ทิฏฐาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ปุจฉา-วิสัชนา

มีคำถาม ทิฏฐาสวะ ละได้สิ้นไม่มีเหลือ
สภาวะมีเกิดขึ้นตรงไหน

คำตอบ มีเกิดขึ้นในอนาคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
ทำให้ละภวาสวะ ดับสิ้นไม่มีเหลือ
.

มีคำถาม อวิชชาสวะ ละได้สิ้นไม่มีเหลือ
สภาวะที่มีเกิดขึ้นตรงไหน

คำตอบ มีเกิดขึ้นในอรหัตผลมีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นโดยตัวสภาวะเอง
แจ้งวิมุตติปาริสุทธิตามจริง ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
แจ้งอุปาทาน ๔ และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริง

สภาวะมรณะสัญญา

เข้าใจตัวสภาวะที่ยังคงมีปรากฏอยู่เป็นบางครั้ง
สภาวะมรณะสัญญา

เกิดจากรู้ชัดจากที่มีเกิดขึ้นขณะหัวใจวาย
และอาการที่มีเกิดขึ้นขณะหัวใจล้มเหลว
ทำให้เวลามรณะสัญญามีเกิดขึ้น
จะเจ็บปวดแสนสาหัส
หรือแน่นๆหน้าอก หายใจไม่สะดวก

เมื่อไม่มีความกลัว จิตย่อมไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง จิตจะเป็นสมาธิอัตโนมัติ
กำหนดรู้ผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้น
อาการที่เป็นอยู่จะค่อยๆคลายหายไปเอง
อาจจะเกิดสั้นหรือเกิดนาน ไม่แน่ไม่นอน
บางครั้งเกิดกลางวัน
บางครั้งเกิดกลางคืน
บางครั้งเกิดกำลังเดินอยู่
บางครั้งเกิดเวลานั่ง
บางครั้งเกิดขึ้นเวลาทำกิจกรรม เช่น ทำอาหาร ซักผ้าฯลฯ
จะมีความรู้สึกชัดหัวใจเหมือนถูกเค้น
ถูกบีบด้วยมือที่มองไม่เห็น
จะรู้ชัดเหมือนหัวใจมาตั้งไว้ภายนอก

เมื่อความรู้สึกปรากฏชัดเจน
จะหยุดกิจกรรมทั้งหมด
หาที่นั่งพัก
เมื่อสภาวะที่เกิดขึ้นค่อยๆคลายหายไป
จึงจะกลับมาทำงานนั้นๆได้ต่อ

เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ

แก้ไขใหม่ ๑๘ มีค. ๖๖

มานั่งอ่าน ทำให้รู้ว่าเขียนสภาวะตกไป
เรื่องโคตรภูญาณ
ประมาณว่าเมื่อไตรลักษณ์ปราฏ
อาจจะมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต(ทุกขาปฏิปทา)
หรือมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน(สุขาปฏิปทา)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดต่อ
โคตรภูญาณเกิดขึ้นต่อ

หากมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ
แต่โคตรภูญาณยังไม่ปรากฏ
นั่นหมายถึงยังไม่ได้โลดาปัตติผล

ไว้จะมาเขียนแยกตัวสภาวะออกจากกัน
มีตย.ของผู้ที่ได้โสดาปัตติผลตามจริง
บางครั้งก็ลืมไปนะว่าไม่ได้เขียนแยกไว้


ก่อนจะมาเป็นเจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ต้องรู้ชัดสภาวะวิมุตติปาริสุทธิ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

เมื่อแจ่มแจ้งสภาวะ วิมุตติปาริสุทธิ ตามจริง
จึงจะแจ่มแจ้งคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

ค่อนข้างจะซับซ้อน คือ
แจ้งสภาวะวิมุตติที่มีเกิดขึ้นตามจริงก่อน
จึงจะแจ่มแจ้งคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง ที่หลัง

ก็คือ เมื่อวิชชา ๓ ปรากฏตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะ จึงปรากฏตามจริง
จะแจ่มแจ้งสภาวะวิมุตติปาริสุทธิ ที่มีเกิดขึ้นตามจริงก่อน
(เดิมที่มักจะเรียกว่าสภาวะจิตดวงสุดท้าย)
แล้วจึงจะแจ่มแจ้งสภาวะที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้เกี่ยวกับคำว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ

พอจะพูดได้ว่า
เมื่อได้วิชชา ๓ ตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะ ปรากฏตามจริง
แจ่มแจ้งสภาวะวิมุตติที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เมื่อได้ศึกษาพระธรรมในพระสูตรต่างๆ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เกี่ยวกับคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ
ประกอบกับแจ่มแจ้งสภาวะวิมุตติที่มีเกิดขึ้นตามจริงด้วยตัวเอง
จึงทำให้รู้รายละเอียดของคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตตินั้น
ก็คือสภาวะวิมุตติ ที่มีเกิดขึ้นตามจริงน่ะแหละ

เมื่อยังไม่แทงตัวอักษร(คำเรียก)
ย่อมไม่เข้าใจคำที่เรียกว่า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

“ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล
ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้”

ซึ่งตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงก็ได้แก่ วิมุตติ

ทุกคำที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมนั้น
เป็นตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เพียงแต่หากยังยึดติดตัวหนังสือ จะทำให้ยึดติดในสิ่งที่รู้มา
ทำให้ไม่รู้ชัดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ

ที่สำคัญ ต้องละคำเรียกต่างๆนี้ ทิ้งไปเลยจากใจ
คือ เราเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
ต้องไม่มีความเรียกเหล่านี้อยู่ในอนุสัย ไม่กำเริบเกิดขึ้นมาอีก

ให้บอกตัวเองเนืองๆว่า
เราปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด(อนุปาทาปรินิพพาน)
เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อ “ความเป็น”

หากเรายังมีความคิดในใจว่า เราเป็น
นั่นหมายถึงยังถอนตัณหาไม่ได้

หากเมื่อละตัณหา เรื่องความเป็นลงไปได้
ตัวสภาวะจะดำเนินต่อเนื่อง ไม่ติดขัด
เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวหนังสือ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในพระธรรมที่ผุดขึ้นมา
สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น แล้วเก็บรวบรวมไว้ เหมือนการต่อจิ๊กซอ
จากรู้คำเรียกหนึ่ง(ในพระสูตร) จะไปรู้คำเรียก(ในพระสูตร)ต่อๆไป
รู้ที่ละตัว ไม่ได้รู้เป็นแบบกลุ่มก้อน ไม่ใช้แบบนั้น

