สภาวะสัญญากับสภาวะปัญญา

ความแตกต่างสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ระหว่างสภาวะสัญญากับสภาวะปัญญา

สภาวะสัญญา
ไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้ คือดับตัณหา

สภาวะปัญญา
สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้ คือดับตัณหา


สภาวะสัญญา

กามคุณสูตร
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯ

ขยายใจความรายละเอียดตัวสภาวะ
ที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามคุณ ๕

โลกกามคุณวรรคที่ ๒
มารปาสสูตรที่ ๑
[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง
ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วง ทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจ ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง
ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯ

[๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร
ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำตาม ความปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร
ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำตามความปรารถนาไม่ได้ ฯ

.

มารปาสสูตรที่ ๒
[๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในรูป ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพันธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา ฯ

[๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากรูป
ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร
อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากธรรมารมณ์
ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร
อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้ ฯ


สภาวะปัญญา

๙. ฉันทปหีนสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละความพอใจในขันธ์ ๕
[๒๙๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้
รูปนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา …
ในสัญญา …
ในสังขาร …
ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

= อธิบาย =

คำว่า ความกำหนัด
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕


วิธีการกระทำเพื่อดับกามคุณ ๕

ผัสสะ

๙. สุภสูตร
ทรงโปรดสุภมาณพ
[๗๒๓] ดูกรมาณพ กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
เสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู …
กลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก …
รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้แล

ดูกรมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน
กำหนัดแล้ว
หมกมุ่นแล้วด้วยกามคุณ ๕ ประการนี้
ถูกกามคุณ ๕ ประการนี้ครอบงำแล้ว
ไม่เห็นโทษ
ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องถอนออก บริโภคอยู่
เขาจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งชัดซึ่งญาณทัสนะวิเศษของพระอริยะ
อย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์หรือหนอ
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

= อธิบาย =

คำว่า กำหนัด
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า ญาณทัสนะวิเศษของพระอริยะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
แจ้งขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทาน ๔
ตามจริง


เริ่มจากการสดับพระธรรมจากสัปปุรุษ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

เมื่อปฏิบัติ
สภาวะเหล่านี้จะปรากฏตามจริง

ปฏิปทาวรรค ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด


ฟังธรรมจากปุริสบุคคล

ขยายใจความรายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิตแต่ละขณะๆๆๆ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด และเฉยๆ

สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
ผัสสะ
กามคุณ ๕

ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

เวทนา ๓
สุขเวทนา พอใจ ยินดี(โลกธรรม ๘ ฝ่ายยินดี) ราคะ กามฉันทะ ความโลภ
ทุกขเวทนา ไม่พอใจ ยินร้าย(โลกธรรม ๘ ฝ่ายยินร้าย) ปฏิฆะ โทสะ พยาบาท
อทุกขมสุขเวทนา ไม่ทุกข์ไม่สุข โมหะ ความหลง มิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ

ตัณหา ๓
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

อุปาทาน ๔ เกิดจากฉันราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
กามุปาทาน
ความยึดมั่นในกาม
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

ทิฏฐุปาทาน
ความยึดมั่นในทิฏฐิ พรหมชาลสูตร
ไม่แจ้งอริยสัจ ๔

สีลัพพัตตุปาทาน
ความยึดมั่นในศีลพรต
สีลัพพตปรามาส

อัตตวาทุปาทาน
ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา
สักกายทิฏฐิ
อัตตานุทิฏฐิ

ภพ
เกิดทางใจ
กามภพ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
รูปภพ มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน
อรูปภพ มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอรูปฌาน

สัญญาเสื่อม

2 มีค. 62

 

ตั้งแต่สัญญาเสื่อม ในตัวเองมีสองอยู่ในตัว ตัวเราและอีกตัวเรามาเล่าเรื่องพระธรรมคำสอนต่างๆให้ฟัง เหมือนตัวในเป็นคนรู้เองทุกอย่าง บางคืนทวนปฏิจจะให้ฟัง

บ้างครั้งเป็นพระสูตรที่ก็อปไว้(ในเวิดเพรสที่เขียนไว้) ทั้งๆที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ แต่ก็เก็บเอาไว้

.

….แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง

เราได้บัญญัติ โลก, เหตุเกิดของโลก, ความดับไม่เหลือของโลก, และทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกไว้.

.

อธิบาย

ในตัวเราจะมีสัญญาและใจ(วิญญาณธาตุรู้) มีแค่2 สิ่งที่เกิดขึ้น
บัญญัติต่างๆ เกิดจากสัญญา
เมื่อสัญญาเสื่อม ทุกสิ่งแค่สักแต่ว่าเท่านั้นเอง

.

มาคัณฑิยะ ! เปรียบเหมือนบุรุษตามืดมาแต่กำเนิด
เขาจะมองเห็นรูปทั้งหลาย

ที่มีสีดำหรือขาว เขียวหรือเหลือง แดงหรือขาบ ก็หาไม่,
จะได้เห็นที่อันเสมอหรือไม่เสมอ ก็หาไม่,
จะได้เห็นดวงดาว หรือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็หาไม่.
เขาได้ฟังคำบอกเล่าจากบุรุษผู้ที่ตาดี ว่า

“ท่านผู้เจริญ ! ผ้าขาวเนื้อดีนั้น เป็นของงดงาม
ปราศจากมลทินเป็นผ้าสะอาด”, ดังนี้.
เขาเที่ยวแสวงหาผ้าขาวนั้น.

บุรุษผู้หนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า

“นี่แล เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม
ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด” ดังนี้
เขารับผ้านั้นแล้วและห่มผ้านั้น

.

