กามคุณ ๕กับความกำหนัด(ทางเพศ)

05-04-2567
ได้ดูข่าวเรื่องคนบวชเป็นพระ
ยังเป็นพระอยู่ ได้ช่วยตัวเอง

พระพูดทำนองว่าเป็นเรื่องปกติ พระหลายรูปย่อมผ่านเหตุการณ์นี้มาก่อน
ซึ่งเราได้เขียนคอมเมนต์ไว้ว่า สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่าโมฆบุรุษ
เป็นผู้ที่ขาดสิกขาและไม่ปฏิบัติตามพระวินัย

มีคนมีคำถามไว้ว่า มีฮอร์โมนอะไรที่คุมความกำหนัดได้มั่งครับ
เราได้ตอบไว้ว่า มีค่ะ ด้วยการสร้างโฮโมนเกิดขึ้นในตนก่อน
ด้วยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
.
จะอธิบายให้ฟังนะ
หลายคนไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกามคุณ ๕ และคำว่าความกำหนัด(ทางเพศ)
สำหรับบุคคลที่มีโอกาสฟังธรรมจากพระอริยะ ในที่นี้หมายเอาพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงตรัสรู้ มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตนตามจริง

ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรมวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตนตามจริง
เวลาอธิบายรายละเอียดคำเรียกที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
จะพูดหรืออธิบายเหมือนๆกัน
โดยเริ่มจากการกรักษาศิล ๕ รักษาอุโบสถ ทำทาน ทำกรรมฐาน

ต่อมาได้สดับธรรมจากสัตบุรุษ
ลักษณะสัตบุรุษที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
จะมีสภาวะนี้มีเกิดขึ้นในตน
คือเป็นผู้ปฏิบัติทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลตามจริง
ได้แก่ กายสักขีบุคคล ทิฏฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล
ปัจจุบันจะเป็นสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ซึ่งยังคงมีพระสูตรที่เป็นหลักฐานอยู่
ตรงนี้เป็นความรู้เห็น
เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
ฯลฯ
[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

= อธิบาย =
ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
แจ้งนิพพาน ดับภพ คือดับตัณหา ๓
ความเกิดและดับอวิชชา สังขาร วิญญาณฯลฯ
นี่เป็นสภาวะของโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ประเภท กายสักขี
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนได้มรรคผลตามจริง
สำหรับบุคลที่มีกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
ความรู้ความเห็นนี้จะไม่มีเกิดขึ้น ให้กำหนดรู้ตามจริง
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ
เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
.
สัตบุรุษจะมี ๒ ประเภท
เข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
ประเภทที่ ๑ มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สุขาปฏิทา

ส่วนจะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้า
การอธิบายจะแยกออกจากกัน
ประเภทที่บรรลุเร็ว
หลังได้มรรคผลจะพูดเรื่องสมาธิ เรื่องฤทธิ์ เรื่องทำกรรมฐาน

ประเภทที่ ๒ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่าทุกขาปฏิปทา

ส่วนจะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้า
การอธิบายจะแยกออกจากกัน
ประเภทที่บรรลุเร็ว
หลังได้มรรคผลจะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรม
คือกว่าจะได้มรรคผลตามจริง ต้องเอาชีวิตเข้าแลก

ชดใช้กรรมที่ตนเคยกระทำไว้
ด้วยเหตุนี้จึงจะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรม
โดยนำเรื่องราวในชีวิตของตนนำมาเล่าให้ฟัง

ยกตย. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ไปหาอ่านได้ประวัติของท่าน
ท่านคอหักเกิดจากเคยสร้างกรรมไว้กับเต่า
วีรกรรมของท่านตั้งแต่ไว้เด็ก สุดยอดเลย
ท่านเคยตายนะไส้เน่า เกิดจากเคยสร้างกรรมไว้กับไก่
ทำการตอนไก่ คือเลียนแบบจนไก่ไส่เน่าแล้วตาย
ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากสัตุบุรษและปฏิบัติตาม
จะแจ่มแจ้งกรรมและผลของกรรม คือรู้ด้วยตน
.
ตอนนี้จะเริ่มอธิบายเรื่องความกำหนัด
หมายถึงผัสสะ เวทนา และความกำหนัดทางเพศ

ผู้ที่เชื่อกรรมและผลของกรรม ย่อมไม่ทำผิดศิล ๕
เช่นเห็นผู้หญิงหรือผู้ชาย การแต่งตัว ดูยั่วใจ หรือชอบดูหนังโป้
ทำให้เกิดความกำหนัดทางเพศ
บางคนเลือกช่วยตัวเองมากกว่าไปทำผิดศิลต่อครอบครัวของคนอื่น
ซึ่งหลายๆคนยังไม่เข้าใจเรื่องกามคุณ ๕ หรอก

ต่อมาได้สดับธรรมจากสัปบุรุษและปฏิบัติตาม
สัปบุรุษจะอธิบายรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นและความดับ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

เมื่อได้การอธิบายตรงนี้ ทำให้ค่อยๆมีปัญญาเกิดขึ้นในตน คือไตรลักษณ์
เกิดจากการอดทนอดกลั้น ไม่กระทำตามความอยากที่มีเกิดขึ้น
ไม่กระทำจนถึงขั้นทำผิดศิล

ผลของการปฏิบัติ คือพยายามหยุด ไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
ทำให้แจ่มแจ้งแทงตลอดเรื่องกรรมและผลของกรรมด้วยตน
เมื่อเป็นแบบนี้ เรื่องกามคุณจะถูกเพิกถอนออกไปเป็นอัตโนมัติ
เกิดจากสีลปาริสุทธิมีเกิดขึ้นในตนมากขึ้น
ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ย่อมเบาบางลงโดยตัวของสภาวะ

ทีนี้มาพูดเรื่องความกำหนัดทางเพศ
สามารถมีเกิดขึ้นโดยไม่มีอะไรมากระทบทำให้เกิดความรู้สึกเกิดขึ้น
เกิดจากคนเหล่านั้นเคยผ่านการเสพกามมาก่อน
จากการมีคูู่หรือไม่มีคู่ด้วยการช่วยตัวเอง
นี่กำลังพูดเรื่องความกำหนัดทางเพศ ไม่ใช่เรื่องกามฉันทะนะ
ต้องแยกออกจากกัน
กามฉันทะ(เวทนา)มีเกิดขึ้นจากมีผัสสะเป็นปัจจัย
ผู้ที่ละกามฉันทะ ได้แก่ พระอนาคามี

ส่วนความกำหนัดทางเพศ
ผู้ที่มีวิชชา ๓ จึงจะสามารถละได้หมดสิ้น เหมือนตอไหม้
แรกๆความกำหนัด มาปรากฏในฝัน แค่ดูเหมือนดูหนังเรทอาร์ประมาณนี้
ความรู้สึกมีเกิดขึ้น แล้วจะคลายหายไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร
ต่อมามีอีก เปลี่ยนเรื่องใหม่ แต่ความรู้สึกเดิมๆ
แค่มองมากขึ้น เพราะไม่สามารถบังคับไม่ให้มีเกิดขึ้นได้ เป็นเพียงนิมิต
หากให้ความสำคัญสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แล้วมีพิจรณาทำนองว่าเอสภาวะของเรานี่เข้าถึงนี่ๆ
ทำไมยังมีฝันเรื่องพวกนี้ได้
ที่มีการนำเรื่องฝันมาพิจรณากันนี่
เกิดจากยังละความเป็นของที่ตนคิดว่าเป็น
ก็พยายามทำสมาธิให้มากขึ้น
เมื่อสมาธิมีกำลังมากขึ้น ความฝันจะไม่มีเกิดขึ้นอีก

เราปฏิบัติเพื่อการดับภพชาติของการเกิด
หากยังมีใจยังมีคิดอยู่ทำนองว่าตนเป็น
นั่นหมายถึงยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
ความรู้ความเห็นจะจมแช่อยู่แค่นี้
คำพูดมีแต่จากการท่องจำ ไม่ใช่การเข้าถึงสภาวะนั้นๆ


06-04-2567
อธิบายต่อเมื่อวาน

ที่เราเขียนไว้ว่า เราปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้
๑. กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามสัญโญชน์ กามาสวะ
ทั้งหมดนี้เป็นสภาวะตัวเดียวกัน
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติคำเรียกให้แตกต่างกัน
เพราะผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน จะอธิบายรายละเอียดทั้งหมด
ตรงกับลักษณะสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
หากยังไม่สามารถอธิบายได้
นั่นหมายถึงสภาวะของผู้นั้นยังไม่เข้าถึงโดยตัวของสภาวะนั้นๆ
ให้ทำความเพียรต่อได้ จนกว่าจะแจ่มแจ้งแทงตลอด
ในลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ
ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามสัญโญชน์ กามาสวะ
เป็นสภาวะมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
หากกามาสวะถูกทำลายเป็นสมุจเฉท
ทำให้ดับกามภพลงไปได้
ที่เรียกว่า ภพที่เป็นกามาวจรภูมิ

.
มีคำถามว่า เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นใดชั้นนึง
สามารถปฏิบัติเพื่อละกามได้หรือเปล่าครับ

มีเนื้อหาในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ตรงๆหรือเปล่าครับ
เช่นการที่เทวดาลงมายังโลกมนุษย์
แล้วได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดเลื่อมใส
ถ้าจะกลับไปปฏิบัติธรรมท่านเหล่านั้นจะปฏิบัติยังไงครับ
ในเมื่อบนสวรรค์มีกามอยู่ตลอด
เป็นเทวดาจะสามารถทำสมาธิเข้าฌานจนสงัดจากกามได้ไหม
หรือต้องทำกาละ จุติจากเทวดาไปเป็นพรหมก่อน ถึงปฏิบัติเนกขัมมะได้

