สักกายทิฎฐิ

การสนทนาในยูทูปต่อจากครั้งก่อน
“ชีวิตมีเเค่นี้ มีเเต่โลกสมมุติ”

REM 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ท่านทั้งหลายทำไมมีแต่มานะทิฐิ หลวงพ่อชาท่านกล่าวเตือนแล้ว แต่ละคนคิดว่าความรู้ที่ตัวเองถูก แล้วมาโต้เถียงไม่จบ แต่ถ้าแยกตามสังโยชน์เบื้องสูง ข้อ มานะ ไฉนข้อปฏิบัตินี้ท่านจะทำไม่ได้เลยหรือ ทำไมท่านต้องยกตนข่มผู้อื่นด้วยเล่า เปรียบเหมือนท่านยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูรู้ อันนี้ความรู้กู ผู้อื่นจะมาคัดง้างติเตือนไม่ใด้ ผู้ปฏิบัติจริง ๆ ควรจะปล่อยวางข้อนี้ด้วย

วลัยพร walailoo2010 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@REM ดูกิเลสที่มีเกิดขึ้นให้ทันก่อน เอาตัวเองให้รอดก่อน อื่นๆที่คุณพูดมานั้น เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่ เกิดจากไม่เคยสดับพระธรรม ขาดการศึกษา
ถ้าคุณยังคิดกระทำแบบนี้เนืองๆ สภาวะของคุณจะตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ถ้าคุณยังยึดติดอาจารย์ คุณยึดในคำพูดของอาจารย์ของตน วาทะอื่นๆจะตามมา เพ่งโทษ เพราะผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง จะกราบๆๆๆๆๆๆๆ ที่พระบาทของพระพุทธเจ้า ไม่มีการนำเรื่องอจ.มาอ้างอิงอีก เพราะมีปัญญาเกิดขึ้นในตนแล้ว

ใครที่ยังต้องการสนทนา แล้วยังนำทิฏฐิของอจ. คือความรู้ของอจ. นั่นหมายถึง คุณยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้ ตัวนี้แหละตัวร้าย ที่ผู้ปฏิบัติไปต่อไม่ได้ สภาวะจะชมแช่อยู่แค่นี้

อีกอย่าง ผู้ปฏิบัติ เวลาสนทนากัน จะพูดเรื่องสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ส่วนบุคคลที่มองภายนอกแค่เปลือก เช่นคุณ ย่อมกระทำออกมามีลักษณะ
ไปกล่าวหาหรือไปเพ่งโทษนอกตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นในตน ทุกคนๆ ยังเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ล้วนเกิดจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ล้วนเกิดจากการกระทำของตน

ยวกลาปิสูตร
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา
บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน ๖ อัน
ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล
ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แลแม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล
ถูกรูปอันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ
ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ

ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป
ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ

ใครเล่าเป็นผู้รู้ ไครเล่าเป็นผู้เสวย ก็ผู้เพ่งนั้นแล
เพ่งโลภะเสวยโลภะ เพ่งโทสะเสวยโทสะ เพ่งโมหะเสวยโมหะ
ทางนี้เป็นทางเสื่อม นำไปสู่นรก
ปุถุชนพากันเดินไปทางนี้
เพราะเห็นเป็นของเอร็ดอร่อย
เพราะปัญญาทราม ไม่ทันกิเลสในใจตน

REM 6 นาทีที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 อันนี้ก็แค่อยากมาร่วมสนทนา แต่ด้วยเพราะกระผมเป็นแค่นักปฏิบัติเพื่อหาทางหลุดพ้นคนนึง เป็นแค่ฆราวาส ไม่ได้ศึกษาธรรมะวินัยอันเป็นของสงฆ์หรืออภิธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติยิบย่อยต่าง ๆ เพียงแต่ปฏิบัติหลัก สติปัฏฐานสี่ ควรสำรวมระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไหลไปข้างนอกหรือนำมาสู่ตัว ภายในจิต ยึด ศรัทธา ศีล สมาธิ ใช้ปัญญาใคร่ครวญ ตามหลักความเป็นจริงของชีวิต คงไม่สามารถพูดถึงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อันใดได้ ด้วยเนื่องจุดหมายปลายทางแล้ว ข้อธรรมต่าง ๆ เราก็จะวางเสีย ท้ายนี้ขอบคุณที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ

วลัยพร walailoo2010 18 นาทีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@REM นี่คือปัญหาของผู้ปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ขาดการสดับพระธรรม ขาดการศึกษา เวลานำมาเรื่องสภาวะมาสนทนามักนำความเชื่อของอจ.ที่ตนนับถือมาอ้างอิง ไปเพ่งโทษตัวคนอื่น กรรมตรงนี้ ทำให้เวลาปฏิบัติ ไม่สามารถจะเห็นสภาวะที่ควรดำเนินตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ส่วนเรื่องฤิทธิ์ ผู้ที่ปฏิบัติได้อรูปฌาน โดยเฉพาะเนวสัญญาฯ ค่อนข้างมีปัญหากับคนเหล่านี้ เพราะยังไม่รู้ตามความเป็นเรื่องการดับทุกข์ ทำให้เหมือนคนที่ชอบเดินเล่นในสวนเก็บดอกไม้
ผู้ที่เห็นทุกข์ จะไม่สนใจเรื่องพวกนี้ เพราะฤทธิ์เหล่านี้ ต่อให้มีเจโต ถอดกายได้ ไปเที่ยวสวรรค์ นรก สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากกำลังของสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ ก็เหมือนคนทั่วๆไป แต่มีศิลรักษาอยู่

ไม่เหมือนปัญญา เมื่อแจ้งแล้ว แจ้งเลย ไม่ทำให้หลงทาง เพราะดิฉันเคยสมาธิเสื่อม เนวสัญญาฯที่ทำกว่าจะได้มานั้น การปฏิบัติหลังไม่แตะพื้น เมื่อจิตเป็นสมาธิเนวสัญญาฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องอยากเลย ฤทธิ์ต่างๆจะมีเกิดขึ้นเอง รวมทั้งพระธาตุ สิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นกับดิฉัน

หลังสมาธิเสื่อม กว่าจะทำให้กำลังสมาธิกลับคืนมาได้ ต้องใช้เวลา ด้วยเหตุนี้ ทำให้ดิฉันไม่สนใจเรื่องฤทธิ์เหล่านี้อีก เพราะไม่ใช่ทาง
ทำไมต้องพยายามทำให้สมาธิกลับขึ้นมา เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่ ไม่รู้เรื่องเหตุปัจจัย กรรมและผลของกรรม สิ่งที่เคยกระทำไว้ในอดีต ทำให้มาเจอคนกลุ่มที่สามารถดูดหรือถ่ายเทสมาธิได้ แค่คุยผ่านโทรฯ ไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือเห็นตัว ตอนที่สมาธิเสื่อม เห็นทุกข์ชัด มากกว่าคนทั่วๆไป

เอาละ จะแนะทางให้กับคุณ ซึ่งดิฉันพูดถึงบ่อยๆ คนส่วนมากไม่ฟัง จะทำตามที่ตนชอบ ไม่เคยสดับ ไม่ยอมศึกษา พอศึกษาก็ไปไม่ถูก เพราะผู้ที่แนะนำ รู้แค่ไหน ย่อมพูดได้แค่นั้น

จะพูดเรื่องทางลัดที่เห็นผลได้เร็ว ขึ้นอยู่กับความอดทนอดกลั้นต่อเวทนาทางกายที่มีเกิดขึ้น เพราะคุณต้องนั่งอย่างเดียว ๓ ชม. ไม่ขยับ ไม่มีการเคลื่อนไหว ใช้คำบริกรรมมาช่วย จะพุทโธ หรือพองหนอยุบหนอ ใช้ได้หมด

