พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่และพระอรหันต์

พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่และพระอรหันต์
เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ
ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
โดยเฉพาะสมาธินทรีย์

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
คำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์
ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
ได้แก่ พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุตติ


๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)
[๘๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา
ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๘๕๔] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกรอุตตระ
ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ

อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ

พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ

อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียง ด้วยโสต ฯ

พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์
ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก
เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ
คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ

[๘๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์
นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์
ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯ

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต
เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์
อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ
ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์
ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น
เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้
ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น
ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก
เหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

[๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น
เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้
ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น
ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก
เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น
ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต
อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

[๘๕๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้
ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น
ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก
เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น
ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ
อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

[๘๕๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้
ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียดประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก
เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น
ดูกรอานนท์นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา
อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

[๘๖๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้
ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก
เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น
ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย
อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

[๘๖๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ เกิดทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้
ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากอย่างนี้
เหมือนบุรุษมีกำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน
ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็วทีเดียว ฉะนั้น
ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์
ที่รู้ได้ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์
อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

[๘๖๒] ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชัง
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น
เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะได้ยินเสียง
ด้วยโสต …
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ …
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา …
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน …
เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชัง
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ ฯ

[๘๖๓] ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น
เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ฯ

[๘๖๔] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต …
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ …
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา …
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ

[๘๖๕] ดูกรอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ
แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่
แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
ด้วยประการฉะนี้แล

ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ

ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน
อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล ฯ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เขียนให้ถูกต้อง ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย

อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
ป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต
ผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว

อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส

ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
ได้แก่ ละภวตัณหา(สิ้นภวสังโยชน์)

๑๒. ทิฏฐิสูตร
[๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อันทิฐิ ๒ อย่างพัวพันแล้ว
บางพวกย่อมติดอยู่
บางพวกย่อมแล่นเลยไป
ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ
เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ
จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป
ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
บางพวกย่อมติดอยู่อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไรเล่า
ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล
ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า เมื่อใด ตนนี้
เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ
เบื้องแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก
นี้ละเอียดนี้ประณีต นี้ถ่องแท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้วในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ย่อมน้อมไปในนิพพานตามความเป็นจริง
เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป

ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้
ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ภพใหม่
เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

คำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
ได้แก่ พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุตติ

คำว่า เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ได้แก่ สมาธินทรีย์ ไม่เสื่อม

ถ้าไม่เข้าใจ ให้อ่านในพระสูตร ๔. ปัญญาสูตร
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

๔. ปัญญาสูตร
[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว
เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน
ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล
เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก
ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป
เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา
โลกพร้อมด้วยเทวโลก
ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง

ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ
ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง
ได้แก่ เป็นเพียงบัญญัติ พยัญชนะ ตัวอักษร

คำว่า ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
ได้แก่

เห็นความเกิดและความดับในรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

เห็นความเกิดและความดับในรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะกำลังเดินจงกรม

เห็นความเกิดและความดับในรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิมุตติปรากฏตามจริง ครั้งที่ ๑
วิชชา ๑
แจ้งอริยสัจ ๔ ปรากฏตามจริง

วิมุตติปรากฏตามจริง ครั้งที่
วิชชา ๒
ภวตัณหาหมดสิ้นไป(สิ้นภวสังโยชน์)

วิมุตติปรากฏตามจริง ครั้งที่ ๓
วิชชา ๓
วิมุตติญาณทัสสนะ ปรากฏตามจริง

“เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น”
ได้แก่
ละกามฉันทะ
ละกามตัณหา
ละภวตัณหา
ละวิภวตัณหา

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

แปลผิด ตีความผิด ทำให้เขียนไม่ตรงสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

๗. ธาตุสูตร
[๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้

๒ ประการเป็นไฉน
คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ นี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต
ผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว

อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส

ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


แปลผิด ตีความผิด ทำให้ขียนไม่ตรงสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

ฉบับมหาจุฬาฯ
๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป
ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น
เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้นั่นแลของภิกษุนั้น
อันตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้ต่อไปแล้ว จักระงับดับสนิท

