ความเกิด ความดับ เป็นอริยะ

คำว่า ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ได้แก่ รู้ชัดความเกิด ความดับในผัสสะ

  • ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

  • ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
    เห็นความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ(กายสักขี)

  • ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอนิมิตตเจโตสมาธิ(วิปัสสนา)
    เห็นความเกิดและความดับในรูปนาม เช่น กายแตกกายระเบิด ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกข์ อัตตา) ปรากฏ
    (หลุดพ้นด้วยปัญญา/อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

.

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้
มรรค ๔ เป็นไฉน

  • ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

  • อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
    สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
  • ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
    ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

ยิ่งรู้ ยิ่งไม่รู้

นับวัน ยิ่งไม่รู้ เพราะมีแต่ สภาวะ สัญญา

สภาวะปัญญา รู้ครั้งเดียว รู้แล้ว จบจริงๆ จบภพจบชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ นี่แค่ปัจจุบันชาติ ยังมีความสุขในการดำเนินชีวิตขนาดนี้

ถึงจะมีความสุขมากมายขนาดไหน ไม่ได้ทำให้หลงยึดติดอย่างไรเลย ในความสุข ความสบาย ความเบื่อหน่าย มักเกิดขึ้นเนืองๆ เบื่อสังขาร ธาตุขันธ์ ที่มีอยู่

เวลากินเสร็จ เมื่อขับถ่ายออกมา ยืนมองสิ่งที่ถูกขับถ่ายออกมา มองเห็นแต่ความเน่าเหม็น เห็นแค่นี้ ยังเหม็นขนาดนี้ ถ้าข้างใน จะเน่าขนาดไหน

จึงพยายามรักษาสุขภาพ กินในสิ่งที่ส่งเสริมสุขภาพ ให้แข็งแรง ฝึกเดินบันได ขึ้นให้ถึงชั้น ๑๕ ยังไม่เคยถึงเลย เหนื่อยมากๆ แต่ยังพยายามตลอด รู้สึกหัวเข่าดีขึ้น

เมื่อก่อน ความที่ว่า ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว ไม่ได้เดินขึ้นลงบันได เพียงระยะเวลา สองปี เห็นความผิดปกติ เวลาขึ้นบันได ต้องจับราวบันไดขึ้น เหมือนคนแก่ไม่มีผิด

บางครั้ง ไม่ต้องจับ แต่เวลาเดินขึ้น สังเกตุเห็นอยู่อย่าง คือ ตรงข้อเข่า เหมือนมันฝืนๆ ไม่ใช่ฝืด ต้องขึ้นแล้วหยุด แล้วค่อยยกขาอีกข้างขึ้น เดินขึ้นไวๆแบบก่อนๆไม่ได้

เมื่อก่อน เดินขึ้นลงบันได สบายมาก เพราะที่ทำงาน อยู่ชั้น ๒ ต้องเดินขึ้นลงทุกวัน ได้ออกกำลังเข่าทุกวัน

คุยกับรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาไม่เคยทิ้งการออกกำลังกาย เป็นแม่บ้านและทำงานประจำด้วย

เราคุยกันเรื่องงานซักรีด เขาบอกว่า เขาต้องซักรีดถึง ๔ คน มีลูกชายสอง สามี และตัวเขา

เวลาไปทำงาน เขาให้สามีขับรถส่งแค่ป้ายรถเมล์ แล้วเขาเดินต่ออีก ๒ ป้ายรถเมล์ กว่าจะถึงที่ทำงาน เกือบ ๓ ป้ายรถเมล์

การออกกำลังกาย เขาจะวิ่งรอบหมู่บ้าน ครั้งละ ๑ ชม. ขนาดลูกชายเขา ยังยกมือให้แม่ ตัวลูกชายเอง วิ่งไม่เท่าไหร่ ก็เหนื่อยแล้ว

สามีเขาทำงานอยู่การไฟฟ้า เราคุยกันเรื่องเกษียณกับเออรี่ เขาบอกว่า เลือกเกษียณดีกว่า เพราะยังเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตลอด เงินเดือน ก็ยังได้ตลอดทุกเดือน สามีเขา เงินเดือนแสนกว่าๆ

น้องคนนี้ ชอบเขานะ เขามีวิธีบริหารจัดการทุกอย่างในบ้าน ไหนจะลูก ไหนจะสามี ลูกเขาเรียนหนังสือเก่งทั้งสองคน มีทั้งแม่คอยติวให้ และให้เรียนพิเศษ คนหนึ่งเรียนหมอ คนหนึ่งเรียนวิศวะ

แต่ถ้าถามวลัยพรว่า ถ้าให้มีชีวิตแบบนั้น เอาไหม

ตอบได้ทันทีว่า ไม่เอา ไม่คิดหันหลังกลับไปทางโลกอีกแล้ว ทุกๆครั้ง ที่ผัสสะเกิด บางครั้งสติ ไม่ทัน เห็นเหตุของการเกิด ขนหัวลุกทันที สติไม่ทันอีกแล้วหนอ

ในเมื่อรู้ชัดในเหตุที่มีอยู่ จึงต้องหาเกราะกำบังให้กับตัวเอง โดยเลือกสถานที่ปฏิบัติ ที่มีสัปปายะที่เหมาะกับสภาวะของตนเอง ที่เป็นอยู่

๒๔ – ๒๕ มีค.๕๕ (รู้ซ้อนรู้)

๒๔ มีค.๕๕

นั่ง ๔ ชม.

วันครอบครัว

๒๕ มีค.๕๕ (รู้ซ้อนรู้)

สิ่งใดที่ให้ค่า นั่นแหละคือ สภาวะของรู้ซ้อนรู้ ล้วนเป็นเพียงสัญญา จึงมีแต่เหตุแล้วก็เหตุ เหตุมี ผลย่อมมี

ส่วนสภาวะรู้ รู้แล้วหยุด รู้แล้วจบ นั่นแหละคือ สภาวะปัญญาที่เกิดจากการเห็นตามความเป็นจริง รู้สักแต่ว่ารู้ เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