นิวรณ์น้อยและสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์
เรียกว่า วิปัสสนา คือกำหนดรู้ผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

กำหนดเนืองๆ(ต่อเนื่อง) จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สภาวะที่มีเกิดขึ้นคือ วิปัสสนาญาณ(อนิมิตตเจโตสมาธิ)
ได้แก่ สิ่งที่มีเกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่ ปราศจากตัวตน(คำบัญญัติ) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

“เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า”
ได้แก่ วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์) มีเกิดขึ้นก่อน
สมถะ(สัมมาสมาธิ/วิปัสสนาญาณ) มีเกิดที่หลัง

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา


หลุดพ้นด้วยปัญญา

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

“ย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ รูปนาม

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป”
ได้แก่ ละอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) มีปรากฏ

“และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ วิโมกข์ ๓


สมิทธิสูตร
[๒๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระสมิทธิว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ท่านพระสมิทธิตอบว่า วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีนามรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ท่านผู้เจริญ ฯ
ส. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น ย่อมถึงความต่างกันในอะไร ฯ
ส. ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย ฯ
ส. มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง ฯ
ส. มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข ฯ
ส. มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่ ฯ
ส. มีสติเป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นยิ่ง ฯ
ส. มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น ฯ
ส. มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่หยั่งลง ฯ
ส. มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ท่านตอบว่า มีนามรูปเป็นอารมณ์
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นถึงความต่างกันในอะไร
ท่านตอบว่า ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย
ท่านตอบว่า มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง
ท่านตอบว่า มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข
ท่านตอบว่า มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่
ท่านตอบว่า มีสติเป็นใหญ่
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นยิ่ง
ท่านตอบว่า มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น
ท่านตอบว่า มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง
ท่านตอบว่า มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ

ดูกรท่านพระสมิทธิ ดีละ ดีละ เป็นการดีแล้ว ท่านอันเราถามปัญหาก็แก้ได้
แต่ท่านอย่าทะนงตน ด้วยการแก้ปัญหานั้น ฯ

นิวรณ์น้อยและสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


ทำกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ การเคลื่อนไหว กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า สมถะ

ใช้คำบริกรรมต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สามารถมีเกิดขึ้นในมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ในที่นี้พูดถึงเฉพาะ สัมมาสมาธิ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา


สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

กายสักขี

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

“อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ”
ได้แก่ เห็นความเกิด ความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป”
ได้แก่ ละอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) มีปรากฏ

“และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ วิโมกข์ ๓


ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๑
๑. โสณสูตร
[๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าชื่อ สีตะวัน ใกล้กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระโสณะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ ผิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และพึงทำบุญเถิด

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบปริวิตกแห่งใจของท่านพระโสณะด้วยพระทัย แล้วทรงหายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏตรงหน้าท่านพระโสณะ ที่ป่าสีตะวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูแล้ว แม้ท่านพระโสณะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโสณะว่า ดูกรโสณะ เธอหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้มิใช่หรือว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ มิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์ และพึงทำบุญเถิด
ท่านพระโสณะทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเมื่อก่อนยังอยู่ครองเรือนเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณมิใช่หรือ ฯ
ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็สมัยใดสายพิณของเธอตึงเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะหรือ ย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใดสายพิณของเธอหย่อนเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ ก็สมัยใด สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ความเพียรที่ปรารภมากเกินไปย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น
ท่านพระโสณะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทนี้
แล้วทรงหายจากป่าสีตวันไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ฯ

ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระโสณะ ได้ตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
ได้ตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น

ต่อมา ท่านพระโสณะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจแน่วแน่อยู่ ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย
ได้ทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แลท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุอรหัตแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่าไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด ลำดับนั้น ท่านพระโสณะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบในภพ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเหตุ ๖ ประการ คือ
เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสงัด ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล ๑ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ อาศัยคุณเพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ได้ทำกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ มุ่งหวังลาภ สักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมไปยังความสงัด แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่พรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสงัด
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาส กลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ ฯลฯ
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาสกลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นในกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุแม้ดีเยี่ยมมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้
รูปนั้นไม่ครอบงำจิตของท่านได้จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวและท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าเสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ แม้ดีเยี่ยม มาสู่คลองจักษุแห่งภิกษุ
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้ ธรรมารมณ์นั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านได้ จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว และท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
เปรียบเหมือนภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่งทึบ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศบูรพาไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศประจิมฯลฯ พึงพัดมาจากทิศอุดร ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ฉะนั้น ฯ

