ธรรมฐิติญาณ

ธรรมฐิติญาณ

[๒๙๑] พ. ดูกรสุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม
โดยแท้จริงแล้ว ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง
พ. สุสิมะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ

พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ

พ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ

พ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ

 

พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ

 

 

[๒๙๒] พ. ดูกรสุสิมะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
รูปทั้งหมดนั่นอันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

 

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
เวทนาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

 

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สัญญาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

 

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สังขารทั้งหลายทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

 

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
วิญญาณทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

 

[๒๙๓] พ. ดูกรสุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ

 

หมายเหตุ;

ธรรมฐิติญาณ เป็นเรื่องของ ผัสสะกับอริยสัจ ๔
การเกิดและการดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
ได้แก่ ดับตัณหา

มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ในแต่ละขณะๆๆ
กล่าวคือ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

 

 

 

ปุจฉา-วิสัชนา สติปัฏฐาน ๔

ปุจฉา ธรรมที่เป็นอุปการะแก่อารมณ์ของวิปัสสนามีอะไรบ้าง

วิสัชนา ถ้าบอกว่า รูปนาม พูดแบบนี้ ผู้ที่ไม่รู้ปริยัติ ปฏิบัติตามได้ยาก มัวมาท่องอะไรคือ รูป อะไรคือ นาม

ถ้าบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเรียกว่า รูป
ใจที่รู้อยู่ เรียกว่า นาม

จะเข้าใจมั๊ยเนี่ย เอาเป็นว่า รู้สึกเยอะไปนะ

.

เข้าสู่การปฏิบัติเลยดีกว่า

ที่เรียกว่า วิปัสสนา ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุปัจจัยให้ วิปัสสนา คือ ไตรลักษณ์ หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.

ปุจฉา สติปัฏฐาน ๔ เป็นสมถะ หรือ วิปัสสนา

วิสัชนา เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

สมถะ ในที่นี้หมายถึง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทั้งที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ และมีรูปนามเป็นอารมณ์
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
เกิดความรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม
ได้อย่างต่อเนื่อง

วิปัสสนา หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

.

ข้อปฏิบัติสมถะ(สัมมสมาธิ)และวิปัสสนา(ไตรลักษณ์)

๑. เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

การกำหนดรู้ในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

.

๒. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

การกำหนดรู้ในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทานภพ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

๓. การเจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป
คือ ทำทั้งข้อ ๑ และข้อ ๒

.

หาอ่านและศึกษาได้ในปฏิทาวรรค ที่ ๒
ทุกขาปฏิปทา
สุขาปฏิปทา
ปฏิบัติอดทน
ปฏิบัติข่มใจ
ปฏิบัติระงับ

.

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

สมถะเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ดูตย.สมัยพุทธกาล
ที่บำเพ็ญสมถะแบบฤาษี

.

สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ จะมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนา อันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

.

วิปัสสนาเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีหรอก
มีหลักฐานยืนยัน อยู่ในพระไตรปิฎก

เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง)

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

.

สรุป การทำความเพียร ไม่ต้องไปท่องจำ ไม่ต้องไปรู้อะไรมาก
เอาเวลาท่องจำ มาปฏิบัติดีกว่า ยังเห็นผลกว่า

ไม่คิดยกตัว แต่เป็นตย.ให้เห็น
ดูวลัยพรสิ เริ่มต้นทำความเพียร ไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว
พระไตรปิฎกไม่เคยอ่าน คำเรียกอะไรๆก็ไม่รู้จัก
ขนาดมีคนถามว่า ดำริคืออะไร ยังตอบไไปว่า คำพูด

แล้วดูปัจจุบันสิ สิ่งที่ขีดเขียนนำมาจากไหน
แจ้งออกมาจากใจทั้งนั้น ที่เรียกว่า สัญญา
เก็บสะสมมาเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นปัญญา
สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้

.

