คิดดี พูดดี ทำดี

คิดดี คิดแต่เรื่องของตัวเอง ดูความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง นั่นแหละเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดการสร้างเหตุของความบังเกิดขึ้นแห่งภพ เหตุปัจจัยของการเกิด ที่ยังมีอยู่

พูดดี พูดพอประมาณ พูดเรื่องของตัวเอง เรื่องนอกตัว ต้องฝึกช่างหัวมันบ่อยๆ ประมาณนั้นจริงๆ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น

ทำดี หมั่นทำความเพียร มีสติเป็นที่ตั้งของจิต ฝึกคิดพิจรณาก่อนลงมือกระทำ ระวังกิเลสนำหน้า หากกิเลสนำหน้า คนที่ทุกข์ คือตัวเราเอง

ตรงไหนมีสุมหัว หากหลีกเลี่ยงได้ จงหลีกเลี่ยงเสีย ไม่มีใครไม่โดนนินทาว่าร้าย หากไม่เคยทำไว้ ใครที่ไหนจะนำมากล่าวโทษได้ ล้วนเกิดจากอวิชชา/ความไม่รู้ที่มีอยู่ ทั้งเขาและเรา

สุราเมรัย เครื่องดื่มมึนเมา หากหลีกเลี่ยงได้ จงหลีกเลี่ยงเสีย ยิ่งมีฐานะเป็นพ่อคนแม่คน แม่แบบ แม่แผน แม่แปลน ตัวเองยังทำไม่ได้ แล้วจะไปสอนลูกได้อย่างไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละคนด้วย ต้นร้ายปลายดี ต้นดี ปลายร้าย มีเยอะไป นี่แหละเหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่

ความเบื่อหน่าย

หากถ้าไม่มีอะไรทำ เช่นเวลานอน จิตมักคิดพิจรณาถึงเรื่อง การเกิด เกิดมาแล้ว ต้องเจอแบบนี้ๆ แล้วหลงกระทำให้เกิดขึ้นใหม่

พอคิดพิจรณา ความเบื่อหน่าย ย่อมมีเกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมดา

หากหมกมุ่นกับงานที่ทำอยู่ ไม่มีเวลาไปคิดเรื่องอื่นๆ ความเบื่อหน่าย ก็หายไปเอง

เรื่องของอารมณ์นี่ เรามีหน้าที่รู้ว่ามีเกิดขึ้นอย่างเดียวจริงๆ มันก็ยังยากอยู่นะ ที่จะให้รู้ว่ามีเกิดขึ้น แล้วหยุดไม่กระทำตามอารมณ์ ที่เกิดขึ้น ทันทีน่ะ คือ หยุดได้บ้าง บางครั้ง ไม่ใช่ทุกครั้ง

ถ้ายังไม่หมดลมหายใจไปก่อน ยังคงมีโอกาสอยู่นะ ทำความเพียรไปนี่แหละ พยายามละเหตุนอกตัว นอกนั้น ไม่มีอะไร ที่มี เพราะยังตกใต้อำนาจกิเลส

เป็นจริง

การเรียนรู้ มีแต่เหตุปัจจัยให้เกิดการฝึกให้ละ ความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ เป็นปัจจัยให้ เกิดการสำรวม สังวร ระวังเพิ่มมากขึ้น เกิดแบบเกือบจะปกติในบางเรื่อง กระทบปั๊บ รู้ทันทีว่า เกิดจากเหตุปัจจัยใด จะรู้แบบนั้น

มีหลายเรื่อง คิดๆอยากเขียน เขียนๆออกมาเสร็จ มองแล้ว มันไม่ใช่เรื่อง วิธีการละเหตุแห่งทุกข์ ก็ลบทิ้ง

เรื่องราวทางโลก สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ไม่แตกต่างกันหรอก เหมือนกันหมด(ชอบใจ/ไม่ชอบใจ/เฉยๆ) ที่แตกต่างคือ สานต่อ ปรุงแต่งต่อ หรือคิดหยุด เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่(อวิชชา)

