สัตบุรุษและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น

มีคำถามว่า คำว่าสัตบุรุษ
คำตอบ ต้องปฏิบัติให้ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งได้มรรคผลตามลำดับ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
วิชชา ๑
วิชชา ๒
วิชชา ๓
แล้วบุคคลที่ปฏิบัติมีกำลังสมาธิต่ำกว่าเนวสัญญาฯ
จะเรียกว่าอะไร
ก็เรียกตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า
พระโสดาบัน สกทาคามี อนาคมมี อรหันต์
ทุกๆคำที่เรียกที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ มีเรื่องของอินทรีย์ ๕
โดยเฉพาะสมาธินทรีย์และปัญญินทรีย์ มาเกี่ยวข้อง
ปัญญิณทรีย์ในที่นี้ ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ไม่ใช่จากการท่องจำ
จะเป็นความรู้เห็นที่มีเกิดขึ้นเฉพาะตน

คำว่าสัปบุรุษ คำว่าปริสบุคคล ก็มีลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
มีเรื่องของอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
ก็เหมือนคำว่าปัญญาวิมุตติ อุภโตภาควิมุตติ
ก็มีเรื่องของินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง

๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว
ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว
เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป
สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล
เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่
จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้
และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้
อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่
จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น
ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ
ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุดังนี้นั้น
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่
พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

พระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็นอนาคต
หลังพระองค์ทรงปรินิพพาน
จะมีสาวกได้แต่งคัมภีร์ขึ้นมาใหม่ เป็นเรื่องของสุญญตา
ที่สาวก ยังไม่แจ่มแทงแทงตลอดในตัวสภาวะ(อรรถะ) ตัวพยัญชนะ
ย่อมสำคัญผิด คิดว่าควรควรศึกษา
“เมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้
อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่
จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ”

อันนี้มีจริงๆนะ ในปัจจุบันยังนำตำรานี้มาใช้สอนกันอยู่ แพร่หลาย

คำว่า สุญญตา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง
หมายถึงสภาวะของสัตบุรุษ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ตั้งแต่แรกเริ่ม ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งได้โสดาปัตติผลตามจริง
แจ้งสุญญตาที่มีเกิดขึ้นในตน
คือละสักกายทิฏฐิที่มีเกิดขึ้นตามจริง เป็นสมุจเฉท ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีก

ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง อินทรีย์ ๕ แก่กล้า บรรลุเร็ว วิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามจริง
ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง อินทรีย์ ๕ แก่กล้า บรรลุเร็ว วิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะปรากฏตามจริง โดยตัวของสภาวะเอง
จะแจ่มแจ้งในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้และบัญญัติไว้
ที่มาในรูปของพระสูตร


ลักษณะของสภาวะคำว่า สัตบุรุษ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

ประโยชน์ต่อตนและผู้อื่น
ด้วยการเข้าถึงวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง

โสดาปัตติผล วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นตามจริง
ดับเฉพาะตน สอนได้เพียงศิล และสมาธิ ปัญญายังไม่กว้าง

อนาคามิผล วิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามจริง
ดับเฉพาะตน สอนได้เพียงศิล และสมาธิ ปัญญายังไม่กว้าง

อรหัตผล วิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน
ดับเฉพาะตนและสามารถให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ สามารถเข้าถึงวิชชา ๓ ได้
สีลปาริสุทธิ จิตตปาริสุทธิ ทิฏฐิปาริสุทธิ วิมุตติปาริสุทธิ
คือเป็นผู้ที่มีปัญญากว้าง

๕. มหาวรรค
ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
องค์ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
คือ ศีล ๑ จิต ๑ ทิฐิ ๑ วิมุตติ ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล
อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ

อังคสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑
ละพยาบาทได้แล้ว ๑
ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล

ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ
และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ
ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ละองค์ ๕ สมบูรณ์ล้วด้วยองค์ ๕
ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้ ฯ