แรกเริ่มการนั่ง จะหายใจเข้าออก ใช้คำบริกรรมก่อน เช่น หายใจเข้า บริกรรมพองหนอ หายใจออก บริกรรมยุบหนอ พอรู้ชัดลมหายใจเข้า หายใจออกตามคำบริกรรม ให้เพิ่มความเร็วในการคำบริกรรมจะเหลือคำบริกรรมว่ายุบ ให้บริกรรมถี่ๆ ไม่ต้องสนใจเรื่องลมหายใจ ให้จดจ่อกับคำบริกรรมไม่ให้มีช่องว่าง
เมื่อนั่งนาน เวทนาทางกายย่อมมีเกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติ เมื่อกายยังมีอยู่ เวทนาย่อมมี ไม่ต้องไปสนใจ ให้บริกรรมถี่ๆ ยิ่งเวทนากล้าเหมือนใจจะขาด ความรู้สึกเจ็บปวดอธิบายไม่ถูก ไม่ต้องไปสนใจ ยิ่งบริกรรมถี่ๆไปเรื่อย การที่จิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมต่อเนื่อง เวทนาที่มีเกิดขึ้นจะหายไปเอง ปีติจะเกิด บางคนร้องไห้ เหมือนมีใครตาย ทั้งร้องไห้ อ้วกแตกอ้วกแตน เป็นเรื่องของปีติ อาจจะเป็นหลายวัน แล้วปีติจะหายไป จิตจะเข้าสู่ความสงบ จิตจะไม่บริกรรม จิตละทิ้งคำบริกรรมเอง จิตจะเป็นสมาธิ โอภาส แสงสว่างเจิดจ้า จะมีสองสภาวะมีเกิดขึ้น คือ แสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ แล้วจะมีความรู้เห็นแปลกๆมีเกิดขึ้น ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง เพื่อให้จิตจดจำสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน เรื่องฤทธิ์ ไม่ต้องไปสนใจ จะถอดกายทิพย์ รู้หนอหรือเจโต ไม่ต้องสนใจ เพราะเป็นเรื่องปกติ เกิดจากกำลังมาธิ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์แต่อย่างไร
การที่คุณจะปฏิบัติได้แบบนี้ นั่ง ๓ ชม. หากมีเวลามาก ทำหลายรอบได้ ยิ่งทำมากยิ่งดีต่อผู้ปฏิบัติ เมื่อสภาวะคงที่ จะดูจากเวลาหลับตา จะกลางวันหรือกลางคืน พอนั่ง หลับตาลง จิตจะเป็นสมาธิทันที ไม่ต้องใช้คำบริกรรม เพราะจิตทิ้งคำกรรมโดยตัวของสภาวะเอง หลับตาปั๊บ แสงสว่างเจิดจ้าเกิดทันทีพร้อมกับใจที่รู้อยู่
เมื่อสภาวะเป็นแบบนี้ คุณต้องปรับอินทรีย์ ๕ เพราะสภาวะสมาธิอรูปฌาน ยังเป็นมิจฉาสมาธิ เหตุนี้ต้องมีการปรับอินทรีย์ ๕

เอาเป็นว่า คุณทำให้ได้ก่อน แล้วจะพูดเรื่องการปรับอินทรีย์ ๕ หากปรับแล้ว สัมมาสมาธิจะมีเกิดขึ้น ทำให้รู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ ที่สามารถรู้เห็นได้ เพราะสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง

วลัยพร walailoo2010 1 วินาทีที่ผ่านมา
วิธีการปฏิบัติ ทั้งภิกษุและฆราวาส ใช้แบบเดียวกัน
ยกเว้นผู้ที่ยังทำงานประจำ ให้นั่ง ๓ ชม. วันละครั้งหรือมากกว่านี้ แล้วแต่ความสะดวก
คำว่า ความตาย ไม่ใช่ความตายของทางโลก แต่เป้นเรื่องการได้มรรคผลจะมีเรื่องความตายหรือสภาวะจิตดวงสุดท้ายมาเกี่ยวข้อง

๔. ภัททกสูตร
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่
ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ
ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการคุย ไม่ยินดีการคุย ไม่ขวนขวายความชอบการคุย ไม่ชอบความหลับ ไม่ยินดีความหลับ ไม่ขวนขวายความชอบความหลับ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ขวนขวายความชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ขวนขวายความชอบคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่
ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ อย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่นดังเนื้อ
ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ฯ

๕. อนุตัปปิยสูตร
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน
ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน
ไม่ชอบการคุย … ไม่ชอบความหลับ … ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ …
ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่
ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อนอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่นดังเนื้อ
ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ฯ

อันนี้ดิฉันขอยืนยันว่า สภาวะจะมีเกิดขึ้นตามที่พระสารีบุตรแนะนำไว้
สำหรับฆราวาส จะทำได้ยากเรื่องการคลุกคลี การสนทนา อันนี้ไม่ต้องนำมากังวล ส่วนปฏิบัติก็คือปฏิบัติ ไม่นำมารวมกัน ขอเพียงตั้งใจปฏิบัติตามที่ดิฉันบอกว่า ตัวสภาวะจะดำเนินของโดยสภาวะเองตามลำดับ

คำว่า ละสักกายะ ไม่ใช่แบบที่ท่องจำกัน แต่จำเป็นต้องรู้ เพราะเวลาสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะมีรายละเอียดมากกว่านั้น คือ หยาบ จากการท่องจำ ,กลาง จากการปฏิบัติ สภาวะที่มีเกิดขึ้น และละเอียด ตอนมรรคผลปรากฏตามจริง

REM 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 ขอบคุณที่ชี้แนะครับ ตอนนี้กระผมกระทำได้ตาม ยะถาสติ ยะถาพลัง ประพฤติอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ซึ่งคำสอนขององค์ศาสดา

REM 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 เชื่อครับว่าผู้ใดเห็นแจ้งซึ่งอริยสัจสี่ เห็นขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ แล้วก็ละซึ่งทุกข์ไม่ยึดติดด้วยขันธ์ห้า เห็นการเกิดดับของขันธ์ห้า ล้วนเป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่ใช่ตัวตนเรา เมื่อรู้แล้วก็ปฏิบัติตามการดับทุกข์ ขจัดสิ้นอุปัททวกิเลส เดินมรรคอันมีองค์ 8 ใช้อิทธิบาท 4 เร่งความเพียร ตามสติและกำลังของกระผมครับ

วลัยพร walailoo2010 31 วินาทีที่ผ่านมา
@REM ทำให้ประจักษ์ด้วยตนก่อนคือได้มรรคผลตามจริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ เป็นหลักฐาน
ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจะเน้นการปฏิบัติให้ถึงเนวสัญญาฯเท่านั้น ที่จะสามารถพิสูจน์ในพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้

หากปฏิบัติได้กำลังสมาธิที่ต่ำไปกว่าเนสัญญาฯ ความรู้ความเห็นตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ จะไม่มีเกิดขึ้น นิดเดียวก็ไม่มี มีแต่การท่องจำแล้วน้อมใจเชื่อในสิ่งที่ตนคิดว่าตนรู้ตนเห็น ที่เกิดจากตัณหาและทิฏฐิที่มีเกิดขึ้น

เวลาพูดจะองอาจ ภูมิใจ ที่ได้รู้เห็นตามจริง ไม่จำเป็นต้องเชื่อคำของครูหรืออาจารย์หรือตำราที่บอกต่อๆกัน ด้วยเหตุนี้จึงบอกว่าผู้ที่ประจักษ์แจ้งด้วยตน จะกราบๆๆๆๆที่พระบาทของพระพุทธเจ้า คำอะไรจากอจ.ที่เคยฟังมา จะทิ้งไปหมด

REM 35 นาทีที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 จะรบกวนชี้แนะการเข้าณานขั้น 1-8 ได้ไหมครับ

วลัยพร walailoo2010 1 วินาทีที่ผ่านมา
@REM ได้บอกวิธีการปฏิบัติที่ลัดที่สุด
ได้ผลเร็วมากที่สุด นั่ง ๓ ชม.
อื่นๆเขียนบอกไปแล้ว
ส่วนจะรู้ชัดในสภาวะในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ ต้องมาปรับอินทรีย์ใหม่
คือทำอันแรกให้ได้ก่อน นั่ง ๓ ชม. ทำทุกวัน ทำหลายรอบก็ได้
อรูปฌานที่มีเกิดขึ้น ยังเป็นมิจฉาสมาธิมีเกิดขึ้นก่อน
ทำตรงนี้ให้ได้ก่อนค่ะ

