึ้น

.

เช้านี้ เล่าให้เจ้านายฟังถึงภาพต่างๆ
บางคนอาจเรียกว่า ฝัน แต่มันคือ นิมิต
ฝันกับนิมิต แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

.

เวลาคิดพิจรณาสิ่งใด
จะมีภาพเกิดขึ้น เกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่มีอยู่
เหมือนดูหนังเงียบ ที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้

ครั้งนี้มีสี่เหตุการณ์ เป็นภาพบอกเล่าเรื่องราว
ทั้งสี่เรื่องราว แตกต่างที่ตัวบุคคล แต่การกระทำไม่แตกต่างกัน
เห็นแต่โลภะ โทสะ โมหะ ตัณหา ความทะยานอยาก

มีเสียงถามว่า เลือกสิ่งไหน
เราตอบว่า ไม่เลือกสักอย่างเดียว
ไม่มีอะไรดีที่สุด หรือเลวที่สุด ทุกสิ่งเกิดเป็นคู่(โลกธรรม ๘)
ของฟรีไม่มีในโลก ได้มา(ไม่ว่าจะวิธีไหน) ก็ต้องเสียไป
แต่จะเสียไปทางไหนเท่านั้นเอง

.

เล่าให้เจ้านายฟังจนจบ พร้อมกับบอกว่า
ถ้าไม่มีตัวกู ของกู ทุกสิ่งมันก็สักแต่ว่า
เมื่อยังมีตัวกู ของกู ความวุ่นวายย่อมมีอยู่

เจ้านายบอกว่า ใช่

การทำความเพียร
สภาวะ(ทางใจ) ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

สภาวะของวลัยพร จะหนักไปทางทุกขัง
มากกว่าสภาวะอนิจจัง และอนัตตา

การเขียนเรื่องราวของสภาวะ(ที่จดบันทึกไว้)
จึงค่อนข้างหนักไปทาง ความทุกข์ และ ความเบื่อหน่าย
.

เจ้านาย สภาวะจะหนักไปทางอนิจจัง
มากกว่าทุกขังและอนัตตา

การทำความเพียรของเจ้านาย
จึงเป็นแบบสบายๆสไตล์เจ้านาย

ประมาณว่า ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
เพราะสภาวะ สัมมาสมาธิ ที่มีเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีการเสื่อม
กล่าวคือ ถ้าสมาธิ(ฌาน)เสื่อม แต่ญาณไม่เสื่อม

การทำสมาธิของเจ้านายทุกวันนี้
แค่รู้ลมหายใจปกติ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิทันที
นั่งแต่ละครั้ง เป็นชม.

.

ทั้งนี้ในสมัยก่อน เขาทำตามที่เราให้คำแนะนำ
และเราพาเขาไปเข้ากรรมฐาน ไปด้วยกัน
สมัยก่อนไปบ่อยมาก หลายปีมาแล้ว ที่ไม่ได้ไปอีก

เราบอกเขาว่า ไม่เป็นไร
ชีวิตไม่ค่อยมีอะไร จะเป็นแบบนี้แหละ
ไม่มีตัวบีบบังคับให้ทำความเพียร

ตอนนี้เขาจะอัดเสียงระหว่างที่พูดคุยเกี่ยวกับสภาวะ
บางครั้งเขาให้เราเล่าเรื่องที่เขาอยากรู้
บางครั้ง เขานั่งอ่าน สิ่งที่เราเขียนไว้
และอัดเสียงบันทึกไปด้วย

.

เคยบอกเขาว่า สภาวะที่เล่าให้ฟัง จำไว้ใส่ใจไว้นะ
วันใดเขามาปฏิบัติแบบจริงจัง
เขาเจะเข้าใจในสิ่งที่เราเขียนบันทึกไว้
เกี่ยวกับสภาวะทั้งหมด

เพราะทุกคน ไม่ว่าจะปฏิบัติในรูปแบบไหน
ต้องเจอเหมือนกันหมด เหมือนที่เราเขียนไว้ทุกอย่าง
ทุกคนต้องผ่านสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)
ต้องยอมตายเท่านั้น จึงจะผ่านสภาวะนี้ได้

.