อธิบาย

“เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑
ละพยาบาทได้แล้ว ๑”
ได้แก่ มีเกิดขึ้นในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
อัปปณิหิตวิโมกข์
ละสักกายทิฏฐิลงไปได้
โคตรภูญาณหรือมุดรู มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติปาริสุทธิเกิดตามจริง
วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔

ละกามตัณหาและวิธีการการดับกามตัณหา
สีลปาริสุทธิ

“ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑”
ได้แก่ อนาคามิมรรค อนาคามิผล
สุญญตวิโมกข์ มีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตานุทิฏฐิลงไปได้
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
วิมุตติปาริสุทธิเกิดตามจริง
วิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามจริง

แจ้งอริยสัจ ๔
ละภวตัณหาและทำให้รู้วิธีการดับภวตัณหา
จิตตปาริสุทธิ

“ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑”
ได้แก่ อรหัตมรรค อรหัตผล
อนิมิตตวิโมกข์ มีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตวาทุปาทานลงไปได้
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
วิมุตติปาริสุทธิเกิดตามจริง
วิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง

แจ้งอริยสัจ ๔
ละวิภวตัณหาและวิธีการดับอวิชชา
ทิฏฐิปาริสุทธิ ละทิฏฐิ ๖๒ ประการ
สิ้นสงสัยนิพพาน
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ดับตัณหา ๓ ดับอุปาทาน ๔ ดับกามภพ ดับรูปภพ ดับอรูปภพ

เป็นความรู้เห็นของสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในคำว่า สัตบุรุษ
เป็นบุคคลที่ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
อินทรีย์ ๕ แก่กล้า บรรลุมรรคผลตามลำดับ

๕.สุนักขัตตสูตร(๑๐๕)
[๗๓] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
พึงเป็นผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออกเป็น ๒ ซีกแล้ว
ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด
ดูกรสุนักขัตตะฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของปุริสบุคคล
ผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า
เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ฯ

[๗๔] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
พึงเป็นผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกใจอิ่มหนำแล้ว พึงทิ้งเสีย
ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เขาจะพึงมีความปรารถนาในภัตนั้นบ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. นั่นเพราะเหตุไร ฯ
สุ. เพราะว่าภัตโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายได้แล้ว
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า
เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯ

[๗๕] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ
คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
ไม่คบคนชนิดนั้นและไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก ฉันใด

ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
ตัดขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุตั้งอยู่ได้ดังต้นตาล
ถึงความเป็นไปไม่ได้แล้ว มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น
พึงทราบเถิดว่าเป็นปุริสบุคคล ผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯ


๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว
ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว
เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป
สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล
เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่
จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้
และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้
อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่
จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น
ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ
ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุดังนี้นั้น
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่
พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

อันนี้มีจริงๆนะ ในปัจจุบันยังนำตำรานี้มาใช้สอนกันอยู่ แพร่หลาย

คำว่า สุญญตา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง
หมายถึงสภาวะของสัตบุรุษ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ตั้งแต่แรกเริ่ม ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งได้โสดาปัตติผลตามจริง แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
แจ้งสุญญตาที่มีเกิดขึ้นในตน เกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในเนวสัญญาฯ ขณะนั้นๆ
ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง อินทรีย์ ๕ แก่กล้า บรรลุเร็ว วิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามจริง
ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง อินทรีย์ ๕ แก่กล้า บรรลุเร็ว วิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะปรากฏตามจริง โดยตัวของสภาวะเอง
จะแจ่มแจ้งในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้และบัญญัติไว้
ที่มาในรูปของพระสูตร

ลักษณะและคำพูดของสัตบุรุษ

ฟังธรรมจากสัตบุรุษ

สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

๑๐. เทวทูตสูตร (๑๓๐)
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า
สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว
บังเกิดในหมู่มนุษย์ก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว
เข้าถึงปิตติวิสัยก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว
เข้าถึงกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี ฯ

สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๒ ฟังธรรมจากสัตบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