เดิมที่ เข้าใจว่าคำว่า เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ
เข้าใจว่าเป็นสมถะและวิปัสสนา

เป็นเรื่องการทำกรรมฐาน
สมถะ มีใช้บริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์

ก่อนหน้า สิ่งที่เคยรู้มาก่อนโดยตัวสภาวะ
จึงทำให้เข้าใจว่า จะต้องเป็นแบบนี้ๆ
ที่ไม่ติดคำเรียกเหล่านี้ เกิดจากการกำหนดตามจริง
ไม่นำความรู้เห็นนี่ไปสร้างกรรมกับผู้อื่น
ใช้วิธีการเขียนมาเรื่อยๆ


พาลวรรคที่ ๓
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้

วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย
เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

.
๕. อนุคคหสูตร
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติ เป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

.
ขยายใจความหมายของคำว่า เจโตวิมุติและปัญญาวิมุตติ

๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี
ปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ๑
ความสำคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง ๑
ความสำคัญว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ ๑
ความสำคัญในการละ ๑
ความสำคัญในความคลายกำหนัด ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์

เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้
ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสาร
ที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างนี้แล ฯ


จากพระสูตรที่เคยอ่านมา ทำให้เห็นแบบนั้น
ต่อมาเจอพระสูตรนี้ มาช่วยขยายความเข้าใจมากขึ้น
แต่ก็ยังเข้าใจเหมือนเดิม ไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด

๒. อัฏฐกนาครสูตร
พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ
รูปฌาน ๔
[๒๐] ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ปฐมฌานนี้
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล
ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

= อธิบาย =

จากพระสูตรนี้ พูดตัวสภาวะ จะเหมือน ๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒

คำว่า ความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ได้แก่ ทำกรรมฐาน
สมถะ มีใช้บริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่อง จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่อง จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

.
ตรงนี้
“สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”
ได้แก่ จะสมถะหรือวิปัสสนา
หากไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

หากยึดติดตัวหนังสือนี่
จะทำให้เข้าใจผิดคิดว่า เมื่อมีไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
เท่ากับได้มรรคผลตามจริง

.
ตรงนี้
“ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น”
คือยังพอใจในจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ



พอมาเจอพระสุตรนี้ จบเลย
มีรายละเอียดทั้งหมด
จึงทำให้รู้แล้วว่า คำว่า เจโตวิมุติ และคำว่า ปัญญาวิมุตติ
ให้สังเกตุตรงคำว่า วิมุตติ
วิมุตติ จะมีใช้อยู่สองสภาวะคือ วิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะ
วิมุตติปาริสุทธิ หมายถึงได้มรรคผลตามจริง ปราศจากตัณหา
วิมุตติญาณทัสสนะ ไม่ใช่เพียงการแจ้งอริยสัจ ๔ เท่านั้น

๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
รูปฌาน 4
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น
และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

= อธิบาย =

ตรงนี้
“รูปฌาน 4”
หมายถึงการทำกรรมฐาน
สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ปฏิบัติต่อเนื่องจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
ปฏิบัติต่อเนื่องจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

“เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง”
ตัวสภาวะตรงนี้มีเกิดขึ้นเฉพาะสัมมาสมาธิ
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ปรากฏตามจริง
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

สีลสูตร
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

คำว่า เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕ ตามจริง

“เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

คำว่า ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติปาริสุทธิ)ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

มรรค เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ปล่อยความยึดมั่นถือมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น
(บางคนใช้โยนิโสมนสิการว่า ไม่ตายหรอก ทำให้อดทน จนผ่านไปได้)
เมื่อจิตปล่อย เวทนากล้าที่มีอยู่จะค่อยๆคลายหายไป(ตรงนี้เกิดก่อน) หรือดับ(เกิดที่หลัง)

(จึงมาเป็นคำว่า
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
ปล่อยความยึดมั่นถือมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)

กับคำว่า
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ได้แก่ เวทนากล้าที่มีอยู่จะค่อยๆคลายหายไป แต่สภาวะจิตดวงสุดท้ายไม่ปรากฏ)

ผล ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติปาริสุทธิ)ปรากฏตามจริง

คำว่า วิมุตติปาริสุทธิ
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงได้แก่
วิชชา ๑
วิชชา ๒
วิชชา ๓

วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง

คำว่านิพพาน ตัวสภาวะตามจริง คือดับภพ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ)
ดับตัณหา ๓ และดับอุปาทานขันธ์ ๕


แก้ไข 4 สค. 65

๒. สามัญญผลสูตร
เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู
วิชชา ๘
วิปัสสนาญาณ
มโนมยิทธิญาณ
อิทธิวิธญาณ
ทิพยโสตญาณ
เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
จุตูปปาตญาณ
อาสวักขยญาณ

= อธิบาย =

มโนมยิทธิญาณ
อิทธิวิธญาณ
ทิพยโสตญาณ
เจโตปริยญาณ
เกิดจากกำลังสมาธิในอรูปฌาน
ทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ยังเป็นโลกียะ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
จุตูปปาตญาณ
อาสวักขยญาณ
เป็นเรื่องการได้มรรคผลตามจริง
เป็นโลกุตตระ

วิชชา ๑ โสดาปัตติผล
โคตรภูญาณมีเกิดขึ้นต่อ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
มีเกิดขึ้นเฉพาะผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ

วิชชาข้อแรก เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น
ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …

บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
นี่เป็นสภาวะของโสดาบันประเภท กายสักขี ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนไดมรรคผลตามจริง

วิชชา ๒ อนาคามิผล
จุตูปปาตญาณ
มีเกิดขึ้นผู้ปฏิบัติได้รูปฌานและอรูปฌาน

วิชชา ๓ อรหัตผล
อาสวักขยญาณ
มีเกิดขึ้นผู้ปฏิบัติได้รูปฌานและอรูปฌาน

แก้ไข 3 กย. 65

บันทึก

ลักษณะของความหลง
จะเห็นเป็นตัวตน เรา เขา

ลักษณะอวิชชา
จะเห็นว่าเป็นของเรา ของเขา
เกิดจากไม่แจ้งอริยสัจ ๔


การปฏิบัติทั้งหมด เพื่อดับ ๓ ภพ มีแค่นี่
(จิตดวงสุดท้ายตามจริง 2 ครั้ง)