คำตอบ คำตอบของคำถามข้อแรก คำว่าสวรรค์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขณสูตร
[๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖
อันเราเห็นแล้ว ในผัสสายตนิกนรกนั้น
สัตว์จะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ
ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา
ย่อมเห็นแต่รูปไม่น่าใคร่
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าใคร่
ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าพอใจ
จะฟังเสียงอะไรๆ ด้วยหู…
จะดมกลิ่นอะไรๆ ด้วยจมูก…
จะลิ้มรสอะไรๆ ด้วยลิ้น…
จะถูกต้องโผฏฐัพพะอะไรๆ ด้วยกาย…
จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าใคร่
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าใคร่
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
[๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๖ ชั้น
เราได้เห็นแล้ว ในผัสสายตนิกสวรรค์นั้น
บุคคลจะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ
ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าปรารถนา
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าปรารถนา
ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าใคร่
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าใคร่
ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าพอใจ
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าพอใจ ฯลฯ
จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ฯ
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปัคคัยหสูตรที่ ๑
[๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี
เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป
เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป
เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีเสียงเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี
เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์
เพราะธรรมารมณ์แปรปรวน คลายไปและดับไป
เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี
ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป
ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป
เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นความดับไป คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเสียง … กลิ่น … รส … โผฏฐัพพะ …
ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี
ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์
ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์
เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป คลายไปและดับไป
ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ
ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ฯ
[๒๑๗] รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น
อันน่าปรารถนา น่าใคร่และน่าพอใจ ที่กล่าวกันว่ามีอยู่ประมาณเท่าใด
รูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล
เป็นสิ่งอันชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก สมมติว่าเป็นสุข
ถ้าว่ารูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้นดับไปในที่ใด ที่นั้น
เทวดา และมนุษย์เหล่านั้นสมมติว่าเป็นทุกข์
ส่วนว่าพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เห็นการดับสักกายะว่าเป็นสุข
การเห็นของพระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้
ย่อมเป็นข้าศึกกับชาวโลกทั้งปวง
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข
พระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์
พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข
เธอจงเห็นธรรมที่รู้ได้ยาก
คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งในนิพพานนี้
ความมืดย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์หุ้มห่อ
เหมือนความมัวมนย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่เห็น
นิพพานย่อมมีแก่สัตบุรุษ เหมือนแสงสว่างย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็น
ชนทั้งหลายแสวงหา ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานอันมีในที่ใกล้
ธรรมนี้อันบุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ
ผู้แล่นไปตามกระแสตัณหาในภพ
ผู้อันบ่วงแห่งมารท่วมทับไม่ตรัสรู้ได้ง่าย ใครหนอ
เว้นจากพระอริยะเจ้าทั้งหลายแล้ว
ย่อมควรเพื่อจะตรัสรู้นิพพานบท
ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้โดยชอบ
เป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ฯ
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร
[๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคม
ชื่อว่าเทวทหะของสากยราชทั้งหลาย ในสักกชนบท
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุทั้งปวงเทียวควรทำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุทั้งปวงเทียวไม่ควรทำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว
มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว
มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น
ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีก เพราะความไม่ประมาทนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
รูปเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่
เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯลฯ
ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มีธรรมารมณ์เหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ
ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่
เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯ

คำถามข้อที่ ๒ ซึ่งถามว่าการที่เทวดาลงมายังโลกมนุษย์
แล้วได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดเลื่อมใส
ถ้าจะกลับไปปฏิบัติธรรมท่านเหล่านั้นจะปฏิบัติยังไงครับ
คำตอบ จะเข้าใจด้วยตนต้องเข้าถึงธรรม คือวิมุตติที่มีเกิดขึ้นในตนก่อน
มีเกิดขึ้นขณะตอนมีชีวิต ประเภทบรรลุเร็ว

เป็นความรู้เห็นของผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน ตามจริง
ซึ่งมีหลักฐานที่ยังคงปรากฏอยู่
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดังนี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น
ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น
ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา
หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
.
หากวิมุตติยังไม่มีเกิดขึ้นในตนตอนมีชีวิตอยู่
จะมีเกิดขึ้นขณะทำกาละ
หากขณะทำกาละ วิมุตติยังไม่มีเกิดขึ้นขณะนั้น จะมีเกิดขึ้นในอนาคต
เป็นประเภทบรรลุช้า
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดังนี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรม
อันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติ หลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…เวทัลละธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ … บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์
ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย
ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

การสดับธรรมจากพระอริยะ สัมมาทิฏฐิ

ความเป็นและความดับ

คำว่า ความเป็น
เป็นที่อยากเป็น
ปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดา สกทาคา อนาคามี อรหันต์
กับ
คำว่าดับภพชาติของการเกิด
การปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด

ความหมายของสองคำนี้แตกต่างสิ้นเชิง

ศิล สมาธิ ปัญญา
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ
ปัญญาไตรลักษณ์
เป็นเส้นทางของการปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด
เหตุของการภพชาติของการเกิด
เกิดจากตัณหา(๓) อุปาทาน(๔) ภพ(๓) ชาติ
หากเคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
ราคะ ปฏิฆะ โมหะ จะทำอะไรกับใจนี้ไม่ได้เลย
เพราะอะไรเหรอ
เพราะรู้ทัน
ที่รู้ทันเกิดจากการฟังธรรมบุคคลเหล่านี้และปฏิบัติตาม
ด้วยเหตุนี้การทำให้ค่อยๆละอาสวะที่เป็นต้นเหตุของการกระทำทุกหมด
ทางกาย วาจา มโน
ที่ทำให้เป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

มโนกรรมอาศัยการสดับธรรม ปฏิบัติตามและการทำกรรมฐาน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี
เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี
เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี
เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี
เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี
เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี
เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้วไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี
เมื่อไม่มีตัณหา คติในการเวียนมาจึงไม่มี
เมื่อไม่มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี
เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ
ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทว
ทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


ปัญญาสัมมาทิฏฐิตัวแรก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
จักกวรรคที่ ๔
จักกสูตร
[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ประการนี้
เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบ
เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว
ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ)
ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก
จักร ๔ ประการเป็นไฉน
คือ
ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ๑
สัปปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ ๑
อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ ๑
และปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ประการนี้แล
เป็นเครื่องเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบ
เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว
ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ)
ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก ฯ
นรชนพึงอยู่ในถิ่นที่เหมาะ
พึงกระทำอริยชนให้เป็นมิตร
ถึงพร้อมด้วยความตั้งตนไว้ชอบ
มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน
ธัญชาติ ทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง และความสุข ย่อมหลั่งไหลมาสู่นรชนนั้น ฯ


เส้นทางปัญญาสัมมาทิฏฐิ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง
ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญา ความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ
ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง
สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท
ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ


ผลของการรักษาศิลและผลการไม่รักษาศิล
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต
คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ
มีอายุสั้น มีอายุยืน
มีโรคมาก มีโรคน้อย
มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม
มีศักดาน้อย มีศักดามาก
มีโภคะน้อย มีโภคะมาก
เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง
ไร้ปัญญา มีปัญญา
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต ฯ

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดาร
ของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ
มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้
ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการ
ที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ
พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ
บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น
ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้
คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ

[๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้
คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ

[๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อยนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดินหรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้
คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้
คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลังจะเป็นคนมีศักดาน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้
คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้
คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้
คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้
คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้
หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้
คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ
เคารพคนที่ควรเคารพ
นับถือคนที่ควรนับถือ
บูชาคนที่ควรบูชา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้
คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ
เคารพคนที่ควรเคารพ
นับถือคนที่ควรนับถือ
บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้
คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้
คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก
ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำหรือเปิดของที่ปิด
หรือบอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ


ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน
[๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ
[๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระ
ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ
เสด็จออกผนวชจากศากยสกุลเสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวารคามแล้ว
ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
พระสมณโคดมพระองค์นั้น ทรงกระทำโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นความดี.
[๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
[๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า
ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน
พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี
พึงทัดทรงมาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้
พึงยินดีทองและเงิน
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน …
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น
แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา
ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.
[๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
พราหมณ์และคฤบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
[๑๔๕๙] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา
อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของคนอื่น
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๒] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๓] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๔] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
ด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว … เป็นไปเพื่อสมาธิ.
[๑๔๖๗] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้
ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
จูฬยมกวรรค
๑. สาเลยยกสูตร
ทรงโปรดชาวบ้านสาละ
[๔๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ลุถึงพราหมณคามชื่อสาละของชาวโกศล.
พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ
ได้สดับข่าวว่า ท่านพระสมณโคดมศากยบุตร เสด็จออกจากศากยสกุล ทรงผนวชแล้ว
เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ลุถึงพราหมณคามชื่อสาละ
กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์
แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีดังนี้.
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
บางพวกทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
บางพวกประนมมือต่อพระผู้มีพระภาค
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาค
บางพวกก็นิ่งอยู่
แล้วพากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตและนรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรม.

พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นทูลว่า พวกข้าพระองค์
ไม่ทราบเนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรม
ที่พระโคดมตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดาร
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดแสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์
โดยอาการที่พวกข้าพระองค์จะพึงรู้เนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรม
ที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดารเถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงฟังจงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว.
พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว.
อกุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม
ทางกาย มี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง
ทางใจมี ๓ อย่าง.
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
พอใจในการประหารและการฆ่า
ไม่มีความละอาย
ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง.

เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ คือ
ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของบุคคลอื่น
ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า
ที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย.