ท่านพระโสณะครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังต่อไปอีกว่า
จิตของภิกษุผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ผู้น้อมไปยังความสงัดแห่งใจ ผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน และผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหลแห่งใจ
ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเพราะเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งอายตนะทั้งหลาย กิจที่ควรทำและการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบมีจิตสงบ ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลม ฉันใด
รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมยังจิตอันตั้งมั่นหลุดพ้นวิเศษแล้ว ของภิกษุผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ฉันนั้นและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น ดังนี้ ฯ

.

คำว่า ได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้นต่อมา
ได้แก่ ใช้คำบริกรรม

เวทนา

เจ้านายเป็นคนที่ติดเสียง เวลาดูยูทูปจะเปิดเสียงดัง
ตอนเช้า อากาศสบาย สัปปายะเหมาะทำสมาธิ
จึงบอกเขาว่า เบาเสียงหน่อย
เขาเบาเสียง
เมื่อเราลงนั่ง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิทันที แค่รู้ตามความเป็นจริง แล้วดับ
เมื่อสมาธิคลายตัว ได้ยินเสียงเหมือนดังมาก ยังหลับตาอยู่ บอกกับเขาว่า เบาเสียงให้อีก เสียงดัง
เขาเบาเสียงลง
จิตเราเป็นสมาธิต่อ สักพักสมาธิคลายตัว รู้สึกตัว รู้ชัดหัวใจที่เต้นผิดจังหวะ จับชีพจร หัวใจเต้นๆหยุด ความห่าง ๑ วินาที
หลังจากนั้น ได้ถามเขาว่า ได้เพิ่มความเสียงอีกหรือเปล่า
เขาบอกว่า เปล่า เพิ่งมาเบาลงไปอีกตอนที่เราบอก
เล่าให้เขาฟังว่า ช่วงนี้จิตพิจรณาเรื่องเวทนา

สุขเวทนา ชอบใจ
กามราคะ

ทุกขเวทนา ไม่ชอบใจ
ปฏิฆะ

อทุกขมสุขเวทนา
ความรู้สึกเฉยๆ โมหะ(ความหลง) เกิดจากอวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ ๔

คนละตัวสภาวะกับอุเบกขาเวทนาที่มีเกิดขึ้นจากฌาน ๔
และคนละตัวสภาวะกับอุเบกขาเวทนาที่มีเกิดขึ้นสังขารุฯ


เสียงเป็นเสี้ยนหนามกับปฐมญาณ
หากผ่านปฐมญาณ เสียงจะไม่ได้ยิน
จะรู้สึกเย็นสบาย ทุติยฌาน
จะรู้สึกสุข อิ่มเอิบใจ ตติยฌาน
ลมหายใจละเอียดจับไม่ได้ อุเบกขา มีสติรู้อยู่ จตุตถฌาน

ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
บางครั้งจิตมีพิจรณา(พระธรรม)
บางครั้งไม่มีจิตพิจรณา(พระธรรม)
บางครั้งมีโอภาส
บางครั้งไม่มีโอภาส
แล้วดับ ส่วนจะดับนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
เมื่อกำลังสมาธิคลายตัว จะรู้สึกที่กายก่อน
บางครั้งจิตมีพิจรณา(พระธรรม)
บางครั้งจิตไม่มีการพิจรณา(พระธรรม)


ฉะนั้น บุคคลจริญภาวนาทางใจจนเสพคุ้นเคย
มักชอบสันโดษ ชอบสงัด
เมื่อสงบ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

กัณฏกสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวฌานว่ามีเสียงเป็นปฏิปักษ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปักษ์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้ยินดีในที่สงัด ๑


การประกอบสุภนิมิต
เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ประกอบอสุภนิมิต ๑


การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก
เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑


การติดต่อกับมาตุคาม
เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ ๑


เสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ๑


วิตกวิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ๑

ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ๑


ลมอัสสาสปัสสาสะเป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ๑


สัญญาและเวทนา
เป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ๑


ราคะเป็นปฏิปักษ์ โทสะเป็นปฏิปักษ์ ๑

๘. สมยสูตรที่ ๒
ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ
สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ
ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑

ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯลฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ
สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้แล ฯ

