บุคคล ๗ จำพวก

นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อมั่นในโลกนี้ คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
คือพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ๕ จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ฯ


ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้แก่

ปุคคลสูตร
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

๗ จำพวกเป็นไฉน
คือ อุภโตภาควิมุติ ๑
ปัญญาวิมุติ ๑
กายสักขี ๑
ทิฐิปัตตะ ๑
สัทธาวิมุติ ๑
ธัมมานุสารี ๑
สัทธานุสารี ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

อัตตาวาทุปาทาน

๗. เขมสุมนสูตร

ครั้นเมื่อท่านเขมะหลีกไปแล้วไม่นาน
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
คนที่ดีกว่าเราไม่มี
คนที่เสมอเราไม่มี
หรือคนที่เลวกว่าเราไม่มี
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย
ครั้งนั้นแล ท่านพระสุมนะทราบว่าพระศาสดาทรงพอพระทัยเรา
จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคแล้ว หลีกไป

ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปแล้วไม่นาน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรทั้งหลายย่อมพยากรณ์อรหัตผลอย่างนี้แล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป

ส่วนว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
เขาเหล่านั้น ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ

พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ประพฤติเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ ฯ

.

หมายเหตุ;

คำว่า ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ
ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

.

คำว่า โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
ได้แก่ อวิชชาที่มีอยู่

.

คำว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
ได้แก่ ละมานะ เกิดจากละวาทะเราเป็น ตนเป็น เขาเป็น

เมื่อละอัตตาวาทุปาทานได้
ย่อมไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
เพราะรู้ชัดประจักษ์แจ้งว่า ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้น มีแต่เรื่องขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕

พราหมณ์

๘. วาเสฏฐสูตร
ทรงโปรดวาเสฏฐมาณพ

ครั้งนั้นวาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ
มีถ้อยคำพูดกันในระหว่างนี้เกิดขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่างไรบุคคลจึงจะชื่อว่า เป็นพราหมณ์?

ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ
ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ
ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึงชาติได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์.

วาเสฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีล และถึงพร้อมด้วยวัตร
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์

ภารทวาชมาณพไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้
ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้เหมือนกัน.
.
[๗๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรวาเสฏฐะ เราจักพยากรณ์
การจำแนกชาติ ของสัตว์ทั้งหลาย ตามลำดับ ตามสมควรแก่ท่านทั้งสองนั้น

เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ผู้ไม่ยึดมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดแลตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้วไม่สะดุ้ง
เราเรียกผู้นั้นผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง
ไม่ประกอบด้วยสรรพกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้ตัดอุปนาหะดังชะเนาะ
ตัณหาดังเชือกหนัง ทิฏฐิดังเชือกบ่วง
พร้อมทั้งทิฏฐานุสัยประดุจปม มีอวิชชาดุจลิ่มสลักถอนขึ้นแล้ว
ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดไม่ประทุษร้าย อดกลั้นคำด่า การทุบตีและการจองจำได้
เราเรียกผู้มีขันติ เป็นกำลังดังหมู่พลนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียก บุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้มีองค์ธรรมเป็นเครื่องกำจัด มีศีล
ไม่มีกิเลสดุจฝ้า ฝึกฝนแล้ว มีสรีระตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำบนใบบัว
หรือดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดบนปลายเหล็กแหลม
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์

ผู้ใดรู้ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ของตนในภพนี้เอง
เราเรียกผู้ปลงภาระผู้ไม่ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้มีปัญญาอันเป็นไปในอารมณ์อันลึก
มีเมธา ฉลาดในอุบายอันเป็นทางและมิใช่ทาง
บรรลุประโยชน์อันสูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ และบรรพชิตทั้งสองพวก
ผู้ไปได้ด้วยไม่มีความอาลัย ผู้ไม่มีความปรารถนา ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งเป็นสัตว์ที่หวั่นหวาด และมั่นคง
ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้ไม่พิโรธตอบในผู้พิโรธ ดับอาชญาในตนได้
ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความถือมั่น ไม่มีความถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์
ผู้ใดทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไป
ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดกล่าววาจาสัตย์ อันไม่มีโทษให้ผู้อื่นรู้สึกได้
อันไม่เป็นเครื่องขัดใจคน เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์