เคยบอกเขาว่า ถ้าวันไหน เราไม่ตื่นขึ้นมา
ปลุกยังไงก็ไม่ตื่น ปล่อยให้เรานอนแบบนั้น
จะหลายวัน เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน เป็นปี
หากร่างกายยังปกติ อย่าทำอะไรกับร่างของเรา

ถ้า 1 ปี ผ่านไป เรายังไม่ตื่น
ให้โทรฯเรียก รถจากรพ. ที่เราได้บริจาคร่างกายไว้
ถ้าทางรพ.ไม่ต้องการ ให้นำไปเผาที่วัด ไม่ต้องเก็บไว้
และไม่ต้องจัดพิธีใดๆทั้งสิ้น

กับทางบ้าน ได้บอกน้องไว้แล้วว่า
ถ้าเราไม่ตื่น ให้เจ้านายโทรฯบอกน้องสาวด้วย
แล้วทางบ้าน ไม่ต้องทำอะไรกับร่างของเรา
เราบอกน้องสาวไว้หมดแล้ว

.

เจ้านายเคยชิมลาง สภาวะจิตดวงสุดท้าย ๑ ครั้ง
แต่ไม่ผ่าน เพราะยังไม่มีความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด
จึงเกิดความหวาดเสียว ต่อสภาวะที่มีเกิดขึ้น
(ยืนอยู่ปากเหว)

เขาถามว่า อีกนานไหม กว่าจะมีเกิดขึ้นอีก
เราบอกว่า เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย กำหนดเวลาไม่ได้หรอก

.

ครั้งแรก ที่เราเจอสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)
คงต้องดูในบันทึก เพราะจำไม่ได้
แต่จดจำสภาวะได้ดี

เป็นครั้งแรก ที่รู้ชัดใน จิตดวงสุดท้าย ก่อนขาดใจตาย
อาการเหมือน คนจมน้ำตาย แล้วขาดอากาศหายใจ
เหมือนตายแล้ว เกิดใหม่ทันที

เป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัส ชีวิตแรกเกิด
ตอนที่ออกจากท้องแม่ คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยดูดออก
ที่รู้ชัด เพราะเคยทำงานอยู่ตึกสูติ รู้โดยอาชีพ
เมื่อมาเจอกับตนเอง จึงรู้ชัด

.

ครั้งที่สอง จำได้แม่นมาก
เป็นวันที่ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสวรรคต
13 ตค. 59

เป็นครั้งแรก ที่รู้ชัดในอาการของหัวใจวาย

รู้ชัดทุกขณะที่เกิดขึ้น เจ็บหัวใจมาก
ปลายเท้าสั่นระริก เหมือนปลาที่ถูกทุบหัว
สั่่นแบบนั้นเลย แล้วก็ขาดใจ

ในการตายครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า ตายแล้วไปไหน
ลมหายใจเฮือกสุดท้าย ระลึกถึงสิ่งใด
ไปเกิดตามนั้นทันที ๓๑ ภพภูมิ

บุคคลที่จะเชื่อว่า โลกนี้ โลกหน้ามีจริง
ก็ต่อเมื่อ ได้พบเจอกับตัวเอง จึงจะเชื่อแบบหมดใจ
นี่แหละ เป็นการตาย ก่อนที่จะตายจริง

.

สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร

คือ ความเห็นว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล
การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ บิดามีคุณ
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก

นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ

ความถือมั่นในขันธ์ ๕ ที่มีอยู่
และกิเลสที่มีอยู่

.

หากมีสติ รู้เท่าทันปัจจุบัน
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น จบลงที่ใจ

ที่ยังจบไม่ได้ เพราะยังรู้ไม่ทัน
เมื่อรู้ไม่ทัน จึงหลงกระทำตามกิเลสที่มีเกิดขึ้น
โดยมีตัณหา เป็นตัวหนุนนำ ให้เกิดการกระทำ

.