สิ่งที่ควรรู้และควรจำ

13-02-15

คำเรียก ที่นิยมใช้เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

โดยส่วนมาก มักเข้าใจว่า ปฏิบัติธรรม หมายถึง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ
คำเรียกนี้ จะเรียกแบบไหนก็ได้ ตามความเข้าใจ ความรู้ของแต่ละคน

เมื่อให้ความหมาย แบบนี้แล้ว
เกี่ยวกับการทำความเพียร จึงอาจดูเป็นไปได้ ค่อนข้างลำบากใจ สำหรับคนบางคน

ควรศึกษาพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
เกี่ยวกับเรื่อง การปฏิบัติ สมควรแก่ธรรม

อาจจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่า
การทำความเพียรนั้น ไม่ได้ครอบคุลมไว้แค่เพียง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ

รวมทั้งเเรื่องเกี่ยวกับคำเรียก สมถะ-วิปัสสนา
ควรศึกษาพระธรรมคำสอน ที่มีปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในพระไตรปิฎก

การเขียนสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นในตน
จะทำให้เป็นคนช่างสังเกตุ มีความละเอียดรอบครอบมากขึ้น

จะทำให้เห็นรายละเอียดสภาพธรรมต่างๆมากขึ้น
(อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนด้วย)

วันนี้ รู้แบบนี้ วันต่อไป รู้แบบนี้
เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง จะทำให้รู้ว่า เป็นความปกติของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น
ความยึดมั่นถือมั่นในคำเรียก และสภาพธรรมต่างๆ จะลดน้อยลงไปเอง ตามเหตุปัจจัย

สภาพธรรมต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นภายใน จะมีรายละเอียดมาก
ซึ่งสภาพธรรมทั้งหมด ที่มีเกิดขึ้น แท้จริงแล้ว เป็นเพียงเรื่องเกี่ยวกับผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง

สิ่งที่ควรรู้และควรจำ

การดูสภาพธรรมของผู้อื่น ให้ดูการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ดูวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำแบบไหน

ไม่ใช่จ้องดูกิเลส แล้วนำไปเปรียบเทียบ หาข้อเปรียบเทียบ หาข้อคิดเห็น ตามที่คิดเอาเองว่า น่าจะเป็นแบบนั้น แบบนี้

การกระทำแบบนี้(การเปรียบเทียบ) มีแต่การสร้างเหตุให้เนิ่นนาน มีแต่เหตุปัจจัยให้เกิดความฟุ้ง ปรุงแต่ง

ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติ หากมีสภาพใดเกิดขึ้น ความที่ไม่เคยพบเจอ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ ทำให้เกิดความหลง ความพอใจ กับสภาพธรรมที่เกิดขึ้น

การทำความเพียร กระทำเพื่อดับ ที่ยังมีความมี ความเป็นนั่นเป็นนี่ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ อวิชชาที่มีอยู่ วิจิกิจฉาที่มีอยู่ กิเลสทั้งหลายที่มีอยู่ มีมาก เป็นปัจจัยให้เกิดการสร้างเหตุ

ความสำคัญทั้งหมด ไม่ใช่กิเลส ที่เป็นตัวให้เกิดการสร้างเหตุ

แต่เป็นเพราะ อวิชชาที่มีอยู่ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงกระทำ หลงสร้างเหตุทั้งภายนอก(สร้างเหตุนอกตัว ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ทั้งภายใน สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น เมื่อไม่รู้ว่า เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย นิกันติ (ความยินดี ความพอใจ) ตัณหา (ความติดใจในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น) จึงบังเกิดขึ้นพร้อมมูล เพราะเหตุนี้ เหตุปัจจัยจากอวิชชาตัวเดียวเท่านั้น

หากรู้เท่าทันต่อสภาพธรรมที่เกิดขึ้น รู้ว่า เกิดขึ้นจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย ย่อมพยายามหยุดมากกว่าจะปล่อยไหลตามกิเลสที่เกิดขึ้น

หากรู้ว่า สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ และไม่เป็นสมาธิ ว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัย ให้สภาพธรรมเหล่านั้นบังเกิดขึ้น

