การใช้ “หนอ” กำหนด

การใช้คำกำหนด สำทับลงไปในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น เช่น
ได้ยินเสียง กำหนดเสียงหนอ
เห็นทางตา กำหนดเห็นหนอฯลฯ
หรือกำหนดแบบกลางๆ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น กำหนด รู้หนอๆ

สิ่งเหล่านี้ เคยทำมาหมดแล้ว
ตั้งแต่กำหนดอิริยาบทหลัก ยืน เดิน นั่ง นอน
เหตุปัจจัยที่เวลานอน ที่ทำให้ไม่รู้จักคำว่า หลับ อีกต่อไปในชีวิต
ก็เกิดจากการกำหนดท้องพองขึ้น ยุบลง รู้ไปตามอาการที่มีเกิดขึ้น
จนกระทั่งจิตเสพจนเกิดความคุ้นเคย จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ทุกวันนี้ไม่เคยกำหนดแบบนั้นอีก เมื่อนอนลง พอหลับตาลง
ภายในสว่างทันที บางครั้ง รู้สึกวูบลงไป แล้วรู้สึกวาบขึ้นมาในใจ
แล้วภายในสว่าง บางคืนเกิดสภาวะนี้เกือบทั้งคืน ก็รู้ไป
ที่เป้นแบบนี้ เพราะรู้ว่า มันไม่เที่ยง ถือมั่นอะไรไม่ได้
บางคืนดิ่งแล้วดับ บางคืนรู้สึกสว่างอยู่ภายใน บางคืนสงบ

เวลานอน ถ้าทุกคนทำแบบที่เราทำก่อนนอนตั้งแต่แรกเริ่ม
ทุกคนก็เจอสภาวะเหมือนที่เราเจอ ไม่แตกต่างกันเลย

.

การกำหนดอิริยาบทย่อย กิน ดื่ม ทำกิจกรรมหรือทำงานต่างๆ
เช่น เวลากิน กำหนดตั้งแต่มือจับช้อน ตักอาหารเข้าปาก กำหนดทุกระยะ กินหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ ข้าวคำเดียว ใช้เวลาบางครั้ง ครึ่งชม. ทีนี้เมื่อจิตกำหนดต่อเนื่อง สมาธิย่อมเกิด บางครั้งมีนิมิต เราก็ดู พอเบื่อดู ก็เลิกกำหนด เพราะเบื่อที่จะดู

ที่ยกมาเป็นตย.แบบคร่าวนี่ สมัยก่อนยังไม่รู้อะไรหรอก
ถูกสอนมาแบบไหน ก็ทำตามแบบนั้น ทำตัวเหมือนเด็กลี้ยงควาย เหมือนหญิงทอหูก แบบที่หลวงพ่อจรัญฯ ท่านสอนไว้

นี่มารู้ที่หลังนะ หลังจากสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒ มีเกิดขึ้น
จึงรู้ว่า ที่ให้กำหนดแบบนั้นเพราะอะไร ไม่ใช่แค่เรื่องสตินะ ที่คิดว่าเป็นเรื่องสติ สัมปชัญญะ สมาธิ เท่านั้น ก็เข้าใจไม่ผิดนะ แต่ยังไม่ถูกจุด เหมือนคนเวลาคัน แต่เกาไม่ถูกที่ ก็รู้สึกคันอยู่อย่างนั้น

เหตุผลของการให้กำหนด เพื่อให้รู้อยู่กับกาย ไม่ให้จิตแว่บออกไปนอกตัว ไปนำเรื่องราวนอกตัว มาสร้างเป็นกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นในใจตน นิวรณ์ต่างๆ จึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนี้

หากบอกว่า เพราะไม่มีใครบอก ไม่มีใครพูดตรงๆว่า ที่ให้กำหนดนั้น เพื่อดับเหตุปัจจัยของภพชาติการเกิด ก็เป็นการกล่าวโทษนอกตัว ทั้งหมดเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของที่มีอยู่ของเราทั้งสิ้น

เมื่อมาเจอผู้ปฏิบัติที่ใช้การกำหนดรู้หนอ เห็นหนอ ยินหนอฯลฯ สภาวะนี่ไม่ต่างกับเราในอดีต หลงคิดแค่ว่าเป็นเรื่องของสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ตามความเป็นจริงคนละเรื่อง

เมื่อไม่รู้ จึงหลงกระทำกรรมได้อย่างง่ายดาย
ไม่ต่างจากผู้ปฏิบัติอื่นๆ เข้าวัดภาวนา กลับมาบ้านด่าเป็นไฟ บ่นโน่นนี่ แปบๆนินทาละ แล้วก็บอกว่า กำหนดไม่ทัน จึงเป็นแบบนี้ ไปโทษการกำหนดโน่น แต่ไม่โทษการกระทำของตัวเอง  นี่แหละอวิชชา ความไม่รู้ที่มีอยู่

 

 

๑๒ พค.๖๑

ประโยชน์ของการใช้ “หนอ” ในการกำหนด

.

การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง

การทำความเพียร เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
การใช้พองหนอ ยุบหนอ เป็นการกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของร่างกายที่มีเกิดขึ้น ขณะหายใจเข้า ท้องพองขึ้น หายใจออก ท้องยุบลง

แรกๆ อาจจะกำหนดไม่ค่อยได้ เพราะใจมักชอบแว่บไปโน่นนี่(คิด)
เมื่อทำบ่อยๆ จนทำเกิดเป็นวสี คือ จิตจดจำได้ คำบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ ที่ใช้กำกับ จะหายไปเอง ไม่ต้องใช้พองหนอ ยุบหนอในการกำหนดอีกต่อไป เป็นสภาวะของรูปนาม ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้น(ท้องพอง-ยุบ) กับใจที่รู้อยู่

ที่มาของปฏิสัมภิทามรรค วิปัสสนาญาณ ๙ ของพระสารีบุตร
กล่าวคือ สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์

ส่วนญาณ ๑๖ เป็นการแตกข้อปลีกย่อยออกมา
ผู้ที่ประสพพบเจอด้วยตนเอง เมื่อมาอ่าน จึงจะเข้าใจ
ภาษาชาวบ้าน หมายถึง ต้องผ่านญาณ ๑๖ มาแล้ว จึงจะอ่านได้อย่างเข้าใจในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามคำอธิบาย

หากไม่เคยผ่านญาณ ๑๖ (อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ)
อ่านแล้ว มีแต่การคาดเดา หาใช่ตามความเป็นจริงไม่

การการอธิบายความทั้งหมด ที่ตรงกับสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ล้วนลงรอยเดียวกัน กล่าวคือ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ใช่เรื่องความมี ความเป็นแต่อย่างใด
มีแต่เรื่องของ อริยสัจ ๔

เหตุปัจจัยให้ความมี ความเป็นมีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจากตัณหา

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

.

การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง

เป็นสภาวะของศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ
ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ
อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ

การใช้หนอในการกำหนดรู้ในผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เช่น ทางตา รูปที่มากระทบ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเห็นหนอ รูหนอ

เสียงที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเสียงหนอ ยินหนอ รู้หนอ พร้อมกับหายใจยาวๆ ลึกๆ

ฯลฯ

เป็นการสำรวม สังวร ระวัง ไม่สร้างเหตุออกไปทางกาย วาจา
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

การเดิน แบ่งออกเป็น ๖ ระยะ ตั้งแต่หยาบ จนละเอียด
เช่น อย่างหยาบ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

กิน ดื่ม ถ่าย นอน ทุกอิริยาบาทใช้หนอกำกับทุกอย่าง
เช่น เสียงหนอ ยินหนอ เห็นหนอ กลิ่นหนอ กินหนอ ดื่มหนอ กลืนหนอ นอนหนอ รู้หนอฯลฯ

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย

.

ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ

การกำหนด

การทำความเพียร สำหรับผู้ที่ยังพึ่งพาตนเองยังไม่ได้
ขณะที่มีสภาวะใดเกิดขึ้น ให้กำหนดรู้หนอ

เมื่อกำหนดรู้หนอเนืองๆ
ลักษณะอาการ ที่มีเกิดขึ้นของ

“โยนิโสมนสิการ”
ย่อมมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.

ได้แก่
การดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น
การรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจ

ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

กระทำไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
กล่าวคือ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมา ทางกาย วาจา
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก
(ชาติ การได้ครบแห่งอายตนะ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม)

.

ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ,อรูปภพ)

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

กระทำไว้ในใจ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ให้กำหนดรู้ว่ามีเกิดขึ้น

อุปกิเลส ที่เกิดจาก ตัณหา จะได้ไม่เอาไปกิน

.

แรกๆ ยังต้องใช้การกำหนด
หากทำความเพียรต่อเนื่อง การกำหนดจะหายไปเอง
จะกลายเป็น รู้ชัด โดยอัตโนมัติ กระทบปั๊บ รู้ชัดขึ้นมาในใจทันที

สภาวะและการกำหนดต้นจิต

walai

สภาวะและการกำหนดต้นจิต

สภาวะ แปลว่า ความเห็นเอง ความเกิดขึ้นเอง การปรากฏขึ้นเอง เช่น สภาวะลักษณะ หมายถึงลักษณะที่เป็นเอง เกิดเองเป็นเองตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ

ในการปฏิบัติกรรมฐานหรือเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ตาม หมายถึง สภาวะหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตของผู้ปฏิบัติ (อันนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน)

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ล้วนเกิดจากเหตุและปัจจัยที่แต่ละคนสร้างขึ้นมาเอง อันนี้เป็นสภาวะภายนอก

เมื่อสามารถรู้สภาวะภายในได้ ย่อมสามารถรู้สภาวะภายนอกได้ นั่นคือ การเห็นตามความเป็นจริงของทุกๆสรรพสิ่ง

หลวงพ่อโชดก

การกำหนดต้นจิต คือ การฝึกจิตให้อยู่กับการเคลื่อนไหวและอิริยาบทต่างๆของร่างกาย เช่น ขณะนั่งอยู่ก็กำหนดรู้อยู่ว่านั่ง แล้วถ้าจะลุกขึ้น ก่อนจะลุกก็กำหนดรู้อยู่

การจะเปลี่ยนอิริยาบทหรือเคลื่อนไหวใดๆ หรือเมื่อจำเป็นต้องสนทนา จะพูดจะกล่าวคำใดๆ ก็กำหนดรู้พร้อมกันไป การกำหนดในทำนองดังกล่าวมานี้ เป็นการช่วยให้มีสติ สัมปชัญญะ
และสมาธิเชื่อมโยงติดต่อกันไม่ขาดระยะ

ถ้ากำหนดรู้พร้อมกันไป การกำหนดในทำนองดังกล่าวนี้ เป็นการช่วยให้โยคีมีสติและสมาธิเชื่อมโยงติดต่อกันไปไม่ขาดระยะ ท่านว่าสมาธิของโยคีผู้นั้น ” ไม่รั่ว ”

โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า เหมือนท่อน้ำที่มีข้อต่อ อุดรูรั่วสนิทดี น้ำในท่อก็จะไหลติดต่อและมีกำลังส่งแรงดีไม่ขาดระยะ ฉันใด สมาธิของโยคีผู้กำหนดต้นจิต ก็จะติดต่อและมีกำลังดีไม่ขาดระยะ ฉันนั้น

และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นการช่วยโยคีบางท่านที่เดินจงกรม ไม่ทน แต่นั่งสมาธิกำหนดได้นาน เมื่อกำหนดต้นจิตติดต่อกัน วิริยินทรียกับสมาธินทรียเสมอกันได้ด้วย

การกำหนดทำนองดังกล่าวมานี้ มีในสติปัฏฐานสูตร หมวดอิริยาปถบัพพะและสัมปชัญญะบัพพะ ในการฝึกกำหนดต้นจิต ในตอนแรกๆ อาจจะกำหนดทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ขาดๆหายๆ ซึ่งคนเราส่วนมากก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าไม่ท้อถอย และเลิกเสียก่อน แต่พากเพียรทำต่อไปจะพบเองภายภาคหน้าว่า มีสติกำหนดได้ดีเป็นส่วนมาก และจะค่อยๆกำหนดได้ติดต่อกันดีขึ้น

แล้วในที่สุดก็สามารถกำหนดได้โดยติดต่อกัน ซึ่งแสดงว่า มีสติมั่นคง มีสัมชัญญะเกิด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนั่งกำหนดสมาธิต่อไป

นำมาจาก หนังสือวิปัสสนากรรมฐาน ( สติปัฏฐานสูตร ) หลวงพ่อโชดก

walai

การกำหนดมีสองแบบ คือ

๑. ใช้คำบริกรรมช่วย เช่น ใช้หนอกำกับลงไปในอิริยาบทนั้นๆ
เพื่อเป็นการสร้างทั้งสติ สัมปชัญญะ ให้มีกำลังมากขึ้น

