พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

25  สิงหาคม
พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน แล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน
พระผู้มีพระภาคออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ
.
บางคนอ่านแล้ว อาจไม่เข้าใจ สงสัยว่า ออกจากจตุตถฌาน ถ้างั้นเวลาทำกาละก็ไม่แตกต่างคนธรรมดาทั่วๆไป
ภายนอก อาจจะมองเห็นเป็นแบบนั้น
ส่วนภายใน พระองค์ทรงรู้ชัดในสติปัฏฐาน ๔ ตัณหาไม่มี อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่มี ผัสสะที่มีเกิดขึ้นสักแต่ว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นเพียงสภาวะที่มีเกิดขึ้นเท่านั้น แล้วดับ(ปรินิพพาน)
ตรงนี้สามารถอธิบายได้ เพราะเคยตายมาแล้ว/หัวใจวาย(สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒) ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
ไม่ใช่ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๑)
.
ส่วนตรงนี้
ปรินิพพานสูตรที่ ๕
[๖๒๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะได้กล่าวคาถา พร้อมกับการเสด็จปรินิพพานว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของพระผู้มีพระภาคผู้มีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว พระมุนีผู้ไม่หวั่นไหว มุ่งใฝ่สันติ  มีพระจักษุ เสด็จปรินิพพานแล้ว
พระองค์ผู้มีพระทัย ไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาไว้ได้ มีพระทัยหลุดพ้นแล้ว ดุจดวงประทีปที่โชติช่วงดับไป ฉะนั้น
.
ตรงนี้เราอธิบายได้นะ คำว่า ทรงอดกลั้นเวทนาไว้ได้
คำกล่าวที่ว่า ทรงอดกลั้นเวทนาไว้ได้  ไม่ตรงสภาวะที่มีเกิดขึ้น 
สภาวะที่มีเกิดขึ้น จะมีแค่สภาวะ ๒ สภาวะที่มีเกิดขึ้น คือ ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้น) และใจที่รู้อยู่  ไม่มีการกลั้นเวทนาใดๆทั้งสิ้น
ถ้าบอกว่ายังมีกลั้นเวทนาไว้ นั่นหมายถึงอุปาทานขันธ์ ๕ ยังมีอยู่ พระอรหันต์ ตัณหาทำลายไม่มีเหลือ เวทนาสักแต่ว่ามีเกิดขึ้น แต่ไม่ผลกระทบต่อใจ กายและจิต แยกขาดออกจากกัน

การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ …
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต …
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ …
อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้ว ตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควัน เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำหรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปุริสคติ ๗ ประการนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ …
อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

อนุปาทาฯ

12-03

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรม
อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว
ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรม อันเราแสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว
ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ
คิลานสูตรที่ ๒

 

14-03

เนื่องด้วยอนุปาทาปรินิพพาน ที่เขียนไว้ในปี ๕๗

.
๑๙ กค.๕๗

ตอนนี้มีความคิดเกิดขึ้นเนืองๆ ประมาณว่า
หัวใจของวิธีการกระทำ(แก่น) เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ มีอยู่ ๒ ข้อ คือ

๑. การดับเหตุ ที่จะเกิดต่อจาก สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจาก ผัสสะ
สิ่งที่มีเกิดขึ้น ในชีวิต กล่าวคือ

หากทุกคนรู้ว่า ผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือเฉยๆ

เพียงแค่รู้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้น
พยายามไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
ที่เกิดจากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

หากทำได้แบบนี้ เท่ากับเป็นการดับเหตุแห่งทุกข์
ที่จะมีเกิดขึ้นในภพชาติปัจจุบัน
และ มีผลให้ การเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏ สั้นลง
จะกี่ชาติ ไม่ต้องคิด แต่สั้นลงอย่างแน่นอน

.
๒. การดับเหตุ ที่จะเกิดต่อจาก สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจาก ผัสสะ
หรือ สิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร กล่าวคือ

หากทุกคนรู้ว่า ผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร
สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือเฉยๆ เช่น
นิมิต แสง สี เสียง กายสัมผัส ความนึกคิด(จิตคิดพิจรณา)

เพียงแค่รู้ว่า มีสิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น เป็นความปกติของผัสสะที่มีเกิดขึ้น
จะเกิดด้วยกำลังสมาธิ สติ สัมปชัญญะ ให้แค่รู้ว่ามีเกิดขึ้น
ไม่ต้องใส่การปรุงแต่งลงไป(คำเรียกต่างๆ)

หากทำได้แบบนี้ การทำความเพียรจะก้าวหน้า
ไม่ติดกับดักของอุปกิเลสต่างๆ(ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำความเพียร)

เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม สภาวะต่างๆที่มีอยู่ในตำรา จะเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย
มีผลให้ ภพชาติการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร สั้นลงอย่างแน่นอน

ทั้งการหยุดสร้างเหตุนอกตัว และการทำความเพียร ควรทำ ๒ อย่างนี้ควบคู่กันไป
เพราะการสร้างเหตุทั้งสองอย่างนี้ ต่างฝ่าย ต่างเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน

.
อาจจะมีคำถามว่า เลือกทำอย่างใด อย่างหนึ่งได้ไหม?