ต่อมา มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญมารักษา แพทย์พึงประกอบยาถ่ายโทษในเบื้องบนถ่ายโทษในเบื้องต่ำ ยาหยอด ยาหยอดให้กัด และยานัตถุ์.

เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลับมีจักษุดี ละความรักใคร่พอใจ ในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งจักษุที่ดี เขาจะพึงเป็นอมิตร เป็นข้าศึกหมายมั่นต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้นหรือ ถึงกับเข้าใจเลยไปว่า ควรจะปลงชีวิตเสียด้วยความแค้น ว่า

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! เราถูกบุรุษผู้นี้ คดโกง ล่อลวงปลอมเทียมเอาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า “นี่ท่านผู้เจริญ !. นี้เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม ปราศจากมลทินเป็นผ้าสะอาด,มานานนักแล้ว”, อุปมานี้ฉันใด;

มาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน,
คือเราแสดงธรรมแก่ท่านว่า
“เช่นนี้เป็นความไม่มีโรค, เช่นนี้เป็นนิพพาน” ดังนี้;

ท่านจะพึงรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้
ก็ต่อเมื่อท่านละ ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด ในอุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่าน; และความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ว่า

“ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! นานจริงหนอ, ที่เราถูกจิตนี้ คดโกง ล่อลวง ปลิ้นปลอก จึงเราเมื่อจะยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และ ซึ่งวิญญาณ นั่นเอง.

เพราะความยึดถือเป็นต้นเหตุ ภพจึงมีแก่เรา,
เพราะภพเป็นต้นเหตุ ชาติจึงมีแก่เรา,
เพราะชาติเป็นต้นเหตุ ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้นพร้อมหน้า.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้แล.

– ม.ม. ๑๓/๒๘๔/๒๙๐.

สภาวะรู้แจ้ง

19/01/2019

“สภาวะรู้แจ้ง”

.

ไม่มีเรื่องบังเอิญ

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

.

การกระทบเทือนกับสมองส่วนของ

สมองใหญ่ส่วนข้าง (Parietal lobe)
คอยรับรู้การสัมผัส ความรู้สึกเจ็บ ร้อน เย็น
จากร่างกายซีกด้านตรงข้าม

หากเกิดโรคหลอดเลือดสมองขึ้น
จะเกิดอาการชาด้านตรง ข้ามกับสมองที่เกิดปัญหา

.

สมองใหญ่ส่วนขมับ (Temporal lobe)
มีหน้าที่ในการจดจำ และแปลเสียงที่ได้ยินเป็นภาษาที่ใช้

ถ้ามีปัญหาจะทำให้ผู้ ป่วยไม่เข้าใจเสียงที่ได้ยิน
แม้เป็นภาษาที่ใช้มาก่อนก็ตาม

และสมองใหญ่ส่วนใน (Insular lobe)
คอยควบคุมประสาทอัตโนมัติ

.

จากที่สมองได้รับการเสียหาย
เป็นเหตุปัจจัยให้สภาวะสัญญาเสื่อม

.

ประกอบกับผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง

จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
กำลังสมาธิมีพอเหมาะ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น
ประกอบกับสภาวะสัญญาเสื่อมที่มีเกิดขึ้นแล้ว
เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะ “สักแต่ว่า”

ทุกสิ่งที่มีเกิด จะสักแต่ว่า
เพราะไม่มีความรู้สึก(ตัณหา)

เมื่อตัณหาดับ สิ่งที่เกิดขึ้นจึงสักแต่ว่า

.

ก่อนที่จะเข้าสู่วิถีแห่งความรู้แจ้ง
ต้องมีสภาวะปัญญา/รู้แจ้งอริยสัจ 4 เกิดขึ้นก่อน

กล่าวคือ
ประกอบกับสภาวะปัญญา(แจ้งอริยสัจ) ที่เกิดขึ้นแล้ว
จึงเป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะ “รู้แจ้ง”

.

ในใจรู้ชัดทุกอย่าง
พระธรรมคำสอน อ่านออกตัวสภาวะชัดเจนมาก
พูดกันอธิบายได้กับเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติ ที่รู้ชัดเรื่องสภาวะ
และผู้ที่ปริยัติ ที่ปฏิบัติด้วย

.

ปัญญา ตัวแรก คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ปัญญา ตัวที่สอง คือ อริยสัจ 4

.

ถ้าไม่มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แจ้งอริยสัจ 4 ย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้

เมื่อไม่มีการแจ้งอริยสัจ 4
สภาวะรู้แจ้ง ย่อมไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้

.

เหตุที่ทำให้แก้หลายครั้งเรื่องคำเรียก สภาวะรู้แจ้ง
เพราะมันแตกต่างกับคำว่า การรู้แจ้ง

เมื่อพูดว่า การรู้แจ้ง ทำให้นึกถึง การรู้แจ้งทางตา หู ฯลฯ
จึงเปลี่ยนเป็น ความรู้แจ้ง เพราะไม่ใช่เรื่องการรู้แจ้งทางตา หู ฯลฯ(วิญญาณ 6)

เช่น อริยสัจ 4 ที่เกิดจากการอ่าน การศึกษา การท่องจำ
ทุกคนส่วนมากคิดว่า ใครๆก็สามารถแจ่มแจ้งอริยสัจ
หรืออาจมีบางคนคิดว่าแจ่มแจ้งอริยสัจด้วยตนเอง

ทุกคนจะแจ่มแจ้งด้วยตนเองตามความเป็นจริง ก็ต่อเมื่อเกิดความจำเสื่อม หรือ สภาวะสัญญาเสื่อม ทุกสิ่งที่เรียนรู้ หรือจากการศึกษา หรือ จากการอ่าน หรือจากการท่องจำ ทุกอย่างนี้ หายไปหมดไม่มีเหลือ เหมือนกับสภาวะสมาธิเสื่อม ทำให้กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะหมดไม่เหลือสักนิดเดียว แบบนั้นเลย