ภิกษุทั้งหลาย สภาวะดังกล่าวนี้
เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ตถาคตผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงอิงอาศัยสิ่งใดๆ ผู้คงที่
ทรงประกาศนิพพานธาตุไว้ ๒ ประการนี้ คือ
นิพพานธาตุประการหนึ่ง
เป็นสภาวะมีให้เห็นในอัตภาพนี้
ชื่อว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาที่นำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุอีกประการหนึ่ง
เป็นสภาวะมีในภายภาคหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายได้โดยสิ้นเชิง

ชนทั้งหลายผู้รู้ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนี้แล้ว
มีจิตหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ
ยินดียิ่งในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส
เพราะบรรลุธรรมเป็นสาระ
เป็นผู้คงที่ ละภพทั้งปวงได้

แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล

= อธิบาย =

“เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป”

คำว่า อินทรีย์ ๕ ในที่นี้
ได้แก่ ยังมีชีวิตอยู่

ฉันทราคะ

ฉันทราคะ


คำว่า ฉันทราคะ
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทาน

ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน
ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา
โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน
ย่อมเห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญา
โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน
ย่อมเห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขาร
โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน
ย่อมเห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป
ไม่เห็นรูปในตน
หรือไม่เห็นตนในรูป

ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา
ไม่เห็นเวทนาในตน
หรือไม่เห็นตนในเวทนา

ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสัญญา
ไม่เห็นสัญญาในตน
หรือไม่เห็นตนในสัญญา

ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสังขาร
ไม่เห็นสังขารมีในตน
หรือไม่เห็นตนในสังขาร

ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน
หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.

= อธิบาย =

การสดับธรรม
ทำให้ละวิจิกิจฉาที่มีอยู่ ให้บรรเทาลง
ทำให้ละพยาบาทที่มีอยู่ ให้บรรเทาลง

ศึกษาในสีลปาริสุทธิ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม

กามุปาทาน

กามุปาทาน มีเกิดขึ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มี ๔ ประเภท
ได้แก่
กามฉันทะ
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

กามฉันทะ
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
การละกามฉันทะ
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง(วิมุตติ)
มีเกิดขึ้น ๓ ครั้ง
โสดาปัตติผล(วิชชา ๑)
อนาคามิผล(วิชชา ๒)
อรหัตผล(วิชชา ๓)

กามตัณหา
การละกามตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่ละกามตัณหาลงไปได้
คือ
กายสักขี
ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุต

ละราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
คือ พระสกทาคามี

ภวตัณหา
การละภวตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่ละภวตัณหาลงไปได้
คือพระอนาคามี(วิชชา ๒)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค)
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ปัญญาวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้รูปฌานฌาณ)
อุภโตวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้อรูปฌาณ)

วิภวตัณหา
การละวิภวตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่ละวิภวตัณหาลงไปได้
คือ พระอรหันต์(วิชชา ๓)
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ปัญญาวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้รูปฌาณ)
อุภโตวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้อรูปฌาณ)

= อธิบาย =

ก่อนจะเป็นพระอรหันต์(วิชชา ๓)
ต้องผ่านสภาวะต่างๆที่ละขั้น
จนถึงวิภวตัณหา ท้ายที่สุด

พระอรหันต์

คำว่าพระอรหันต์
ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ประเภทสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
คือความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
คือดับเฉพาะตน บางครั้งไม่สามารถอธิบายปริยัติได้

หากใครได้อ่านที่เราได้อธิบายวิชชา ๑ วิชชา ๒ วิชชา ๓
จะเข้าใจเกี่ยวกับพระอรหันต์ มี ๒ ประเภท
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ(วิชชา๒)และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุผวิชชา ๓)
ผู้ที่มีความรู้สูงสุด(ปัญญา)ได้แก่พระอรหันต์ที่ได้วิชชา ๓
เพราะวิมุตติญาณทัสสนะมีปรากฏตามจริง
จะทำให้รู้ชัดในพระธรรมต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก


ในประโยค ป.ธ. ๓
พระธรรมบทภาค ๑ เรื่อง ภิกษุสองสหาย
มีใจความเล่าว่า
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวันกรุงสาวัตถี
ทรงปรารภภิกษุสองสหายได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 19 และพระคาถาที่ 20 นี้