คำตอบคือ วลัยพรรู้วิธีการ จึงนำมาบอกเล่า
ส่วนใครจะเลือกวิธีการแบบไหน ขึ้นอยู่กับตัดสินใจเลือกกันเอง

ส่วนวลัยพร ทำทั้ง ๒ อย่าง เพราะ เบื่อทุกข์ ไม่อยากเกิด
เกิดมาแล้ว ให้มีชีวิตสุขสบายขนาดไหน ก็ไม่พ้นทุกข์

แถมแรกเกิด ต้องโง่มาก่อน โง่กับกิเลสที่มีอยู่
กว่าจะรู้ ยังไงก็ทุกข์เกิดขึ้นก่อน
ขึ้นชื่อว่า การเกิดจึงน่ากลัว

.
หมายเหตุ;

อ่านจากที่จดบันทึกไว้เกี่ยวกับอนุปาทาปรนิพพาน เริ่มเขียนปีพศ. ๒๕๕๖
มีเรื่องของสอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทาปรินิพพานธาตุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

คือในตอนนั้นยังเข้าใจว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทาปรินิพพานธาตุ
เป็นสภาวะเดียวกันกับ สอุปาทิเสสะและอนุปาทาทิเสสะ

กว่าจะรู้ชัดในความหมายในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ของคำเรียกนั้นๆ นี่ก็ปี ๒๕๖๑ เป็นเวลา ๕ ปี

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คนละตัวคนละสภาวะกับสอุปาทิเสสะ

อนุปาทาปรินิพพานธาตุ สภาวะเดียวกันกับอนุปาทาทิเสสะ

.
อนุปาทาปรินิพพานธาตุ ในแง่ของคำเรียก พระอรหันต์ขีณาสพ
ที่เกิดจาก การรู้โดยตามลำดับ ละโดยตามลำดับ

คนละตัวคนละสภาวะกับอนุปาทาปรินิพพาน
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัย คือมานะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

 

 

 

ละตามลำดับกับอนุปาทาฯ

11-03

ความแตกต่างของสภาวะที่มีเกิดขึ้นในจิต
ในเรื่องของการปฏิบัติ

.
ปฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน
กับปฏิบัติเพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
ได้แก่ โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์

.
สิ่งที่รู้ชัดด้วยตนเองอยู่อย่างหนึ่งคือ

บุคคลบัญญัติ เป็นสภาวะของการละกิเลสโดยตามลำดับ
กล่าวคือ อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่

.
๒. สติปัฏฐานสูตร

[๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมเจริญ
ทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ เธอพึงหวังได้ผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ด้วยดีเฉพาะตน

เพื่อปัญญาอันให้หยั่งถึงความตั้งขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย ๑

ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑

มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑

มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑

พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมเจริญ ทำให้มาก
ซึ่งธรรม ๕ ประการนี้แล เธอพึงหวังได้ผล ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ฯ

.

.
กับ

การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับเหมือนบุคคลบัญญัติ
เพราะเป็นเรื่องของสภาวะจิตดวงสุดท้าย ขณะทำกาละ
จะเกิดอีก หรือไม่เกิดอีก ตัววัดผลของการปฏิบัติที่ตรงนี้
จึงเป็นที่มาของ มรณสัญญาที่ตั้งไว้ด้วยดีภายใน

๑. คิลานสูตร

[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปที่ศาลาภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งที่ทุรพล เป็นไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตบแต่งไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็นไข้ เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นว่าไม่งามในกาย ๑

ความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑

มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑

พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑

มีมรณสัญญาปรากฏขึ้นด้วยดี ณ ภายใน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็นไข้ เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ฯ

 

 

12-03

วันนี้ ขณะจิตคลายตัวออกจากสมาธิ
ได้มีสัญญาเกิดขึ้นอย่างหนึ่งว่า

เจโตวิมุตติอันเป็นอริยะ แบ่งออกเป็น ๒

๑. การปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

๒. การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

.
คำเรียกทั้งสอง ดูเผินๆ สภาวะจะเหมือนๆกัน
แต่มีความแตกต่างกันอยู่

การปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
กล่าวคือ รู้โดยตามลำดับ ละโดยตามลำดับ
ได้แก่ โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์

.
พระอรหันต์ขีราสพ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ

และ ขณะทำกาละ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

.
ทว่า การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
ไม่ได้มีความสำคัญมั่นหมายในเรื่องของอริยบุคคลแต่อย่างใด
แต่เป็นการปฏิบัติที่มุ่งเฉพาะ ผู้ที่เบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

ได้แก่ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
กล่าวคือ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะทำกาละ(สภาวะจิตดวงสุดท้าย)

เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัย คือมานะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

เบื่อ

๑๙ กค.๕๗

บางครั้งขีดเขียนเกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ แล้วแต่สัญญาจะเกิด(จิตคิดพิจรณา)

