ความเกิด ความดับ

17 มีนาคม 64 เวลา 22:49 น.

หากต้องการจะเห็นความเกิด ความดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ต้องปรับอินทรีย์ ๕ ด้วยการเดินจงกรม ต่อด้วยนั่งเช่น ถ้าเดิน 1 ชม. ต่อนั่ง 1 ชม.

ทำหลายรอบ ทำต่อเนื่อง
หรือนั่งอย่างเดียว 2 ชม. 3 ชม. 4 ชม.

ทำจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีธรรมเอกผุดปรากฏธรรมเอกผุด ได้แก่ โภาส ยิ่งสีขาว
หมายถึงกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นมากขึ้นยิ่งมีมาก จะเจิดจ้า สว่างสุดๆ
จนเหลือสภาวะสองสภาวะมีเกิดขึ้นคือ โอภาสกับจิตที่รู้อยู่
เมื่อเป็นแบบนี้ ให้เริ่มปรับอินทรีย์ ๕ ให้สมดุลย์ โดยการเดินจงกรม แล้วต่อนั่ง
ตรงนี้สำหรับคนที่ติดนั่ง ติดสมาธิ มักไม่ชอบการเดิน นี่คือการปรับอินทรีย์ยาก


หากเริ่มปรับอินทรีย์ตั้งแต่แรก คือเดินจงกรมก่อน แล้วต่อนั่ง เช่น เดิน 20 นาที นั่ง 20 นาที
แล้วเพิ่มเวลาขึ้นไปเรื่อยๆ จนจิตคุ้นเคย เวลากำลังสมาธิมีมากขึ้น(โอภาส)
เมื่อปรับอินทรีย์เพิ่ม(การเดิน) จะทำง่ายกว่าคนที่ติดสมาธิ(ชอบนั่ง)


จะว่าไป การเดิน 20 นาที ต่อนั่ง 20 นาที ประกอบกับใช้สีลวิสุทธิช่วย
ทำให้ภพชาติของการเกิดน้อยลง แทนที่จะเกิดกัปป์กัลป์ เหลือแค่ 7 ชาติ


ยิ่งทำให้มากขึ้น เดิน 1 ชม. ต่อนั่ง 1 ชม. จนกระทั่งไตรลักษณ์ปรากฏตามความเป็นจริง(ไม่ใช่นึกเอาเองนะ)
เจอหลายครั้ง เช่นกายแตก กายระเบิด จนจิตเสพคุ้นเคย
หากตาย จะเกิดในสวรรค์และปรินิพพาน

อารมณ์กรรมฐาน(นั่ง)
จะสมถะ(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
หรือวิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
คือ วิปัสสนามีเกิดขึ้นก่อน อนิมิตตเจโตสมาธิเกิดที่หลัง
หรือสมถะและวิปัสสนา คือทำสมภะให้มีเกิดขึ้นก่อน วิปัสสนา(อนิมิตตเจโตสมาธิ)เกิดที่หลัง
จะปฏิบัติแบบไหนก็ได้ ไม่มีวิธีไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสัปปายะของแต่ละคน
เพราะจุดประสงค์ของการทำกรรมฐานคือจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ฉะนั้นจะใช้วิธีปฏิบัติแบบไหนก็ใช้ได้หมด
ส่วนการจะเห็นความเกิด ความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในวิโมกข์ ๘
ต้องอาศัยกำลังสติ ซึ่งสามารถมีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม(มี 6 ระยะ)

จนกระทั่งเห็นสภาวะสันตติขาดออกจากกัน
คือ รู้การขาดออกจากกันทุกย่างก้าวในแต่ละขณะๆ จะรู้ขึ้นมาที่ใจ

กำลังสมาธิจากการเดินจงกรมจะส่งเสริมให้กำลังสมาธิที่มีอยู่ ทำให้กำลังสมาธิที่มีอยู่ มีมากขึ้น
ส่วนกำลังสติ ช่วยทำให้รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธิ
และทำให้รู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ยิ่งมีโอภาส สว่างมากๆ กลางคืนแต่เหมือนกลางวัน ต้องเดินให้มากกว่านั่ง
หากเอาแต่นั่ง จิตจะเสพแต่สมาธิ ไม่สามารถเห็นความเกิด ความดับได้
เมื่อเป็นแบบนี้ ก็ไม่สามารถจะรู้ว่าขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ อยู่ตรงไหน
เวลาได้มรรคผล มีผลต่อความรู้ความเห็น แบบไม่รู้จะทำแบบไหนต่อ
เพราะไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ฉะนั้นการเห็นความเกิด ความดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
มีผลต่อตัวปัญญา(อริยสัจ ๔) ที่มีเกิดขึ้น


รโหคตวรรคที่ ๒
รโหคตสูตร
[๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ความปริวิตกแห่งใจ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้
ก็พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายเอาอะไรหนอ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ
ดูกรภิกษุ เรากล่าวเวทนา ๓ นี้ คือ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เรากล่าวเวทนา ๓ นี้
ดูกรภิกษุเรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้
ดูกรภิกษุก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้
เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นเองไม่เที่ยง
ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้
เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นแหละมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฯ

[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล
เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมดับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ

[๓๙๓] ดูกรภิกษุ ลำดับนั้นแล
เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจาร ย่อมสงบ ฯลฯ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ ฯ

[๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมระงับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุขีณาสพย่อมระงับ ฯ


.