ครั้งหนึ่งมีภิกษุสองรูปเป็นสหายกันจากตระกูลคฤหบดีในกรุงสาวัตถี
ในภิกษุสองรูปนี้รูปหนึ่งศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฏก
จนมีความเชี่ยวชาญสามารถท่องจำความในพระคัมภีร์ต่างๆได้มากมาย
ท่านรูปนี้ยังได้สอนพระภิกษุอื่นอีกเป็นจำนวน 500 รูป
และยังได้เป็นผู้แนะนำภิกษุอื่นๆอีก 18 กลุ่มด้วยกัน

ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่งนั้นมีความขยันหมั่นเพียร
ตามแนวทางของวิปัสสนากัมมัฏฐานจนได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

ครั้งหนึ่งเมื่อพระภิกษุรูปที่สองนี้มาเฝ้าพระศาสดาที่วัดพระเชตวัน
พระภิกษุทั้งสองรูปนี้ก็ได้มาพบกัน
พระภิกษุรูปที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
ไม่ทราบว่าพระภิกษุอีกรูปหนึ่งได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว
จึงดูหมิ่นพระภิกษุรูปที่เป็นพระอรหันต์โดยคิดว่าท่านเป็นพระภิกษุชรา
รู้เรื่องคัมภีร์ต่างๆแต่เพียงเล็กน้อย ไม่ความรู้เรื่องนิกายต่างๆสักนิกาย
หรือไม่มีความรู้เรื่องในปิฎกใดปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก
ดังนั้นท่านจึงคิดที่จะถามปัญหากับพระภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ให้เกิดความอับอาย

พระศาสดาทรงทราบเจตนาที่เป็นอกุศลของพระภิกษุผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
และพระองค์ยังทรงทราบด้วยว่า
จากผลของการสร้างความลำบากให้แก่พระภิกษุรูปที่พระอรหันต์
จะทำให้พระภิกษุผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกไปเกิดในนรกได้

ดังนั้นพระศาสดาทรงมีพระกรุณาต่อพระภิกษุผู้คงแก่เรียน
จึงได้เสด็จไปหาพระภิกษุทั้งสองรูปนั้นเพื่อป้องกัน
มิให้พระภิกษุรูปที่คงแก่เรียนถามปัญหาพระภิกษุรูปที่เป็นพระอรหันต์
พระศาสดาจึงได้ทรงตรัสถามปัญหาเสียเอง
โดยได้ตรัสถามปัญหาที่เกี่ยวกับฌานต่างๆ
และมรรคต่างๆกับพระภิกษุรูปที่คงแก่เรียนที่ชำนาญในพระไตรปิฎก
พระภิกษุรูปนี้ไม่สามารถตอบปัญหาของพระศาสดาได้
เพราะตนไม่เคยนำสิ่งที่ตนสอนมาปฏิบัติ

สำหรับกับพระรูปที่เป็นพระอรหันต์นั้น
ท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ท่านสามารถตอบคำถามของพระศาสดาได้ทุกข้อ
พระศาสดาทรงยกย่องพระที่ปฏิบัติธรรมะ
แต่ไม่ทรงยกย่องพระที่คงแก่เรียน

พวกพระที่เป็นสัทธิวิหาริกไม่เข้าใจสาเหตุที่พระศาสดา
ทรงยกย่องพระภิกษุชราที่เป็นพระอรหันต์
แต่ไม่ยกย่องพระภิกษุที่คงแก่เรียน
พระศาสดาได้ทรงอธิบายเรื่องนี้แก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
พระภิกษุคงแก่เรียนที่รู้มากแต่ไม่ปฏิบัติตามธรรมะนั้น
ก็เหมือนกับคนเลี้ยงโค คอยแต่เลี้ยงโคเพื่อรับค่าจ้าง

ในขณะที่พระที่ปฏิบัติธรรมนั้นเหมือนกับเจ้าของโค
ที่ได้เสวยผลของผลิตผลห้าอย่างของโค

ส่วนพระภิกษุสายปฏิบัติธรรมนั้น แม้ว่าจะมีความรู้น้อยและท่องจำพระคัมภีร์ได้น้อย
แต่สามารถเข้าใจแก่นแท้ของธรรมะและนำไปปฏิบัติอย่างมุมานะขยันหมั่นเพียร
จึงได้ชื่อว่า “อนุธัมมจารี”(ผู้ปฏิบัติตามธรรม)
สามารถขจัดราคะ โทสะ และโมหะได้
จิตของท่านจึงปลอดพ้นจากตัณหานุสัย
และความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
ท่านจึงเป็นผู้ได้เสวยผลประโยชน์ของมรรคและผลจริงๆ

จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท
พระคาถาที่ 19 และพระคาถาที่ 20 ดังนี้
พหุ ปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ

คนที่ได้แต่ท่องจำตำราได้มาก
แต่มัวประมาท ไม่ปฏิบัติตามคำสอน
ย่อมไม่ได้รับผลที่ควรจะได้จากการบวช
เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา.

อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ

คนที่ท่องจำตำราได้น้อย แต่ประพฤติตามธรรม
ละราคะ โทสะ โมหะได้
รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น
ไม่ยึดมั่นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เขาย่อมได้รับผลของการบวช.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมากบรรลุพระโสดาบันป็นต้น
พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่มหาชน.

= อธิบาย =

คำว่า ชนเป็นอันมากบรรลุพระโสดาบันป็นต้น
ได้แก่ สิ้นสงสัย


ได้อ่านเรื่องพระธรรมบทภาค ๑ เรื่อง ภิกษุสองสหาย
ทำให้นึกถึงพระสูตรเกี่ยวกับพระอรหันต์ ๔ ประเภท
พระอรหันต์ปัญญาวิมุตติและอุภโตวิมุตติ
ที่เป็นพระอรหันต์ประเภทสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

กึสุกสูตร
[๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่
ครั้นแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
เหตุเกิดและความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล

ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
เหตุเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล

ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
เหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล

ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ

[๓๔๐] ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส
ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่าดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว
ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
เหตุเกิดและความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล

ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว
ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
เหตุเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล

ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว
ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
เหตุเกิดและความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล

ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว
ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล

ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว
บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้
ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล

บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ
ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล

บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก
ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล

บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร
ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการใดๆ
เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ

[๓๔๒] ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชา
เป็นเมืองที่มั่นคง
มีกำแพงและเชิงเทิน
มีประตู ๖ ประตู
นายประตูเมืองนั้นเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตนรู้จักเข้าไปในเมืองนั้น
ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา
พึงถามนายประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน
นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล
ราชทูตคู่นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มาแล้ว
ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัศจิม…
ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศอุดร…
ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ
แล้วถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน
นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล
ราชทูตคู่หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตามที่มาแล้ว

ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง
ก็ในอุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้

คำว่าเมือง
เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔
ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด
เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด
มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์
มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา

คำว่าประตู ๖ ประตู
เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖

คำว่านายประตู
เป็นชื่อของสติ

คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน
เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา

คำว่าเจ้าเมือง
เป็นชื่อของวิญญาณ

คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง
เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง
เป็นชื่อของนิพพาน

คำว่าทางตามที่มาแล้ว
เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

= อธิบาย =

ได้อ่านอรรกถาจารย์อธิบายไว้
“ฝ่ายภิกษุรูปที่ถามนี้ก็ยังไม่พอใจ
ด้วยคิดว่า คำพูดของภิกษุเหล่านี้เข้ากันไม่ได้ (เพราะ)
ภิกษุรูปที่ ๑ ดำรงอยู่ในสปเทสสังขารกล่าว
ภิกษุรูปที่ ๒ ดำรงอยู่ในนิปปเทสสังขารกล่าว
ภิกษุรูปที่ ๓ ก็เหมือนเดิม คือดำรงอยู่ในสปเทสสังขารกล่าว
(ฝ่าย) ภิกษุรูปที่ ๔ ก็ดำรงอยู่ในนิปปเทสสังขารเช่นกันกล่าว
จึงได้เรียนถามภิกษุนั้นว่า ผู้มีอายุ นิพพานซึ่งมีทัสสนะอันบริสุทธิ์นี้
ท่านรู้ได้ตามธรรมดาของตน หรือว่าใครหนอท่าน.

ภิกษุนั้นก็ตอบว่า ผู้มีอายุ พวกผมจะรู้อะไร
แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ในโลกกับทั้งเทวโลก
พวกผมอาศัยพระองค์จึงรู้พระนิพพานนั้น.