อปริหานิสูตร
[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ ชื่อว่าย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ๑
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑
เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งมีความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมประพฤติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหู …
ดมกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ชื่อว่ารักษามนินทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว
ย่อมกลืนกินซึ่งอาหารมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา
มิใช่เพื่อประเทืองผิว มิใช่เพื่อจะตกแต่ง
เพียงเพื่อร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป
เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยหวังว่า จักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้บังเกิดขึ้น
ความเป็นไป ความที่ร่างกายไม่มีโทษ และความอยู่สำราญจักมีแก่เรา
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า
มีสติสัมปชัญญะ มนสิการความสำคัญในอันจะลุกขึ้น
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ลุกขึ้นแล้วย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ ชื่อว่าย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว ฯ

ภิกษุผู้ดำรงอยู่ในศีล
สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ
และย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่
ภิกษุผู้มีปรกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านตลอดวันและคืน
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อถึงความเกษมจากโยคะ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท หรือมีปรกติเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ชื่อว่าประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

๘. อินทรียสังวรสูตร
[๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออินทรียสังวรไม่มี
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อศีลไม่มี
สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อไม่มีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ
ย่อมมีนิสัยถูกกำจัด

เมื่อไม่มีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด

เมื่อไม่มีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด

เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด

เมื่อไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะ ของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด

เมื่อไม่มีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้
มีกิ่งและใบวิบัติ กระเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย
เมื่อมีศีล สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้สมบูรณ์
ด้วยกิ่งและใบ กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

= อธิบาย =

คำว่า นิพพิทา
ได้แก่ ความเบื่อหน่ายในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า วิราคะ
ได้แก่ ละตัณหา
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕(ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕)

สัตบุรุษและสัปบุรุษ

17 กรกฎาคม เวลา 18:03 น.

สัตบุรุษ
รู้เฉพาะตน ดับเฉพาะตนและสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้(ปัญญา)
ได้แก่
กายสักขี
ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุต
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ละราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
มี ๒ ประเภท
สุขาปฏิปทา วิมุตติมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ทุกขาปฏิปทา วิมุตติมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

สัปบุรุษ
รู้เฉพาะตน ดับเฉพาะตนและสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้(ปัญญา)
ได้แก่
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ครั้งที่ ๒
ละราคะ โทสะ
ได้แก่ สกทาคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)


สรทสูตร
[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหก
ในเมื่อสรทสมัยยังอยู่ห่างไกล อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า
ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว
ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่อริยสาวก
อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด
พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก
ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑
อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ
พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ปราศจากธุลี
ได้แก่ ละนิวรณ์ สิ้นสงสัย

“สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด
พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ”
ได้แก่ โสดาปัตติผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง(วิชชา ๑)

คำว่า พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงครั้งที่ ๑
มีเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านี้
กายสักขี
ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุต
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ละราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง

“ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑”
ได้แก่ ละความโลภ ละความพยาบาท
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ครั้งที่ ๒
ละราคะ โทสะ
ได้แก่ สกทาคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ”

คำว่า พึงทำกาละในสมัยนั้น
ได้แก่ สิ้นชีวิตขณะนั้นๆ

คำว่า เธอย่อมไม่มีสังโยชน์
ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ
พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ
ได้แก่ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

๗. กามสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคล
ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (แต่)
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคล
ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
พรากแล้วจากภวโยคะ
เป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบตนด้วยกามโยคะและภวโยคะทั้งสอง
ชื่อว่ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ

ส่วนสัตว์เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบด้วยภวโยคะ
สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพระอนาคามี

ส่วนสัตว์เหล่าใด ตัดความสงสัยได้แล้ว
มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว
ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว
สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

= อธิบาย =

“บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
ได้แก่ ตอนมีชีวิต

“พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (แต่)
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้”
ได้แก่ มีเกิดขึ้นขณะกาละ ปรินิพพาน

คำว่า กามโยคะ
ได้แก่ กามตัณหา

คำว่า ภวโยคะ
ได้แก่ ภวตัณหา

คำว่า สิ้นอาสวะแล้ว
ได้แก่ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

สัตบุรุษ-อสัตบุรุษ

สัปปุริสสูตร

http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd14-2.htm

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