คำว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะย่อมดับ
ได้แก่ ลมหายใจละเอียด จับไม่ได้

คำว่า อากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
ได้แก่ กายหาย เหลือกับใจที่รู้อยู่

คำว่า วิญญาณัญจายตนฌาน
ได้แก่ มีโอภาสที่สว่างมากกับใจที่รู้อยู่

ส่วนอากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌานหลังได้มรรคผล
จะรู้ชัดสภาวะที่เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ส่วนจะรู้ชัดสภาวะนิโรธ ต้องรู้ชัดความเกิด ความดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน และอรูปฌานก่อน
หากไม่สามารถเห็นความเกิด ความดับและ ก็ไม่สามารถแยกแยะความเกิด ความดับ ก็ไม่สามารถรู้ว่ากำลังสมาธิที่มีอยู่นั้น อยู่ตรงไหน ถึงนิโรธหรือยัง เห็นเป็นสมาธิแล้วดับหลายชม. คิดว่านิโรธ ทำให้ไม่สนใจพยายามทำให้มากขึ้น

ฉะนั้นพระพุทธทรงตรัสไว้ ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา แห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง
เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย

นิโรธสมาบัติ กับ อนิมิตเจโตสมาธิ

นิโรธสมาบัติกับอนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นสภาวะคนละตัวกัน

เจโตสมาธิ เกิดจากการทำกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ คือมีการใช้คำบริกรรมขณะทำกรรมฐาน อาศัยการปฏิบัติต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

อนิมิตตเจโตสมาธิ เกิดจากการทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์ คือกำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง อาศัยการปฏิบัติต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

นิโรธสมาบัติ  สามารถมีเกิดขึ้นได้ในดังนี้

สมถะ(เจโตสมาธิ)
ทำกรรมฐาน
ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ แเผ่มตตา ฯลฯ
คือการกรรมฐานทั้งหมดที่ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้ได้ทั้งหมด
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ 1 2 3 4 5 6 7 8 นิโรธ

หรือวิปัสสนา(อนิมิตตเจโตสมาธิ)
ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์ คือมีแค่ผัสสะกับใจที่รู้อยู่ ไม่ใช้คำบริกรรมมาช่วย
เช่น ขณะหายใจเข้า หายใจออก รู้ตามความเป็นจริง
หรือขณะหายใจเข้า ท้องป่อง ขณะหายใจออก ท้องแฟ่บ รู้ตามความเป็นจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ 1 2 3 4 5 6 7 8 นิโรธ

หรือสมถะและวิปัสสนา
ทำกรรมฐาน
ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป้นอารมณ์
ทำต่อเนื่อง
จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ละทิ้งคำบริกรรม มาเป็นมีรูปนามเป็นอารมณ์
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ 1 2 3 4 5 6 7 8 นิโรธ

จะเข้าใจในคำเรียกเหล่านี้
ต้องทำสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิให้มีเกิดขึ้นก่อน
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งรู้ชัดความเกิดและความดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน
รูปฌาน(1 2 3 4)
อรูปฌาน(5 6 7 8)
นิโรธ

ความเกิดและความดับที่มีเกิดขึ้น จะแตกต่างกัน

รูปฌาน(เกิด)และรูปสมาบัติ(ดับ)
กายปรากฏ แล้วดับ
เหมือนดับสวิตช์ไฟ
พอจิตคลายจากเป็นสมาธิ จะรู้กาย(รูป)ปรากฏ

อรูปฌาน(เกิด)และอรูปสมาบัติ(ดับ)
กายปรากฏ ต่อมากายหาย แล้วดับ
(เกิดจากกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะ โอภาสกับใจที่รู้อยู่)
พอจิตคลายจากเป็นสมาธิ จิตเกิดก่อน ต่อมารู้กาย

นิโรธ(เกิด)และนิโรธสมาบัติ(ดับ)
กายจะหายไปทีละส่วน ใจรู้อยู่ แล้วดับ
กายที่นั่งอยู่ เริ่มหายไปทีละส่วน อุปมาเหมือนนั่งแล้วใส่น้ำในตุ่ม
ฐานกายหายไปละส่วน จนหัวมิด กายหายไปหมด เหลือใจอย่างเดียว ใจรู้อยู่ แล้วดับ
เมื่อจิตคลายจากเป็นสมาธิ จิตเกิดก่อน ต่อมารู้กาย

แก้ไข 19/11/64

———

๓. มหาเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

เรื่องอินทรีย์ ๕
[๕๐๑] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นี้ อาศัยอะไรตั้งอยู่?

สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้นั้น คือจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่.
ก. อายุ อาศัยอะไรตั้งอยู่?
สา. อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่.
ก. ไออุ่น อาศัยอะไรตั้งอยู่?
สา. ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่.
ก. ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของพระสารีบุตรผู้มีอายุในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่และว่าไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่ แต่ผมจะพึงเห็นความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร?

สา. ถ้าเช่นนั้น ผมจักทำอุปมาแก่คุณ เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา
เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัยเปลวปรากฏอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฏอยู่ฉันใด
อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน

ก. อายุสังขาร (อายุ ชีวิตินทรีย์) กับเวทนียธรรม (เวทนา) เป็นอันเสมอกัน หรือว่าอายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง?

สา. อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่ใช่อันเดียวกัน
(ถ้า) อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นอันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ไม่พึงปรากฏ
แต่เพราะอายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง ฉะนั้น การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงปรากฏอยู่.

[๕๐๒] ก. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้งนอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา?

สา. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ไป
กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา.

ก. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกันอย่างไร?

สา. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับระงับไป มีอายุหมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย
ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขารวจีสังขาร และจิตสังขารดับ ระงับไป แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์ผ่องใส
สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกัน ฉะนี้.

เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ

[๕๐๓] ก. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมีเท่าไร?
สา. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมี ๔ อย่าง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง ดังนี้แล.

ก. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ
การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑
ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.

ก. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง คือ
การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑
การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑
อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล)ในเบื้องต้น ๑
ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง ดังนี้แล.

(หมายเหตุ : อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล)ในเบื้องต้น ได้แก่ การกำหนดเวลาก่อนเข้าและการออก โดยกำหนดรู้ด้วยใจ ไม่ใช่ตั้งนาฬิกา เช่น มองนาฬิกาว่า เริ่มจะเข้าสมาธิตั้งแต่กี่โมง(สมมุติว่า เข้า 8 โมงเช้า)  แล้วกำหนดทางใจว่า จะออกกี่โมง(4 โมงเย็น ) เวลาจิตคลายกำลังสมาธิ ออกจากสมาธิ จะตรงกับเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าไม่มีการกำหนดไว้ บ้างครั้งกว่าจะออกจากสมาธิ สองทุ่ม ก็เคยมี เมื่อมีงานต้องทำ จึงต้องกำหนดออกไว้)

ก. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ
การมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑
ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.

[๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ
เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น?

สา. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต
ปริยายที่บ่งว่าธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี.

ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไป สู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
และมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวางเป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถานทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้
มีจิตสหรคตด้วยกรุณา …
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา …
มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ที่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวางเป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้.

เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.

เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.

เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุตติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต.
ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน.

ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน?

ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว
มีรากอันตัดขาดแล้วทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้วมีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ.

ราคะอันเป็นเครื่องกังวล โทสะอันเป็นเครื่องกังวล โมหะอันเป็นเครื่องกังวล ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว
มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่าเลิศกว่าเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ทั้งหมด.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ.

ราคะอันทำนิมิต โทสะอันทำนิมิต โมหะอันทำนิมิต ราคะเป็นต้นนั้น  อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว
มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแลว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ.

ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.

หมายเหตุ;

เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด

เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ (บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่)

เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต(ีการทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์)

จโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง(สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง)
ได้แก่ สุญญตาผลาสมาบัติ
มีเกิดขึ้นหลังจากได้โสดาปัตติผลตามจริง
มีเกิดขึ้นเฉพาะบุคคลที่ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
กำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้ จะไม่สามารถจะไปรู้ได้

ปริยัติเพี้ยน

มานั่งอ่านที่เคยเขียนเกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ อนิจจังจริงๆเลยเรา คือ รู้สภาวะ แต่อ่อนปริยัติ ถ้าไม่เกิดสัญญาเสื่อม คงอธิบายเพี้ยนๆ

โดยเรื่องความแตกต่างระหว่างธรรมฐิติญาณและญาณในพระนิพพาน
ทำไมธรรมฐิติญาณ จึงมีเกิดขึ้นก่อน ญาณในพระนิพพาน

หุหุ .. มันก็ต้องเป็นแบบนั้น จะโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ ที่ขณะเกิดอนุโลมญาณ มรรคญาณ ธรรมติญาณ(การละอุปาทาขันธ์ 5) ต้องมีเกิดขึ้นด้วย ผลจึงมีเกิดขึ้นตาม