.
เพราะสภาวะรู้แจ้ง
ทำให้เปลี่ยนแปลงจิตใต้สำนึกตลอดกาล

“นิพพาน”

สภาวะก่อนที่เป็น stroke

11 กพ. 62

ถ้ามีคนเข้ามาอ่านแล้ว บ้างคนอาจจะไม่แน่ใจว่าเราสื่อเรื่องอะไร แบบเราเข้าใจ แต่การเขียนตรงนี้ อาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการพูดถึง

ตั้งแต่การรักษาตัว stroke เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน เรื่องความเสื่อมภายในจำได้ทั้งหมด(สภาวะ) แต่การพูดยังติดอ่าง การเขียนสะกด ถูกบ้าง ผิดบ้าง คิดว่าเป็นการฝึกเขียน ตรงนี้เวลาเราอ่านแล้ว ไม่โอเค ก็ลบทิ้ง เป็นแบบนี้ประจำ แต่ยังดีกว่าหน้านี้ อย่างน้อย เริ่มสะกดพยัญชนะตรงกับการออกเสียงมากขึ้น

 

สภาวะก่อนที่เป็น stroke

เราได้รักษาหัวใจเต้นจังหวะ(เร็ว) หมอที่รพ.อีกหนึ่ง ใช้วิธีปั๊บหัวใจ เพื่อปรับการเต้นของหัวใจ จำได้ว่า พอรู้สึกตัว เห็นหน้าอก มีลักษณะคล้ายปั๊บหัวใจ ก็เลยถามพยาบาลว่า เราปัีบหัวใจเหรอ แบบระบม พยาบาลบอกว่า ใช่

หมอมาบอกที่หลังว่า วิธีที่ใช้ทำการรักษาคือ การปั๊บหัวใจ เพื่อจังหวะการเต้นหัวใจจากเร็ว ให้กลับคืนมาเต้นปกติ

หลังกลับมาจากรพ. คืนวันที่ 30 ตค.61 ช่วง 03.00 ลุกปิดแอร์ แล้วนอนต่อ รู้ชัดจิตเป็นสมาธิ มีโภาส สว่างมากสีขาว พุ่งออกมาจากหัว รู้สึกถึงความร้อนแผ่ไปทั่วศรีษะ เล่าให้เจ้านายว่า มันแปลกๆ ทำไมมันร้อน แล้วโอภาส ทำไมเกิดเฉพาะหัวอย่างเดียว

.
ตั้งแต่เรารู้อาการที่เราเป็นอยู่ และข้อระวังการกระทบผลคือ อาจทำให้เป็นอัมพาต โดยเฉพาะลิ่มเลือดที่หลุดเข้าสมอง คือ ตรงนี้สำคัญมาก เพราะไม่ใช่ stroke ที่เกิดจากไขมัน แต่เกิดจากหัวใจ ลิ่มเลือดนี้ ถ้าเกิดแล้ว มีเสี่ยงลิ่มเลือดอาจจะหลุดออกไปอุดเลือดที่อื่นอีก

เมื่อคืน บอกเล่าให้เจ้านายว่า มันรู้สึกแปลกๆ ทำไมรู้สึกปวดแขนขวา ก่อนเกิดอาการปวดขา มีอาการอีกเรื่องคือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด eliquis 5 mg 1 เม็ด หลังอาหารเช้า-เย็น

ที่นี้เคยอาการที่เคยที่เป็นต่อนช่วงที่หมออีกรพ.ให้หยุดกินยา เพราะบอกว่า หัวใจที่รักษาให้แล้ว หายแล้ว จึงให้หยุดกินยายาต้านการแข็งตัวของเลือด หลังจากหยุดยา 22 พย.61

วันที่ 27 พย. เขียนบันทึกไว้ว่า รู้สึกแน่นมาหลายวันละ โดยเฉพาะช่วงเย็นและเวลานอน ทั้งที่มื้อเย็นกินน้อย ส่วนมากเป็นผลไม้

วันที่ 2 ธค. ตี 1 ปวดแน่นในท้อง นอนไม่ได้ นอนหัวสูง

วันที่ 3 ธค. กลางดึก 02.20 น.ปวดแน่นท้องมาก นอนหัวสูง กลางดึก รู้สึกหัวใจเต้นแรงมาก แค่รู้ แล้วนอนต่อ

วันที่ 4 ธค. ตี 1 คืนนี้แน่ท้องน้อยกว่าวันก่อน ยังราบนอนไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการกินเนื้อสัตว์หรือป่ะ วันนี้มื้อเย็น กินไข่ลวก 2 ฟอง+น้ำผลไม้+ผลไม้

วันที่ 5 ธค. 01.30 นอนไม่หลับ ปรับที่นอนหัวสูง หลับใกล้รุ่ง

วันที่ 6 ธค. วันนี้รู้สึกใจไม่ดี ใจหวิวๆแบบอกไม่ถูก ตี 1 นอนไม่หลับ หลับใกล้รุ่ง นอนหัวสูง