สิ่งที่เขียนลงไป เป็นการเขียนเพื่อดูผัสสะ ที่เกิดขึ้น แล้วให้ค่าในผัสสะที่เกิดขึ้นว่าอย่างไรบ้าง(ตามสัญญาที่เกิดขึ้น) ซึ่งบางครั้ง ดูทันที ดูไม่ทัน เกิดขึ้น ดับไป ไวมาก

เขียนๆลงไปแล้ว ก็มีคิดว่า คำเรียกต่างๆนี้ เป็นเพียงเปลือก กระพี้ ไม่ใช่แก่น เป็นเพียงใบไม้นอกกำมือ ใบไม้ในกำมือ มีแต่การกระทำเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน 

นอกกำมือ มีแต่สัญญา บางคนอ่านแล้ว รู้เรื่องและเข้าใจก็มี บางคนอ่านแล้ว ไม่รู้เรื่องก็มี แถมมาว่าเราอีกว่า เขียนยังไง อ่านไม่รู้เรื่อง(ตามเว็บบอร์ด ที่วลัยพรเข้าไปสนทนา)

นี่แหละ ความปกติของ ความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงมักกล่าวโทษนอกตัว แทนที่จะกล่าวโทษในเหตุปัจจัยที่ตนมีอยู่

ตอนนี้มีความคิดเกิดขึ้นเนืองๆ ประมาณว่า หัวใจของวิธีการกระทำ(แก่น) เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ มีอยู่ ๒ ข้อ คือ

๑. การดับเหตุ ที่จะเกิดต่อจาก สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจาก ผัสสะ หรือ สิ่งที่มีเกิดขึ้น ในชีวิต กล่าวคือ

หากทุกคนรู้ว่า ผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือเฉยๆ

เพียงแค่รู้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้น พยายามไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ที่เกิดจากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

หากทำได้แบบนี้ เท่ากับ เป็นการดับเหตุแห่งทุกข์ ที่จะมีเกิดขึ้นในภพชาติปัจจุบัน และ มีผลให้ การเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏ สั้นลง จะกี่ชาติ ไม่ต้องคิด แต่สั้นลงอย่างแน่นอน

๒. การดับเหตุ ที่จะเกิดต่อจาก สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจาก ผัสสะ หรือ สิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร กล่าวคือ

หากทุกคนรู้ว่า ผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือเฉยๆ เช่น

นิมิต แสง สี เสียง กายสัมผัส ความนึกคิด(จิตคิดพิจรณา)

เพียงแค่รู้ว่า มีสิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น เป็นความปกติของผัสสะที่มีเกิดขึ้น จะเกิดด้วยกำลังสมาธิ สติ สัมปชัญญะ ให้แค่รู้ว่ามีเกิดขึ้น ไม่ต้องใส่การปรุงแต่งลงไป(คำเรียกต่างๆ)

หากทำได้แบบนี้ การทำความเพียรจะก้าวหน้า ไม่ติดกับดักของอุปกิเลสต่างๆ(ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำความเพียร)

เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม สภาวะต่างๆที่มีอยู่ในตำรา จะเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย มีผลให้ ภพชาติการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร สั้นลงอย่างแน่นอน

ทั้งการหยุดสร้างเหตุนอกตัว และการทำความเพียร ควรทำ ๒ อย่างนี้ ควบคู่กันไป เพราะการสร้างเหตุทั้งสองอย่างนี้ ต่างฝ่าย ต่างเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน

อาจจะมีคำถามว่า เลือกทำอย่างใด อย่างหนึ่งได้ไหม?

คำตอบคือ วลัยพรรู้วิธีการ จึงนำมาบอกเล่า ส่วนใครจะเลือกวิธีการแบบไหน ขึ้นอยู่กับตัดสินใจเลือกกันเอง

ส่วนวลัยพร ทำทั้ง ๒ อย่าง เพราะ เบื่อทุกข์ ไม่อยากเกิด เกิดมาแล้ว ให้มีชีวิตสุขสบายขนาดไหน ก็ไม่พ้นทุกข์

แถมแรกเกิด ต้องโง่มาก่อน โง่กับกิเลสที่มีอยู่ กว่าจะรู้ ยังไงก็ทุกข์เกิดขึ้นก่อน ขึ้นชื่อว่า การเกิดจึงน่ากลัว

อนุปาทาปรินิพพานและข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบท อันสงบระงับอย่างยิ่ง ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัย คือมานะ … อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it … agebreak=0

 

อนุปาทาปรินิพพานสูตร

 

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ?
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ?

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน?

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน?

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้
เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว

พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

 

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it … agebreak=0

อนุปาทาปรินิพพาน

คิลานสูตรที่ ๒

[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร
เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิดพระเจ้าข้า ฯ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด ว่า
เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตรจึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นได้เห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง
ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

อย่าเลย ภิกษุเธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ
ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ฯลฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอจะมีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว
ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ

[๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจาก
อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AA … _%E0%B9%92

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