ส่วนญาณนิพพาน เป็นเรื่องของกายสักขี อนาคามี อุภโตวิมุุต ที่ได้วิโมกข์ 8(สัมมาสมาธิ) และปัญญาวิมุติ(รูปฌาน/สัมมาสมาธิ) จึงแจ้งนิพพาน

ถ้าถามว่า แล้วคนทั่วไปและได้วิโมกข์ 8 จะแจ้งนิพพานได้มั๊ย

คำตอบ ไม่ได้ค่ะ เพราะไม่เป็นสาธารณะ

 

การเขียนตัวหนังสือ ตัวสะกดยังไม่ค่อยถูก แบบคำเรียกหรือการออกเสียง ยังมีจำไม่ได้ ต้องใช้เวลา มันแตกต่างกับการปฏิบัติ สภาวะที่มีเกิดขึ้นแล้วจำไม่ลืม

 

ความดับต่างๆ

สภาวะสัญญาเกิดแบบไม่เลือกเวลา
โดยส่วนมากเกิดในเวลากลางคืน โดยเฉพาะช่วงสงัด(ดึกๆ)

สังเกตุเห็นอยู่อย่างหนึ่ง
หากกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นไม่มากพอ
ทำให้เกิดอาการปวดฉี่เนืองๆ ต้องเข้าห้องน้ำตลอด

หากกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นพอประมาณ
ถึงแม้ความคิดจะเกิด(การคิดพิจรณา)
จะรู้ชัดในกายและจิตเนืองๆ
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายแต่อย่างใด(ไม่ปวดฉี่)

ถ้าวันไหนไม่มีคิดพิจรณา หรือกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นมีมาก
จะทำให้ดิ่ง แล้วเข้าสู่ความดับ ถึงแม้จะมีรู้สึกตัวบ้าง
ถึงจะแค่สั้นๆ แต่ไม่มีอาการปวดฉี่แต่อย่างใด

บางคืน รู้สึกตัวเนืองๆ มีจิตคิดพิจรณาเนืองๆ
มีเกิดขึ้นหลายวัน ภาษาชาวบ้านจะบอกว่า ไม่หลับไม่นอน

แรกๆที่เจอสภาวะนี้ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ ทำให้รู้สึกหงุดหงิด เพราะอยากนอนหลับเหมือนที่เคยเป็น ก็ได้แค่รู้สึกนึกคิดแต่ไม่สามารถทำอะไรได้

วันต่อๆมาเปลี่ยนไป
อาการและรายละเอียดต่างๆ จะมีมากขึ้น
จนกระทั่งทำให้เกิดความรู้ชัดว่า “ไม่เที่ยง”

เมื่อรู้ว่า ไม่เที่ยง ยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้ ที่เคยหงุดหงิดจะหายไป ไม่มีอาการหงุดหงิดเกิดขึ้นอีก ถึงแม้บางครั้ง จะไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน หลายๆวันติดต่อกันก็ตาม
เมื่อใจยอมรับตามความเป็นจริงได้
เมื่อมีสภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นอีก จะรู้สึกเฉยๆ

ที่รู้สึกเฉยๆ เพราะรู้แล้วว่า เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย เป็นเรื่องปกติของผู้ที่รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ ที่มีสภาวะของคำว่า หลับ หายไปจากชีวิต

เวลาที่ทางโลกกำหนดไว้
โดยใช้ความสว่างและความมืด
เป็นตัวกำหนดเวลากลางวันและกลางคืน
จิตจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่า นี่กลางคืนจะต้องนอน
เป็นสภาวะที่อยู่เหนือสมมุติ กล่าวคือ คำที่ใช้บัญญัติไว้

เพราะเวลาสภาวะสัญญา
หรือจิตคิดพิจรณามีเกิดขึ้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลา

หลายวันมานี่ จิตคิดพิจรณาอยู่เรื่องหนึ่ง
เกี่ยวกับ ความดับ หรือสิ่งที่มีเกิดขึ้น
ขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย

ถามกับตัวเองว่า จะเขียนออกมายังไง
ให้คนที่เข้ามาอ่าน สามารถเข้าใจได้
โดยเฉพาะถ้าบุคคลนั้น ไม่ได้เป็นผู้ทำสมถะ
และถึงจะทำสมถะ แต่ไม่ได้วิโมกข์ 8
ที่สำคัญ ต้องเคยมีสภาวะจิตดวงสุดท้าย
เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป

จริงอยู่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชื่อว่าอยู่ในมรรค
แต่สภาวะที่เป็นตัวบอกว่า ใช่มรรคหรือไม่ใช่มรรค
สมถะ จะเป็นตัวชี้ชัด หรือเป็นตัววัดผล