ส่วนความเป็นของเรา ของเขา
เป็นเรื่องของฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ยังมีอยู่
(จิตดวงสุดท้ายตามจริง ครั้งที่ 3)

บุคคลที่ละ ๓ ภพได้หมด
จะไม่มีความคิดว่าตนเป็น เราเป็น เขาเป็น นี่ของเรา นี่ของเขา
ดูตอนสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง

หากยังมีความคิดว่าเป็นตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา
ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้

จึงบอกว่าให้ดูสภาวะจิตดวงสุดท้ายตามจริง
อื่นๆให้กำหนดตามความเป็นจริง

จิตละเอียดมากๆ
เช่นบางคนเวลาสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ
แม้เขาบอกว่าเขาไม่กลัวตาย ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทว่าจิตใต้สำนึกของเขา ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
บางคนจึงทำให้ผ่านได้ยาก เหมือนจะใช่ แต่ไม่ใช่
เกิดจากตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา มีอยู่
เพียงแต่เขาไม่รู้ เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่

กรรม การกระทำที่เกิดจากอวิชชา
หากเขาทำให้ผู้อื่นหลงทาง ผลย่อมกระทบกลับมาหากับเขา
ทำให้เขานั้นผ่านได้ยากเพราะเหตุนี้
ที่นี้ทียังมีชีวิตอยู่ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

เมื่อกาละมาเยือน สักแต่ว่าแค่ผัสสะที่มีเกิดขึ้น
ไม่มีความคิดว่านี่กำลังจะตาย
มีแต่เรื่องของผัสสะ
เหตุนี้ความคิดจึงไม่มี


เมื่อความคิดไม่มี
ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ จึงไม่มี
อันนี้ก็ส่วนหนึ่ง ต้องแยกสภาวะออกจากกัน

ทำไมผู้ปฏิบัติ ทำไมจึงตายยาก
เกิดจากจิตที่ฝึกหนัก ทำให้ตายยาก

ใครปฏิบัติแล้วคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์
เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่

สำหรับผู้ที่เบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด
จะไม่ให้ความสำคัญในสมมุติ
พูดง่ายๆไม่หลงในโลกธรรม ๘
ไม่หลงในกายและจิต

เกี่ยวกับสิ่งที่เราเขียนมาต่อเนื่อง
ต่อให้ใครมาว่าเราว่า นี่เป็นอย่างงั้น เป็นอย่างงี้ ไปในทางไม่ดี
เราฟังแล้วเฉยๆ
เกิดจากเขาไม่เข้าใจจึงว่าเราได้ นี่เป็นเรื่องปกติ

การศึกษาสำคัญมาก ศึกษานอกตำรา
กับศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้นั้น
ย่อมแตกต่างกัน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์
ส่วนนอกตำรา มีแต่เรื่องความเป็นตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา
แม้จะบออกกับตัวเองว่าเป็นอย่างงี้ๆ นั่นแหละอุปาทานขันธ์ ๕

ฉะนั้นผลของการปฏิบัติ ทำให้ถ่ายถอนอุปาทานขันธ์ ๕
คือสึกขา ๓ และปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
ผลที่ได้รับคือละอุปาทานขันธ์ ๕
การปฏิบัติทั้งหมดเพื่อดับทุกข์ คือดับตัณหา(เหตุแห่งทุกข์)


ความรู้นี่ได้จากคำพูดของหมอสองคน
เนื่องจากนาฬิกา ที่สามารถรู้เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ
ตอนเล่าให้หมอรพ.สิริธร เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ
บางครั้งเต้น 190 บางครั้ง 150 คือ 120+
หมอพูดว่านาฬิกา เชื่อไม่ได้
เราไม่พูดอะไร เพราะเราแค่เลา เพื่อหมอจะได้รู้ว่าอาการของเราตอนนี้เป็นยังไงบ้าง

ครั้งล่าสุดไปพบหมอรพ.รามตามนัด
หมอดูผลแลป หมอพูดเหมือนกับหมอรพ.สิรินธรว่า ผลเลือดทุกอย่างดี คือปกติ

เราก็เล่าอาการเต้นของหัวใจ เหมือนที่เล่าให้หมอรพ.สิรินธรให้ฟัง

หมอพูดเหมือนกันว่านาฬิกาเชื่อไม่ได้ ประมาณว่าคนปกติ หัวใจะไม่เป็นเต้นขนาดนั้น
เราจึงบอกกับหมอว่า ที่เราบอกนั้น หมอจะได้รู้ว่าตอนนี้หัวใจเราเป็นแบบนี้
ส่วนจะเป็นอะไรหรือไม่ เราไม่สนใจ
ถ้าเรายังไหว จะไม่ไปหาหมอ
ถ้าไม่ไหวเหมือนครั้งหัวใจวาย จึงจะไปหาหมอ
อีกอย่างรู้แล้วว่าจะเกิดสั้นๆแล้วหายไป จึงไม่ไปหาหมอ คือยังไหว

เราบอกว่า มีเกิดขึ้นตอนยกกล่อง ต้องใช้แรง ทำให้หัวใจเต้นเร็วมาก ไม่ต้องดูนาฬิกาเลย
แม้เวลาเดิน หัวใจยังเต้นเร็ว สลับเต้นปกติ ทำให้รู้ว่าการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีผลต่อหัวใจ

เราบอกหมอว่าตอนที่หัวใจเต้น 190 จะรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก จึงไปนั่งโซฟา ทำสมาธิ
จะทำแบบนี้ทุกครั้งที่รู้สึกอาการแน่นหน้าอก ประกอบด้วยหัวใจเต้นผิดปกติ
เพียงแต่ไม่มีความเจ็บปวดเหมือนตอนหัวใจวายที่มีเกิดขึ้นครั้งแรก