๒. ไม่ใช่คำบริกรรม แต่เอาจิตจดจ่อลงไปรู้ในการกระทำนั้นๆ

สมาธิปทฐฐานา มีสมาธิเป็นเหตุใกล้ชิดที่จะทำให้ปัญญาเกิด หมายความว่า ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสมาธิ คือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่ออารมณ์นั้นๆ

เช่น เวลาดูหนังสือ ถ้าใจจดจ่ออยู่กับหนังสือนั้น ไม่วอกแวกไปทางอื่นก็จำได้ง่าย จำได้ดี นั่นแหละเป็นเหตุให้เรื่องปัญญา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา แม้ในปัญญาขั้นสูง เช่น ภาวนามยปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิเช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง การเจริญสติ ถ้ามีสติ มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ดี โดยเป็นไปติดต่อกันเสมอ (จิตจดจ่อรู้อยู่ในกายได้ตลอด) ไม่มีเผลอ ยิ่งไม่เผลอมากเท่าไหร่ นั่นบ่งบอกถึงกำลังความแนบแน่นของสมาธิที่เกิดขึ้น

มีเรื่องเล่าว่า

พระเถระรูปหนึ่ง ขณะนั่งสนทนากับพวกอันเตวาสิก ( ของท่าน ) ในที่พักกลางวัน ท่านคู้แขนเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดกลับไปวางอย่างเดิม แล้วค่อยๆคู้เข้ามา

พวกอันเตวาสิกเรียนถามท่านว่า

” ท่านอาจารย์ขอรับ เหตุไร อาจารย์จึงคู้แขนเข้ามาโดยเร็วแล้วเหยียดกลับไปวางอย่างเดิม แล้วค่อยๆคู้เข้ามาอีก ”

พระเถระตอบว่า

“อาวุโส ก็เพราะฉันเริ่มต้นมนสิการกัมมัฏฐาน ฉันไม่ควรละทิ้งกัมมัฏฐาน แล้วคู้มือเข้ามา แต่เมื่อกี้ ฉันกำลังสนทนากับพวกเธออยู่ ได้ละกัมมัฏฐานเสียแล้ว คู้มือเข้ามา เพราะฉะนั้น ฉันจึงกลับวางมือไว้อย่างเดิมเสียก่อน แล้วจึงคู้ ( โดยกัมมัฏฐาน ) เข้ามาอีก ”

พวกอันเตวาสิกกราบเรียนว่า
” สาธุ ท่านอาจารย์ ธรรมดาภิกษุควรเป็นอย่างนี้ ”

อิมานิ โข ภิกฺขเว ปญฺจินฺทริยานิ ภาวิตานิ พหุลีกตานิ สญฺโญชนานํ ปหานาย สวตฺตนฺติ อนุสยสมุคฺฆาตย สํวตฺตนฺต
อทฺธานปรญฺญาย สํวตฺตนฺติ อาสาวานํ ขยาย สํวตฺตนฺติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย ๕ ทั้งหลายนี้แล โยคีทำให้เกิดแล้ว ทำให้มากๆครั้งแล้ว ดำเนินไปเสมอสมดุลย์ร่วมกัน เพื่อละเสียซึ่งสัญโญชน์ทั้งหลาย เพื่อถอนเสีย เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยาวนาน ดำเนินไปร่วมกันเสมอกัน เพื่อความสิ้นไปของอาสวะทั้งหลาย

สํ.มหาวาร ๑๙/๓๑๒


หลวงพ่อโชดก

หากโยคีนั้นๆ พากเพียรเดินจงกรม ด้วยการกำหนดเป็นระยะๆ และนั่งสมาธิกำหนดเป็นระยะๆ จะเกิดสภาวะ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่า อินทรีย์ และ พละ ภายในตัวของท่าน ปรับปรุงทั้งร่างกาย
และจิตใจของโยคีเอง ให้มีปรากฏการณ์เกิดขึ้นภายในตัวของท่านเป็น อัตตปัจจักขะ

อัตตปัจจักขะ คือ ประสพพบเห็นเป็นประจักษ์ด้วยตัวของท่านเอง และเมื่อสภาวธรรมนั้นๆ ประณีตเข้าและพร้อมเพรียงสม่ำเสมอกัน

โยคีผู้นั้นก็จะผ่านวิสุทธิและญาณต่างๆตามข้อที่ระบุไว้ข้างต้นเป็นขั้นเป็นตอนไปโดยลำดับ ท่านเปรียบไว้เหมือนการเดินทางไปสู่ที่หมายปลายทางโดยเปลี่ยนรถเดินทาง ๗ ผลัดหรือขึ้นอาคารหรือปราสาท ๗ ชั้น หรือเปรียบเทียบเหมือนกับบันได ๑๖ ขั้น

โพสต์เมื่อ 26th November 2010

หมายเหตุ;

สมัยก่อน สภาวะการปฏิบัติจะละเอียดมาก

ย่อมแจ้งใน ทุกข์,สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต

ย่อมแจ้งใน อริยสัจ 4
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

1.ย่อมแจ้งใน ทุกข์,สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
เกิดจากอะไร เป็นเหตุปัจจัยให้มีเกิดขึ้น

=====================

อวิชชา

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ที่เรียกกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้นั้นเป็นอย่างไร ?

และด้วยเหตุเพียงเท่าไร
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ

ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่ง
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณาอันมีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา
ว่าเป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ดังนี้

ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่ง
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ว่าเป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ดังนี้

ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่ง
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีทั้งความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

ว่าเป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ความไม่รู้นี้เราเรียกว่า อวิชชา
และบุคคลชื่อว่าเป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา
ย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล

อริยสัจสี่

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?

สี่อย่าง คือ ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์

เป็นอย่างไรเล่า ?

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำหนัด

เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)

ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)

วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า

ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า ?

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง
ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า?