.
ทีนี้กรณีที่อวิชชายังมีอยู่
สำหรับผู้ที่ทำความเพียรเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
กล่าวคือ กระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิด
เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยง
ซึ่งคุณสมบัติของพี่เลี้ยงจะต้องประกอบด้วย

๑. มีใจอันอบรมแล้วด้วย(จิตหยั่งลงดีแล้วใน)
อนิจจสัญญาอยู่โดยมาก
อนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก
ทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก

ข้อนี้ วิปัสสนา มีไตรลักษณ์ มีบทบาทสำคัญ
กล่าวคือ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นตัวขับเคลื่อน(มรรค)
๒. มีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก
เป็นเรื่องของความดับที่มีเกิดขึ้น
ขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ทำกาละ/ตาย

ข้อนี้ สมถะ(สัมมาสมาธิ) มีบทบาทสำคัญ
กล่าวคือ การรู้ชัดในความดับที่มีเกิดขึ้น

๑. สภาวะดับ ที่ยังมีเชื้อของการเกิด

๒. สภาวะดับ ที่หมดเชื้อของการเกิด

เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ชัดว่า ที่คิดว่า ดำเนินอยู่ในมรรค
มรรคนั้นๆ เป็นมรรคญาณ หรือ มิจฉาญาณ

.
แล้วถ้านำมากล่าวในภาษาชาวบ้าน แบบที่เคยได้ยินมา หรือเคยศึกษามา สภาวะที่บอกไปนั้น เป็นคุณสมบัติของพระสกทาคามี ที่ได้วิโมกข์ ๘

เมื่อเกิดการคิดพิจรณาแบบนั้น ทีนี้จะไปหาได้ที่ไหนล่ะ
โดยเฉพาะพระสงฆ์ ปิดประตูคำถามตรงนั้นไปได้เลย
เพราะหากพระสงฆ์พูดทำนองว่า ตนเป็นนั่น เป็นนี่
หรือหากไม่พูดออกมาตรงๆ แต่ใช้คำพูดแบบอ้อมๆ
ออกมาทำนองว่า ตนเป็นนั่นนี่ ก็ล้วนเป็นการอวดอุตริ

ที่สำคัญ ผู้ที่มีความถือมั่น จะด้วยความศรัทธา ด้วยเหตุปัจจัยใดก็ตาม ต่อให้ปักใจเชื่อ หากสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน ยังไปไม่ถึงสภาวะของผู้ที่อธิบายให้ตนฟัง ย่อมไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ผู้พูด ได้พูดจากสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน หรือจำขี้ปากเขามาพูด หรือเกิดจากการศึกษา วัฏฏสงสาร จึงมีเกิดขึ้นยาวนาน

ส่วนจะเกิดสั้นหรือจะเกิดยาว
ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของผู้นั้น
การกระทำทั้งหมดที่มีเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ ล้วนเป็นตัวแปร

.

เกี่ยวกับ ความดับ ที่มีเกิดขึ้นในสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ด้วยเหตุปัจจัยนี้ จึงมี

วิโมกข์ ๘
โสดาปัตติยังคะ 4 ประการ
และอนุปาทาปรินิพพาน

มาเกี่ยวข้องกับสภาวะด้วย

ดังพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

.

.

[๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
ท่านพระอานนท์ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า
สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา
เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนั้นพึงปรินิพพานหรือหนอ หรือว่าไม่พึงปรินิพพาน ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี
บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี ฯ

.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุ
บางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี
บางรูปไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี ฯ
[๙๐] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขา
โดยเฉพาะด้วยคิดว่า
สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา
เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย
เธอยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่

เมื่อเธอยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่
วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่นอุเบกขานั้น
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นอยู่ ย่อมปรินิพพานไม่ได้ ฯ

.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอาที่ไหน ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ฯ

.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทราบว่า
ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา
ย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้
ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้
คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯ

.
[๙๑] ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้
ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า
สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่เรา
เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้นๆ เสีย
เธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่

เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่
วิญญาณก็ไม่เป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น
และไม่ยึดมั่นอุเบกขานั้น
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ไม่มีความยึดมั่น ย่อมปรินิพพานได้ ฯ

.
อา. น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า
ไม่น่าเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อาศัยเหตุนี้ เป็นอันว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสบอกปฏิปทา
เครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
วิโมกข์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ

[๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ทั้งที่มีในภพหน้า
ซึ่งอาเนญชสัญญา
ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา
ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้
ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น

ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล เราแสดงปฏิปทา
มีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว

เราแสดงปฏิปทา
มีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว

เราแสดงปฏิปทา
มีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว

อาศัยเหตุนี้ เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ
คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว

.
ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ

ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

.

