อิจฉาและมานะ

อิจฉาและมานะ

การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้ละความอิจฉาและมานะลงไปได้

คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕
[๑๕] ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่ โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า
สงสารยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไป
ไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน
หรือสหายผู้เช่นด้วยตนไซร้

บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น
เพราะว่าคุณเครื่องความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล
คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ดังนี้
ตนนั่นแลย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายแต่ที่ไหน ทรัพย์แต่ที่ไหน
ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้ ด้วยเหตุนั้น
ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง

ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล

ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต
เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรม
เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น

ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง
ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน
เหมือนลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น

คนพาลมีปัญญาทราม มีตนเหมือนข้าศึก
เที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน
บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี

บุคคลมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่
ย่อมเสพผลของกรรมใด
กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี

บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นแลทำแล้วเป็นดี
บุคคลอันปีติโสมนัสเข้าถึงแล้ว
[ด้วยกำลังแห่งปีติ]
[ด้วยกำลังแห่งโสมนัส]
ย่อมเสพผลแห่งกรรมใด
กรรมนั้นทำแล้วเป็นดี

คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน
ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น
คนพาลถึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุกเดือนๆ
เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน ของพระอริย

บุคคลทั้งหลายผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว
ก็บาปกรรมบุคคล ทำแล้วยังไม่แปรไป
เหมือนน้ำนมในวันนี้ยังไม่แปรไป ฉะนั้น
บาปกรรมนั้นย่อมตามเผาคนพาล
เหมือนไฟอันเถ้าปกปิดแล้ว ฉะนั้น
ความรู้นั้นย่อมเกิดแก่คนพาล
เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์อย่างเดียว
ความรู้ ยังปัญญาชื่อว่ามุทธาของเขาให้ฉิบหายตกไป
ย่อมฆ่าส่วนแห่งธรรมขาวของคนพาลเสีย

ภิกษุผู้เป็นพาล พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่
ความห้อมล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส
และการบูชาในสกุลของชนเหล่าอื่น
ความดำริย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุพาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย
จงสำคัญกรรมที่บุคคลทำแล้วว่า เพราะอาศัยเราผู้เดียว
คฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นจงเป็นไปในอำนาจของเราผู้เดียว
ในบรรดากิจน้อยและกิจใหญ่ทั้งหลาย กิจอะไรๆ
อิจฉา [ความริษยา] มานะ [ความถือตัว] ย่อมเจริญแก่ภิกษุพาลนั้น

ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ยิ่งแล้ว
ซึ่งปฏิปทา ๒ อย่างนี้ว่า ปฏิปทาอันเข้าอาศัยลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพานเป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว
ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ
พึงพอกพูนวิเวกเนืองๆ ฯ

อธิบาย

คำว่า อิจฉา
เกิดจากสักกายทิฐิที่มีอยู่

คำว่ามานะ
เกิดจากอัตตานุทิฏฐิที่มีอยู่

“ภิกษุผู้เป็นพาล พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่”
เมื่อไม่มี ทำให้เกิดความอิจฉา
ความอิจฉาเกิดจากการละสักกายทิฏฐิยังไม่ได้
หากละสักายทิฏฐิลงไปได้ จะไม่รู้สึกอิจฉาต่อในลาภที่บุคคลได้รับมา
เป็นเรื่องของโลกธรรม ๘

“คำว่า อิจฉา
เกิดจากสักกายทิฐิที่มีอยู่”

หากละสักกายทิกฐิลงไปได้
ทำให้ราคะ ปฏิฆะที่มีอยู่จะเบาบางลง
ไม่ถึงขั้นเกิดความอิจฉาต่อลาภสักการะของบุคคลอื่น

การที่เราจะเข้าใจในคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ต้องมีสภาวะนั้นๆมีเกิดขึ้นในตนก่อน แจ่มแจ้งแทงตลอดในสภาวะนั้น
ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ มีเกิดขึ้นตามจริงก่อน
หรือได้การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
จึงจะทำให้สามารถเข้าใจได้

มานะ จะสามารถละได้ขณะการเข้าถึงอนาคามิผลตามจริง
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)

คำว่า นิพพาน
ได้แก่ สอุปาทิเสสปรินิพพาน บรรลุช้า
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ และละภวตัณหา
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)

อนุปาทิเสสสปรินิพาน บรลุเร็ว
ละตัณหา ๓
ทำให้ละละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตผล)

“พึงพอกพูนวิเวกเนืองๆ”
ได้แก่ ทำความเพียรเนืองๆ
จนกระทั่งเข้าถึงมรรคผลตามจริงตามลำดับ
โสดาปัตติผล อนาคามิผล อรหัตผล

พอเขียนแล้ว ทำให้นึกถึงพระสุสิม
ที่บวช เพราะปรารถนาลาภสักการะ

๑๐. สุสิมสูตร
[๒๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวล
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้

แต่พวกปริพาชกเดียรถีย์อื่น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวล
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ฯ

[๒๘๐] สมัยนั้นแล สุสิมปริพาชกอาศัยอยู่
ณ พระนครราชคฤห์กับปริพาชกบริษัทเป็นอันมาก
ครั้งนั้นแล บริษัทของสุสิมปริพาชก
ได้กล่าวกะสุสิมปริพาชกว่า มาเถิดท่านสุสิมะ
ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระสมณโคดม
ท่านเรียนธรรมแล้ว พึงบอกข้าพเจ้าทั้งหลาย
พวกข้าพเจ้าเรียนธรรมนั้นแล้วจักกล่าวแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเราก็จักมีเทวดาและมนุษย์ทั้งมวล
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง จักได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ฯ

โอรัมภาคิยสูตร
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๓๔๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้
๕ อย่างเป็นไฉน?
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้แล.

[๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ
ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

บันทึก

31-07-2566

จะมีเรื่องเล่าให้ฟังเกี่ยวอาปานสติ
บางคนยังไม่รู้ พูดไปเรื่อย
ทำนองว่า อาปานาสติ ทำให้เป็นพระอนาคามี
เพียงจะบอกว่า สภาวะของผู้พูดทำนองนี้
เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่
แม้กระทั่งหลังเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง
วิหารอยู่ เป็นลมหายใจ
เพียงจะบอกว่า สภาวะของคนพูดทำนองนี้
เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่
คือยังมีความรู้เห็นยังหยาบ
ยังไม่รู้ชัดรายละเอียดของสภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ขณะๆๆ

ยกตย.พระสูตรแรก
สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร
เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์
เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ
เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ
เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
.
อธิบายให้เข้าใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แรกๆข้อปฏิบัติ จะสมถะหรือวิปัสสนา
อาจใช้ลมหายใจ หรือใช้การเพ่งเช่นกสิณ
ยังเป็นเพียงพื้นฐานของการทำความเพียร
การที่จะเข้าถึงการเห็นตามความเป็นจริง
เป็นเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ที่มีเกิดขึ้นเฉพาะในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
ไม่ใช่เรื่องลมหายใจ

ให้ดูที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
“สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า สมาธิ
ในที่นี้หมายเฉพาะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ

คำว่า ยถาภูตญาณทัสนะ
ได้แก่ ผัสสะ
เป็นเหตุปัจจัยให้การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ลักษณะสัมมาสมาธิที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
เมื่อเสพเนืองๆ
เห็นความเกิด ความดับที่มีเกิดขึ้น
ขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
คือสามารถแจ่มแจ้งในตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตน
ไม่ใช่จากการท่องจำ จะรู้เอง แรกๆจะไม่รู้คำเรียกหรอก
แค่รู้ว่ามีสภาวะนี้ๆมีเกิดขึ้น
เมื่อสตินทรียืมีกำลังมาก
จะรู้ทันตั้งแต่แรกเกิด ขณะกำลังเกิด ขณะดับ

ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน
เมื่อกายยังมีปรากฏ เวทนาย่อมมี
ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง ในรูปแบบที่มีเกิดขึ้นในเวทนากล้า
มีเกิดขึ้นทั้งทางกายและจิต

ส่วนความเจ็บปวดที่มีเกิดขึ้น จะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับอุปาทานหรือความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
เป็นอุบายเพื่อให้อยู่ปัจจุบันได้

หากเป็นผู้ที่มีความอดทนอดกลั้นได้ดี
จะกำหนดเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นตามจริง
จนกระทั่งทุกสิ่งถูกทำลายลงไป อาจจะมีหลายครั้ง
เมื่อเสพเนืองๆ เวทนากล้าจะไม่มีรบกวนอีก สภาวะจะก้าวไปข้างหน้า

คนที่มีความอดทนอดกลั้นน้อย มีความกลัวเต็มหัวใจ
จะใช้คำบริกรรมาช่วย บริกรรมถี่ๆ มาบดบังเวทนาที่เกิดขึ้น
เมื่อไม่มีช่องโหว่ให้ความกลัวมีเกิดขึ้น
จิตเป็นสมาธิจะบดบังเวทนาที่มีอยู่ เหมือนจะมีหรือไม่มี คลายหายไป
อันนี้เรียกว่า รู้ช้า เกิดจากความกลัว
อาศัยใช้เวลา บางคนเป็นสิบปี ยังไม่สามารถก้าวได้ข้างหน้าได้

แต่ตัวสภาวะที่สำคัญคือ อินทรีย์ ๕ เป็นตัวหลัก
ศิล สมาธิ ปัญญาไตรลักษณ์ ที่เสพเนืองๆ
เมื่ออินทรีย์ ๕ แก่กล้า ย่อมบรรลุเร็ว
เพียงจะบอกว่าไม่สามารถสรุปได้
เพราะมีเรื่องของศิลมาเกี่ยวข้องด้วย
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การละนิวรณ์

ที่นี้พอจะเข้าใจบ้างไหมระหว่าง
ลมหายใจกับสติปัฏฐาณที่มีเกิดขึ้นในสัมมาสมาธิ
คนละตัวสภาวะกัน
เพราะลมหายใจ สามารถมีเกิดขึ้นในสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิ
สติปัฏฐาน ๔ ไม่สามารถมีเกิดขึ้นในสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ

อนุปุพพนิโรธสูตร
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้
๙ ประการเป็นไฉน
คือ อามิสสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป ๑
วิตกวิจารของผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป ๑
ปีติของผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป ๑
ลมอัสสาสปัสสาสะของผู้เข้าจตุตถฌานย่อมดับไป ๑
รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานย่อมดับไป ๑
อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานย่อมดับไป ๑
วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานย่อมดับไป ๑
อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานย่อมดับไป ๑
สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แล ฯ

ผู้ปฏิบัติเข้าถึงสมบัติ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
จะมีความรู้เห็นเหมือนๆกัน
เพราะเป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔

ที่นี้เข้าใจหรือยังว่าสติปัฏฐาน ๔ เจริญแล้ว
ทำให้ละอาสวะลงไปได้ ไม่กำเริบมีเกิดขึ้นอีก
ไม่ใช่ลมหายใจ

วิหารของผู้ที่เข้าถึงมรรคผลตามจริง ครั้งแรก
คืออนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่
อันนี้เป็นความรู้เห็นของผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ผัสสะมากระทบ สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น เกิดดับอยู่อย่างนั้น จนกว่าสมาธิคลายตัว

แล้วหลายๆคนที่มีสภาวะนี้มีเกิดขึ้น
ทำให้ความสำคัญผิดในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
น้อมใจเชื่อ ปักใจเชื่อว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นการเข้าถึงอรหัตผล
เมื่อให้ความสำคัญผิด ย่อมทำให้เกิดการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น
โดยเฉพาะผู้ที่รู้ปริยัติ นำตัณหาเป็นหัวหน้า ความอยากที่มีอยู่ แต่ไม่รู้
จึงพูดสภาวะที่มีเกิดขึ้นใช้ปริยัติสอดแทรกในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
สภาวะจึงเพี้ยนไป ไม่ใช่สิ่งที่มีเกิดขึ้นตามจริง
แต่เกิดจากอุปาทานของผู้พูด
เมื่อทำให้คนอื่นเข้าใจผิด ย่อมมีผลต่อการปฏิบัติของบุคลลนั้นๆ
คือพูดมากกว่าจะตั้งใจปฏิบัติ
จากอินทรีย์ ๕ ที่ตั้งมั่นอยู่ ย่อมเสื่อมไป

เมื่อไม่รู้ก็ปล่อยปละละเลย
แทนที่จะตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง แป๊กแค่นั้น

ถ้าไม่เข้าใจให้อ่านพระสูตรนี้
เราเองในสมัยก่อน จะไม่รู้คำเรียกเหล่านั้นหรอก ปฏิบัติอย่างเดียว
เห็นมีคนนำเรื่องอาปานาสติมาสนทนากัน
จนมีเหตุให้เจอพระสูตร
๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)
ที่คนที่นำมาพูดนั้น จะรู้เพียงมุมเดียว
ตามที่เคยฟัง เคยอ่านมา แต่ไม่ใช่พระสูตรใหญ่
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

เราจึงร้องอ๋อ อ้อ เป็นแบบนี้เอง
คือเริ่มจากลมหายใจ หรือเพ่งกสิณ
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตเป็นเป็นสมาธิ
แต่หลายๆคนยังไม่รู้ว่า สมาธิที่มีเกิดขึ้น มิจสมาธิมีเกิดขึ้นก่อน
สมัยนั้น เราไม่มีความรู้เห็นเหล่านี้หรอก
จะรู้สภาวะที่มีเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=4182&Z=4496&pagebreak=0