หากยังชอบศึกษา ชอบท่องจำ
อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนนะ

วิปัสสนา

 

เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) ขณะดำเนินชีวิต
และมีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

พิจารณาเห็นธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา

เป็นที่มีของ “ขณิกสมาธิ” หรือ “วิปัสสนาขณิกสมาธิ”
สามารถกระทำให้แจ้งได้ซึ่ง “พระนิพพาน” ได้เช่นกัน

เกี่ยวกับการบรรลุ มรรค ผล
ไม่ขอนำมากล่าว เพราะ

เมื่อเกิดความถือมั่น ให้ความสำคัญคิดว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่
ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์
อุปกิเลส จึงมีเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

ส่วนผู้ใด จะติดกับดักหลุมพรางกิเลส
มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ

การสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก
ความถือมั่น ที่คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร

หากกำหนดรู้ว่า เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่
แล้วตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง ย่อมหลุดออกจาก กับดักหลุมพรางของกิเลส(อุปกิเลส) อย่างแน่นอน

เมื่อพบเจอสภาวะใดๆ ที่มีเกิดขึ้นอีก(ขณะจิตเป็นสมาธิ)
อุปกิเลส ไม่มีเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

——–

—————-

สำหรับบางคน ที่อาจจะสงสัยว่า
แล้วอนุสัยกิเลส ที่ยังมีอยู่ล่ะ

ดูจาก ผัสสะ สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ตามความเป็นจริง)
และที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จึงเป็นที่มาของ ปัจจเวกขณญาณ(การทบทวนกิเลส)

วิโมกฺขมุข

 

สุญฺญตวิโมกฺขมุข

อนมิตฺตวิโมกฺขมุข

อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข

 

ทั้ง ๓ คำเรียกนี้
เป็นเรื่องของ จิตดวงสุดท้าย
ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย)

ถ้ายังไม่ทำกาละ เป็นเรื่องของ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
จะปรากฏขึ้นในลักษณะของนิมิต
แต่เสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ
เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้

เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก
ที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

มีหลายๆคน ที่วลัยพรเคยอ่านพบเจอมาหรือเคยพูดคุยด้วย
เมื่อเขาเหล่านั้น เจอภาพที่ทำให้รู้สึกกลัวตาย

ความไม่รู้ที่มีอยู่
บางคน ระลึกถึงสิ่งที่ตนพึ่งพาอยู่
เช่น ระลึกถึงครูอาจารย์ของตน ให้มาช่วยตน

เมื่อเป็นดังนี้
จิตจะหลุดจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น
กลับมารู้ที่กายแทน

บางคน เจอผู้แนะนำที่ไม่รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้
เมื่อมีการบอกเล่าสภาวะ ผู้แนะนำจะบอกว่า
ให้กำหนดรู้หนอๆๆๆๆ(ใช้คำบริกรรม)
จนกลับมามีสติ กลับมารู้ที่กาย

นี่คือ ความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้แนะนำท่านนี้
เพราะไม่เคยพบประสพเจอด้วยตนเอง
จึงไม่อาจแนะแนวทางที่ควรปฏิบัติ

มีบางคนเคยพบเจอสภาพธรรมเหล่านี้
เมื่อพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่ง

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
เวลาใครพูดใครถามอะไร ก็จะบอกว่า เจอครั้งเดียวแล้วจบ
ซึ่งสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เลย

หลังจากพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่งมาแล้ว
กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังไม่ให้รู้ชัดในกิเลสที่ยังมีอยู่
หรือรู้ว่ามีอยู่ แต่สักว่ามีเกิดขึ้น เหมือนจางๆ
เหมือนเกิดแล้วดับหายไปอย่างรวดเร็ว

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ตัณหาจึงนำหน้า น้อมเอาคิดเอาเองว่า
สภาพธรมที่มีเกิดขึ้นนี้ เข้าถึงความมี
ความเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ ที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมา

เมื่อน้อมใจเชื่อดังนี้แล้ว
การที่จะรู้ชัดชัดในสภาพธรรมอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย

แต่อย่างน้อย ด้วยความศรัทธา
บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีศิล
เมื่อกายแตก ย่อมสู่สุคติอย่างแน่นอน

