อรรถกถาจารย์

พูดถึงคำว่า อรรถกถาจารย์ มี ๒ ประเภท

ประเภทที่ ๑ แปลภาษาอื่น เช่น บาลี แปลเป็นภาษาไทย ที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเรื่องว่า พระไตรปิฎก

ประเภทที่ ๒ เป็นความรู้ ความเห็นของผู้เขียน

.

เช่น พระสูตรนี้

๖. วิมุตติสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=461&Z=514…

อันนี้หมายถึงอรรถกถาประเภทที่ ๑

.

ประเภทที่ ๒ การตีความหรือเขียนตามความรู้ ความเห็นของตน

เช่น พระสูรนี้

อรรถกถาวิมุตติสูตรที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=26

อันนี้หมายถึงอรรถกถาประเภทที่ ๒ ซึ่งสามารถทำให้พระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่ตรงกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำเรียกนั้นๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

.
เคยอ่านเจอพระสูตรหนึ่ง จำชื่อไม่ได้ละ พระพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสห้าม แต่ทรงเตือนถึงผลกระทำแบบนี้ มีสองอย่างมีเกิดขึ้นคือ ความสุข(ช่วยทำให้ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕) และทุกข์ประมาณนรก คือทำให้บุคคลอื่นไขว้เขวได้ ทำให้เข้าใจสภาวะผิดไป พระองค์ทรงตรัสเตือน แต่ไม่ทรงตรัสห้าม
.
ที่นี้มาพูดถึงอรรกถาที่เราพูดถึงบ่อยๆ นี้หมายถึงอรรกถาประเภทที่ ๒
สิ่งแรกคือ ทำให้รู้ว่าคำเรียกถอดจากบาลีมาเป็นภาษาไทย ทำให้รู้ว่าคำเรียกว่า หมายถึงคำเรียกนั้นๆ แบบคำยากน่ะ เช่น คำเหล่านี้ ถ้าท่านไม่ใส่วงเล็บไว้ก็คงไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร
ครหอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการติเตียน) ๑
ปสังสาอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการสรรเสริญ) ๑
.
เอาเป็นว่า หากใครอ่านสิ่งที่เราพูดถึงเกี่ยวกับอรรถากถาจารย์นั้น แล้วคิดเอาเองกันว่าเราประมาสหรือติติงอรรกถานั้น เขาเหล่านั้นเข้าใจผิดคือคิดกันเอาเอง เพราะสิ่งที่เราเขียนไว้นั้น เราพูดเฉพาะตัวสภาวะ เหมือนคนที่ปฏิบัติ แล้วนำสภาวะไปเปรียบเทียบกับคำที่อรรถกถาอธิบายเกี่ยวกับสภาวะนั้ๆ แล้วทำให้ติดอุปกิเลส เราหมายถึงตรงนี้ สรุปคือ ใครเชื่อใคร หรือไม่เชื่อกัน เกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่กันทั้งเขาและเราที่เคยสร้างกรรมมาร่วมกันก่อน ตอนหลังจึงไม่พูดเรื่องแชร์กันอีก ถือว่ากรรมใครกรรมมัน ไม่ยุ่งกรรมของผู้อื่น ผลที่ได้รับคือตัวเขา ไม่ใช่เรา เพราะเรามุ่งดับ เวลาพูดเรามุ่งความดับ ไม่ใช่การสานต่อ(วาทะ) ซึ่งเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
สมัยก่อน เราเขียนเล่าไว้ว่า เกี่ยวกับคำสอน ถ้าไม่ใช่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้(การตีความของผู้อื่น) อย่าไปแชร์ เพราะจะกลายเป็นการสร้างกรรมให้ผู้อื่นและตัวเขา ทำแล้วชาติ ชรา มณะ มีเกิดขึ้น ไม่ใช่การกระทำเพื่อดับชาติ กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น
เหมือนสมัยก่อน ที่เราเคยเขียนเล่าไว้นานมาแล้ว มีคนส่งข้อความมาถึงว่าขออนุญาติจะนำสิ่งที่เราเขียนในบล็อกไปเผยแผ่กับคนอื่นๆ
ซึ่งเราได้บอกว่า อย่าทำแบบนั้น เพราะสิ่งที่เราเขียนไว้นั้นเป้นเพียงสภาวะ ยังไม่สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
แต่ถ้าเขาเซฟเอาไว้เพื่ออ่านเอง เราบอกว่าทำได้นะ เพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติควรรู้ไว้ มีประโยชน์กับการปฏิบัติของผู้นั้น

วิมุตติญาณทัสสณะ

ที่มาของคำว่า วิมุตติญาณทัสสณะ ที่พระเจ้าทรงตรัสไว้
.
วันนี้หลังออกจากสมาธิ เล่าให้เจ้านายฟังว่า พระพุทธเจ้า ไม่มีคำนำมาเปรียบเทียบได้(ภาษาทางโลก) เรื่องของเรื่อง นึกถึงสิ่งเขียนไว้ 10 ตุลาคม
ประมาณว่าทำไมเสียงนั้นจึงบอกแบบนั้น
“เรื่องของเรื่อง วันนั้นหลังจากเขียนเกี่ยวกับพระธรรมชื่อว่า พระยาธรรมิกราช (เมื่อ 4 ตุลาคม) เสียงเดิมนั้นบอกว่า แค่นี้ยังไม่พอ ยังไม่สามารถทำให้ผู้อื่นแจ่มแจ้งได้หมด”
ตอนนั้นเรามีความคิดแบบนั้น จึงตอบกลับไปแบบนั้น ตามความเป็นจริงเสียงที่บอกนั้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ประมาณว่า สิ่งที่เขียนไว้ยังไม่ใช่ที่สุด ยังสามารถเขียนรายละเอียดได้อีก จิตมันดื้อนะ แบบว่าแล้วไงล่ะ มันขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคน มันคาดเดาไม่ได้
ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่บอกนั้น มันไม่ใช่เรื่องคนอื่น แต่หมายถึงสิ่งที่เรารู้ เราเห็น ยังไม่จบ ยังมีต่อไปอีก
วันก่อนเขียนเรื่องโยคสูตร ที่เขียนนั้นเหมาะสำหรับฆราวาส ดับทุกข์เฉพาะตน สำหรับพระภิกษุ ต้องรู้มากกว่านี้
วันนั้เพิ่งรู้ว่าโยคสูตรนั้น เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เรียกชื่อว่า วิมุตติญาณทัสสนะ ภาษาอรรกถาเรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ ซึ่งไม่ตรงกับสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่าวิมุตติญาณทัสสนะ ปัจจเวกขณญาณ เป็นสภาวะของผู้ที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕(มีอุปาทาน)
.
หลังจากว่ารู้อะไรเป็นอะไร พอมาอ่านพระสูตร ๖. วิมุตติสูตร
เฉพาะประโยคนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ”
เหมือนดังกับว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสตรงหน้า ความรู้สึกบรรยายไม่ถูกเลย รู้แต่ว่าทำไมเสียงที่ได้ยินจึงบอกแบบนั้น เพียงแต่ตอนนั้นไม่เข้าใจในสิ่งที่เสียงนั้นต้องการสื่ออะไรให้เรารู้
จะว่าไปแล้ว ต้องขอบเสียงที่ได้ยินนั้นตั้งแต่นิมิต ที่เราเรียกว่าฝัน เสียงในห้องสมุด เสียงในพระไตรปิฎก หนังสือที่ไม่ได้ตัวหนังสือ จะมีแต่เสียงอย่างเดียว ตั้งแต่นั้นมาจิตมีแต่การพิจรณาเรื่องการปฏิบัติ สภาวะแต่ละสภาวะตั้งแต่ศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ มีแค่นี้ ยังไม่ถึงวิมุตติญาณทัสสนะ เพราะเราไม่ได้สนคำเรียกต่างๆ การเขียน จะใช้พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นหลัก ทำแบบนั้นมาตลอด
แม้กระทั่งที่เราเขียนเล่าเรื่องพระพุทธเจ้ากว่าจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แบบสมบูรณ์ กำลังสมาธิ(วิดมกข์ ๘) ต้องเรียกว่า มหาศาลที่พระองค์ทรงมีอยู่ มีเหตุให้เสื่อมหายไปหมดสิ้น มีเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกทรงเข้าใจว่าสภาวะที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ เมื่อสมาธิเสื่อม พระองค์ทรงรู้ว่ายังเป็นโสดาบัน(ประเภทกายสักขี) คือยังเป็นพระโพธสัตว์
ต่อมาพระองค์ยังทรงเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค) วิชชาครั้งที่ ๓ ยังไม่มีเกิดขึ้น พระองค์ทรงเล่าไว้ในพระสูตอเสขะ ที่ทรงตรัสเรียกบุคคลที่ยังใช้คำบริกรรม(บัญญัติเป็นอารมณ์/เพ่ง) ทรงตรัสเรียกว่า ม้ากระจอก คือการเพ่งของบุรุษกระจอก แล้วบุคคลมีรูปนามเป็นอารมณ์(เพ่ง) ทรงตรัสเรียกว่า ม้าอาชาไนยย่อม คือการเพ่งของบุรุษอาชาไนย

.