๗. สมยสูตรที่ ๑
[๒๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้
มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้นภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ
ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด
ภิกษุมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุมถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่ผม
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่เธอ
ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด
ภิกษุมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผม
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ
ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด
ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผม
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ
ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด
ภิกษุมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผม
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ
ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุไม่รู้ ไม่เห็น
ซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อตนอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อผมอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่ผม
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่เธอ
ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

สังฆสูตร
[๕๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบของทอง
คือดินร่วน ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้องมีอยู่
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น
เรี่ยรายทองนั้นเทลงไปในรางน้ำแล้วล้าง ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว
ทองยังคงมีเครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวดอย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือคนล้างฝุ่นย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างกลางหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว
ทองยังคงมีเครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ดกระลำพัก
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียดจนหมดแล้ว ทำมันให้สิ้นสุดแล้ว
คราวนี้ยังคงเหลือกองทรายทอง ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม
แล้วเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่ ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
ยังไม่ถูกนำเอารสฝาดออก มันย่อมไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงาน
ไม่ผุดผ่อง เป็นของแตกง่าย และเข้าไม่ถึงเพื่อกระทำโดยชอบ
ช่างทองหรือลูกมือของช่างทองย่อมเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่

ในสมัยใด สมัยนั้นมีอยู่ ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าเล่า
ถูกเป่าจนได้ที่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
ถูกนำเอารสฝาดออกหมด มันย่อมเป็นของอ่อน
ควรแก่การงาน ผุดผ่อง ไม่แตกหัก เข้าถึงเพื่อทำโดยชอบ
เขามุ่งหมายสำหรับเครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ
หรือดอกไม้ทองก็ดี เครื่องประดับชนิดนั้นย่อมสมความประสงค์ของเขา ฉันใด

ดูกรภิกษทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่
ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป

หมายเหตุ:

“ดูกรภิกษทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่
ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป”


.
“ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต”
ได้แก่ จิตที่อบรมด้วยสมถะและวิปัสสนา

ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.
ได้แก่ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ปราศจากตัณหาและอุปาทาน ที่มีเกิดขึ้นขณะเดินชีวิตและจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ


.
ความรู้สึกนึกคิดขณะทำกรรมฐาน
กำหนดรู้ตามความเป็นจริง ไม่นำตัวตนเข้าไปข้องเกี่ยวกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
นิมิตทางใจจะมีเกิดขึ้น บางเรื่องราวอาจจะลืมไปแล้วแบบนานมาก
หรือเป็นเรื่องที่เคยกระทำไว้ไม่นานนี้เอง จะผุดขึ้นมา(เป็นภาพในอดีตที่เคยกระทำไว้)


.
“กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต”
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เคยกระทำไว้ไม่ดี รู้สึกละอาย(หิริ โอตัปปะ) ต่อสิ่งที่เคยกระทำไว้ เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงทำให้กระทำตามแรงตัณหาและอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕) ที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ

.
“ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป”

พิจรณาว่า เพราะความไม่รู้ จึงทำให้กระทำตาม
ความโลภะ ความโกรธ(โทสะ) ความหลง(โมหะ) ที่มีเกิดขึ้น
ซึ่งกระทำตามแรงผลักดันของตัณหาที่มีเกิดขึ้น

จะพยายามไม่ทำให้มีเกิดขึ้นอีก
อดทน อดกลั้น ข่มใจ ไม่กระทำออกมาทางกาย วาจา (ชาติ)
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

แรกๆทำได้ยาก ส่วนมากจะคิดว่า เราไม่ผิด
เมื่อมีความคิดแบบนี้ ทำให้ตอบโต้โดยขาดสติ ไม่รู้จักโยนิโสมนสกิการ
ผลที่ตามมาคือชอบประมาณบุคคลอื่น
เวลาคิดพิจรณา ส่วนมากคิดแต่เรื่องนอกตัว
มากกว่าการรู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรม

เมื่อพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว
กลับมาพิจรณาการกระทำของตน จะบอกตัวเองว่า ความเลวเรานั้นยังมีอยู่
ถ้ายังมีชอบประมาณบุคคลอื่น ภพชาติของการเกิดย่อมมีเกิดขึ้น
จึงตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่องการเจริญสมถะและวิปัสสนา
สิ่งเหล่านี้ที่เคยกระทำไว้ จะมาปรากฏขณะทำกรรมฐาน


.
เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นไปแล้ว
“ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป”

๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

การเดินจงกรม

เดินจงกรม ๖ ระยะ

ตัวสภาวะที่สำคัญ
การเห็นสันตติขาด ฆนบัญญัติแตก
ขณะกำลังเดินจงกรม เห็นแต่ละก้าวย่าง ขาดออกจากกัน เป็นท่อนๆๆๆๆๆๆ
รู้ชัดในอาการเกิดทุกขณะของการเคลื่อนเท้า ขาดออกจากกัน
คือ เอาจิตจดจ่อรู้อยู่ ทุกย่างก้าวในแต่ละขณะ ที่มีเกิดขึ้นกำลังเดิน
รู้ที่ใจ คือ รู้การขาดออกจากกันทุกย่างก้าว รู้ขึ้นมาที่ใจ

ในกรณีที่กำลังเดินจงกรม เดินจนครบเวลาที่ตั้งไว้
ผลคือเมื่อกำหนดนั่งลง จิตเข้าสู่สมาธิทันที
คือ รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม

ที่สำคัญ การกระทำกรรมในแต่ละขณะๆๆๆ
ล้วนส่งผลกระทบต่อสภาวะขณะทำความเพียร
วุ่นวายนอกตัวมาก นิวรณ์ย่อมมาก
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ยาก

เหตุปัจจัยให้เกิดความรู้ชัดในเรื่อง
คำว่า สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก

กราบของพระคุณหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูล และพระอาจารย์ปรีชา
วัดนาค บางปะหัน อยุทธยา

หลวงพ่อพระครูภาวนานุกูล สอนเรื่องการกำหนดรู้ตามความเป็นจริง
จนกระทั่งแจ่มแจ้งในโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง

พระอาจารย์ปรีชาสอนให้เรียนรู้เกี่ยวกับรูป,นาม
จนกระทั่งแจ่มแจ้งในสติ สัมปชัญญะ
และความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ด้วยตนเอง

3 กันยายน
การเดินจงกรม ละเอียดชัดเจนมากขึ้นขณะที่เดิน มีอะไรมากระทบอายตนะ
กำหนดได้ตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน จับลมหายใจพร้อมกับอาการท้องพองยุบ ขณะที่เดินได้อย่างชัดเจน

เมื่อเดิน สังเกตุได้ ลมหายใจจะรวมเป็นหนึ่งขณะที่เดิน
มันจะไปพร้อมกันหมดทั้งตัว รู้พร้อมหมด สติดีตลอด
เมื่อมานั่งต่อ สมาธิเกิดอย่างต่อเนื่อง สมาธิตั้งอยู่ได้นานขึ้น

เป็นสมาธิเร็วขึ้น พอกำหนดนั่ง ปรับลมหายใจแค่ 5 ครั้ง เข้าสู่สมาธิได้เลย
เพิ่มเวลาในการปฏิบัติ เป็นวันละ 4ชม.บ้าง 5 ช.ม.บ้าง 6 ช.ม.บ้าง
บางวัน 1ช.ม.ก็มีไม่แน่นอน แล้วแต่สะดวก สูงสุด 8 ช.ม.
เดินจงกรม เดินระยะ 1- 4 ละเอียดมากขึ้น ชัดเจนขณะที่ก้าวเดิน

22 ม.ค. ’51
วันนี้เดินจงกรม มันแปลกมากๆ ปกติแล้ว เราเคยเดินแค่ระยะที่ 5
ระยะที่ 6 ไม่เคยเดิน เพราะฐานสติยังไม่แน่นพอ มันจะเซ

วันนี้ที่ว่าแปลกมากๆก็คือ มันเดินได้เอง คือเราเก็บรายละเอียดทุกย่างก้าวที่เดิน
ตั้งแต่ ยก ย่าง วาง ถูก เหยียบ กด กำหนดดูตามทุกอริยาบทที่เท้าก้าวไป
เราเห็นว่าอาการมันเกิดคล้ายๆกับในสมาธิ เห็นการเกิดดับ ขาดออกเป็นตอนๆของทุกย่างก้าวที่เดิน มันชัดเจนมากๆ

แม้แต่เวลายืน ปกติจะต้องกำหนดยืนหนอ
คราวนี้ไม่ต้องกำหนดเลย มันรู้ขึ้นมาเองขณะที่ยืน
ตั้งแต่กระหม่อมถึงปลายเท้า ปลายเท้าถึงกระหม่อม
มันรู้ตัวต่อเนื่องไม่ขาดสาย เห็นตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ

15ก.พ.’51
(หลวงพ่อ พระครูภาวนานุกูล วัดนาค บางปะหัน อยุธยา)

