วิปัสสนูปกิเลส

จะเรื่องเล่าเกี่ยวกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ก่อนที่จะอธิบายเรื่องสังขารุเปกขาญาณ
ซึ่งเป็นตัวแท้ของวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่ใช่ตามที่เคยอ่านมานั้น ซึ่งเป็นเรื่องเล็กๆไปเลย

นี่คือวิปัสสนูปกิเลสของแท้
สามารถมีเกิดขึ้นในมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

“ก็สังขารุเปกขาญาณนั้น
หากว่าพระโยคาวจรเห็นนิพพานเป็นทางสงบโดยความสงบ
สละความเป็นไปแห่งสังขารทั้งปวงแล้วแล่นไป น้อมไปในนิพพาน
หากไม่เห็นนิพพานโดยความเป็นธรรมชาติสงบ
เป็นญาณมีสังขารเป็นอารมณ์เท่านั้น
ย่อมเป็นไปบ่อยๆ ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสสนา ๓ อย่าง
คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนาหรืออนัตตานุปัสสนา
อนึ่ง สังขารุเปกขาญาณนั้น เมื่อตั้งอยู่อย่างนี้
ก็ถึงความเป็นไปแห่งวิโมกข์ ๓ อย่างตั้งอยู่.
อนุปัสสนา ๓ อย่าง ท่านเรียกว่า วิโมกขมุข คือ ทางแห่งวิโมกข์ ๓.
ในวิโมกข์ ๓ อย่างนี้ พระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นผู้มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้เฉพาะอนิมิตตวิโมกข์.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากไปด้วยปัสสัทธิ
ย่อมได้เฉพาะอัปปณิหิตวิโมกข์.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากไปด้วยความรู้
ย่อมได้เฉพาะสุญญตวิโมกข์”

เกิดจาก
๑. อวิชชาที่มีอยู่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ทำให้เกิดความน้อมใจเชื่อ
๒. ขาดการศึกษา
๓. ไม่เคยฟังจากผู้ที่รู้เห็นตามจริงมาก่อน

ซึ่งในอดีต เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นกับตัวเอง สมัยนั้นไม่รู้ปริยัติ
ไม่เคยอ่านพระสูตร ไม่เคยฟังใครมาเล่าเรื่องการได้มรรคผลตามจริง
ในบล็อกได้เคยเขียนอธิบายเรื่องเรื่องสังขารุเปกขาญาณ
ก็นำมาจากพระสูตรที่อ่านเจอ แล้วคิดว่าใช่ ก็ลอกมาทั้งหมดลงในบล็อก
มารู้ที่หลังว่าคำว่าพระสูตร แต่ไม่ใช่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ แต่ใช้ว่าเป็นพระสูตร
มาที่หลังได้ลบทิ้งออกจากที่เคยเขียนไว้
เจอตรงไหนอีก ก็จะลบทิ้ง ไม่เก็บไว้
ทำให้คนที่มาอ่าน สามารถติดอุปกิเลสได้


อินทรีย์ ๕

ขณะทำกรรมฐาน มีขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
การรู้ชัด แจ่มแจ้งในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะ
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
โดยเฉพาะสตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

สตินทรีย์ที่เป็นสัมมาสติ
จะประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ

สมาธินทรีย์ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง
เพราะประกอบด้วยสตินทรีย์
ธรรมเอกผุด

ปัญญินทรีย์ ตัวแรก คือ เห็นความเกิดดับของรูปนามตามจริง
๑. จะรู้ชัดสภาวะแต่ละขณะๆๆๆที่มีเกิดขึ้น ขณะกำลังเดินจงกรม
เห็นความเกิดดับของทุกย่างก้าว การเคลื่อนไหวของเท้าในแต่ละขณะๆๆ
เป็นท่อนๆ ไม่ติดต่อกัน ขาดออกจากกัน

๒. จะรู้ชัดตั้งแต่สภาวะเริ่มเกิด ขณะกำลังเกิด ขณะกำลังดับ ขณะคลายตัว
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ความเกิดและความดับ มีเกิดขึ้นแตกต่างกันชัดเจน

ปัญญินทรีย์ ตัวที่สอง คือ ไตรลักษณ์

ปัญญินทรีย์ ตัวที่สาม คือ อริยสัจ ๔ ตามจริง
โสดาปัตติผล
สกทาคามิผล
อนาคามิผล
อรหัตผล