21 ชม. ·

ทุกสิ่งที่เขียนมา มีเกิดขึ้นในตนเช่นกัน
หลังได้มรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง
จะฆราวสกับนักบวช แตกต่างตรงเปลือกที่มองเห็น
แต่การกระทำเหมือนๆกัน คือ ความไม่รู้ที่มีอยู่
เพียงแต่นักบวชจะมีพระวินัยบังคับไว้
ส่วนฆราวาส การดำเนินชีวิต ใจจะสบายกว่าสมัยทำความเพียรหนัก
เพราะไม่รู้ว่าตัวสภาวะยังไม่จบ ยังต้องปฏิบัติต่อ
อย่างว่าแหละ ใครจะชอบลำบากอีก

เมื่อจะรู้แล้วว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนนั้น
ไม่ใช่การเข้าถึงอรหัตผล ไม่ติดอุปกิเลสในเรื่องความเป็น
แต่มาติดกามคุณ ๕
เพลิดเพลินตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรู้เห็นที่มีเกิดขึ้นหลังเข้าถึงสภาวะนั้นๆ
เพียงดับเฉพาะตน รู้เฉพาะตน พูดๆแต่เรื่องสมาธิ
อื่นๆพูดไม่ได้ เพราะเราเองไม่รู้ปริยัติ นี่คือสาเหตุดีสำหรับเรา
ไม่ไปสร้างกรรมใหม่ในเรื่องความหลงให้กับคนอื่น ทางกาย วาจา
แค่เล่าว่ามีสภาวะอะไรมีเกิดขึ้นในตน แต่ไม่มีปริยัติลงไปสอดแทรก
เมื่อไม่ได้สร้างเหตุให้คนอื่นหลงในคำเรียก
ไม่ติดอุปกิเลส กรรมที่เคยกระทำไว้ใอดีต จะย้อนกลับมาผลส่ง
เจอกลุ่มคนที่สามารถถ่ายสมาธิได้ มาเข้าหา
นี่เหตุให้กรรม เพียงแต่เราไม่รู้ ไปคบ ไปคลุกคลีด้วย
ปล่อยให้เขามาแบ่งถ่ายเทสมาธิกัน
ด้วยคนเหล่านั้น สิ่งที่เขากระทบ กรรมนั้นๆก็ย้อนกลับไปหาเขา
โดยที่เราไม่ได้พยาบาท จองเวรหรือแช่งแต่ไร
แรกๆคับแค้นใจ แต่ทำอะไรไม่ได้หรอก เรายินยอมเอง

เมื่อสมาธิในเนวสัญญาฯเสื่อมหายไปหมดสิ้น
ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าอะไรมีเกิดขึ้นในตน
ทำไมรู้ชัดทุกผัสสะมากระทบ
ความคมชัดมากเหมือนโดนของแหลมเล็กๆทิ่มเนื้อ
แล้วจะมีความรู้ผุดขึ้น ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ
แล้วมีเหตุไปเจอพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องกรรม
กรรมเก่า กรรมใหม่ ดับกรรม
แล้วรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ เรียกว่าผัสสะ
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ผัสสะมากระทบ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ
เป็นเรื่องกรรมในอดีตที่เคยกระทำไว้
มาให้รับผลในรูปแบบของเวทนาที่มีเกิดขึ้น

แล้วจะมีความรู้เห็นผุดขึ้นมาอีก
ภพคืออะไร ชาติคืออะไร ชรามรณะคืออะไร
ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีปัญญามีเกิดขึ้น
และสามารถกระทำเพื่อดับทุกข์ได้ คือ ดับตัณหา
ไม่กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยมีตัวตัณหาหรือความอยาก เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกระทำออกไป
ทางกาย ให้กลายเป็นกรรมใหม่ กายกรรม
ทางวาจา ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น วจีกรรม
ส่วนบุคคลที่มีสมาธิมากในอรูปฌาน จะไม่สามารถจะรู้ได้เลย

การกำเดินชีวิตไม่ประมาท สร้างเหตุสั้นลง
แต่ใช้ความประมาทเรื่องอาหารการกินดูหนังฟังเพลง
เพราะคิดว่าไม่เป็นอะไร ไม่ได้ไปทำคิดเบียดเบียนใคร
ที่ไหนไได้ เมื่อไม่ทำกรรมฐาน พอใจกับจิตเป็นสมาธิอัตโนมัติ
เป้นไงล่ะ ตามมาด้วยความเจ็บป่วย


1 วัน ·
แชร์กับ สาธารณะ
พระสูตร
๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ
เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ตอนเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง
ต้องเข้าใจก่อนว่า พระองคืทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครบอก
ทำให้พระองค์สำคัญผิดว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้น
นิพพาน ดับภพ ดับอวิชชา สังขาร วิญญาณ
ว่าเป็นการเข้าถึงอรหัตผล
หลังจากพระองคืทรงตรัสเล่าในสภาวะที่พระองค์เจอ เหมือนเล่ามาเรื่อยๆ
จนกระทั่งพระองค์ทรงเข้าถึงอรหัตผลตามจริง
วิมุตติญารทัสสนะมีเกิดขึ้นตามจริง
พระองค์เริ่มบัญญัติคำเรียกต่างๆ
ในลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
โดยเฉพาะการเข้าถึงมรรคผลในดสดาปัตติผลตามจริง
ซึ่งเป็นความรู้เห็นของผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ สัมมาสมาธิ
หากเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผลนั้น
จะนำเรื่องอริยสัจ ๔ เป็นหลัก
เป็นความรู้เห็นของผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
หากมีกำลังต่ำไปกว่ามี จะไม่มีสภาวะนี้มีเกิดขึ้น “วิชชา ๑”
และคำว่าเหล่านี้ไม่มีเกิดขึ้น
“นิพพาน ดับภพ ดับอวิชชา สังขาร วิญญาณ”
ด้วยเหตุนี้สำหรับผู้ปฏิบัติสงสัยว่าตนเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผล
ต้องสอบถามกับผู้ที่เคยเข้าถึงมาก่อน
โดยใช้พระสูตรเป็นหลักในการรับรองว่าเข้าถึงโสดาปัตติผลตามจริง
เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.
[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.
[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ครั้งแรก
อริยสัจ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว
ว่าเหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้
ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้
อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้
ด้วยเหตุนี้ สามารถนำพระสูตร
๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ
มาต่อท้ายได้
เพียงความรู้ความเห็นตรงนี้ ยังไม่รู้หรอก
ไม่รู้คำเรียกอะไรทั้งนั้น จะรู้เฉพาะสภาวะที่มีเกิดขึ้นเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มนี้ ความรู้ความเห็นจะดับเฉพาะตน
เวลาพูดจะพูดชอบเรื่องสมาธิ
เพราะปัญญายังไม่มีเกิดขึ้นในตน
ปฏิจจะ แม้จะรู้แบบแค่สัญญา
แต่ยังไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
ก็คือดับตัณหา กามตัณหา
จะไปรู้ได้อย่างไรล่ะ ไม่เคยฟังมาก่อนจากผู้ที่เคยผ่านเส้นทางนั้นมาก่อน
สภาวะจมแช่อยู่แค่นั้น
เกิดจากความพอใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ที่เกิดจากอวิชชาที่อยู่
ประกอบกับสำคัญผิดสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนนั้น
เป็นการเข้าถึงอรหัตผล
เรียกว่าติดอุปกิเลส แต่ยังไม่รู้ว่าตนติดอุปกิเลส
พูดตรงๆ ครั้งแรกจะหลงก่อน จนกว่าจะเจอผู้ที่ผ่านเส้นนี้มาก่อน
จึงจะสามารถละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มีเกิดขึ้นในตน
แต่ยากหนอนะ เพราะสภาวะในการดำเนินชีวิตค่อนข้างดี
กินดีอยู่ดี ไม่อดปากแห้ง
งั้นเอาแค่อาศัยสมาธิหล่อเลี้ยงไว้ก็พอ
คือผู้ที่เข้าถึงมรรคผลตามจริง
คนที่เคยใช้คำบริกรรม จะไม่มีการใช้คำบริกรรมอีก
เพราะเป็นการรู้รูปนามทีมีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่ต้องพยามทำกรรมฐานเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ
จะเจตนาหรือไม่เจตนา จิตเป็นสมาธิเอง
ด้วยเหตุนี้ ความไม่รู้ที่อยู่ ไม่สนใจทำกรรมฐานต่อ
เพื่อจะได้เข้าถึงในมรรคสุงๆที่มีอยู่
กลับเป็นทิ้งกรรมฐาน ไม่เอาแล้ว ใช้ชีวิตสบาย
บางคนที่เป็นผู้ชาย แม้บวชอยู่ ก้จะตัดสินใจสึก คิดว่าแค่นี้ก็พอแล้ว
เมื่อสมาธิที่เคยมีค่อยๆคลายหายไป
อะไรที่เคยทำ ย่อมเสื่อม เป็นเรื่องปกติ
เมื่อกลับไปบวชอีกครั้ง กินดีอยู่ดี เจอวัดสัปปายะสำหรับในการอาศัยอยู่
ใช้ชีวิตเหมือนฆราวาส เล่นเนต เล่นมือถือ เล่นโซเชี่ยล
อยู่ในฐานะพระสมมุติสงฆ์
ผู้ที่นุ่งห่มจีวร, โกนผม เรียกว่า พระสงฆ์
ไม่ต้องเสียค่าอยู่ ค่ากิน ไม่ต้องเช่าบ้าน
เรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติ
บางคนพอใจเพียงแค่นี้ เวลาพูด จะพูดเรื่องสมาธิ
อื่นๆทำจำเอา เหมือนนักเทศน์
จะให้เทสนาอะไรล่ะ ก็ความรู้เห็นของเข้าถึงมรรคผลครั้งแรก มีแค่นี้
อื่นๆก็อาศัยจากบุคคลที่ตนนับถือ จำมาแล้วนำมาพูด
ไม่ก็อ่านพระสูตร ตรงไหนถูกใจ ก็นำมาพูดตามที่ตนคิดเอาเองว่าตรงกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน จะให้พูดอะไรมากได้ล่ะ รู้แค่นั้น เกิดนจากนั้นล้วนจากคิดเอาเอง
ที่พระสัทธรรมค่อยๆกุดลงไปเรื่อยๆเหลือแค่โคตรภูญาณหรือมุดรู
ก็เพราะเหตุนี้แหละ
ตอนแรกเราไม่รู้หรอกนะ
พอไปอ่านเจอที่พันทิปนำมาสนทนากัน
เรื่องตั้งแต่สมัยหลวงปู่มั่น
จบแค่รูน่ะแหละ เรียกรูเข็ม หลวงปู่จันทร์เรียก
เป็นอันรู้ว่าว่านี่เข้าถึงอรหัตผล
แท้จริงแล้ว สภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นสภาวะของการเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผล ไม่ใช่อรหัตผล ที่นี้ไม่รู้ ก็นำมาบอกต่อๆกัน ทำนองเป็นอันรู้กัน
ทำไมต้องปักใจเชื่อกันแบบนั้น
มีเหตุจากเนวสัญญาฯสัมมาสมาธิเป็นเหตุ
เมื่อทำต่อเนื่อง จนเข้าถึงมรรคผลตามจริง
จะมีความรู้ผุดขึ้นมา ที่เคยเล่าก่อนหน้านี้
“นิพพาน ดับภพ ดับอวิชชา สังขาร วิญญาณ”
ติดอยู่แค่นี้ ไม่ไหนไม่ได้ ติดความยินดีพอใจในอรูปฌาน
แค่รู้ลมหายใจพอแล้ว จะทำกรรมฐานไปทำไม
เมื่ออินทรีย์ ๕ อ่อน สภาวะที่มีอยู่ย่อมไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้
บางคนติดเรื่องเวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
นับเลย มีเกิดกี่คั้ง มี ๓ ครั้งนี่เข้าถึงอรหัตผลก็มี
อรหัตน์ติดเตียง เป็นอัมพาตก็มี
ใช่ซะที่ไหนล่ะ
พอเขียนถึงตรงนี้
“เมื่ออินทรีย์ ๕ อ่อน สภาวะที่มีอยู่ย่อมไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้”

พระสูตรนี้ผุดขึ้นมาเลย
๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

อธิบาย

“ความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว”
ตอนนั้นจำได้ เราเคยเขียนไว้หมายถึง เวทนา

ดีนะได้เขียนจดบันทึกไว้ในบล็อก ไม่งั้นจำไม่ได้ เมย. ๒๕๖๖
คำว่า อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ได้แก่ เวทนา
๓. มหาเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ
[๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า เวทนา?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนารู้อะไร
รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนา.