หมอบอกว่าหัวใจของเรายังเต้นผิดจังหวะ ยังเต้นเร็ว
ยานี้carvedilol 20 mg ครึ่งเม็ด หลังอากหารเช้าและเย็น ยังให้กินต่อ ความดันปกติ
หมอฟังหัวใจ แล้วบอกว่าหัวใจยังเต้นผิดจังหวะอยู่ แล้วนัดต่อ แล้วไปฉีดวัคซีน AZ เป็นเข็มที่ 2

ตอนฉีดยา ความรู้สึกเหมือนมดกัด เราบอกว่าไม่เหมือนฉีดเข็มแรก จะรู้สึตอนฉีดยาเหมือนมีน้ำพุ่งเข้าไป
ครั้งนี้ไม่มีความรู้สึกแบบนั้น แล้วหลังฉีดยาจะมีอาการเหมือนฉีดวัคซีนเฉพาะแขนที่ฉีดนั้น เป็นหลายวัน
เขาบอกว่า ครั้งนั้นน่าจะเกิดจากดันยาเร็ว
หลังจากฉีดวัคซีน จะให้สังเกตุอาการครึ่งชม. แล้วเช็ค บอกว่าปกติ ให้กลับได้
หลังกลับมาจน วันนี้จึงมีอาการตรงที่ฉีดวัคซีน รู้สึกน้อยกว่าครั้งก่อน
รพ.ให้ใบรับรองว่าได้รับวัคซีนสองเข็ม
เราถามเจ้านายว่าได้รับใบรับรองป่ะ
เขาบอกว่าจนท.เก็บไป ไมได้ให้กลับมา


12 ตุลาคม เวลา 18:17 น.

รู้สึกดีใจ กว่าจะเรียบเรียงตัวสภาวะที่ควรกระทำตามลำดับได้
ต้องใช้เวลา กว่าจะเขียนออกมาได้
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวอักษร คำเรียก
ใครจะพูดอะไร จะตำหนิก็ตาม
แค่มอง ไม่นำมาเป็นสาระ
เหตุมี ผลย่อมมี
ทั้งเราและเขา เคยสร้างเหตุที่ไม่ดีต่อกันมาก่อน

ส่วนเรา ทุกคำพูด พูดเรื่องการดับทุกข์
ชี้ให้เห็นว่าติดอะไรกันอยู่
เพราะเรารู้ เราเห็น จึงบอก
ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของแต่ละคน
มโนกรรมไม่มี

ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
(ผัสสะ เวทนา)
เกิดจากการกระทำของตัวเองล้วนๆ

เหมือนเรื่องการปฏิบัติ ทำกรรมฐาน
การบรรลุช้า บรรลุเร็ว
ล้วนเกิดจากการกระทำของตัวเอง
และขาดการศึกษา

บางคนรู้ทุกอย่าง ได้ศึกษา
และสดับมาก่อนแล้วว่าควรทำอะไร
ให้ใช้อุบายยังไง
แต่ไม่สามารถผ่านไปได้
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ อย่างเนียวแน่น
ทำให้เกิดความกลัว ไม่สามารถผ่านจุดนี้ไปได้
ก็ไม่เป็นไร หากยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง
ไม่เจอตอนนี้ ก็เจอตอนขณะทำกาละ
ก็ไม่พ้นชาติ ชรา มรณะฯลฯ

แต่ถ้าถามเรา
เราจะบอกว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ให้ทำเต็มที่

บางคน เมื่อเจอเวทนากล้า
จนรู้สึกคิดว่าทนไม่ไหว
แล้วลืมตา ไม่ก็ออกจากทำกรรมฐาน
คนเหล่านี้ เมื่อเจอปัญหาในชีวิตและขณะทำกรรมฐาน
มักจะท้อถอย มักโทษนอกตัว ตามด้วยปรามาส

ต่างกันมากๆกับผู้ที่ทำกรรมฐานเจอเวทนากล้า
จนรู้สึกว่าทนไม่ไหว จะบอกตัวเองว่า ตายเป็นตาย
ไม่ท้อถอย ไม่ยอมตามใจตัณหา(คืออยากลืมตา อยากเลิก)
อุปมาว่า จะแลกด้วยชีวิต
เมื่อผ่านได้
ทำให้ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ที่มีอยู่
ทำให้เบาบางลง

เมื่อเจอเวทนากล้านี้อีก
อาจจะเปลี่ยนรูปแบบที่มาปรากฏ
จะไม่กลัวละ ตั้งจิตมั่น ไม่ท้อถอย
ทำแบบนี้ จนกว่าสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง

เมื่อเจอแล้วจะขอบคุณตัวเอง
ที่สามารถอดทนอดกลั้นได้ขนาดนี้

จริงๆแล้วสภาวะทั้งหมด ไม่มีอะไรเลย ไม่มีจริงๆ
มีแต่เรื่องความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

สภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ 1(มรรค ผล)

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

สภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ 1
หรือที่เรียกตามปริยัติชื่อว่า  มรรคญาณ ผลญาณ

ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย) สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้จะปรากฏขึ้นเสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้
เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึกที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

ความรู้สึกครั้งแรกของทุกคน รู้ชัดเหมือนๆกัน
ก่อนที่จะเกิด จะรู้ชัดว่าจะเหมือนหายใจไม่ออก
เหมือนจะตาย ถ้ายอมตาย แล้วจะมีสภาวะต่อมาเกิดขึ้น
คือ ถูกแรงดูดที่มีแรงมหาศาล ของถูกดูดเข้าไปในหลุมหรือรู

จากสภาวะทั้งหมด สรุปได้ว่า การเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่แรก(1) ทุกคนต้องยอมตาย บ้างคนอาจจะมีสติดี กรณีของคนที่ 1 ที่ปล่อยเลย

ทั้งสภาวะทุกหมด สรุปได้ว่า ทุกคนที่ก่อนถูกแรงดูดมหาศาลดูดเข้าไป ต้องเจอสภาวะหายใจไม่ออกหรือทำให้รู้สึกเหมือนจะตาย เป็นการรู้ชัดในสภาวะทุกข์

ขณะเกิดสภาวะ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง

ขณะที่เกิด จะเหมือนเรื่องเกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ

.