หากรู้แล้ว ย่อมไม่ติดใจ เมื่อไม่ติดใจ กิเลสก็ทำอะไรไม่ได้ สักแต่ว่า มีกิเลสเกิดขึ้นเท่านั้นเอง สภาพธรรมที่เกิดขึ้น ก็จบลงแค่ตรงนั้น

ภาษาต่าง คำเรียกต่างๆ จะเรียกว่าอะไรก็ตาม เป็นเพียงการสมมุติขึ้นมา เพื่อใช้ในการสื่อสารตามสภาพสังคมนั้นๆ

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นเพียงผัสสะที่เกิดขึ้น เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ ที่เกินจากนั้น ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่

วิธีที่จะรู้คำเรียกต่างๆ สมควรกระทำมากที่สุด ควรศึกษาพระธรรมคำสอน จากพระไตรปิฎก (สำหรับผู้มีสัญญามาก มักสนใจกับความหมาย คำเรียกต่างๆ)

ส่วนคำที่บอกเล่ากันมา ใครเชื่อใคร ไม่เชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเน้นนักหนา แก่นแท้พระธรรมคำสอน ทรงเน้นเรื่อง การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน(การไม่เกิด) ไม่ใช่ความเป็นนั่น เป็นนี่ในสมมุติ

ผัสสะ

ความคิดเยอะ

ตอนนี้ ไม่ว่าจะทำอะไร มักจะมีความคิดเกิดขึ้นเนืองๆ มีแต่เรื่อง ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์

มีแต่วิตก วิจารณ์เรื่อง การเกิด ล้วนเป็นทุกข์ เกิดขึ้นเดิมๆซ้ำๆ ชีวิตเดิมๆซ้ำๆ เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ว่า สิ่งที่กระทำอยู่ เป็นการกระทำเดิมๆซ้ำๆ

สิ่งที่ควรรู้และควรจำ

การดูสภาพธรรมของผู้อื่น ให้ดูการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ดูวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำแบบไหน

ไม่ใช่จ้องดูกิเลส แล้วนำไปเปรียบเทียบ หาข้อเปรียบเทียบ หาข้อคิดเห็น ตามที่คิดเอาเองว่า น่าจะเป็นแบบนั้น แบบนี้

การกระทำแบบนี้(การเปรียบเทียบ) มีแต่การสร้างเหตุให้เนิ่นนาน มีแต่เหตุปัจจัยให้เกิดความฟุ้ง ปรุงแต่ง

ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติ หากมีสภาพใดเกิดขึ้น ความที่ไม่เคยพบเจอ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ ทำให้เกิดความหลง ความพอใจ กับสภาพธรรมที่เกิดขึ้น

การทำความเพียร กระทำเพื่อดับ ที่ยังมีความมี ความเป็นนั่นเป็นนี่ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ อวิชชาที่มีอยู่ วิจิกิจฉาที่มีอยู่ กิเลสทั้งหลายที่มีอยู่ มีมาก เป็นปัจจัยให้เกิดการสร้างเหตุ

ความสำคัญทั้งหมด ไม่ใช่กิเลส ที่เป็นตัวให้เกิดการสร้างเหตุ

แต่เป็นเพราะ อวิชชาที่มีอยู่ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงกระทำ หลงสร้างเหตุทั้งภายนอก(สร้างเหตุนอกตัว ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ทั้งภายใน สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น เมื่อไม่รู้ว่า เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย นิกันติ (ความยินดี ความพอใจ) ตัณหา (ความติดใจในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น) จึงบังเกิดขึ้นพร้อมมูล เพราะเหตุนี้ เหตุปัจจัยจากอวิชชาตัวเดียวเท่านั้น

หากรู้เท่าทันต่อสภาพธรรมที่เกิดขึ้น รู้ว่า เกิดขึ้นจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย ย่อมพยายามหยุดมากกว่าจะปล่อยไหลตามกิเลสที่เกิดขึ้น

หากรู้ว่า สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ และไม่เป็นสมาธิ ว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัย ให้สภาพธรรมเหล่านั้นบังเกิดขึ้น

