สมถะและวิปัสสนา

หายหน้าไปเดือน เนื่องจากกำลังเขียนเรื่องการทำกรรมฐาน เรื่องสมาธิ มีเขียนไว้บทสรุป แต่ยังไม่ได้เขียนรายละเอียดทั้งหมด
อีกอย่าง ความจำ(อาการสมอง) ยังมีปัญหาในการสะกดคำ มีผลกระทบต่อการเขียนตัวหนังสือ ภายในรู้ทุกสภาวะ แต่เขียนออกมาได้ค่อนข้างยาก สภาวะปัจจุบัน ส่วนมากรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตมากกว่าออกมารู้นอกตัว


ส่วนอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยังเป็นอยู่ แต่เกิดน้อยลง เมื่อคืนหัวใจหยุดเต้นสั้นๆ เป็นระยะ คือ 123 หยุดเต้น 12345 หยุดเต้น 123 หยุดเต้น จะเป็นแบบนี้ สลับไปมา ตอนหยุดเต้นจะสั้นๆ 2 วินาที แค่รู้ว่ามีเกิดขึ้น แต่ไม่เอามาเป็นตัวตน เรา เขา มันก็หายไปเอง จึงไม่ทำให้เกิดเป็นทุกข์ นี่ประโยชน์ของอนิมิตตเจโตสมาธิ


กลางวัน ยังมีอาการหน้ามืด จะรู้ชัดตั้งแต่เริ่มมีอาการเกิดขึ้น ขณะมีเกิดขึ้น และคลายหายไป คือมีสติ ไม่ทำให้ถึงขั้นหมดสติ มีเกิดขึ้นระยะสั้นๆ มีเกิดน้อยลง นี่ประโยชน์ของอนิมิตตเจโตสมาธิ


ถ้ายังมีคำบริกรรม เช่น รู้หนอ นี่เรียกว่าเพ่ง คือยังเห็นเป็นตัวตน เรา เขา เวลามีสภาวะใดมีเกิดขึ้น เช่นเวทนา ต้องใช้คำบริกรรมมาช่วย การคำบริกรรม ทำให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ เวทนาที่มีเกิดขึ้นจะคลายและดับไป


การเพ่ง(กายสักขี)กับการหลุดพ้นด้วยปัญญา(อนิมิตตเจโตสมาธิ) แตกต่างกันที่อินทรีย์ ๕ กำลังพูดเรื่องสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ คือสมถะ(กายสักขี/เพ่ง)และวิปัสสนา(อนิมิตตเจโตสมาธิ/หลุดพ้นด้วยปัญญา)


กายสักขี ลักษณะเด่นคือ รู้ชัดความเกิด ความดับ และขณะกำลังสมาธิคลายตัว ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธสมาบัติ กล่าวรวมคือ ความเกิด ความดับในวิโมกข์ ๘


อนิมิตตเจโตสมาธิ ลักษณะเด่นคือ รู้ชัดไตรลักษณะ โดยเฉพาะการละอาสวะ ผ่านจากการทำกรรมฐาน(ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ) เช่น สภาวะกายแตก กายระเบิด


หลุดพ้นสองส่วน(กายสักขี/สมถะและวิปัสสนา/อนิมิตตเจโตสมาธิ) หลุดพ้นจากอาสวะด้วยสมาธิ(ดับ) ลักษณะเด่นคือ รู้ชัดความเกิดดับในวิโมกข์ ๘ ทำให้รู้ว่ากำลังสมาธิที่มีอยู่ว่าปฏิบัติถึงสภาวะไหน(รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธสมาบัติ) และ และปัญญา(ไตรลักษณ์) ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เช่น สภาวะกายแตก กายระเบิด มีโอภาสสว่างจ้า แล้วดับ


ทั้งสามสภาวะ ยังไม่ใช่วิมุตติ(สภาวะจิตดวงสุดท้าย) แต่ต้องผ่านทั้งสามสภาวะนี้ก่อน หากไม่เคยผ่านมาก่อน แต่ได้วิมุตติก่อน ปัญหาที่มีเกิดขึ้นต่อมาคือ ผู้นั้นจะไม่รู้วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ และวิธีการละอุปกิเลส รวมทั้งไม่รู้วิธีการปฏิบัติ ประมาณว่า ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติหลังวิมุตติมีเกิดขึ้นแล้ว พูดหรืออธิบายได้แค่สิ่งที่ตนรู้ ตนเห็นเท่านั้น


และที่สำคัญ กายสักขี(สมถะ) เมื่อมีสภาวะกำลังสมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไปหมดสิ้น ไม่มีเหลือสักนิด การปฏิบัติต้องเริ่มต้นปฏิบัติใหม่ คือ นับหนึ่งตั้งแต่ฌาน 12345678 นี่คือทุกข์ของผู้ปฏิบัติ ไหนจะรับมือกับผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะทั้งที่มีเกิดขึ้นในชีวิตและขณะทำกรรมฐาน

อนิมิตตเจโตสมาธิ(วิปัสสนา) เมื่อมีสภาวะกำลังสมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไปหมดสิ้น ไม่มีเหลือสักนิด การปฏิบัติไม่ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่ แค่กำหนดรู้ผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง กำหนดรู้ตามความเป็นจริง(ผัสสะ)เนืองๆกำลังสมาธิจะมีเกิดขึ้นใหม่ เพราะเมื่อมีสภาวะรูปนามที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ปัญญาจะไม่เสื่อม ต่อให้เป็นสมองอย่างที่วลัยพรมีเกิดขึ้น ความจำเกี่ยวกับรูปนามจะไม่เสื่อมหายไป สภาวะต่างๆจำได้หมด ไม่ต้องเริ่มต้นปฏิบัติใหม่