วลัยพร walailoo2010 2 นาทีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@REM ตรงนี้ ถ้าไม่ถาม จะลืมไปเลย
” จะรบกวนชี้แนะการเข้าณานขั้น 1-8 ได้ไหมครับ”

คำตอบ มีค่ะ จะเป็นการปฏิบัติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความอดทนน้อยต่อเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นทางกายและใจ
วิธีการปฏิบัติตรงนี้ ไม่ต้องปรับอินทรีย์ ๕ ตัวสภาวะจะดำเนินไปโดยของสภาวะเอง เพียงแค่ อย่าอยาก อยากเป็นโน้นนี่ตามที่เคยอ่านหรือฟังมา เช่น โสดาบัน เพราะโสดาบันมีหลายประเภท อินทรีย์ ๕ที่มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

มาพูดเรื่องการปฏิบัติ เดินกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม. จะใช้สมถะหรือวิปัสสนาก็ได้
สำหรับบุคคลที่มีเวลาน้อย ให้เริ่มเวลาทีละน้อย เหมาะสำหรับคนที่ฝึกใหม่
ให้เดินจงกรม ๓๐ นาที ต่อนั่ง ๓๐ นาที แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาการปฏิบัติ

ถ้าให้แนะนำ ผู้ที่มีนิวรณ์มาก
ควรใช้สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์

ลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น มีการใช้คำบริกรรมมาเกี่ยวข้อง เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ
ขณะนั่ง จิตจดจ่อกับคำบริกรรม จะตามลมหายใจเข้าออกหรือบริกรรมถี่ๆ ใช้ได้หมด ไม่มีข้อห้าม
ทำต่อเนื่อง แรกเริ่มจะเจอเวทนามีเกิดขึ้นก่อน ให้ใช้คำบริกรรมถี่ๆมาช่วย ไม่ต้องไปสนใจลมหายใจ เอาจิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมต่อเนื่อง หากผ่านเวทนาไปได้ ตัวสภาวะจะดำเนินโดยตัวของสภาวะเอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเป็นไปตามลำดับ 1-8

สำหรับผู้ที่มีนิวรณ์น้อย สามารถใช้วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
ลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ไม่ใช้คำบริกรรมมาเกี่ยวข้อง

เช่น หายใจเข้า หายใจออก กำหนดรู้ตามจริง
หายใจเข้า รู้ท้องพองขึ้น หายใจออก ท้องแฟ่บ กำหนดรู้ตามจริง
ตราบใดที่ยังมีกายปรากฏอยู่ เวทนาย่อมมี ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น จะเหมือนการปฏิบัติสมถะ
เวทนากล้ามีเกิดขึ้น กำหนดตามจริง ไม่มีบริกรรมมาเกี่ยวข้อง อดทนอดกลั้นไม่ขยับตัว อารมณ์ประมาณ ตายเป็นตาย ไม่ขยับตัว

มีอีกหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ สมถะและวิปัสสนา
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

อนันตริยะกรรม

[4K] ยุสงฆ์แตกแยกเป็น “อนันตริยะกรรม” บาปหนัก พระสิ้นคิด 22 พ.ค. 66

วลัยพร walailoo2010 5 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
ท่านไม่เข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม
หากเข้าใจ ท่านจะยอมรับ กรรมจะสิ้นสุดจบแค่นั้น
ส่วนอื่นๆ ทุกสิ่งจะดำเนินไปตัวของสภาวะเอง
แต่ท่านยังไม่จบ กรรมนั้นๆยังคงดำเนินต่อ
ท่านพูดเรื่องการปฏิบัติจะดีกว่า จะพูดถูกหรือจะผิด คนฟังถูกใจก็มี ไม่ถูกใจก็มี เป็นเรื่องปกติ

ตะวันพลายแสง ยามแรงกินเหล้า 1 วันที่ผ่านมา
คนที่นินทาพระติพระนั้น..มันเอาศีลธรรมมาจากไหนว่ะ..
คนดีมีศีลธรรมนั้นเขาไม่ตีใครหรอก..แม้คนนั้นจะผิดหรือถูกแค่ไหนก็ตาม..
จิตที่เป็นธรรมจะไม่นินทาใครจะไม่กล่าวติพระอริยสงฆ์..เจตนาไม่ดีนี่ล่ะตัวกรรมเลย

ตะวันพลายแสง ยามแรงกินเหล้า 1 วันที่ผ่านมา
กรรมนั้นมันทำร้ายได้แค่กายเท่านั้น..แต่ทำร้ายจิตของพระอรหันต์ไม่ได้..
จิตที่บริสุทธิ์นั้นย่อมอยู่เหนือบุญและบาป..
กรรมให้ผลได้แค่กายสังขารเท่านั้นแต่ทำอะไรจิตของพระอริยะเจ้าไม่ได้..

วลัยพร walailoo2010 1 วันที่ผ่านมา
@ตะวันพลายแสง ยามแรงกินเหล้า ที่คุณพูดมา คุณหมายถึงใคร
ถ้าพูดถึงดิฉัน ใครนินทา ดิฉันพูดตรงตัวสิ่งที่มีเกิดขึ้น คือตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
หากพระไม่ออกกล้อง ไม่เล่นโซเชี่ยล เรื่องราวต่างๆที่มีเกิดขึ้น จะมีเกิดขึ้นได้ไหม ย่อมไม่มีเกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงพูดสิ่งที่พระกระทำ สิ่งที่พระควรกระทำ มีแค่นี้
ส่วนใครจะคิดอะไร รวมทั้งคุณ ดิฉันเป็นผู้รับฟัง
ส่วนผลที่คุณได้กระทำในวันนี้ ในการมากล่าวโทษดิฉัน กรรมนั้นสำเร็จแล้ว
คนที่รับผลคือผู้ที่กระทำ คุณจะเจอบุคคลที่กระทำเหมือนที่คุณกำลังกระทำกับดิฉัน
คือกล่าวหาดิฉัน ที่เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงกระทำตามความหลง ทำตามตัณหา ทีนี้แหละคุณจะรับมืออย่างไร เมื่อคุณไม่มีปัญญาเกิดขึ้น
แน่นอน จะต้องมีเรื่องราวไม่รู้จบ ภพชาติของการเกิดจึงมีเกิดขึ้น
เมื่อคุณสะสมกรรมนี้ๆไว้ เวลาตาย จิตดวงสุดท้ายคุณไปนึกถึงกรรมที่กระทำไว้
นี่แหละมนุษย์ที่ไม่ได้ฝึกกายและจิต ผลที่ได้รับคาดเดาไม่ได้เลย

วลัยพร walailoo2010 1 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@ตะวันพลายแสง ยามแรงกินเหล้า
๑. ใครคือพระอรหันต์ เห็นมีแต่ความเชื่อส่วนตัวของคุณ
๒. ต่อให้เป็นพระอรหันต์ หากยังมีชีวิต เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี
อื่นๆที่คุณพูดมา ล้วนเกิดจากความเชื่อ เชื่อที่ขาดหลักฐาน เชื่อจากตำราที่อ่านมา เชื่อจากฟังสืบๆกันมา
ทำไมดิฉันพูดแบบนี้
ผู้ปฏิบัติ เวลาได้มรรคผลตามจริง
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะตรงกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
เพราะสิ่งเหล่านั้น พระองค์ทางรู้เห็นด้วยพระองค์เอง
ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงบัญญัติไว้ วิชชา ๑ วิชชา ๒ วิชชา ๓ วิมุตติญาณทัสสนะ
ซึ่งพระธรรมสามารถพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา ใช้ได้หมด
ต้องปฏิบัติให้ถึงจิตเป็นสมาธิในเนวสัญญาฯที่เป้นสัมมาสมาธิเท่านั้น
เวลาได้มรรคผลตามจริง ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะตรงกับพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมไว้เป๊ะๆ ไม่คลาดเดคลื่อน
ส่วนผู้ที่มีกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้ จะอาศัยจากผู้ที่ได้ประจักษณ์ด้วยตน