ทั้ง ๓ สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของ ไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ปราศจาก การน้อมเอาคิดเอาเอง
หรือปราศจาก ความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

หากยังมีห่วง มีอาลัย ที่เกิดจากจิตใต้สำนึก
สภาพธรรมนี้ จะหายไปและกลับมารู้ที่กายทันที

จงจำไว้ว่า
เมื่อสภาพธรรมทั้ง ๓ ตัวใดตัวหนึ่ง มีเกิดขึ้นในใจตน
หลังจากผ่านสภาพธรรมนั้นๆมาแล้ว
อุเบกขา หรือ กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังหรือกดข่มกิเลส
ให้รู้สึกเหมือนกิเลสที่มีเกิดขึ้นนั้น เบาบางลงมาก

ให้กำหนดรู้ ตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น
อย่าน้อมเข้าสู่ความเป็นนั่น เป็นนี่

เพราะจะติดกับดักหลุมพรางกิเลส
สภาวะการปฏิบัติทางจิต จึงจมแช่อยู่แค่นั้น

จะใช้เวลามากหรือน้อยแค่ไหน ที่จะหลุดจากกับดักหลุมพรางกิเลสนี้ได้
ขึ้นอยู่ จิตที่เกิดการปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งที่คิดเอาเองว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ ตามคำเรียกต่างๆ
หรือตามตำราที่มีเขียนขึ้นมา ตามความรู้ที่มีอยู่ของผู้เขียนนั้นๆ

สัมมาสมาธิ-วิปัสสนาญาณ

๒๕ กค.

สภาพธรรม ที่เกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า สัมมาสมาธิ ซึ่งยังคงมีร่องรอย ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและพุทธวจนะ

การอธิบาย รายละเอียดต่างๆ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ตั้งแต่ รูปฌาน จนถึง อรูปฌาน(สัมมาสมาธิ)

เกี่ยวกับการอธิบายรายละเอียดต่างๆที่มีเกิดขึ้น คุณงามความดีตรงนี้ ยกให้ ตำราจากพม่า ที่เกิดจาก การถ่ายทอดกันมา ในแต่ละรุ่น

หากไม่มีตำราเล่มนี้ ตอนนี้ที่มีอยู่ หนังสือวิปัสสนาทีปณีฎีกา และคัมภีร์วิสุทธิมัค จะให้สอบอารมณ์ใคร เพื่อดูว่า มีสัมมาสมาธิ เกิดขึ้นหรือยัง คงดูให้ใครไม่ได้

และไม่สามารถนำมาอธิบายรายละเอียด ของลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นการรู้เฉพาะตน

ตำราพม่า เขาใช้เรียกว่า การทำวิปัสสนา(การกำหนดรู้) และวิปัสสนาญาณ(สัมมาสมาธิ)

๒๐ พย.๕๕(สมาธิอบรมปัญญา-ปัญญาอบรมสมาธิ)

แบบนี้แหละ เพียงแต่ เขียนเรียบเรียงแบบนี้ ไม่เป็น เพราะ ไม่ได้เรียนปริยัติมา
ปัญญา ที่จะเห็นสภาพความเป็นจริง
ไม่ใช่ แต่เพียงปัญญา ที่จะนึกคิด และ คาดหมายเอาเท่านั้น
แต่ ย่อมมี ตาวิเศษหรือตาใน
ที่พระท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ

เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิต ที่ได้ผ่าน
การอบรมสมาธิมา จนมีกำลังดีแล้ว
ย่อมมีพลังให้เกิด ญาณทัสสนะ
หรือ ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ดังกล่าวได้
เรียกกันว่า “สมาธิอบรมปัญญา
คือ สมาธิ ทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น 

และ เมื่อวิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถ่ายถอนกิเลส ให้เบาบางลง
จิตก็ย่อมจะเบา และ ใสสะอาด
บางจาก กิเลสทั้งหลาย ไปตามลำดับ
สมาธิจิต ก็จะยิ่งก้าวหน้า และ ตั้งมั่น
มากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า “ ปัญญาอบรมสมาธิ