สมัยก่อน ที่เคยมีสภาวะกำลังสมาธิเสื่อมหายไปหมดสิ้น สาเหตุที่เริ่มต้นปฏิบัติใหม่ เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่ จึงพยายามปฏิบัติเพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแบบที่เคยปฏิบัติ เมื่อมีกำลังสมาธิเสื่อมหายอีกครั้ง(ที่ ๒) จึงไม่ต้องพยายามปฏิบัติเพื่อให้กำลังสมาธิกลับคืนมา เพียงกำหนดรู้ผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เมื่อกระทำเนืองๆ กำลังสมาธิจะมีเกิดขึ้นคืนกลับมาเอง

ชีวิต สบายนะ เรียกว่าสบายมากๆ ไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน เพราะผลของการปฏิบัติ ทำให้รู้ว่าชีวิตฆราวาส ทุกข์นะ การคลุคลีทำให้เกิดทุกข์(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) หลีกเลี่ยงได้ยาก ต้องใช้ความอดทน อดกลั้นมากๆ
ที่สบายเกิดจากการละอาสวะ เมื่ออาสวะสิ้นไป จึงรู้จักคำว่า สบาย สบายคือรู้จักเสพทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่คือประโยชน์ของการรู้อาสวะ หากไม่รู้จักอาสวะ ย่อมไม่รู้วิธีการละอาสวะ ชาติ ชรา มรณะ จึงมีเกิดขึ้น.

คำว่า อาสวะ
ได้แก่ ตัณหา
การที่ผู้คนกระทำกรรมทางกาย วาจา ใจ เกิดจากความไม่รู้และไม่รู้ทันตัณหา จึงกระทำตามกิเลส(ราคะ โทสะ โมหะ) ที่มีเกิดขึ้น
หากรู้ทันตัณหาที่มีเกิดขึ้น ย่อมพยายามหยุดสร้างเหตุ มากกว่าการกระทำออกมาทางกาย วาจา ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
ส่วนความคิดจะรู้ว่ามีเกิดขึ้นแต่ไม่ปล่อยตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น เหตุมี ผลย่อมมี

.

จิตตปาริสุทธิ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน…
ทุติยฌาน…
ตติยฌาน…
จตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังจิตตปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองจิตตปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิ ฯ

.

หมายเหตุ;

คำว่า จิตตปาริสุทธิ
ได้แก่ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สมถะ) มี ๒ ปรเภท
๑. มิจฉาสมาธิ
ได้แก่ การทำกรรมฐานทุกรูปแบบ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ)

๒. สัมมาสมาธิ
ได้แก่ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้น

.

สัมมาสมาธิ มี ๔ ปรเภท

๑. มีบัญญัติเป็นอารมณ์(กายสักขี)
ได้แก่ การเพ่ง(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ๆ ดังนี้ โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=9604&Z=9623

.

๒. มีรูปนามเป็นอารมณ์ (อนิมิตตเจโตสมาธิ)
ได้แก่ การกำหนดรู้ผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

.

๓. หลุดพ้นโดยส่วนสอง(กายสักขีและอนิมิตตเจโตสมาธิ)
กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้ ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

ดูพระโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง
โมคคัลลานสังยุตต์

.
๔. สุญญตสมาบัติ ได้แก่ พิจารณาเห็นว่า
สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง
๓. มหาเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.

จิตตปาริสุทธิ

ในเวิดเพรส ไม่สามารถโพสในรูปแบบเดิมได้  การโพสไม่สะดวก จึงใช้อีกบล็อกแทน

https://walaiblog.blogspot.com/2020/07/blog-post_8.html#!/2020/07/blog-post_8.html

โทษของการห้ามผู้อื่นให้ทาน

การทำทาน โดยยึดติดเปลือกที่มองเห็น

“ในบรรดาสัญชาติเหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาลและคนเทขยะมูลฝอย ในเขตที่ปราศจากธุลีนั้นแล ทักษิณาย่อมมีผลมาก” .

ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีวัตรเรียบร้อย ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดแต่คำสัตย์ มีใจประกอบด้วยหิริ ละชาติ และมรณะได้ มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระลงแล้ว พ้นกิเลส ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง ดับสนิทแล้วเพราะไม่ถือมั่น ย่อมจะเกิดได้ในสัญชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาสัญชาติเหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาลและคนเทขยะมูลฝอย ในเขตที่ปราศจากธุลีนั้นแล ทักษิณาย่อมมีผลมาก

ส่วนคนพาล ไม่รู้แจ้ง ทรามปัญญา มิได้สดับตรับฟัง ย่อมพากันให้ทานในภายนอก ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ

ก็ศรัทธาของผู้ที่เข้าไปหาสัตบุรุษ ผู้มีปัญญายกย่องกันว่าเป็นปราชญ์ หยั่งรากลงตั้งมั่นในพระสุคต และเขาเหล่านั้นย่อมพากันไปเทวโลก หรือมิฉะนั้นก็เกิดในสกุลในโลกนี้ บัณฑิตย่อมบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ ฯ

หมายเหตุ;

คำว่า เกิดในสกุลในโลกนี้ บัณฑิตย่อมบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร  คนจัณฑาลและคนเทขยะมูลฝอย

https://walaiblog.blogspot.com/2020/07/blog-post.html#!/2020/07/blog-post.html

 

กรกฎาคม 2020
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