๓. เรื่องมรรคผล สามารถรู้ได้ด้วยการสนทนา
จากการบอกเล่าขณะทำกรรมฐานสภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ
การปฏิบัติของแต่ละคนจะแตกต่างกัน
เกิดจากการสะสมสัญญาที่เคยกระทำไว้ในอดีตชาติจนมาถึงปัจจุบันชาติ
ทำให้บุคคลนั้นเลือกทำกรรมฐานนี้ๆ
แต่เวลาได้มรรคผลตามจริง ไม่แตกต่างกัน บางสิ่งที่แตกต่างเกิดจากอินทรีย์ ๕

คุณก็เช่นกัน แทนที่จะมาสร่้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นในตน
พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าอัตตวาทุปทาน
ซึ่งมีเกิดขึ้นจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่
จึงมาเป็นคำพูดทำนองนี้ทีเกิดขึ้น คนนี้เป็นพระอรหันต์ คนนี้เป็นพระอริยะ

คุณควรปฏิบัติให้แจ่มแจ้งแทงตลอดด้วยตน ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
อย่าเพิ่งไปยุ่งเรื่องของคนอื่น
หากคิดจะยุ่ง ต้องมีปัญญาเกิดขึ้นในตนก่อน
เวลาพูดจะพูดเรื่องตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น แนะนำในสิ่งที่ควรกระทำ
ส่วนผู้ฟังจะทำหรือไม่ทำก็เรื่องของคนนั้น

ใครเล่าเป็นผู้รู้ ไครเล่าเป็นผู้เสวย ก็ผู้เพ่งนั้นแล
เพ่งโลภะเสวยโลภะ เพ่งโทสะเสวยโทสะ เพ่งโมหะเสวยโมหะ ทางนี้เป็นทางเสื่อม นำไปสู่นรก
ปุถุชนพากันเดินไปทางนี้ เพราะเห็นเป็นของเอร็ดอร่อย เพราะปัญญาทราม ไม่ทันกิเลสในใจตน

กรรมและผลของกรรม

ปิดคดีหวยอลเวง 12 ล้าน แม่ค้าโล่งพ้นครหา
นางรำลั่นยังไม่จบย้อนคำสาบานแทบอึ้ง | ทุบโต๊ะข่าว |30/08/65

วลัยพร walailoo2010 8 เดือนที่ผ่านมา
คำสาบาน หากมั่นใจตัวเอง จะกล้าสาบาน ไม่กลัวผลที่ตามมา
ดิฉันเคยสาบาน เกิดจากโดนใส่ร้ายหาว่าเป็นขโมย
ดิฉันกล้าสาบาน ได้บอกว่าหากข้าพเจ้าขโมย
ในสามวันเจ็ดวันของให้ข้าพเจ้ามีอันเป็นไป
หากถ้าข้าพเจ้าไม่ได้เป็นขโมยตามที่คนอื่นกล่าวหามา
ขอให้ผู้ที่เป็นขโมย ขอให้มีอันเป็นไปในสามวันเจ็ดวัน
ปรากฏว่าไม่เกิน 3 วัน จับตัวขโมยได้
คนที่ไม่ได้ทำ จะไม่กลัวการสาบานจะไม่มีข้ออ้างต่างๆนานา

ก้าน มลกา 8 เดือนที่ผ่านมา
มันไม่ทุกคนหรอกคับเพราะบางคนเขาไม่เชื่อในคำสาบาน

วลัยพร walailoo2010 8 เดือนที่ผ่านมา
@ก้าน มลกา ซึ่งมายถึง บุคคลนั้น ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม
คนที่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม จะกลัวเรื่องการสาบาน

ก้าน มลกา 8 เดือนที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 ก็ถึงว่าไงคับบางคนเขากล้าสาบาน
ถึงแม้ว่าเจาจะทำผิดก็ตาม เพราะเขาไม่เชื่อเรื่องสาบาน
ดังนั้นการสาบานมันไม่สามารถชี้วัดอะไรได้

วลัยพร walailoo2010 8 เดือนที่ผ่านมา
@ก้าน มลกา คุณพูดเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันเรื่องคดีหนึ่ง มีคนหนึ่งได้จุดธูปสาบาน
พอกล่าวสาบานเสร็จ เขาได้ปักธูปกลับหัว นั่นหมายถึงคำสาบานที่กล่าวไปนั้นเป็นโมฆะ
เอาเป็นว่าจะสาบานหรือไม่สาบาน
กรรมที่ได้กระทำนั้น ผลที่รับก็ยังมีอยู่
เหตุมี ผลย่อมมี
ผลที่ได้รับอาจจะมีเกิดขึ้นปัจจุบันหรืออนาคตหรือต่อๆไป

สำหรับคุณก้าน ให้ดูใจของตัวเองเป็นหลัก
ภายในใจตอนดูข่าวนี้ รู้สึกคิดอย่างไรบ้าง
มีมั๊ยคิดกล่าวโทษแม่ค้าหรือนางรำ
หากมี ทั้งๆที่ไม่รู้จักกับสองคนนี้
นี่เป็นเรื่องของกรรมในอดีตที่คุณได้เคยกระทำไว้กับสองคนนี้
หากไม่รู้สึกอะไร เหมือนดูข่าวทั่วๆไป
นั่นหมายถึงคุณไม่เคยสร้างกรรมไว้กับแม่ค้าและนางรำมาในอดีต

ส่วนคำพูดของคุณตรงนี้
“ก็ถึงว่าไงคับบางคนเขากล้าสาบานถึงแม้ว่าเจาจะทำผิดก็ตาม
เพราะเขาไม่เชื่อเรื่องสาบานดังนั้นการสาบานมันไม่สามารถชี้วัดอะไรได้”

ถ้าหมายถึงแม่ค้าและนางรำ
อันนี้มันก็เรื่องของเขา คนที่ทำย่อมรับผล จะสาบานหรือไม่สาบานก็ตาม

ก้าน มลกา 8 เดือนที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 ที่ผมพูดคือ
ต่อให้นางรำคนนั้นจะกล้าสาบานขนาดไหนมัน
ก็ไม่ได้ชี้วัดว่านางรำคนนั้นไม่ได้ทำผิด
เพราะบางทีนางรำอาจจะไม่เชื่อเรื่องสาบานก็ได้
แต่บางคนเชื่อเรื่องสาบานน่ะ
แต่เพื่อผลประโยชน์ตรงหน้าต่อให้ตัวเองผิดเขาก็กล้าสาบาน
ส่วนตัวผมเรื่องแบบนี้ผม50-50น่ะ แต่ผมก็จะไม่สาบานถึงแม้ว่าผมจะบริสุทธิ์ก็ตาม
เพราะการสาบานนั้นมันเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าไม่ควรมันเหมือนเราเอาเรื่องที่ไม่ดีมาผูกมัดกับตัวเรา
เหมือนเราไปสร้างเจ้ากรรมนายเวรอะไรประมาณนั้น
เรื่องบางเรื่องมันไม่จำเป็นต้องสาบานอะไรเลย
เพราะกฏหมายและกระบวนการมันสามารถพิสูจน์ได้อยู่แล้ว

วลัยพร walailoo2010 8 เดือนที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@ก้าน มลกา ยืนยันคำพูดเหมือนเดิมค่ะ
ถ้าหมายถึงแม่ค้าและนางรำ
อันนี้มันก็เรื่องของเขา

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

๑๐. เทวทูตสูตร (๑๓๐)
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า
สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว บังเกิดในหมู่มนุษย์ก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงปิตติวิสัยก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี ฯ

P Lao 8 เดือนที่ผ่านมา
อย่าไปเชื่อคำสาบานนะครับ ผมเคยเจอคนที่เอ่ยคำสาบานง่ายๆ เหมือนกินข้าว.