วันนี้เดินจงกรม มีอาการแปลกๆอีกแล้ว
เราไม่ได้กำหนดอะไร เดินแล้วก็รู้ตัวลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน
ที่ว่าแปลกก็คือ ยิ่งเดิน ยิ่งละเอียด ยิ่งแยกข้อปลีย่อยออกมาให้เห็นเด่นชัด
กายส่วนกาย ลมหายใจส่วนลมหายใจ มันไม่ใช่ความรู้สึกเหมือนเมื่อก่อนที่เราเดิน

เมื่อก่อนมันจะรู้พร้อมไปทั้งตัว เราถึงว่ามันแปลกๆ
มันรู้สึกวาบๆขึ้นมาเหมือนเป็นภาพที่มองเห็นทุกขณะที่ก้าวเดิน
มันผุดขึ้นมาในใจ อธิบายไม่ถูก

เราก็เลยโทรฯหาหลวงพ่อพระครูภาวนา
ถามท่านว่า ทำไมมันเป็นแบบนี้ มันรู้สึกเสียววาบๆทุกขณะที่ย่างก้าว
ขนหัวลุก ขนลุกไปทั้งตัว ภาพมันจะผุดขึ้นมาในใจ เห็นภาพชัดเลย

หลวงพ่อถามว่า ที่เห็นน่ะ เห็นที่ตาหรือเห็นที่ข้างใน
เราบอกว่า เห็นข้างใน ตาไม่ได้มองที่ปลายเท้า แต่มองไปข้างหน้า ขณะที่เดิน

ถามท่านว่า ควรทำอย่างไร ในเมื่อรู้สึกก็เลยหยุดเดิน
แล้วกำหนด รู้หนอๆๆๆ ก็ยังไม่หาย

อาการเสียวแบบนั้น มันเสียวๆอยู่อย่างนั้น อธิบายไม่ถูก
โดยเฉพาะที่ฝ่าเท้านี่ชัดเจนมาก มันเสียวๆวาบๆบอกไม่ถูก

หลวงพ่อบอกว่า ไม่มีอะไร มันมีสติ สัมปชัญญะเกิดขึ้น

เกือบจะถามหลวพ่อแล้วว่า คราวก่อนที่รู้ตัวทั่วพร้อมกับอาการเดิน
ท่านก็บอกว่า นั่นแหละเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ

แต่พอนึกขึ้นได้ว่า หลวงพ่อปรีชา ท่านบอกไว้ว่า มันจะมี 3 ระยะ
ก็เลยไม่ถามหลวงพ่อปรีชา ว่าทำไมมันถึงแตกต่างจากคราวแรก

หลวงพ่อบอกว่า ภาษา พระปฏิบัติ การดูลงไปในอาการที่เกิดก็คือการกำหนด แต่เป็นการกำหนดโดยกริยา ไม่ใช้บัญญัติ

ท่านบอกว่า ให้ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิด ไม่ให้ใช้รู้หนอที่เป็นสมมุติบัญญัติ
ดูลงไปจนอาการนั้นหายไปในที่สุด แล้วค่อยเดินต่อ

19 ก.พ.’51
เดินจงกรม ตั้งแต่เริ่มเดินมันจะเสียวๆที่ฝ่าเท้ายังไม่หาย
แล้วเดี๋ยวนี้มันแปลกๆ เหมือนฝ่าเท้าเรามีชีวิต
เรารู้สึกไปกับมันทุกระบบที่กระทบ มันเสียวๆอยู่อย่างนั้น
เราก็ทำแบบที่หลวงพ่อบอก เดินมันไป เอาสติ จิตจดจ่ออยู่กับการเดิน
พอเดินถึงช่วงยืน อยู่ๆมันก็เกิดเป็นสมาธิขึ้นมา
แต่เราไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่นักเรื่องสมาธิ
เพราะเดี๋ยวนี้สมาธิเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราบ่อยมากๆ

20 ก.พ.’51
วันนี้เป็นสมาธิเกือบทั้งวัน ทั้งๆที่บางทีแค่นั่งคิดอะไรบางอย่าง จู่ๆมันก็สว่างพรึ่บขึ้นมา
เป็นเกือบทั้งวันเลยวันนี้ สว่างมากๆ ทั้งๆที่โอภาสแบบนี้ เราแทบจะไม่ค่อยเกิดให้เห็นด้วยซ้ำ

21 ก.พ.’51
เดินจงกรม นั่งสมาธิ เป็นระยะๆ
เบื่อมากๆเลย ไม่รู้ว่าเบื่ออะไร นั่งก็เบื่อ เดินก็เบื่อ