เป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ
ถึงความสมสู่ในพวกหญิงที่มารดารักษา ที่บิดารักษา ที่มารดาและบิดารักษา
ที่พี่ชายรักษา ที่พี่สาวรักษา ที่ญาติรักษา ที่มีสามี ที่อิสรชนหวงห้าม
ที่สุดแม้หญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย (หญิงที่เขาหมั้นไว้)
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จ
คือ ไปในที่ประชุมหรือไปในหมู่ชน
หรือไปในท่ามกลางญาติ
หรือไปในท่ามกลางขุนนาง
หรือไปในท่ามกลางราชสกุล
หรือถูกนำไปเป็นพยาน
ถูกถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เชิญเถิด ท่านรู้เรื่องใด ก็จงบอกเรื่องนั้น
เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่า รู้บ้าง
เมื่อรู้บอกว่า ไม่รู้บ้าง
เมื่อไม่เห็น ก็บอกว่าเห็นบ้าง
เมื่อเห็นก็บอกว่า ไม่เห็นบ้าง
เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งรู้อยู่
เพราะเหตุตนบ้าง
เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง
เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งเล็กน้อยบ้าง.

เป็นผู้ส่อเสียด
คือ ได้ฟังข้างนี้แล้ว นำไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายพวกข้างนี้บ้าง
หรือฟังข้างโน้นแล้ว นำไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลายพวกข้างโน้นบ้าง
ยุพวกที่พร้อมเพรียงกันให้แตกกันไปบ้าง
ส่งเสริมพวกที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมพวกที่แตกกันแล้วบ้าง
ชอบใจในคนที่แตกกันเป็นพวก ยินดีในความแตกกันเป็นพวก
ชื่นชมในพวกที่แตกกัน และกล่าววาจาที่ทำให้แตกกันเป็นพวก.

เป็นผู้มีวาจาหยาบ
คือ กล่าววาจาที่เป็นโทษหยาบ
อันเผ็ดร้อนแก่ผู้อื่น
อันขัดใจผู้อื่น
อันใกล้ต่อความโกรธ
ไม่เป็นไปเพื่อความสงบจิต.

เป็นผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อ
คือ พูดในเวลาไม่ควรพูด พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง
พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย
กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สุด
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่สมควร
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่างเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความโลภมาก
คือ เพ่งเล็งทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ดังนี้.

เป็นผู้มีจิตพยาบาท
คือ มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่าบ้าง
จงถูกทำลายบ้าง จงขาดสูญบ้าง อย่าได้มีแล้วบ้าง ดังนี้.

เป็นผู้มีความเห็นผิด
คือ มีความเห็นวิปริตว่า
ผลแห่งทานที่ให้แล้วไม่มี
ผลแห่งการบูชาไม่มี
ผลแห่งการเซ่นสรวงไม่มี
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาตและนรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย
คือไม่ประพฤติธรรมอย่างนี้แล.

กุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๘๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกายมี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง
ทางใจมี ๓ อย่าง.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้
ละการฆ่าสัตว์เว้นขาดการฆ่าสัตว์
วางทัณฑะวางศาตราเสียแล้ว
มีความละอาย มีความเอ็นดู
มีกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

ละการถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้
เว้นขาดจากการลักทรัพย์
ไม่ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น
ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้
ซึ่งนับว่าเป็นขโมย.

ละการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
คือ ไม่ถึงความสมสู่ในพวกหญิง
ที่มารดารักษา ที่บิดารักษา ที่มารดาและบิดารักษา ที่พี่ชายรักษา
ที่พี่สาวรักษา ที่ญาติรักษา ที่มีสามี ที่อิสรชนหวงห้าม
ที่สุดหญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ
ไปในทีประชุม หรือไปในหมู่ชน หรือไปในท่ามกลางญาติ
หรือไปในท่ามกลางขุนนาง หรือไปในท่ามกลางราชสกุล
หรือถูกนำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ
เชิญเถิด ท่านรู้เรื่องใด ก็จงบอกเรื่องนั้น
เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่า ไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่า รู้
เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า ไม่เห็น
หรือเมื่อเห็นก็บอกว่า เห็น ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่
เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง
เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งของเล็กน้อยบ้าง.

ละวาจาอันส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด
คือได้ฟังข้างนี้แล้วไม่นำไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายพวกข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกข้างนี้
เพื่อทำลายพวกข้างโน้น สมานพวกที่แตกกันให้ดีกันบ้าง
ส่งเสริมพวกที่ดีกันให้สนิทสนมบ้าง ช
อบใจพวกที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีแล้วในพวกที่พร้อมเพรียงกัน
ชื่นชมในพวกที่พร้อมเพรียงกัน และกล่าววาจาอันทำให้พร้อมเพรียงกัน.

ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ
เพราะหูชวนให้รัก จับใจเป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ ชอบใจ.

ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
พูดในเวลาที่ควรพูดตามความจริง พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์
พูดเรื่องที่เป็นธรรม พูดเรื่องที่เป็นวินัยและกล่าววาจามีหลักฐาน
มีที่อ้างได้มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือความประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ก็ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีความโลภมาก
ไม่เพ่งเล็งทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ดังนี้.

เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
มีความดำริในใจไม่ชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข รักษาตนเถิด ดังนี้.

เป็นผู้มีความเห็นชอบ
คือมีความเห็นไม่วิปริตว่า
ผลแห่งทานที่ให้แล้วมีอยู่
ผลแห่งการการบูชามีอยู่
ผลแห่งการเซ่นสรวงมีอยู่
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมีอยู่
โลกนี้มีอยู่โลกหน้ามีอยู่
มารดามีอยู่ บิดามีอยู่
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะมีอยู่
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ
ปฏิบัติชอบผู้ทำโลกนี้ และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอน
ให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือความประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย
คือ ประพฤติธรรมอย่างนี้แล.

ว่าด้วยผลแห่งความประพฤติเรียบร้อย
[๔๘๖] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกกษัตริย์มหาศาลเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกกษัตริย์มหาศาล
นั่นเป็นเพราะอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกพราหมณ์มหาศาล ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ ประพฤติธรรมพึงหวัง เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดีมหาศาลเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดีมหาศาล นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ
เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นยามา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นดุสิต …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นนิมมานรดี …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี …

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ ประพฤติธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหมเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือประพฤติธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภา
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภา นั่นเป็นเพราะอะไร
เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือประพฤติธรรมธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา …
ความเป็นเทวดาชั้นอัปปมาณาภา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสรา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตสุภา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอัปมาณสุภา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหกะ …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผละ …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอวิหา
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอตัปปา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอกนิฏฐะ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ นั้นเป็นเพราะอะไร
เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือประพฤติธรรมพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในชาตินี้เถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
บุคคลนั้นพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
เข้าถึงอยู่ในชาตินี้นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแหละ.

ความเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
[๔๘๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านสาละ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยาย
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
พวกข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไปฉะนี้แล.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หัตถกสูตรที่ ๒
[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ใกล้เมืองอาฬวี
ครั้งนั้นแล หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ดูกรหัตถกะ
บริษัทของท่านนี้ใหญ่ ก็ท่านสงเคราะห์บริษัทใหญ่นี้อย่างไร ฯ

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงสังคหวัตถุ ๔ ประการไว้
ข้าพระองค์สงเคราะห์บริษัทใหญ่นี้ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการเหล่านั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ว่าผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยทาน
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยทาน ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน
ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการวางตัวเสมอ
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการวางตัวเสมอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มีอยู่
ชนทั้งหลายจึงสำคัญถ้อยคำของข้าพระองค์ว่าควรฟัง ไม่เหมือนของคนจน ฯ

พ. ถูกแล้วๆ หัตถกะ นี้แลเป็นอุบายที่ท่านสงเคราะห์บริษัทใหญ่
ดูกรหัตถกะ จริงอยู่ ใครๆ ก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทใหญ่ ในอดีตกาล
ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้
และใครๆ ก็ตามที่จักสงเคราะห์บริษัทใหญ่ ในอนาคตกาล
ก็ล้วนแต่จักสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
ใครๆก็ตามย่อมสงเคราะห์บริษัทใหญ่ในปัจจุบัน
ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ

ลำดับนั้น เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี หลีกไปแล้วไม่นาน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
เป็นผู้มีศรัทธา ๑
มีศีล ๑
มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑
เป็นพหูสูต ๑
มีจาคะ ๑
มีปัญญา ๑
มีความปรารถนาน้อย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ฯ

ความคิด

จะอยู่ในคู่มือของฆราวาส ซึ่งยังเขียนไม่จบ
เป็นเรื่องของการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ และปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติ จะตรงกับเนื้อความในพระสูตรนี้

ผัสสะ เวทนา มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ราคะ โลภ กามฉันทะ เกิดจากสักกายทิฏฐิ ไม่แจ้งอริยสัจ ๔
ปฏิฆะ โทสะ พยาบาท เกิดจากสักกายทิฎฐิ ไม่แจ้งอริยสัจ ๔
อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านเกิดจากกามฉันทะ พยาบาทที่มีอยู่
กล่าวโดยรวมของสภาวะที่มีเกิดขึ้นคือความคิด
ให้พูดตรงสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เป็นเรื่องของเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
คือความรู้สึกนึกคิด
พูดย่อเหลือเพียงความคิด

ที่นี้การที่จะเข้าใจเรื่องกามคุณ ๕
ก็ต้องอาศัยการฟังธรรมตามลำดับ
ไม่ใช่เลือกฟังเฉพาะตามใจชอบ

ถ้าจะเลือกฟังตามใจชอบ ไม่สนใจของสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ก็ไปทำสมาธิ แล้วใช้สมาธิอดข่มไว้ ไม่ต้องไปรู้อะไรเลย ก็ทำได้นะ
จิตเป็นสมาธิทำให้ไม่มีความคิดเหมือนไม่มีกิเลส