ปัญญินทรีย์ ตัวที่สี่คือ ขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕
วิมุตติญาณทัสสนะ


มหาวรรค อินทรียกถา
[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล ฯ

[๔๒๔] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร ฯ
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕

เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีศรัทธา (และ)
พิจารณาพระสูตรอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส
สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้เกียจคร้าน
สมาคม คบหานั่งใกล้พวกบุคคลผู้ปรารภความเพียร (และ)
พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์
ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีสติหลงลืม
สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น (และ)
พิจารณาสติปัฏฐาน
สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีใจไม่มั่นคง
สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลมีใจมั่นคง (และ)
พิจารณาฌานและวิโมกข์
สมาธินทรีย์ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลทรามปัญญา
สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีปัญญา (และ)
พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง
ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้
เมื่อบุคคลงดเว้น ๕ จำพวก
สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก (และ)
พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้ ฯ

[๔๒๕] บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ฯ
บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐
การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐

บุคคลเมื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์
เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา

เมื่อละความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญวิริยินทรีย์
เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ชื่อว่าละความเป็นผู้เกียจคร้าน

เมื่อละความประมาท ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์
เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท

เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์
เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ

เมื่อละอวิชชา ชื่อว่าเจริญปัญญินทรีย์
เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา

บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้
การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ ฯ

ส่วนเนื้อความในพระสูตรนี้
หมายถึงบุคคลที่ได้สดับและปฏิบัติตามลำดับ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ตั้งแต่แรกเรื่องอินทรีย์ ๕
ให้สังเกตุคำว่า โทสะ
หากไม่เคยสดับมาก่อน จะไม่สามารถละความโกรธลงไปได้
หากได้สดับ ทำให้ละโมหะลงไปได้
เมื่อละโมหะลงไปได้
ย่อมละโทสะลงไปได้

[๔๒๖] อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการเท่าไร ฯ
อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐
คือ สัทธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว
เพราะเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งอสัทธินทรีย์ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
เป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้วละดีแล้ว
เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว
อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งความเกียจคร้าน
ความเป็นผู้เกียจคร้านเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว
เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งวิริยินทรีย์

สตินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว
เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งความประมาท
ความประมาทเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว
เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสตินทรีย์

สมาธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว
เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอุทธัจจะ
อุทธัจจะเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว
เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว
เพราะความเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งอวิชชา
อวิชชาเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว
เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕
เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ ฯ

วิปัสสนูปกิเลส และ อุปกิเลส

ตราบใด ที่มีกายและจิตอยู่
ยังมีหลมหายใจเข้า หายใจออก

สภาวะการปฏิบัติ ไม่ว่าจะในการดำเนินชีวิต ในปัจจุบัน
และ ปฏิบัติตามรูปแบบ

เริ่มต้นที่นาม-รูปปริจเฉทญาณ เหมือนกันหมด

ความแตกต่างอยู่ตรงที่
มีสภาวะบัญญัติเป็นอารมณ์ กับ มีสภาวะปรัมตถ์ เป็นอารมณ์

เรื่อง โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเพียงเหยื่อล่อ ให้คนอยากปฏิบัติ หรือ อยากให้เรียนรู้

โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเพียงคำเรียก ที่มีลักษณะ อาการเกิดขึ้น ไม่แตกต่างจากสภาวะอื่นๆ

สภาวะโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
มีความพิเศษ แตกต่างจากสภาวะอื่นๆ ตรงที่

สภาวะโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
เป็นเรื่องของ การดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบัน
และภพชาติการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร

สภาวะอื่นๆ ยังเป็นเหตุปัจจัย ของการสร้างเหตุของการเกิดอยู่
เหตุจาก ความยึดมั่น ถือมั่น ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่

ตราบใดที่ยังไม่แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง
หรือ แจ้งสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

สภาวะวิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย
ตามกำลังของสมาธิ ในแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น

ถ้าไม่รู้จักโยนิโสมนสิการ อุปกิเลสย่อมเกิด
เป็นเหตุให้ เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่เกิดขึ้น

เหตุเพราะอวิชชาที่มีอยู่ จึงยึดมั่นถือมั่น ในเรื่อง ญาณ ๑๖

ซึ่งตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ญาณ ๑๖ นั้น

เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น เป็นปกติ ของสภาวะสัมมาสมาธิ

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