วันที่ 7 ธค. ช่วงเย็น 17.00 เดิน 3 ชม. มีอาการวูบเป็นระยะสั้นๆ หายใจไม่เต็มอิ่ม

วันที่ 8 ธค. เหมือนจะวูบบ่อย ยังรู้สึกใจไม่ดี

วันที่ 9 ธค. ยังอาการใจไม่ดี นอนหัวสูงทุกวัน

วันที่ 10 ธค. ตี 4 เข้าห้องน้ำ ปวดหัวด้านขมับข้างซ้าย เอามือจับหัว หยุดเดิน ตั้งสติ แล้วเข้าห้องน้ำ ตอนนี้พูดอะไรกับเจ้านายไม่รู้เรื่อง ตอนนั้นคิดว่า เขาฟังเราไม่เข้าใจ ดึกมั่ง ที่ไหนไหน มาดูสมุดบันทึก ตัวหนังสือที่เราเขียนไว้ เขียนไม่รู้เรื่อง เขียนได้เฉพาะตัวเลข อักษรเขียนสะกดไม่ได้ เวลาเขียนกำหนดไม่ได้ เขียนแต่ไว้แค่ว่า 1 เช่น วัดV/S เขียนครั้งแรก 04.34 เขียนไม่เรื่อง ตัวเลข เหมือนคนไม่ได้เรียนหนังสือ

เช้าวันที่ 11 ธค. ความจำเสื่อม เห็นหน้าเจ้านาย เราจำได้ ตัวหน้าตัวเอง จำได้ แต่จำชื่อไม่ได้ คำเรียกต่างๆ จำไม่ได้ แต่ยังทำงานปกติได้ปกติ แต่เรียกไม่เป็น ไม่รู้ว่าสิ่งเหล่ารอบตัว ไม่รู้ว่าเรียกอะไร เหมือนเด็กที่ตั้งแต่แรกเกิดลืมตาบนโลก ไม่รู้ว่า สิ่งทีมองเหมือน ไม่รู้เรียกชื่อว่าอะไร มันว่างเปล่า ภายในรู้ชัดในผัสสะต่างๆ แค่ไม่มีเรียก

ตอนเช้า แอบเข้าห้องน้ำ นั่งน้ำตาไหล แบบคิดว่า เราเป็นอะไร ปล่อยให้น้ำตาไหล แล้วคิดว่า อดทนไว้

ตอนช่วงสาย เขาหาข้อมูลจากเนต เจออาการที่เราเป็นอยู่ เขาให้อ่าน แปลกนะ เราอ่านภายในจิต อ่านรู้จัก จำได้ แต่ภายนอก การเรียกชื่อต่างๆแบบเฉพาะ จำไม่ได้ จำได้แค่ในใจ
คำพูด ยังพูดได้ แต่ต้องใช้เวลาในการพูด

เขาหาว่า ไปหมอมั๊ย
เราบอกว่า พูดแบบคนติดอ่าง บอกเขาว่า ไม่เป็นไรมั่ง แค่แบบความจำ คำไม่ได้ พูดได้แต่ติดอ่าง อื่นๆปกติ รอตอนตามที่หมอแล้วกัน (13 ธค.) วันนั้นนอนทั้งวัน แบบเป็นสมาธิตลอด ตอนเช้าเขาไปทำงาน

เรื่องราวที่ช่วงนี้จำไม่ได้ จำได้ถูกน้องที่ทำกรรมฐานอยู่กับเรา ติดต่อกับเรา เขาอยากไปมารพ. แต่เขาติดงาน เราบอกว่า ไม่ต้องหรอก ให้เบอร์ของลูกชายของเรา

อ่อ.. ลูกชายโทรฯมาหา หรือเจ้านายติดต่อกับลูกชาย ยังรู้สินะ จำไม่ได้นะ

พยาบาลติดต่อมาจากรพ. ถามว่า ไม่หมอมั๊ย
เราบอกว่า รอตามเจอที่หมอนัด
พยาบาลถามว่า นั่งแท็กซี่ไม่ได้มั๊ย
เราบอกว่า พูดไม่รู้เรื่อง แบบจำได้ว่าไปไหนได้ แต่เรียกชื่อไม่เป็น
พยายาลถามว่า อยู่คนเดียวเหรอ
เราบอกว่า อยู่คนเดียว
พยาบาลถามว่า อยู่คนเดียวได้เหรอ
เราบอกว่า ได้

.
วันที่ 13 ธค. พอที่หมอที่ทำ ct ถามว่า เราปวดช่วงไหน
เราบอกว่า ตรงนี้ ชี้ตำแหน่งให้กับหมอ

ลูกชายเล่าให้ฟังว่า หมอบอกว่า บางคนถ้าตำแหน่งไม่เจอ ทำไมต้องทำซ้ำจนกว่าจะเจอ แต่เราทำครั้งเดียว เจอเลย ลิ่มเลือดจากหัวใจ หลุดเข้าไปอุดทางเดินเลือดไปสมอง ตอนนั้น เรายังไม่เข้าใจอะไรนัก รับฟังอย่างเดียว

คืนแรกที่นอนรพ. ตี 2 พยาบาลที่วัดv/s ช่วงนั้น เราจำคำเรียกว่าอะไร แบบนอนหลับตา แล้วพูดพยาบาลว่า เห็นสว่างมั๊ย สว่างมากๆ พูดหลายฟัง แต่เขาไปทางอื่น เรานอนมองแสงว่างรอบหัว

ใกล้ช่วงเช้ามืด เราเริ่มจำได้ แต่แบบไม่ชัดทั้งหมด แต่จำว่าทำไมเราถึงต้องมานอนรพ. หมอหัวใจทำอะไรไว้กับเรา จึงทำให้เราต้องเป็นแบบนี้ ความรู้สึกตอนนั้นคือ คิดว่า หมอเป็นดูแลมาตลอด แต่ไม่น่าทำกับเราแบบนี้

พอความจำได้เกือบหมด การพูด เริ่มพูดเป็นถูก เรียกชื่อรพ.ได้ ชื่อหมอ เรียกได้ แต่ยังบอก ลบ ตัวเลขยังไม่ได้ การได้ยินเสียง ยังออกก้อง อื่นๆปกติ