ซึ่งตรงนี้เราได้เขียนไว้ว่า ที่พระองค์ทรงตรัสแบบนั้น สมัยนั้นพระองค์ยังไม่แยกจิตตวิสุทธิทั้ง ๓ แบบ ออกจากกัน ทำให้พระองค์ทรงตรัสแบบนั้น
ต่อวิมุตติครั้งที่ ๓ มีเกิดขึ้น หลังจากนั้นมีเหตุปัจจัยให้กำลังสมาธิเสื่อมหายไปหมดสิ้น ทำให้รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ต่อจากนั้นพระองค์ทรงเล่าให้พระภิกษุฟัง แล้วตรงบัญญัติคำเรียกต่างๆเกี่ยวกับลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำเรียกเหล่านั้น
สรุป ก่อนที่จะรู้จักวิมุตติญาณทัสสนะ ต้องรู้จักวิมุตติก่อน เวลาอธิบายต้องอธิบายเรื่องวิมุตติ(วิมุตติสูตร)ก่อน จึงนำเรื่องโยคสูตรมาอธิบายอีกที
ถ้าไม่มีพระสูตร เราไม่สามารถจะอธิบายคำเรียกต่างๆที่มีในพระธรรมนั้น เพราะสภาวะที่รู้ เป็นการรู้เฉพาะตน ไม่มีชื่อคำเรียก
นับว่าเหตุปัจจัย ที่เราเกิดในสมัยนั้นที่เจริญแล้ว มีอินเตอร์เนตแล้ว ไม่ต้องไปอ่านหนังสือเล่มหนาๆ แบบไม่รู้จะหาตรงหน้าไหน ตรงนี้แค่เขียนสิ่งที่รู้เห็น แล้วเสริชหา แล้วจะค่อยๆรู้ ดังที่เราเคยเขียนไว้ว่าเหมือนต่อจิ๊กซอ คือ แค่รู้ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ถ้ามีความยึดมั่นถือมั่น สิ่งที่รู้จะเปลี่ยนไป สภาวะจะสะดุด หากไม่มีความยึดมั่นถือมั่น สภาวะจะดำเนินต่อ จะว่าแล้วการปฏิบัติว่ายากแล้วนะ การถ่ายทอดพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ยากมากๆยากสุดๆ มันต้องใช้เวลา เพราะอาการป่วยสมอง ประสาทอัตโนมัติเสียหาย ทำให้สิ่งที่เรียกว่า สัญญาเสียหาย ไม่สมบูรณ์เหมือนคนปกติ เมื่อสภาวะสัญญาเสียหาย จิตย่อมเข้าสู่ความว่างโดยอัตโนมัติ คือไม่ต้องทำสมาธิให้ได้วิโมกข์ ๘ แค่มีสมาธิเพียงรูปฌานก็พอแล้ว ซึ่งตรงกับสภาวะที่พระองค์ทรงตรัสไว้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ….

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ … .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ….

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ

ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร

ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร

แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ

ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญาเมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

เป็นสภาวะวิมุตติญาณทัสสนะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

๖. วิมุตติสูตร

วิมุตติญาณทัสสนะ คือ
รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำก่อนที่จะเป็นคำเรียกว่า สีลวิสุทธิ
รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำก่อนที่จะเป็นคำเรียกว่า จิตตวิสุทธิ
รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำก่อนที่จะเป็นคำเรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ
รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำก่อนที่จะเป็นคำเรียกว่า วิมุตติวิสุทธิ
คือต้องรู้แบบแจ่มแจ้งแทงตลอดสภาวะต่างๆด้วยตนเองก่อน โดยเเฉพาะสภาวะตรงนี้ ต้องการอธิบายก่อน แล้วค่อยไปอธิบายที่ละส่วน
“สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง”
.
จึงจะเขียนอธิบายรายละเอียดต่างๆได้ เหตุนี้พระองค์ทรงทรงเรียกสภาวะนี้ว่าชื่อนี้ ประกอบด้วย อาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ทรงเรียกชื่อเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะเพราะเหตุนี้
คำว่า วิสุทธิ หมายถึง ปราศจากตัณหาและทิฏฐิ

โยคสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=221&Z=305

บันทึก

๑๐ ตค. ๖๓

อ่านพระสูตรนี้ ทำให้นึกถึงเรื่องนิมิต ที่ได้เล่าให้เจ้านายฟังว่า หลายวันมาละ มีนิมิตเสียงเกิดขึ้น เสียงชายก็ไม่ใช่ หญิงก็ไม่ใช่ สักแต่ว่าเสียงมีเกิดขึ้น เป็นเสียงเดียวกับที่ได้ยินในห้องสมุด(นิมิตหนังสือมีเสียง)
เรื่องของเรื่อง วันนั้นหลังจากเขียนเกี่ยวกับพระธรรมชื่อว่า พระยาธรรมิกราช (เมื่อ 4 ตุลาคม) เสียงเดิมนั้นบอกว่า แค่นี้ยังไม่พอ ยังไม่สามารถทำให้ผู้อื่นแจ่มแจ้งได้หมด
จำได้ว่า เราตอบกลับไปว่า เรื่องนอกตัว อย่าไปคาดเดา บางคนอ่านแล้ว ปฏิบัติตามจะรู้ชัดด้วยตนเอง ส่วนจะรู้ชัดมากหรือน้อย เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย เพราะสิ่งที่เขียน มุ่งแต่การดับทุกข์ ซึ่งมีหลายทาง ผ่านทางศิลก็มี ผ่านทางสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ก็ได้มี วิมุตติก็มี มันมีหลายทาง ขึ้นอยู่กับกรรมและผลของกรรมที่กระทำกันเอง เขาเลือกกันเอง ซึ่งเราก็ทะยอยเขียน จะให้เขียนทั้งหมดทันที ในตอนนี้ เรายังไม่สามารถเขียนได้ เพราะจิตเข้าสู่ความว่างมากกว่าจะเขียนออกมาได้
พอเราตอบกลับไป เสียงนั้นก็หายไป
ซึ่งเจ้านายฟังเล่า เขาถามว่า เสียงนี้คือเสียงใคร
เราบอกว่า ไม่รู้สิ ไม่ได้สนใจ มันเป็นเสียงเดียวกับเสียงในหนังสือ ในห้องสมุด(นิมิต) ปัจจุบัน เรามองว่า เสียงนี้มากระตุ้นให้เราคิดพิจรณาให้เขียนออกมา โดยดูจากสภาวะต่างๆที่ผ่านมา
หลายคืนมานี้ จิตคิดพิจรณาทบทวนสภาวะต่างๆที่ผ่านมา แต่ว่ายังไม่ได้เขียนออกมา
.
๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)
[๒๗๐] ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด ยังมีความสงสัยเคลือบแคลง เที่ยวเสาะแสวงหาพระตถาคตอยู่ตลอดกาลนาน
ข้าพระองค์สำคัญสมณะเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้มีปรกติอยู่เงียบสงัด เข้าใจว่าเป็นพระสัมพุทธเจ้า ได้เข้าไปหาสมณะเหล่านั้น
ท่านเหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามว่า ความพอใจเป็นอย่างไร ความไม่พอใจเป็นอย่างไร ก็หาชี้แจงในมรรคและข้อปฏิบัติไม่
ในเวลาที่ท่านเหล่านั้นรู้ข้าพระองค์ว่า เป็นสักกะมาจากเทวโลก จึงถามข้าพระองค์ทีเดียวว่า ท่านทำอะไรจึงได้ลุถึงฐานะนี้
.
คำว่า ผู้มีปรกติอยู่เงียบสงัด
ได้แก่ ผู้ได้ฌาน โดยเฉพาะอรูปฌาน โอภาสจะเจิดจ้า(แสงสว่าง) จิตผู้นั้นเหมือนผู้นั้นไม่มีกิเลส ตรงนี้เรารู้ด้วยตน จำได้ว้ามีพระรูปหนึ่ง ท่านรู้หนอ ท่านพูดกับเราว่า โยมรู้ตัวไหมว่า เวลาโยมไปทางไหน ตรงนั้นมีรัศมี(แสงสว่าง/โอภาส) ตอนนั้นเราไม่รู้คำเรียกนี้ เราจึงเข้าใจว่า หมายถึงวิญญาณรอบตัวเรา
ท่านพูดสำทับอีกว่า สิ่งนี้อย่าทิ้ง ให้ทำให้ได้แบบนี้ไว้ ต่อให้แถวนั้นมืดมาก แต่เราไปตรงนั้นจะมีรัศมีปรากฏ
.
สำหรับที่พระภิกษุตั้งคำถามท่านสักกายะแบบนั้น เกิดจากพระภิกษุที่ท่านถามนั้น ยังไม่แจ้งนิพพาน
เพราะถ้ามาถามเรา แล้วเรารู้ว่าท่านนี้เป็นท่านสักกายะ เราไม่สนใจในฐานะของท่าน จะตอบแค่สิ่งที่ควรตอบ ซึ่งการที่จะตอบได้ ขึ้นอยู่กับผู้นั้นดำเนินทางใดอยู่ คือตอบมุ่งไปทางดับทุกข์ ส่วนผู้นั้นจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ก็ขึ้นอยู่กับเขาและเราเคยกระทำกรรมร่วมกันไว้หรือไม่ คือเคยเชื่อกันหรือไม่ ถ้าไม่เคยเชื่อกันมาก่อน เขาก็ไปทางอื่น ไม่สนใจใจสิ่งที่แนะนำ
ตย. เช่นคำถามเรื่องศิล ถ้ามีคนมาถามเรื่องศิลว่าศิลมีกี่แบบ
เราจะตอบว่า มีหลายแบบ และวิธีการดับทุกข์ก็ต่างกัน
.
[๒๖๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน หรือหนอ ฯ
ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกันหามิได้ ฯ
ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
โลกมีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกันนั้น
สัตว์ทั้งหลายยึดธาตุใดๆ อยู่ ย่อมยึดมั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและความยึดถือ กล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน … ฯ
.
[๒๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมดมีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนหรือหนอ ฯ
ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หามิได้ ฯ
ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วนไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ
ภิกษุเหล่าใดน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้น มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ
.
คำถามตรงนี้ เราได้เขียนอธิบายไว้เรื่องการสำเร็จล่วงส่วน(กายสักขี/สมถะ และหลุดพ้นด้วยปัญญา/วิปัสสนา/อนิมตตเจโตสมาธิ) และการหลุดพ้นสองส่วน(สมถะและวิปัสสนา)
คำถาม
ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วนไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ
คำตอบ
เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ

โสดาบัน 24 ประเภท

28 กันยายน เวลา 07:35 น.