๒. วิภังคสูตร
[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน
เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
นี้เรียกว่าเวทนา ฯ
สรุป สมัยนั้นเข้าใจว่าเป็นแบบนั้น
รู้แค่ไหน จะเขียนอธิบายไว้แบบนั้น
มารู้ที่หลังจากที่ต่อจิ๊กซอมาเรื่อยๆ ได้พระสูตรเพิ่มมาเรื่อยๆ
เริ่มรู้ล่ะว่า ในพระสูตร
๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
คำว่า
คำว่า อินทรีย์ ๕ ที่พระพุทธเจ้าตรงตรัสไว้
มีความเกี่ยวข้องกับการบรรลุช้า กับบรรลุเร็ว
ไม่เกี่ยวกับเวทนาเลย
และไม่เกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่หรือไม่เกี่ยวกับไม่มีชีวิต
นี่ก็ต้องกลับไปแก้ไขใหม่อีกครั้งในสิ่งที่เขียนไว้
การเขียน สามารถแก้ไขได้
แต่การพูดออกมา กรรมสำเร็จ แก้ไม่ได้เลย ทำไปแล้วนี่
ด้วยเหตุนี้ หลายๆคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะอื่นๆที่มีอยู่ได้
เพราะยังไม่มีปัญญามีเกิดขึ้นในตน
มีแต่สภาวะสัญญามีเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ดับเฉพาะตน
ขยันสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นเนืองๆ

สรุป
คำว่า สอุปาทิเสส
เป็นสภาวะของอรหัตมรรค

คำว่า เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
อินทรีย์ที่นี้ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ โดยเฉพาะสมาธินทรีย์ไม่เสื่อม
ทำให้อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ยังคงปฏิบัติต่เนื่อง
เมื่ออินทรีย์ ๕ แก่กล้า ทำให้บรรลุเร็ว(อรหัตผล)

คำว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เป็นสภาวะของอรหัตผล


1 วัน ·

เมื่อวานเรื่องสัปบุรุษ เขียนตกไปหนึ่งพระสูตร
สรทสูตร
[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหกในเมื่อสรทสมัยยังอยู่ห่างไกล
อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า
ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว
ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่อริยสาวก
อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด
พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑
อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ
“อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เสียได้เด็ดขาด”
ได้แก่ โสดาปัตติผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ให้สังเกตุคำว่า “เสียได้เด็ดขาด”
เป็นสภาวะของสมุจเฉทที่มีเกิดขึ้นตามจริง แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม
ได้แก่ กายสักขีบุคคล ทิฏฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล
คำว่า พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔
“เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑ “
คำว่า อภิชฌา
ได้แก่ ความโลภ
ที่เกิดจากราคะ
ความกำหนัดทางอายตนะที่มากระทบ
อยากได้ของคนอื่นจนทำผิดศิล เช่น ขโมย
คำว่า พยาบาท
ได้แก่ การจองเวร
ที่เกิดจากปฏิฆะ การกระทบกระทั่งทางอายตนะที่มากระทบ
โทสะที่มีเกิดขึ้น จนถึงขั้นอาฆาต พยาบาท จองเวร สาปแช่ง
.
คำว่า สัปบุรุษ (สับ-บุ-หรุด) คือ ผู้สงบ เพราะดับกิเลสได้ตามลำดับ
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ พระอนาคามี
สรทสูตร
แจ้งอริยสัจ๔ ตามจริงเป็นครั้งที่ ๒
ต้องไปแก้ไขในบล็อกที่ลงไปแล้วเมื่อวาน


1 วัน ·
แชร์กับ สาธารณะ
ในพระสุตรนี้เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้น
การเข้าถึงมรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)หรือสัตบุรุษ
การศึกษาเฉพาะตรงคำนี้
“เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.”
๑. เกิดจากตัณหา ความอยากเป็น
ทำให้เกิดความสำคัญว่าเป็นการเข้าถึงอรหัตผล
จริงๆแล้วไม่ใช่
๒. ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษมาก่อน
๓. ตัวสภาวะหลักดูตรงคำนี้
“พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้”
๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ
[๑๐๘] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่งอุทานว่า
ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.
[๑๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอุทานอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ
ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑
ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑.
เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.
[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล
ผู้ใดเห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ
เธอย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่าทุกข์.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น
เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แลว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เราดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
[๑๑๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.
พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.
ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.
ดูกรภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ฯลฯ
ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.
ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มีปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.
ดูกรภิกษุ วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่
วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่
วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์
มีสังขารเป็นที่ตั้ง
มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป
จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ
เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ดังนี้
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ
ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ
ในสังขารธาตุ
ในวิญญาณธาตุ
เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้
เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ
ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป
เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.
เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.


3 วัน ·

คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕
[๑๕] ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่ โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า
สงสารยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไป
ไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน
หรือสหายผู้เช่นด้วยตนไซร้

บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น
เพราะว่าคุณเครื่องความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล
คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ดังนี้
ตนนั่นแลย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายแต่ที่ไหน ทรัพย์แต่ที่ไหน
ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้ ด้วยเหตุนั้น
ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง

ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล

ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต
เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรม
เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น

ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง
ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน
เหมือนลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น

คนพาลมีปัญญาทราม มีตนเหมือนข้าศึก
เที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน
บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี

บุคคลมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่
ย่อมเสพผลของกรรมใด
กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี

บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นแลทำแล้วเป็นดี
บุคคลอันปีติโสมนัสเข้าถึงแล้ว
[ด้วยกำลังแห่งปีติ]
[ด้วยกำลังแห่งโสมนัส]
ย่อมเสพผลแห่งกรรมใด
กรรมนั้นทำแล้วเป็นดี

คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน
ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น
คนพาลถึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุกเดือนๆ
เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน ของพระอริย

บุคคลทั้งหลายผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว
ก็บาปกรรมบุคคล ทำแล้วยังไม่แปรไป
เหมือนน้ำนมในวันนี้ยังไม่แปรไป ฉะนั้น
บาปกรรมนั้นย่อมตามเผาคนพาล
เหมือนไฟอันเถ้าปกปิดแล้ว ฉะนั้น
ความรู้นั้นย่อมเกิดแก่คนพาล
เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์อย่างเดียว
ความรู้ ยังปัญญาชื่อว่ามุทธาของเขาให้ฉิบหายตกไป
ย่อมฆ่าส่วนแห่งธรรมขาวของคนพาลเสีย

ภิกษุผู้เป็นพาล พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่
ความห้อมล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส
และการบูชาในสกุลของชนเหล่าอื่น
ความดำริย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุพาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย
จงสำคัญกรรมที่บุคคลทำแล้วว่า เพราะอาศัยเราผู้เดียว
คฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นจงเป็นไปในอำนาจของเราผู้เดียว
ในบรรดากิจน้อยและกิจใหญ่ทั้งหลาย กิจอะไรๆ
อิจฉา [ความริษยา] มานะ [ความถือตัว] ย่อมเจริญแก่ภิกษุพาลนั้น
ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ยิ่งแล้ว
ซึ่งปฏิปทา ๒ อย่างนี้ว่า ปฏิปทาอันเข้าอาศัยลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพานเป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว
ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ
พึงพอกพูนวิเวกเนืองๆ ฯ

อธิบาย

คำว่า อิจฉา
เกิดจากสักกายทิฐิที่มีอยู่

คำว่ามานะ
เกิดจากอัตตานุทิฏฐิที่มีอยู่

หลังใส่กล่อง ppm

อาทิตย์ที่ ๒

หลังใส่กล่อง แรกๆมีกระตุกคือเบาๆ
หรือแรงกระชาก คือแรงเหมือนถูกกระชากจากความหลับ
ลักษณะอาการจะมีเกิดขึ้น ๒ แบบ
พอเป็น ๗ วัน อาการเหล่านี้ไม่มี

เมื่อก่อนจะรู้ชัดที่หัวใจ หัวใจจะเต้นเร็ว จะรู้ทันเวลาที่มีเกิดขึ้น
ตามมาด้วยแน่นหน้าอก จะรู้สึกชัดถึงหัวใจอยู่ข้างนอก
ส่วนจะวูบหรือไม่วูบ จะรู้ทัน บางครั้งก็ไม่รู้ทันคือวูบไปเลย
ด้วยเหตุนี้ หมอรพ.รามเคยถามว่าที่บอกว่าวูบ ใช่หลับหรือเปล่า
เราบอกหมอว่า เราไม่สามารถแยกได้ว่านี่คือวูบหรือหลับ
เพราะเราไม่เคยหลับ
อาการหลับสำหรับเราคือการนอนหลับไม่รู้สึกตัว
แต่สิ่งที่มีเกิดขึ้นกับเรานั้น ไม่มี
ที่รู้ว่าวูบ จะมีอาการหัวใจเต้นเร็วหรือที่หมอเรียกว่าใจสั่น
มีเกิดขึ้นก่อน แล้ววูบลงไป โอภาสมีเกิดขึ้นต่อ
ทำให้เรามีสติ ไม่ถึงขั้นหมดสติ เหมือนตอนเหตุการณ์มีเกิดขึ้นที่รพ.มงกุฏฯ
อันนั้นทั้งความดันสูง หัวใจเต้นเร็วมาก
ตามมาด้วยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก แล้ววูบคือหมดสติไปเลย ครึ่งวัน
ตั้งแต่บ่ายจนถึงสองทุ่ม จึงฟื้น
เนื้อตัวเต็มไปด้วยเหงื่อเหมือนคนอาบน้ำ
ผ้าปู ปลอกหมอน เสื้อผ้า เปียกหมด ต้องเปลี่ยนทั้งชุด
สภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งนี้ ทำให้รู้ว่าเป็นลักษณะของหัวใจล้มเหลว
จากหัวใจวาย ที่มีเกิดขึ้นครั้งแรก หมดสติ
จากหัวใจล้มเหลว ที่มีเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง หมดสติ
จึงมาเป้นหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
ต้องเสียเงินเจาะเลือดดูค่าเฉพาะหัวใจล้มเหลว 2400 บาท
หากไม่เป็น ผลเลือดจะปกติ แต่ผลเลือดของเราผิดปกติ เป็นเยอะด้วย
จำได้ว่ามีน้ำท่วมในปอดด้วย หมอให้ยากิน ระบายน้ำออกมาทางปัสสาวะ
ยังกินยาตัวนี้อยู่

ซึ่งเคยเล่าหลายครั้ง ที่เรายังมีชีวิตอยู่ได้ เกิดจากกายและจิตที่ฝึกไว้ดี
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิอัตโนมัติ
ผัสสะ สิ่งที่มีเกิดขึ้นภายใน จะรู้ทันว่าอาการใจสั่นมีเกิดขึ้น
จากที่เดินอยู่ จะหยุด นิ่งๆ ไม่ต้องทำอะไร
บางครั้งจะมีอาการเหนื่อยเกิดขึ้นด้วย
หากมีอาการวูบมีเกิดขึ้น
จิตจะเป็นสมาธิอัตโนมัติ โอภาสมีเกิดขึ้น ทำให้ไม่ถึงขั้นหมดสติ
หากไม่มีอาการวูบ แต่มีอาการเหนื่อย
อยู่เฉยๆ รอสักพัก การเต้นของหัวใจจะเต้นช้าลง

ปัจจุบันหลัง ๗ วัน หลังใส่กล่องมา
ยังมีอาการใจสั่ง หรือหัวใจเต้นเร็วกว่า 120 ขึ้นไป
ก็ไม่มีอาการวูบเกิดขึ้นอีก
ส่วนอาการเหนื่อย แรกๆมีนะ เวลาเดินจะเหนื่อย ก็ต้องดูระยะยาว
ส่วนอาการแน่น ไม่ใช่แน่นจากใจสั่น
แต่รู้สึกชัดสิ่งแปลกปลอมที่มีอยู่ภายในคือกล่อง รู้ชัดมาก
อาจเพราะยังไม่คุ้น

จากใส่นาฬิกา แทบจะไม่ใส่ เพราะเวลาหัวใจเ้นผิดจังหวะ
กล่องตัวนี้จะทำงานเอง ทำให้ไม่หมดสติหรือวูบแบบที่เคยเป็น
การขัยบแขนได้พอประมาณ กางแขาได้น้อยๆ
แขาซ้ายไม่ต้องแนบติดตัวเหมือนตอนแรก
ยังใส่ผ้าสลิงไว้ เผลอใช้มือซ้ายเต็มที่

เจ้านายบอกว่า เราน่ะมือไว หยิบอะไรไม่นึกนึกแขนในการใช้ข้อห้าม
เราบอกว่าคุ้นเคยน่ะ บางครั้งเผลอ แต่สั้นๆ แล้วไม่ทำ
ช่วง ๗ วันห้ามขยับแขนซ้าย ต้องแนบติดต่อ
ที่เราใช้แป้นได้ เพราะเก้าอี้ที่นั่งอยู่พอดีตัว
ตัวคีย์บอร์ดลอย นำมาวางบนตัก
แขนซ้ายจะแนบติดลำตัว ได้ด้านข้างพันกหนีบแขนไว้
จึงทำให้ใช้คีย์บอร์ดได้
ตอนนี้ยังใช้วิธีนี้อยู่ แต่สามารถขยับแขนกว้างกว่าเดิมได้


