การศึกษา

มหาวรรคที่ ๕

[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติ หลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งบทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ


.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ …
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า
ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง

สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

ธรรมบท ๔ ประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

๑. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) เป็นธรรมบท …
๓. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นธรรมบท …
๔. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคย
ถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้
รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลพึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
มีจิตไม่พยาบาท มีสติ
มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน

ธัมมปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชก

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน
ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี-
ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ออกจากที่หลีกเร้น หมายถึงออกจากผลสมาบัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๖ }

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๘.อริยวังสสูตร

ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษด้วยจีวร
ตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
เป็นของเก่า
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะบิณฑบาต
เป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ
ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
ฉันอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วบิณฑบาตตาม
แต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง
ในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้
ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะ
เป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ
ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
ใช้สอยอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะ
ตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติ
มั่นคงในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๔. มีภาวนาเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในภาวนา มีปหานะ (การละ) เป็นที่
รื่นรมย์ ยินดีในปหานะ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มี
ภาวนาเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในภาวนา เพราะความเป็นผู้มีปหานะ
เป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในปหานะนั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มี
สัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในภาวนาและปหานะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้แลรู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง
ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๙.ธัมมปทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ แม้จะอยู่ในทิศ
ตะวันออก ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ แม้จะอยู่ใน
ทิศตะวันตก … แม้จะอยู่ในทิศเหนือ … แม้จะอยู่ในทิศใต้ ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นนักปราชญ์ ชื่อว่า
เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์๑ ไม่ได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์ไม่ได้
แต่นักปราชญ์ครอบงำความไม่ยินดีได้
เพราะนักปราชญ์ชื่อว่าผู้ครอบงำความไม่ยินดี
ราคะหรือโทสะอะไร
จะปิดกั้นบุคคลผู้บรรเทากิเลสแล้ว
ผู้ละกรรมทุกอย่างได้เด็ดขาด
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขา
ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา

อริยวังสสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมปทสูตร
ว่าด้วยธรรมบท

[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท๒ ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ นักปราชญ์ ในที่นี้หมายถึงผู้มีความเพียร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๒๔)
๒ ธรรมบท หมายถึงส่วนแห่งธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๙/๓๒๕, ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

๑. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) เป็นธรรมบท …
๓. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นธรรมบท …
๔. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคย
ถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้
รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลพึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
มีจิตไม่พยาบาท มีสติ
มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน

ธัมมปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชก

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน
ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี-
ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ออกจากที่หลีกเร้น หมายถึงออกจากผลสมาบัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

“ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนภิชฌาเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาทเป็นธรรมบท ฯลฯ
๓. สัมมาสติเป็นธรรมบท ฯลฯ
๔. สัมมาสมาธิเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืน๑อนภิชฌาที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ
พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอนภิชฌาที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะ
แรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ

เชิงอรรถ :
๑ บอกคืน ในที่นี้หมายถึงปฏิเสธ คัดค้าน ไม่ยกย่องนับถือ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๗ }

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๙.ธัมมปทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ แม้จะอยู่ในทิศ
ตะวันออก ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ แม้จะอยู่ใน
ทิศตะวันตก … แม้จะอยู่ในทิศเหนือ … แม้จะอยู่ในทิศใต้ ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นนักปราชญ์ ชื่อว่า
เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์๑ ไม่ได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์ไม่ได้
แต่นักปราชญ์ครอบงำความไม่ยินดีได้
เพราะนักปราชญ์ชื่อว่าผู้ครอบงำความไม่ยินดี
ราคะหรือโทสะอะไร
จะปิดกั้นบุคคลผู้บรรเทากิเลสแล้ว
ผู้ละกรรมทุกอย่างได้เด็ดขาด
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขา
ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา

อริยวังสสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมปทสูตร
ว่าด้วยธรรมบท

[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท๒ ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ นักปราชญ์ ในที่นี้หมายถึงผู้มีความเพียร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๒๔)
๒ ธรรมบท หมายถึงส่วนแห่งธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๙/๓๒๕, ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

๑. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) เป็นธรรมบท …
๓. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นธรรมบท …
๔. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคย
ถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้
รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลพึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
มีจิตไม่พยาบาท มีสติ
มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน

ธัมมปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชก

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน
ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี-
ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ออกจากที่หลีกเร้น หมายถึงออกจากผลสมาบัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

“ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนภิชฌาเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาทเป็นธรรมบท ฯลฯ
๓. สัมมาสติเป็นธรรมบท ฯลฯ
๔. สัมมาสมาธิเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืน๑อนภิชฌาที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ
พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอนภิชฌาที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะ
แรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ

เชิงอรรถ :
๑ บอกคืน ในที่นี้หมายถึงปฏิเสธ คัดค้าน ไม่ยกย่องนับถือ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์นั้น
จงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นจัก
บอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
ว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสมาธิที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้น
จักบอกคืนสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดสำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ๑ ๔ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าติเตียน คัดค้านอนภิชฌาที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม
ทั้งหลาย
๒. ถ้าติเตียน คัดค้านอพยาบาทที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิต
ชั่วร้าย

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๘ }

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๙.ธัมมปทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ แม้จะอยู่ในทิศ
ตะวันออก ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ แม้จะอยู่ใน
ทิศตะวันตก … แม้จะอยู่ในทิศเหนือ … แม้จะอยู่ในทิศใต้ ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นนักปราชญ์ ชื่อว่า
เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์๑ ไม่ได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์ไม่ได้
แต่นักปราชญ์ครอบงำความไม่ยินดีได้
เพราะนักปราชญ์ชื่อว่าผู้ครอบงำความไม่ยินดี
ราคะหรือโทสะอะไร
จะปิดกั้นบุคคลผู้บรรเทากิเลสแล้ว
ผู้ละกรรมทุกอย่างได้เด็ดขาด
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขา
ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา

อริยวังสสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมปทสูตร
ว่าด้วยธรรมบท

[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท๒ ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ นักปราชญ์ ในที่นี้หมายถึงผู้มีความเพียร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๒๔)
๒ ธรรมบท หมายถึงส่วนแห่งธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๙/๓๒๕, ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

๑. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) เป็นธรรมบท …
๓. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นธรรมบท …
๔. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคย
ถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้
รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลพึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
มีจิตไม่พยาบาท มีสติ
มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน

ธัมมปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชก

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน
ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี-
ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ออกจากที่หลีกเร้น หมายถึงออกจากผลสมาบัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

“ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนภิชฌาเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาทเป็นธรรมบท ฯลฯ
๓. สัมมาสติเป็นธรรมบท ฯลฯ
๔. สัมมาสมาธิเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืน๑อนภิชฌาที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ
พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอนภิชฌาที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะ
แรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ

เชิงอรรถ :
๑ บอกคืน ในที่นี้หมายถึงปฏิเสธ คัดค้าน ไม่ยกย่องนับถือ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์นั้น
จงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นจัก
บอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
ว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสมาธิที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้น
จักบอกคืนสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดสำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ๑ ๔ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าติเตียน คัดค้านอนภิชฌาที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม
ทั้งหลาย
๒. ถ้าติเตียน คัดค้านอพยาบาทที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิต
ชั่วร้าย

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสติที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
๔. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้
บูชาสรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง
บุคคลใดสำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ ๔ ประการพร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบท เป็นอเหตุกวาทะ๑
อกิริยวาทะ๒ นัตถิกวาทะ๓ สำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควร
คัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวการนินทา การกระทบกระทั่ง และการ
กล่าวให้ร้าย”
บุคคลผู้ไม่พยาบาท
มีสติทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นดีภายใน
ผู้ศึกษาในธรรมเป็นเครื่องกำจัดอภิชฌา
เราเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท

ปริพพาชกสูตรที่ ๑๐ จบ
อุรุเวลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุรุเวลสูตร ๒. ทุติยอุรุเวลสูตร
๓. โลกสูตร ๔. กาฬการามสูตร
๕. พรหมจริยสูตร ๖. กุหสูตร
๗. สันตุฏฐิสูตร ๘. อริยวังสสูตร
๙. ธัมมปทสูตร ๑๐. ปริพพาชกสูตร

เชิงอรรถ :
๑ อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย (องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๓๐/๓๒๖)
๒ อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำไม่ว่าจะดีหรือชั่วย่อมไม่มีผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๖)
๓ นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ไม่มีผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๙ }

 

http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd21.htm

 

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