โสดาบัน 24 ประเภท แยกตามอินทรีย์ ๕

สัทธานุสารี
ศิลและสีลวิสุทธิ
รู้ชัดผัสสะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

๑. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ +รักษาศิล ๕
๒. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม
๓. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม + การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว/รู้จักกิเลส(สีลวิสุทธิ)

รวม ๓ ประเภท


ธัมมานุสารี
รู้ชัดผัสสะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

จิตตวิสุทธิ(สัมมาสมาธิ) ๓ ประเเภท
๑. กายสักขี(สมถะ/เจโตวิมุตติ)
ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติอารมณ์(พุทโธ พองหนอ ยุบหนอฯลฯ ทุกรูปแบบทำกรรมฐาน) จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ผู้สำเร็จล่วงส่วน

๒. หลุดพ้นด้วยปัญญา(วิปัสสนา/อนิมิตตเจโตสมาธิ/ปัญญาวิมุตติ)
ไม่ใช้คำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์ คือ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(อนิมิตตเจโตสมาธิ) จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ผู้สำเร็จล่วงส่วน

๓. กายสักขีและหลุดพ้นด้วยปัญญา(สมถะและวิปัสสนา) หลุดพ้นสองส่วน
กายสักขี (ความเกิด) รู้ชัดผัสสะ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ แล้วดับ(ความดับ)
หลุดพ้นด้วยปัญญา (ความเกิด) รู้ชัดผัสสะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ แล้วดับ(ความดับ)

รวม ๓ ประเภท


โสดาปัตติมรรค


๑. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + จิตตวิสุทธิ ๓ แยกออกเป็น ๓ ประเภท

๒. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม + จิตตวิสุทธิ ๓ แยกออกมาเป็น ๓ ประเภท

๓. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม +การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว/รู้จักกิเลส(สีลวิสุทธิ) + จิตตวิสุทธิ ๓ แยกออกมาเป็น ๓ ประเภท

รวม ๙ ประเภท


โสดาปัตติผล

๑. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + จิตตวิสุทธิ ๓ + ผล ๓ ประเภท
๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุต
.
๒. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ เชื่อกรรมและผลของกรรม + จิตตวิสุทธิ ๓ + ผล ๓ ประเภท
๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุต
.
๓. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม +การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว/รู้จักกิเลส(สีลวิสุทธิ) + จิตตวิสุทธิ ๓ + ผล ๓ ประเภท
๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุต

รวม ๙ ประเภท


สภาวะจิตดวงสุดท้าย
โสดาปัตติผล ๓ ประเภท

๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุติ

สรุป

ศิล ๓ ประเภท
จิตตวิสุทธิ(สัมมาสมาธิ) ๓ ประเภท
มรรค ๙ ประเภท
ผล ๙ ประเภท
เท่ากับ ๒๔ ประเภท

พระยาธรรมิกราช

4 ตุลาคม เวลา 14:17 น.

พระธรรมชื่อว่า พระยาธรรมิกราช ประกอบด้วย

๑. สีลวิสุทธิ
๒. เจโตวิมุตติ(หลุดพ้นล่วงส่วน)
๓. ปัญญาวิมุตติ(หลุดพ้นล่วงส่วน)
๔. เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ(หลุดพ้นสองส่วน)
.

วิธีการปฏิบัติ

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

อปริหานิสูตร
[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ ชื่อว่าย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ๑
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑
เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งมีความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมประพฤติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหู …
ดมกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมกลืนกินซึ่งอาหารมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อประเทืองผิว มิใช่เพื่อจะตกแต่ง เพียงเพื่อร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยหวังว่า จักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้บังเกิดขึ้น ความเป็นไป ความที่ร่างกายไม่มีโทษ และความอยู่สำราญจักมีแก่เรา
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการความสำคัญในอันจะลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ลุกขึ้นแล้วย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ ชื่อว่าย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว ฯ
ภิกษุผู้ดำรงอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ และย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่
ภิกษุผู้มีปรกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านตลอดวันและคืน บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อถึงความเกษมจากโยคะ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท หรือมีปรกติเห็นภัยในความประมาทเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ชื่อว่าประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว

สัมมาสมาธิ
สมถะ(ใช้คำบริกรรม)
๑. กายสักขี
กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ
.

วิปัสสนา(ไม่ใช้คำบริกรรม/อนิมิตตเจโตสมาธิ)
๒. หลุดพ้นด้วยปัญญา
กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ

อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
.

สมถะและวิปัสสนา
๓. หลุดพ้นสองส่วน
กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

๔. รถวินีตสูตร
ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด
สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน

โสดาปัตติผล
อนาคามิผล
อรหัตตผล วิชชา ๓ แจ้งนิพพาน แจ้งอริยสัจ ๔ ๓ รอบ ๑๒ อาการ
.
นิคัณฐสูตร
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อการล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
ความหมดจด ๓ อย่างเป็นไฉน คือ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

๒. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

๓. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วยสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

8 ตุลาคม เวลา

ก่อนที่จะอ่านแล้วเข้าใจพระธรรมเหล่านี้ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

มี ๒ ข้อ
๑. เริ่มจากเหตุปัจจัย(กรรมและผลกรรม) ที่เคยกระทำไว้ในอดีตในแต่ละชาติที่สะสมไว้ กล่าวคือ ต้องมีศิล ๕ (ฆราวาส)
๒. ทำกรรมฐานจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในวิโมกข์ ๘
ที่สำคัญต้องเป็นสัมมาสมาธิ
เริ่มต้นจาก รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ
.
อักขณสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีประการเดียว ประการเดียวเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันตถาคตทรงแสดง เป็นธรรมนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบททั้งมีปัญญา
ไม่บ้าใบ้ สามารถเพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว ฯ
.
ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม ไม่เข้าถึงขณะ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าล่วงขณะ
ชนเป็นอันมาก กล่าวเวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน
.
พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้งบางคราว
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้หาได้ยากในโลก
ชนผู้ใคร่ต่อประโยชน์ จึงควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้
.
ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดในนรก ย่อมเศร้าโศกอยู่
หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้ เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ล่วงไป เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น
คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม
จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน
.
ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว
จักกระทำ หรือกระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ
คือ การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก
ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
สำรวมในศีลสังวร ที่พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว
คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วยกิเลส
ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร
ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว ฯ
.

นาถสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุศาสนีโดยเคารพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไรทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลายเพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่งระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้
นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล ฯ

.

๑๐. อนุรุทธสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑
ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑
ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑
ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑
ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑
ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑
ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑ ฯ
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย
เป็นผู้สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ
เป็นผู้สงัดย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด
เป็นผู้ปรารภความเพียรย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร
เป็นผู้มีสติตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น
เป็นผู้มีจิตมั่นคงย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง
เป็นผู้มีปัญญาย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา
เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น
ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไปเงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุตด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียรมิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคงมิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทรามดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
.
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในเวลานั้นว่า
พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย
พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริไว้
พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำแล้ว ฯ

ความสำเร็จล่วงส่วน

19 กันยายน เวลา 19:17 น.

๙. ฌานสังยุต
ว่าด้วยฌาน ๔

[๑๓๐๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายฌาน ๔ เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบลงไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลายฌาน ๔ เหล่านี้แล.

[๑๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด
ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

.
(พึงขยายความบาลีออกไปอย่างนี้ จนถึงความแสวงหา)
[๑๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

[๑๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อละความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล

โมคคัลลานสูตร

ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ
ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วนมีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

พ. ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น
ครั้นได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง
ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี
ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ
พิจารณาเห็นความสละคืน
เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล
ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้เกษมจากโยคะล่วงส่วนเป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

๑๐. อนุรุทธสูตร

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทรามดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

.

คำว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ”
.
พิจารณาความเกิดและความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในวิโมกข์ ๘(สัมมาสมาธิ)
รู้ชัดผัสสะขณะเกิดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในวิโมกข์ ๘(สัมมาสมาธิ) แล้วดับ ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนรู้ตนเห็น
เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ ย่อมไม่มีเกิดขึ้น
.
พิจารณาความเกิดและความดับในรูปนาม
รู้ชัดผัสสะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วดับ ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนรู้ตนเห็น
เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ ย่อมไม่มีเกิดขึ้น

19 กันยายน เวลา 13:04 น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตดำรงอยู่ในภายในสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
สมัยนั้น สมาธินั้นเป็นธรรมละเอียด ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีการห้ามการข่มกิเลส ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
และภิกษุนั้นจะโน้มน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ
เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่
.
คำว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
ได้แก่ ความตั้งมั่นจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
.
คำว่า ไม่มีการห้ามการข่มกิเลส ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
ได้แก่ จิตที่ละ(ทิ้ง)คำบริกรรมแล้ว
.
“เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ”
คำว่า แจ้งด้วยปัญญา
๑. เห็นความเกิดและความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

.