ฉะนั้น การที่จะเจริญ วิปัสสนาภาวนาได้
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพยายาม ทำสมาธิ ให้ได้เสียก่อน

หากทำสมาธิยังไม่ได้
ก็ไม่มีทาง ที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น
สมาธิ จึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้น ที่ก้าวไปสู่
การเจริญวิปัสสนาปัญญา เท่านั้น

(พระธรรมคำสอน…สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ)

24-28 ตค.๕๕(วิปัสสนา)

24 ตค.๕๕(เบื่ออออ)

มีแต่เรื่องของจิต นอกนั้น ไม่ได้มีอะไรเล๊ยยยย

เบื่อจริงๆพั๊บผ่า ชีวิต

บางคน อาจจะแปลกใจ มีครอบครัวดี สามีดี ต้องการอะไร ได้ดั่งใจทุกอย่าง ทำไมยังมีเบื่อ

เรื่องสภาวะ ยากที่จะอธิบายจริงๆ สภาวะเบื่อที่เกิดขึ้น ยากที่จะอธิบายได้จริงๆ ไม่เกี่ยวกับใครหรืออะไร เพียงเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัยของสภาวะ

 

 

เศร้าใจ

“การปฏิบัติธรรมในยุคนี้สมัยนี้ การตีความในธรรมะ ต่างคนก็มีสิทธิ์จะตีความได้
เมื่อตีความออกมาอย่างไร ก็นำไปปฏิบัติและสอนคนอื่นอย่างนั้น

เมื่อตีความออกมาไม่เหมือนกัน จึงกลายเป็นก๊กเป็นเหล่าว่า เป็นสายโน้นสายนี้เกิดขึ้น สายนั้นปฏิบัติอย่างนั้น สายนี้ภาวนาอย่างนี้

แต่ละสาย ก็ประกาศว่า วิธีนี้ถูกต้อง ตรงต่อมรรคผลนิพพานที่สุดแล้ว
สายอื่นถ้าไม่ภาวนาปฏิบัติอย่างนี้ จะไม่ถูกต้อง

แต่ละสายจะพูดกัน อย่างนี้อย่างผูกขาด จึงมีความสับสนเกิดขึ้นในหมู่นักปฏิบัติทั้งหลาย จะมีใครเป็นผู้ตัดสินว่า สายไหนผิดสายไหนถูก

ในยุคนี้ จึงยากที่จะตัดสินได้ ถึงท่านจะรู้อยู่เต็มใจ ก็จะแก้ไขในความเห็นนี้ ไม่ได้เลย

หลักสำาคัญคือ ใช้สติ ปัญญาทำาลายกามตัณหา ให้หมดไปจากใจ ให้ได้เท่านั้นจึงจะถูกต้อง

การทำสมาธิก็ควรภาวนาต่อเนื่องกันอยู่เสมอ เพื่อความสุขใจสบายใจ ไปได้บางครั้งบางคราว หรือทำเพื่อให้เกิดกำลังใจ จะนำไปเสริมปัญญาเท่านั้น

ถ้าปัญญาไม่เคยฝึกไว้ก่อน ไม่เคยพิจารณา ในสัจธรรมอะไรเลย กำาลังใจที่เกิดจากสมาธิ ก็จะนำไปเสริมปัญญาไม่ได้เลย

เหมือนกับปากกา ที่ซื้อมาในราคาแพง ถ้าเขียนหนังสือไม่เป็น ปากกาก็ไม่มีความหมายอะไร

หรือ เหมือนกับแว่นตาอย่างดี มีราคาแพง ให้คนตาบอดสวมใส่จะมีความหมายอะไรกับแว่นตานั้น

นี้ฉันใด ใจที่มืดบอดด้วยสติ ปัญญาไม่เคยฝึกคิดพิจารณาในหลักสัจธรรมมาก่อน

ไม่เคยคิด ในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาก่อน สมาธิก็เป็นได้ตามแบบฉบับ ของพวกดาบสฤๅษีเท่านั้น