อ่านเจอในพันทิปปี ๒๕๕๗
จากประสบการณ์คุณแม่พี่นะคะ ไม่รู้จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน
แม่พี่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบช้า หัวใจเต้นประมาณ 40 ครั้ง/นาที
ปกติรักษาที่คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา แต่คุณหมอส่งมาผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจที่ราชวิถี
admit 1 วันก่อนผ่าตัดเพื่อเช็คผลเลือดและมอนิเตอร์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ งดน้ำงดอาหาร 12 ชม.ก่อนผ่า
วันผ่า เป็นผ่าตัดเล็กไม่ได้ดมยา แค่ฉีดยาชาที่แขนซ้าย แล้วผ่าใส่เครื่องตรงชั้นกล้ามเนื้อใต้กระดูกไหปลาร้าข้างซ้าย
แม่พี่รู้สึกตัวดี ออกจากห้องผ่า พี่ถามว่าเจ็บมั้ย??? เป็นไงบ้าง???
แม่บอกว่าไม่เจ็บเลย แต่รู้สึกตึงๆแล้วก็หนักๆที่หัวไหล่และแขนข้างซ้าย คงเป็นเพราะฤทธิ์ยาชาแหล่ะ
แผลจะนูนๆ ยาวประมาณ 5 ซม. เย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องทำแผล ห้ามเปิดผ้าทำแผลเด็ดขาด ห้ามยกแขนข้างซ้ายเลย
รพ.จะมีเสื้อคนไข้แบบพิเศษที่จะมีเชือกเล็กๆมัดไว้ให้แขนข้างซ้ายติดกับลำตัวห้ามขยับ เดี๋ยวแผลปริ ต้องใส่แบบนี้ 3 วัน
เมื่อหมดฤทธิ์ยาชา แม่ก็เริ่มปวด ก็ขอยาแก้ปวดพยาบาลมาทาน แม่ก็ดีขึ้นหลับได้
พี่จะขอยาแก้ปวดตั้งแต่แม่เริ่มปวดเสมอ เพื่อไม่อยากให้แม่ปวดมากจนยาเอาไม่อยู่ เป็นอย่างนี้อยู่ 3 วัน
หลังจากนั้นจะไม่ปวดมากแล้ว แม่พี่บอกว่าจะปวดแบบตึงๆแผลจะไม่ปวดตลอดเวลานะ จะปวดเฉพาะเวลาที่ไปโดนแผลเท่านั้น
หลังผ่าตัดครบ 3 วัน จะมีเซลล์จากบริษัทเจ้าของเครื่องมาเช็คการทำงานของเครื่องเพื่อความชัวร์
หมอก็จะมาเปิดแผลดูว่าโอเคมั้ยแล้วก็ให้เรากลับบ้านได้ หลังจากนั้นก็จะนัดไปเช็คเครื่องเรื่อยๆ นัด 1 เดือน และนัดทุกๆ 6เดือน
***พี่ว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆที่แม่พี่ตัดสินใจยอมผ่าตัดใส่เครื่อง เพราะตอนนี้แม่พี่เหมือนเป็นคนใหม่ที่ใช้ชีวิตได้แบบปกติชนคนธรรมดา
ไม่มีวูบ ไม่หน้ามืดเป็นลม ไม่มีอาหารใจหวิวๆเหมือนใจจะขาดให้เห็นอีกเลย ยาก็แทบจะไม่ได้กินแล้ว
จะมีก็แต่รอยแผลเป็นนูนๆที่ใต้ไหปลาร้าซ้าย ที่จะมีปวดตึงๆบ้างเวลาโดนแผลแรงๆ
***ประสบการณ์ยาวไปหน่อย ขอโทษด้วยนะจ๊ะ
แต่ยังไงพี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้เราผ่านพ้นเรื่องราวต่างๆไปได้ด้วยดีนะคะ สู้ๆ ค่ะ
.
ความคิดเห็นที่ 4
ผมเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว เเต่พอผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นเเล้วหัวใจกลับเต้นช้ากว่าเดิม ทำให้ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ถามว่าเจ็บไหม ส่วนตัวเเล้วผมว่าเจ็บนิดหน่อยนะครับ เจ็บตอนฉีดยาชาเเละก็ตอนต่อเครื่องเข้ากับเส้นเลือดที่ส่งไปยังหัวใจ เเต่ก็ทนได้
.
เราขอแชร์าจกที่เคยได้ถามคุณหมอมาค่ะ

  • อย่าออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักถ่วงเยอะ หรือ น้ำหนักกดทับเยอะ เช่น วิดพื้น ว่ายน้ำท่าผีเสื้อ ยกเวทน้ำหนักเยอะ ของเราหมอให้ไม่เกินสิบกิโลกรัมค่ะ ที่ห้ามตามที่บอกไป เพราะเสี่ยงที่สายที่ต่อจากเครื่อง Pacemaker ไปที่หัวใจ ผ่านเส้นเลือด มันขาด เพราะถ้าสายขาด ก็ต้องเอาสายใหม่ต่อใหม่
  • ระวังเรื่องการล้มข้างที่ติดเครื่อง Pacemaker เพื่อเครื่องจะได้ไม่ไปกระแทก แต่…คุณหมอบอกว่า ถ้าล้มจริงๆ ป้องกันหัว ป้องกันอย่างอื่นดีกว่า สำคัญกว่า ถ้าสมองกระทบกระเทือนอันนั้นมันจะหนักกว่าเยอะ พอดีคุณหมอรู้ว่าเราเล่นกีฬา เลยบอกไว้ เผื่อเราล้มตอนปั่นจักรยาน ซึ่งเราก็เคยล้มนะคะ ตอนปั่นที่สกายเลน ไม่ทันได้ระวังอะไรสักอย่าง เพราะชนแนวกั้นที่ลืมมอง เพราะก้มดูนาฬิกา เลยซี่โครงร้าวนิดหน่อย
  • คุณหมอเซ็ทการเต้นหัวใจ Min และ Max ไว้ ถ้าหัวใจเราเต้นเกินค่า Max เครื่อง Pacemaker จะไม่ได้ช่วยแล้ว ทำให้หัวใจเราจะเต้นเอง แต่…กรณีนี้ อาจจะไม่เหมือนเราตรง เราหัวใจเต้นช้าและผิดจังหวะ การที่หัวใจเต้นมากกว่าค่า Max จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้เหมือนเดิม ณ ขณะนั้น เคยถามคุณหมอว่า เซ็ทค่า Max ให้ได้มากกว่าที่ตั้งอยุ่นี้ได้ไหม (ของเราตั้งค่า Max ไว้ที่ประมาณ 155 ครั้งต่อนาที) คุณหมอบอกตั้งอะได้ถึง 170 แต่มันจะทำให้เครื่องทำงานรวนๆ เลยไม่แนะนำ
  • การยกของหนัก คุณหมอบอกเราไม่ให้ยกของหนักเกิน 10 กิโลกรัม สาเหตุเหมือนข้อแรกค่ะ
  • การเอื้อมแขนสูง อันนี้ ได้ยินคุณหมอจะบอกถึงการกระชากแขนอะค่ะว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องระวัง พวกการดึงรั้ง ห้อยโหน คุณหมอไม่แนะนำให้ทำเลย สำหรับแขนข้างที่ติดเครื่อง (ตอนเราวิ่งเทรล เราเลยต้องปรับเปลี่ยนการวิ่งนิดหน่อย เพราะดึงรั้งต้นไม้ไม่ได้)
    หวังว่าข้อมูลจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ









พระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ต่อจากเรื่องสัปบุรุษ

ทั้งหมดนี้เป็นความรู้เห็นของสัปบุรุษหรือพระอนาคามี
ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

จากเรื่องเล่าจะพูดทำนองกันว่าพระอนาคามีจะเด่นสมาธิ
บางกลุ่มนำไปพูดทำนองว่าอาปานสติ จะทำให้เป็นพระอนาคมี
พูดด้อยค่าพระอนาคามี
เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่

ใครที่คิดว่าตนเข้าถึงอนาคามี
สามารถตรวจสอบได้ว่าความรู้เห็นเหล่านี้ มีเกิดขึ้นในตนหรือยัง

เพราะนี่คือปัญญาของบุคคลที่ปฏิบัติหนักจนเข้าถึงอนาคามีตามจริง
นี่เป็นอนาคามิมรรค ยังไม่ใช่อนาคามิผล
ไม่ต้องไปสอบอารมณ์เรื่องกาม ความกำหนัดในทางเพศหรอก
ดิฉันน่ะเคยทำมาแล้ว
เห็นเขาทำกัน ก็ทำตาม
สุดท้าย ไม่ใช่เลย


แจ้งอริยสัจ ๔ ครั้งที่ ๒
ผัสสะ เวทนา
ดับกามุปาทาน

และวิธีการกระทำเพื่อดับชาติ
ชาติ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม
เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ
ชรามรณะ ได้แก่ โลกธรรม ๘

อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖

อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน?
คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

.

๙. นิพเพธิกสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยาย
เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูล รับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยาย
เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสนั้นเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม
เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม
ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม
เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา
เธอทั้งหลาย พึงทราบสัญญา
เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา
ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา
เธอทั้งหลาย พึงทราบอาสวะ
เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ
ความดับแห่งอาสวะปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ
เธอทั้งหลาย พึงทราบกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรมความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับกรรม
เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม
เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม
ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้คือ
รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู …
กลิ่น ที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก …
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อ ว่ากาม
สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณในวินัยของพระอริยะเจ้า ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา
ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า
ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วย สามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน
ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความ พอใจ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย

ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือ
กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
กามในเสียงเป็น อย่างหนึ่ง
กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง
กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม

วิบากแห่งกามเป็นไฉน
คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆให้เกิดขึ้น
เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ
นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม

ความดับแห่งกามเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกาม เพราะผัสสะดับ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกาม
เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม
ความดับแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ
ปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ
ปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ ประการนี้
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา

ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่
สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่
ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
อทุกขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่
อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
นี้เรียกว่าความต่างแห่ง เวทนา

วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆให้เกิดขึ้น
เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ
นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา

ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นข้อปฏิบัติ ที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนาปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อม ทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนา
นี้ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้ นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้
คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญารสสัญญา
โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา

เหตุเกิดแห่ง สัญญาเป็นไฉน
คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา

ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน
คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง
นี้เรียกว่า ความต่างแห่งสัญญา

ก็วิบากแห่งสัญญาเป็นไฉน
คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า)
บุคคลย่อมรู้สึกโดยประการใดๆ
ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆว่าเราเป็นผู้มีความรู้สึกอย่างนั้น
นี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา

ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา
เหตุเกิดแห่งสัญญาความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่ง สัญญา
ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายอาสวะ ๓ ประการ
คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะเป็นไฉน
คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ

ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน
คืออาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิด สัตวดิรัจฉานก็มี
ที่เป็นเหตุให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษย์โลกก็มี
ที่เป็นเหตุให้ ไปสู่เทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ

ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน
คือ การที่บุคคล มีอวิชชา
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น
เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ
นี้เรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ

ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน
คือความดับแห่งอาสวะย่อมเกิด เพราะความดับแห่งอวิชชา
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดอาสวะ
เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ
ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด พรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ
คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม

ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรม
ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวก นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว
แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิด แห่งทุกข์

ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์

ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ บุคคลบางคน ในโลก
นี้ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม
ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง
ก็หรือบางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว
ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอก
ว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่ามีความหลงใหลเป็นผล
หรือว่ามีการแสวงหาเหตุปลดเปลื้อง
ทุกข์ภายนอกเป็นผล
นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์

ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ความดับแห่งทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะความดับแห่งตัณหา
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสเป็นที่ดับทุกข์
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ฯ

สัปบุรุษ

สัปบุรุษ

คำว่า สัปบุรุษ (สับ-บุ-หรุด) คือ ผู้สงบ เพราะดับกิเลสได้ตามลำดับ
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ พระอนาคามี

สรทสูตร
[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหกในเมื่อสรทสมัยยังอยู่ห่างไกล
อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า
ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว
ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่อริยสาวก
อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด
พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑
อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ

“อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เสียได้เด็ดขาด”
ได้แก่ โสดาปัตติผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง

ให้สังเกตุคำว่า “เสียได้เด็ดขาด”
เป็นสภาวะของสมุจเฉทที่มีเกิดขึ้นตามจริง แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม
ได้แก่ กายสักขีบุคคล ทิฏฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล

คำว่า พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔

“เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑ “

คำว่า อภิชฌา
ได้แก่ ความโลภ
ที่เกิดจากราคะ
ความกำหนัดทางอายตนะที่มากระทบ
อยากได้ของคนอื่นจนทำผิดศิล เช่น ขโมย

คำว่า พยาบาท
ได้แก่ การจองเวร
ที่เกิดจากปฏิฆะ การกระทบกระทั่งทางอายตนะที่มากระทบ
โทสะที่มีเกิดขึ้น จนถึงขั้นอาฆาต พยาบาท จองเวร สาปแช่ง

แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง เป็นครั้งที่ ๒

อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖

อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน?
คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

การสดับธรรมจากสัปบุรุษ

จึงจะทำให้เข้าใจสภาวะหรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ในคำเรียกที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๖. ฉฉักกสูตร (๑๔๘)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบ ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์
เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง

เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรง อยู่ด้วยความติดใจ
จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ลำ บาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม
จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันอทุกขมสุข เวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ
และที่สลัดออกแห่ง เวทนานั้น ตามความเป็นจริง
จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น
ยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา
ยังไม่ถอนอวิชชา นุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา
ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย
และจักเป็นผู้กระทำที่ สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบ ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์
เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง

เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ
จึงมีราคานุสัย นอนเนื่องอยู่

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม
จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันอทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ
และที่สลัดออก แห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง
จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น
ยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา
ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา
ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย
แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

——

เรื่องสัปบุรุษ
สิ่งที่ได้เขียนรายละเอียด
ตอนที่สภาวะมีเกิดขึ้น จะไม่รู้คำเรียกหรอก
จะรู้เพียงลักษณะสภาวะมีเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ

ความรู้ความเห็นที่มีเกิดขึ้น
เกิดจากการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ที่เกิดจากผลของการปฏิบัติ
ไม่ได้เกิดจากการฟัง อ่าน ท่องจำมาจากคนอื่น แล้วนำมาพูดอีกที

ความรู้เห็นตรงนี้ทั้งเป็นความรู้เห็นเฉพาะตนและสามารถคนที่ได้ฟัง อ่าน
สามารถปฏิบัติตามได้ และสามารถดับภพชาติของการเกิดได้
คือทำให้ภพชาติของการเกิดสั้นลง

จากแตกต่างจากท่องจำมาพูด แล้วนำมาพูดทำนองว่าตนรู้ตนเห็นด้วยตน
ความกล้าหาญ ความภาคภูมิใจ ย่อมมีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
และมานะไม่สามารถกระทำอะไรได้
เพราะเป็นไปเพื่อดับ ไม่ใช่เพื่อเป็น รวมทั้งอามิสนานา

อันนี้พูดตามจริง
สามารถพูดเต็มปาก ไม่กระดากปาก ไม่รู้สึกละอายใจ
เพราะเจอกับตน เป็นผลของการปฏิบัติตามจริง