หากรู้แล้ว ย่อมไม่ติดใจ เมื่อไม่ติดใจ กิเลสก็ทำอะไรไม่ได้ สักแต่ว่า มีกิเลสเกิดขึ้นเท่านั้นเอง สภาพธรรมที่เกิดขึ้น ก็จบลงแค่ตรงนั้น

ภาษาต่าง คำเรียกต่างๆ จะเรียกว่าอะไรก็ตาม เป็นเพียงการสมมุติขึ้นมา เพื่อใช้ในการสื่อสารตามสภาพสังคมนั้นๆ

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นเพียงผัสสะที่เกิดขึ้น เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ ที่เกินจากนั้น ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่

วิธีที่จะรู้คำเรียกต่างๆ สมควรกระทำมากที่สุด ควรศึกษาพระธรรมคำสอน จากพระไตรปิฎก (สำหรับผู้มีสัญญามาก มักสนใจกับความหมาย คำเรียกต่างๆ)

ส่วนคำที่บอกเล่ากันมา ใครเชื่อใคร ไม่เชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเน้นนักหนา แก่นแท้พระธรรมคำสอน ทรงเน้นเรื่อง การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน(การไม่เกิด) ไม่ใช่ความเป็นนั่น เป็นนี่ในสมมุติ

การเขียนสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นในตน
จะทำให้เป็นคนช่างสังเกตุ มีความละเอียดรอบครอบมากขึ้น

จะทำให้เห็นรายละเอียดสภาพธรรมต่างๆมากขึ้น
(อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนด้วย)

วันนี้ รู้แบบนี้ วันต่อไป รู้แบบนี้
เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง จะทำให้รู้ว่า เป็นความปกติของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น
ความยึดมั่นถือมั่นในคำเรียก และสภาพธรรมต่างๆ จะลดน้อยลงไปเอง ตามเหตุปัจจัย

สภาพธรรมต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นภายใน จะมีรายละเอียดมาก
ซึ่งสภาพธรรมทั้งหมด ที่มีเกิดขึ้น แท้จริงแล้ว เป็นเพียงเรื่องเกี่ยวกับผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง

คำเรียก ที่นิยมใช้เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

โดยส่วนมาก มักเข้าใจว่า ปฏิบัติธรรม หมายถึง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ
คำเรียกนี้ จะเรียกแบบไหนก็ได้ ตามความเข้าใจ ความรู้ของแต่ละคน

เมื่อให้ความหมาย แบบนี้แล้ว
เกี่ยวกับการทำความเพียร จึงอาจดูเป็นไปได้ ค่อนข้างลำบากใจ สำหรับคนบางคน

ควรศึกษาพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
เกี่ยวกับเรื่อง การปฏิบัติ สมควรแก่ธรรม

อาจจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่า
การทำความเพียรนั้น ไม่ได้ครอบคุลมไว้แค่เพียง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ

รวมทั้งเเรื่องเกี่ยวกับคำเรียก สมถะ-วิปัสสนา
ควรศึกษาพระธรรมคำสอน ที่มีปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในพระไตรปิฎก

แค่รู้

๖ กพ.๕๘

ขนาดตัวเอง กว่าจะรู้จักสภาพธรรม ที่เรียกว่า แค่รู้ ยังทำเอา ทุกข์ยิ่งกว่าหืดขึ้นคอ ทุกข์ใจจนไม่มีที่จะอยู่

ยิ่งนานวัน ยิ่งเห็นใจกับผู้ที่ปรารภความเพียร จะเพียรด้วยเหตุปัจจัยใดๆก็ตาม เพราะ กว่าจะรู้ชัดสภาพธรรม ที่เรียกว่า แค่รู้ได้ เข้าใจเลยนะ

เพราะเข้าใจไง จึงจำเป็นต้องอยู่ห่างๆ อยู่ใกล้ไม่ได้หรอก จะมีคำถามมาเนืองๆ หากตอบไปแล้ว ผลที่รับ สิ่งที่ต้องเจอ ก็ไม่พ้นตัวเอง เหนื่อยใจนะ เรื่องราวทางโลก มีแต่ปัญหาวัวพันหลัก(โลกธรรม ๘)