ในคำว่า สมถะและวิปัสสนา แต่ละวิธีต้องศึกษาให้เข้าใจว่า สมถะปฏิบัติอย่างนี้ การเจริญวิปัสสนาปฏิบัติอย่างนี้

มีนักปฏิบัติหลายท่านพูดว่า จะภาวนาปฏิบัติ ตามแนวทางของ พระพุทธเจ้า เมื่อภาวนาเอาจริงเมื่อไร จะเป็นไปในความสงบ แบบฤๅษีทั้งนั้น

การตีความในวิปัสสนา รู้สึกว่ามีความแตกต่างกันในบางสำานัก มีความแตกต่างกันอย่างไร ให้ท่านไปศึกษาดูเองก็แล้วกัน

การทำสมาธิความสงบ ของพระองค์ มีความชำนาญมาก ในขณะจิต อยู่ในความสงบของสมาธิ กิเลสตัณหาน้อยใหญ่ ก็เหมือนหมดไปสิ้นไปจากใจ

เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิ ความสงบแล้วกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ ก็เกิดขึ้นที่ใจตามเดิม

พระองค์เห็นว่า วิธีอย่างนี้มิใช่เป็นไป เพื่อละอาสวกิเลสตัณหา ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อ ความรู้แจ้งเห็นจริง ในสัจธรรม ไม่เป็นไปใน มรรคผลนิพพานแต่ อย่างใด

พระองค์จึงได้ลาดาบสทั้งสองนั้นไปเสีย เพื่อแสวงหา อุบายวิธีอย่างอื่นต่อไป
ในที่สุดพระองค์ก็ได้ค้นพบในอุบายวิธี การเจริญวิปัสสนา พระองค์เห็นว่าเป็นอุบายวิธีที่ถูกต้องที่สุดแล้ว จึงได้ตั้งใจเจริญในวิปัสสนานี้ ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงที่พระองค์ ได้เจริญวิปัสสนาอยู่นั้น ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ก็ย่อมมี พระองค์ ก็ทำสมาธิเป็นอุบายพักใจ เพื่อให้เกิดกำลังเสริมสติปัญญา พิจารณาในหลักความเป็นจริงต่อไป

ในที่สุด พระองค์ก็ได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ จากนั้น พระองค์ก็ได้เรียบเรียงอุบาย วิธีปฏิบัติอย่างถูกต้องที่สุด และ ง่ายต่อการปฏิบัติ เพื่อบรรลุแห่งมรรคผลนิพพาน

การศึกษาธรรมก็คือ ใช้ปัญญาพิจารณา ความเป็นจริงที่มีอยู่ในตัวเองและสิ่งภายนอก ให้เป็นไปใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ถ้าเราฝึกสติปัญญา พิจารณาในหลักความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ ใจก็จะเกิด ความแยบคาย ในปัญหานั้นๆ ใจก็จะละจากความเห็นผิดได้

การภาวนาปฏิบัติก็จะก้าวหน้าไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ให้เสียเวลาแต่อย่างใด

ผู้ปฏิบัติที่ดี จะมีสติปัญญาบากบั่น ตัดกระแสของกิเลสตัณหา ให้หมดไปสิ้นไปจากใจโดยเร็ว ไม่ต้องไปวกวน โค้งไปมาตามฌาน ให้เสียเวลา นี้คือความ
เห็นที่เป็น สัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ ฯลฯ”
ทุกๆครั้ง ที่อ่านเจอบทความเรื่อง วิปัสสนา อ่านแล้ว รู้สึกปริ๊ด แล้วความรู้สึกเศร้าใจ ก็เกิดขึ้นต่อมา เศร้าใจจริงๆ

ทำให้หวนคิดถึงสภาวะในอดีต ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง และ ทำอย่างหนัก ทำให้ผ่านสภาวะต่างๆเหล่านั้นมาได้

ขอบคุณ ในความไม่รู้ปริยัติของตนเองในอดีต ขอบคุณความทุกข์ ที่บีบคั้น ทั้งภายนอก(ชีวิต)และภายใน(ขณะปฏิบัติ)

เมื่อเห็นแจ้งตามความเป็นจริง สิ่งแรกที่รู้ คือ “ชีวิต บัดซบจริงๆ”