ผู้ปฏิบัติจะไปสู่มรรคสูงๆได้
ใจต้องสะอาด พยัญชนะสะอาด ไม่ไปเต็มไปด้วยตัณหาคือความอยาก
รู้ซื่อๆ เขียนซื่อๆ ไม่นำสิ่งที่เคยฟัง อ่านมา สำทับในสิ่งที่มีเกิดขึ้นในตน
แรกๆต้องทำแบบนั้นไปก่อน

สมัยนั้นจำได้แม่น ตอนนั้นไม่รู้ปริยัติมากมายนัก รู้นิดๆ
แต่การแจ้งอริยสัจ ๔ จะรู้เอง ไม่ได้ไปฟัง อ่านจากใครๆมา
เกิดจากกำลังสมาธิเนวสัญญาฯสัมมาสมาธิที่มีอยู่
มีเหตุให้เสื่อมหายไปหมดสิ้น

ด้วยเหตุนี้ จะรู้ด้วยตนว่า สภาวะที่มีเกิดขึ้น
ของคำเรียกเหล่านี้ คืออะไร จะรู้แค่นั้นก่อน
แต่การรู้ครั้งนี้คือการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง เป็นครั้งที่ ๒
ความเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ
ความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ

เมื่อรู้ชัดลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนี้ๆ
ทำใหรู้ว่าสิ่งที่เคยฟัง อ่านจากแหล่งความรู้บางที่
ผู้ที่ได้เขียนหรือพูดอธิบายไว้านั้น
ไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในคำเรียกเหล่านั้น


กุณฑลิยสูตร
ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์
[๓๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ ป่าอัญชนมฤคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต
ครั้งนั้นแล กุณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอาราม เข้าไปสู่บริษัท
เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต
ข้าพเจ้าเดินไปเนืองๆ เที่ยวไปเนืองๆ สู่อารามจากอาราม
สู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
กำลังกล่าวถ้อยคำมีวาทะและการเปลื้องวาทะว่าดังนี้
เป็นอานิสงส์ และมีความขุ่นเคืองเป็นอานิสงส์
ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่เล่า?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกุณฑลิยะ
ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่.

[๓๙๕] ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?

พ. ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?

พ. ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?

พ. ดูกรกุณฑลิยะ สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์?

[๓๙๖] พ. ดูกรกุณฑลิยะ
อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์?
ดูกรกุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด
และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว

อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อ
ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท
และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดี ในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ
ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ
รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ ด้วยใจแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด
และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
อนึ่ง เธอรู้ธรรมารมณ์ ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว
ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท
และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.

ดูกรกุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
เป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท
เพราะรูปทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏ-
*ฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ
รู้ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว
เป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท
เพราะธรรมารมณ์ ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
ดูกรกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๗] ดูกรกุณฑลิยะ ก็สุจริตเหล่านั้นอันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต
เจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต
เจริญมโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต
สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๘] ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ฯลฯ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๙] ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้สมบูรณ์.

[๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
กุณฑลิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อธิบาย

คำว่า หลุดพ้นดีแล้ว
ได้แก่ ละสักกายทิฏฐิ
ไม่เห็นเป็นตน ของตน
เกิดจากการสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

คำว่า ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
ได้แก่ การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นขณะดำเนิชีวิต
ได้แก่ สีลปาริสุทธิ
คือปราศจากตัณหาและทิฏฐิ

มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นในสัมมาสมาธิ
ได้แก่ จิตปาริสุทธิ
คือปราศจากตัณหาและทิฏฐิ

และมีเกิดขึ้นขณะทำกาละ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เป็นผู้ที่มีสติปัฏฐาน ๔ สมบูรณ์


๖. มหาธรรมสมาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔
[๕๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๕๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
โดยมากสัตว์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ
มีความประสงค์อย่างนี้ว่า โอหนอ
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ พึงเสื่อมไป
ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ พึงเจริญยิ่ง ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง
ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น พวกเธอย่อมเข้าใจเหตุนั้นอย่างไร?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น
จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังจงทำไว้ในใจให้ดีเราจักกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๕๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ
เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ
ก็เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ
เมื่อเสพธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง
ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เสื่อมไป ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะปุถุชนมิได้รู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ
รู้จักธรรมที่ควรเสพรู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ
เมื่อรู้จักธรรมที่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ
ก็ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ
เมื่อไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจก็เสื่อมไป
ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง
นั่นเป็นเพราะเหตุไร?
เป็นเพราะอริยสาวกรู้ถูกต้อง.

[๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน?
ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี
ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี.

[๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทาน ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่าธรรมสมาทานนี้แล
มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในอวิชชา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง
ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน
แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่าธรรมสมาทานนี้แล
มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในอวิชชา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทาน ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่าธรรมสมาทานนี้แล
มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในอวิชชา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน
และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา
ย่อมไม่รู้ชัดตามความจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล้ว
มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น
ไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น.
เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป.
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

[๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่าธรรมสมาทานนี้แล
มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.
เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้นไปแล้วในวิชชา
รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น.
เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง.
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน
แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล
มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา
รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น.
เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง.
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล
มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป.
เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา
รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง.
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน
และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล
มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป.
เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา
รู้ชัดตามความเป็นจริง
จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น.
เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง.
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.

[๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฆ่าสัตว์
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย.

เป็นคนถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

เป็นคนประพฤติผิดในกาม
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย

เป็นคนพูดเท็จ
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีวาจาส่อเสียด
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีวาจาหยาบ
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย

เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีอภิชฌามาก
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย

เป็นคนมีจิตพยาบาท
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย

เป็นคนมีความเห็นผิด
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้
เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.

[๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน
แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นคนฆ่าสัตว์
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย.

เป็นคนถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย.

เป็นคนประพฤติผิดในกาม
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย.

เป็นคนพูดเท็จ
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีวาจาส่อเสียด
พร้อมด้วยสุขบ้างพร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีวาจาหยาบ
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย.

เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีอภิชฌามาก
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีจิตพยาบาท
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย

เป็นคนมีความเห็นผิด
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินินาต นรก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้
เรากล่าวว่ามีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.

[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย
เป็นคนเว้นจากผรุสวาจา พร้อมด้วยทุกข์บ้าง
พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
เพราะการเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.

เป็นคนไม่มีอภิชฌามาก
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอนภิชฌาเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการไม่พยาบาทเป็นปัจจัย
เป็นคนมีความเห็นชอบ
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้
เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป.

[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย.
เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากผรุสวาจา
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย.

เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.

เป็นคนไม่มีอภิชฌามาก
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่มีอภิชฌาเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่พยาบาทเป็นปัจจัย.

เป็นคนมีความเห็นชอบ
พร้อมด้วยสุขบ้างพร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้
เรากล่าวว่ามีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานมี ๔ อย่างเหล่านี้แล.

อุปมา ๕ ข้อ
[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมอันระคนด้วยยาพิษ.
บุรุษที่รักชีวิตไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
มาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่าดูกรบุรุษผู้เจริญ
น้ำเต้าขมนี้ระคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด
น้ำเต้าขมนั้น จักไม่อร่อยแก่ท่านผู้ดื่ม
ทั้งสีทั้งกลิ่น ทั้งรส
ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย.

บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำเต้าขมนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง.
ก็ไม่อร่อย เพราะสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง
ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตายหรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้
ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

[๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม
ถึงพร้อมด้วยสีกลิ่น และรส แต่ระคนด้วยยาพิษ.
บุรุษที่รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึงเข้า.
ประชุมชนก็บอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ
ภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม
ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ละคนด้วยยาพิษ
ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด
ภาชนะน้ำหวานนั้น
จักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส
ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย
บุรุษนั้นไม่พิจารณาภาชนะน้ำหวานนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง
ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว
พึงถึงตายหรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้
ที่มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

[๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ.
บุรุษที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเข้า.
ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ
มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆนี้
ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด
มูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส
ก็แต่ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว จักมีสุข.
บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง
ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้
ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

[๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย
เขาระคนเข้าด้วยกัน.
บุรุษผู้เป็นโรคลงโลหิตมาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ
นมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยนี้ เขาระคนรวมกันเข้า
ท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด
ยานั้นจักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส
และท่านครั้นดื่มเข้าแล้ว จักมีสุข.
บุรุษนั้นพิจารณายานั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง
ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มเข้าแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้
ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน
ในอากาศอันโปร่งปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ในท้องฟ้า
กำจัดมืดอันมีในอากาศทั้งสิ้นย่อมส่องสว่าง แผดแสงไพโรจน์ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
กำจัดแล้วซึ่งวาทะของประชาชน
คือ สมณะ และพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น
ย่อมสว่างรุ่งเรือง ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

อาการหลังใส่กล่องppm

อาการหลงลืมเกิดจากความจำเสื่อมจากสมอง

เมื่อวานลืมกินยาแก้อักเสบหลังอาหารกลางวัน
ที่ลืมเพราะยาตัวนี้หมอให้มาหลังใส่กล่อง
ยาตัวเก่าไม่ลืมเพราะกินทุกวันมานานแล้ว

ถ้าไม่ได้เขียนกำกับที่ฟอยด์ที่ใส่ยา ก็ลืมได้
วันก่อน กินไปหนึ่งหรือสองวันจำไม่ได้ แล้วได้เขียนไว้ด้วย
จึงมาเขียบกำกับไว้กันลืมกินและไม่กินเกิน

การใส่เสื้อ ก่อนกลับบ้าน จนท.แนะำนไว้แล้ว
ใส่เสื้อกระดุมหน้า อย่าใส่เสื้อแบบสวม
พอกลับมาวันแรกยังจำได้ จึงตัดบ่าซ้ายออก
เวลาใส่เสื้อยืดจะสอดด้านล่างขึ้นข้างบน

เมื่อก่อนจะใส่เสื้อจะสวมหัว คือใส่ไปแล้ว ไม่รอด เจ้านายจึงดึงออก
แล้วนำมาใส่จากเท้า จึงสอดตัวได้

เมื่อคืนลืมอีก จะใส่เสื้อจากหัว ใส่ไม่ได้
จึงเปลี่ยนมาเป็นใส่จากเท้าขึ้นตัว
บอกเขาว่าเราลืมบอกเขาว่าจนท.ได้บอกไว้แล้ว แต่ลืม

เมื่อคืนเสริชหาของคนที่ใส่กล่อง
การดูแลตวเองตามลำดับตั้งแต่แรกเริ่ม
อาทิตย์ต้องระวังมากๆ ใส่เสื้อติดกระดุมด้านหน้าเท่านั้น
อย่าทำใหกล่องถูกแทก
ซึ่งจนท.ใส่เอกสารมาให้พ้อม เราเพิ่งเปิดอ่าน แบบลืมน่ะ

เมื่อคืนมีการกระตุกตรงกล่อง เช้านี้บอกเขา
เขาถามว่าดูนาฬิกาหรืเปล่า
เราบอกว่าคิดว่าไม่เป็นอะไรจึงไม่ใส่นาฬิกา
เช้านี้เขาใส่นาฬิกาให้

พลาสเตอร์ที่จนท.ติดแผลทำให้ การจะซับเหงื่อตรงจั๊กแร ทำได้ยาก
จะรู้สึเหนอะหนะ ลองใช้ทิชชูสอดตรงรั๊กแร้ทำได้ยากมากๆ
เราไม่กล้าอ้าแขนกว้าง กลัวมีผลกระทบต่อกล่องที่ใส่อยู่
บอกเจ้านายว่านี่ขนาดเราเป็นคนที่เหงื่อน้อยนะ

เขาบอกว่าผึ่งตรงพัดลม
เราบอกว่าทำไม่ได้หรอก พลาสเตอร์ที่ปิดมาไม่สามารอ้าแขนกว้างไม่ได้
ก็จะคันๆเหนอะๆเป็นช่วงๆ บางครั้งเหมือนมีมดไล่ใต้พลาสเตอร์ มีกัดด้วย
เวลาเลือดไหลเข้ากล่อง จะรู้สึกชัด
บางครั้งรู้สึกตึงเหมือนเป็นแผลแล้วแผลจะแห้ง จะคันข้างใน

วันนี้้ มื้อเช้าเหมือนเดิมและเย็นเหมือนเดิม แต่เพิ่มผลไม้
มื้อกลางวันนี้เป็นข้าวกล่องเซเว่นข้าวผัดหมูขี้เมาเหมือนเมื่อวาน
อันนี้แกะมือเดียวได้ ใช้นิ้วกลางซ้ายมากดตอนแกะ
เพิ่มขนมเทียน เขาซื้อมาให้เมื่อคืน
กินแล้ว จะไม่กินอีก มือเลอะ ไอตามมา

วันก่อน เขาซื้อเป็พะโล้มาให้ แต่เรากินไม่ได้ คือแกะห่อที่แรปมา
มือเดียวแกะไม่สะดวก จึงเก็บไว้ก่อน แบบจะทำใหมือเลอะ
เช้านี้บอกเขาว่าลืมป่ะ ก็ใช้มือขวายก
ใช้มือซ้ายมาช่วยยกขวดน้ำขนาดเกือบสองลิตร แปบนึง
จริงๆอะไรที่ยังทำไม่ได้ ควรบอกเขาได้ แต่เราลืมตัว

.