22 ก.พ.’51
เดินบ้าง นั่งบ้าง กำหนดดูอริยาบทย่อย
ก็เกิดสมาธิอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่สนใจละ มันออกจะรำคาญไปด้วยซ้ำ

แต่พยายามทำจิตไม่ให้ชอบ ไม่ให้ชัง
เพราะหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูลสอนไว้ว่า
อย่าไปเบื่อ อย่าไปเกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ มันเป็นสภาวะของมัน
ให้พิจรณาดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างเดียว
ไม่ต้องไปใส่ใจว่าอะไรเป็นอะไร ทำไป เดี๋ยวมันจะแจ้งขึ้นมาเอง

25 ก.พ.’51
ความรู้สึกที่ฝ่าเท้า นับวันมันจะมากขึ้นเรื่อยๆ ขนาดใส่รองเท้าเดินแท้ ไม่ใช่เท้าเปล่าเลยนะ
มันก็ยังรู้สึกกระทบทุกย่างก้าวที่เดิน เหมือนมันรู้สึกเข้าไปถึงในจิตของเรา มันชัดมากๆ
แม้แต่นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางอยู่บนพื้นเฉยๆ มันจะชัดมากๆตรงที่เท้ากระทบถูกพื้น

โทรฯหาหลวงพ่อ ถามท่านตั้งแต่ เรื่องฝ่าเท้าที่เป็นอยู่
ท่านบอกว่า ให้ดูลงไปอย่างเดียว ไม่ต้องไปทำอะไร

และเรื่องที่เป็นสมาธิบ่อยๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็เกิดสมาธิตลอดเวลา
ท่านบอกว่า ให้เดินจงกรมเพิ่ม อย่างน้อย 2 ช.ม.เพื่อเจริญสติให้มากขึ้น
อย่านั่งมาก ถึงไม่ใช่นั่งขณะที่ทำสมาธิก็ตาม ไม่ให้นั่งมาก ให้เน้นเดิน

04 มี.ค. 2008
ตั้งแต่เพิ่มเวลาเดินจงกรม บางวันเดิน 2 ช.ม. บางวันเดิน 3 ช.ม.
แต่ละรอบจะเดินอย่างนี้ตลอด ทำไปเรื่อยๆแล้วแต่สะดวก
สมาธิที่เกิดถี่ๆเริ่มลดน้อยลง ไปเกิดขณะที่ยืนเป็นพักๆไม่มากเท่าเมื่อก่อน
แต่การเข้าออกสมาธิยังคล่องเหมือนเดิม
คือแค่ดูท้องพองยุบ 2หรือ 3 ครั้งก็เข้าสู่สมาธิได้เลย
อาการเสียวๆที่ฝ่าเท้ายังมีอยู่แต่น้อยลง

แต่ความรู้สึกในการที่ฝ่าเท้าหรืออาการที่เคลื่อนย้ายอริยาบทที่เท้านี้ชัดมากๆ
มันจะรู้ขึ้นมาในจิตแบบอธิบายไม่ถูก แต่ก็ไม่ถามหลวงพ่อ
เพราะเชื่อว่า ปฏิบัติไป เดี๋ยวก็จะรู้เอง

———–

สภาวะที่สำคัญ


ตัวสภาวะ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นบัญญัติถูกเพิกถอนจนหายไปหมด
คือ จิตละทิ้งคำบริกรรม(บัญญัติ) มีรูปนามเป็นอารมณ์
ส่วนจะรู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ขึ้นอยู่กับกำลังสติ สัมปชัญญะ

แม้ขณะมีเวทนา เช่น ปวดขา สักแต่ว่าปวด แต่ใจไม่ได้ปวดด้วย
(กายและจิตแยกออกจากกัน ไม่ป่ะปนกัน)
ความปวดที่มีเกิดขึ้นก็ซ่าหายไปเอง แล้วสงบ เหมือนไม่มีกิเลส

หากยังอยู่ในรูปฌาน จะรู้ชัดสติปัฏฐาน ๔ นิวรณ์ไม่มี
เมื่อเข้าถึงอรูปฌาน กายหายไปหมด มีจิตรู้อยู่


หากมีโอภาสสว่างมากๆ ยิ่งสว่างสุดๆ ต้องเดินจงกรมให้มากขึ้น
เมื่อกำลังสติมีมากขึ้น จะรู้ชัดความเกิด ความดับที่มีเกิดขึ้นในอรูปฌาน นิโรธตามลำดับ