คนที่ 1

ก่อนเกิดสภาวะบอกว่า จะรู้สึกเหมือนจะตาย แต่ไม่ได้เล่าว่า เจออะไร ถึงได้พูดว่า เหมือนจะตาย แล้วเล่าต่อว่า ก็นั่งอยู่ จะตายได้ไง จึงคิดว่า ไปเลยจะได้รู้ว่าเป็นไร เจอเหมือนโดนดูดเข้าไปในรู ตอนหลังบอกว่า จะเข้ารู ต้องเข้าถูก คือ รูธรรม

.

คนที่ 2

“สามวันมันจี้เอาปางตาย ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ แต่ละปั้บลงนี่ยังกะโดนเครื่องปั๊มหัวใจช็อตเอาประมาณนั้นมั้ง (จากแต่ก่อนที่เคยเป็นคล้ายอาการแทง กรีด คว้าน และเฉือนอยู่ภายใน) นั่นภายในมันดิ้นกันพล่านเลยจนหมดแรง ร่อแร่แล้วนี่ ตรงที่เห็นขณะเกิดดับก่อนจะเหมือนกระแสบางอย่างถูกดูดลงหลุมดำ (แอบประมาณเรียกเอง)”

.

คนที่ 3

“เจออาการร่างกายปวด ตัวหวิวใจหวิว พยายามประคองสติใว้ อาการทั้งตัวเหมือนโดนน้ำท่วมสำลักหรือเป็นลมแดดหูอื้อตาลาย แต่สติยังแข็งมาก รับรู้ได้ทุกอย่าง เหมือนโดนดูดเข้าไปในท่อดำมืดอะไรสักอย่าง มีอาการเจ็บปวดเหมือนตัวจะขาดจากกัน กระดูกเนื้อหนังเหมือนแตกไปทั้งร่าง หมุนติ้วๆอยู่ไม่มีบนล่างกำหนดทิศทางกำหนดหนักเบาร้อนเย็นอ่อนแข็งอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรให้ยึดจับทั้งนั้น

พอตกใจจิตถอนออกก็สงบสว่างอยู่พักนึง พอเริ่มสบายสติผ่อนคลายหายกระเพื่อมก็โดนอีก คราวนี้เหมือนโดนกระชากตัวพุ่งพรวดลงไปในเหว ตัดสินใจยอมเจ็บยอมตาย มันดิ่งก็ดิ่งตามไปด้วย ผ่านไปสักพักก็โล่ง มีแต่สว่างขาวโพลงอยู่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไรอยู่อย่่างนั้น แต่ไม่กลัวอะไรเลย มันโล่งไปหมด สบายสุดๆ ก็จับอารมณ์ตรงหน้ามาพิจารณาต่อ สักพักก็ไม่คิดอะไรอีก อาการอิ่มใจหายไปอารมณ์แน่นกว่าเดิม พอเย็นอิ่มใจนานๆไปก็สงบสุดๆอารมณ์แน่นขึ้นอีก สักพักเหลือแต่นิ่งอยู่อารมณ์แน่นขึ้นแล้ว ถึงขั้นนี้ไปไม่เป็นแล้ว ลมหายใจก็ไม่มี มันดับหมด

.

คนที่ 4

“พี่น้ำ…
เหมือนเคยเจอสภาวะนี้ ครั้งนึงค่ะ หลายปีมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ตอนนั้นไปปฎิบัติธรรมที่วัด นั่งในวิหารรวม มีสติ กำหนดตามรู้สภาวะ ไปเรื่อยๆ มาถึงจุดนึงจะมีสภาวะของการบีบคั้น กดดัน เหมือนจะจมน้ำตาย ตอนนั้้นก็ยอมตาย ตายก็ตายค่ะ เลยปล่อยให้สภาวะมันเป็นไป(ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย)

เหมือนมีแรงดูดมหาศาล ดูดและหมุนๆเข้าไป นึกไปถึงที่ีพี่น้ำบอกว่า เหมือนตอนคลอดแล้วโดนดูดออกมา มันเหมือนเป็นความรู้สึกนั้นเลย หลังจากดูดเสร็จแล้ว สภาวะก็จะเหมือนเราแหวกออกมาจากอะไรไม่รู้ซักอย่างนึงค่ะ มันอธิบายไม่ถูกเหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะเปรียบกับอะไร หลังจากนั้น ก็เข้าไปเห็นสภาวะอะไรก็ไม่รู้ที่มันว่างๆ โปร่งๆเบาๆ สบายๆ แต่ยังมีสิ่งที่เข้าไปรู้อยู่ค่ะ แต่ไม่รู้ว่ารู้อะไร หลังจากนั้น(ไม่นานในความรู้สึก) สภาวะทั้งหมดก็คลายตัว แล้วระลึกได้ถึงการกลับมามีตัวตนที่นั่งอยู่ในวิหารค่ะ แต่กายมันสั่น ฟันกระทบกัน กึกๆ เหมือนไปผ่านจุดเยือกเเข็งมาค่ะ

.

คนที่ 5 วลัยพร
ขณะกำลังกรรมฐานอยู่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว

เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย ความรู้สึกดับลงไป

ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล สองข้างทางที่ผ่านเข้าไป มีภาพในอดีตชาติแต่ละชาติ ผ่านไปไวมาก ดูไม่ทัน จึงไม่รู้ว่าเป็นชาติไหนบ้าง เป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัส ชีวิตแรกเกิด ตอนที่ออกจากท้องแม่ คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยดูดออก ที่รู้ชัด เพราะเคยทำงานอยู่ตึกสูติ รู้โดยอาชีพ เมื่อมาเจอกับตนเอง จึงรู้ชัด

ตอนที่เราเจอ ช่วงถูกดูดเข้าไป ตอนนั้นสว่างมากๆๆๆ จะเหมือนในภาพ

10365948_749535668419489_4519154480165733809_n

ความสำคัญใน “สภาวะดับ”

รู้ตามลำดับ ละตามลำดับ มรรคปฏิปทา
เหตุปัจจัยจากอินทรีย์ ๕ มีกำลังอ่อน แก่ ไม่เท่ากัน

ตัวแปรของสภาวะ ได้แก่ ปัญญินทรีย์
คำตอบของสภาวะทั้งหมด ที่สามารถรู้ชัดด้วยตนเองได้
กล่าวคือ มีความสำคัญในการดับ

ได้แก่ การรู้ชัดในความดับตามความเป็นจริง
ของสภาวะที่มีเกิดขึ้นในสภาวะจิตดวงสุดท้าย

ดับโดยกรรม

ดับโดยรูปฌาน

ดับโดยอรูปฌาน

ดับโดยมรรค

.