KaiMaew 8 เดือนที่ผ่านมา
@ก้าน มลกา แต่มันมีอีกรูปแบบ
คือ เข้าใจผิด = ไม่รู้ว่าตัวเองถูกหรือตัวเองผิด แบบนี้ก็กล้าสาบานเช่นกัน
ผมว่าคดีนี้เข้าใจผิด เรื่องสลักหลังผิดใบ
คือ สลักหลังใบที่ไม่ถูกรางวัล สำคัญตัวเองว่าต้องได้
คนเข้าใจผิดแบบนี้มีเยอะมาก
ถ้าไม่มีหลักฐานก็จะไม่ยอมรับว่าตัวเองเข้าใจผิด

จินตนา มงคลโภชน์ 8 เดือนที่ผ่านมา
การสาบานมันศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง
แต่คนที่สาบานเราไม่อาจเชื่อได้ว่าจะจริงหรือโกหก ต้องแยกกัน

วลัยพร walailoo2010 8 เดือนที่ผ่านมา
@จินตนา มงคลโภชน์
ใครกระทำ ผู้นั้นย่อมรับผล คนอื่นรับผลแทนไม่ได้หรอก
หากเข้าใจเรื่องนี้ จะไม่วิตก วิจารณ์อะไรอีก

SILA TANEE 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 เรื่องงมงายหรือไม่
อิสลามก็ไม่มีสาบาน พุทธเปอร์เซนต์มีน้อยกว่าอิสลาม คริสต์ที่ไม่เชื่อในจีซัสและคำสาบานก็มี
คุณจะกล่าวอย่างไร เอาแบบไม่เล่นวาทะกรรม ขอข้อพิสูจน์

วลัยพร walailoo2010 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@SILA TANEE สิ่งที่ดิฉันนำมาเล่า เป็นเรื่องราวในอดีตที่เคยมีเกิดขึ้น
สมัยนั้นดิฉันยังไม่มีปัญญาเกิดขึ้นในตน ก็เหมือนคนทั่วๆไป
เมื่อไม่มีหลักฐาน ไม่มีประจักษ์พยาน
คนส่วนมากจะเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น
อาศัยสิ่งที่มองไม่เห็นมาเป็นรับรู้ด้วยการสาบาน

ส่วนตรงนี้”คุณจะกล่าวอย่างไร เอาแบบไม่เล่นวาทะกรรม”

ก่อนอื่น คุณต้องรู้ความหมายก่อน คำว่ากรรม ได้แก่ การกระทำ
อะไรที่นึกคิดไว้ในใจ ครุ่นคิดอยู่ เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เรียกว่ามโนกรรม
เมื่อไม่เคยสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษมาก่อน
ย่อมกระทำตามความโลภ ความโกรธ ความหลง
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำ
ปล่อยล่วงมาทางกาย ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ เรียกว่า กายกรรม
ปล่อยล่วงออกมาทางวาจา ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ เรียกว่า วจีกรรม

ให้พูดเรื่องปัญญา สำหรับผู้ที่รู้ชัดด้วยตน จะพูดเหมือนๆกัน
สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต เป็นเรื่องของการกระทำ(กรรม)ในอดีตที่เคยกระทำไว้ในแต่ละขณะๆๆ
ผลให้รับในรูปแบบของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เพราะไม่รู้ เช่น โดนใครต่อว่าหรือนินนทา
เมื่อมีคิดว่าตนไม่ผิด ย่อมไม่ยอม เรื่องราวไม่จบ
หากยอมรับ ไม่สานต่อ จบที่ตน เรื่องราวจะจบลงแค่นั้น

ใครเล่าเป็นผู้รู้ ไครเล่าเป็นผู้เสวย ก็ผู้เพ่งนั้นแล
เพ่งโลภะเสวยโลภะ เพ่งโทสะเสวยโทสะ เพ่งโมหะเสวยโมหะ
ทางนี้เป็นทางเสื่อม นำไปสู่นรก
ปุถุชนพากันเดินไปทางนี้
เพราะเห็นเป็นของเอร็ดอร่อย
เพราะปัญญาทราม
ไม่ทันกิเลสในใจตน

เจตนา กรรมและผลของกรรม

ความลับสุดยอดในการดับผัสสะ….อยู่ใน”อานาปานสติ”21/05/66[20.00]

วลัยพร walailoo2010 1 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
สิ่งที่ท่านกำลังพูด ที่ท่านอธิบายมานั้น
อะไรๆที่ยังไม่รู้เห็นด้วยตน ค่อนข้างอธิบายตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นได้ยาก
ภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ มีเกิดขึ้นทางใจ ที่เกิดจากอุปาทาน(๔)
ชาติ ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นได้แก่ กายกรรม วจีกรรม
ชรา มรณะ ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ โลกธรรม ๘

ผัสสะ สามารถอธิบายได้หลายแบบ
การดับผัสสะที่ท่านพูดมานั้น ก็พูดถูกนะ คือดับความคิด ดับด้วยสมาธิ
แต่การปฏิบัติแบบนี้ ไม่ทำให้ปัญญามีเกิดขึ้นหรือมีเกิดขึ้น จะเป็นเพียงการท่องจำ
เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ มากระทบผัสสะ ก็กระทำตามเวทนา ตัณหาที่มีเกิดขึ้น

ต้องเริ่มจากการสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
เมื่อฟังธรรมแล้ว จะทำให้ใจอ่อนลง
เมื่อปฏิบัติตาม ทำให้สักกายทิฏฐิที่มีอยู่ จะเบาบางลง
ผลของการปฏิบัตตาม ทำให้เกิดความมั่นคงทางใจมีเกิดขึ้นว่าเส้นทางนี้ดำเนินถูกต้อง
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรืองธรรมิกถา

๑๐. ธรรมิกเถรคาถา
สุภาษิตชี้ผลต่างระหว่างธรรมและอธรรม
[๓๓๒] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม ย่อมมีวิบากไม่เสมอกัน
อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ
เพราะฉะนั้นแหละ
บุคคลเมื่อบันเทิงอยู่ด้วยการให้โอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้
ควรทำความพอใจในธรรมทั้งหลาย
เพราะสาวกทั้งหลายของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์
ตั้งอยู่แล้วในธรรม นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมนำตนให้พ้นจากทุกข์ได้
ผู้ใดกำจัดรากเหง้าแห่งหัวฝี ถอนข่าย คือ ตัณหาได้แล้ว
ผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสงสาร ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลอีกเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญปราศจากโทษ ฉะนั้น.

ท่านต้องเทศนา เริ่มจาก ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
แล้วตามด้วยการอธิบายทำไมต้องปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ในธรรมิกสูตรที่ ๑๔
ว่างๆจะเรียบเรียงพระสูตรให้ จริงๆแล้วมีอยู่ ซึ่งได้รวบรวมพระสูตรไว้แล้ว
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑ การสดับพระธรรมจากพระอริยะ
ในเล่มนี้มีหลายพระสูตร ที่ใช้ธิบายในพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้ในธรรมิกสูตรที่ ๑๔
ด้วยเหตุนี้เริ่มจากฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ทำให้สักยทิฏฐิเบาบางลง เข้าสู่สัมมาทิฏฐิ

วลัยพร walailoo2010 1 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
ยกตย. เรื่องเจตนา
๘. เจตนาสูตรที่ ๑
[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี
เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป
ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส จึงมีต่อไป
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี
เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป
ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว
ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี
เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปไม่มี
ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไป
จึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

กับเรื่องความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
เป็นเรื่องอริยสัจ ๔

หากนำเรื่องเจตนามาอธิบายเรื่องกรรม ทำให้คนฟังจะเข้าใจผิดได้
ต้องแยกอธิบายสภาวะออกจากกัน

ยวกลาปิสูตร
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา
บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน ๖ อัน
ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล
ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗
ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แลแม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล
ถูกรูปอันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ
ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ
ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป
ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว
เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ

กรรม

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต
คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ
มีอายุสั้น มีอายุยืน
มีโรคมาก มีโรคน้อย
มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม
มีศักดาน้อย มีศักดามาก
มีโภคะน้อย มีโภคะมาก
เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง
ไร้ปัญญา มีปัญญา
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต ฯ

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดาร
ของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ
มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้
ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการ
ที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ

พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ
บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น

ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้
คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ

[๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้
คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ

[๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อยนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดินหรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้
คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้
คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลังจะเป็นคนมีศักดาน้อย

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้
คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้
คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้
คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้
คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้
คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้
คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้
คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้
คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก

ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
หรือเปิดของที่ปิด
หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึง
พระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ

กรรม

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต
คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ
มีอายุสั้น มีอายุยืน
มีโรคมาก มีโรคน้อย
มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม
มีศักดาน้อย มีศักดามาก
มีโภคะน้อย มีโภคะมาก
เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง
ไร้ปัญญา มีปัญญา
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต ฯ

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดาร
ของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ
มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้
ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการ
ที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ

พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ
บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น

ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้
คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ

[๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย
ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้
คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย
ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ

[๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อยนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดินหรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้
คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้
คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลังจะเป็นคนมีศักดาน้อย

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้
คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้
คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้
คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้
คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้
คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

[๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ
เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้
คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ
เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ
อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้
คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ
อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ
อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้
คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก

ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด
หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึง
พระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

กว่าจะเขียนออกมาได้เป็นหมวดๆ
ต้องใช้เวลาเหมือนกัน แบบนึกไม่ออก(อาการทางสมอง)
บางครั้งนึกออก แต่ยังไม่ใช่สภาวะทั้งหมด
เหมือนเรื่องที่เพิ่งเขียนไป

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด


เมื่อเรียบเรียงตัวสภาวะต่างๆเข้าหากันได้
ความรู้สึกที่มีเกิดขึ้นคือ ดีใจ
กว่าจะรวบรวมเข้ามาเป็นหนึ่งด้วยกันเองได้
ทำให้นึกถึงพระพุทธเจ้า
นึกถึงพระอานนท์ ความจำเป็นเลิศ
ถ้าไม่ได้พระสูตรต่างๆ
ถ้าไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติ แต่ขาดการศึกษา
ที่สำคัญไม่จดจำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ข้อปฏิบัติต่างๆ
สาเหตุนี้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมหายไป


นึกถึงเกี่ยวกับกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
สามารถทำให้เวลาตาย ไปอบาย หรือไปสวรรค์
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง
ที่เกิดจากราคะ โทสะ โมหะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำออกมาทางกาย วาจา
ให้กลายเป้นการสร้างกรรมใหม่ กายกรรม วจีกรรม


อทุกขอสุขเวทนา โมหะ ความหลง สักกายทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ
ผัสสะ มากระทบ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา
ทำให้เกิดการทำผิดศิล ๕
คือไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม


วิชชา ๑

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ
วิชชาข้อแรก
เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น
ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า
ดูกรคฤหบดี ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …

บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


หลังได้มรรคผล ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กำลังสมาธิที่มีอยู่(วิโมกข์ ๘) เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
จะมีความรู้ความเห็นปรากฏ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เป็นทุกข์
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

มรรคมีองค์ ๘
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


สกิทาคามรรค
หลังสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้น(โสดาปัตติผล)
รู้ชัดกรรมและผลของกรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงด้วยตน
ภพชาติของการเกิด

ภพ
ได้แก่ มโนกรรม

ชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม

ผลของกรรม มาให้รับผลในรูปแบบของผัสสะ เวทนา
ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ได้แก่ ชรา มรณะ(โลกธรรม ๘)

และมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง
เมื่อปฏิบัติในสีลวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ(สัมมาสมาธิ)
ทิฏฐิวิสุทธิ(ผัสสะ)
สภาวะที่มีเกิดขึ้น(ผลของการปฏิบัติตาม)

สกิทาคามิผล

ปฏิปทาวรรค ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้
คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
.
คำว่า มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เป็นสภาวะของโสดาบันที่ได้โสดาปัตติผล(สภาวะจิตดวงสุดท้าย)

แจ้งอริยสัจ ๔ ครั้งที่ ๑

แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์
แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เป็นทุกข์
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
.
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
.
สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่


เมื่อปฏิบัติในสัมมาทิฏฐิ
สีลปาริสุทธิ
จิตตปาริสุทธิ
ทิฏฐิปาริสุทธิ
วิมุตติปาริสุทธิ
รู้ตามลำดับ ความรู้ ความเห็น
เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔
และปฏิจจสมุปบาท(มรรคมีองค์ ๘)
สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้น ย่อมรู้ชัดโดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ(กามภพ)
ได้แก่ วิธีการดับกามตัณหา

ความรู้ความเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตัวเองว่า
ความเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ


๓. อุปนิสสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธา
ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา
ควรกล่าวว่าทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์
ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์
ควรกล่าวว่าชาติ


คำว่าทุกข์

๙. นิพเพธิกสูตร
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว

แม้ชาติก็เป็นทุกข์
แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้พยาธิก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส
อุปายาสก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์

ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ทุกข์มากก็มี
ทุกข์น้อยก็มี
ทุกข์ที่คลายช้าก็มี
ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์

ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ
มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม
ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง
ก็หรือบางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว
ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอก
ว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ ว่ามีความหลงใหลเป็นผล
หรือว่ามีการแสวงหาเหตุปลดเปลื้อง ทุกข์ภายนอกเป็นผล
นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์

ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ความดับแห่งทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งตัณหา
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัด
ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว


คำว่า ภพชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

๙. นิพเพธิกสูตร
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เรา ย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ
คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม


ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวก นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

สังฆสูตร
[๕๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบของทอง
คือดินร่วน ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้องมีอยู่
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น
เรี่ยรายทองนั้นเทลงไปในรางน้ำแล้วล้าง ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว
ทองยังคงมีเครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวดอย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือคนล้างฝุ่นย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างกลางหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว
ทองยังคงมีเครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ดกระลำพัก
คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด

เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียดจนหมดแล้ว ทำมันให้สิ้นสุดแล้ว
คราวนี้ยังคงเหลือกองทรายทอง ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม
แล้วเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่ ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
ยังไม่ถูกนำเอารสฝาดออก มันย่อมไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงาน
ไม่ผุดผ่อง เป็นของแตกง่าย และเข้าไม่ถึงเพื่อกระทำโดยชอบ
ช่างทองหรือลูกมือของช่างทองย่อมเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่

ในสมัยใด สมัยนั้นมีอยู่ ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าเล่า
ถูกเป่าจนได้ที่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
ถูกนำเอารสฝาดออกหมด มันย่อมเป็นของอ่อน
ควรแก่การงาน ผุดผ่อง ไม่แตกหัก เข้าถึงเพื่อทำโดยชอบ
เขามุ่งหมายสำหรับเครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ
หรือดอกไม้ทองก็ดี เครื่องประดับชนิดนั้นย่อมสมความประสงค์ของเขา ฉันใด

ดูกรภิกษทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่
ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป

หมายเหตุ:

“ดูกรภิกษทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่
ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป”


.
“ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต”
ได้แก่ จิตที่อบรมด้วยสมถะและวิปัสสนา

ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.
ได้แก่ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ปราศจากตัณหาและอุปาทาน ที่มีเกิดขึ้นขณะเดินชีวิตและจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ


.
ความรู้สึกนึกคิดขณะทำกรรมฐาน
กำหนดรู้ตามความเป็นจริง ไม่นำตัวตนเข้าไปข้องเกี่ยวกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
นิมิตทางใจจะมีเกิดขึ้น บางเรื่องราวอาจจะลืมไปแล้วแบบนานมาก
หรือเป็นเรื่องที่เคยกระทำไว้ไม่นานนี้เอง จะผุดขึ้นมา(เป็นภาพในอดีตที่เคยกระทำไว้)


.
“กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต”
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เคยกระทำไว้ไม่ดี รู้สึกละอาย(หิริ โอตัปปะ) ต่อสิ่งที่เคยกระทำไว้ เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงทำให้กระทำตามแรงตัณหาและอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕) ที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ

.
“ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป”

พิจรณาว่า เพราะความไม่รู้ จึงทำให้กระทำตาม
ความโลภะ ความโกรธ(โทสะ) ความหลง(โมหะ) ที่มีเกิดขึ้น
ซึ่งกระทำตามแรงผลักดันของตัณหาที่มีเกิดขึ้น

จะพยายามไม่ทำให้มีเกิดขึ้นอีก
อดทน อดกลั้น ข่มใจ ไม่กระทำออกมาทางกาย วาจา (ชาติ)
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