แม้ผู้ใดไม่ถือเอาภัณฑะทั้งยาวหรือสั้น เล็กหรือใหญ่ งามหรือไม่งาม
ที่เจ้าของไม่ให้ในโลก เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใด ไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า
เราเรียกผู้ไม่มีความหวัง ผู้ไม่ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดไม่มีความอาลัย ไม่มีความสงสัยเพราะรู้ทั่วถึง
เราเรียกผู้บรรลุธรรมอันหยั่งลงในอมตธรรมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งสอง คือ บุญและบาปในโลกนี้ได้
เราเรียกผู้ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี ผู้บริสุทธิ์นั้น ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้ปราศจากมลทิน บริสุทธิ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดังดวงจันทร์
มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดล่วงอวิชชาประดุจทางลื่น หรือดุจหล่มอันถอนได้ยาก
เป็นเครื่องให้ท่องเที่ยวให้หลงนี้ได้ ข้ามถึงฝั่งแล้ว มีความเพ่งอยู่
ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น
เราเรียกผู้นั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดละกามได้ขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้
เราเรียกผู้มีกามและภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดละตัณหาได้ขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้
เราเรียกผู้มีกามและภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดละกามคุณอันเป็นของมนุษย์ ล่วงกามคุณอันเป็นของทิพย์แล้ว
เราเรียกผู้ไม่ประกอบด้วย กิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี
เป็นผู้เย็น ไม่มีอุปธิครอบงำโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้านั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดรู้ จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
เราเรียกผู้ไม่ข้อง ผู้ไปดี ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

เทวดา คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติของผู้ใด
เราเรียกผู้นั้น ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวลทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง
เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า
ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้ชำนะแล้วโดยวิเศษ ผู้ไม่หวั่นไหว
อาบเสร็จแล้ว  ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดรู้ญาณเครื่องระลึกชาติก่อนได้ เห็นสวรรค์และอบาย
และบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นชาติ  เราเรียกผู้นั้น ว่าเป็นพราหมณ์

อันชื่อคือนามและโคตรที่กำหนดตั้งไว้นี้ เป็นแต่สักว่าโวหารในโลก
เพราะเกิดขึ้นมาตามชื่อที่กำหนดตั้งกันไว้ในกาลนั้นๆ

ทิฏฐิอันนอนเนื่องอยู่ในหทัยสิ้นกาลนาน ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้
เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ก็พร่ำกล่าวว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ
บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะชาติก็หาไม่
จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่

ที่แท้ ชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะกรรม
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม
เป็นชาวนาเพราะกรรม
เป็นศิลปินเพราะกรรม
เป็นพ่อค้าเพราะกรรม
เป็นคนรับใช้เพราะกรรม
แม้เป็นโจรก็เพราะกรรม
แม้เป็นทหารก็เพราะกรรม
เป็นปุโรหิตเพราะกรรม
แม้เป็นพระราชาก็เพราะกรรม

บัณฑิตทั้งหลายมีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท
ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งชัดตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม
หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม
เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น

บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ
ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ และทมะ

กรรม ๔ อย่างนี้ เป็นกรรมอันสูงสุดของพรหมทั้งหลาย
ทำให้ผู้ประพฤติถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓
ระงับกิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว

ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.
[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด
ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูปได้ฉะนั้น

ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11070&Z=11248

 

สวิฏฐสูตร

ปุคคลวรรคที่ ๓

สวิฏฐสูตร

[๔๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ท่านพระสวิฏฐะกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระสวิฏฐะว่า