สามารถรู้ชัดด้วยตนเองได้โดย การเจริญสมถะและวิปัสสนา
สมถะในที่นี้ หมายเอาเฉพาะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
วิปัสสนาในที่นี้หมายถึง ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

๑. การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
เป็นสภาวะของศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

หรือจะเรียกว่า เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
ก็ได้เช่นกัน โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน

.
๒. การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

.
๓. การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป
คือ ทำทั้งข้อ ๑ และ ข้อ ๒ ไปพร้อมๆกัน

.

พระธรรมคำสอน ที่ควรรรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติ

.
“เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ

จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ

.
เพราะฉะนั้นแหละ ท่านตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป.

ท่านจงพิจารณาเห็น
ในสังขารทั้งปวงว่า เป็นของไม่เที่ยง
มีความ สำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์
มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นอนัตตา
มีความสำคัญ ในการละ
มีความสำคัญในความคลายกำหนัด
มีความสำคัญในการดับ

.

.

๒. อลคัททูปมสูตร

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป.

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้นเปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

.

.

หมายเหตุ;

“มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า”

ได้แก่

ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบัน

สัทธานุสารี ธรรมมานุสารี
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
(สัทธาวิมุติ ทิฏฐิปัตติ กายสักขี)

.

ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระสกทาคามี

สัทธานุสารี ธรรมมานุสารี  สัทธาวิมุติ ทิฏฐิปัตติ กายสักขี
สกทาคามิมรรค สกทาคามีมิผล

.

ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอนาคามี

สัทธานุสารี ธรรมมานุสารี สัทธาวิมุติ ทิฏฐิปัตติ กายสักขี
อนาคามีมิมรรค อนาคามีมิผล
.

ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

สัทธานุสารี ธรรมมานุสารี  สัทธาวิมุติ ทิฏฐิปัตติ กายสักขี
อรหันตมรรค อรหันตผล

 

 

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย
เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ

บุคคลผู้สัทธาวิมุตตนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์
บุคคลผู้เป็นกายสักขี ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี
ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้
บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย
เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ
บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์
บุคคลผู้สัทธาวิมุตตเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี
และแม้บุคคลผู้กายสักขีก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี

ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้
บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่าไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย ฯ
ปุคคลวรรคที่ ๓
สวิฏฐสูตร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3&book=9&bookZ=33

ความมั่นคง

27-3-18

ความมั่นคงทางใจ

.
ตราบใดที่ยังมีอุปทานขันธ์ ๕ กิเลสก็ยังทำงานปกติ ให้กำหนดรู้
เมื่อกำหนดรู้ อย่างน้อย ใจสงบลงไปได้ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
ก็เป็นการดับรอบเฉพาะตน คือ ดับตัณหา
ไม่ไหลตามตัณหา จนถึงขั้นสร้างเหตุนอกตัว
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก

เมื่อเพียรละเนืองๆ โดยการกำหนดรู้ สติ สัมปชัญญะ ย่อมมีกำลังมากขึ้น
จะเริ่มเป็นอัตโนมัติ คือ กระทบ รู้ ไม่ต้องมาคอยกำหนด
หรือใช้ความอดกลั้น กดข่มใจ แบบตอนแรกๆ

สมัยก่อน ตอนที่รู้ชัดและรู้จักว่ากิเลสคืออะไร เราก็ไม่ต่างจากคนอื่นๆ
ใช้การกำหนดรู้ ใช้เรี่ยวแรงอย่างมาก ในการอดทน อดกลั้นกดข่มใจ
ไม่ปล่อยให้เกิดการกระทำตามแรงผลักดันของตัณหา

ถึงจะมีความประมาทพลาดพลั้ง หลงกระทำไปบ้าง
แต่เมื่อรู้ชัดในเรื่องกรรมและผลของกรรม การยับยั้งชั่งใจก็มีมากขึ้น
สติ สัมปชัญญะก็มีมากขึ้น จนปัจจุบันนี้ ไม่ต้องกำหนด
ไม่ต้องใช้เรี่ยวแรงมากมายในการอดทน แบบก่อนๆ

รู้แล้วจะมีแต่ความเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
คือ กรรม(การกระทำ)และผลของกรรม
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด คือ ไม่ปล่อยใจไหลตามตัณหา
กิเลสที่มีเกิดขึ้น รู้แค่ว่ามีเกิดขึ้น ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ใจ
เหมือนตอนที่แรกรู้ชัดเรื่องกิเลส

ตรงนี้คนละเรื่องคนละอย่างกับทางโลก
ทางโลกจะบอกว่าเข็ด ไม่เอาแล้ว นั่นเกิดจากความกลัว พอผ่านไป ก็ทำอีก
แต่ตรงนี้เป็นเรื่องของความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
สิ่งที่เกิดขึ้นทางใจ มันต่างกันมากเหมือนหน้ามือกับหลังมือ

ถ้าถามว่า แล้วยังมีหลุดสร้างเหตุนอกตัวมั่งมั๊ย คำตอบคือ ยังมีอยู่ แต่น้อยมาก
และก็ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ใจเหมือนก่อนๆ
ก็ทำไปแล้วนี่ ยอมรับผลที่ตามมาก็แล้วกัน
ไม่นำมาวิตกหรือกังวลแต่อย่างใด

อีกอย่างที่ไม่วิตกกังวล เพราะรู้ชัดด้วยตนเองว่า
เมื่อถึงเวลาทำกาละ เรื่องราวเหล่านี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตดวงสุดท้าย
จึงไม่รู้สึกกังวลเพราะเหตุนี้ และการไม่โกหกตัวเอง ไม่ปกปิดตนเอง
ตัวเราย่อมรู้จักตัวเองมากที่สุด

.