๒. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน

หลุดพ้นล่วงสุด คือโดยสมถะ(กายสักขี)
หรือวิปัสสนา(อนิมิตตเจโตสมาธิ)
อย่างใดอย่างหนึ่ง
สมถะ(กายสักขี)
เห็นความเกิดและความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
หรือ
วิปัสสนา(อนิมิตตเจโตสมาธิ)
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน

.
๔. หลิททิกานิสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน
[๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้เมืองกุรรฆรนครแคว้นอวันตีรัฐ.
ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหาว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส โดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร.?
[๒๖] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในรูปธาตุ จิต
ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น,
ดูกรคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในเวทนาธาตุ … ในสัญญาธาตุ … ในสังขารธาตุ … ในวิญญาณ ธาตุ จิต
ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับเพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น.
ดูกรคฤหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสในสักกปัญหาว่าสมณพราหมณ์เหล่าใดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้.
ดูกรคฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


หลุดพ้นสองส่วน(สมถะและวิปัสสนา)
ทสมสูตร
[๒๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี ก็สมัยนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตรด้วยกรณียกิจบางอย่าง
ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ณ กุกกุฏาราม ครั้นแล้วได้ถามภิกษุนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบท่านพระอานนท์
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี ฯ
ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ กระทำกรณียกิจนั้นที่เมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้โดยชอบมีอยู่หรือ ฯ
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรคฤหบดี ธรรมอย่างเอกอันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วโดยชอบ มีอยู่ ฯ
ท. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยชอบ เป็นไฉน ฯ
อา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปฐมฌานนี้แลถูกปรุงแล้วถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
เธอจึงตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นอุปปาติกพรหมเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ โดยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูกรคฤหบดี นี้แลคือธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ … ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ … ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้จตุตถฌานนี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
เธอตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้วโดยชอบ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้วและย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความไปดับเป็นธรรมดา
เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอกอันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยกรุณา …
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยมุทิตา …
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปของสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่หมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยการบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด …
อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป
หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็นเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกันแม้ฉันใด
ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ก็ได้สดับประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู
เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษพึงอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีโดยประตูหนึ่งๆแม้ฉันใด
ข้าพเจ้าจักอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีโดยประตูอมตธรรมประตูหนึ่งๆบรรดาประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูเหล่านี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญญเดียรถีย์เหล่านี้จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์
ส่วนข้าพเจ้า จักบูชาท่านพระอานนท์อย่างไรเล่า ลำดับนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในนครเวสาลีและเมืองปาตลีบุตรให้ประชุมกันแล้ว อังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน นิมนต์ภิกษุรูปหนึ่งๆ ให้ครองผ้าคู่หนึ่ง นิมนต์ท่านพระอานนท์ให้ครองไตรจีวรและสร้างวิหารราคาห้าร้อยถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล ฯ

การเจ็บป่วย

10 พย. 63

ความลำบาก(การสื่อสารทางโลก) ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ลำบากมากเท่าไหร่ สติ ยิ่งมีเกิดขึ้นมาก ทำให้สภาวะจิตพิจรณามีเกิดเนืองๆ จากกระจัดกระจาย ทำให้รู้ชัดเห็นเหตุปัจจัยของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิตมากขึ้น
เริ่มจาก บัตรทองถูกยกเลิก จึงเป็นเหตุให้เจอรพ.นพรัตน์ สำหรับซื้อยาละลายลิ่มเลือด LIXIANA 60 mg ค่าซื้อยาพอๆกับรพ.จุฬาภรณ์ แบบเสียาค่าเดินทางน้อยลง ใช้เวลาเดินทางน้อยลง โอกาสที่ทำให้แท็กซี่เบียดเบียนน้อยลง ทำให้รู้ประโยชน์ที่บัตรทองถูกยกเลิก(เกี่ยวกับการรักษา) สามารถรักษาไม่ต้องใช้ใบส่งตัวชั่วคราว รักษารัฐบาลไม่ต้องเสียค่ารักษาและยา(รักษาทั่วไป)

จากสิ่งหนึ่ง ไปยังสิ่งหนึ่ง คือความรู้ ความเห็น
จากบัตรทอง ไปสู่บัตรพิการ การฟื้นฟูอาการทางสมองให้กลับมาปกติถึงไม่100% ก็ตาม

ตอนนี้ ถ้าไม่สามารถทำบัตรพิการได้ ก็ทำให้รู้ว่าบัตรพิการช่วยประโยชน์อะไรบ้าง เช่นเดียวกับบัตรทอง แม้กระทั่งเงินชรา เงินช่วยคนพิการ(บัตรพิการ) ฉะนั้นจะทำบัตรนี้ได้หรือทำไม่ได้ ไม่มีปัญหา แค่ทำในสิ่งที่ควรทำ หากทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่อย่างน้อยทำให้รู้ว่าสามารถไปที่รพ.สิรินธร ซึ่งเจ้านายบอกว่า ถ้างั้นไปรพ.รามาไม่ดีกว่าเเหรอ สะดวกเดินทางกว่ารพ.สิริธร(นนท์)
เราบอกว่า ตอนนี้ยังไม่มีความตัดสินอะไร ต้องลองดูว่าที่ไหนจึงเหมาะสม ไม่ก็ไม่ต้องทำอะไร พิการแบบไม่สามารถสื่อสารภาษาทางโลก ก็ไม่เป็นไร แต่การที่สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น ก็ลองทำดู ไม่เสียหายอะไร มันขึ้นกับความคิดที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
.
เช้าวันนี้เล่าให้เจ้านายฟังเรื่องความรู้ความเห็นที่รู้เกิดขึ้นจากสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต จิตสะสม จนแตกหน่อความรู้ต่างๆอกมา
เริ่มจากเบี้ยคนชรา(60ปี ) มีประโยชน์ในการที่บุคคลที่ไม่มีลูกหลานดูแล พูดถึงคนที่ไม่มีรายได้ แต่มีบ้านอยู่ คำว่าบ้านหมายถึงที่ซุกหัวนอน ไม่ได้หมายถึงบ้านใหญ่โต คนที่บ้านอยู่ แต่ไม่พิการ สามารถหุงข้าวกินเองได้ เงิน 600 บาท ถ้ารู้จักนำมาใช้จ่ายแบบคิดก่อนซื้อ กินเพื่อร่างกายสังขาร เงินนี้สามารถซื้อข้าวสาร ไข่ไก่ ผงซักฟอก สบู่ ใช้ชีวิตแบบสมถะ ใช้ลมหายใจที่มีอยู่ให้มีประโยชน์ ไม่ต้องไปคิดพึ่งพานอกตน คือให้ใช้ประโยชน์ลมหายใจให้ประโยชน์สูงสุด ด้วยการทำกรรมฐาน รักษาศิล รักษาใจ เวลาตายไม่ต้องไปอบาย ไปสู่คติภพภูมิที่ดี เสวยผลกรรมที่เคยทำไว้ขณะตอนมีชีวิต
เบี้ยคนพิการ 800 บาท มีไว้สำหรับค่าเดินทาง ค่ากิน เวลาที่ไปฟื้นฟูร่างกายที่บกพร่อง จนสามารถสื่อสารกับคนอื่นๆได้ ก็ทำการยกเลิกบัตรพิการ บัตรพิการถ้ารู้จักนำมาใช้ ย่อมมีประโยชน์ ไม่ใช่ทำบัตรพิการเพราะอยากได้เงิน(ความโลภ) เกิดจากถูกตัณหาครอบงำ ในกรณีที่แขนขวายังดีอยู่(ในสายตามองแต่ภายนอก)
.
วันนี้รู้ชัดด้วยตนเอง ไม่ได้รู้จากการอ่านหรือการท่องจำ รู้ว่าทำไมพระพุทธเจ้าทรางบัญญัติคำเรียกต่างๆ
เพื่อให้ทำความเข้าใจในสิ่งที่มีเกิดขึ้นตั้งแต่หยาบ ปรากฏทางกาย วา อย่างกลาง มีเกิดขึ้นทางใจ อย่างละเอียด มีเกิดขึ้นจิตใต้สำนึก(สันดาน/อนุสัย)
จึงมาเป็นที่มาของ อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

เช่น
อย่างหยาบ(กาย วาจา) หลง(นิวรณ์)
อย่างกลาง(ใจ) อวิชชา(กิเลส)
อย่างละเอียด(จิตใต้สำนึก) อวิชชาสวะ

อย่างหยาบ หลง เห็นเป็นตัวตน เรา เขา ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ละความเห็นผิด(ทิฏฐาสวะ) ด้วยการรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ที่มีเกิดขึ้นในกามาสวะ
ราคะ กามราคะ กามาสวะ

อย่างกลาง อวิชชา เห็นเป็นตัวตน เรา เขา ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ละความเห็นผิด(ทิฏฐาสวะ) ด้วยการรู้ชัดตามความเป็นจริงในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ที่มีเกิดขึ้นในภวาสวะ
ภพ ภวตัณหา ภวราคะ ภวาสวะ