เมื่อตั้งสติ อดทน อดกลั้น กดข่มใจ
กำหนดรู้เนืองๆ ในเหตุปัจจัยที่มีอยู่

สิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมเกิดและดับ
ไปตามเหตุและปัจจัยของสิ่งๆนั้น

ที่ยังคงมีเกิดขึ้นอยู่
ล้วนเกิดจาก สติ ที่ยังมีไม่มากพอ
และปฏิบัติไม่อดทน ไม่ข่มใจในสมัยที่ควรข่ม

.

รู้ชัดในสมมุติ สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ต่างกับละคร
มีละครให้ดู ให้ศึกษา กลับไม่ดู ไม่ใส่ใจ
ดันลงไปร่วมเล่นละครด้วย
เหตุมี ผลย่อมมี

.

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ
เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง

เป็นผู้ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง
เผ็ดร้อน ไม่น่าชื่นใจ ไม่น่าพอใจ อาจปลงชีวิตเสียได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน ฯ

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เขาด่า ไม่ด่าตอบ
เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ

.

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้

.
ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู … ดมกลิ่นด้วยจมูก … ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย … รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้

ย่อมรักษามนินทรีย์
ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ … ฟังเสียงด้วยหู … สูดกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น … ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ ฯ

มีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ
งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่

.

มรณสัญญา หมายถึง ปรารภความตายเนืองๆ
เหตุปัจจัยจาก ความเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
และเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

.

สภาวะนี้ เป็นตัวแปรของทุกๆสภาวะที่ปฏิบัติทุกๆรูปแบบ
ซึ่งเคยมีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ภิกษุเกิดนิพพิทากล้า ฆ่าตัวตาย และวานให้ผู้อื่นฆ่าตน

ขณะฆ่าตัวตายหรือขณะที่โดนผู้อื่นปลิดชีวิต

ชั่วขณะจิตนั้น เป็นเรื่องของ สภาวะจิตดวงสุดท้าย
หรือวิโมกข์ ๓ ที่เคยเขียนไว้

บุคคลทั่วไปและบุคคลที่ทำความเพียร
เจอสภาวะนี้เหมือนกันหมด

เพียงแต่ปถุชนไม่ได้สดับ
ไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

และบุคคลที่ได้สดับและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
แต่การทำความเพียร ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เมื่อไม่เบื่อหน่าย ย่อมไม่คลายกำหนัด
จิตย่อมไม่หลุดพ้น

.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว
ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น

ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว ความกลัว
ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น

สถานี B voice เป็นชื่อสถานีที่เจ้านายตั้งขึ้นเอง

.

เป็นการบันทึกเสียงอ่านของเขา
เกี่ยวกับสภาวะต่างๆที่เราได้เขียนอธิบายไว้ รวมทั้งพระสูตร
สลับการเปิดเพลงคั่นเป็นระยะๆ ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการฟัง

เราแซวว่า กลัวเราจะไปไวหรือไง ถึงได้รีบบันทึก
เจ้านายหัวเราะ

เราบอกว่า สงสัยตรงไหนถามได้นะ
บางสภาวะมันยากที่จะเขียนอธิบาย
แต่ถ้าพูดให้ฟังตรงๆ อาจจะเข้าใจได้มากกว่า

.

สิ่งที่ถูกรู้หรือสัญญาต่างๆนี่ ยังไม่หมดนะ
มีมาเรื่อยๆ มีเกิดขึ้นเป็นระยะๆ บางทีก็เบื่อเหมือนกัน
ไม่พิจรณาก็ไม่ได้ มันจะผุดขึ้นมาตลอด
พอพิจรณา จะค่อยๆเบาบางลงไปเอง

.

ถึงอย่างไรก็ตาม การที่รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ
จิตจะไม่ค่อยมีแล่บหรือแว่บออกไปข้างนอก
มีแต่การคิดพิจรณา ทบทวนสภาวะต่างๆ
นอกตัว เมื่อไม่ไปข้องเกี่ยว เหตุไม่มี ผลจะมาจากไหน
ฉะนั้น จึงไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ สันโดษ มักน้อย

.
การอยู่กับตัวเอง การรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ
จิตมักเกิดการพิจรณาถึงเหตุปัจจัยที่มีอยู่
ความรู้สึกบีบคั้น ความทนอยู่ได้ยาก
เป็นปัจจัยให้ นิพพิทา มีเกิดขึ้นเนืองๆ
ตั้งท่าจะตายท่าเดียว ไม่เอาอะไรอีกแล้ว

.