ถ้ากำลังสติด้อยสมาธิ จะเข้าสู่ความดับมากกว่าจะรู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรม
ส่วนจะเข้าสู่ความดับมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ

ถ้าสติมีกำลังมากกว่าสมาธิ จะมีสภาวะกายแตก กายระเบิดมีเกิดขึ้นอีก แล้วเข้าสู่ความดับ
หลังจากนั้น ขณะทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิง่าย บางครั้งหายใจเข้า จิตเป็นสมาธิทันที

สมถะและวิปัสสนา

สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้น 4 ประเภท
คือ ต้องเขียนรายละเอียดทั้ง 4 แบบก่อน ที่จะเขียนเรื่อง
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ซึ่งมีเรื่องอันศีลอนุเคราะห์แล้ว เข้ามาเกี่ยวข้อง

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

.

คำว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง

ขณะทำกรรมฐาน ตัวสภาวะหมายถึง มีการใช้คำบริกรรม
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ การนับเป็นจังหวะ กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า มีบัญญัติเป็นอารมณ์

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ได้แก่ สมถะ(สัมมาสมาธิ)

อินทรีย์ ๕
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

.

ลักษณะเด่นด้วยตัวของสภาวะกายสักขี

“เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ”
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ”

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดความเกิด ความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า อาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ รู้ชัดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่น)
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

และ

คำว่า อาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ รู้ชัดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นก่อนสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ)จะมีเกิดขึ้น

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่น)
ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) แล้วดับ

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ วิโมกข์ ๓(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

.

คำว่า อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
ถ้าอรหัตผลมีเกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า มีความสำเร็จล่วงส่วน

โมคคัลลานสูตร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ
ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

พ. ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น
ครั้นได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง
ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง
สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืน
เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล
ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
เป็นผู้เกษมจากโยคะล่วงส่วนเป็นพรหมจารีล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

.

๔. หลิททิกานิสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน
[๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้เมืองกุรรฆรนครแคว้นอวันตีรัฐ.
ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหาว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน
เป็นผู้มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน
เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน
เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
โดยย่อนี้จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร.

[๒๖] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น
อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ จิต
ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ
เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น,

ดูกรคฤหบดี
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น
อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด
ในเวทนาธาตุ …
ในสัญญาธาตุ …
ในสังขารธาตุ …
ในวิญญาณธาตุ จิต
ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ
เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น.

ดูกรคฤหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสในสักกปัญหาว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน
มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้.

ดูกรคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้แล
พึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

,

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับคือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

.

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

.

คำว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

ขณะทำกรรมฐาน ตัวสภาวะหมายถึง ไม่มีการใช้คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติ
ได้แก่ มีรูปนามเป็นอารมณ์

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ได้แก่ วิปัสสนา(อนิมิตตเจโตสมาธิ)

อินทรีย์ ๕
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

.

ลักษณะเด่นด้วยตัวของสภาวะหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

“เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”

คำว่า ย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม

คำว่า อาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ รู้ชัดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่น)
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

และ

คำว่า อาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ รู้ชัดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นก่อนสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ)จะมีเกิดขึ้น

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่น)
ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) แล้วดับ

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ วิโมกข์ ๓(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

.

คำว่า อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ถ้าอรหัตผลมีเกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า มีความสำเร็จล่วงส่วน

โมคคัลลานสูตร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ
ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

พ. ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น
ครั้นได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง
ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง
สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืน
เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล
ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
เป็นผู้เกษมจากโยคะล่วงส่วนเป็นพรหมจารีล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

.

๔. หลิททิกานิสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน
[๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้เมืองกุรรฆรนครแคว้นอวันตีรัฐ.
ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหาว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน
เป็นผู้มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน
เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน
เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
โดยย่อนี้จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร.

[๒๖] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น
อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ จิต
ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ
เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น,

ดูกรคฤหบดี
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น
อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด
ในเวทนาธาตุ …
ในสัญญาธาตุ …
ในสังขารธาตุ …
ในวิญญาณธาตุ จิต
ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ
เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น.

ดูกรคฤหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสในสักกปัญหาว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน
มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้.

ดูกรคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้แล
พึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

.

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับคือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

.

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อินทรีย์ ๕
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

.