อุปทานขัธ์ ๕ จะละขาดได้หมดสิ้นไม่มีเหลือ ก็มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น

 

ตัวแปรของสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายใน
กายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม

จะเรียกว่า มหาสติปัฏฐาน ๔ ก็ได้
หรือจะเรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๙ ในปฏิสัมภิทามรรค ก็ได้

กล่าวคือ เป็นลักษณะเด่นเฉพาะที่มีเกิดขึ้นในสัมมาสมาธิเท่านั้น

.
ฉะนั้น การรู้ชัดอยู่ภายใน
กายในกาย ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
เวทนาในเวทนา ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
จิตในจิต ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
ธรรมในธรรม ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ

มีผลกระทบต่อสภาวะจิตดวงสุดท้าย

.

และมีตัณหา เป็นตัวแปรที่สำคัญอันดับต่อมา ประกอบกับมีเกิดมาการคิดพิจรณาเนืองๆ หรือเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้นว่า

เห็นว่าไม่งามในกาย ๑
(เช่น เห็นว่ากายนี้ไม่งาม เต็มไปด้วยมูตร คูถ ต้องชำระล้าง)

มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
(เช่น กินแล้วก็ถ่าย ถ่ายแล้วก็กิน กินเพื่ออยู่ เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ไม่มีความติดในในรสชาติของอาหาร)

มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
(เช่น ไม่เห็นความอภิรมย์ หรือความน่ายินดีใดๆในโลก)

 

พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
(เช่น สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เที่ยง แปรปรวน ตามเหตุและปัจจัย ยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้ ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด)

มีมรณสัญญาปรากฏขึ้นด้วยดี ณ ภายใน ๑
(เช่น ไม่มีความสะดุ้งหวาดกลัว แม้ยามที่มีภัยมา อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต)

กล่าวคือ มีเกิดขึ้นเนืองๆ แม้ขณะมีชีวิตอยู่
และมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ ขณะทำกาละ
ตัณหา ย่อมไม่สามารถทำงานได้ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี

ถ้าตัณหาเกิด กิเลสต่างๆ(สังโยชน์ที่มีอยู่) ย่อมมีเกิดขึ้นทันที
วิญญาณ ฐีติ ๗ และอายตนะ ๒ ย่อมมีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
(กรรมและการให้ผลของกรรม)

๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

 

๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ ผู้นับเนื่องในชั้นพรหม ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒

๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓

๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑)
และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

.

.

ถ้าถามว่า แล้วผู้ที่ยังไม่มีสัมมาสมาธิเกิดขึ้น แต่ทำความเพียรโดยการกำหนดรู้มาตลอด จะมีผลอย่างไร ขณะทำกาละ

คำตอบ ตรงนี้ ผู้ถามยังไม่เข้าใจเรื่องสัมมาสมาธิ
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ

๑. เกิดจากการทำกรรมฐาน

๒. เกิดจากการทำความเพียรโดยใช้การกำหนดรู้
ผู้ที่เพียรดับหรือเพียรละเหตุแห่งทุกข์ ด้วยการกำหนดรู้
ขณะที่จิตปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในผัสสะที่มีเกิดขึ้น
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ นี่ก็เป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน

เห็นโดยความเป็นอนิจจัง ละความยึดมั่นถือมั่น แล้วปล่อยวางจากผัสสะ
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรียกว่า อนิมิตตสมาธิ

เห็นโดยความเป็นทุกขัง ละความยึดมั่นถือมั่น แล้วปล่อยวางจากผัสสะ
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรียกว่า อัปณิหิตสมาธิ

เห็นโดยความเป็นอนัตตา ละความยึดมั่นถือมั่น แล้วปล่อยวางจากผัสสะ
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรียกว่า สุญญตสมาธิ

เพียงแต่ตัวแปรจะเปลี่ยนไป คือ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
แต่เป็นตัณหาเพียงอย่างเดียว

และต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้เกิดขึ้นด้วย คือ อาจจะเกิดจากการคิดพิจรณา หรือเกิดจากเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้นด้วยตนเองว่า

เห็นว่าไม่งามในกาย ๑
มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
มีมรณสัญญาปรากฏขึ้นด้วยดี ณ ภายใน ๑

กล่าวคือ มีเกิดขึ้นเนืองๆ แม้ขณะมีชีวิตอยู่
และมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ ขณะทำกาละ
ตัณหา ย่อมไม่สามารถทำงานได้ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี

ถ้าตัณหาเกิด กิเลสต่างๆ(สังโยชน์ที่มีอยู่) ย่อมมีเกิดขึ้นทันที
วิญญาณ ฐีติ ๗ และอายตนะ ๒ ย่อมมีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
(กรรมและการให้ผลของกรรม)

 

สภาวะจิตดวงสุดท้าย

23-3-18

ความแตกต่างของสภาวะจิตดวงสุดท้าย

.
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

กับ

ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตจริง ขณะทำกาละในชีวิตจริง

.

สภาวะจิตดวงสุดท้าย ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
ตัวตนที่มีอยู่ จะไม่สามารถเข้าแทรกแซงสภาวะได้
เช่น ในกรณีที่เกิดขาดอากาศหายใจ หรือเกิดทุกขเวทนากล้า
แล้วกำหนดว่า รู้หนอ สภาวะที่กำลังมีเกิดขึ้น จะหายไปทันที
แล้วกลับมารู้ที่กาย

ทว่า การคิดพิจรณาสามารถมีเกิดขึ้นได้
แต่การคิดพิจรณาทั้งหมด เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เช่น พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน

ความหลุดพ้นแห่งใจ(หลุดพ้นจากอุปทานขันธ์ ๕)
เพราะเห็นด้วยปัญญา ย่อมมีเกิดขึ้น
ย่อมรู้ชัดในสภาวะใดสภาวะหนึ่งที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นด้วย
อนิมิตตวิโมกข์
อัปณิหิตตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์

ทั้งหมดนี้ เป็นลักษณะเด่นเฉพาะ ที่มีเกิดขึ้น
ก่อนเกิด และ ขณะกำลังมีเกิดขึ้น ในสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ก่อนที่ทุกสิ่งจะดับสิ้นไป

.