หมอที่รักษาอยู่ บอกว่า เราเป็นคนที่ แบบ .. อื่ม .. คือ ดีจากคนไข้ทั่วๆไปที่หมอเจอมา

อาการที่หมอเขียนไว้คือ อาการทั่วไปหลังการรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยตื่นดี ถามตอบรู้เรื่อง แต่ยังนึกคำพูดได้ช้าบางครั้ง ยกแขนขาได้ปกติ ไม่ชา ไม่มีหน้าเบี้ยวปากเบี้ยว ไม่มีไข้ ไม่เจ็บหัวหน้าอก ไม่มีใจสั่นเหงื่อแตก ไม่หอบ ไม่เหนื่อย

.
เราเคยอ่านของคนที่เป็น stroke บางคนได้รับการรักษาทันที ยังไม่รอดจากอัมพาต ต้องใช้เวลาการรักษา

ส่วนเราไม่ได้รักษาทันที เพราะไม่รู้ว่าเราเป็นอะไร ทิ้งไว้ตั้งแต่เริ่มเป็น 10 ธค. รักษาวันที่ 13 ธค.

ตอนที่ความจำกลับมาได้ ครั้งแรกจำได้เรื่องที่เราเป็นจากอะไร แต่เราอโหสิกรรม คือ เราชื่อว่า เราอาจเคยกระทำอะไรกับหมอ จึงทำไมเราจึงต้องเป็นแบบนี้ ถ้าจะเอาเรื่องกับหมอก็ด้วยกฏหมาย ก็ทำได้นะ เพราะเรามีจดบันทึกรายละเอียดทุกระยะ เราจดบันทึกการหาหมอ เพราะเราติดจากการทำกรรมฐาน

ต่อมา ที่จำได้คือ เรื่องสภาวะต่างๆ จดได้หมด สภาวะทุกสิ่งจำได้ ที่เป็นไปคือ แบบที่เรียกว่า สภาวะรู้แจ้ง คือ มันรู้ชัดทุกอย่าง แล้วรู้ว่า ที่เรียกกันว่า ความจำเสื่อมนั้น นั้นคือ สภาวะสัญญาเสื่อม มันไม่ใช่เรื่องราวชีวิต แต่เป็นเรื่องขันธ์ 5 แบบนี้จึงทำไม เวลาอ่านพระสูตร จะเหมือนเป็นสภาวะ จึงไม่ต้องจดจำ เห็นทันที รู้ทันที แต่ความจำเรื่องการสวดมนต์ ลืมหมด จำแค่ นโม ที่เหลือจำไม่ได้ แผ่เมตตา จำไม่ได้ แต่ตอนนี้ จำได้นิดๆ ถ้าอ่านบอกๆ ก็จำได้ มันไม่เหมือนสภาวะเรื่องปฏิบัติ จะรู้แบบอัตโมติ เขียนเรียกไม่ถูก แต่อริยสัจ 4 เขียนถูก จำได้ ถึงๆที่ไม่ได้ไปอ่านมา ตอนนี้แบบตอนหลัง นึกถึงพระพุทธเจ้าตรัสไว้เรื่อง ปัญญาเสื่อม

“สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด”

เป็นยืนยันว่า อริยสัจ 4 เมื่อหยั่งแล้ว ต่อให้ความจำเสื่อม แต่การที่แจ่มแจ้งแล้ว ไม่มีวันเสื่อม มันไม่เหมือนการท่องจำ

 

 

สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดที่หลัง

13 มกราคม

รายละเอียดของคำเรียกต่างๆ สัญญาจะมีเกิดขึ้นได้
เกิดจากการถูกกระตุ้น เช่น จากการอ่าน การสนทนา
และที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
หรือหลังจากจิตคลายตัวออกจากสมาธิ

สัญญาจะกลายเป็นปัญญาได้ต่อเมื่อ รู้แล้วหยุด
กล่าวคือ การดับเหตุแห่งทุกข์

หากคิดว่ารู้ แต่มีสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก(กายกรรม วจีกรรม)
ล้วนเป็นเพียงสัญญา หาใช่ปัญญาไม่

.

เดี๋ยวนี้ จิตดับในสมาธิมากขึ้น

การดับในสมาธิ เป็นเพียงเครื่องมือพักผ่อนของจิต
วันนี้ดับตั้งแต่ ๙ โมงเช้าถึง ๑๗ น.

 

14 มกราคม

อ่านเจอเรื่อง ขโมยธรรม
ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

“สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน
ญาณในพระนิพพานเกิดภายหลัง ฯ

.

ทำให้เกิดการทบทวนสภาวะ และสิ่งที่เคยเขียนไว้
ไล่ทบทวนแต่ละสภาวะที่มีเกิดขึ้น

เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความรู้ชัดสิ่งที่เรียกว่า กิเลส
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
เมื่อไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต
ทุกๆการกระทบ จะรู้ชัดมาก
เปรียบเหมือนหนามทิ่มแทงลงในเนื้อ

ด้วยเหตุปัจจัยนี้ ทำให้รู้ชัดใน ปัจจเวกขณะญาณ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

ปฏิจจสมุปบาทในส่วนที่เหลือ รู้แบบคลุมเครือ ไม่ชัดเจน

.

ต่อมา มีสัญญาเกิดขึ้น
นิพพานคือ ความดับภพ ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า ภพ หมายถึงสิ่งใด
กำหนดรู้มาเรื่อยๆ สัญญามีเกิดขึ้นเนืองๆ เขียนออกมาเรื่อยๆ

จนกระทั่งรู้ชัดว่า ภพ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
เป็นเรื่องของ มโนกรรม

ต่อมา เริ่มแยกแยะได้ว่า คำว่า ดับภพ หมายถึงสิ่งใด
หมายถึง การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
และการดับเหตุปัจจัยภพชาติของการเกิดเวียนว่ายในสังสารวัฏ

จนกระทั่งมาแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับ

ผัสสะกับอริยสัจ ๔(ตัณหา)

ปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ ๔(อวิชชา)

.