ทนกันได้ไหม อดอยากปากแห้ง ไม่ใช่อดอยากอาหารการกินนะ อดอยากปากแห้ง หมายถึง ระงับถ้อยคำต่างๆกันบ้างได้ไหม อย่าเที่ยวนำความถูก-ผิด ที่เกิดจากความถูกใจ ไม่ถูกใจตนเองเป็นหลัก ในการสร้างเหตุ

ทนไม่ได้ หากทนไม่ไหว นานๆปลดปล่อยสักที พูดแบบพอประมาณเอาเฉพาะเรื่องของตัวเองพอ เรื่องนอกตัว เพลาๆไว้บ้าง เพราะมีแต่เสียกับเสีย มีแต่การสร้างเหตุของการเกิดภพชาติใหม่ ให้มีเกิดขึ้นเนืองๆ

ถ้ายังไม่เบื่อทุกข์ ก็ทำไป ห้ามได้ยากนะ เจ้าความอยากนี่ จะให้แค่รู้ ก็ยังทนไม่ไหว มันอยากจนล้นคอหอย

เออนะ เข้าใจนะ เคยเป็นมาก่อนเหมือนกัน เรื่องชาวบ้าน เรื่องนอกตัวนี่ เม้าท์มันส์ดีนัก พอเจอว่า คนอื่นเม้าท์มันส์เรื่องตัวเองบ้าง กลับทนไม่ไหว

ฉะนั้น วิธีแก้ แทนที่จะเสียเวลาเม้าท์เรื่องคนอื่น เม้าท์เรื่องตัวเอง ยังทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น

เฉพาะตน

๖ กพ.๕๘

เรื่องความสามารถของแต่ละคน ใช่ว่า จะเลียนแบบได้เหมือนกันหมด เพราะ เป็นสิ่งที่รู้เฉพาะตนจริงๆ

การปรารภความเพียร
ตอนนี้เห็นอยู่อย่างหนึ่งว่า ไม่ว่าจะหยิบจับสิ่งใด นึกคิดสิ่งใด กระทำสิ่งใด หากกิจที่ทำอยู่นั้น เป็นการทำงานของตน งานที่กำลังทำอยู่นั้น เปรียบเสมือนการปรารภความเพียรเช่นกัน

หลายวันมานี่ ได้วิธีการคำนวณที่มีความหลากหลายมากขึ้น ความผิดพลาดที่มีอยู่ ทำให้เกิดระวังมากขึ้น ละเอียดมากขึ้น

ขีดๆเขียนๆ เดิมๆซ้ำๆ ไม่รู้กี่สิบรอบ กี่ร้อยรอบ กี่พันรอบ จะมีวิตก วิจารณ์เป็นระยะๆ สลับกับความสงบ รู้อยู่กับการขีดเขียน กับงานที่ทำอยู่ แปลกแต่จริง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ อะไรที่รู้อยู่กับตัว ทำให้มีความสงบ เกิดขึ้นได้จริงๆ

บางครั้ง รู้สึกถึงชีพจรตามจุดต่างๆของร่างกาย เต้นแรงจนสัมผัสด้วยใจได้ บางครั้งลมหายใจเย็นสบาย รู้ชัดในโพรงจมูก โล่ง เหมือนสูดอากาศบริสุทธิ์

สมุดที่ใช้ เริ่มเปลี่ยนเป็นใช้ขนาดที่มีเล่มใหญ่และเล่มยาวมากขึ้น เพื่อความสะดวก ในสิ่งที่รู้ ที่เห็น

จากกระดาษสมุด ที่เคยลบๆๆๆๆๆ(แก้ไขวิธีคำนวณ) จนกระดาษเยิน ดูสกปรก ยางลบนี่สำคัญนะ บางยี่ห้อ ลบแล้วเยิน บางยี่ห้อ ลบแล้ว เนื้อกระดาษเสียหายน้อย ตอนนี้ใช้ยางลบตราม้า ตามคำแนะนำของเด็ก ค่อนข้างใช้ได้ กล่องละ 49 มี 48 ก้อน คุ้มจริงๆ