 

 

28ตค.๕๕

ชีวิตทุกๆคน  จะเหนื่อยมากๆ หากยังไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
และที่เหนื่อยสุดๆ คือ ใจที่ไม่รู้จัก “พอ”

๕ กย.๕๕(โยนิโสมนสิการ)

๕ กย.๕๕(โยนิโสมนสิการ)

ทำตามสภาวะ

คำ “โยนิโสมนสิการ” นั้นประกอบด้วยคำสองคำ คือ

โยนิ แปลว่า เหตุ

มนสิการ หมายถึง การทำ(อารมณ์)ในใจ
ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น กระทำไว้ในใจ

ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ ในชีวิต

ผัสสะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น

ปัจจุบัน กับ ผัสสะ ตัวเดียวกัน

ปัจจุบัน เป็น ผลอดีต หมายถึง เหตุที่กระทำไว้ ในอดีต ส่งผลมาให้ได้รับ คือ เหตุ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ ได้แก่ ความรู้สึกยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น โดยมีผัสสะเป็นเหตุปัจจัย

เป็นเหตุของอนาคต หมายถึง เหตุหรือสิ่งที่กระทำ (การสร้างเหตุทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ตามความรู้สึกยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น) ณ ปัจจุบัน เป็น เหตุ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ได้รับผลใน อนาคต

“รูปํ ภิกฺขเว โยนิโส มนสิกโรถ รูปานิจฺจญฺจ ยถาภูตํ สมนุปสฺสถ”

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ ตั้งสติกำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว รูปนั้นนั้น อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนอย่างแน่นอน

“เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ” เธอจงเป็นผู้ดูเหตุ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

“ตั้งสติกำหนดที่รูป” กำหนดรู้ (สติ) ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น

“ถ้ามีสมาธิแล้ว” จิตเป็นสมาธิแล้ว (สติ+สัมปชัญญะ = สมาธิ)

“รูปนั้นนั้น อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนอย่างแน่นอน”

เห็นตามความเป็นจริง (สัมมาทิฏฐิ) ปราศจากความมีอัตตาตัวตนหรือความคิดเห็นของตน ถูก ผิด ใช่ ไม่ใช่ ดี ชั่ว กุศล อกุศล ฯลฯ ได้แก่ อุปทานที่มีอยู่ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น

สภาวะ คือ ภิกษุทั้งหลาย จงดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น(โยนิ-เหตุ/สิ่งที่เกิดขึ้น/รูป) ได้แก่ ผัสสะ (สิ่งที่มากระทบ) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ถ้ามีสมาธิแล้ว รูปนั้นนั้น อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนอย่างแน่นอน

สัมมาสติ

ย่อมเห็นสภาวะของสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (รู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม)

ไตรลักษณ์

อนิจจัง ไม่เที่ยง เพราะ สิ่งที่เกิดขึ้นแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่

ทุกข์ เพราะ อุปทาน

อนัตตา เพราะ ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของสิ่งใด ปราศจากเรา เขา ตัวตน คน สัตว์
เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ

เห็นอนิจจัง ย่อมเห็นทุกขัง ย่อมเห็นอนัตตา

เห็นทุกขัง ย่อมเห็นอนิจจัง ย่อมเห็นอนัตตา

เห็นอนัตตา ย่อมเห็นอนิจจัง

คือ เห็นสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ย่อมเห็นสภาวะทั้งหมด

อินทรีย์สังวร ได้แก่ ศิล

การไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

สมาธิ ได้แก่ จิตตสมาธิ

ปัญญา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ

สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

นิพพาน

นิพพาน คือ ความดับภพ ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน

การกระทำเช่นนี้ ยังไม่อาจตัดภพชาติในวัฏฏสงสารให้ดับขาดทีเดียวได้หมด

ได้แค่ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน แต่เป็นปัจจัยให้ ภพชาติการเกิดเวียนว่ายในสังสารวัฏ สั้นลง(น้อยลง)