ภิกษุรูปที่ถามนั้นคิดว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่สามารถบอกให้ถูกอัธยาศัยของเราได้
เราเองจะไปทูลถามพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะหมดความสงสัย ดังนี้แล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ”

ตรงคำเรียกว่า สปเทสสังขาและนิปปเทสสังขาร
เสริชหา ไม่มีอธิบายตัวสภาวะของคำเรียก
มีแต่อธิบายไว้ว่า
สังขารบางส่วนคือสปเทสสังขา
สังขารที่ไม่มีส่วนเหลือนิปปเทสสังขาร

สำหรับความคิดของเรานั้น
อธิบายสอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
จะเข้าใจได้มากกว่าคือดูตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงเป็นหลัก

เห็นความเกิดและความดับ

ความสำคัญของการเห็นความเกิดและความดับ

เริ่มจากสิกขา ๓ และปฏิบัติตาม

สิกขาสูตรที่ ๑
[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้
๓ เป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา ๑
อธิจิตตสิกขา ๑
อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ


มหานามสูตร
สมบัติของอุบาสก
[๑๕๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหานามศากยราช
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าอุบาสก?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร
บุคคลผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
บุคคลจึงจะชื่อว่า เป็นอุบาสก.

[๑๕๙๑] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล?

พ. ดูกรมหาบพิตร
อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน
เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท
เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

[๑๕๙๒] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
อุบาสกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา?

พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้จำแนกธรรม
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.

[๑๕๙๓] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
อุบาสกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ?

พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกอยู่ครอบครองเรือน
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ.

[๑๕๙๔] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
อุบาสกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา?

พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุ
ให้ถึง(เห็น)ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
อุบาสกจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

= อธิบาย =

“ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ”

ได้แก่
เห็นความเกิดและความดับของรูปนาม
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

เห็นความเกิดและความดับของรูปนาม
มีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม มีทั้งหมด 6 ระยะ

เห็นความเกิดและความดับของรูปนาม
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน
รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า รูปนาม
ได้แก่ สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่
กล่าวโดยย่อ รูปนาม
รู้จักสมมุติก่อน ที่จะรู้จักปรมัตถ์


หากปฏิบัติดำเนินถูกต้อง ไม่ติดอุปกิเลส
ตัวสภาวะจะเป็นแบบนี้ ตามลำดับ
โสดาบัน
สกทาคามี
อนาคามี
อรหันต์

สิกขาสูตรที่ ๒
[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้
๓ เป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา ๑
อธิจิตตสิกขา ๑
อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ

ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง
มีปัญญา
เพ่งพินิจ
มีสติคุ้มครองอินทรีย์
พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ
ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา

เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น
ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น
เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น
เบื้องบนฉันใด เบื้องต่ำก็ฉันนั้น
ในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น
ในกลางคืนฉันใด ในกลางวันก็ฉันนั้น

ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักศึกษา
เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดี
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ
เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก
ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติ อันเป็นที่สิ้นตัณหา
ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรม
เพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ

= อธิบาย =

“ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหา”

คำว่า ตัณหาในที่นี้
ได้แก่ กามฉันทะ(ฉันทราคะ ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕)
มีเกิดขึ้น ๓ ครั้ง

“ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรม”
ได้แก่ หลุดพ้นจากการปรุง ด้วยไตรลักษณ์

“เพราะวิญญาณดับสนิท เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น”
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย


“ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง
มีปัญญา
เพ่งพินิจ
มีสติคุ้มครองอินทรีย์
พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ
ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา”

= อธิบาย =

๘. สัลลานสูตร
[๒๒๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม
ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม
ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง
คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว
มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
มีสติ
มีฌาน
ไม่มีความเพ่งเล็งในกามทั้งหลาย
ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท
มีปรกติเห็นภัยในความประมาท
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบ
ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

“ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม
ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด”

คำว่า ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ
ได้แก่ ทำกรรมฐานต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน
รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า มีฌานไม่เสื่อม
ได้แก่ ละความเสี่ยงที่ทำให้ฌานเสื่อม คือ
จงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น

คำว่า ประกอบด้วยวิปัสสนา
ได้แก่ การเห็นตามความเป็นจริงใน ผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

คำว่า พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด
ได้แก่ ปราศจากตัวตน เรา เขา
คือไม่นำตัวตนที่มีอยู่ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ

๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด
จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ
และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิดดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด
สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่
ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น
พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้
อนึ่ง ความไม่ยินดี อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้
อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว
เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นพระสกทาคามี
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง
พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่างประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้
คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