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. อนุสสติฏฐานสูตร
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น …
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น
เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไปหลุดไปจากความอยาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม …
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์
ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์
สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม …
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯเป็นไปเพื่อสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม …
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ
ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม …
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัดดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่
เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด
จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรามีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด
ด้วยสุตะเช่นใด
ด้วยจาคะเช่นใด
ด้วยปัญญาเช่นใด
จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะจาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์
ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ

อธิบาย

“คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ”
คำว่า กามคุณ ๕
ได้แก่ ผัสสะมากระทบทางอายตนะ
(๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

อวิชชาที่มีอยู่
ผัสสะ สักกายทิฏฐิ
เวทนา กามฉันทะ พยาบาท
แจ้งอริยสัจ ๔ ครั้งที่ ๑ ละสักกายทิฏฐิเป็นสมุจเฉท

เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔ เป็นครั้งที่ ๒ ทำให้รู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ความรู้ความเห็นจะเปลี่ยนไป
ผัสสะ โลกธรรม ๘
เวทนา ชอบใจ สุขเวทนา ไม่ชอบใจ ทุกขเวทนา เฉยๆ อทุกขมสุขเวทนา
ผัสสะมากระทบ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เป็นเรื่องของกรรมที่เคยกระทำไว้และผลของกรรม
มาให้รับในรูปแบบของเวทนาที่มีเกิดขึ้น

ผลของการปฏิบัติตาม
สภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงของการละกามคุณ ๕
ผัสสะ กามคุณ ๕
เวทนา ราคะ ปฏิฆะ

ผู้ที่ละกามคุณ ๕ ลงไปได้
ได้แก่ พระอนาคามี

ละกามุปาทาน
ได้แก่ กามโยค กามราคะ กามตัณหา กามสัญโญชน์ กามาสวะ

ถ้าให้พูดตามจริง
ต่อให้ได้อนาคามี ก็ยังไม่รู้ความหมายของคำเรียกเหล่านี้หรอก
สิ่งที่รู้เห็นยังเป็นเพียงการดับเฉพาะตน
การที่จะรู้สภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกเหล่านี้ได้
ต้องมีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง

เมื่อวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นแล้ว วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้น
จะค่อยๆมีความรู้เห็นในคำเรียกและลักษณะอาการเหล่านี้ได้
คือดับเฉพาะตนและสามารถแนะนำสอนต่อคนอื่นได้
เพราะเป็นเรื่องของขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทาน ๔
ไม่ใช่จากการท่องจำมา ต้องแจ้งอริยสัจ ๔
วิชชา ๑ แจ้งอริยสัจ ๔ ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี
วิชชา ๒ แจ้งอริยสัจ ๔
วิชชา ๓ แจ้งอริยสัจ ๔
วิมุตติญาณทัสสนะจะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะอง
แจ้งอริยสัจ ๔ เป็นตัวสุดท้าย
ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทาน ๔
โดยปราศจากนำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
คือปราศจากตัณหาและทิฏฐิ

จะเป็นปัญญาวิมุตติ( ฌาน 1 2 3 4 ) และอุภโตวิมุตติ( 5 6 7 8 )
เมื่อมีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะ
จะมีความรู้เห็นเหมือนๆกัน ไม่แตกต่างกัน

คือ ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทาน ๔
ดับกามโยคะ ดับภวโยคะ ดับทิฏฐิโยคะ ดับอวิชชาโยคะ
โยคสูตร
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
อธิบาย
ความพรากจากกามโยคะ ด้วยสีลปาริสุทธิ
ความพรากจากภวโยคะ ด้วยจิตตปาริสุทธิ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ด้วยทิฏฐิปาริสุทธิ(แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง)
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ด้วยวิมุตติปาริสุทธิ(วิชชา ๑ วิชชา ๒ วิชชา ๓)


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย

พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ทานสูตร
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคคราใกล้จัมปานคร
ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว
ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ
ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน
อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง
อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล
และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากพึงมีหรือพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี
และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้ เสวยผลทานนี้
เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน
แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา
เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
บิดา มารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ไม่หุง หาไม่สมควร
เขาให้ทาน คือ ข้าวฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่
แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน
เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี
อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น
และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้
จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย
เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
สุมนวรรคที่ ๔
๑. สุมนสูตร
[๓๑] ครั้งนั้นแล สุมนาราชกุมารี แวดล้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน และราชกุมารี ๕๐๐ คน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน
มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน
คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้
คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค
แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุมนา
คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน
คือ ผู้ให้เป็นเทวดาย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ
คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย์
ดูกรสุมนา ผู้ที่ให้เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นมนุษย์
แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ฯ

พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน
คือ ผู้ให้เป็นมนุษย์ ย่อมข่มคนไม่ให้ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ
คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์
ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นมนุษย์ย่อมข่มคนผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้น
ทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน
คือ คนที่ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ
คือ เมื่อออกปากขอย่อมได้จีวรมาก
เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
เมื่อออกปากขอย่อมได้บิณฑบาตมาก
เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก
เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
เมื่อออกปากขอย่อมได้บริขารคือยาที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก
เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
และจะอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด
เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก
ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย
ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก
ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย
ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นบรรพชิตย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัต
แต่คนทั้งสองนั้นทั้งที่ได้บรรลุอรหัตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

พ. ดูกรสุมนา เราไม่กล่าวว่ามีเหตุแตกต่างกันใดๆ ในวิมุตติ กับวิมุตติ ข้อนี้ ฯ

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้กำหนดได้ว่า ควรให้ทาน ควรทำบุญ
เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต ฯ

พ. อย่างนั้นสุมนา อย่างนั้นสุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ
เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา
ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน เดินไปในอากาศ
ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น
ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ ฯ
เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ มีช่อตั้งร้อย
ตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยทัสนะ เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น
ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ ๕ ประการ
คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และเปี่ยมด้วยโภคะ
ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์ในปรโลก ดังนี้ ฯ

โลกทั้งปวง

“มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง”

คำว่า โลก
ได้แก่ ผัสสะ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕
โลกธรรม ๘
โลกามิส

คำว่า โลกามิส
ได้แก่ เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕
โลกธรรม ๘
กว่าจะรู้ความหมายและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของแต่ลำเรียก ใช้เวลานะ
รู้แค่ไหน เขียนเรื่อยๆ เดี๋ยวจะมีเหตุให้เจอพระสูตรใหม่มาขยายใจความ
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ

คำว่าโลก ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ต้องแจ้งอริยสัจ๔ ก่อนจึงจะเข้าใจได้และวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริงในตน
และอาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล ตามลำดับ
เพราะบุคคลเหล่านี้ผ่านมาก่อน สภาวะเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน

ผัสสะ

ผัสสะ

โลกสันนิวาส
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับอวิชชา สังขาร วิญญาณ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

กามคุณ ๕
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกธรรม ๘
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกามิส
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
ให้สังเกตุคำเรียก “เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา”
ให้ย้อนกลับไปดูคำเรียก กามคุณ ๕

เมื่อยังไม่เคยสดับธรรมมาก่อน
ทำให้เข้าใจผิดตัวในหนังสือของคำว่า พอใจ ไม่พอใจ เป็นสภาวะของเวทนา

โลก
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕
โลกธรรม ๘
โลกามิส
คำเรียกทั้งหมด เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่า ผัสสะ

ส่วนตรงนี้
“โลกธรรม8คือ แปดข้ออันเป็นอุปนิสัยอาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีอยู่”
โลกธรรม ๘ เป็นสภาวะของผัสสะ
ไม่ได้เป็นสภาวะของเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

ผัสสะ สิ่งที่มีเกิดขึ้น
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ มาก่อน
ทำให้เกิดการกระทำตามความรู้สึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ให้เป็นการสร้างกรรมกรรมใหม่มีเกิดขึ้นทันที
โดยการปล่อยล่วงออกไปทางกายให้เป็นกายกรรม
ทางวาจา ให้เป็นวจีกรรม
เรียกว่า ชาติ

พอตีความผิด ในอรรถ (สภาวะที่มีเกิดขึ้น) พยัญชนะ (ตัวหนังสือ)
ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ มาก่อน
การเขียนอธิบาย แทนที่จะเป็นเรื่องผัสสะ
กลายเป็นเรื่องเวทนาเพียงอย่างเดียว

“โลกธรรม8คือ แปดข้ออันเป็นอุปนิสัยอาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีอยู่
มีตั้งต้นจากหนึ่ง และแปรเปลี่ยนตามกันไป ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในขณะนั้น
อันอุปนิสัยสันดารของมนุษย์ มีตั้งอยู่ในความรู้สึกนั่นเองว่าอาการอันมีแรกเริ่ม ก่อนและตาม
ติดต่อกันมาจาก1-8โดยอาการแรกเริ่มที่1คือตั้งต้นของอาการต่อๆไป
วกวนสับกันไปมาในอาการต่างๆและวนมายังอาการแรกมีดังนี้
1.รัก อาการที่สัตว์โลกมีแรกเริ่มความรู้สึกแรก “(และจะตามติดต่อกันมาดังนี้)”
2.โลภ อยากได้ไม่รู้พออยากมีไว้ครอบครองเพียงแค่ตนเองเท่านั้น
3.โกรธ ความไม่พึงใจ ในสิ่งอื่น
4.หลง ความเข้าใจที่ไม่ถูก หักเห โลเล งมงาย
5.ลาภ. ล้วนได้มาจากไม่รู้ แต่รู้แล้วยังพึงเอามาแก่ตน
6.ยศ ถานันดรยกขึ้นมาว่าเหนือกว่าให้ผู้อื่นเกรงกลัว
ในฐานันดรสูงกว่าไห้ผู้อื่นสักการะ หยิ่งยโสยกยอตนก็มีนั่นเอง
7.สรรเสริญ การถูกยกย่องโดยร่วมตามมาจากยศ สร้างให้มี ทั้งอีกหลายๆอย่างมารวมเข้าด้วย
8.ติฉินนินทา ติ. การว่ากล่าวในสิ่งที่ตนเองผู้อื่นกระทำแล้วดูไม่เหมาะไม่ควรเกิดความไม่พึงใจ ในสิ่งนั้น ฉิน.
การดูถูกเหยียดหยาม ว่าร้าย ไม่พึงใจกับการที่ตนมีนั้นว่าน้อยกว่า ด้วยอาการต่างๆ
เช่นสายตา ปาก ใบหน้า(สบัดหันหน้าไปทางอื่น)และทางวาจาการพูด นินทา.
การพูดคุยกันหลายคนและต่อๆกันไปเรื่อยๆในทุกๆทางทุกอย่างทุกด้านของผู้อื่น
และมีเพิ่มเติมลดลงบ้างในเรื่องนั้นที่พูดกัน. ก็มีพอใหสังเขปดังนี้”