อย่างละเอียด อวิชชาสวะ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา ละความเห็นผิด(ทิฏฐาสวะ) ด้วยการรู้ชัดตามความเป็นจริงในสภาวะจิตดวงสุดท้าย ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงในอวิชชาสวะ
วิภาวตัณหา อวิชชา อวิชชาสวะ
คำว่า วิภวตัณหา ได้แก่ ความไม่อยากเกิด ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บตาย

“นั่งอยู่ในที่ลับคิดอย่างนี้ ในครั้งนั้นว่าการเกิดในภพใหม่และความที่สรีระแตกเป็นทุกข์ เราจักแสวงหานิพพานอันไม่แก่ ไม่ตาย ปลอดภัย เป็นที่ดับชาติธรรม ชราธรรม และพยาธิธรรม
เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าเต็มด้วยซากศพนี้ไปเสียเถิดทางที่ใครๆ ไม่อาจจะไปได้เพราะไม่มีเหตุ จักมีแน่นอนเราจักแสวงหาทางนั้นเพื่อหลุดพ้นไปจากภพ”

ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑
ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=6874…


18 พย. 63

หลายวันมานี่ เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนภายนอกครอบครัว หมายถึงคนแปลกหน้า คนที่ไม่รู้จัก คือคนป่วยสารพัด
การไปรพ.ก็ได้เรียนอีกแบบเกี่ยวกับบัตรทอง และเกี่ยวกับคำที่เรียกว่า พิการ
คำว่าพิการ จะใช้เฉพาะกับผู้ที่แขน ขา ตา หู ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แต่ต้องเรียนรู้การใช้ชีวิต
ส่วนอาการที่วลัยพรเป็นอยู่ เมื่อก่อนเข้าใจว่าตนเองเป็นคนพิการ จริงๆแล้วต้องเรียกให้ถูกต้องจะเรียกว่า อาการบกพร่องที่เกิดจากสมองเสียหาย ไม่จัดว่าเป็นคนพิการ เช่น การบกพร่องการสื่อสาร ไม่สามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่ที่ต้องการบอก รวมทั้งรู้สึกขณะเกิดผัสสะ จะว่างเปล่า เมื่อมีเกิดขึ้นเนืองๆ อารมณ์ที่เสพไว้ทำให้เกิดการเมินเฉย แม้กระทั่งร่างกายไม่รู้สึกความเจ็บปวดแบบที่คนทั่วๆคนเป็น สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น นี่ก็เป็นการบกพร่องทางกายสัมผัส

ภาษาที่ใช้ทางโลกกับทางธรรม จะแตกต่างกัน หากไม่เคยทำกรรมฐาน จนรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง มันก็ยากที่จะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่จะบอก
คำว่า นิพพิทา ทางธรรม คือเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ตายเป็นตาย เช่นหัวใจหยุดเต้น ไม่ใช้ความพยายามเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ เช่น เราเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะบางทีเต้นช้าทำให้หัวใจหยุดเต้น บางครั้งหัวใจเต้นเร็วทำให้หัวใจหยุดเต้น ส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิต บางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ คนที่มีเงินจะไปหาหมอ หมอจะใส่กล่องให้ แบบว่าถ้าหัวใจเต้นช้าแล้วหัวใจหยุดเต้น เจ้ากล่องตัวนี้จะไฟฟ้าออกมาช๊อตหัวใจให้กลับมาเต้นปกติ หรือถ้าหัวใจเต้นเร็วไปจนหัวใจหยุดเต้น เจ้ากล่องตัวนี้ก็ปล่อยไฟฟ้าออกมาช๊อตหัวใจให้กลับมาเต้นปกติ
การที่หมอถามเราว่าจะไม่ใส่กล่องนี้เหรอ พูดไว้ๆช่วยชีวิต
แล้วเราตอบกลับมา ไม่ใส่ ขอใช้สมาธิช่วยตัวเอง

สภาวะที่เราเป็นอยู่นี่ ถ้าเป็นทางโลก หมอจะเรียกว่า อาการซึมเศร้าที่เกิดจากคนป่วยทางสมอง stroke แบบที่ย้ำคิดย้ำทำ สุดโต่งทางศาสนา(คือความเชื่อแบบสุดโต่ง) คือคนทั่วๆไปต้องพยายามรักษาชีวิตไว้
การที่เราไม่สามารถแยกแยะแบงค์ได้ เวลาจะใช้เงินจะแยกบัตรออกจากกัน ไม่ใส่ปนกัน คือจะแลกบัตร ๒๐ บาท จำนวน๑๐๐ บาท เวลาใช้จะใส่กระเป๋าแยกไว้ เมื่อจ่ายแม่ค้า ทำให้จำได้ว่าใช้แบงค์แบบไหนจ่ายแม่ค้า หากจำนวนเงินเกือน ๑๐๐ บาท จะใช้แบงค์ ๑๐๐ หนึ่งใบตามมาด้วยแบงค์ ๒๐ ถ้าไม่ทำแบบนี้ แบบว่าใช้แบงค์ล้วนๆ เวลาแม่ค้าทอนเงินกลับมา เราไม่สามารถรับเงินทอนได้ เหมือนเงินแบบกระดาษไม่มีราคาทำนองนั้น

เมื่อเราแยกแบงค์เป็นส่วนๆไว้ หมอจะเมื่อเห็นวิธีการใช้เงินของเรา ประกอบกับอาการอื่นๆที่เราเป็นอยู่ หมอเรียกว่าเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำ เป็นการบกพร่องทางใจ หมอจึงส่งตัวเราไปพบหมอจิตเวช เราไม่ใช่คนพิการ สามารถช่วยตัวเองได้
มันมีสาเหตุก่อนที่หมอจะส่งตัวไปแบบนี้ เนื่องจากคนป่วยstroke หลังรักษาตัวจะต้องมีการไปตวจสอบเรื่องอาการซึมเศร้า แต่จนท.ที่ตรวจสอบเรานั้นจะไม่รู้อาการซึมเศร้าแบบที่คนทั่วๆเป็นกัน อันนี้เรารู้ที่หลังนะจากที่หมออธิบายอการที่เราเป็นอยู่

ถ้าให้เราพูดตามความเป็นจริง ความรู้ความเห็นทางโลกกับทางธรรมจะสวนทางกัน สภาวะที่เราเป็นอยู่ มันไม่ใช่อาการซึมเศร้า แต่เป็นอาการนิพพิทา เกิดจากความเบื่อสังขาร เห็นความเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง(การเกิดเป็นทุกข์) อนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน เรา เขา ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามที่ต้องการ) จึงทำให้เราปฏิเสธการติดกล่อง แม้กระทั่งเรื่องการแบงค์เงินออกจากกัน คนภายนอกมองว่าเป็นอาการของคนย้ำคิดย้ำทำ เหตุที่เราทำแบบนี้จะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตปกติได้ เวลาแม่ค้าทอนเงิน โดยเฉพาะแบงค์ต่างๆ แม้จะทอนมาครบหรือไม่ครอบ(เราแยกแยะไม่ได้) ก็ถือว่ามันเป็นเหตุระหว่างเราและแม่ค้าเคยกระทำกรรมมาร่วมกัน หากเราระวังเหล่านี้ ทางโลกจะมองแตกต่างกับทางธรรม

พอมาไปพบหมอจิตเวช หมอสอบอาการเจ็บป่วยเกิดจากอะไร จนเรื่องอาการอัมพาตซีกซ้าย แล้วกลับมาเป็นปกติโดยทำสมาธิ รวมๆคือ สิ่งที่เราพบเจอกับตัวเองทั้งหมด เป็นการสะสมความคิด จนทำให้เกิดอาการเมินเฉย คือหากกระทบแล้วทำให้เกิดความรู้สึก(ชอบใจ ไม่ชอบใจ) เช่น ระหว่างนั่งบนเก้าอี้มันจะยาวเป็นแผงติดต่อกัน ๔ ตัว หากมีคนนั่งอยู่ร่วมด้วย แล้วเขาชอบนั่งเขย่าขา ทำให้รู้รู้สึกรำคาญ เราก็ย้ายการนั่งแถวนั้นเปลี่ยนไปนั่งแถวที่คนไม่นั่งเขย่าขา จะไม่ไปต่อว่าเขา มันเป็นความคุ้นเคย มันเป็นพฤติกรรมของเขา เขาไม่สามารถไปเปลี่ยนเขาได้ เราจึงเปลี่ยนที่นั่ง

ระหว่างรอหมอ เจอคนที่รอหมอส่วนมากชวนคุยทำนองว่าป่วยเป็นอะไร อยู่ที่ไหน ครอบครัวเป็นยังไงฯลฯ สารพัดคำถาม เสียงที่กระทบมา บางเสียงเราฟังแล้วไม่ทำให้ไปทางอารมณ์หงุดหงิด เราจะพูดคุยด้วย แต่บ้างเสียงของบางคน พอได้ยินเสียงมีผลกระทบทางใจแบบฟังแล้วหงุดหงิดทั้งๆที่ถามเรื่องเดียวกัน จะที่ได้ยินอยู่จะกลายเป็นฟังไม่รู้เรื่อง ก็เลยบอกเขาว่าเราป่วยเป็นสมอง พอเราบอกแบบนี้ เขาจะหยุดชวนคุย

สรุป หมอบอกว่าอาการที่เราเป็นอยู่นั่นเป็นอาการบกพร่องทางการสื่อสาร บกพร่องทางความคิด พูดง่ายๆบกพร่องทางใจ หมอจะให้กินยาสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า เราถามเรื่องผลกระทบของยา หมอบอกว่าไต ตับ หัวใจ เลือด ยาทุกชนิดผลกระทบ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย

เราจึงบอกหมอว่า เราไม่ปฏิเสธการรักษาของหมอ เหตุที่เรามาพบหมอครั้งแรกมาเรื่องการพิการ เมื่อรู้ว่าไม่ใช่อาการพิการ แต่เป็นเรื่องทางจิต รวมทั้งอาการอื่นๆซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดอุดเส้นเลือดสมองไว้ ต้องใช้เวลา ไม่มีวิธีหรือการฝึกฝนแบบที่เราเข้าใจในตนแรกว่ามันฝึกฝนได้ ต้องกินยานี่เพื่อควบคุมจิต

เราบอกหมอว่า เมื่อรู้ว่าไม่ใช่ที่เรียกว่าพิการ เราขอใช้แบบไม่ต้องกินยา อาจจะใช้เวลา คือทำกรรมฐาน แบบเราไม่รู้ว่าจะอธิบายให้หมอเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร เราจึงใช้คำง่ายๆว่าทำกรรมฐาน แล้วยังไงจะมาบอกกับหมออีกที
หมอจึงนัด ๑ เดือน ให้เรามาพบหมอ
.
เมื่อเจ้านายกลับมาถึงที่พัก เเขาถามเรื่องบัตรพิการ
เราบอกว่า การรักษาที่นี่ ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรพิการ มันจะมีช่องบริการพิเศษสำหรับคนพิการ กรณีที่หมอวินิจฉัยว่าคนนั้นเป็นพิการ หากใช้บริการช่องนี้ไม่ต้องเสียเงินสักบาท
กรณีของเรา ต่อไปการรักษาใช้สิทธิบัตรทองคลีนิคยกเลิก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รักษาฟรี ยาต่างๆรับที่รพ.นี้ ไปพบหมอตามนัด หมอจะจ่ายยาให้ ยาละลายลิ่มเลือดที่เรากินอยู่ เราถามเภสัช เขาบอกว่าตัวนี้ที่นี่ไม่มี แต่มียาตัวอื่น ซึ่งเราบอกว่าต้องพูดกับหมอก่อน และขอบคุณเขา

เราบอกเจ้านายว่า คนที่ไม่โลภนี่มันดีนะ ประมาณว่าเมื่อไม่มีความหวัง ย่อมไม่พบคำว่าผิดหวัง เหมือนเรื่องบัตรพิการ ที่เราอยากได้เพราะคิดว่าการรักษาการบกพร่องที่เราเป็นอยู่ ต้องเสียเงิน(ที่จากอ่านมาในเวป) ตามความเป็นจริงมันไม่ใช่ทุกเรื่อง ประกอบกับได้ฟังที่หมอวิเคราะห์อาการที่เราเป็นอยู่ เกิดจากทางสมอง ลิ่มเลือดอุดเส้นเลือดในสมอง ย่อมมีผลกระทบต่อการสื่อสาร

เราบอกเขาว่า ฟังหมออธิบายแล้ว ทำให้เข้าใจมากขึ้น และรู้ว่าควรปฏิบัติตนเอง เช่น ปกติเราไม่ชอบการท่องจำ ตอนนี้ต้องเริ่มการท่องจำ เมื่อก่อนเราลืมไปหมดแล้วการสวดมนต์ การแผ่เมตตา การท่องจำนี้จะช่วยให้สมองทำงาน ทำให้สมองไม่เสื่อม การรับเลข ปกตินับได้แค่ ๑๐-๒๐ ถ้านับต่อนับผิด ต้องเริ่มนับใหม่ การฝึกนับเลข ก็ช่วยให้สมองไม่เสื่อม การอ่านออกเสียง ปกติเราจะออกเสียงเพี้ยน การอ่านหนังสือแบบออกเสียง จะช่วยให้การออกเสียงให้ถูกต้อง รวมทั้งการสะกดตัวหนังสือ คือค่อยๆทำ
ส่วนเรื่องการทำกรรมฐาน เราไม่สนใจเหล่านี้มานานแล้ว อาศัยการกำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมาธิย่อมมีเกิดขึ้นเอง ส่วนมากหรือน้อยไม่แน่นอน บางที่มากจะมีโอภาสสว่างมาก มองเห็นในที่มืดเหมือนเห็นในกลางวัน ถ้าสมาธิมีน้อย ทำให้รู้ชัดผัสสะ ผลกระทบ เวทนามีเกิดขึ้น ต้องใช้สติเป็นหลัก ส่วนมากเลือกเมินเฉย เพราะรู้ชัดว่าเป็นเรื่องของกรรมและผลของกรรม หากเราไม่สานต่อ กรรมก็จบแค่นั้น ก็เลือกสัปปายะที่เหมาะกับตัวเอง

ตอนที่หมอบอกว่าให้เราเลิกนั่ง แบบเราบอกกับหมอว่าเราไม่เคยนอน หมอจึงบอกว่าให้เลิกนั่ง ให้นอนราบ แล้วกินยาต่อเนื่อง ถ้าเป็นเมื่อก่อนถ้าได้ยินแบบนี้ความไม่ชอบใจจะมีเกิดขึ้น ตอนนี้ฟังแล้วเฉยๆ คือรับฟัง
.
พูดเรื่องทำกรรมฐาน เรารู้ว่าทำให้รู้ชัดผัสสะขนาดนี้ เกิดจากสมาธิเสื่อมตั้งแต่ครั้งก่อน หลายถึงครั้งนี้น้องอีกคนโทรฯมาติดต่อ แล้วเราหลงคุยด้วย คุยนานนะ หลังคุยจึงรู้ว่าจิตแบบแปลกๆ จึงบอกเจ้านายว่า ลืมไปว่าน้องคนนี้มีความสามารถดูดสมาธิจากคนอื่นๆ ถึงแม้เขาจะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม หากหลงคุยด้วยกำลังสมาธิจะไหลไปหาเขา มีอีกครั้งแบบผ่านนานไปละ น้องโทรฯมาอีก แต่เราจำได้ เราจึงคุยนิดเดียวแล้วบอกน้องเขาว่า หากไม่ปฏิบัติอย่าโทรฯมาหาเราอีก คุยทางโลกเราไม่สนใจ เขาก็หายไป

พูดถึงการทำสมาธิให้กลับคืนมา ตอนนี้ไม่ต้องใช้ความพยายามเหมือนเมื่อก่อน ตอนนั้นจิตยังไม่ตั้งมั่นแบบมั่นคง ต้องใช้ความพยายาม ตอนนี้จิตมั่นคงแล้ว ไม่ต้องใช้ความพยายาม แค่เดิน แล้วต่อนั่ง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิทันที ต่อนั้นกาารู้ชัดสภาวะสติปัฎฐาน ๔ มีเกิดขึ้น
มันจะเป็นแบบนั้นแหละเป็นเรื่องปกติของผู้ที่รู้แล้ว จะไม่มีให้ความสำคัญว่านี่คืออะไร หรือเป็นอะไร


29 กันยายน เวลา 13:34 น.

หลังจากที่เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับการพิการ จิตพิจรณาเรื่องราวที่เคยมีเกิดขึ้น จนอาการปัจจุบันที่เป็นอยู่
เดิมเกิดจากหมอหยุดยาละลายลิ่มเลือด(หัวใจเต้นผิดจังหวะ) สมัยนั้นกล่าวโทษหมอนะ
ตอนนี้ไม่คิดกล่าวโทษหมอแล้ว เพราะมันเป็นเรื่องของวิบากกรรมจึงทำให้ร่างกายต้องเป็นแบบนี้

ทางโลก สำหรับผู้ไม่รู้ ย่อมตำหนิหมอ
ทางธรรม ผู้ที่รู้ จะไม่กล่าวโทษหมอ พูดด้วยตัวสภาวะ การที่เข้าสู่ความว่างของแต่ละคนเกิดมีขึ้นอยู่กับกรรมและผลของกรรม คือ เกิดจากการกระทำของตนล้วนๆ แบ่งเป็น ๒ แบบ

๑. ปฏิบัติสบาย(สมถะ) จะมีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ปรากฏในรูปของนิมิต(ที่เหมือนจริงมากๆ)
๒. ปฏิบัติลำบาก(วิปัสสนา) จะมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ส่วนจะถึงขั้นพิการหรือไม่มีพิการ ขึ้นอยู่กับวิบาก(ผลของกรรม) จึงส่งผลจึงทำให้ร่างกายเป็นแบบนี้
.
กลับมาเรื่องที่เขียนไว้เกี่ยวกับเบี้ยสำหรับคนพิการ ทำให้รู้ว่าควรถามหมอว่า อาการที่เป็นอยู่จะหายกลับมาปกติหรือไม่ ซึ่งไม่เคยคิดจะถามกับหมอเลย
เคยอ่านเกี่ยวกับลิ่มเลือดที่หลุดเข้าเส้นเลือดสมอง เพียงแต่ว่าลิ่มเลือดนี้จะหลุดไปตรงส่วนไหนของสมอง ย่อมส่งผลของร่างกาย เช่นทำให้พิการได้ วิธีรักษาต้องใช้เครื่องมือตักเอาลิ่มเลือดนี้ออกมา ค่าใช้จ่ายแพงมากๆ
จำได้ว่า หมอบอกว่า ลิ่มเลือดของเก่าที่หลุดเข้าไป(สมองครั้งแรก) มารวมกับลิ่มเลือดใหม่ที่หลุดเข้าออกไปอีก(ครั้งที่สอง) ทำให้ลิ่มเลือดก้อนใหญ่ขึ้น

27 กันยายน เวลา 17:13 น.