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ( การงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ)
สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ
ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้
พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด

=================

เหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน (อุปทานขันธ์ 5/ตัวกู,ของกู)

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

และการดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
(มรรค มีองค์ 8)

วิธีการปฏิบัติ ได้แก่

โยนิโสมนสิการ
ได้แก่ ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)

รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น
(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ/ความรู้สึกนึกคิด)

ให้กำหนดรู้ในความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

กระทำไว้ในใจ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
ได้แก่ ไม่สร้างเหตุออกไปทางกาย วาจา
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

กล่าวคือ
การกำหนดรู้ในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

กล่าวคือ ความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้นจากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย
ซึ่งมีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ/การกำหนดรู้ ตอนที่ 6

๖. เสขสูตรที่ ๑

[๑๙๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระ
ผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล
ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่

เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่งอย่างอื่น
กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการนี้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการโดยแยบคาย
ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญกุศลให้เกิดมี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก
เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดแห่งภิกษุผู้เป็นพระเสขะ
เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มีเลย

ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการโดยแยบคาย
พึงบรรลุนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์ได้ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๖

 

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=4644&Z=4660

ทำตัวให้เหมือนความเคี้ยวเอื้อง

 
เมื่อมีสิ่งเกิดขึ้น(ผัสสะ)

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จงทำตัวให้เหมือนควายเคี้ยวเอื้อง เคี้ยวอย่างช้าๆ

การจะนึกคิดกระทำสิ่งใดก็ตาม คิดให้นานๆ
โดยมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้
เป็นตัวอย่าง ของการกระทำทุกๆการกระทำ

เหมือนการโพสบทความธรรมะ
ต้องมีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่า มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้จริงๆ

จึงเป็นการดำรงพระสัทธรรมไว้ได้นานเท่านาน
แสนนาน จนกว่า มีการสัทธรรมปฏิรูปบังเกิดขึ้น
พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนไว้
จึงเริ่มเลือนลาง จางหายไป มีสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นแทน

การทำความเพียร

หากสิ่งที่พบประสพเจอมาตัวเอง จากการทำความเพียร
สิ่งที่ถูกรู้นั้นๆ ต้องตรงกับพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้ทุกประการ

๖. อากังเขยยสูตร

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง

ประกอบด้วยวิปัสสนา

พอกพูนสุญญาคาร.

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

หมายเหตุ;

หมายถึง การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต)
สิ่งที่เกิดขึ้น(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เป็นเรื่องของ กรรมเก่า(การกระทำที่เคยกระทำไว้ในอดีต)
ส่งมาให้รับผล ในรูปแบบของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
(วิบากกรรม /เวทนา ที่มีเกิดขึ้น)

ให้โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง กาย วาจา(ไม่สานต่อ)
เป็นการดับรอบเฉพาะตน(ดับเหตุปัจจัยของการเกิด)

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว(กรรมใหม่/วจีกรรม กายกรรม ไม่มี)

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว(มรรค-อริยมรรค มีองค์ 8)

กิจที่ควรทำ(หยุด) ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง

หมายเหตุ;

ทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิในระดับฌาน(มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ)

มิจฉาสมาธิ
สมาธิที่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้
(สมาธิบดบังกิเลส)

สัมมาสมาธิ
สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม

ประกอบด้วยวิปัสสนา

หมายเหตุ;

ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นทั้งในการดำเนินชีวิต
และขณะทำความเพียร

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ) เนืองๆ

สภาพธรรมที่มีชื่อเรียกว่า วิปัสสนา
(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา/ไตรลักษณ์)
ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

เมื่อใจน้อมลงสู่วิปัสสนา(ไตรลักษณ์)เนืองๆ

หากมีผัสสะใดเกิดขึ้น
ใจย่อมน้อมลงสู่วิปัสสนาเอง โดยไม่ต้องคิดพิจรณา

เป็นเหตุปัจจัยให้จิตเกิดการปล่อยวาง จากผัสสะที่มีเกิดขึ้น
โดยไม่ต้องคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง

พอกพูนสุญญาคาร

หมายเหตุ;

อยู่ในเรือนว่าง

สุญญตา

เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า
หมายถึง สุญญตา หรือ สภาวะที่ปราศจาก ความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งที่เกิดขึ้น

1. ที่มีเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต
ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

2. ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ สัมมาสมาธิ
คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

หากเป็นมิจฉาสมาธิ หรือที่เรียกว่า สมถะ
วิญญาณ/ธาตุรู้ จะมีเกิดขึ้นไม่ได้เลย
จนกว่าสมาธิจะคลายตัวหรืออ่อนกำลังลง

จิตตปาริสุทธิ

จิตตปาริสุทธิ
การทำกรรมฐาน เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มี ๔ แบบ

๑. กายสักขี(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ)

๒. หลุดพ้นด้วยปัญญา(วิปัสสนา)

๓. หลุดพ้นสองส่วน(สมถะและวิปัสสนา)

๔. ฟังธรรมว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ เริ่มจากศิล สมาธิ
เพื่อละนิวรณ์ ๕ และทำกรรมฐาน
ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุดดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา
ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ


๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ


สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ
เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


วิธีการปฏิบัติมี ๒ แบบ

๑. นั่งอย่างเดียว ใช้คำบริกรรม จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีโอภาสแสงสว่างมาก
จะเหลือสภาวะ ๒ อย่างปรากฏคือ ใจรู้อยู่กับโอภาส(แสงสว่าง)
ทำจนชำนาญ แล้วปรับอินทรีย์ ๕ โดยการเดินจงกรมก่อนนั่ง ตั้งเวลานั่งเท่าเดิม
ตั้งเวลาการเดินจงกรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ทำแบบนี้ต่อเนื่อง ทำทุกวัน
เมื่อรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

๒. เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม. ทำแบบนี้ต่อเนื่อง
มีเวลามาก ทำบ่อยๆเดินและนั่งสลับไปมา
ถ้ามีเวลาน้อย ทำวันละครั้งก็ได้ อย่าหยุดทำ ให้ทำทุกวัน
เมื่อรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ทำมาก(หลายรอบ) ทำน้อย(วันละครั้ง)
ผลที่ได้รับ ย่อมไม่เท่ากัน
ก็เหมือนการทำงาน แต่เป็นงานที่ทำแล้วจบ
ไม่ต้องใช้เงิน ใช้ความศรัทธา ใช้ความพยายาม(ทำต่อเนื่อง)
แรกๆอาจฝืนใจ พอทำบ่อยๆจนจิตชำนาญในสมาธิ อาการฝืนใจจะหายไปเอง
อีกอย่างจะเริ่มเห็นผลของการปฏิบัติทุกวัน
อะไรที่เคยคิดว่ามันแย่ๆที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
ทุกสิ่งจะกลับมาดีขึ้น แย่ ดี เกิดขึ้นสลับกันไปมา
จนเห็นว่าทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นที่ว่าแย่หรือที่ว่าดี มันไม่เที่ยง คือคาดเดาไม่ได้
ทำให้ละความยึดมั่นถือมั่น จิตเริ่มปล่อยวาง เหตุนี้จึงทำให้ไม่เลิกการปฏิบัติ

กรณีเดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
สำหรับผู้ปฏิบัติเริ่มใหม่ เริ่มจากเดิน 10 นาที ต่อนั่ง 10 นาที ทำจนจิตเกิดความคุ้นเคย
จะทำกี่รอบก็ได้ กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด
เมื่อทำได้โดยไม่เลิกทำความเพียร
ให้เพิ่มเวลาการปฏิบัติ เดิน 15 นาที ต่อนั่ง 15 นาที ทำจนจิตคุ้นเคย จะทำกี่รอบก็ได้
กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด
เมื่อทำได้โดยไม่เลิกทำความเพียร
เพิ่มเวลาปฏิบัติจนเดิน 1 ชม. ต่อนั่ง 1 ชม. จะทำกี่รอบก็ได้
กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด

เมื่ออินทรีย์ ๕ มั่นคง
เพิ่มเวลาการปฏิบัติทั้งเดินจงกรมและนั่ง
จะทำให้รู้ชัดความดับเกิดรูปนามที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ขณะเดินจงกรม
ขณะนั่ง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ขณะเวทนากล้ามีเกิดขึ้น
ให้กำหนดตามความจริง
ไตรลักษณ์จะปรากฏ
ให้กำหนดตามจริง
อาจจะเกิดเนืองๆหรืออาจจะนานๆเกิด ก็ตาม
เป็นเรื่องปกติของสภาวะที่ดำเนินถูกตรงมรรค

สภาวะใดๆที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ไม่นำเรื่องมรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะเมื่อนำเรื่องมรรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทำให้อุปกิเลสมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
จะทำให้ตัวสภาวะจะจมแช่เพียงแค่นั้น

———–

๑. ทำกรรมฐาน ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า สมถะ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขี ฯ

 สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

= อธิบาย =

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา”
คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


๒. ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์
ได้แก่ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เช่น
หายใจเข้า รู้ลมหายใจเข้าตามความเป็นจริง
หายใจออก รู้ลมหายใจออก ตามความเป็นจริง
ขณะหายใจเข้า ท้องพอง รู้ตามความเป็นจริง
ขณะหายใจออก ท้องแฟ่บ รู้ตามความเป็นจริง
เรียกว่า วิปัสสนา
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า เธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม


๓. ทำกรรมฐาน
ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์(สมถะ)
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จิตละทิ้งคำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์(วิปัสสนา)
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ

สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

กามเหสสูตรที่ ๓
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า เธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม


๔. ฟังธรรมว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ เริ่มจากศิล สมาธิ
เพื่อละนิวรณ์ ๕
ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา
ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ


บรรลุเร็ว บรรลุช้า ขึ้นอยู่กับ
๑. อินทรีย์ ๕
๒. อุปกิเลสของจิต(นิวรณ์ ๕)
๓. ขาดการศึกษาศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

แก้ไข 16 สค. 64

แก้ไข 10 มีค. 65


๓. อุปนิสสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

= อธิบาย =

สีลสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

คำว่า สัมมาสมาธิ
ได้อธิบายไปแล้ววิธีการปฏิบัติทำให้สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง

คำว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะตามจริง
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

“เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ”

คำว่า นิพพิทา
ได้แก่ ความเบื่อหน่าย
ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

“เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ”

คำว่า วิราคะ
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

“วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า วิมุตติ
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

คำว่า วิมุตติญาณทัสสนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔


“ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ”

คำว่า ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ได้แก่ นิพพาน

คำว่า มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
ได้แก่

ไตรลักษณ์ ทุกข์
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑ ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ไตรลักษณ์ อนัตตา
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกขาดออกจากกัน
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น กับใจที่รู้อยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๒ ในอนาคามิมรรค อนาคามิผล

ไตรลักษณ์ อนิจจัง
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น รู้สึกแน่นๆที่หัวใจ
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๓ ในอรหัตมรรค อรหัตผล

ไข้ทับฤดู

เคยได้ยินแต่ชื่อ แต่ไม่เคยเป็นมาก่อน การป่วยครั้งนี้ทำให้รู้ว่าอาการของไข้ทับฤดูนั้นเป็นอย่างไร ก็ไม่รู้ว่าคนอื่นๆจะมีอาการแบบเราหรือไม่ จะมีไข้สูงตั้งแต่ช่วงบ่ายๆ ยิ่งดึกๆไข้ยิ่งสูง เนื้อตัวจะร้อนไปหมด มีอาการท้องเสียร่วมด้วย

เราเป็นหวัดลงคอมาสองวัน อาศัยว่าได้พักในสมาธิอาการดีขึ้นมาเรื่อยๆ แต่เมื่อคืนอาการแย่ลง ตัวร้อนมากๆ ท้องเสีย แถมมีรอบเดือนมา มันช่างประจวบเหมาะเสียจริงๆ นี่คืออีกหนึ่งข้อสอบ ที่เราถูกสอบอารมณ์โดยสภาวะ

การที่รู้อยู่ในกายได้บ่อยๆ ช่วยเราได้เยอะมากๆ ทปกติเวลาไม่สบายหรือมีรอบเดือน จะเป็นคนขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ฟุ้งซ่านง่าย กระวนกระวาย ต้องหลับอย่างเดียวถึงจะช่วยได้

ผลของการเจริญสติที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงในวันนี้ ทำให้เรารู้มาตลอดว่า ที่ทำมาทั้งหมด ไม่มีเสียเปล่า มีแต่ได้กับได้ ทั้งทางโลกและทางธรรม เราถึงกล้ายืนยันให้คนอื่นๆที่กำลังเริ่มทำหรือทำบ้างแล้วว่า มันได้ผลจริงๆ

แต่จงอย่าคาดหวัง คือ คาดหวังได้นะ แต่อย่าไปยึดในสิ่งที่หวัง เพราะถ้ายังมีหวัง ความผิดหวังย่อมมีอย่างแน่นอน หรืออาจจะสมหวังจนหลง นี่นะสภาวะเขามาสอนตลอดในทุกๆเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรม

เพียงฝึกที่จะไม่คาดหวัง คือหวังได้ เพราะยังมีกิเลส แต่ฝึกไม่คาดหวังบ่อยๆ อาจจะบอกกับตัวเองว่า มันไม่เที่ยง มันไม่แน่นอน แล้วแต่อุบายของแต่ละคน แล้วสภาวะเขาจะมาตอกย้ำทำให้เราเลิกคาดหวังไปเอง โดยไม่ต้องไปฝืนใจแต่อย่างใดเลย

ชอบสมาธิยิ่งนัก

ตอนนี้ยอมรับว่า ชอบสมาธิยิ่งนัก เพราะช่วยเราในยามเจ็บป่วยได้มากๆ ไม่ต้องไปกินยาเป็นกำมือ ไม่ต้องไปหาหมอ ก็โรคนี้มันเป็นโรคเฉพาะตัวของเราเอง เรารักษาตัวเองมาตลอด

เพียงแต่ตอนนี้เป็นหลายวันและหนัก เนื่องจากมาเป็นช่วงที่มีรอบเดือนพอดี ไข้ทับฤดูนี่ พอเอ่ยถึง ใครๆก็กลัวนะ แต่เราไม่กล้วเลย การอยู่กับปัจจุบันได้ทันมันดีแบบนี้นี่เอง ไม่มีความกลัวในจิต

เราอาศัยพักจิตในสมาธิอย่างเดียว เรื่องอื่นๆไม่สนใจ สั่งยาให้กับตัวเอง เพราะรู้ดีกว่า อาการแบบนี้ หวัดลงคอ ควรจะต้องให้ยาอะไรถึงจะหาย เพียงแต่ต้องอาศัยสมาธิช่วย

เมื่อจิตได้พักในสมาธิบ่อยๆ จิตจะมีกำลังมากขึ้น กายที่ป่วยอยู่ไม่ส่งผลกระทบกับจิตแต่อย่างใดทั้งสิ้น จิตยังคงเข้าออกสมาธิได้ปกติ กำหนดเข้าออกตอนไหนๆก็ได้

อันนี้เล่าสู่กันฟัง กว่าเราจะกำหนดให้จิตเข้าออกสมาธิตามใจนึกได้นี่ แรกๆเราใช้วิธีบังคับก่อนนะ บังคับลมหายใจนี่แหละ โดยการเพ่งลมหายใจ นี่เป็นเทคนิคส่วนตัว ซึ่งเราเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ตัวสภาวะเป็นผู้มาสอน แต่ตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าสภาวะเขามาสอน แรกๆก็สงสัยนะ ทำไมหายใจแบบนั้น เหมือนบังคับลมหายใจ ถ้าเปรียบเหมือนรถ คือ สตาร์ทเครื่องแล้วติดๆดับๆ มีสำลักเป็นพักๆ แต่พอหายใจเข้าที่เข้าทางได้คล่อง เรียกว่ารู้ทางแล้ว ไม่ต้องไปบังคับอีกเลย

จิตเองก็เช่นเดียวกัน พอเข้าออกสมาธิจนคล่องแล้ว เขารู้ทางของเขาเอง เขาเกิดเองได้ตลอดตามที่เราต้องการ กำหนดได้ทันที แค่เอาจิตรู้อยู่ในกาย รู้อยู่อย่างนั้น สมาธิจะเกิดอย่างต่อเนื่องเอง ถ้าคิดจะหยุดก็หยุดได้ทันที

ชอบการเจริญสติยิ่งนัก

การเจริญสติ ทำให้เรามีสติรู้เท่าทันจิต กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ทำให้ไม่ไหลไปหาทั้งอดีตและอนาคต มันจะอยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้นเรื่อยๆ รู้อยู่ในกายได้ชัดบ่อยๆ

เมื่อรู้อยู่ในกายได้ การที่จะรู้ชัดในจิต ย่อมรู้ได้ง่ายมากขึ้น แรกๆอาจจะไม่รู้ รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แล้วจะรู้ชัดขึ้นเรื่อยๆเอง แล้วจะเห็นจิตโสโครกได้ชัดเจน เพียงแต่จะยอมรับตามความเป็นจริงไหมเท่านั้นเอง

จิตดีไม่ต้องไปพูดถึง เพราะการคิดเข้าข้างตัวเองว่าตัวเองนั้นดี เป็นเรื่องปกติ แต่ที่ว่าจิตตัวเองโสโครกนี่สิ มองเห็นหรือยังเท่านั้นเอง แล้วยอมรับได้ไหมว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ กิเลส ตัณหา ความทะยานอยาก ฯลฯ

น้ำซึมบ่อทราย

อย่าดูแค่เปลือก

คนเรามองแค่เปลือกหรือสิ่งที่มองเห็นแค่ภายนอก แล้วคาดเดาเอาว่า สิ่งที่มองเห็นต้องเป็นอย่างงั้นอย่างงี้กันไม่ได้หรอก เพราะโดยสภาวะที่แท้จริงของแต่ละคนนั้น บางคนภายนอกอีกอย่าง ภายในนั้นอีกอย่าง คนละเรื่องกันเลย

เรื่องนี้คนที่ทำงานได้มาเล่าให้ฟัง เขาได้พบเจอแม่บ้านสองคนที่เรียนอภิธรรมทางไปรษณีย์ แล้วไปเจอกันที่วัดยานนาวา เขาบอกว่าแต่งตัวแม่บ้านมากๆ อายุประมาณ๕๐ถึง๖๐ปี คุยกันจุ๊กๆจิ๊ก มองภายนอกเหมือนแม่บ้านทั่วๆไป แต่พอคุยด้วยที่ไหนได้

เราบอกกับเขาว่า เพราะคุณยังติดมองคนที่เปลือกไง เรื่องปกติโดยทั่วๆไปน่ะแหละ คนเรามักมองภายนอกแล้วให้ค่าตามความคิดของแต่ละคนตามสิ่งที่มากระทบ เขาบอกว่านั่นน่ะสิ

เขามาส่งการบ้านด้วยว่า ตอนนี้เขาเริ่มนั่งได้ถึงสามสิบนาทีแต่ก้รู้ตัวได้บ้าง แต่ดีกว่าเมื่อก่อน เราถามเขาว่า ได้เดินก่อนนั่งหรือเปล่า เขาบอกว่าเวลามันน้อย เลยเดินแค่เจ็ดแปดรอบแล้วนั่งต่อ เขายังชอบนั่งอยู่ ตรงนี้เราบอกเขาว่า แล้วแต่เหตุนะ เขาก็ยิ้มแล้วเล่าเรื่องแม่บ้านต่อ