สรุปจากสภาวะทั้งหมด ที่รู้ชัดด้วยตนเอง
ตรงกับคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ คือ
ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน(ความรู้ชัดในผัสสะ/ปัจจเวกขณญาณ)
ญาณในนิพพานเกิดทีหลัง(นิพพานคือความดับภพ)
เป็นเหตุปัจจัยให้ รู้ชัดในปฏิจจสมุปบาทส่วนที่เหลือ
ค่อยๆชัดมากขึ้น จนกระทั่ง รู้ชัดแบบแจ่มแจ้งในที่สุด

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต คือ กามภพ
เป็นเรื่องของ มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น)

มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน คือ รูปภพ
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอรูปฌาน คือ อรูปภพ

ชาติ การเกิด การได้ครบแห่งอายตนะ
หมายถึง กายกรรม วจีกรรม
กล่าวคือ กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น

ชรา มรณะ ความเสื่อม
หมายถึง โลกธรรม ๘

โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปยาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

.

ทำไมอริยสัจ ๔ จึงเป็นหัวใจพระธรรมคำสอน
เพราะ อินทรีย์ ๕ ประการ ได้แก่
สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์

จะบรรลุเร็ว(รู้เร็ว) หรือบรรลุช้า(รู้ช้า)
ตัวแปรคือ ปัญญินทรีย์ ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

 

 

สิ่งที่ขีดเขียนมาตลอด เป็นระยะๆ
เป็นการรู้ โดยตามลำดับ
ทำให้เกิดการละ โดยตามลำดับ
ตอกย้ำ สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดที่หลัง

เพราะเห็นด้วยปัญญา

27 มกราคม

หลังซ่อมโซฟาเสร็จ รู้ชัดจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่
ระหว่างนั้น ก็ไม่ได้มีความนึกคิดในเรื่องใด

อ่านเจอเรื่อง ศิล ที่เป็นไทจากตัณหา
ที่มีกลุ่มคนนำมาสนทนากัน

.
ทำให้จิตคิดพิจรณาเรื่อง ปัญญาวิมุติ

พิจรณาไปมา โยงไปหา เพราะเห็นด้วยปัญญา

โยงไปสู่ ปัญญิทรีย์

.
เจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ
เกิดจากความต่างแห่งอินทรีย์(อินทรีย์ ๕ พละ๕)

.
ซึ่งเคยเขียนค้างไว้ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๐
เกี่ยวกับปัญญินทรีย์และอาสวะ(บางเหล่าและทั้งหลาย)
ของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

เป็นคนละตัว คนละสภาวะกัน

.

.

ซึ่งแยกแยะรายละเอียดได้ดังนี้

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายถึง ไตรลักษณ์
อนิจจัง(ไม่เที่ยง)
ทุกขัง(เป็นทุกข์)
อนัตตา(เป็นอนัตตา)

.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ใจเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

.

เมื่อมีเกิดขึ้นเนืองๆ
อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา
อนัตตานุปัสสนา

ผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ.

.

.

๑. มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
กล่าวคือ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

.

๒. มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
กล่าวคือ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ อรูปภพ)

.

๓. มีเกิดขึ้นขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย

หากยังไม่ทำกาละ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสภาวะ
อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์

ปัจจเวกขณญาณ

ครั้งที่ ๑. แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองใน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ผัสสะ กับ อริยสัจ ๔

ครั้งที่ ๒. แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองใน อวิชชา สังขาร วิญญาณ
ปฏิจจสมุปทาท กับ อริยสัจ ๔

.

.

ปัญญิทรีย์ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔
เกิดที่หลังสภาวะ เพราะเห็นด้วยปัญญา(ไตรลักษณ์)

 

 

28 มกราคม 2561

ตอนแรก สับสนเหมือนกันนะ
ระหว่าง ปัญญาวิมุติและปัญญินทรีย์

ที่เคยเขียนๆไปแล้ว ก็สัแต่ว่าเขียน
แต่ยังมีความไม่แน่ใจ แค่เขียนตามสภาวะสัญญาที่มีเกิดขึ้น

เมื่อคืนดึกแล้ว พยายามกำหนดจิตให้ดิ่ง ยังไงก็ไม่ดิ่ง
จิตยังคงเป็นสมาธิพอประมาณ

เมื่อเป็นแบบนี้ นอนกำหนดรู้ไป
มีสัญญาเรื่องสมถะและวิปัสสนา
เจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติเกิดขึ้น

ลุกเข้าห้องน้ำ นั่งเขียนในห้องน้ำ
เช้ามาลองหาตามที่เขียนออกมา
เจอพระสูตรเรื่องสมถะ และวิปัสสนา
ส่วนปัญญินทรีย์ เป็นเรื่องของอินทรีย์ ๕ พละ ๕
คนละสภาวะกับปัญญาวิมุติ

และถ้าไม่เจอพระสูตรเรื่องบุคคล ๗ จำพวก
ว่าด้วยความไม่ประมาทในผัสสะ ๖

ในพระสูตรนี้ มีเขียนไว้ตามลำดับ
ตั้งแต่สัทธานุสารี ธัมมานุสารี
ซึ่งมีเรื่องของอินทรีย์ ๕ พละ ๕ มาเกี่ยวข้อง

จึงทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นว่า
“อาสวะบางส่วนและทั้งหมดที่สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา”

หมายถึง การละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

มีด้วยกัน ๓ ขณะ

๑. มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

ได้แก่ ศิลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

ข้อปฏิบัติ
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

.

มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน,อรูปฌาน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ,อรูปภพ)

ได้แก่ สัมมาสมาธิ

ข้อปฏิบัติ
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

.

๓. เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะเกิด อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

ข้อปฏิบัติ
เจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป

สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์

.

.

ปัญญาวิมุติ เป็นเรื่องของวิปัสสนา
ที่มีเกิดขึ้นใน อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นเหตุปัจจัยให้ละอวิชชา
ได้แก่ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔

.

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้

วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไรย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ

– ฉบับหลวง ๒๐/๕๘/๒๗๕-๖.

หมายเหตุ;

“เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ”

“ย่อมราคะได้”
กามราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในผัสสายตนะ ๖
รูปราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในรูปฌาน
อรูปราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในอรูปฌาน

หรือจะใช้ตัณหาก็ได้ ความหมายเดียวกัน

.
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ
“ย่อมละอวิชชาได้”
ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔

.

อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้
อวิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร
บุคคลจึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ความไม่รู้ในทุกข์
ในเหตุให้เกิดทุกข์
ในความดับทุกข์
ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์
นี้เรียกว่าอวิชชา

และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗

สัญญา

สภาวะสัญญา คือ การเรียนรู้ปริยัติ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เป็นการเรียนรู้ทางจิต

ถ้ามีความอยาก หรือมีกิเลสแทรก จะไม่เห็นตามความเป็นจริง

ถ้าจิตสงบจากภายนอก รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ
มีสิ่งใดเกิดขึ้น สักแต่ว่ารู้ รู้ไปแบบปกติ สภาวะสัญญาจะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจัย

หลายวันมาแล้ว เคยเขียนไว้เกี่ยวกับความฝัน คำเรียกของนิพพานต่างๆ
เป็นคำสมมุติ ใช้ในการสื่อสารเรื่องสภาวะนิพพานที่เกิดขึ้น

รู้แค่ว่าฝัน ไม่ได้ใส่ใจอะไร
เพียงบอกกับเจ้านายว่า เดี๋ยวได้มีอะไรให้รู้แน่

การที่จะรู้ชัดในสภาวะสัญญาต่างๆ(คำเรียก) ที่เกิดขึ้น
ต้องเคยมีประสพการณ์เกี่ยวกับสภาวะเหล่านั้นมาก่อน

สิ่งที่วลัยพรได้รู้ ได้เห็น เกิดจากการเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก
ทุกคนถูกให้เรียนรู้สภาวะ โดยเรียนรู้จาก สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตทั้งหมด

เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงไม่รู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต คือ การเรียนรู้
เพราะไม่รู้ จึงหลงสร้างเหตุทาง มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม
การดำเนินชีวิต จึงเป็นไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อรู้แล้ว จึงหยุด เริ่มต้นจากพยายาม ที่จะหยุด
จนกระทั่ง หยุดแบบปกติ โดยไม่ต้องคิดพยายามที่จะหยุด

รู้ที่ใจ จบลงที่ใจ

ตั้งแต่เกิดสภาวะความรู้สึกตัวเกิดขึ้นเนืองๆ จิตมีคิดพิจรณาตลอด
บางสิ่ง เคยอ่านผ่านตา แต่นึกไม่ออกว่า เคยอ่านเจอที่ไหน
บางสิ่ง เคยเขียนไว้แล้ว แต่นึกไม่ออกว่า เคยเขียนไว้ตรงไหน

ไม่มีความพยายามที่จะคิดต่อ คิดแค่รู้ว่าคิด
รู้ดีว่า ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม เดี๋ยวรู้เอง

เส้นผมบังภูเขา ติดอยู่แค่ปลายจมูก
พอรู้ปั๊บ ถึงบางอ้อทันที

อ่อ … คำเรียกนี้ คือ ตรงนี้
นิพพาน ที่เกิดจากไตรลักษณ์ มาจากไหน
มาจากตรงนี้นี่เอง สภาวะที่เกิดขึ้น มีลักษณะแบบนี้ๆ

เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่
จึงมีการนำไปสร้างเหตุของการเกิดกันต่อไป แทนที่จะแค่รู้
กลับนำไปเผยแผ่ ตั้งตนเป็นอาจารย์ ผลคือ ติดแหงกกันอยู่แค่นั้น

มีเหตุ ย่อมมีผล
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เป็นเรื่องธรรมดา

รู้แจ้งสภาวะสัญญาและนิพพาน

เมื่อรู้แจ้งสภาวะสัญญา

ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “สัญญาคตะว่าอย่างนี้ ๆ ก็มีอยู่, สัญญาคตะว่าเลว ก็มีอยู่,
สัญญาคตะว่าประณีต ก็มีอยู่, และอุบายอันยิ่งเป็นเครื่องออกจากสัญญาคตะนี้ ก็มีอยู่” ดังนี้.

เมื่อเธอนั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ.

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”.
เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน, ดังนี้แล.
– มู. ม. ๑๒/๖๙/๙๗.

เมื่อรู้แจ้งสภาวะนิพพาน

ในกาลไหน ๆ ท่านเหล่าใด เห็นภัยในความยึดถือ อันเป็นตัวเหตุให้เกิดและให้ตายแล้ว

เลิกยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นไปได้ เพราะอาศัยนิพพานอันเป็นธรรมที่สิ้นไป แห่งความเกิดความตาย ;

เหล่าท่านผู้เช่นนั้น ย่อมประสพความสุข ลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษม
เป็นผู้ดับเย็นได้ ในปัจจุบันนี้เอง ล่วงเวรล่วงภัยทุกอย่างเสียได้
และก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งความเป็นทุกข์ทั้งปวง.
– อุปริ. ม. ๑๔/๓๔๖/๕๒๕.