หากอินทรีย์เสื่อม เฉพาะสมาธินทรีย์มีเหตุให้เสื่อม

๔. ปัญญาสูตร
[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว
เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา
ชื่อว่าไม่เสื่อม
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน
ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล
เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก
ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป
เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา
โลกพร้อมด้วยเทวโลก
ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง

ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ
ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง
ได้แก่ เป็นเพียงบัญญัติ พยัญชนะ ตัวอักษร

คำว่า ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
ได้แก่

เห็นความเกิดและความดับของรูปนามตามจริง

มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน คือ
เห็นความเกิดและความดับของรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะกำลังเดินจงกรม

เห็นความเกิดและความดับของรูปนามตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน
รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

อริยสัจ ๔

วิมุตติญาณทัสสนะ(มีเกิดขึ้นขณะทำกาละ)

นิฏฐาสูตร
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น


มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติ หลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล
พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ … บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้
หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้
หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

วิมุตติญาณทัสสนะ(มีเกิดขึ้นขณะมีชีวิตอยู่)

เมื่อปฏิบัติได้วิชชา ๓ ตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏตามจริง
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้ใน ๖.วิมุตติสูตร

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ความรู้ ความเห็น ตามลำดับ มีเกิดขึ้นความตามจริง
พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ มีดังนี้


๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น
ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น
ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา
หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ


มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อสาปุคะในแคว้นโกฬิยะ
ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมากด้วยกัน
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

องค์ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือ
ศีล ๑
จิต ๑
ทิฐิ ๑
วิมุตติ ๑

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกสีลปาริสุทธิ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น
อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน…
ทุติยฌาน…
ตติยฌาน…
จตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังจิตตปาริสุทธิ
เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองจิตตปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่าทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังทิฏฐิปาริสุทธิ
เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองทิฏฐิปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน
อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
สีลปาริสุทธิ…
จิตตปาริสุทธิ…
ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว
ย่อมคลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง
ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุติ
นี้เรียกว่าวิมุตติปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล
อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ


โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กามโยคะ ๑
ภวโยคะ ๑
ทิฏฐิโยคะ ๑
อวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม
ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม
ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม
ความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม
และความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่ากามโยคะ

ก็ภวโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ
ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ
ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ
ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ
และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าภวโยคะ

ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงเพราะทิฐิ
และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ

ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ
บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก
มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการ เป็นไฉน คือ
ความพรากจากกามโยคะ ๑
ความพรากจากภวโยคะ ๑
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม
ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม
ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม
ความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม
ความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ

ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ
ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ
ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ
ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ
และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ

ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงในทิฐิ
และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ

ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ความพรากจากอวิชชาโยคะ
เป็นดังนี้
บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก
มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย
กามโยคะ
ภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร

ส่วนสัตว์เหล่าใด
กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ

ความพรากจากกามโยคะ ด้วยสีลปาริสุทธิ
ความพรากจากภวโยคะ ด้วยจิตตปาริสุทธิ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ด้วยทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ด้วยวิมุตติปาริสุทธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย
กามโยคะ
ภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร

ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ


= อธิบาย =

ความรู้ความเห็นนี้ มีเกิดขึ้นเฉพาะ
พระอรหันต์ปัญญาวิมุตติ(รูปฌาน)
และอุภโตวิมุตติ(อรูปฌาน)
ที่ปฏิบัติได้วิชชา ๓ เท่านั้น

๗. ธาตุสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


อริยสัจ ๔ รอบ ๑๖ อาการ

๔. ปริวัฏฏสูตร
ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔
[๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เพียงใด
ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบ
ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง
เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่ง
ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.


๖. พุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
[๑๒๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่น
รูป …
เวทนา …
สัญญา …
สังขาร …
วิญญาณ
เทวดาและมนุษย์ต่างพากันเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา หลุดพ้นแล้ว
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่น
รูป …
เวทนา …
สัญญา …
สังขาร …
วิญญาณ
เราเรียกว่า ผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.