กามสัญโญชน์และภวสังโยชน์

กามสัญโญชน์และภวสังโยชน์

คำว่า กามสัญโญชน์หรือกามสังโยชน์
ได้แก่ กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

คำว่า ภวสังโยชน์
ได้แก่ ภวโยคะ ภวตัณหา ภวราคะ ภวาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
มีบางคนตีความว่าเป็นหมายถึงสังโยชน์ ๑๐ ประการ
ซึ่งตัวสภาวะภวสังโยชน์นั้น เป็นสภาวะของภวตัณหา
ไม่ใช่สังโยชน์ ๑๐ ประการ

การที่ละสังโยชน์ ๑๐ ประการ ต้องหลุดพ้นจากวิภวตัณหาให้ได้ก่อน
ภวสังโยชน์ มีเกิดขึ้นในวิชชา ๒ เท่านั้น

หลุดพ้นจากกามสังโยชน์ ดับกามภพ
หลุดพ้นจากภวสังโยชน์ ดับรูปภพ อรูปภพ
แต่ยังหลุดพ้นจากวิภวตัณหาไม่ได้
เมื่อยังทำไมไม่ได้ อวิชชายังมีอยู่

ที่ดูเพี้ยนๆกันเพราะเหตุนี้แหละ
นำไปปะปนกัน
ภวสังโยชน์น่ะเป็นเรื่องของภวตัณหา
ภวโยค ภวตัณหา ภวราคะ ภวาสวะ

ส่วนคำว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ กับ ภวสังโยชน์
เขียนไม่เหมือนกันและลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

๒. ปัญจัตตยสูตร (๑๐๒)
” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ
ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้แม้ใดในญาณนั้นแจ่มแจ้ง
แม้ส่วนของความรู้นั้น
บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ
เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นของหยาบและความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่
ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น
เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้นคือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ”

.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อุทธัมภาคิยสูตร
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯ

.
๒. อลคัททูปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ
ผลแห่งการละกิเลส
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้
เป็นของตื้น เปิดเผยปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป.

.
มูลปริยายวรรค
๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว

อธิบาย

คำว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว
ได้แก่ กามาสวะ ภวสวะ ทิฏฐิสวะ อวิชชาสวะ สิ้นแล้ว

คำว่า ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
ได้แก่ วิชชา ๒ อรหัตมรรค ดับเฉพาะตน
วิชชา ๓ อรหัตผล เพื่อตน เพื่อคนอื่น ช่วยคนอื่นได้ พระสัทธรรมไม่เสื่อม

“มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว”
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อ
ตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ
ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

คำว่า หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
หลุดพ้นจากตัณหา ๓
ตัณหาดับ อุปาทาน(๔)ดับ ภพ(๓)ดับ ชาติดับ

สักกายทิฎฐิ

การสนทนาในยูทูปต่อจากครั้งก่อน
“ชีวิตมีเเค่นี้ มีเเต่โลกสมมุติ”

REM 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ท่านทั้งหลายทำไมมีแต่มานะทิฐิ หลวงพ่อชาท่านกล่าวเตือนแล้ว แต่ละคนคิดว่าความรู้ที่ตัวเองถูก แล้วมาโต้เถียงไม่จบ แต่ถ้าแยกตามสังโยชน์เบื้องสูง ข้อ มานะ ไฉนข้อปฏิบัตินี้ท่านจะทำไม่ได้เลยหรือ ทำไมท่านต้องยกตนข่มผู้อื่นด้วยเล่า เปรียบเหมือนท่านยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูรู้ อันนี้ความรู้กู ผู้อื่นจะมาคัดง้างติเตือนไม่ใด้ ผู้ปฏิบัติจริง ๆ ควรจะปล่อยวางข้อนี้ด้วย

วลัยพร walailoo2010 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@REM ดูกิเลสที่มีเกิดขึ้นให้ทันก่อน เอาตัวเองให้รอดก่อน อื่นๆที่คุณพูดมานั้น เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่ เกิดจากไม่เคยสดับพระธรรม ขาดการศึกษา
ถ้าคุณยังคิดกระทำแบบนี้เนืองๆ สภาวะของคุณจะตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ถ้าคุณยังยึดติดอาจารย์ คุณยึดในคำพูดของอาจารย์ของตน วาทะอื่นๆจะตามมา เพ่งโทษ เพราะผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง จะกราบๆๆๆๆๆๆๆ ที่พระบาทของพระพุทธเจ้า ไม่มีการนำเรื่องอจ.มาอ้างอิงอีก เพราะมีปัญญาเกิดขึ้นในตนแล้ว

ใครที่ยังต้องการสนทนา แล้วยังนำทิฏฐิของอจ. คือความรู้ของอจ. นั่นหมายถึง คุณยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้ ตัวนี้แหละตัวร้าย ที่ผู้ปฏิบัติไปต่อไม่ได้ สภาวะจะชมแช่อยู่แค่นี้

อีกอย่าง ผู้ปฏิบัติ เวลาสนทนากัน จะพูดเรื่องสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ส่วนบุคคลที่มองภายนอกแค่เปลือก เช่นคุณ ย่อมกระทำออกมามีลักษณะ
ไปกล่าวหาหรือไปเพ่งโทษนอกตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นในตน ทุกคนๆ ยังเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ล้วนเกิดจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ล้วนเกิดจากการกระทำของตน

ยวกลาปิสูตร
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา
บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน ๖ อัน
ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล
ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แลแม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล
ถูกรูปอันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ
ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ

ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป
ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ

ใครเล่าเป็นผู้รู้ ไครเล่าเป็นผู้เสวย ก็ผู้เพ่งนั้นแล
เพ่งโลภะเสวยโลภะ เพ่งโทสะเสวยโทสะ เพ่งโมหะเสวยโมหะ
ทางนี้เป็นทางเสื่อม นำไปสู่นรก
ปุถุชนพากันเดินไปทางนี้
เพราะเห็นเป็นของเอร็ดอร่อย
เพราะปัญญาทราม ไม่ทันกิเลสในใจตน

REM 6 นาทีที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 อันนี้ก็แค่อยากมาร่วมสนทนา แต่ด้วยเพราะกระผมเป็นแค่นักปฏิบัติเพื่อหาทางหลุดพ้นคนนึง เป็นแค่ฆราวาส ไม่ได้ศึกษาธรรมะวินัยอันเป็นของสงฆ์หรืออภิธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติยิบย่อยต่าง ๆ เพียงแต่ปฏิบัติหลัก สติปัฏฐานสี่ ควรสำรวมระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไหลไปข้างนอกหรือนำมาสู่ตัว ภายในจิต ยึด ศรัทธา ศีล สมาธิ ใช้ปัญญาใคร่ครวญ ตามหลักความเป็นจริงของชีวิต คงไม่สามารถพูดถึงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อันใดได้ ด้วยเนื่องจุดหมายปลายทางแล้ว ข้อธรรมต่าง ๆ เราก็จะวางเสีย ท้ายนี้ขอบคุณที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ

วลัยพร walailoo2010 18 นาทีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@REM นี่คือปัญหาของผู้ปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ขาดการสดับพระธรรม ขาดการศึกษา เวลานำมาเรื่องสภาวะมาสนทนามักนำความเชื่อของอจ.ที่ตนนับถือมาอ้างอิง ไปเพ่งโทษตัวคนอื่น กรรมตรงนี้ ทำให้เวลาปฏิบัติ ไม่สามารถจะเห็นสภาวะที่ควรดำเนินตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ส่วนเรื่องฤิทธิ์ ผู้ที่ปฏิบัติได้อรูปฌาน โดยเฉพาะเนวสัญญาฯ ค่อนข้างมีปัญหากับคนเหล่านี้ เพราะยังไม่รู้ตามความเป็นเรื่องการดับทุกข์ ทำให้เหมือนคนที่ชอบเดินเล่นในสวนเก็บดอกไม้
ผู้ที่เห็นทุกข์ จะไม่สนใจเรื่องพวกนี้ เพราะฤทธิ์เหล่านี้ ต่อให้มีเจโต ถอดกายได้ ไปเที่ยวสวรรค์ นรก สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากกำลังของสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ ก็เหมือนคนทั่วๆไป แต่มีศิลรักษาอยู่

ไม่เหมือนปัญญา เมื่อแจ้งแล้ว แจ้งเลย ไม่ทำให้หลงทาง เพราะดิฉันเคยสมาธิเสื่อม เนวสัญญาฯที่ทำกว่าจะได้มานั้น การปฏิบัติหลังไม่แตะพื้น เมื่อจิตเป็นสมาธิเนวสัญญาฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องอยากเลย ฤทธิ์ต่างๆจะมีเกิดขึ้นเอง รวมทั้งพระธาตุ สิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นกับดิฉัน