การเจริญอิทธิบาทภาวนา เป็นฝ่ายสมถะ ในสติปัฏฐาน ๔

สัมมาสมาธิ เป็นฝ่ายวิปัสสนา  ที่นำมาเรียกว่า วิปัสสนา วิปัสสนาญาณ ญาณ ๑๖

ไม่ใช่ที่มีปรากฏอยู่ในพระะรรมคำสอน ที่ว่าด้วย สมถะ-วิปัสสนา

สัมมาสมาธิ

เกิดจากการปรับอินทรีย์ ระหว่าง สมาธิกับสติ ให้เกิดความสมดุลย์ เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

เป็นเหตุให้ รู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

ลักษณะอาการหรือสภาวะที่เกิดขึ้น

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ เป็นลักษณะ

มีการเห็นตามความเป็นจริงเป็นรส (รู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม)

มีความสมดุลย์ระหว่างสมาธิกับสติ เป็นปัจจุปัฏฐาน (เหตุการทำให้เกิดสัมมาสมาธิ)

มีสัมปชัญญะ เป็นปทัฏฐาน (เหตุของการเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ)

โยนิโสมนสิการ

ดูและรู้ตามความเป็นจริง ขณะจิตเป็นสมาธิ

ดูและรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

สัมมาทิฏฐิ/สุญญคาร

สภาวะญาณต่างๆ(ญาณ ๑๖) เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นปกติในสัมมาสมาธิ

นับตั้งแต่นามรูปริจเฉทญาณ จนถึงปัจจเวกขณญาณ ซึ่งเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของสภาวะสัมมาสมาธิ

เป็นเพียงสักแต่ว่า กิริยาหรือสภาวะที่มีเกิดขึ้นในสัมมาสมาธิ เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่การรู้เห็นวิเศษอย่างใด

เหตุจากความไม่รู้ที่มีอยู่ เป็นเหตุที่มาของวิปัสสนูปกิเลส

ไตรลักษณ์

อนิจจัง ไม่เที่ยง เพราะ สภาวะที่เกิดขึ้นแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่

ทุกข์ เพราะ อุปทาน

อนัตตา เพราะ ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของสิ่งใด ปราศจากเรา เขา ตัวตน คน สัตว์ เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ

เห็นอนิจจัง ย่อมเห็นทุกขัง ย่อมเห็นอนัตตา

เห็นทุกขัง ย่อมเห็นอนิจจัง ย่อมเห็นอนัตตา

เห็นอนัตตา ย่อมเห็นอนิจจัง

คือ เห็นสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ย่อมเห็นสภาวะทั้งหมด

ไตรลักษณ์ เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของสภาวะ

จนกว่าจะเกิดสภาวะสมุจเฉทประหาณ ที่เกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัยของพละ ๕ ไม่สามารถตั้งใจทำให้เกิดขึ้นเองได้

อนุสัยกิเลสหรือสังโยชน์ จะถูกทำลายในสภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น

นิพพาน คือ ความดับภพ ได้แก่ ดับเหตุของการเกิดภพชาติในวัฏฏสงสาร(อนุสัยกิเลสหรือสังโยชน์ ๑๐)

วิปัสสนาญาณ (ตอนที่ ๙)

เหตุมี ผลย่อมมี

เมื่อมีวิปัสสนา วิปัสสนาญาณจึงมีเกิดขึ้น

ทุกสรรพสิ่งล้วนมีที่มาและที่ไป วิปัสสนาในปัจจุบันก็เช่นกัน เหตุนี้จึงมี วิปัสสนาและวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นในปัจจุบัน

บัญญัติ – ปรมัตถ์

ท่านวิปัสสนาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า “ในการเจริญวิปัสสนานั้น ชั้นต้นๆ เมื่อสติกำหนด พองหนอ – ยุบหนอ ฯลฯ และเมื่อเดินจงกรมก็ให้กำหนดซ้ายย่างหนอ – ขวาย่างหนอ ฯลฯ เป็นต้น

คนทั้งหลายก็อาจสงสัยในวิธีการว่า การกำหนดอย่างนี้เป็นการกำหนดบัญญัติ เมื่อกำหนดบัญญัติอยู่ จะจัดเป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร?