ลักษณะเด่นด้วยตัวของสภาวะหลุดพ้นโดยส่วนสอง

“เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดความเกิด ความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า ย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม

คำว่า อาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ รู้ชัดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่น)
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

และ

คำว่า อาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ รู้ชัดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นก่อนสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ)จะมีเกิดขึ้น

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่น)
ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) แล้วดับ

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ วิโมกข์ ๓(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

.

ฌานสูตร
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
ทุติยฌานบ้าง
ตติยฌานบ้าง
จตุตถฌานบ้าง
อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น
เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่าเป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล
สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้
อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว
พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9041&Z=9145

.

ทสมสูตร
ท. ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความหมดสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยชอบ เป็นไฉน ฯ

อา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌานอันมีตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ปฐมฌานนี้แล ถูกปรุงแล้วถูกตบแต่งแล้ว
และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว
สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
เธอจึงตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นอุปปาติกพรหม
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
โดยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
จักปรินิพพานในนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ดูกรคฤหบดี นี้แลคือธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด …

อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว
และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว
สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ดูกรคฤหบดี
แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็นเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ

.

คำว่า ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว
ได้แก่ การปรับอินทรีย์ ๕
จากมิจฉาเป็นมิจฉาสมาธิ ให้เป็นสัมมาสมาธิ

คำว่า ย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว
สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ได้แก่ กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สามารถทำให้มีเกิดขึ้นได้ ก็สามารถเสื่อมได้
เมื่อกำลังสมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไปหมดสิ้น ก็สามารถทำให้มีเกิดขึ้นได้อีก
จึงละความยึดมั่นถือมั่นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

  • คำว่า โดยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

.

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกันระหว่าง
อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกันระหว่าง
อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกันระหว่าง
อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกันระหว่าง
อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ การปรับอินทรีย์ ๕

อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว


ถ้าอรหัตผลมีเกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า หลุดพ้นสองส่วน
ส่วนจะเป็นอุภโตวิมุตติหรือปัญญาวิมุตติ
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
คือความแตกต่างจากอินทรีย์ ๕ ได้ฌาน ๔ หรือได้วิโมกข์ ๘

————–

๔. รถวินีตสูตร
ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน

.

สีลวิสุทธิ
การฟังสัปบุรุษ
รู้ตามลำดับ
การรักษาศิล ๕
เชื่อกรรมและผลของกรรม
วิธีการดับชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ได้แก่ อริยสัจ ๔
ปัญญา(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)
รู้จักเรื่องกิเลสและรู้ชัดกิเลสที่มีเกิดขึ้น(โลภะ โทสะ โมหะ)
ความรู้สึกนึกคิด
ภพ ได้แก่ มโนกรรม
ชาติ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม
ชรา มรณะ ได้แก่ โลกธรรม ๘


.

จิตตวิสุทธิ ได้แก่ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ

.

ทิฏฐิวิสุทธิ ได้แก่ รู้ชัดผัสสะ

.

กังขาวิตรณวิสุทธิ ได้แก่ สิ้นสงสัย
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ การฟัง การศึกษา

อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ การปรับอินทรีย์ ๕

๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

.

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สมถะ/สัมมาสมาธิ)
ตัวสภาวะ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นบัญญัติถูกเพิกถอนจนหายไปหมด
คือ จิตละทิ้งคำบริกรรม(บัญญัติ) มีรูปนามเป็นอารมณ์
รู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ได้แก่ มีรูปนามเป็นอารมณ์(อนิมิตตเจโตสมาธิ)
มีสภาวะ กายแตก กายระเบิด มีโอภาสสว่างเจิดจ้า
ไตรลักษณ์ปรากฏตามความเป็นจริง
ได้แก่ ประจักษณ์แจ้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ชัดเจน
ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

.

“มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน”

โมคคัลลานสังยุตต์
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอโอกาส
เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้
ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
เราก็สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน
สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำนั้นกะเราว่าสาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

[๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ ……
[๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ …..
[๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ ….
[๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตนฌานเป็นไฉนหนอ ….
[๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไฉนหนอ ….
[๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌาน เป็นไฉนหนอเรา ….
[๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เราก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
สมัยต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

[๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ
เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
เธออย่าประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
สมัยต่อมา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก
พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

[๕๓๕] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ
การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น…
ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว…
ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว…
การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วอันไม่ขาด… เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น…
ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว…
ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ปฏิบัติดีแล้ว…
การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิลูบคลำไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่น
ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ… โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ฯ


อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

มกราคม 2021
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

คลังเก็บ