ดูกรอาวุโสสวิฏฐะ
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๓ จำพวก เป็นไฉน
คือ กายสักขีบุคคล ๑  ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑  สัทธาวิมุตตบุคคล ๑

ดูกร ท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหน
ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า

ท่านพระสวิฏฐะได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ กายสักขีบุคคล ๑  ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑  สัทธาวิมุตตบุคคล ๑

ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ กระผมชอบใจบุคคลผู้สัทธาวิมุตต
ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะสัทธินทรีย์ของบุคคลนี้มีประมาณยิ่ง
.
ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า

ดูกรอาวุโสโกฏฐิตะ
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑

ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหน
ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า

ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร
บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑

บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้

กระผมชอบใจบุคคลกายสักขี
ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมาธินทรีย์ของบุคคลนี้มีประมาณยิ่ง
.
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ถามท่านพระสารีบุตรบ้างว่า
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑

บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหน
ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า

ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า
ดูกรท่านโกฏฐิตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑

บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจบุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ
ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้มีประมาณยิ่ง
.
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระสวิฏฐะและ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า  ดูกรอาวุโส เราทั้งหมดด้วยกันต่างได้พยากรณ์ตามปฏิภาณของตน
มาไปด้วยกันเถอะ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลข้อความนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร
เราจักทรงจำพระพุทธพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น

ท่านพระสวิฏฐะกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลการเจรจาปราศรัยกับท่านพระสวิฏฐะ
และท่านมหาโกฏฐิตะทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้
บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย

เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ

บุคคลผู้สัทธาวิมุตตนี้
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

บุคคลผู้เป็นกายสักขี ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
ก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี

ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้
ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ

บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์
บุคคลผู้สัทธาวิมุตตเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี
และแม้บุคคลผู้กายสักขีก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี

ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า
ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย ฯ

จบสูตรที่ ๑

บุคคลตกนํ้าเจ็ดจำพวก

ภิกษุ ท. ! บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกนํ้าเจ็ดจำพวก
เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

เจ็ดจำพวกเหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ :

(๑) บุคคลบางคน จมนํ้าคราวเดียวแล้วก็จมเลย ;

ภิกษุ ท. ! (๑) บุคคล จมนํ้าคราวเดียวแล้วก็จมเลย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายเดียว โดยส่วนเดียว.
อย่างนี้แล เรียกว่า จมคราวเดียว แล้วจมเลย.

.

(๒) บุคคลบางคน ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย ;

ภิกษุ ท. ! (๒) บุคคล ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี มีโอตตัปปะดี มีวิริยะดี
มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย.

แต่ว่า สัทธาเป็นต้นของเขา
ไม่ตั้งอยู่นาน ไม่เจริญ เสื่อมสิ้นไป.

อย่างนี้แลเรียกว่า ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย.

.

(๓) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ลอยตัวอยู่ ;

ภิกษุ ท. ! (๓) บุคคล ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ

มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี มีโอตตัปปะดี มีวิริยะดี
มีปัญญาดีในกุศลธรรม ทั้งหลาย.

และ สัทธาเป็นต้นของเขา
ไม่เสื่อม ไม่เจริญ แต่ทรงตัวอยู่.

อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่.

.

(๔) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบๆ อยู่ ;

ภิกษุ ท. ! (๔) บุคคล ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบๆ อยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี มีโอตตัปปะดี มีวิริยะดี
มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย.

บุคคลนั้น เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม
เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.

อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว เหลียวดูรอบ ๆ อยู่.

.

(๕) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง ;

ภิกษุ ท. ! (๕) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี มีโอตตัปปะดี มีวิริยะดี
มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย.

บุคคลนั้น เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม
และเพราะความเบาบางแห่งราคะโทสะโมหะ
เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

อย่างนี้แลเรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง.

.

(๖) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้วเดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว ;

ภิกษุ ท. ! (๖) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว
เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี มีโอตตัปปะดี มีวิริยะดี
มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย.