รพ.นครธน

หัวใจ ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเซลล์พิเศษที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง (pacemaker cell) ซึ่งเซลล์นี้พบได้ในหัวใจเท่านั้น โดยมีอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ ในหัวใจห้องบนขวา (SA node) และต่ำลงมาระหว่างห้องบนและห้องล่าง (AV node) เซลล์เหล่านี้จะสร้างกระแสไฟฟ้าเป็นจังหวะ 60-100 ครั้งต่อนาที โดยห้องบนจะสร้างจังหวะที่รวดเร็วกว่าจึงเป็นตัวหลักในการกำหนดจังหวะ กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านจากห้องบน วิ่งลงมาที่ห้องล่างโดยมีการหน่วงเล็กน้อยที่ระหว่างทาง ทำให้หัวใจห้องบนบีบตัวก่อนห้องล่างเล็กน้อยเพื่อเป็นการไล่เลือดตามทิศทางที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ
หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งแพทย์สามารถวิเคราะห์ได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

อาการ
วิงเวียน
หน้ามืด ตาลาย
ใจสั่น
เป็นลม หมดสติ

การรักษา
ใช้ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
ใส่เครื่องช่วยการเต้นของหัวใจ (Pacemaker)

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker implantation)
เป็นหัตถการเพื่อฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอก ใต้ผิวหนังของผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ สัญญาณไฟฟ้าจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอ ที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้มากเพียงพอ

การเตรียมตัวก่อนใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
งดยาตามแพทย์แนะนำ
งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนฝังเครื่อง
ถอดอุปกรณ์และเครื่องประดับต่างๆเก็บไว้ที่ห้องพัก
เจ้าหน้าที่จะโกนขนบริเวณหน้าอกข้างที่จะใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (แพทย์นิยมใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัด)
พยาบาลจะเปิดเส้นเลือด เพื่อให้น้ำเกลือบริเวณข้อมือด้านใดด้านหนึ่ง

การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ในห้องตรวจเมื่อผู้ป่วยนอนบนเตียงจะมีเจ้าหน้าที่ ทำการติดอุปกรณ์เพื่อตรวจวัดสัญญาณชีพตลอดระยะเวลาที่ทำหัตถการ
พยาบาลจะทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณหน้าอก
แพทย์ฉีดยาชาเฉพาะที่ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ถ้ารู้สึกเจ็บปวดมากสามารถบอกแพทย์ได้ตลอดเวลา
แพทย์เปิดแผลบริเวณใต้ไหปลาร้าข้างใดข้างหนึ่งเพื่อทำการใส่สายไปตามหลอดเลือดดำเข้าสู่หัวใจ และวางตำแหน่งที่เหมาะสม
หลังจากนั้นแพทย์จะทำการต่อสายเข้ากับตัวเครื่องช่วยการเต้นของหัวใจ แล้วฝังไว้ต้ผิวหนัง
ทำการเย็บปิดแผล

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
สายเลื่อนหลุด
เลือดออก
ติดเชื้อ
กล้ามเนื้อหัวใจทะลุ
ปอดแตก

การปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
รับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบตามแพทย์สั่ง
การปฏิบัติตนเรื่องการใช้แขน
ใน 7 วันแรก ไม่ให้ยกแขนด้านที่ใส่เครื่อง โดยจะมีสายคล้องแขนไว้ตลอดเวลา
แขนแนบลำตัวไม่กางไหล่ จนมาเปิดแผล พบแพทย์เมื่อครบกำหนด 1 สัปดาห์
7 วัน ถึง 1 เดือน กางแขนระดับไหล่
มากกว่า 1 เดือน ยกเหนือไหล่ได้
งดใส่เสื้อสวมหัว (ใส่เสื้อแบบติดกระดุมหน้า)
ช่วงแรกที่แผลยังปิดไม่สนิท จะปิดแผ่นกันน้ำ โดยห้ามแกะเองเด็ดขาด จนกว่าจะกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง แต่ถ้าแผลมีการอักเสบ บวม แดง ให้รีบมาพบแพทย์
ภายใน 1เดือนให้หลีกเลี่ยงการยกของหนักแขนข้างที่ใส่เครื่อง และไม่แกว่งแขนวงกว้างหรือสูง เพื่อป้องกันสายกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจหลุดจากตำแหน่ง
หลีกเลี่ยงการถู กด หรือเกาบริเวณแผล
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น หน้ามืดเป็นลม เหนื่อยหอบผิดปกติ สะอึกตลอดเวลา ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและตรวจสอบการทำงานของเครื่อง
ควรพบแพทย์ตามนัด เพราะจะได้รับการตรวจเช็คเครื่องอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
หลีกเลี่ยงการนวดหน้าอก
บริเวณที่มีคลื่นไฟฟ้า หรือ สนามแม่เหล็กแรงสูง
หากต้องผ่าตัดหรือรักษาด้วยการฉายแสงหรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ และพิจารณาก่อนเข้าเครื่อง
ควรพกบัตรประจำตัวผู้ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเสมอ


1 วัน ·
อาการหลังฟื้นตัวที่พัก
เจ้านายช่วยเช็ดตัวส่วนบน
ตอนที่เขาช่วยถอดเสื้อกล้ามออก
เราบอกว่า ยายกับเรา ผู้หญิงจแก่หรือสาวจะเหมือนกัน
ส่วนจะหย่อนจะตึง ขึ้นอยู่กับวัย

เราพูดให้เขาได้พิจรณาเรื่องสังขาร
จะได้ไม่หลงในรูปที่ปรากฏ
จะไม่หลงรูปว่าคนนี้สวย คนนี้ไม่สวย

อนาคตยายของเขาไม่พ้นป่วย เขาก็ต้องดูแลเช็ดตัวให้ยาย
การเจ็บป่วยมีหลายสาเหตุ
รักษาหลักไว้ก่อน อาหาร การนอน
การนอน ควรทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ไม่งั้นจะเป็นที่เราเป็น การนอนดึก แม้จะทำกรรมฐานไม่หลับไม่นอน
แม้จิตจะเป็นสมาธิก็ตาม
การนอนน้อย มีผลต่อหัวใจ จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
อันนี้พูดได้เพราะเจอกับตน

อาการเต้นหัวใจเป็นมาก่อนที่จะเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
ที่อยู่ได้ ไม่กำเริบ เกิดจากจิตเป็นสมาธิ สมาธิควบคุมอยู่
เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้ไม่ถึงขั้นหมดสติ
จิตที่เป็นสมาธิ โอภาสเกิดขึ้นทันที ทำให้ไม่หมดสติ
นี่คือกายและจิตที่ฝึกไว้ดี

การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจะทำให้เสียชีวิตได้
มีตัวแปรร่วมอยู่ การเจ็บป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์ต่ำ
ไทรอยด์เป็นพิษ หัวใจเต้นผิดจังหวะทำให้เกิดหัวใจวาย เสียชีวิตได้
อันนี้ก็เจอกับตน กายและจิตที่ฝึกไว้ดี ทำให้ไม่เสียชีวิตแค่หมดสติ

ไทรอยด์ต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้
อันนี้ก็เจอกับตน กายและจิตที่ฝึกไว้ดี ทำให้ไม่เสียชีวิตแค่หมดสติ

เมื่อเจอทั้งหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ทำให้ป่วยเป็นหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอยู่ จะกระตุ้นมรณะให้มีเกิดขึ้นบ่อย
แต่ไม่ถึงขั้นหมดสติ อย่างทีเล่าไว้ จิตที่เป็นสมาธิช่วยชีวิตไว้

สติ สัปชัญญะ สมาธิ ทำให้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีเกิดขึ้น
เวลามีอะไรเกิดขึ้นภายในกายและหัวใจ สติทำให้รู้ทัน
คือรู้ตั้งแต่แรกเริ่มมีเกิดขึ้น อาศัยการสังเกตุสิ่งที่มีเกิดขึ้นในกาย
หัวใจที่ผิดปกติจากการเต้นผิดจังหวะ
จะมีอาการแน่นๆ หายใจไม่สะดวก ทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
บอกกับใคร ไม่สนใจ เพราะเขาไม่รู้ อันนี้พูดตอนนอนรพ.
ได้บอกจนท.อาการนแน่นหน้าอก ใจสั้น
จนท.บอกว่าเป็นเพียงอาการของโรคที่เป็นอยู่
เห็นป่ะ ที่หลายคนไหลตาย คือเหมือนคนหลับแล้วตาย
เกิดจากหัวใจล้มเหลวฉับพลัน

หัวใจวายที่มีเกิดขึ้นจะแตกต่างกับหัวใจล้มเหลว
หัวใจวาย ตอนเกิดข้นจะเริ่มปวดก่อน ค่อยๆเพิ่มความปวด
จนปวดไม่มีที่จะอยู่ ปวดสุดๆ หลัง หัวใจ แล้วช็อคหรือหมดสติ เสียชีวิต


มาเล่าหลังจากการใส่กล่องppm
วันนี้เป็นวันที่ ๓
อาการแน่นหน้าอก ไม่มีเกิดขึ้นอีก
ก่อนหน้าที่ใส่กล่อง มักมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
อาการวูบมี แต่จิตเป็นสมาธิอัตโนมัติ ทำให้ไม่หมดสติ
หากยืนอยู่ จะยืนเฉยๆ รอสักพัก จากหัวใจเต้นเร็ว จะค่อยๆลดลง
คือหากทำอะไรอยู่ อาการแน่นหน้าอก เหนื่่อย
รอสักพัก จิตที่เป็นสมาธิทำให้สามารถอยู่กับอาการนั้นได้

ตอนแรกไม่คิดจะใส่กล่อง
ที่นี้ตอนเดินทางไปแพร่สองครั้งช่วงต้นปีใหม่ ปีที่แล้ว และปีนี้
น่าทัวร์ที่เดินทาง เสีย นั่งชั้นล่าง
อาการศไม่พอ ทำให้วูบ
อาการวูบจะคล้ายๆก่อนจิตจะเป็นสมาธิ คือจิตตกภวังค์ แล้วดับ
พอรู้สึกตัว ก้ว่าไม่ได้ง่วง เพราะเวลาง่วงจะหาว นี่ไม่มีอการ
จะเหมือนเคลิ้มๆ แล้ววูบ ทุกอย่างดับหมด
ตอนที่รู้สึกตัว รถกำลังเดินทางอยู่

ครั้งที่ ๒ ก็เช่นกัน
ก่อนจะเกิดอาการจะเหมือนๆกัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ
เราเฉยๆเพราะคุ้น ไม่ได้สนใจ ต่อมาเคลิ้มๆ แล้วไม่รู้สึกตัว
ขนาดรถวิ่งอยู่ ปกติจะโดนเขย่าหัวคลอน เหมือนรถยางแบน
จะรู้หมดนะ อันนี้ไม่รู้เลย
ตอนที่รู้สึกตัว ดูนาฬิกา การเต้นของหัวใจ 188 สลับเต้นต่ำ สลับแบบนี้
จนเรารู้สึกตัว การเต้นของหัวใจจะค่อยๆกลับมาปกติ

พอไปพบหมอรามตามนัด หมอพูดเหมือนเดิม ใส่กล่องเถอะ
ครั้งนี้จะเป็นยังไงไม่รู้ ใส่แล้วจะทำให้มีชีวิตอยู่อีก 10 ปี
ยังสามารถทำอะไรได้อีกที่อยากทำ

หมอบอกว่า หลังใส่กล่อง แรกๆลำบากหน่อย ระวังตัวเอง
พอทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง จะได้ไม่วูบอีก
หากไม่ใส่ มีโอกาสจะวูบอีก

เราคิดนะ ก่อนจะตัดสินใจใส่กล่อง
เรานึกถึงสิ่งที่เขียนไว้ยังไม่สมบูรณ์ ต้องแก้ไขมีหลายอย่าง
แทนที่จะรีบๆเขียน สามารถค่อยๆเขียน แล้วค่อยๆจุดที่ควรแก้ไขได้
หากเราวูบ แล้วไม่ฟื้นกัลบมาอีก สิ่งที่เขียนไว้ จบแค่นั้น
ติดแล้วทำให้ตัดสินใจใส่กล่อง
ลำบากหน่อย เหมือนเวทนาไม่แตกต่างกันเลย

เจ้านายถามว่าคันแผลไหม
เราบอกว่าไม่คันที่แผล คันที่ปลาสเตอร์ที่ติดอยู่ ทำให้คัน แต่ทนได้
แบบคันบ้าง ไม่คันบ้าง เกิดเป็นช่วงๆ

เมื่อวาน ขากลับ เขาแวะเดอะมอลล์ ส่งภาพมาให้ดูว่าซื้อนมตามที่เราบอก
แวะเซเว่นซื้อข้าวกล่องวางชั้น ข้าวผัดกระเพราหมูหมด
มีข้าวผัดหมูขี้เมา อยู่ในตู้แช่แข็ง
เราบอกว่าเพิ่มสมุนไพร กินได้นะ เขาซื้อมาให้
เราบอกว่าซื้อวันละกล่อง เพราะเป็นทางผ่าน ไม่ต้องตุน

พอมาถึงห้อง เขาซื้อนมที่เราบอกว่า ไม่ต้องซื้อมาอีกนาน
เขาซื้อเป็ดพะโล้มาให้ด้วย ของชอบเรา

เราบอกว่าดีจัง จะได้มื้อค่ำวันพรุ่งนี้สำหรับเขา เขาชอบกินเหมือนกัน
พรุ่งนี้ แวะซื้อข้าวไรซ์เบอร์รี่มาให้ด้วย
กินกับเป็ดพะโล้มื้อกลางวันพรุ่งนี้

อีกสองวันไปเช็คแผล ทำความสะอาดแผล
ก็ได้ลูกชายกับลูกสะใภ้พาไปรพ.และทำธุรกรรมให้ด้วย
ตอนนี้เรายังไม่สามารถไปไหนด้วยตนได้
มีผลกระทบต่อกล่องที่ใส่อยู่ ต้องระวังการกระทบกระทั่ง