จะพูดเรื่องสภาวะหรือสิ่งที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะ มีคำตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นี้ มีชื่อเรียกว่า ผัสสะ ถ้าผู้ศึกษาจะเข้าใจ แต่ผู้ที่ขาดการศึกษาจะไม่เข้าใจ
เหตุจากการอาการป่วย(สมองและหัวใจ) ทำให้เสียหาย คือเสียความสามารถในการสื่อสารทางพูดที่คนปกติใช้ๆกัน
ประสาทอัตโนมัติเสียหาย เช่นหู จะเหมือนคนหูตึง มันยิ่งกว่าคนหูตึง คนหูตึงอาจใช้เครื่องฟังช่วยได้ แต่สำหรับวลัยพรนั้น ไม่สารถนำเครื่องมือแบบนั้นมาใช้ได้ ที่บอกว่ายิ่งกว่าคนหูตึงคือ เวลาเสียงที่มากระทบ สิ่งที่รู้บางขณะ มันเป็นเสียงที่ไม่เป็นคำ มันจะรู้ว่ามีเสียงแค่นั้น ฉะนั้นเวลาจะติดต่อกับใครจะใช้วิธีเขียนหนังสือ แม้กระทั่งการติดต่อต่างก็ เช่นกรณีไปติดต่อที่สำนักเขตว่า เราเป็นสมอง จะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง ขอให้จนท.ต้องพูดช้าๆ เสียงดังๆ ไม่ก็เขียนให้เราอ่าน เพราะบางครั้งเราอาจฟังไม่รู้เรื่อง ถ้ามีใครว่าเราว่าพูดไม่รู้เรื่อง เราก็จอบกกับคนนั้นว่า เราเป็นสมอง ทำให้พูดไม่รู้เรื่อง (เราพูดตามอาการของป่วยทางสมอง เจอเขาพูดแบบนั้น เราจะเฉยๆนะ ไม่มีความหงุดหงิดหรือโกรธใดๆเขา)
จนท.บางคนดีมากนะ พอเขารู้ว่าเราป่วย เขาจะพูดช้าลง แล้วใจเย็นอธิบายให้เราฟัง ถ้าเรายังไม่เข้าใจ จะมีจนท.คนอื่นจะมาช่วยอธิบายให้ฟัง
อาการแบบนี้จะเกิดช่วงๆ บางครั้งฟังรุ้เรื่อง บางครั้งฟังไม่รู้เรื่อง รวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ อาการป่วยทางสมอง ทำให้หงุดหงิดง่าย เหมือนเด็กน่ะ คิดยังไงพูดตามความเป็นจริง ทั้งๆที่ใจน่ะไม่ได้รู้สึกโกรธหรืออะไร มันแค่รำคาญ เมื่อเจอกระทบ จากรำคาญจะทำให้กลายเป็นหงุดหงิด พอหงุดหงิดมากจะกลายเป็นพูดออกมา ไม่เก็บเอาไว้ เหมือนที่เคยเขียนไว้ว่า อาการประสาทจะแดกเอา เหมือนคนโรคประสาทที่อาละวาดทำนองนั้น เราไม่ถึงขั้นอาละวาด แต่จะพูดออกมาตรงๆ ทั้งๆที่ไม่ได้รู้สึกเกลียดหรือโกรธใดๆ มันแค่จากรำคาญ ถ้ายังไม่จบ จะทำให้หงุดหงิด ทำให้กลายเป็นพูดออกมา
.
ถ้าถามว่า อาการสมองตรงนี้ มีผลกระทบต่อความรู้ความเห็นเกี่ยวกับปฏิบัตินั้น มีมั๊ย
คำตอบ ไม่มี สักนิดก็ไม่มี เพราะความรู้ ความเห็นที่มีอยู่ ต่อให้ความจำเสื่อม ความรู้ ความเห็นนี้ไม่เสื่อม เพราะเป็นเรื่องจิตใต้สำนึก เป็นผลของการปฏิบัติ ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ
พูดถึงสติ สติในที่การดับเหตุภพชาติของการเกิด บางครั้งยังมีกระทำอยู่เกิดจากสติเกิดช้า ความเจ็บป่วยจึงทำให้เป็นแบบนั้น แต่ตรงนี้ไม่ส่งผลภพชาติของการเกิด(เวียนว่ายตายเกิด) ประมาณว่า ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ตัณหาที่ละขาด ขาดแล้วขาดเลย ไม่มีกำเริบเกิดขึ้น แล้วไม่มีความรู้สึกว่าตนเองอยู่เหนือผู้อื่นหรือรู้ยิ่งกว่าผู้คนอื่น มันไม่มีหรอก หากยังมีอาการแบบนั้น เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่
เหมือนการอธิบายเกี่ยวกับพระธรรมต่างๆ เช่นคำว่า บางคนติดอุปกิเลส เราก็เขียนตัวสภาวะ ไม่มีคิดว่าคนนั้นดีหรือไม่ดี
สำหรับบางคนอ่านแล้วไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ นั่นก็เรื่องของผู้นั้น เราไม่สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจได้ในสิ่งที่เราเขียนอธิบาย เป็นเรื่องเหตุปัจจัยของแต่ละคน
.
เหมือนสิ่งที่เราเขียนออกมาเรื่อยๆ บางสิ่งไปโดนกิเลสของผู้นั้น บางคนคนเองว่าเราว่าเขา จริงๆแล้วสภาวะของคนที่มีเหตุปัจจัยต่อกัน จึงทำให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น คือ คิดเอาเองกัน เราจึงเขียนบอกไว้ว่า ต่อให้ตำหนิอะไรเราก็ตาม เราเฉยๆนะ การกระทำของเขา ก็กรรมของเขา เรารู้แค่นั้น
.
อันนี้พูดจากใจ ตามความเป็นจริง
หากใครอ่านเฟสแล้ว ทำให้ผู้นั้นรู้สึกไม่ดี ไม่ชอบใจ
เราจะบอกว่า สัปปายะนี้สำคัญมาก หากใครเข้ามาอ่านแล้วทำให้ผู้นั้นรู้สึกไม่ดี ก็อย่าเข้ามาอ่าน เพราะไม่ใช่สัปปายะสำหรับผู้นั้น หากจะลบจากเพื่อน ถึงแม้จะรู้จักการมานานก็ตาม ทุกคนสามารถลบเพื่อนออกไปได้ ไม่ต้องมาบล็อกเรา เสียเวลาปล่อยๆนะ ลบไปเลย
เพราะเมื่อไม่เป็นสัปปายะในการอ่าน ทำให้กิเลสเกิด(ความยึดมั่นถือมั่น) อย่าเอาเก็บไว้ เราไม่คิดอะไรกับใครทั้งสิ้น แล้วจะไม่ถามด้วยว่าทำไมถึงเลิกเป็นเพื่อน
.
สำหรับเรานั้น สภาวะของตนเปลี่ยนไป จากที่เคยชอบอ่านโน้นนี่ไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าใจเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตัวหนังสือสักแต่ว่าอ่านหนังสือ แม้กระทั่งตามเฟส ใครเขียนอะไรก็ตาม ก็เหมือนการอ่านหนังสือ เป็นฉบับเรื่องเล่าชีวิตของแต่ละคน ชีวิตใครจะเป็นอย่างไร นั่นก็เรื่องของเขา กรรมของเขา ไม่ไปตัดสินว่าคนดีหรือไม่ดี เพราะสัตว์โลกล้วนเกิดเป็นไปตามกรรม
เรื่องที่เราเล่าต่างๆ ก็แค่เล่า ไม่คิดว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เล่าก็แค่เล่าแค่นั้น ทำไมจิตเปลี่ยนไปได้ขนาดนั้น แตกต่างมากจากสมัยนั้น สมัยนั้นยังมีความยึดมั่นถือมั่น เมื่อฝึกตนต่อเนื่อง ความยึดมั่นถือมั่นย่อมลดน้อยลงไปเอง หากไม่เคยฝึกมาก่อน จู่ๆจะละทันที มันทำไม่ได้หรอก จิตเหมือนเด็กดื้อ เหมือนม้าพยศ จู่ๆดึงเชือกทันที คนเจ็บตัวก็คือตัวเรา จึงดึงมั่ง ปล่อยมาก พอจิตเริ่มอ่อน ก็ใช้เชือกตึงดึงไว้ได้ เหมือนเด็กเลี้ยงควาย เวลาเราจะให้ควายหยุดเดิน เราจะเท้าเตะที่ท้องควายเบาๆ พร้อมกับค่อยๆดึงเชือก เป็นการส่งสัญญาให้ความยรู้ว่าเราจะให้มันหยุดเดิน หรืออยากให้มันทำอะไรตามเรา พอดีเด็กๆเราเคยเลี้ยงควาย เพราะเคยเลี้ยงควายมาก่อน จึงรู้วิธีการหยุด
.