ความจริง ความสงสัยอย่างนี้ก็ถูกต้อง แต่ว่า ไม่ถูกหมดทีเดียว คือว่า ในชั้นแรกนั้น จะต้องให้โยคีผู้ปฏิบัติทำการกำหนดอารณ์บัญญัติไปก่อน มิฉะนั้น จิตจะไม่มีที่กำหนด เพราะ ปรมัตถสภาวะเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก

ต่อเมื่อ ปัญญาภาวนาแก่กล้าขึ้น อารมณ์บัญญัติเหล่านี้หายไป เหลือแต่ปรมัตถสภาวะล้วนๆ ในที่นี้ จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๔ อย่างอ่อน โดยคีบุคคลต้องกำหนดอารมณ์บัญญัติทั้งสิ้น ยังไม่เข้าถึงปรมัตถสภาวะ

แต่พอเจริญวิปัสสนามาเรื่อยๆ ปัญญาภาวนาจะแก่กล้า จนเข้าถึง อุทยพยญาณอย่างแก่ อารมณ์บัญญัติจะหายไปตามลำดับ อารมณ์ปรมัตถ์ ก็จะปรากฏขึ้นแทน และเมื่อถึง ญาณที่ ๕ คือ ภังคญาณแล้ว ก็จะมีอารมณ์ปรมัตถ์ล้วนๆ”

“อาจมีความสงสัยต่อไปว่า เห็นปรมัตถ์นั้น เห็นตอนไหน?

จะเห็นได้ในขณะที่กำหนดพอง-ยุบ นั่ง-ถูก ไม่มี คือหายไปหมด และการกำหนดอยู่ว่า “รู้หนอๆ” นั่นแหละ เป็นสภาวะปรมัตถ์ล้วนๆ ทีเดียว เพราะไม่มีอะไร คือ หายไปหมด อันเป็นลักษณะของภังคญาณ
วิปัสสนาทีปนีฎีกา, หน้า ๖๑-๖๕

เรื่องนี้ ท่านอาจารย์ธรรมปาละ พระเถระชาวลังกา ก็ได้กล่าวไว้ว่า ในคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสา ฎีกาวิสุทธิมัคค์ว่า

“นนุ จ ตชฺชาปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คณฺหายตีติ? สจฺจํ คณฺหายตีติ. ปุพฺเพภาเค ภาวนาย ปน วฑฺฒมานย ปณฺณตฺตึ สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐตีติ – (ตัวใหญ่ทั้งหมด)

ถามว่า ท่านถือเอาปรมัตถธรรม ด้วยบัญญัติที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ มิใช่หรือ?

ตอบว่า ใช่ แต่ถือเอาเฉพาะตอนต้นๆเท่านั้น ครั้นเจริญวิปัสสนาภาวนาไปนานๆเข้า จิตก็จะผ่านพ้นบัญญัติไปตั้งอยู่ในปรมัตถสภาวะล้วนๆ ดังนี้
วิปัสสนาทีปนีฎีกา, หน้า ๖๖

หนังสือ วิปัสสนานิยม ธนิต อยู่โพธิ์ ป.ธ.๙ เรียบเรียง

 

ตอนที่ ๑๐

http://walaiblog.blogspot.com/2012/01/blog-post_18.html

 

ตอนที่ ๑๑

http://walaiblog.blogspot.com/2012/02/blog-post_09.html

 

ตอนที่ ๑๒

http://walaiblog.blogspot.com/2012/02/blog-post_07.html

 

ตอนที่ ๑๓

http://walaiblog.blogspot.com/2012/02/blog-post_2855.html

ที่มาของคำเรียก “วิปัสสนา” ในปัจจุบัน

 

สมัยนั้นตามปีพศที่เขียนไว้ ตอนนั้นจะก็อปมาเพราะเข้าใจว่าวิปัสสนาตามที่ฟังตามๆมา

ตัววิปัสสนา ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง หมายถึง รูปนาม

ตัวสภาวะมีแค่นี้

26 มิย. 64

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