ความเสียดายกระดาษสมุด ที่บางครั้งต้องเขียนข้อมูล ที่คิดได้ใหม่ทั้งหมด(ลบไม่ไหว งวดละสองหน้า สิบกว่างวด ยี่สิบกว่าหน้า) บางทีใช้วิธีฉีกออกไป เสียดายสิ สมุดซื้อมาแพง ราคาเล่มละร้อยกว่าบาท(ใช้ยี่ห้อตราช้าง แบบสันห่วง)

ตอนนี้ปรับเปลี่ยนใหม่ หากมีการเขียนวิธีคำนวณที่ได้ใหม่ เขียนใส่กระดาษเอสี่ ห่อหนึ่งราคา 80 บาท มีจำนวน500 แผ่น คุ้มจริงๆ

อีกหน่อย คงเปลี่ยนใช้แบบแฟ้ม จะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อสมุดบ่อย ไม่ต้องลบ เปลี่ยนกระดาษใหม่แทน เท่ากับมีข้อมูลเก่าๆ เก็บไว้ดูด้วย

วกกลับเข้ามาเกี่ยวกับความสามารถเฉพาะตน เรื่องวิธีการคำนวณ ที่วลัยพรทำขึ้นมา สอนใครไม่ได้จริงๆ ขนาดเจ้านาย อยู่ด้วยกันแท้ๆ ยังสอนกันไม่ได้เลย

เขาบอกว่า วลัยพรคำนวณละเอียดมาก และเขาก็ไม่มีเวลามากพอที่จะมาเรียนรู้วิธีการคำนวณที่มีอยู่ อย่างมากถามแค่ว่า วลัยพรมีอะไรมั่ง มาเทียบกันหน่อย

มีบางครั้งที่เขานำมาเทียบ แล้วทำเป็นพูดประมาณว่า มันเป็นแบบนั้น แบบนี้ มีเหมือนกันนะ หงุดหงิด รำคาญ หากคิดว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ จะมาถามทำไม

บางครั้งจะเงียบ แต่บางครั้งมีบ้างนะ ที่จะบอกกับเขาว่า เอาอีกละ หากคิดว่าเป็นแบบนั้น จะมาถามทำไม เขาจะหัวเราะ

พอเราอารมณ์สงบลง จะถามเขาว่า วันนี้โดนกัดไปกี่ครั้ง(แง่งๆใส่) เขาจะตอบว่า นับไม่ถ้วนเลย พร้อมกับหัวเราะ

บอกตามตรงว่า ตอนนี้ จะเห็นความรำคาญของตัวเองชัดมาก ใครที่ชอบมาวุ่นวาย มาจู้จี้ ถ้าเจอแบบนั้น จะหนีให้ไกลเลยนะ กลัวอดใจอยู่ เสียเวลาสร้างเหตุเปล่าๆ

ยิ่งถ้าเจอประเภท ไม่รู้อะไรเลย เจอแบบนี้ ต้องอยู่ห่างๆ ไม่อยู่ใกล้ เพราะไม่อยากสร้างเหตุ ตามความขี้รำคาญ

วลัยพรเป็นคนขี้รำคาญนะ ยิ่งถ้ามาพร่ำพรรณาเรื่องทางโลก (โลกธรรม ๘) ถ้าหนีได้จะหนีเลยนะ ฟังแล้วรำคาญ นี่แหละความไม่รู้ที่มีอยู่ของแต่ละคน จะรู้กันบ้างไหมว่า ถึงเวลาต้องตายจริงๆ จะเป็นยังไง

เมื่อไม่รู้ จึงไม่มีการคิดเตรียมตัวที่จะตายแต่เนิ่นๆ หากไม่รู้อะไรเลย การปฏิบัติก็ไม่เอา ก็สะสมไป การทำบุญ ทำทาน ทำไปเถอะ เก็บเล็กผสมน้อย เผื่อไว้ เวลาที่จะต้องตายขึ้นมาจริงๆ หากจิตระลึกถึงคุณงาม สิ่งที่เคยสร้างกุศลไว้ อย่างน้อย เวลาตาย ยังมีโอกาสไปภพภูมิที่ดี

กุมภาพันธ์ 2015
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728  

คลังเก็บ