( ที่เราพูดว่าแล้วแต่เหตุ แต่ไม่อธิบายอะไรต่อ เนื่องจากเห็นว่า สาภวะของแต่ลคนย่อมเป็นไปตามเหตุที่แต่ละคนทำมา เราจะไปกำหนดกฏเกณฑ์อะไรกับเขาไม่ได้ ให้เขาทำตามสภาวะของเขาดีที่สุด เรียนรู้ที่จะผิดพลาดด้วยตัวเอง เพื่อที่จะรู้แนวทางที่ถูกต้องสำหรับตัวเอง อันนี้ต้องทำเอง แล้วจะรู้เอง ไม่ใช่รู้โดยผู้อื่นมาทำให้ )

แม่บ้านเล่าให้เขาฟังว่า ตั้งแต่เรียนอภิธรรมจบมา เขาทุกข์น้อยลง คือเชื่อในเหตุ ว่าทำอย่างไร ย่อมรับผลเช่นนั้น เขาเลยไม่ไปทุกข์ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขาแบบก่อนๆ เมื่อก่อนเวลามีเรื่องอะไรก้ตาม จะทุกข์ใจมากๆ ตั้งแต่เรียนอภิธรรมจนจบมา ทำให้เขาเข้าใจเรื่องเหตุ เดี๋ยวนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เขามองแค่เหตุ มันเลยทำให้เขาทุกข์น้อยลง แล้วตัวเขาเองอยู่แถวตรอกจันทร์ เลยมาเรียนสมาธิที่วัดยานนาวา อาศัยความสะดวก ไม่ได้ไปตามวัดที่ใครๆแนะนำมา

เราบอกกับเขาว่า นี่เห็นไหม เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป บางคนทำแทบตาย ทั้งเดินจงกรม นั่งสมาธิ ยังไม่สามารถรู้ลึกซึ้งถึงเรื่องของเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ ยังคงทุกข์เหมือนเดิมๆ เรื่องเหตุนี่สำคัญมากๆนะ ถึงบอกไงว่า จุดเริ่มต้นหลายๆคนอาจจะแตกต่างกัน แต่สุดท้ายรู้เหมือนๆกันหมด ไม่มีความแตกต่างเลย

เห็นความก้าวหน้าทางจิตของคนที่ปฏิบัติรอบๆตัว แล้วทำให้เกิดปีติมากๆ สุขไหนเล่าจะสุขเท่ากับการให้ธรรมะเป็นธรรมทาน เมื่อเราสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีที่พึ่งพาสำหรับตัวเองได้อย่างมั่นคงแล้ว เราย่อมช่วยแนะนำชี้แนวทางให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ วันนี้อาจจะพึ่งพาตนเองได้แค่นี้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละคนที่ทำมาทั้งในอดีตและปัจจุบันที่กำลังทำอยู่

ในเมื่อปัจจุบันกำลังสร้างแต่เหตุดี เหตุดีคือการดับที่เกิดเหตุทั้งปวงคือการยึดมั่นอุทานในตัวกูของกูในรู้ที่มีอยู่ที่คิดว่ารู้ เมื่อเข้าใจถึงและเข้าใจตรงนี้ได้ เหตุใหม่จะสร้างเพราะอุปทานที่เกิดจากการให้ค่าย่อมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และเหตุทั้งหลายทั้งปวงที่จะเป็นการก่อภพชาติใหม่จะงอกเงยจากที่ไหนได้ ในเมื่อมีแต่ดับสิ้นไป ผลที่จะเกิดเพราะเหตุนั้นๆย่อมดับสิ้นตามไปด้วย ไม่มีเหตุจะมีผลไปได้อย่างไร

อีกหน่อยทีมงานที่เราทำอยู่ด้วยนี้จะเป็นทีมที่มีคุณภาพที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม มีแต่ให้กับให้คือให้ทั้งเนื้องานทางอาชีพที่ถูกต้องและให้ทั้งแนวทางการดำเนินชีวิตที่พอเพียงในเหตุที่รู้จักกับคำว่า ” เพียงพอ ”

เพียงพออะไรล่ะ เพียงพอใจในทุกสรรพสิ่งที่ตนนั้นมีอยู่ เมื่อรู้จักคำว่า ” พอใจ ” แล้ว ย่อมไม่ไปใฝ่คว้าตะเกียกตะกายหาเหตุแห่งกิเลสมาปกปิดดวงจิตให้มืดมิดอีกต่อไป

เรื่องการเจริญสติ การฝึกจิตให้รู้อยู่ในกาย สิ่งที่เราพูดๆอธิบายให้คนรอบๆตัวตลอดจนคนที่เข้ามาคุยด้วยได้ผลนะ เพราะคนเริ่มเข้าใจเรื่องการเจริญสติมากขึ้นเรื่อยๆ

การเจริญสติ การฝึกจิตให้รู้อยู่ในกายไม่ใช่แค่การเดินจงกรมกับนั่งสมาธิเท่านั้น อะไรก็ได้ที่ทำให้รู้อยู่ในกาย ทุกๆสภาวะของแต่ละคนล้วนแตกต่างกันไปตามเหตุที่กระทำมา แม้กระทั่งในเรื่องการเจริญสติ

น้องที่ทำงานไปถือศิลปฏิบัติที่วัดมา ดีนะเขารู้จักการใช้วิธีเจริญสติให้เกิดประโยชน์กับตัวของเขาตลอดจนญาติพี่น้องของเขาเอง วันนี้เขาเข้ามาหาพร้อมๆกับนำงานถักกล่องกระดาษทิชชูที่ยังถักไม่เสร็จมาด้วย เขาบอกว่านี่แหละงานเจริญสติของเขาตอนที่อยู่ที่วัด

เขาเล่าให้ฟังว่า พี่สาวเขาถามว่าทำไมถึงมาถักของพวกนี้ที่วัดทั้งๆที่มาปฏิบัติ
เขาตอบว่า นี่แหละการเจริญสติ ทำอะไรก็ได้ให้จิตรู้อยู่ในกายหรือที่กายนี้ ไม่ก็ไปสวดมนต์นั่งภาวนาก็ได้ อะไรก็ได้ที่ทำให้จิตมันอยู่กับกาย ไม่ใช่ไปนั่งพูดคุย นั่งนินทาชาวบ้านกัน ทำแบบนั้นจะเอาสติ เอาบุญมาจากที่ไหน ศิลขาดหมด มาทั้งทีต้องเอาดีกลับไป ไม่ใช่ไม่ได้อะไรกลับไปเลย