[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในข้อนั้นจะมีอะไรเป็นข้อแปลกกัน
จะมีอะไรเป็นข้อประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน
จะมีอะไรเป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่าง
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน เป็นแบบฉบับ เป็นที่อิงอาศัย
ขอประทานพระวโรกาส ขออรรถแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคทีเดียวเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ยังประชุมชนให้รู้จักมรรคที่ใครๆ ไม่รู้จัก
บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง
ประกาศทางให้ปรากฏ ฉลาดในทาง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สาวกทั้งหลาย ในบัดนี้
เป็นผู้ที่ดำเนินไปตามทาง เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
อันนี้แล เป็นข้อแปลกกัน
อันนี้ เป็นข้อประสงค์ยิ่งกว่ากัน
อันนี้ เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่าง
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.


อังคสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑
ละพยาบาทได้แล้ว ๑
ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
บัณฑิตเรียกว่าผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ ฯ

กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว
ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์
ด้วยศีลอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ
และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ
ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ละองค์ ๕ สมบูรณ์แล้วด้วยองค์ ๕
ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้ ฯ


๕. สีลสูตร
[๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ
เป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรมได้อย่างดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
ว่ามีอุปการะมาก

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น
ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสนขันธ์
แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น
เรากล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง นำพวกไปบ้างละข้าศึก คือกิเลสบ้าง
กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอภาสบ้าง กระทำความรุ่งเรืองบ้าง
กระทำรัศมีบ้าง ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง มีจักษุบ้าง ดังนี้ ฯ

การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตนอันอบรมแล้ว
ผู้มีปรกติเป็นอยู่โดยธรรม
ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำซึ่งความปราโมทย์แก่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
บัณฑิตทั้งหลาย ฟังคำสอนของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ผู้กระทำรัศมี
ผู้กระทำแสงสว่าง
เป็นนักปราชญ์
ผู้มีจักษุ
ผู้ละข้าศึก คือกิเลส
ประกาศพระสัทธรรมยังสัตวโลกให้สว่าง
แล้วรู้โดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ฯ


๓. มหาโคปาลสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งนายโคบาลกับของภิกษุ
[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.

องค์ไม่เป็นเหตุให้เจริญ
[๓๘๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ
ไม่ควรจะครอบครองฝูงโค
ไม่ควรทำฝูงโคให้เจริญได้

องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาล ในโลกนี้
ไม่รู้จักรูป
ไม่ฉลาดในลักษณะ
ไม่คอยเขี่ยไข่ขัง
ไม่ปิดบังแผล
ไม่สุมควันให้
ไม่รู้จักท่า
ไม่รู้จักให้โคดื่ม
ไม่รู้จักทาง
ไม่ฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน
รีดน้ำนมมิได้เหลือไว้
ไม่บูชาโคที่เป็นพ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง
ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล
ไม่ควรจะครอบครองฝูงโค ไม่ควรทำฝูงโคให้เจริญได้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ
ก็ไม่ควรเพื่อจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้

องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่รู้จักรูป
ไม่ฉลาดในลักษณะ
ไม่คอยเขี่ยไข่ขัง
ไม่ปิดบังแผล
ไม่สุมควัน
ไม่รู้จักท่า
ไม่รู้จักดื่ม
ไม่รู้จักทาง
ไม่ฉลาดในสถานที่โคจร
รีดเสียหมดมิได้เหลือไว้
ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ
เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์
ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก.

[๓๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักรูปเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
รูปทั้งปวงมหาภูตรูปทั้ง ๔
และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักรูปเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย
บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่คอยเขี่ยไข่ขังเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมมีวินัยนี้

ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่
มิได้ละเสีย มิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ

ให้พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่
มิได้ละเสีย มิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ

ให้วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่
มิได้ละเสียมิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ

และให้เหล่าอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ทับถมอยู่
มิได้ละเสีย มิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่คอยเขี่ยไข่ขังเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ปิดบังแผลเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือโดยนิมิต ถือโดยอนุพยัญชนะ
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส

ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์
มีจักขุนทรีย์ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ
เธอไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น
ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น
ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น