แรกๆทำได้ยาก ส่วนมากจะคิดว่า เราไม่ผิด
เมื่อมีความคิดแบบนี้ ทำให้ตอบโต้โดยขาดสติ ไม่รู้จักโยนิโสมนสกิการ
ผลที่ตามมาคือชอบประมาณบุคคลอื่น
เวลาคิดพิจรณา ส่วนมากคิดแต่เรื่องนอกตัว
มากกว่าการรู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรม

เมื่อพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว
กลับมาพิจรณาการกระทำของตน จะบอกตัวเองว่า ความเลวเรานั้นยังมีอยู่
ถ้ายังมีชอบประมาณบุคคลอื่น ภพชาติของการเกิดย่อมมีเกิดขึ้น
จึงตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่องการเจริญสมถะและวิปัสสนา
สิ่งเหล่านี้ที่เคยกระทำไว้ จะมาปรากฏขณะทำกรรมฐาน


.
เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นไปแล้ว
“ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง
บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป”

๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

พระอรหันต์เคยกินขี้(การเพ่งโทษพระอรหันต์)

เรื่องกรรม เป็นเรื่องละเอียด
ผลของกรรม เป็นเรื่องยิ่งกว่าละเอียด

เริ่มจากความริษยา ตามมาด้วยการปรามาส

 

๑๑. เรื่องชัมพุกาชีวก [๕๕]

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภชัมพุกาชีวก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “มาเส มาเส กุสคฺเคน” เป็นต้น.

กุฏุมพีบำรุงพระเถระ
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ในอดีตกาล กุฎุมพีชาวบ้านคนหนึ่ง สร้างวิหาร (ถวาย) แก่พระเถระรูปหนึ่งแล้ว บำรุงพระเถระผู้อยู่ในวิหารนั้นด้วยปัจจัย ๔. พระเถระฉันในเรือนของกุฎุมพีนั้นเป็นนิตย์.

ครั้งนั้น ภิกษุขีณาสพรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตในกลางวัน ถึงประตูเรือนของกุฎุมพีนั้น. กุฎุมพีเห็นพระขีณาสพนั้นแล้ว เลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน อังคาสด้วยโภชนะอันประณีตโดยเคารพ ถวายผ้าสาฎกผืนใหญ่
ด้วยเรียนว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพึงย้อมผ้าสาฎกนี้นุ่งเถิด” ดังนี้แล้ว เรียนว่า “ท่านผู้เจริญ ผมของท่านยาว, กระผมจักนำช่างกัลบกมา เพื่อประโยชน์แก่อันปลงผมของท่าน, จักให้จัดเตียงมาเพื่อประโยชน์แก่การนอน.”

ภิกษุกุลุปกะผู้ฉันอยู่ในเรือนเป็นนิตย์ เห็นสักการะนั้นของพระขีณาสพนั้น ไม่อาจยังจิตให้เลื่อมใสได้ คิดว่า “กุฎุมพีนี้ทำสักการะนั้นเห็นปานนี้ แก่ภิกษุผู้ที่ตนเห็นแล้วครู่เดียว, แต่ไม่ทำแก่เราผู้ฉันอยู่ในเรือนเป็นนิตย์” ดังนี้แล้ว ได้ไปสู่วิหาร.

แม้ภิกษุขีณาสพนอกนี้ ไปกับด้วยภิกษุนั้นนั่นแล ย้อมผ้าสาฎกที่กุฏุมพีถวายนุ่งแล้ว. แม้กุฎุมพีพาช่างกัลบกไปให้ปลงผมของพระเถระ ให้คนลาดเตียงไว้แล้วเรียนว่า “ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนอนบนเตียงนี้แหละ” นิมนต์พระเถระทั้งสองรูป เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว ก็หลีกไป.

ภิกษุเจ้าถิ่นไม่อาจอดกลั้นสักการะที่กุฎุมพีทำแก่พระขีณาสพนั้นได้.

ด่าพระอรหันต์ด้วยอาการ ๔ มีโทษ
ครั้นเวลาเย็น เธอไปสู่ที่ที่พระเถระนั้นนอนแล้ว ด่าด้วยอาการ ๔ อย่างว่า
“อาคันตุกะผู้มีอายุ ท่านเคี้ยวกินคูถ ประเสริฐกว่าการบริโภคภัตในเรือนของกุฎุมพี,
ท่านให้ถอนผมด้วยแปรงตาล ประเสริฐกว่าการปลงผมด้วยช่างกัลบกที่กุฎุมพีนำมา,
ท่านเปลือยกายเที่ยวไป ประเสริฐกว่าการนุ่งผ้าสาฎกที่กุฏุมพีถวาย,
ท่านนอนเหนือแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการนอนบนเตียงที่กุฎุมพีนำมา.”

ฝ่ายพระเถระคิดว่า “คนพาลนี่ อย่าฉิบหายเพราะอาศัยเราเลย” ดังนี้แล้ว ไม่เอื้อเฟื้อถึงการนิมนต์ ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ได้ไปตามสบายแล้ว

ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่นทำวัตรที่ควรทำในวิหารแต่เช้าตรู่แล้ว เคาะระฆังด้วยหลังเล็บเท่านั้น ด้วยความสำคัญว่า “เวลานี้ เป็นเวลาเที่ยวภิกษา, แม้บัดนี้ ภิกษุอาคันตุกะหลับอยู่, เธอพึงตื่นด้วยเสียงระฆัง” ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต.

แม้กุฎุมพีนั้นกระทำสักการะแล้ว แลดูทางมาของพระเถระทั้งสอง เห็นภิกษุเจ้าถิ่นแล้ว ถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระเถระไปไหน?”

ทีนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวกะกุฎุมพีนั้นว่า “ผู้มีอายุ อย่าได้พูดถึงเลย ภิกษุกุลุปกะของท่าน เข้าสู่ห้องน้อย ในเวลาที่ท่านออกไปเมื่อวาน ก้าวลงสู่ความหลับ
เมื่อข้าพเจ้าทำเสียงกวาดวิหารก็ดี เสียงกรอกน้ำ ในหม้อฉันและหม้อน้ำใช้ก็ดี เสียงระฆังก็ดี ตั้งแต่เช้าตรู่ ก็ยังไม่รู้สึก.”

กุฎุมพีคิดว่า “ชื่อว่าการหลับจนถึงกาลนี้ ย่อมไม่มี แก่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ประกอบด้วยอิริยาบถสมบัติเช่นนั้น, แต่ท่านผู้เจริญรูปนี้จักกล่าวคำอะไรๆ แน่นอน เพราะเห็นเราทำสักการะแก่ท่าน.”
เพราะความที่ตนเป็นบัณฑิต กุฎุมพีนั้นจึงนิมนต์ให้ภิกษุฉันโดยเคารพ ล้างบาตรของท่านให้ดีแล้ว ให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่างๆ แล้วกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านพึงเห็นพระผู้เป็นเจ้าของกระผม, ท่านพึงถวายบิณฑบาตนี้แก่พระผู้เป็นเจ้านั้น.”

ภิกษุนอกนี้พอรับบิณฑบาตนั้นแล้ว ก็คิดว่า “ถ้าภิกษุนั้นจักบริโภคบิณฑบาตเห็นปานนี้ไซร้, เธอก็จักข้องอยู่ในที่นี้เท่านั้น” ทิ้งบิณฑบาตนั้นในระหว่างทาง ไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ แลดูพระเถระนั้นในที่นั้นมิได้เห็นแล้ว.

ทีนั้น สมณธรรมแม้ที่เธอทำไว้ สิ้นสองหมื่นปีไม่อาจเพื่อรักษาเธอได้ เพราะเธอทำกรรมประมาณเท่านี้. ก็ในกาลสิ้นอายุ เธอเกิดแล้วในอเวจี เสวยทุกข์เป็นอันมาก สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ซึ่งมีข้าวและน้ำมากแห่งหนึ่งในพระนครราชคฤห์.