คาวีสูตร
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่โคเที่ยวไปตามภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะไปเที่ยวบนเขาอันขรุขระ
แม่โคนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกินและพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าก็ไม่ดีเสียแล้ว พึงยกเท้าหลังอีก ก็คงจะไปยังทิศที่ไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยังไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มไม่ได้
แม่โคนั้นยืนอยู่ในที่ใดพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม มันกลับมายังที่นั้นอีกโดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเที่ยวไปบนภูเขา เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจเพื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอไม่เสพโดยมาก ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอไม่อาจเพื่อบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอย่อมไม่อาจเพื่อสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีชื่อเสียงปรากฏพลาด เสื่อมจากผลทั้งสอง ๒ แล้ว เปรียบเหมือนแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาดเฉียบแหลม รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่เที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ
แม่โคนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ไม่ดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว พึงยกเท้าหลัง แม่โคนั้นพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม
เมื่อยืนอยู่ในที่ใด พึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน พึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม และพึงกลับมายังที่นั้นโดยสวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด รู้จักเขต เข้าใจที่จะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน … เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังไม่ยินดีเพียงทุติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมากซึ่งนิมิตนั้น เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดดังนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข เธอยังไม่ยินดีเพียงตติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอยังไม่ยินดีเพียงจตุตถฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอากาศไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียงอากาสานัญจายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียงวิญญาณัญจายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี เธอไม่ยินดีเพียงอากิญจัญญายตนะที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เธอไม่ยินดีเพียงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เธอไม่ยินดีเพียงสัญญาเวทยิตนิโรธที่ได้บรรลุนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุเข้าก็ดี ออกก็ดี ซึ่งสมาบัตินั้นๆในกาลนั้น จิตของเธอเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน สมาธิอันหาประมาณมิได้ ย่อมเป็นอันเธอเจริญดีแล้วด้วยจิตอ่อน ควรแก่การงาน เธอมีสมาธิอันหาประมาณมิได้ เจริญดีแล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ
ถ้าเธอหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ พึงใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ
ถ้าเธอหวังว่า เราพึงฟังเสียงสองอย่าง คือ เสียงทิพย์เสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและใกล้ ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ฯลฯ
ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ
ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็พึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีมีโทสะก็พึงรู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็พึงรู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิตเป็นมหรคตหรือจิตไม่เป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นกว่า จิตเป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็พึงผู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ
ถ้าเธอหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ พึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการดังนี้
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ
ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ
ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ ฯ

22 กันยายน เวลา 18:50 น.

การปฏิบัติที่คนใช้เรียกกว่าการปฏิบัตินั้น สภาวะของวลัยพรนั้น จะไม่ใช่แบบนั้น จะว่าปฏิบัติก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ปฏิบัติก็ไม่ใช่ แต่เป็นเรื่องของการกำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต(กลางวัน) และผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะกลางคืน
เมื่อคืนกลางดึก หัวใจมีอาการเหมือนถูกบีบแรง เอามือจับชีพจรโดยอัตโนมัติ(เคยชิน) ชีพจรเต้นเหมือนหัวใจเด็กแรกเกิด เต้นเร็วมากๆ จากนั่งปล่อยตัวสบาย มานั่งตัวตรง แล้วมีสติรู้สิ่งที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง สักพักหัวใจเริ่มเต้นช้าลงๆ จนกลับมาเต้นปกติ

ถ้าถามว่า ทำไมต้องนั่งตัวตรง

คำตอบ การนั่งตัวตรง จะรู้สึกว่าอาการที่หัวใจเหมือนถูกบีบ จะรู้ชัดผัสสะได้ดี คือรู้ชัดในแต่ละขณะ ตั้งแต่หัวใจถูกบีบ ส่วนจับชีพจร จะได้รู้ว่าเกิดจากอะไร หัวใจเต้นช้าหรือหัวใจเต้นเร็ว เวลาไปพบหมอตามนัด จะได้เล่าอาการให้หมอฟังได้ตรงอาการที่มีเกิดขึ้น อาการหัวใจเหมือนถูกบีบนี้ เพิ่งมีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ครั้งอื่นๆจะมีอาการแน่นหน้าอกเหมือนมีของหนักทับไว้ ทำให้หายใจลำบาก ซึ่งมีเกิดน้อยลง ไม่เหมือนสมัยก่อนนั้นเกิดบ่อย และอาการวูบไม่เป็นลม แต่มีสติ เมื่อก่อนเกิดบ่อย หลังหมอหัวใจเปลี่ยนยากิน อาการวูบค่อยๆลดลงไป ยังมีเกิดขึ้นแต่น้อยลง เกิดสั้นๆ
คำว่า มั่นคง คือไม่มีหวั่นไหว ไม่มีสะดุ้ง ไม่มีความกลัว สักนิดก็ไม่มี มันแค่รู้ว่ามีเกิดขึ้น

03 กย. 63

นึกถึงหมอหัวใจที่รพ.ราม หมอเคยพูดถึงอุจจาระ เคยมีเลือดออกปนมั๊ย

หลังนั้นมา ทุกครั้งถ่ายหนัก จะดูทุกครั้งเวลาอึ สีแบบไหน มีสองครั้งอึเหมือนมีเลือดผสมอยู่ในก้อนอึ บางครั้งถ่ายสีคล้ำดำ บางครั้งถ่ายสีปกติ

วันที่ ๒๐ เดือนนี้หมอรามนัด เดิมมีเจาะเลือดไทรอยด์ เราจะขอเจาะเลือดดูcbc เพิ่ม ก่อนหน้าเราได้บอกหมอไว้ว่าขอเจาะแค่ดูไทรอยด์ เพราะหมอยังให้ยาปรับโฮโมนไทรอยด์อยู่

ช่วงหลังจะรู้สึกในห้องจะเย็นเหมือนเปิดแอร์ ทั้งๆที่เปิดพัดลมอย่างเดียว เราจะสังเกตุทุกอย่างที่มีเกิดขึ้นกับตัวเอง รู้สึกว่าช่วงหลังจิตเป็นสมาธินาน รู้สึกเย็นทั้งกาย มีโอภาสเกิดขึ้นบ่อย ทำให้เราไม่หิว จะชอบนั่งนิ่งๆ แล้วเข้าสู่ความดับ มันชอบนะ กว่าจะออกจากสมาธิ(หลังแปดโมงเช้า) ก็โน่นบ่ายสองมั่ง บ่ายสามมั่ง บ่ายสี่มั่ง ห้าโมงเย็นมั่ง

วันนี้เจ้านายอยู่ด้วย เราถามเขาว่า เขารู้สึกมัียว่าในห้องมันเย็น หรือรู้สึกตัวเองเย็นมั๊ย

เขาเอามือจับตัวเขาเอง เขาบอกว่ามันเย็นนะ

เราบอกว่า ที่ถามเพราะไม่แน่ใจเกิดจากโฮโมนในร่างกาย(เป็นพิษ) หรือเกิดจากสมาธิ หรือเกิดจากสภาพอากาศเย็น

เรื่องไทรอยด์เป็นพิษ ที่เจอกับตัวเอง ถึงผลเลือดจะปกติ แต่มันไปเกิดที่หัวใจ(เต้นผิดจังหวะ) จึงทำให้รู้ว่ายาที่กินอยู่ ให้ปริมาณน้อยไป จึงทำให้ไทรอยด์กลับมาเป็นพิษอีก เราต้องสังเกตุทุกอย่างที่มีเกิดขึ้นภายในร่างกาย เวลาพบหมอ จะต้องเล่าอาการที่มีเกิดขึ้นให้หมอฟัง ตอนนี้ 4 วัน กินยาmmi 5 mg ครึ่งเม็ด 2 เดือน ต่อไปกิน 5 วัน ครึ่งเม็ด 2 เดือน ตอนแรกหมอจะให้หยุดยา แต่เราไม่ยอม เราบอกว่าหมอจำไม่ได้เหรอ ครั้งก่อนให้ลองกินยาลดปริมาณค่อยๆลดทุกเดือน จนผลเลือดปกติ แต่ไทรอยด์กลับมาเป็นพิษ ทั้งๆที่ผลแลปปกติ เราไม่อยากเริ่มต้นใหม่อีก เรารอได้ หมอก็เลยตามใจ โดยดูผลแลป เมื่อเห็นว่ายังกินยาได้อยู่ จึงให้เรากินยาต่อได้

ซึ่งยาไทรอยด์ ก็มีผลกระทบต่อกระดูก ทำให้กระดูกพรุน ตอนนี้ความสูงลดลงไป 4 เซนต์ กระดูกหลังทรุดลง อาจเนื่องจากนั่งเป็นหลัก ไม่นอนราบ(เดาเอา)

.

ตอนนี้บัตรทองถูกยกเลิก ไม่สามารถใช้กับรพ.มงกุฏแจ้งฯ หมอหัวใจที่รพ.รามดูแลมาตั้งแต่แรก กลับมาดูแลเหมือนเดิม(หมอคนเดียว)

จริงๆแล้ว เกี่ยวกับความดัน ตั้งแต่ที่รักษามา หมอรพ.ราม ไม่เคยให้กินยาความดัน แต่ที่ต้องกินยาความดันเป็นวิธีการรักษาหัวใจของรพ.มงกุฏแจ้งฯ ด้วยจริยธรรมที่แพทย์จะไม่เข้าก่ายหมอเจ้าของไข้(บัตรทอง)

.

พิจรณาแล้ว เมื่อรักษาหมอเพียงคนเดียว ควรให้หมอใช้การรักษาโดยหมอที่รักษาอยู่ ร่วมทั้งเรื่องไทรอยด์และหัวใจ รวมทั้งยาต่างๆที่เคยกินอยู่(จากหมอรพ.มงกุฏที่เคยให้กิน)

.

เขียนไว้ก่อน จะรู้ต่อเมื่อพบหมอรพ.ราม ตามนัด

ตุลาคม 2020
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  

คลังเก็บ