เรายิ้มเลยนะ น้องเขาเปลี่ยนไปเยอะมากๆ เข้าใจเรื่องการเจริญสติมากขึ้น สามารถอธิบายให้คนอื่นๆฟังและนำไปปฏิบัติตามกันได้ ส่วนใครจะทำแบบไหน นั่นก็แล้วแต่เหตุของคนๆนั้น ไม่ได้ไปยัดเยียดรูปแบบให้ทำ ให้ทำตามเหตุ ตามสภาวะของแต่ละคน

เหมือนตัวเราเอง วันๆ เดินสลับกับยืนเย็บผ้ามั่ง ถักโครเชท์มั่ง ใช้เวลา ๑ชม.มั่ง ๒ ชม.มั่ง ๓ ชม.มั่ง ไม่แน่นอน แล้วจึงค่อยกำหนดนั่งต่อ สมาธิที่เกิดขึ้นก็แนบแน่นดี นับวันมีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ รู้อยู่ในกายได้ชัดดี ปัญญาในการคิดพิจรณาเกิดขึ้นเนืองๆ สมาธิก็ได้ สติ สัมปชัญญะก็ได้

แม้กระทั่งเวลาที่อยู่ที่บ้านเราก็ทำแบบนี้แหละ ดูเวลาเลยเวลาทำอะไรก็ตาม ให้รู้อยู่ในกาย รู้อยู่กับสิ่งที่ทำ พอใจแค่ไหน ทำแค่นั้น ตามสะดวก แม้กระทั่งรีดผ้าเราก็จับเวลา เริ่มรีดกี่โมง เสร็จกี่โมง หลังจากนั้นกำหนดนั่งต่อเลย จิตเป็นสมาธิดี แนบแน่นดี รู้กายได้ตลอด ตรงนี้เป้นการใช้เจริญสติในอิริยาบทย่อย

ส่วนอิริยาบทหลักที่จะขาดเสียไม่ได้เลยคือ เดินกับนั่ง เวลาทำเต็มรูปแบบ ให้เดินก่อนที่จะนั่ง ใช้ในการปรับอินทรีย์ เพื่อความสมดุลย์ระหว่างสติ สัมปชัญญะกับสมาธิ เพราะว่าถ้าสมาธิมากไปไม่ดี จะทำให้ขาดการรู้กาย ไปติดนิ่งในสมาธิ เรียกว่าสมาธิล้ำหน้าสติ ส่วนสติ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะเป็นเหตุให้ตัวสัมชัญญะเกิดขึ้นได้ง่ายหรือไวมากขึ้น

สติดี สมัชัญญะดี ย่อมเป็นเหตุให้สมาธิที่เกิดขึ้นแนบแน่นดี รู้ชัดอยู่ในกายได้ดี ตัวปัญญาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ โดยไม่ต้องไปทำแบบหวังผลอันใดเลย เพราะสร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

นี่เห็นไหม งานก็ได้ ชิ้นงานก็ได้ งานประจำก็ไม่เสีย บ้านช่องก็เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้นเรื่อยๆ จากคนที่เคยขี้เกียจสุดๆ มาเป็นคนเริ่มรู้จักทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นคนที่มีความละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักจับจ่ายใช้สอยตามพอเหมาะพอควรในสิ่งที่มองว่าจำเป็น

ระหว่างวัน

เช้านี้เดินสลับยืน ๒ชม. แล้วนั่ง สมาธิแนบแน่นดี รู้กายได้ชัดดี ๑ ชม. ช่วงบ่ายทำไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีคนมาหาตลอด มาได้ช่วงก่อนกลับบ้านหนึ่งชม.เต็มๆ
วันนี้ขากลับขณะที่นั่งในรถรับส่งของบริษัท จิตเป็นสมาธิอย่างต่อเนื่อง รู้ชัดในกายได้ตลอด เสียงทีวี เสียงเด็กร้อง เสียงเครื่องยนต์รถทำงาน ทุกอย่างแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ไม่ปะปนกัน จับรายละเอียดได้หมด

ทดลองลืมตาดู เพื่อจะดุว่า จิตสามารถเป้นสมาธิได้ต่อเนื่องหรือไม่ ปรากกว่า ถึงแม้จะลืมตาขึ้นมา มองไปข้างหน้า มองไปรอบๆตัว จิตยังคงเป็นสมาธิได้อย่างต่อเนื่อง นี่เป็นครั้งแรกที่เจอกับสภาวะนี้ คือสามารถลืมตาทำสมาธิ เสียงที่ดังรอบๆตัว ไม่ส่งผลต่อสภาวะที่จิตกำลังเป็นสมาธิแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าจะลืมตาทำสมาธิก็ตาม

หัวค่ำ ขึ้นไปรีดผ้า พับผ้า เสร็จแล้วต่อด้วยการนั่ง ข้างล่างเปิดเพลงเสียงดัง ยังไม่ได้ปิด เสียงได้ยินถึงในห้อง ขณะที่นั่ง จิตเข้าสู่สมาธิได้ทันที แนบแน่นดี รู้ตัวได้ตลอดจนครบหนึ่งชม. โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาแต่อย่างใด

ตอนนี้สภาวะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ รู้ชัดในกายได้มากขึ้นเรื่อยๆ นานมากขึ้น สมาธิมีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ จิตเริ่มเป็นสมาธิได้ทุกอิริยาบท แม้กระทั่งขณะที่ลืมตาปกติ อยู่ท่ามกลางเสียงอึกทึกก็สามารถกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิได้ เรียกว่า รู้ทั้งนอกและใน แต่ทุกๆสภาวะจะแยกออกจากกันเป็นส่วนๆไม่มาปะปนกันแต่อย่างใด มีบางครั้ง จิตมันติดใจกับการรู้อยู่ในกาย มันไม่อยากถอนออกจากสมาธิ อยากรู้อยู่ในกายอยู่อย่างนั้น เวลาที่กำหนดออกมาแล้ว สมาธิยังมีค้างอยู่ เวลาเคลื่อไหวกายหรือกำลังเดินนี่ รู้ชัดที่การเคลื่อนไหวของกาย ตลอดจนเท้าที่กระทบพื้น รู้สึกได้ชัดมากๆ จิตเกิดความอิ่มเอมตลอดขณะที่กำลังเดิน

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