มรณาสัญญา ที่ตั้งไว้อยู่ภายในดีแล้ว
สภาวะนิพพิทาย่อมมีเกิดขึ้นเนืองๆ

การเพียรเพื่อละเหตุปัจจัยที่มีอยู่
เพราะเบื่อหน่าย ย่อมคลายความกำหนัด
และผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง เป็นเหตุปัจจัย
จึงไม่ต้องใช้เรี่ยวแรงกดข่มใจเหมือนในตอนแรกๆ

ถามจ้านายว่า แรกๆปฏิบัติ ทำไมต้องอาศัยรูปแบบ

เจ้านายตอบว่า เพราะจิตไม่มีที่เกาะ ต้องหาสิ่งที่ทำให้จิตมีที่เกาะ

เราบอกว่า เพราะความไม่รู้ไง

เจ้านายหัวเราะ พร้อมกับบอกว่า ใช่

.

เมื่อจิตเป็นสมาธิเนืองๆ ตั้งแต่ลืมตา
จนกระทั่งเวลานอน คำว่า หลับ ไม่มีเกิดขึ้นอีก
นอนสักแต่ว่านอน เป็นเพียงกิริยาภายนอก

.

ความรู้ชัด ของลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ก่อนจิตเกิดเป็นสมาธิ
จิตกำลังเป็นสมาธิ
สิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
และอาการจางคลายของกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น

.

เมื่อมาถึงจุดๆนี้ ไม่ต้องอาศัยรูปแบบหรือวิธีการ
ไม่มีความพยายามใดๆ เพื่อทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เป็นสมาธิ ที่เป็นไทจากตัณหา

กล่าวคือ เป็นสมาธิ ที่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย
ไม่ต้องใช้ความพยาม เพื่อให้จิตตั้งมั่น
ไม่ต้องใช้ความเพียรข่มห้ามกิเลส

.

ทุกๆการเคลือนไหวของกาย และใจที่รู้อยู่
ล้วนเป็นการทำความเพียร

เป็นการรู้ปกติ
โดยไม่ต้องเจาะจงหรือพยายามที่จะรู้

ผัสสะเกิด กระทบปุ๊บ รู้ชัดทันที

การกระทำทุกอย่าง ล้วนเกื้อหนุนให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
แม้แต่ในอิริยาบทนอน ก็มีสัปปายะเกื้อหนุนเช่นกัน

.

การรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ตั้งแต่ก่อนเกิด กำลังเกิด และดับไป
ทำให้เกิดการทำความเพียร 24 ชม.

.

เวลานอน ไม่ได้นอนพื้น ไม่ได้นอนเตียง
ที่นอน เป็นโซฟาปรับเอนนอนได้ ตามการทิ้งตัว
ก่อนนอนทุกคืน จิตเป็นสมาธิ จนกระทั่งดับไป
ปัจจุบัน เกิดความรู้ชัดยิ่งกว่าเมื่อก่อน

.

เดี๋ยวนี้ เวลาทำสมาธิ จะดูใจเป็นหลัก
เมื่อมีความหน่วงเกิดขึ้น อาการคล้ายๆง่วงนอน แต่ไม่ได้ง่วง
จะทำสมาธิในตอนที่ความหน่วงแห่งจิตมีเกิดขึ้น
ขณะหลับตาลง โอภาสเกิดทุกครั้ง

.

การเจริญสมถะและวิปัสสนา
เพื่อละเหตุแห่งทุกข์

การทำความเพียรในอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน(ทำกรรมฐาน)
และการสำรวม สังวรระวัง ความรู้สึกนึกคิด
ที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะ เป็นปัจจัย(ในแต่ละขณะ)

ทั้งสองอย่างนี้ ต่างฝ่ายเกือหนุนซึ่งกันและกัน
การกำหนดรู้ในผัสสะเนืองๆ และผลของการกำหนดรู้ผัสสะ
ทำให้นิวรณ์ต่างๆไม่ค่อยมี
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ

.
การที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ
ย่อมเห็นตามความเป็นจริง

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

.
ไม่เที่ยง
แปรปรวนตามเหตุและปัจจัย(กรรมและการให้ผลของกรรม)

.
เป็นทุกข์
เพราะถือมั่น(อุปทานขันธ์ ๕)

.

อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน
เกิดเพราะเหตุ(เหตุปัจจัยที่มีอยู่)
ดับเพราะเหตุ(ไม่สานต่อ)
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)

.

สมาธิสูตร

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
รู้อะไรตามความเป็นจริง

.
รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง

รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ

รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริว่ามโนวิญญาณไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง

รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง ฯ

จบสูตรที่ ๖

กงล้อของเวลา
เวลาเคลื่อน ใจไม่เคลื่อน ตามเวลา

เช้านี้ เล่าให้เจ้านายฟังว่า ตั้งแต่รู้ชัดในความตาย(ครั้งที่ 2)
ใจมันแปลกนะ มันไม่เหมือนเมื่อก่อน รู้สึกชัดมากๆ

ใจแนบแน่นกับความเพียร 24 ชม.
ไม่มีคำว่ากลางวันและกลางคืน
ไม่มีการแยกจากกันว่า
นี่คือกลางวัน
นี่คือกลางคืน

.

เหตุปัจจัยจาก ความรู้ชัดว่า จิตเป็นสมาธิ และจิตไม่เป็นสมาธิ
รู้ชัด ขณะจิตเป็นสมาธิ และจิตที่เป็นสมาธิ มีเกิดขึ้นเนืองๆ

การนอน ไม่ต่างกับการทำความเพียรในกลางวัน
ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นเหมือนกันเป๊ะๆ
รู้ชัดขณะจิตเป็นสมาธิ และดับลงไป
จะไม่มีคำเรียกต่างๆเช่น ฌานนั่นนี่
เพราะจิตละบัญญัติเหล่านั้นขาดแล้ว
(หลังสภาวะจิตดวงสุดท้าย/ความตาย ครั้งที่2)

เพราะไม่ถือมั่น เกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ ขณะจิตเป็นสมาธิ
และสิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
รู้ชัดในท่ามกลางระหว่างการมาและการไป

เป็นปัจจัยให้ ไม่มีความถือมั่น ในรูปภพและอรูปภพ
(สิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ)

กล่าวคือ รูปภพและอรูปภพ ละขาดแล้ว

.

เกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
เพียรละเนืองๆ มากกว่าสานต่อ

.

เมื่อพยายามหยุดมากกว่าสานต่อ
เป็นปัจจัยให้เกิดความสงบ ระงับ
เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ชัด

ไม่เที่ยง ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
(แปรปรวนตามเหตุและปัจจัย)

เป็นทุกข์ ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
(ความบีบคั้น ความทนอยู่ได้ยาก)

เป็นอนัตตา ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
(เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ โดยตัวสภาวะเอง
ไม่ใช่จากใครหรืออะไร ดลบันดาลให้มีเกิดขึ้นหรือให้ดับหายไป)

.

เป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่าย
ทั้งเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และภพชาติของการเกิด
จิตย่อมถ่ายถอนอุปทานขันธ์ 5 ที่มีอยู่

เมื่อความเบื่อหน่ายมีเกิดขึ้นเนืองๆ
ในเหตุปัจจัยและภพชาติของการเกิด
มรณาสัญญา ย่อมมีเกิดขึ้นเนืองๆ

สภาวะจิตดวงสุดท้ายก่อนหมดลมหายใจ/ความตาย
หรือที่เรียกว่า วิโมกข์ 3

เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ชัดในลักษณะอาการของ
ขันธ์ 5 และอุปทานขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
และความถือมั่นใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เป็นคำตอบของภพชาติการเกิดที่ยังมีอยู่
เมื่อถือมั่น จึงเกิดความสะดุ้งหวาดเสียว และกลัวตาย