หลังสมาธิเสื่อม กว่าจะทำให้กำลังสมาธิกลับคืนมาได้ ต้องใช้เวลา ด้วยเหตุนี้ ทำให้ดิฉันไม่สนใจเรื่องฤทธิ์เหล่านี้อีก เพราะไม่ใช่ทาง
ทำไมต้องพยายามทำให้สมาธิกลับขึ้นมา เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่ ไม่รู้เรื่องเหตุปัจจัย กรรมและผลของกรรม สิ่งที่เคยกระทำไว้ในอดีต ทำให้มาเจอคนกลุ่มที่สามารถดูดหรือถ่ายเทสมาธิได้ แค่คุยผ่านโทรฯ ไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือเห็นตัว ตอนที่สมาธิเสื่อม เห็นทุกข์ชัด มากกว่าคนทั่วๆไป

เอาละ จะแนะทางให้กับคุณ ซึ่งดิฉันพูดถึงบ่อยๆ คนส่วนมากไม่ฟัง จะทำตามที่ตนชอบ ไม่เคยสดับ ไม่ยอมศึกษา พอศึกษาก็ไปไม่ถูก เพราะผู้ที่แนะนำ รู้แค่ไหน ย่อมพูดได้แค่นั้น

จะพูดเรื่องทางลัดที่เห็นผลได้เร็ว ขึ้นอยู่กับความอดทนอดกลั้นต่อเวทนาทางกายที่มีเกิดขึ้น เพราะคุณต้องนั่งอย่างเดียว ๓ ชม. ไม่ขยับ ไม่มีการเคลื่อนไหว ใช้คำบริกรรมมาช่วย จะพุทโธ หรือพองหนอยุบหนอ ใช้ได้หมด

แรกเริ่มการนั่ง จะหายใจเข้าออก ใช้คำบริกรรมก่อน เช่น หายใจเข้า บริกรรมพองหนอ หายใจออก บริกรรมยุบหนอ พอรู้ชัดลมหายใจเข้า หายใจออกตามคำบริกรรม ให้เพิ่มความเร็วในการคำบริกรรมจะเหลือคำบริกรรมว่ายุบ ให้บริกรรมถี่ๆ ไม่ต้องสนใจเรื่องลมหายใจ ให้จดจ่อกับคำบริกรรมไม่ให้มีช่องว่าง
เมื่อนั่งนาน เวทนาทางกายย่อมมีเกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติ เมื่อกายยังมีอยู่ เวทนาย่อมมี ไม่ต้องไปสนใจ ให้บริกรรมถี่ๆ ยิ่งเวทนากล้าเหมือนใจจะขาด ความรู้สึกเจ็บปวดอธิบายไม่ถูก ไม่ต้องไปสนใจ ยิ่งบริกรรมถี่ๆไปเรื่อย การที่จิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมต่อเนื่อง เวทนาที่มีเกิดขึ้นจะหายไปเอง ปีติจะเกิด บางคนร้องไห้ เหมือนมีใครตาย ทั้งร้องไห้ อ้วกแตกอ้วกแตน เป็นเรื่องของปีติ อาจจะเป็นหลายวัน แล้วปีติจะหายไป จิตจะเข้าสู่ความสงบ จิตจะไม่บริกรรม จิตละทิ้งคำบริกรรมเอง จิตจะเป็นสมาธิ โอภาส แสงสว่างเจิดจ้า จะมีสองสภาวะมีเกิดขึ้น คือ แสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ แล้วจะมีความรู้เห็นแปลกๆมีเกิดขึ้น ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง เพื่อให้จิตจดจำสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน เรื่องฤทธิ์ ไม่ต้องไปสนใจ จะถอดกายทิพย์ รู้หนอหรือเจโต ไม่ต้องสนใจ เพราะเป็นเรื่องปกติ เกิดจากกำลังมาธิ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์แต่อย่างไร
การที่คุณจะปฏิบัติได้แบบนี้ นั่ง ๓ ชม. หากมีเวลามาก ทำหลายรอบได้ ยิ่งทำมากยิ่งดีต่อผู้ปฏิบัติ เมื่อสภาวะคงที่ จะดูจากเวลาหลับตา จะกลางวันหรือกลางคืน พอนั่ง หลับตาลง จิตจะเป็นสมาธิทันที ไม่ต้องใช้คำบริกรรม เพราะจิตทิ้งคำกรรมโดยตัวของสภาวะเอง หลับตาปั๊บ แสงสว่างเจิดจ้าเกิดทันทีพร้อมกับใจที่รู้อยู่
เมื่อสภาวะเป็นแบบนี้ คุณต้องปรับอินทรีย์ ๕ เพราะสภาวะสมาธิอรูปฌาน ยังเป็นมิจฉาสมาธิ เหตุนี้ต้องมีการปรับอินทรีย์ ๕

เอาเป็นว่า คุณทำให้ได้ก่อน แล้วจะพูดเรื่องการปรับอินทรีย์ ๕ หากปรับแล้ว สัมมาสมาธิจะมีเกิดขึ้น ทำให้รู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ ที่สามารถรู้เห็นได้ เพราะสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง

วลัยพร walailoo2010 1 วินาทีที่ผ่านมา
วิธีการปฏิบัติ ทั้งภิกษุและฆราวาส ใช้แบบเดียวกัน
ยกเว้นผู้ที่ยังทำงานประจำ ให้นั่ง ๓ ชม. วันละครั้งหรือมากกว่านี้ แล้วแต่ความสะดวก
คำว่า ความตาย ไม่ใช่ความตายของทางโลก แต่เป้นเรื่องการได้มรรคผลจะมีเรื่องความตายหรือสภาวะจิตดวงสุดท้ายมาเกี่ยวข้อง

๔. ภัททกสูตร
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่
ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ
ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการคุย ไม่ยินดีการคุย ไม่ขวนขวายความชอบการคุย ไม่ชอบความหลับ ไม่ยินดีความหลับ ไม่ขวนขวายความชอบความหลับ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ขวนขวายความชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ขวนขวายความชอบคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่
ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ อย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่นดังเนื้อ
ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ฯ

๕. อนุตัปปิยสูตร
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน
ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน
ไม่ชอบการคุย … ไม่ชอบความหลับ … ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ …
ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่
ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อนอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่นดังเนื้อ
ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ฯ

อันนี้ดิฉันขอยืนยันว่า สภาวะจะมีเกิดขึ้นตามที่พระสารีบุตรแนะนำไว้
สำหรับฆราวาส จะทำได้ยากเรื่องการคลุกคลี การสนทนา อันนี้ไม่ต้องนำมากังวล ส่วนปฏิบัติก็คือปฏิบัติ ไม่นำมารวมกัน ขอเพียงตั้งใจปฏิบัติตามที่ดิฉันบอกว่า ตัวสภาวะจะดำเนินของโดยสภาวะเองตามลำดับ

คำว่า ละสักกายะ ไม่ใช่แบบที่ท่องจำกัน แต่จำเป็นต้องรู้ เพราะเวลาสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะมีรายละเอียดมากกว่านั้น คือ หยาบ จากการท่องจำ ,กลาง จากการปฏิบัติ สภาวะที่มีเกิดขึ้น และละเอียด ตอนมรรคผลปรากฏตามจริง

REM 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 ขอบคุณที่ชี้แนะครับ ตอนนี้กระผมกระทำได้ตาม ยะถาสติ ยะถาพลัง ประพฤติอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ซึ่งคำสอนขององค์ศาสดา

REM 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 เชื่อครับว่าผู้ใดเห็นแจ้งซึ่งอริยสัจสี่ เห็นขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ แล้วก็ละซึ่งทุกข์ไม่ยึดติดด้วยขันธ์ห้า เห็นการเกิดดับของขันธ์ห้า ล้วนเป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่ใช่ตัวตนเรา เมื่อรู้แล้วก็ปฏิบัติตามการดับทุกข์ ขจัดสิ้นอุปัททวกิเลส เดินมรรคอันมีองค์ 8 ใช้อิทธิบาท 4 เร่งความเพียร ตามสติและกำลังของกระผมครับ

วลัยพร walailoo2010 31 วินาทีที่ผ่านมา
@REM ทำให้ประจักษ์ด้วยตนก่อนคือได้มรรคผลตามจริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ เป็นหลักฐาน
ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจะเน้นการปฏิบัติให้ถึงเนวสัญญาฯเท่านั้น ที่จะสามารถพิสูจน์ในพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้

หากปฏิบัติได้กำลังสมาธิที่ต่ำไปกว่าเนสัญญาฯ ความรู้ความเห็นตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ จะไม่มีเกิดขึ้น นิดเดียวก็ไม่มี มีแต่การท่องจำแล้วน้อมใจเชื่อในสิ่งที่ตนคิดว่าตนรู้ตนเห็น ที่เกิดจากตัณหาและทิฏฐิที่มีเกิดขึ้น

เวลาพูดจะองอาจ ภูมิใจ ที่ได้รู้เห็นตามจริง ไม่จำเป็นต้องเชื่อคำของครูหรืออาจารย์หรือตำราที่บอกต่อๆกัน ด้วยเหตุนี้จึงบอกว่าผู้ที่ประจักษ์แจ้งด้วยตน จะกราบๆๆๆๆที่พระบาทของพระพุทธเจ้า คำอะไรจากอจ.ที่เคยฟังมา จะทิ้งไปหมด

REM 35 นาทีที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 จะรบกวนชี้แนะการเข้าณานขั้น 1-8 ได้ไหมครับ

วลัยพร walailoo2010 1 วินาทีที่ผ่านมา
@REM ได้บอกวิธีการปฏิบัติที่ลัดที่สุด
ได้ผลเร็วมากที่สุด นั่ง ๓ ชม.
อื่นๆเขียนบอกไปแล้ว
ส่วนจะรู้ชัดในสภาวะในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ ต้องมาปรับอินทรีย์ใหม่
คือทำอันแรกให้ได้ก่อน นั่ง ๓ ชม. ทำทุกวัน ทำหลายรอบก็ได้
อรูปฌานที่มีเกิดขึ้น ยังเป็นมิจฉาสมาธิมีเกิดขึ้นก่อน
ทำตรงนี้ให้ได้ก่อนค่ะ