หมายเหตุ;

สุดท้าย ก็ได้คำตอบว่า ก็เขียนไปเรื่อยๆแบบเดิม
ส่วนใครอ่านแล้ว จะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน
หรืออ่านแล้ว รู้สึกนึกคิดอย่างไร
อันนี้ก็แล้วแต่เหตุและปัจจัยของผู้นั้น

การที่จะคิดได้ ต้องเขียนออกมาให้หมด
แล้วจะได้คำตอบของสิ่งที่ควรทำ

วิโมกข์ ๘

4-03

วิโมกข์ ๘

ถ้าไม่นำเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์
เนื่องด้วยอำนาจแห่งสมาธิของสมาบัติ ๘ มาเกี่ยวข้อง

คุณของวิโมกข์ ๘ มีนานานับประการ โดยเฉพาะ
ศิลอันเป็นอริยะ
สมาธิอันเป็นอริยะ
ปัญญาอันเป็นอริยะ
เจโตวิมุติ อันเป็นอริยะ
ปัญญาวิมุติ อันเป็นอริยะ

หากบุคคลนั้น ละความปรารถนาต่างๆ ลงไปได้
สภาวะเหล่านี้ สามารถรู้ชัดได้ด้วยตนเองทั้งหมด
เพราะจะมีเกิดขึ้นในตัวของผู้ปฏิบัติ มีเกิดขึ้นปกติ

เหมือนวิปัสสนาญาณ ที่มีเกิดขึ้น
เป็นเรื่องปกติของ สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ

 

5-05

อันเนื่องมาจากสอุปาทเสนิพพานธาตุและอนุปาทานิพพานธาตุ
ทำให้เกิดความรู้ชัดในรายละเอียดที่มีมากขึ้นของเจโตวิมุติ อันเป็นอริยะ

และทำให้แยกแยะรายละเอียดได้ตามลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของบุคคลบัญญัติว่าเกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย

.
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุคคลบัญญัติ
บุคคล ๗ พวกเหล่านี้ คือ

อุภโตภาควิมุตติ ๑
ปัญญาวิมุตติ ๑
กายสักขิ ๑
ทิฏฐิปัตตะ ๑
สัทธาวิมุตติ ๑
ธรรมานุสารี ๑
สัทธานุสารี ๑

.

โสดาปัตติมรรค
ธรรมานุสารี
สัทธานุสารี

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

อุภโตภาควิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ
กายสักขิ
ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุตติ

.

สมณะ ๔ จำพวก

๑. สมณะผู้ไม่หวั่นไหว
พระเสขะทั้งหมด

.

๒. สมณะบุณฑริก
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่
แต่ว่าไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

.
๓. สมณะสระปทุม
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่
ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายด้วย
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

.
๔. สมณะผู้ละเอียดอ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างนี้แล

ก็บุคคลเมื่อจะเรียกบุคคลใดโดยชอบว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี่แหละว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
เพราะเราได้รับขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคจีวรเป็นอันมาก
ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย ฯลฯ

หมายถึง พระพุทธเจ้า

.

เจโตวิมุติของพระอรหันต์ขีณาสพ
กับอุภโตภาควิมุตติบุคคล

ถึงจะเป็นเจโตวิมุติอันเป็นอริยะ
แต่ก็มีมีความแตกต่างกัน

.
กล่าวคือ เจโตวิมุติใน
สมณะบุณฑริก สมณะสระปทุม สมณะผู้ละเอียดอ่อน
เป็นเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ

.
ส่วนเจโตวิมุติในอุภโตภาค มีเรื่องของวิบากกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
สามารถทำให้สมาธินทรีย์ที่มีอยู่ มีเหตุปัจจัยให้เสื่อมลงไปได้
ถึงจะมีเกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ไม่มีการเสื่อมซ้ำซากแบบเจโตวิมุติที่เป็นโลกียะก็ตาม

เมื่อมีการเสื่อมได้ ราคะ โทสะ โมหะ ย่อมมีเกิดขึ้นได้

.
คำว่า เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ
หมายถึง ราคะ โทสะ โมหะ อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว
มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว
ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

 

วิโมกข์ ๘

วิโมกข์ ๘ มีคุณมาก สำหรับตัวเอง

เมื่อรู้ชัดด้วยตนเอง ในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นทั้งหมดตามความเป็นจริง ของคำเรียกต่างๆเกี่ยววิโมกข์ ๘ วิจิกิจฉาเกี่ยวกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จึงไม่มี เดี๋ยวนี้ สภาวะใดเกิดขึ้น จะมีแค่ ช่างหัวมัน จะไปเอาอะไรกับสภาวะ มีแต่ความไม่เที่ยง แค่รู้ว่ามีเกิดขึ้นเท่านั้นพอ

สมัยที่ยังไม่เกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย ยังมีความสงสัยอยู่นะ
หลังเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ 1 แล้วมีเหตุปัจจัยให้ กำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดเกลี้ยง ตอนนั้น เสียดายเหมือนกันนะ อยากให้กลับมาเหมือนเดิม ยิ่งอยาก การทำความเพียรยิ่งมากตามความอยาก

หลังจากเจอสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ 2 รู้สึกแค่ว่า เรื่องสภาวะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ นี่เป็นเรื่องปกติ จึงไม่สนใจเรื่องสมาธิเหมือนเมื่อก่อน แต่การทำความเพียร ยังคงทำเหมือนเดิม ทำตามสัปปายะ

รู้ชัดด้วยตนเองนี่ดีนะ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้แล้ว ความติดใจจึงไม่มี

ฉะนั้น เวลาที่มีคนมาขอคำแนะนำ จึงพูดเหมือนทุกครั้งว่า การทำกรรมฐาน ทำแบบไหนก็ได้ จะหลับตาหรือลืมตา ทำแล้วถนัด ก็ทำไป ขอให้ทำเท่านั้นพอ สิ่งที่สำคัญ คือ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว ให้พยายามทำ เพราะหากทำตรงนี้ได้ ก็ส่งผลเวลาที่ทำกรรมฐาน

ส่วนอิริยาบทหลัก การเดินก่อนนั่งสมาธิ ถ้ามีเวลา ควรทำตรงนี้ติดไว้ ถ้าคิดว่าไม่มีเวลา ทำเวลานอนก็ได้ เวลานอนดูอาการกาย ท้องพองขึ้น ยุบลง ดูปกติ รู้ปกติ ไม่ต้องไปเพ่ง ถ้าไม่อยากทำ ก็ไม่เป็นไร ไปเน้นตรงพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว

ส่วนคนที่สนใจทำสมาธิจริงๆ จะให้คำแนะนำอีกแบบ

พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ

เจาะลึก พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ

.

เริ่มจับทาง พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ
มีลักษณะเด่นเฉพาะว่าอย่างไร

หรือจะเป็นผู้ไม่ได้ฌาน หลุดพ้นด้วยปัญญาล้วนๆ
ตามที่มีนำมากล่าวอ้างในปัจจุบัน

.

วันนี้มีเหตุให้ เจอพระสูตร ที่เกี่ยวพระอรหันต์ ๔ ประเภท
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ในปวารณาสูตรที่ ๗

พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป
ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด

บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้

ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓

อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖

อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ

ส่วนที่ยังเหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุติ ฯ

.
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=6170&Z=6223

.

ขณะกำลังเขียนๆอยู่
สภาวะต่างๆในอดีต วิโมกข์ ๘ ที่เคยมีเกิดขึ้นมาแล้ว
และมีเหตุปัจจัยให้ วิโมกข์ ๘ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ได้ลิ้มรสชาติที่เรียกว่า จิตที่ไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต
ความรู้สึกต่างๆ(กิเลส) รู้เห็นเด่นชัดมาก

เป็นครั้งแรกในชีวิต ที่รู้จักกับคำที่เรียกว่า กิเลส
ที่ว่า กิเลสนั้น มีลักษณะอาการเกิดขึ้นอย่างไร

ครั้งแรกที่สัมผัส ความคมชัดของ ความรู้สึกนึกคิด
ที่มักเขียนถึงประจำว่า ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น คมชัดมาก
ตอนนั้น รู้สึกเป็นทุกข์มาก ทุกข์อย่างสาหัส
ความรู้สึกเสียดายกำลังสมาธิ ที่เคยมีเกิดขึ้นมากมายมหาศาล
ความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าชอนไชไปทั่วร่างกาย ทุกรูขุมขน
ที่เคยมีตอนจิตเป็นสมาธิ ที่มีโอภาสสว่างจ้า สว่างมากๆ

ช่วงนั้น รู้สึกเป็นทุกข์มาก โหยหาสภาวะเก่าๆมาก
ทุกสิ่งที่เคยเกิดขึ้น สักแต่ว่า หายไปหมดเกลี้ยง

นี่แหละ อวิชชา

ซึ่งในตอนนั้น ยังไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว
เกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ความไม่รู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต
ความชอบใจ ไม่ชอบใจที่มีเกิดขึ้น

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ตัณหา เป็นเหตุ อยากให้สภาวะเดิมๆ(วิโมกข์ ๘) กลับมา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เมื่อความอยากให้กำลังสมาธิที่เคยมีอยู่(วิโมกข์ ๘) กลับคืนมา

เพราะถือมั่น(อุปทาน) จึงเป็นทุกข์

เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
มโนกรรมย่อมเกิด กล่าวโทษนั่นนี่ละ
ถ้าไม่ทำแบบนั้น(ถูกถ่ายเทสมาธิผ่านการพูดคุย)
สมาธิคงไม่หายไปหมดเกลี้ยงแบบนี้

คือ แค่กล่าวโทษนอกตัว
แต่ไม่มีการด่าทอหรือกล่าวคำสาปแช่ง
ไม่มีใจประทุษร้ายต่อผู้นั้น

.