สภาวะสัญญา

ขณะที่จิตเป็นสมาธิ ตั้งแต่กายหยาบหายไป ปรากฏแต่ความว่าง หรือ รู้ที่กายเป็นขณะ สภาวะที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ ไม่มีคำเรียกใดๆเกิดขึ้น จะมีแค่รู้อย่างเดียว

สมาธิคลายก็รู้ เกิดก็รู้ ดับสนิทก็รู้ คือ รู้ในแต่ละขณะๆๆๆๆ ส่วนคำเรียกต่างๆนั้น นำมาใส่เอง หลังจากผ่านสภาวะนั้นๆมา แล้วนำไปเปรียบเทียบกับตำราต่างๆ ที่มีเขียนไว้

ตัวอย่าง พระอานนท์ สนทนากับพระสารีบุตร

” อา. ดูกรท่านสารีบุตร ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ

สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนคร
สาวัตถีนี้แหละ ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการที่ผมมิได้มีความสำคัญใน
ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์เลย มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็น
อาโปธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์
มิได้มีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความ
สำคัญในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มี
ความสำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้
มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ มิได้มีความ
สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ”

หมายเหตุ:

สิ่งที่พระสารีบุตร กล่าวว่า เป็นผู้มีสัญญา หมายถึง สิ่งทีเกิดขึ้น ขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่ ซึ่งมีผู้นิยมเรียกว่า ปัญญา

และสมาธิที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะนั้นๆ แค่รู้ว่ามีรายละเอียดต่างๆของสภาวะเกิดขึ้น ไม่มีคำเรียกปรากฏ

” อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพ
เป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เปลว
อย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
แก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง
ย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มี
สัญญาว่า การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ”

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=186&Z=277

ปริยัติ/สัญญา

สภาวะเกี่ยวปริยัติ ที่ขีดๆเขียนๆอยู่ตอนนี้ ล้วนเป็นเพียง สภาวะสัญญา สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอ่าน ไม่นำไปสร้างเหตุกับผู้อื่น

ที่เขียนๆลงไปนั้น เป็นเพียงสภาวะ เมื่อรู้ชัดในเหตุและผลแล้ว ไม่เคยคิดให้ใครเชื่อ เพราะทุกสรรพสิ่ง ล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิด

เมื่อรู้แล้ว ย่อมมุ่งดับเหตุของการเกิด มากกว่า สร้างเหตุของการเกิด

เมื่อยังมีความไม่รู้ จึงสร้างมากกว่าดับ เป็นเรื่องปกติ ของเหตุปัจจัยที่มีอยู่

เดี๋ยวนี้ เวลาใครมาขอคำแนะนำเรื่องปฏิบัติ จะบอกเพียงแต่ วิธีการดับเหตุของการเกิด ได้แก่ ใช้หลักโยนิโสมนสิการ ในการดำเนินชีวิต

ส่วนการปฏิบัตินั้น เขาทำแบบไหน แล้วสมาธิเกิด ใช้ได้หมด สมาธิที่เกิดขึ้น มากน้อย ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แค่รู้ชัดในสภาวะ ที่เรียกว่า จิตเป็นสมาธิ ใช้ได้แล้ว สภาวะอื่นๆ ค่อยมาปรับเปลี่ยนทีหลัง

บางคน มาปรึกาาปัญหาชีวิต เมื่อก่อนนี้ เพราะ ความที่คิดไม่ถึงว่า เราแนะนำไปอย่างไร ผลเรานั้น เป็นคนรับ เพราะหลงสร้างออกไป เพราะคิดว่า ไม่มีผลต่อสภาวะ

กว่าจะรู้ว่า มีผลต่อสภาวะ ต้องเจอบททดสอบเดิมๆซ้ำๆ จนกว่าจะมีสติ ระลึกได้ว่า ผลที่เป็นแบบนี้ เหตุมาจากไหน

เรื่องการทำความเพียรก็เหมือนกัน เมื่อก่อนยังมีพูดว่า ถ้าไม่อยากทำ ทำแค่ ๕ นาที ก็ได้ โดนหมดนะ เข็ดจริงๆ

พอรู้แล้ว หยุดเลย เดี๋ยวนี้ ไม่ว่าใครจะพูดอะไรให้ฟัง จะบอกเพียงแต่ว่า หยุดสร้างเหตุนอกตัว ทำความเพียรต่อเนื่อง ทำได้แค่ไหน ทำแค่นั้น ตามสภาวะของตัวเอง

ถ้าทำได้ ชีวิตจะดีขึ้นจริงๆ อันนี้กล้ารับประกัน

ถ้าอยากรู้เรื่องของวลัยพร ก็อ่านในบล็อกเอาเอง อ่านแต่เรื่องปฏิบัติ เรื่องอื่นๆอย่าไปอ่าน เพราะ ตัวข้าพเจ้าเอง ก็ยังมีกิเลสอยู่

เพียงแต่ ไม่ชอบเก็บเรื่องต่างๆไว้ในใจ จึงขีดๆเขียนๆออกมา หยุดเขียนเรื่องนั้นเมื่อไหร่ นั่นคือ จบแล้ว หากยังมีเกิดขึ้นอีก ก็ยอมรับ เท่านั้นเอง ก็ยังเขียนอยู่ แต่ถ้าอยากจะอ่าน ก็ไม่หวงห้าม ตามสบาย

ที่ห้ามน่ะ ไม่ใช่อะไร คนเรา ตราบใดที่ยังมีกิเลส เวลาอ่าน มีชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ล้วนเกิดจากการปรุงแต่งตามอุปทานที่มีอยู่ มีแต่เหตุของการเกิด จึงห้ามเพราะเหตุนี้

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