ได้ยินเสียงด้วยโสต …
ดมกลิ่นด้วยฆานะ …
ลิ้มรสด้วยชิวหา …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ถือโดยนิมิต ถือโดยอนุพยัญชนะ
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส
ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมมนินทรีย์
มีมนินทรีย์ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ
เธอไม่ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น
ไม่รักษามนินทรีย์นั้น
ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ปิดบังแผลเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่สุมควันเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่แสดงธรรมตามที่ตน ได้ฟังตามที่ตนได้ศึกษามา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่สุมควันเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักท่าเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถาม กะภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ
เป็นพหูสูต เป็นผู้รู้หลัก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ตามกาลอันควรว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้ เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุนั้น จึงไม่เปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ
ไม่ทำข้อความที่ลึกให้ตื้น
ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
อันมีอย่างเป็นอเนกแก่ภิกษุนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักท่าเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักดื่มเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันใครๆ แสดงอยู่
ไม่ได้ความรู้ธรรม ไม่ได้ความรู้อรรถ
ไม่ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักดื่มเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักทางเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่รู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักทางเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ฉลาดในสถานที่โคจรเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่รู้ชัดในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตามเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ฉลาดในสถานที่โคจรเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรีดเสียหมดมิได้เหลือไว้เป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกคฤหบดีผู้มีศรัทธา ปวารณาภิกษุในธรรมวินัยนี้
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เพื่อให้รับตามปรารถนา ในการที่เขาปวารณานั้น
ภิกษุไม่รู้จักประมาณเพื่อจะรับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรีดเสียหมดมิได้เหลือไว้เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ
เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์
ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลาย
ที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก
เป็นบิดาสงฆ์เป็นผู้นำสงฆ์ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ
เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์
ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล
ไม่ควรเพื่อจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.

องค์เป็นเหตุให้เจริญ
[๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ
เป็นผู้ควรจะครอบครองฝูงโค
ควรทำฝูงโคให้เจริญได้.
องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้
รู้จักรูป
ฉลาดในลักษณะ
เป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขัง
ปิดบังแผล
สุมควันให้ รู้จักท่า
รู้จักให้โคดื่ม
รู้จักทาง
ฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน
รีดน้ำนมให้เหลือไว้
บูชาโคที่เป็นพ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง
ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบ
ด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้
เป็นผู้ควรจะครอบครองฝูงโค ควรทำฝูงโคให้เจริญได้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ
ก็ควรเพื่อจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้ องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้รู้จักรูป
ฉลาดในลักษณะ
คอยเขี่ยไข่ขัง
ปิดบังแผล
สุมควัน
รู้จักท่า
รู้จักดื่ม
รู้จักทาง
ฉลาดในสถานที่โคจร
รีดให้เหลือไว้
บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ
เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์
ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก.

[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
รูปทั้งปวง
มหาภูตรูปทั้ง ๔
และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย
บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขังเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่
ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้หมดไปให้ถึงความดับสูญ
ไม่ให้พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่ …
ไม่ให้วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่ …
ไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ทับถมอยู่
ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้หมดไป ให้ถึงความดับสูญ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่ขังเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ปิดบังแผลเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์
มีจักขุนทรีย์ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ
เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น รักษาจักขุนทรีย์นั้น
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต …
ดมกลิ่นด้วยฆานะ …
ลิ้มรสด้วยชิวหา …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัส
ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมมนินทรีย์
มีมนินทรีย์ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ
เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น รักษามนินทรีย์นั้นถึงความสำรวมในมนินทรีย์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปิดบังแผลเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สุมควันเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
แสดงธรรมตามที่ตนได้ฟัง ตามที่ตนได้ศึกษามา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สุมควันเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรู้จักท่าเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถาม กะภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ
เป็นพหูสูต เป็นผู้รู้หลัก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ตามกาลอันควรว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุนั้น จึงเปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ทำข้อความที่ลึกให้ตื้น
บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย อันมีอย่างเป็นอเนกแก่ภิกษุนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักท่าเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรู้จักดื่มเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันใครๆ แสดงอยู่
ย่อมได้ความรู้ธรรม ได้ความรู้อรรถ ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักดื่มเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักทางเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักทางเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุฉลาดในสถานที่โคจรเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตามเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉลาดในสถานที่โคจรเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รีดให้เหลือไว้เป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกคฤหบดีผู้มีศรัทธา ปวารณาภิกษุในธรรมวินัยนี้
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เพื่อให้รับตามปรารถนา ในการที่เขาปวารณานั้น
ภิกษุรู้จักประมาณเพื่อจะรับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รีดให้เหลือไว้เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู
มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในภิกษุทั้งหลาย
ที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู
มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล
ควรเพื่อจะถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

กุมภาพันธ์ 2022
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28  

คลังเก็บ