—–

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงความสะดุ้งหวาดเสียว
เพราะอุปาทานแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น
กระทำไว้ในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน
เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในโลกนี้บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง
ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า

ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

เขาย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง
ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งตน ว่ามีรูปบ้าง
ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งรูป ว่ามีอยู่ในตนบ้าง
ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง
แต่รูปนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นโดยประการอื่นแก่เขา

วิญญาณของเขา
ก็เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามความแปรปรวนของรูป
เพราะความแปรปรวนของรูป ไ
ด้มีโดยประการอื่น

ความเกิดขึ้นแห่งธรรม
เป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว อันเกิดมาจาก
การเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป
ย่อมครอบงำจิตของเขา ตั้งอยู่

เพราะความที่จิตถูกครอบงำ
ด้วยธรรมเป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว
เขาก็เป็นผู้หวาดสะดุ้ง คับแค้น พะว้าพะวัง
และสะดุ้งหวาดเสียวอยู่ด้วยอุปาทาน

(ในกรณีที่เกี่ยวกับเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ก็มีข้อความที่ตรัสเหมือนกับในกรณีแห่งรูป)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน
ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล

.

.

ผู้ที่ไม่มีความสะดุ้งหวาดกลัว ไม่กลัวตาย
เกิดจาก ผู้ที่ปรารถนาความตายเนืองๆ
เพราะเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยและภพชาติการเกิด
ซึ่งมีเกิดขึ้นเนืองๆ

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
ด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก

จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต

อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้

ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่
ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว

สังโยชน์กิเลสกับจิตใต้สำนึก

.

วันนี้มีภาพเรื่องราวต่างๆ ปรากฏขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธนั้น
ในภาพนั้นเราเป็นผู้หญิง เป็นผู้ที่มีอทิธิฤทิธิ์มากมาย ใครๆก็สู้ไม่ได้
ไม่ขอเล่ารายละเอียดต่างๆ

สภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นเรื่องของ ความยินดีพอใจในผัสสะ(กามภพ)
รูป รส กลิ่น เสียง โผฏทัพพะ ธรรมารมณ์

ในนิมิตนั้น เหมือนเรื่องราวมีเกิดขึ้นจริง
แต่ท้ายสุด จิตกลับมีการคิดพิจรณาว่า
วังวนนี้ยืดยาวจริง ไม่ขออยู่ในวังวนนี้อีก
แล้วกลับมารู้ที่กาย

.

สภาวะจิตใต้สำนึก เป็นอะไรที่อธิบายได้ยาก
ที่แน่ๆ นิมิตช่วงหลังๆ ใจมันเป็นเป็นแบบนี้ “ไม่เอา”
เป็นการตอกย้ำชัดๆว่า จะลืมตา หรือหลับตา
สภาวะ “ไม่เอา” ชัดมากขึ้น

มีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก

มีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ
งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่

.

มรณสัญญา หมายถึง ปรารภความตายเนืองๆ
เหตุปัจจัยจาก ความเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
และความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

.

สภาวะนี้ เป็นตัวแปรของทุกๆสภาวะที่ปฏิบัติทุกๆรูปแบบ
ซึ่งเคยมีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ภิกษุเกิดนิพพิทากล้า ฆ่าตัวตาย และวานให้ผู้อื่นฆ่าตน

ขณะฆ่าตัวตายหรือขณะที่โดนผู้อื่นปลิดชีวิต

ชั่วขณะจิตนั้น เป็นเรื่องของ สภาวะจิตดวงสุดท้าย
หรือวิโมกข์ ๓ ที่เคยเขียนไว้

บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ทำความเพียร และบุคคลที่ทำความเพียรทุกรูปแบบ
เจอสภาวะนี้เหมือนกันหมด

เพียงแต่ปถุชนไม่ได้สดับ
ไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

และบุคคลที่ได้สดับและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
แต่การทำความเพียร ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

เมื่อไม่เบื่อหน่าย ย่อมไม่คลายกำหนัด
จิตย่อมไม่หลุดพ้น

“บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว
ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น

ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว ความกลัว
ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น”

Previous Older Entries

กรกฎาคม 2017
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31  

คลังเก็บ