สภาวะจิตดวงสุดท้าย ที่มีเกิดขึ้น ขณะทำกาละในชีวิตจริง
ตัวตนที่มีอยู่ สามารถเข้าแทรกแซงสภาวะได้
เช่น กรณีที่เกิดทุกขเวทนากล้า สามารถกำหนดรู้หนอ
เพื่อบรรเทาเวทนากล้า ที่กำลังมีเกิดขึ้นอยู่ราวกับชีวิตจะดับสิ้น

จิตไม่มีหวนไปอดีต(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เคยกระทำไว้)
ไม่มีคิดถึงอนาคต(ผลแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เคยกระทำไว้)

ไม่มีการกำหนดหรือมีความพยายามเพื่อใทำให้ห้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

กล่าวคือ ไม่มีความสะดุ้ง หรือหวาดกลัวต่อมรณะ ที่กำลังจะมีเกิดขึ้น

ผลของจิตที่ถูกฝึกมาอย่างต่อเนื่อง
ในสมถะและวิปัสสนา ที่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ
พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน

เมื่อเป็นดังนี้ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
ความหลุดพ้นแห่งใจ(หลุดพ้นจากอุปทานขันธ์ ๕)
เพราะเห็นด้วยปัญญา ย่อมมีเกิดขึ้น
ย่อมรู้ชัดในสภาวะใดสภาวะหนึ่งที่มีเกิดขึ้น
อนิมิตตวิโมกข์
อัปณิหิตตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์

ก่อนที่ทุกสิ่งจะดับสิ้นไป

หากยังหวนกลับมาสู่โลกนี้อีก
เพราะยังไม่มีเหตุปัจจัยให้ทำกาละ

.

ถึงแม้จะรู้เห็นอย่างนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดความประมาท
ยังคงทำความเพียรต่อเนื่อง
ทั้งสมถะและวิปัสสนา ที่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ

ทำกาละ

8 มกราคม

ถ้าไม่ได้ทำกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง

และถ้าไม่เคยรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะทำกาละถึง ๒ ครั้ง
คงไม่รู้ชัดในข้อปฏิบัติ เจริญสมถะและวิปัสสนา
คงไม่รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า สมถะ และ วิปัสสนา
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.

ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นแบบนี้ คงไม่ปรากฏแจ่มแจ้งในจิต

“ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุเป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้

เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไปจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.

เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

.

การทำกาละ หรือ ความตาย เป็นเพียงภาษาสมุตติ ที่บัญญัติขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร

ตัวสภาวะตามความเป็นจริงของการทำกาละหรือความตาย เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

๑. ยังมีสังโยชญ์ ที่ยังละภพของการเกิด ยังไม่ได้

๒. มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ

.

อ่านตัวออก ได้แก่ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บอกตัวได้ ได้แก่ รู้แล้วหยุด มากกว่าสานต่อ

ใช้ตัวเป็น ได้แก่ เจริญสติปัฏฐาน ๔

เห็นตัวตาย ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย
(อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ)

คลายทิฏฐิ ได้แก่ มีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น

 

 

๒๖ มค.

ประสพการณ์เกี่ยวกับ “ความตาย”

.

เฉียดตาย ๒ ครั้ง

๑. เกือบโดนรถชนตาย
รอดมาได้ เพราะสติดี สมาธิดี และอาจยังไม่ถึงคราวตายด้วย

๒. ประจำเดือนมามากผิดปกติ เหมือนคนตกเลือด
ไม่ไปหาหมอ ไม่กินยา ใช้สมาธิรักษา

.

.

เวทนากล้า มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
กายแตก กายระเบิด ๒ ครั้ง

.

.

เห็นตัวตาย ๑ ครั้ง
มีเกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น
อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ
แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ
สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน
เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว

เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน
รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย
ความรู้สึกดับลงไป

ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล
สองข้างทางที่ผ่านเข้าไป มีภาพในอดีตชาติแต่ละชาติ
ผ่านไปไวมาก ดูไม่ทัน จึงไม่รู้ว่าเป็นชาติไหนบ้าง

เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ของสภาวะจิตดวงสุดท้ายก่อนทำกาละ

“รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์”

ผัสสะและอริยสัจ ๔

[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นทุกข์ จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่าฯลฯ

ใจเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นทุกข์ ใจอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

.

หัวใจวายตาย ๑ ครั้ง
ขณะที่เกิดอาการหัวใจวาย มีสติรู้ตัวตลอด
กำหนดรู้ไปตามอาการตามความเป็นจริง
เจ็บหัวใจมากจนทนไม่ไหว กำหนด รู้หนอๆๆ
เห็นกายและจิตแยกขาดออกจากกัน
(สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่)

ความรู้สึกดับลงไป
รู้สึกตัวอีกที รู้ทั้งตัว รู้กายที่นอนอยู่

สภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งนี้
เป็นการตอกย้ำ ความรู้ชัดในสภาวะจิตดวงสุดท้าย

เมื่อความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ไม่มี
ที่ตั้งของวิญญาณ ย่อมไม่มี

“รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์
แต่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตามากกว่า”

ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔
อวิชชา สังขาร วิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน

ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้

ทำกาละ

๒. ผัคคุณสูตร

[๓๒๗] ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์เป็นไข้หนัก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะ อาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์
เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ

ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่
ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกจากเตียง

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า
อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ที่ผู้อื่นได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะว่า

ดูกรผัคคุณะ เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
ทุกขเวทนาย่อมบรรเทาไม่กำเริบหรือปรากฏว่าบรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ

ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบนั้นไม่บรรเทาเลย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คมฉันใด
ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเอาเชือกที่เหนียวแน่นพันศีรษะ ฉันใด
ความเจ็บปวดที่ศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้
เปรียบเหมือนบุรุษฆ่าโค หรือลูกมือของบุรุษฆ่าโค เป็นคนขยันพึงใช้มีดสำหรับชำแหละโคที่คม
ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้ามีประมาณยิ่งย่อมเสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ …
เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน จับบุรุษผู้อ่อนกำลังคนเดียวที่แขนคนละข้าง
แล้วพึงลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กายของข้าพระองค์ก็ประมาณยิ่งฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงด้วยธรรมีกถาให้ท่านพระผัคคุณะเห็นแจ้ง
ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ
และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก ฯ

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ
และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร
จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย
แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ฯ

ดูกรอานนท์ จิตของภืกษุในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น … แก่เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุ หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น … แก่เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย
แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร

ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้แล ฯ

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