เมื่อเช้าเดินจงกรมระยะที่ ๖ ใช้ใจรู้ทุกย่างก้าว
ทำให้รู้ว่าสภาวะตรงนี้เหมาะสำหรับคนที่อยู่พื้นที่แคบ
ต้องสติดี ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ถูกหนอ กดหนอ
ทุกการเคลื่อนไหว จะรู้ขึ้นที่ใจในแต่ละขณะๆๆ
เวลาหยุด จะรู้ชัดท้าที่แนบอยู่กับพื้น
เช่น ยกส้นหนอ จะเป็นแบบนี้
“ยกส้น-หนอ ,ยก-หนอ ,ย่าง-หนอ ,ลง-หนอ ,ถูก-หนอ ,กด-หนอ”
อันนีเกิดจากฝึกมาตั้งแต่เดินระยะที่ ๑
ตัวสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ทำให้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีเกิดขึ้น
จะไม่ใช้คำบริกรรม จะใช้ใจเป็นหลัก
เพราะว่าสามารถจำคำบริกรรมได้แม่น ไม่หลงลืม
จึงใช้ใจในการกำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ความคิดจะไม่มี จิตจะจดจ่อรู้การเคลื่อนไหวของเท้าในแต่ละขณะๆๆ
คือ ไม่เผลอ ไม่หลง

ลักษณะมิจฉาทิฏฐิ

ความรู้จริงในการ”ปฏิบัติ”มากกว่าความรู้ในพระไตรปิฎก24/07/’66(08.40) Bua Kaew
https://www.youtube.com/watch?v=2Tn4ZeqOrqs

@walaipornlo4366 1 นาทีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
ไม่จริงค่ะ
พูดแบบนี้ถือว่าปรามาสพระพุทธเจ้า
สภาวะของท่าน หากเป็นฆราวาส
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า บุคคลมีปัญญาเช่นกับตัก
ท่านยังทำไม่ได้ ยังไม่เข้าตัวสภาวะที่มีอยู่ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
จึงทำให้เกิดความคิดแบบนี้คือมิจฉาทิฏฐิ
ไม่เชื่อว่าพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้มีอยู่จริง
เมื่อมิจฉาทิฏฐิมีเกิดขึ้น แล้วพูดออกมา

ท่านไปฟังการปฏิบัติของคนอื่น แล้วนำวิตกวิจารณ์ เปรียบเทียบ ยกตน
กรรมนั้นๆสำเร็จแล้ว
เหตุมี ผลย่อมมี
ด้วยเหตุนี้ทำให้ท่านเป็นบุคคลมีปัญญาเช่นกับตัก
เคยฟังพระไตรปิฏกเพียงเศษเสี้ยว
แล้วคิดเอาเองว่าตนรู้เห็นมากว่าพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าทรงเกิดก่อน
สาวกเป็นเพียงผู้ดำเนินตามมรรคที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมไว้

ปุคคลวรรคที่ ๓
[๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลมีปัญญาคว่ำ ๑
บุคคลมีปัญญาเช่นกับตัก ๑
บุคคลมีปัญญากว้างขวาง ๑

พระไตรปิฏก มาจากที่เรียกว่าพระสูตร
พระสุตรมาจากสาวก เช่นพระอานนท์ได้สดับธรรมจากพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ด้วยตนพระองค์
แล้วทรงบัญญัติคำเรียกไว้ในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
จึงมาเป็นคำว่าอรรถ พยัญชนะ
ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

อินทรียวรรคที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วินัยของพระสุคตเป็นไฉน
พระสุคตนั้น ย่อมทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือวินัยของพระสุคต

เรื่องยสกุลบุตร
ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
เรื่องพ้นจากบ่วง
[๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป
จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางงามในที่สุด
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์
สัตว์ทั้งหลาย จำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.


ปุคคลวรรคที่ ๓
[๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลมีปัญญาคว่ำ ๑
บุคคลมีปัญญาเช่นกับตัก ๑
บุคคลมีปัญญากว้างขวาง ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่มีปัญญาคว่ำเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ
ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา
เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้
ถึงลุกจากอาสนะแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้
เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ ถึงจะเอาน้ำรดลงที่หม้อนั้น
ย่อมราดไป หาขังอยู่ไม่ แม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ
ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา
เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้
แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไว้ไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญาคว่ำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีปัญญาเหมือนตักเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ
ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา
เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้
ครั้นลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้นท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นไม่ได้
เปรียบเหมือนบนตักของบุรุษมีของเคี้ยวนานาชนิด
คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทรา เกลื่อนกลาด
เขาลุกจากอาสนะนั้น พึงทำเรี่ยราด เพราะเผลอสติ แม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ
ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา
เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้
ครั้นลุกจากอาสนะนั้นแล้ว จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้นไว้ไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญาเหมือนตัก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีปัญญากว้างขวางเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ
ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา
เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้
แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้
เปรียบเหมือนหม้อหงาย เอาน้ำเทใส่ไปในหม้อนั้น ย่อมขังอยู่หาไหลไปไม่ แม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ
ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา
เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของกถานั้นได้ ถึงลุกจากอาสนะนั้นแล้ว
ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้นได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญากว้างขวาง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

บุรุษมีปัญญาคว่ำ เป็นคนเขลา ไร้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
บุรุษเช่นนั้น แม้หากจะหมั่นไปในสำนักของภิกษุเสมอ
ก็ไม่อาจจะเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของกถาได้ เพราะเขาไม่มีปัญญา

บุรุษมีปัญญาเหมือนตัก เรากล่าวว่าดีกว่าบุรุษที่มีปัญญาคว่ำ
บุรุษเช่นนั้นถึงแม้จะไปในสำนักของภิกษุเสมอ
นั่งบนอาสนะนั้น เรียนเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของกถาได้
ครั้นลุกมาแล้ว กำหนดจดจำพยัญชนะไม่ได้
เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป

ส่วนบุรุษผู้มีปัญญากว้างขวาง เรากล่าวว่าดีกว่าบุรุษที่มีปัญญาเหมือนตัก
บุรุษเช่นนั้น แม้ไปในสำนักของภิกษุเสมอ
นั่งบนอาสนะนั้น เล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถาได้
แล้วจำพยัญชนะไว้
เป็นคนมีความดำริประเสริฐสุด
มีใจไม่สงสัยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
สูตรที่ ๑๐
จบปุคคลวรรคที่ ๓


อินทรียวรรคที่ ๑
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระสุคตเป็นไฉน
ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือพระสุคต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วินัยของพระสุคตเป็นไฉน
พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือวินัยของพระสุคต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
๔ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก
ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่ายาก
เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต
เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา
ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง
พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ ไม่มีที่พึ่งอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ
เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวลง ทอดธุระในวิเวก
ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น
แม้ชนผู้เกิดมาภายหลังนั้น ก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวลง ทอดธุระในวิเวก ไม่ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
พื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี ด้วยบทและพยัญชนะอันตั้งไว้ดี
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมมีนัยดีไปด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต
เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมไม่ขาดมูลเดิม ยังมีที่พึ่งอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้ไม่มักมาก
ไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก
ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น
แม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังเหล่านั้น ก็เป็นผู้ไม่มักมาก
ไม่ประพฤติย่อมหย่อนทอดธุระในการก้าวลง
เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


เรื่องยสกุลบุตร
ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
เรื่องพ้นจากบ่วง
[๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป
จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางงามในที่สุด
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์
สัตว์ทั้งหลาย จำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.
เรื่องพ้นจากบ่วง จบ.

เรื่องมาร
[๓๓] ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านเป็นผู้อันบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ผูกพันไว้แล้ว
ท่านเป็นผู้อันเครื่องผูกใหญ่รัดรึงแล้ว แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกใหญ่
ดูกรมาร ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.

มารกราบทูลว่า บ่วงนี้เที่ยวไปได้ในอากาศ เป็นของมีในจิต สัญจรอยู่
เราจักผูกรัดท่านด้วยบ่วงนั้น แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านี้
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ
ดูกรมาร ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.

ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้แล้ว
มีทุกข์ เสียใจ หายไปในที่นั้นเอง.

บันทึก

ให้ธรรมะสำหรับบคุลลที่ไม่เคยสดับพระธรรมมาก่อน
คือไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี เพราะส่วนมากจะพูดเหมือนกัน
ตามที่หมอพูดตอนผ่าตัดใส่กล่องให้

เราแค่ฟัง ไม่พูดอะไรทั้งสิ้น
ต้องมีสาเหตุอย่างแน่นอนจึงพูดออกมาแบบนั้น

เมื่อคืนฝันว่าไปสถานที่แห่งหนึ่ง
ด้านหลังเห็นการก่อสร้างเป็นตึกพระสงฆ์และผู้ปฏิบัติ เยอะนะ
เมื่อเดินไปด้านหน้า เหมือนจะเคยไปในฝันครั้งก่อน
ด้านหน้าเป็นตึกสองชั้น
ชั้นล่างโล่งๆ เหมือนวัดของคนจีน ชั้นบนเป็นที่กราบพระ
หน้าตึกจะมีรูปมังกรตัวใหญ่ตัวยาวอยู่ด้านบนของตึก

อันนี้เล่าให้เจ้านายฟัง
มังกรจะสีเขียว ไม่แน่ใจว่าหนึ่งตัวหรือสองตัว เพราะกลับมารู้ที่กาย

ถามเจ้านายว่า ถ้าเราทำแฟ้มให้
เขาสามารลอกสิ่งที่เราเขียนได้ไหม

เขาบอกว่า ทำได้สิ

เราบอกว่า เราจะทำให้หมอที่รักษาเราอยู่
ส่วนสัมมาทิฏฐิเล่มที่ ๒ ๓ ๔
เป็นเรื่องของปัญญา ต้องใช้เวลาในการเรียบเรียง
เริ่มจากสัมมาทิฏฐิเล่มที่ ๑ ก่อน
อ่านง่าย เข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความ

ส่วนคำ อธิบาย ที่มีเขียนไว้
หากอ่านแล้ว ยังไม่เชื่อ ไม่เป็นไร
อย่างน้อยหมอจะได้รู้ว่าพระธรรมนั้นๆ
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้มีอยู่จริงและไม่ได้แต่งขึ้นมาใหม่


เช้านี้เจ้านายถ่ายภาพ
สิ่งที่เรากินทุกวัน

  1. นมซอง ชงกับน้ำร้อน
  2. นมจากน้ำข้วกล้อง
  3. ข้าวกล่องเซเว่น วันละกล่อง
    กินเสร็จ ไม่ต้องล้างชาม ล้างลำบาก

เขาถามว่า ข้าวแค่กล่องเดียวพอเหรอ
เราบอกว่า พอ
ปกติมื้อเช้าก็กินแบบนี้ มื้อเย็นก็คิดแบบนี้ เพราะต้องกินยา
มื้อกลางวัน กินอะไรก็ได้
เราต้องควบคุมเรื่องอาหารพวกแป้ง
คนที่ป่วยเป็นหัวใจล้มเหลว นน.จะขึ้นง่ายกว่าคนร่างกายปกติ

ธัญพืชเว้นไว้ก่อน
อะไรๆที่กินแล้วทำให้เกิดการระคายคอ หยุดไว้ก่อน
ผลไม้ ต้องซื้อแบบไม่ต้องปลอกเปลือก
เราชอบกินลองกอง เจ้านายซื้อมาประจำ
เราบอกว่าแกะเปลือกลำบาก ยังไม่กิน ไว้กินตอนที่ใช้สองมือได้

หมอบอกว่าทำเหมือนไม่มีแขน
เราถามหมอว่า รีดผ้าได้ไหม
หมอบอกว่า รีดผ้ามือเดียวได้ไหม
เราบอกว่าไม่แน่ใจ
หมอบอกว่าใหใช้แขนข้างที่ใช้งานได้ อีกข้างอย่าไปใช้
แค่สองอาทิตย์ ให้ทุกอย่างเข้าที่ก่อน
ห้ามถูกน้ำ ห้ามอาบน้ำ ให้คนเช็ดตัวไปก่อน
เพราะถ้าแฉะ แล้วติดเชื้อ ต้องผ่าตัดใหม่อีก

วันแรกกลับมาถึงที่พัก จะมีความอยากอาหาร
อยากกินโน่นนี้ แต่กินไม่ได้
อาการเหมือนคนที่งดอาหาร
อาจเป็นไปได้ ก่อนวันที่ไปผ่าตัด
มื้อเย็นเป็นเพียงนมกล่อง องุ่นเล็กน้อย
เช้าวันผ่าตัด กินนมหนึ่งกล่อง หากหิวก็ดื่มน้ำ
เพราะหมองดอาหาร
เริ่มผ่าตัดบ่ายสอง ผ่าตัดเสร็จสี่โมงเย็นกว่านิดๆ ไม่มีอาเจียน
ได้กินข้าวตอนหกโมงเย็น
มีข้าวสวยแต่ไม่เอา เลือกผลไม้เก้ามังกร น่าจะสี่ชิ้น
กินเสร็จ ดื่มน้ำ กินยามื้อเย็น
มื้อเช้าเป็นโจ๊กไก่ฉีก เหยาะซีอิ๊วเล็กน้อย
มื้อกลางวัน หมูกระเทียมหวานปะแล่ม แกงส้มไทยใส่ผักบุ้ง ผลไม้เก้ามังกร
รสชาติของอาหารค่อนข้างเหมาะสำหรับการดูแลสุขภาพ
ส่วนข้าวสวยเหลือ อาจเพราะเป็นข้าวจ้าวที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ

ใส่ppm

ก่อนหน้านี่ ที่บ้าน หัวใจวาย หมดสติ ๑ พศ. ๒๕๖๑

ที่รพ.มงกุฏ หัวจล้มเหลว หมดสติ ๑ จำไม่ได้ล่ะ ต้องดูสมุดที่จดไว้

จะกิน จะดื่ม ไอ ขากเสลด แปรงฟันใช้แบบสั่น
ทุกสิ่งที่ทำปัจจุบัน จะเหมือนการทำกรรมฐาน
สังรวม สังวร
แม้กระทั่งขับถ่าย ห้ามเบ่ง

อาจเพราะถูกปฏบิัติมาหนักก่อน จึงไม่ทำให้รู้สึกทุกข์
เพราะเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ
ดีกว่าจะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
เหมือนพร้อมจะวูบทีนที
อาศัยการสะสมจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
แทนที่จะวูบ กลับมาเป็นจิตเป็นสมาธิแทน
พอมีอาการจะวูบ จะรู้ทัน โอภาสจะมีเกิดขึ้นทันที

ถ้าถามว่าอันไหนดีกว่ากั
ยอมลำบากกาย ดีกว่าลำบากใจ
เมื่อแผลหาย สายไฟฟ้าที่ต่อไว้จะไม่หลุด
ทให้สามารยืดอายุไปถึง๑๐ ปี

วันนี้เริ่มใช้การพิมพ์ได้
เพราะเปรแป้นลอย วางบนตักใต้
ใชมือเดียวในการพิมพ์
มื้อซ้ายจะใช้ปลายนิ้วกลางกดแป้น
ไม่อ้าแขนซ้าย ให้แนบลำตัว
ข้อศอกแนบหน้าอก อันนี้จำไม่ได้ ไว้ครั้งหนาค่อยถาม
คือทำตามที่การใส่สลิงค์ ไม่เอาผ้าออก

บางครั้งยังมีเผลอ เช่นจะแขวนผ้าขนหนูต้องใช้สองมือ
พอทำปั๊บ รีบวางมือซ้ายให้แนบอยู่กับตัว เหมือนหักศอก
หมอให้ใส่สลิงค์ไว้ตลอดเวลา จะได้ไม่เผลอ

ที่หมอกังวลคือเรามีอาการความจำเสื่อมที่เกิดจากสมอง
เดี๋ยวจะเผลอ อาจทำให้จะหลุดจากกล่องที่ต่อไว้ เป็นอันตราย

ตอนนี้บอกเจ้านายว่าทุกวันซื้อข้าวกล่องสำเร็จจากเซเว่น วันละกล่อง
กินเสร็จ ไม่ต้องล้างชาม

ซื้อนมที่เรากินประจำ สำหรับมื้อเช้าและมื้อเย็น เพราะต้องกินยา
เสื้อที่ใส่ เรามีเสื้อมกล้ามเยอะ
ตัดหัวไหล่ซ้ายออก เหลือบ่าข้างขวา
เวลาใส่สือ จะสอดจากด้านล่างคือเท้า แล้วมือขวาดึงเสื้อยึดขึ้นข้างบน
เหมือนคนแขนหัก ใส่เสื้อไม่ลำบากเท่าไหร่นัก

ตั้งแต่หลังผ่าตัด จะรู้สึกอาการกระตุกที่อกซ้าย เกิดสั้นๆ
หมอบอกว่าเครื่งจะช่วยทำให้ไม่หมดสติ เวลาหัวใจเต้นเร็ว

ตอนที่หมอผ่าตัด ได้ฟังหมอคุยกับจนท.ที่ช่วยหมออยู่
หมอบอกว่าเขาเป็นคนเหมือนไม่มีศาสนา ไม่ใส่บาตร
ไม่ทำบุญ ทำทาน เวลาใครมาพูดก็ตาม
หมอจะมองว่าล้วนท่องจำกันมาแล้วมาสอน
ไม่รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด
ด้วยเหตุนี้หมอจึงไม่มีสัทธา เมื่อไม่มีจึงทำทำเหมือนคนที่ไม่มีศาสนา
เรายังฟังนะเหมือนเสียงวิทยุเปิดให้ฟัง จะวูบๆเป็นระยะ
พอวูบจะมีแสว่างกับความืดเกิดสลับกัน

หมอบอกว่าเช้ามาไปทำวัน เลิกงานกลับบ้าน
ชีวิตจะป็นแบบนี้ ทำให้รู้สึกเบื่อ เบื่อก็เบื่ออยูอย่างนั้น

อันนี้เราอาจจะคิดเข้าข้างไดนะ
จู่ๆที่หมอมาพูเหล่านี้
อาจเป็นไปได้ว่า ที่เราตัดสินใจใส่กล่อง ทั้งๆที่รู้ว่าเสี่ยง
เกิดจากพระไตรปิฏกและสภวะการปฏิบติ
หากตายไปตอนนี้ ทุกสิ่งจะหายไปหมด
เรามักมีอาการแน่นหน้าอกบ่อย วูบบ่อย
เหมือนชีวิตแขวนไว้บนส้นด้าย พร้อมจะขาดทันที

อาจจะการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป
จากเคยหิ้วของหนักได้ แขนซ้ายไม่สามารถหิ้วของหนักได้
เวลาตากผ้า อย่าโหนราวตากผ้า เวลาตากผ้า ตากที่ต่ำ
คือใช้มือขวาในการทำงานเป็นหลัก
คงรอทุกอย่างเข้าที่ ต้องฟังหมอแนะนำ

ลืมเขียนเรื่องความคันรอบที่ติดพลาสเตอร์ปิดอยู่
แค่ลูบๆแต่ไม่เกา แต่แหมคันนะ
รอบนอกสามารถใช้แอลกอฮอลล์เช็ดได้
ห้าทำพลาสเตอร์เปียก

มื้อเช้าเคยกินธัญพืช ตอนนี้งด เพราะระคายคอ แล้วไอตามมา
อาการไอมีผลต่อเส้นเลือด งดไปก่อน

เพิ่งกลับมา ลำบากเหมือนกน
สภาวะที่มีเกิดขึ้น เวทนา ขนะทำกรรมฐาน
ไม่ได้ใช้ยาสลบ รู้สึกตัวตลอด
ได้มอฟินมาช่วย

กายและจิตที่ฝึกไว้ดี
แม้จะมีเวทนาตอดสอดสายเข้าไปในเส้นเลือด
หมอจะใ้ช้แรงดันส่ยไฟฟ้า ในเส้นเลือด
น่าจะเหมือนคนไข้เส้นเลือดตีบ
เล่าแค่นี้พอ เขียนลำบาก หมอห้ามงานมื้อซ้าย

เหมือนแขนหัก
สองอาทิตย์ค่อมาเล่ากัน
ห้ามน้ำโดนแผล ห้ามอาบน้ำ

ขัางเตียง สำบอลลูน
หมอให้กลับ จนท.บอกว่าอย่าเบ่ง
ปรากฏว่าตอนเช้าไปดีๆ
กลับมาอีกที เข้าวัด


2 วัน ·
พรุ่งนี้เตรียมตัวไปรพ.สิรินธรใส่ppm
จะได้ไม่ต้องรู้สึกเหมือนมรณะจ่อ คือมีเกิดขึ้นเนืองๆ
เหมือนครั้งก่อนๆ แต่ครั้งนี้หนักกว่าเก่า
เหมือนความตายที่เกิดจากหัวใจล้มเหลว แล้ววูบไป
หากไม่กลับมาฟื้นกลับคืนอีก นั่นคือจบชีวิตแค่นั้น
สิ่งที่เขียน จะไม่สามารถเขียนได้อีก
อีกอย่างหนึ่งใจบอกว่าทำไมต้องให้ตัวเองลำบาก
เพราะหลังการใส่กล่อง จะมีผลกระทบตามหลัง
แล้วต้องดูแลตัวเอง ระวังหลายอย่าง

บอกความรู้สึกให้เจ้านายฟัง
ตอนที่ตัดสินใจใส่กล่องตามที่หมอสมศักดิ์ให้ใส่นั้น
คิดนึกถึงพระสูตรที่เขียนไว้ยังไม่จบ ยังไม่สมบูรณ์
เนี่ยเพิ่งนึกออกว่าโสดาบันยังขาดอีกพระสูตรเรื่องการสอบอารมณ์
ตามที่ในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ตามลำดับ
ส่วนคนที่อ่าน แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แล้วคาดเดาว่าตนเข้าถึงพระโสดาบัน อันนี้ก็แล้วแต่
คนนั้นๆจะเข้าใจอย่างไรมากน้อยแค่ไหน
ข้อแรก เกิดจากความอยากเป็น
ส่วนมากเห็นเกิดทุกข์
แล้วเข้าใจว่าเมื่อตนเป็นพระโสดาบัน ไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป
อันนี้เป็นการเข้าใจผิด
ข้อสอง เกิดจากไม่เคยฟังคนที่เข้าถึงโสดาปัตติผลตามจริง มาก่อน

ไม่รู้สิ เชื่อตามที่หมอสมศักดิ์พูด
หมอบอกว่าประคับประคองตามแรกๆ
พอสายไฟเข้าที่ จะใช้ชีวิตปกติได้
หากหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล่องตัวนี้จะทำงานอัตโนมัติ
เคยอ่านในพันทิป เขาเล่าว่าเหมือนโดนไฟช๊อต แล้วหัวใจกลับมาเต้นปกติ
อีกคนเล่าว่าตาของเขาอายุ 80+ปี ใส่กล่อง ตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่

เมื่อวานซักผ้าปู เครื่องนอนทั้งหมด ถุงเท้าของเจ้านาย
วันนี้ซักเสื้อผ้า ไม่นึกว่าฝนจะตก ที่ไหนได้ ตอนเย็นฝนตกหนัก
ผ้ายังไม่แห้งเลย คงให้เจ้านายมากลับเอง
เพราะเราต้องนอนรพ. ไม่รู้ว่ากี่วัน
เสริชดู รพ.โพสไว้ว่าอยู่รพ.หนึ่งถือสองวัน แล้วกลับบ้านได้

เจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้

เจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้

ติสสสูตร
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์
ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วเทวดาตนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว
เทวดาอีกตนหนึ่งกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่
เทวดาเหล่านั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว
พระศาสดาทรงพอพระทัยลำดับนั้น

เทวดาเหล่านั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย
จึงถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น

ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป มีเทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม
ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
ครั้นแล้ว เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวกะเราว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว
เทวดาอีกตนหนึ่งกล่าวว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่
เทวดาเหล่านั้นครั้นกล่าวแล้ว อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นแล

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ในที่ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาค ท่านคิดเห็นว่า เทวดาเหล่าไหนหนอ มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้ยังมีอุปานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ

ก็ในสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อติสสะมรณภาพแล้วไม่นาน เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง
แม้ในพรหมโลกนั้นก็รู้กันอย่างนี้ว่าท้าวติสสพรหม เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏ ณ พรหมโลกนั้น
เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
ท้าวติสสพรหมได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล
จึงกล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ
ผู้นิรทุกข์นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้วนานแล้ว
ที่ท่านกระทำปริยายเพื่อมาที่นี้
ขอนิมนต์ท่าน นั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้ดีแล้ว ฯ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว
แม้ติสสพรหมอภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูกรติสสะ
เทวดาเหล่าไหนแล มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

ติสสพรหมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
เทวดาชั้นพรหมย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

ม. เทวดาชั้นพรหมทั้งหมดหรือ ที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

ต. ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
เทวดาชั้นพรหมไม่ใช่ทั้งหมด ที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ …
ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมเหล่าใด
ผู้ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม
แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น
เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ไม่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ

ส่วนเทวดาชั้นพรหมเหล่าใด
ไม่ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุขยศ และความเป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม
และรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น
เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ …
ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอุภโตภาควิมุติ
เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล เป็นอุภโตภาควิมุติ
กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น
เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ
ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นปัญญาวิมุติ
เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นปัญญาวิมุติ
กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น
เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นกายสักขี
เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นกายสักขี
แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่
คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์
พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ
เป็นสัทธาวิมุติ ฯลฯ

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมานุสารี
เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นธัมมานุสารี
แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่
คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์
พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวติสสพรหมแล้ว
หายจากพรหมโลกไปปรากฏที่เขาคิชฌกูฏ
เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับท้าวติสสพรหมทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ
ก็ท้าวติสสพรหมไม่ได้แสดงบุคคลอนิมิตตวิหารีที่ ๗ แก่เธอหรือ ฯ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต
บัดนี้เป็นการควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงถึงบุคคลอนิมิตตวิหารีที่ ๗
ข้าแต่พระสุคต ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พ. ดูกรโมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ฯ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้
เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่
เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้
เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ แม้ไฉน
ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์
พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ


ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น คือ สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานและเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ


วิธีการปฏิบัติ

มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
และมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นของอนิมิตเจโตสมาธิ

“เจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้”
สามารถมีเกิดขึ้นในมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ


ประโยชน์ของการศึกษาและปฏิบัติตาม
บุคคลที่รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

ฌานสูตร
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
ทุติยฌานบ้าง
ตติยฌานบ้าง
จตุตถฌานบ้าง
อากาสานัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข
เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง …นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด
และทำลายร่างใหญ่ๆได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
บรรลุจตุตถฌานฯลฯ
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน …
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ

อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล
สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้
คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้
อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ
เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ


ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับคือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ


บุคคลที่รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
และรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏตามความเป็นจริง

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป
เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก
เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

Previous Older Entries

กรกฎาคม 2023
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31  

คลังเก็บ