เรื่อง สมาธิที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวิโมกข์ ๘ ถึงจะเป็นสัมมาสมาธิก็ตาม
สามารถเสื่อมหายไปหมดสิ้นได้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น
(เคยมีเกิดขึ้นครั้งเดียวในชีวิต)

คือ เป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน
นิพพาน
ปฏิจจสมุปบาท
อริยสัจ ๔

และเป็นปัจจัยให้รู้ชัดใน ผัสสะ
จึงเป็นปัจจัยให้ รู้ชัดใน

อริยสัจ ๔-ผัสสะ
อริยสัจ ๔-ปฏิจจสมุปบาท

และรู้ชัดในปัจจเวกขณญาณ ในที่สุด

นี่แหละที่เรียกว่า ปัญญาวิมุติ
เพราะรู้ชัดในวิญญาณ ฐีติ ๗และอายตนะ ๘

หากไม่เคยหยั่งลงหรือไม่เคยสัมผัส(กายสักขี) วิโมกข์ ๘ มาก่อน
จะมารู้ชัดในวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ จะเป็นไปได้อย่างไร
ลองคิดพิจรณากันเองแล้วกัน

.

สำหรับเรื่องนี้

“ผู้ได้วิโมกข์ 8 เมื่อตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นสัทธานุสารี หรือ ธัมมานุสารี อย่างใดอย่างหนึ่ง

ต่อจากนั้นเป็นกายสักขี เมื่อสำเร็จอรหัตตผล เป็น อุภโตภาควิมุต”

ตรงนี้เป็นเรื่องเหตุปัจจัย ไม่เหมือนกันหมดทุกคน
ดูจากตัวเองเป็นตัวอย่าง

.
ตอนที่เกิดสภาวะ วิโมกข์ ๓(จิตดวงสุดท้าย) ครั้งแรก
ตอนนั้น สมาธิยังไม่เสื่อม
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น สักแต่ว่า
เหมือนหุ่นยนต์ ไร้ความรู้สึก
เข้านิโรธสมาบัติได้
(เรื่องสมาธิที่เขียนมาตลอด
เป็นสภาวะที่รู้ชัดจากการทำความเพียร
ไม่เคยลอกของใครมา)

เรียกว่า วิโมกข์ ๘ มีเกิดขึ้นครบถ้วนกระบวนความ
ไม่มีขาดไปแม้สักส่วนเดียว

ตอนนั้นหลงนะ หลงคิดว่า เป็นอรหันต์
ก็ความรู้สึกใดๆ ไม่มีเกิดขึ้นสักนิด
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น กระทบปั๊บ ดับทันที
สักแต่ว่า สิ่งที่มีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง

.
ขนาดร่างกายที่เคยคิดว่า เป็นของตัวเองแท้ๆ
เวลาสภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิด
(สภาวะนี้ เราตั้งฉายาเองว่า สภาวะ หุ่นยนต์
สามาถมีเกิดขึ้นได้ทุกอิริยาบท)

ร่างกายสักแต่ว่าร่างกาย บังคับให้ทำอะไรไม่ได้เลย
มันเป็นอัตโนมัติของมันเอง ควบคุมไม่ได้

ขับๆมอไซค์อยู่ เวลาสภาวะนี้กิด
รถเกือบคว่ำนะ ต้องค่อยๆประคองให้รถหยุด ไม่ขับต่อ
ความรู้สึกตอนนั้น ส่วนต่างๆของร่างกาย เริ่มบังคับไม่ได้
ทุกอย่าง สักแต่ว่า ต้องอยู่นิ่งๆ ปล่อยให้สภาวะนั้นดำเนินต่อไป
จนกระทั่งสมาธิคลายตัว ร่างกายจึงกลับมาปกติ ใช้งานได้ปกติ
หุห ช่วงนั้น ไปทำงานสายตลอด
เพราะต้องจอดรถเป็นระยะๆ

.

นึกถึงทีไร โอ๊ย!!!! ในความโชคร้าย(สมาธิเสื่อม)
มีความโชคดีเกิดขึ้นแทน(หลุดจากความหลง)
แหม่ อรหันต์ เกือบไปแล้ว

.

เกี่ยวกับพระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ
คงจะมีสภาวะแบบที่เราเคยเจอมานี่แหละ

ทำไมจึงพูดแบบนี้
เพราะดูจาก ปัญญาวิมุติ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เกี่ยวกับปัญญาวิมุติว่า

“อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง
ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็น
เครื่องออกแห่ง วิญญาณฐิติ ๗ เหล่า นี้ และแห่ง อายตนะ ๒
เหล่า นี้ด้วยแล้ว เป็น ผู้หลุดพ้น เพราะความไมยึ่ดมั่น.
อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ”

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