 

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=11&fbclid=IwAR2SmtDI1m_bp4DJO90oeLmRvf2-4YUYaIeof1byULhzgWhKvINblv2KLh0

 

เรื่องย่อ

มีนิทานนานสุดคร้ังพุทธกาล             เป็นนิทานเรื่องจริงทุกสิ่งศรี
พระชัมพุกะอรหันต์ชั้นเลิศดี                      เคยฉันขี้มาก่อนตอนมีกรรม
ในกรุงราชคฤห์ใหญ่สมัยนั้น                      มีอรหันต์มากหน้าอยู่คลาคล่ำ
พวกลัทธิเดียร์ถีย์มากมีล้ำ                         คุยว่าสำเร็จธรรมล้ำโลกา
พระพุทธองค์ตรัสรู้ในหมู่่พราหมณ์            มีอยู่ตามพงไพรใกล้ภูผา
ถือลัทธิแปลกแปลกเพื่อแหกตา               ให้คนมาศรัทธาสักการะ
ยังมีครอบครัวหนึ่งซึ่งมีบุตร                      อันแสนสุดเหลือร้ายกว่าควายปละ
เพราะชอบกินที่สุดอุจจาระ                       ชื่อชัมพุกะกุมารหลักฐานมี
ชอบเปลือยกายอ้าซ่าแก้ผ้าผ่อน              ชอบเที่่ยวนอนกลางดินทุกถิ่นที่
อาหารใดทั้งสิ้นไม่ยินดี                            ชอบกินขี้ในเว็จเอร็ดนัก
พ่อแม่แสนระอาน่าเบื่อหน่าย                   ทั้งอับอายคนผู้ที่รู้จัก
จึงนำลูกเข้าไปในสำนัก                           ท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์ดีอาชีวก
ให้เข้าบวชเป็นเถรบำเพ็ญพรต                มีกำหนดให้โกนซึ่งเกศก
แต่ผมเผ้าแข็งหนาเหมือนหญ้ารก           จึงต้องฉกถอนคีบด้วยหนีบเอา
วันหนึ่งพ่อแม่หมายถวายทาน                 ภัตตาหารที่อย่างดีเล่า
นิมนต์อาชีวกยกไม่เบา                            เชิญให้เข้ารับทานอาหารดี
อาชีวกทั้งหมู่เข้าสู่บ้าน                            ฉันอาหารรสเลิศประเสริฐศรี
ชัมพุกะไม่่ไปในพิธี                                  ขออยู่ที่กุฎีคนเดียวดาย
พอเผลอคนก็ไปที่ในเว็จ                          กินเอร็ดอร่อยครันดังมั่นหมาย
เพื่อนแอบดูรู้เห็นเป็นอบาย                      นึกอับอายแทนขีที่ดีดัง
จึงไล่ออกนอกสำนักไม่หนักอก                อาชีวกที่ดียังมีหวัง
ไม่เสื่อมความศรัทธาจนน่าชัง                  จึงเซซังออกเที่ยวไปเดียวดาย
ยืนเท้าเดียวเกี่ยวผาทำขาไขว้                  อ้าปากให้สู่ฟ้าแหงนหน้าหงาย
ยืนตีนเดียวเดี่ยวธรณีมีอุบาย                    ว่าเราหมายกินลมบ่มเดชา
ตกราตรีไม่มีใครรู้เห็น                               ก็แฝงเร้นกายตนไปค้นหา
กินขี้ในเว็จพลันทุกวันมา                          นอนตามพื้นพสุธาห้าสิบปี
พระพุทธองค์ทรงสำรวจตรวจตราสัตว์     อันอุบัติดั่งบัวทั้่วทิศสี่
บัวใดบานขึ้นมาพันวารี                             รับแสงสีสุริยันในวันใด
พระจะได้โปรดพ้นโทษทุกข์                    ให้เป็นสุขสิ้นโศกเห็นโลกใหม่
เห็นชัมพุกะในญาณอันว่องไว                  ว่าจะได้อรหัตตัดโลกีย์
ทั้งสำเร็จปฎิสัมภิทาญาณ                        เมื่อสิ้นกาลกรรมซัดอันบัดสี
จึงเสด็จไปพลันในทันที                           จนถึงที่สำนักเขาพักนอน
ตรัสว่าขออาศัยได้ไหมเล่า                       ขอเราเข้าพักพิงริมสิงขร
ขัมพุกะเมินหน้าไม่อาทร                          เชิญซุกซ่อนหัวตามความพอใจ
พระพุทธองค์จึงทรงประทับอยู่                ที่เชิงภูเขาใหญ่ไม่ไกลใกล้
ตกราตรีก็สว่างอยุ่ข้างใน                          เหมือนมีใครไปมาหาพระองค์
ชัมพุกะสงสัยในใจนัก                              จึงเข้าทักไถ่ถามความประสงค์
พระพุทธเจ้าตอบความไปตามตรง           ว่าอินทร์องค์พรหมฟ้ามาหาเรา
ชัมพุกะแปลกใจสงสัยเหลือ                     ไม่น่าเชื่ออินทราลงมาเฝ้า
เราอยู่มาห้าสิบปีไม่มีเค้า                          ไม่เห็นเจ้าเทวดาลงมาเลย
จึงตรัสว่าน่าขำชัมพุกะ                             อุจจาระกินอยู่เรารู้เหวย
เที่ยวเปลือยกายอายลมน่าชมเชย           ใครจะเคยให้เห็นเขาเหม็นกัน
เธอเที่ยวหลอกลวงเขาพวกชาวโลก        ว่าสิ้นโศกเป็นพระอรหันต์
ยืนขาเดียวเกี่ยวผายกขาชัน                     ยังชอบฉันอุจจาระน่าละอาย
เพราเวรกรรมชาติก่อนย้อนมาหา             บาปจึงมาแทนทดไม่หดหาย
ยังจะมาหลอกเราเข้าอบาย                      จะต้องตายไปตกนรกลึก
ชัมพุกะฟังคำพระดำรัส                            จะได้ตรัสรู้ธรรมความรู้สึก
เกิดรู้สึกนึกอายได้สำนึก                          เมื่อตรองตรึกแล้วกราบลงราบดิน
พระพุทธองค์จึงทรงเนรมิต                      วิภูษิตมาให้สวมใส่สิ้น
ชัมพุกะฟังธรรมฉ่ำใจจินต์                        ผ่องโสภิณสิ้สุดสมุทัย
บรรลุพระอรหันต์ตัดกิเลส                        เพราะสิ้นเหตุกรรมก่อนมาย้้อนให้
ปฎิสัมภิทาญาณตระการไกร                    ทูลขอให้บรรพชาในคราน้ัน
พระพุทธองค์ทรงเล่าชาติเก่าก่อน           ที่มาย้อนหนักหนาแทบอาสัญ
ชัมพุกะเคยเกิดกำเนิดนั้น                        กัสสปะพทุธันดร์อนันต์กาล
บวชเป็นพระกุลปกะประจำที่                    ของเศรษฐีเงินตรามหาศาล
เขาสร้างวัดขึ้นถวายเป็นรายทาน             ประจำบ้านเมืองน้ันเป็นชั้นดี
พระอรหันต์ท่านมาอยู่อาศัย                    เกิดเลื่อมใสในใจของเศรษฐี
จึงถวายปัจจัยให้แก่ชี                             จนเป็นที่สำราญช้านานมา
ฝ่ายพระกุลปกะเห็นกระนั้น                     ให้นึกหมั่นใส้คิดริษยา
จึงพุดจาถากถางต่างต่างนานา               ว่ากินขี้ดีกว่าเหมือนหมาวัด
ท่านเปลือยกายดีกว่าอาสาว์ศรี               ควรนอนที่ดินทรายคล้ายคล้ายสัตว์
จึงมีเวรมีกรรมมาซ้ำซัด                           มาอุบัติเป็นชายเปลือยกายเดิน
เที่ยวกินขี้เหมือนหมาน่าอดสู                  เที่ยวนอนอยู่คูหาตามผาเผิน
แตบุญเคยบวชชียังดีเกิน                        จึงบังเอิญพบพระตถาคต
จึงได้บวชชาตินี้เป็นชีป่า                         ปฎิสัมภิทาจึงปรากฎ
เพราะบุญเก่าเป็นเถรบำเพ็ญพรต            เข้าแทนทดสูงลิบถึงนิพพาน ฯ

 

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ รวมเรื่องกรรมและผลของกรรม

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=36&p=1

 

 

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕ รวมเรื่องกรรมและผลของกรรม

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=15&p=1

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