บุคคลนั้น เพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า
เป็นโอปปาติกะ มีการปรินิพพานในภพนั้น
ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว.
.

(๗) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว
เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

ภิกษุ ท. ! (๗) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว
เป็นพราหมณ์ยืนอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี มีโอตตัปปะดี มีวิริยะดี
มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

บุคคลนั้น ได้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่.

อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว
เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก
ซึ่งมีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

– สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐/๑๕.

บุคคลที่เหลือเชื้อและหมดเชื้อ

ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่
อันเป็นที่ประชุมลง ของสิกขาบททั้งปวงนั้น.

สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง
อันเป็นที่ประชุมลง แห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น.

.

อรหันต์

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา.
เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะ เหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ
กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น
เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย
และการต้องออกจาก อาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

.
ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์,

เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ได้ กระทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

.

.

อนาคามี ๕ ประเภท

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอดซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า

จึงเป็นอันตราปรินิพพายี
ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอดซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า

จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า

จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอดซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า

จึงเป็น สสังขารปรินิพพายี
ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า

จึงเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.

.

สกทาคามี

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม
และเพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง

เป็น สกทาคามี
ยังจะมาสู่เทวโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

.

โสดาบัน ๓ ประเภท

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม

เป็น เอกพีชี
คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม

เป็น โกลังโกละ
จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลสองหรือสามครั้ง
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

.
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี
ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ,
แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม

เป็น สัตตักขัตตุปรมะ
ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพ
แห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

.
ภิกษุ ท. ! ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ย่อมทำให้สำเร็จได้บางส่วน.
ผู้ทำให้บริบูรณ์ก็ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์;
ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า สิกขาบททั้งหลาย
ย่อมไม่เป็นหมันเลย, ดังนี้แล
– ติก. อํ. ๒๐/๓๐๑/๕๒๘.

เสขบุคคลและพระขีณาสพ

กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใดเป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล

เมื่อปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่

แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสำคัญธาตุดิน อย่าสำคัญในธาตุดิน

อย่าสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสำคัญธาตุดินว่า ของเรา อย่ายินดีธาตุดิน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.

ย่อมรู้ธาตุน้ำ … ธาตุไฟ … ธาตุลม … สัตว์ … เทวดา … มาร … พรหม … อาภัสสรพรหม …
สุภกิณพรหม … เวหัปผลพรหม … อสัญญีสัตว์ … อากาสานัญจายตนพรหม … วิญญาณัญจายตนพรหม …เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม

รูปที่ตนเห็น … เสียงที่ตนฟัง … อารมณ์ที่ตนทราบ… วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง …

ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน … ความที่สักกายะต่างกัน …

สักกายะทั้งปวง …ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน

ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว อย่าสำคัญพระนิพพาน

อย่าสำคัญในพระนิพพาน อย่าสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
อย่าสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา อย่ายินดีพระนิพพาน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.
————————————————————————————————————————————–
หน้าที่ ๖.

กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล.

กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว

บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว  หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว

แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน

ไม่สำคัญในธาตุดิน ไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา ไม่ยินดีธาตุดิน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า
เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.

 

ย่อมรู้ธาตุน้ำ … ธาตุไฟ … ธาตุลม … สัตว์ … เทวดา … มาร … พรหม … อาภัสสรพรหม…

สุภกิณพรหม … เวหัปผลพรหม … อสัญญีสัตว์ … อากาสานัญจายตนพรหม …

วิญญาณัญจายตนพรหม … อากิญจัญญายตนพรหม … เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม …

รูปที่ตนเห็น … เสียงที่ตนฟัง … อารมณ์ที่ตนทราบ … วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง …

ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน … ความที่สักกายะต่างกัน …

สักกายะทั้งปวง …ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน

 

ครั้นรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพานแล้ว

ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน

ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เรากล่าวว่า เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v … agebreak=1

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