วลัยพร walailoo2010 2 นาทีที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@REM ตรงนี้ ถ้าไม่ถาม จะลืมไปเลย
” จะรบกวนชี้แนะการเข้าณานขั้น 1-8 ได้ไหมครับ”

คำตอบ มีค่ะ จะเป็นการปฏิบัติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความอดทนน้อยต่อเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นทางกายและใจ
วิธีการปฏิบัติตรงนี้ ไม่ต้องปรับอินทรีย์ ๕ ตัวสภาวะจะดำเนินไปโดยของสภาวะเอง เพียงแค่ อย่าอยาก อยากเป็นโน้นนี่ตามที่เคยอ่านหรือฟังมา เช่น โสดาบัน เพราะโสดาบันมีหลายประเภท อินทรีย์ ๕ที่มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

มาพูดเรื่องการปฏิบัติ เดินกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม. จะใช้สมถะหรือวิปัสสนาก็ได้
สำหรับบุคคลที่มีเวลาน้อย ให้เริ่มเวลาทีละน้อย เหมาะสำหรับคนที่ฝึกใหม่
ให้เดินจงกรม ๓๐ นาที ต่อนั่ง ๓๐ นาที แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาการปฏิบัติ

ถ้าให้แนะนำ ผู้ที่มีนิวรณ์มาก
ควรใช้สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์

ลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น มีการใช้คำบริกรรมมาเกี่ยวข้อง เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ
ขณะนั่ง จิตจดจ่อกับคำบริกรรม จะตามลมหายใจเข้าออกหรือบริกรรมถี่ๆ ใช้ได้หมด ไม่มีข้อห้าม
ทำต่อเนื่อง แรกเริ่มจะเจอเวทนามีเกิดขึ้นก่อน ให้ใช้คำบริกรรมถี่ๆมาช่วย ไม่ต้องไปสนใจลมหายใจ เอาจิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมต่อเนื่อง หากผ่านเวทนาไปได้ ตัวสภาวะจะดำเนินโดยตัวของสภาวะเอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเป็นไปตามลำดับ 1-8

สำหรับผู้ที่มีนิวรณ์น้อย สามารถใช้วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
ลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ไม่ใช้คำบริกรรมมาเกี่ยวข้อง

เช่น หายใจเข้า หายใจออก กำหนดรู้ตามจริง
หายใจเข้า รู้ท้องพองขึ้น หายใจออก ท้องแฟ่บ กำหนดรู้ตามจริง
ตราบใดที่ยังมีกายปรากฏอยู่ เวทนาย่อมมี ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น จะเหมือนการปฏิบัติสมถะ
เวทนากล้ามีเกิดขึ้น กำหนดตามจริง ไม่มีบริกรรมมาเกี่ยวข้อง อดทนอดกลั้นไม่ขยับตัว อารมณ์ประมาณ ตายเป็นตาย ไม่ขยับตัว

มีอีกหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ สมถะและวิปัสสนา
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

ผัสสะ เวทนา

ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราะในอุปาทานขันธ์ ๕
ผัสสะ
กามคุณ ๕
เวทนา ๓

๓. มหาทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่
เรื่องอัญญเดียรถีย์
[๑๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ในตอนเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี
ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย
ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ดังนี้แล้ว
ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ได้กล่าวกะพวกภิกษุผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้
แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้
พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้
แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้
พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้
แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่า เป็นข้อแปลกกัน อะไรเป็นผลที่มุ่งหมาย
หรือกระทำให้ต่างกันระหว่างพระสมณโคดมกับพวกข้าพเจ้า
เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี
พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว
ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.

[๑๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี
กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ดังข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เช้าวันนี้ พวกข้าพระองค์นุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี
พวกข้าพระองค์ต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก
อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย
ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด
พวกข้าพระองค์ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์นั้นเหล่า
ได้กล่าวกะพวกข้าพระองค์ ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้
แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้
พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้
แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้
พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้
แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่าเป็นข้อแปลกกัน อะไรเป็นผลที่มุ่งหมาย
หรือกระทำให้ต่างกัน ระหว่างพระสมณโคดมกับพวกข้าพเจ้า
เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี
พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว
ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยคิดว่าเราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.

คุณและโทษของกาม
[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ก็อะไรเล่าเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย
คือ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ถูกพวกเธอถามอย่างนี้
จักไม่พอใจเลย และจักต้องคับแค้นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะข้อนั้นมิใช่วิสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นผู้ที่จะพึงยังจิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้
ในโลกเป็นไปกับด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
เป็นไปกับด้วยสมณะ และพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
เว้นไว้แต่ตถาคต หรือสาวกของตถาคต หรือมิฉะนั้นก็ฟังจากนี้.

[๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของกามทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลายกามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต …
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ …
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา …
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แล
ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น
นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย.

[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยันประกอบศิลปใด
คือ ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการคำนวณก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี
ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี
ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตรากตรำต่อความร้อน
งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลืบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เสือกคลานต้องตายด้วยความหิวระหาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล
เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ
ถึงความหลงเลือนว่า
ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ
ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย …
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นสำเร็จผล
เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษาโภคะเหล่านั้น
เป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไรพระราชาทั้งหลาย ไม่พึงริบโภคะเหล่านั้นไปได้
พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัด ทายาทอัปรีย์พึงนำไปไม่ได้
เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี
พวกโจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์นำไปเสียก็ดี
เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ
ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย …
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ
เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชาทั้งหลายก็วิวาทกันกับพวกพระราชา
แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์
แม้คฤหบดีก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา
แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย
แม้พี่ชายก็วิวาทกับน้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย
ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกันในที่นั้นๆ
ทำร้ายซึ่งกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาตราบ้าง
ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย …
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล
ฝูงชนต่างถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ข้าง
เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง
ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรแทงเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะเสียบ้าง ในที่นั้น
พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย …
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล
ฝูงชนถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน
เมื่อลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งบ้าง
ชนเหล่านั้นต่างถูกลูกศรแทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกรดด้วยโคมัยร้อนบ้าง
ถูกสับด้วยคราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น
พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย …
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ
เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนตัดที่ต่อบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง
กระทำการปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในหนทางบ้าง สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง
พระราชาทั้งหลาย จับคนนั้นๆได้แล้ว ให้กระทำกรรมกรณ์ต่างๆ
เฆี่ยนด้วยแซ่บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ค้อนบ้าง
ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าเสียบ้าง ตัดหูเสียบ้าง
ตัดจมูกเสียบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกเสียบ้าง กระทำกรรมกรณ์
ชื่อพิลังคถาลิก [หม้อเคี่ยวน้ำส้ม] บ้าง ชื่อสังขมุณฑกะ[ขอดสังข์] บ้าง
ชื่อราหูมุข [ปากราหู] บ้าง ชื่อโชติมาลิก [พุ่มเพลิง] บ้าง ชื่อหัตถปัชโชติก[มือไฟ] บ้าง
ชื่อเอรกวัตติก [นุ่งหนังช้าง] บ้าง ชื่อจีรกวาสิก [นุ่งสร่าย] บ้าง ชื่อเอเณยยกะ[ยืนกวาง] บ้าง
ชื่อพลิสมังสิก [กระชากเนื้อด้วยเบ็ด]บ้าง ชื่อกหาปณกะ [ควักเนื้อทีละกหาปณะ] บ้าง
ชื่อขาราปฏิจฉก [แปรงแสบ] บ้าง ชื่อปลิฆปริวัตติก [วนลิ่ม] บ้าง ชื่อปลาลปีฐก[ตั่งฝาง] บ้าง
รดด้วยน้ำมันที่ร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง เสียบที่หลาวทั้งเป็นบ้าง ใช้ดาบตัดศีรษะเสียบ้าง
คนเหล่านั้นถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ
เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

[๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในกามทั้งหลาย
การละฉันทราคะในกามทั้งหลายใด
นี้เป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย.

[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
ไม่รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ
และการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง
พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเอง
หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว
จักรอบรู้กามทั้งหลายได้
ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย
โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอนกามทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง
พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเองได้
หรือจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว
จักรอบรู้กามทั้งหลายได้
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของรูปทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า นางสาวเผ่ากษัตริย์ เผ่าพราหมณ์
หรือเผ่าคฤหบดีมีอายุระบุได้ว่า ๑๕ ปี หรือ๑๖ ปี
ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นนางคนนั้น งดงามเปล่งปลั่งเป็นอย่างยิ่ง ใช่หรือไม่เล่า?

พวกภิกษุพากันกราบทูลว่าเป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสุขความโสมนัสอันใดแล
ที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความงามเปล่งปลั่ง นี้เป็นคุณของรูปทั้งหลาย.

[๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของรูปทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละในโลกนี้
โดยสมัยอื่น มีอายุ ๘๐-๙๐ หรือ ๑๐๐ ปี โดยกำเนิด
เป็นยายแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือนร่างขดงอ ถือไม้เท้ากระงกกระเงิ่น
เดินสั่นระทวย กระสับกระส่าย ผ่านวัยเยาว์ไปแล้ว
มีฟันหลุด ผมหงอก ผมโกร๋น ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว มีตัวตกกระ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในครั้งก่อนนั้นหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละ
มีอาพาธ มีทุกข์ เจ็บหนัก นอนจมมูตรคูถของตน
ต้องให้คนอื่นพยุงลุก ต้องให้คนอื่นคอยประคอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพ
ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายได้ ๑ วันก็ดี
ตายได้ ๒ วันก็ดี
ตายได้ ๓ วันก็ดี
เป็นซากศพขึ้นพองก็ดี มีสีเขียวก็ดี
เกิดหนอนชอนไชก็ดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า
ฝูงการุมกันจิกกินบ้าง ฝูงแร้งรุมกันจิกกินบ้าง ฝูงนกเค้ารุมกันจิกกินบ้าง
ฝูงสุนัขรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงปาณกชาติต่างๆ รุมกันกัดกินบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า
มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อและเลือดติดอยู่ มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ
มีแต่โครงกระดูก ปราศจากเนื้อเปื้อนเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ
มีแต่โครงกระดูกปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ
เป็นแต่กระดูก ปราศจากเอ็นยึด กระจัดกระจายไปในทิศน้อยทิศใหญ่
คือ กระดูกมือทางหนึ่งกระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง
กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกสะเอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง
กระดูกซี่โครงทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกทางหนึ่ง กระดูกแขนทางหนึ่ง
กระดูกไหล่ทางหนึ่ง กระดูกคอทางหนึ่ง กระดูกคางทางหนึ่ง
กระดูกฟันทางหนึ่ง หัวกะโหลกทางหนึ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่งที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวนั้นแหละ
เป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่กระดูกสีขาว
เปรียบเทียบได้กับสีสังข์ ฯลฯ
เหลือแต่กระดูกตกค้างแรมปีเรียงรายเป็นหย่อมๆ ฯลฯ
เหลือแต่กระดูกผุแหลกยุ่ย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

[๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในรูปทั้งหลาย
การละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย นั้นใด
นี้เป็นการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย.

กำหนดรู้รูป
[๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
ไม่รู้ชัดคุณของรูปทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลาย
โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง
พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้รูปทั้งหลายด้วยตนเอง
หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว
จักรอบรู้รูปทั้งหลายได้
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าหนึ่ง
รู้ชัดคุณของรูปทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ
และการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง
พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้รูปทั้งหลายด้วยตนเองได้
หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว
จักรอบรู้รูปทั้งหลายได้
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของเวทนาทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน
ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายผู้อื่น
ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายทั้งสองฝ่าย
ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมกล่าวคุณของเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ในสมัยใด
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป ฯลฯ
ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ
ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวคุณของเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
ในสมัยใด ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ
ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ในสมัยใดภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ
ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง

[๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของเวทนาทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็น โทษของเวทนาทั้งหลาย.

[๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกำจัด การละฉันทราคะ ของเวทนาทั้งหลายเสียได้
นี้เป็นการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย.

กำหนดรู้เวทนา
[๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
ไม่รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลาย
โดยเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลาย
โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ ตามความเป็นจริง
พวกนั้นน่ะหรือจักรอบรู้เวทนาทั้งหลายด้วยตนเอง
หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว
จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้
ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลาย
โดยความเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลาย
โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ ตามความเป็นจริง
พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้เวทนาทั้งหลาย ด้วยตนเองได้
หรือจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว
จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายก็ได้
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

ผัสสะ เวทนา

กลับมาจากแพร่

ชีวิตยังคงแขวนไว้กับเส้นบางๆที่มองไม่เห็น
กลับแพร่ครั้งนี้ ยังมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอ่อนล้า
ก่อนจะถูกปลายทาง ขนส่งแพร่
ก็ว่าอาการแปลกๆ จะเหมือนง่วงนอน ได้กลิ่นน้ำมันรถเหมือนครั้งก่อน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นเมื่อครั้งนั้นแบบเดียวกัน แล้ววูบลงไป
พอรู้สึกตัวที่กาย ดูนาฬิกา พลังงานเป็นศูนย์ หัวใจเต้น 188 ครั้ง 5 นาที
รวมหัวใจเต้นตั้งแต่ 120 ครั้งขึ้นไป รวมทั้งหมดเป็นเวลา เกือบสองชม.
ให้เจ้านายดูนาฬิกา พลังงานเป็นศูนย์
ครั้งก่อนก็เป็นแบบนี้แหละ ตามมาด้วยปวดหลัง ร้าวทั้งหลัง
เวลาพลังงานขึ้นมาศูนย์ หมายถึงอาการหัวใจไม่ดี
หากหัวใจยังดีอยู่ จะมีพลังงานมีเกิดขึ้น
การจะใช้ชาร์ท เคยลองทำแล้ว ไม่มีผล แม้แบตเต็ม พลังงานยังเป็นศูนย์
ใช้วิธีให้เจ้านายนำไปใส่แทน เช้าขึ้นมาพลังงานขึ้นมาเป็น 42
ใช้เวลาหลายวันกว่าพลังงานจะกลับมาปกติ
คือเมื่อรู้สึกตัวตอนเช้า พลังงานจะเต็ม 100
หากไม่เต็ม 100 เกิดจากนอนไม่พอ นอนน้อย
และจิตเป็นสมาธิ ดีพ มีเกิดขึ้นน้อย
ต้องมีสองอย่างหรืออย่างได้อย่างหนึ่ง
เช่น หากไม่มีดีพ ต้องนอนได้ 8 ชม.ขึ้นไป
หรือหากมีดีพมีระยะสั้น 15 การนอนต้องสัมพันธ์กันคือ 7 ชม.
หากจิตเป็นสมาธิในรูปฌานหรืออรูปฌานหรือดีพ 1-2 ชม. การนอน 5-6 ชม.
ทว่าอาการหัวใจไม่ดี ต่อให้ดีพหลายชม.
นาฬิกาจะแจ้งว่าอ่อนล้า พลังงานยังเป็น0 ต่อให้นอน 8 ก็ตาม


ผัสสะ เวทนา
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง สามารถอธิบายได้หลายแบบ
ขึ้นอยู่กับความรู้ความเห็นของบุคคลนั้น
ซึ่งมีเรื่องมรรคผลมาเกี่ยวข้อง
คือการแจ้งอริยสัจ ๔ ที่ประจักษ์แจ้งด้วยตน

ผัสสะ เวทนา
อธิบายในเรื่องการเกิด ความดับของกามคุณ ๕และวิธีการดับกามคุณ ๕

ผัสสะ เวทนา
อธิบายในเรื่องกรรมและผลของกรรม

ผัสสะ เวทนา
อธิบายเรื่องความเกิด ความดับ และวิธีการดับภพชาติของการเกิด

ผัสสะ เวทนา
อธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

วันนี้ไปอ่านคลิปหนึ่ง
มีบุคคลได้พูดเรื่องสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้นกับตัวเอง
“เล่าวันดับอุปาทานแผ่นดินไหวสะเทือนเลือนลั่น”

พอดูสภาวะที่อธิบายนั้น
คนนี้ไม่เข้าใจเรื่องสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ
ขาดการศึกษาในพระไตรปิฎก เชื่อบุคคล ไม่สนใจศึกษาพระธรรม
ประกอบกับตัณหาเกิด ความอยากเป็น ทำให้เข้าใจว่าตนเข้าถึงอรหัตผล

ปัจจุบัน หากได้ดูคลิปในโลกโซเชี่ยล
มักจะมีตนเข้ามาอวดอ้างว่าตนเข้าถึงอรหัตผลเยอะมาก
แม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉา ก็สามารถเข้าถึงอรหัตผล
อ้างอิงว่าขนแมวที่ถูกการคลำๆลูบๆ จากขนของสัตว์เดรัจฉามาเป็นพระธาตุ

ก็สมควรให้กลุ่มที่ได้ศึกษามาจึงค่อนข้างตำหนิคนเหล่านี้ นี่เป็นเรื่องปกติ
ลองให้คนเหล่านี้มาสทนาแลกความรู้กับคุณสุจินต์
สู้ไม่ได้หรอกเลย อันนี้พูดจริงนะ ไม่ได้อวยคุณสุจินต์นะ
การสู้ ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติเข้าถึงและได้ศึกษาพระไตรปิฎกจริงๆ
จะดูด้วยเหตุและผล ที่เกิดจากการปฏิบัติ ผลของการปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ
จะตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้เป็นขั้นตอน เป็นสเตปๆ

ส่วนทิฏฐิตรงนี้ ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นความเชื่อของคนในกลุ่มนี้
“ทิังทุกอย่าง ทิ้งแม้พระพุทธเจ้า ทิ้งธรรม (ทิ้งสิ่งใดได้สิ่งนี้น)คุณจะเข้าถึงตัวเองด้วยจิต
เพราะทุกอย่างที่คุณสัมผัสมันคือความคิดล้วนๆ”

มีพระสูตรหนึ่ง แต่นึกชื่อสูตรไม่ออก
ในเนื้อความนั้น
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องกระดูก
อย่าไปดูกระดูก การเปลี่ยนแปลงของกระดูก
ให้ดูมรรคผลตามจริงเป็นหลัก ตามที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมไว้
คือ เชื่อพระธรรม

ผัสสะ เวทนา ตัณหา

ดีใจ สิ่่งที่เขียนอธิบายไว้เรื่องกามในกามคุณ ๕
ที่ประกอบด้วยกาม ว่าเป็นกามราคะ
เมื่อเจอพระสูตร จึงทำให้รู้สึกใจ
ทำนองว่า การพิจรณานั้น ถูกต้องตัวสภาวะ
“เพราะบุคคลผู้นี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ
ย่อมไม่พ้นไปจากภัยทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า”


ภยสูตร
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำว่า ภัย เป็นชื่อของกาม
คำว่า ทุกข์ เป็นชื่อของกาม
คำว่า โรค เป็นชื่อของกาม
คำว่า หัวฝี เป็นชื่อของกาม
คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของกาม
คำว่า ความข้อง เป็นชื่อของกาม
คำว่า เปือกตม เป็นชื่อของกาม
คำว่า การอยู่ในครรภ์ เป็นชื่อของกาม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไร คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกาม
เพราะบุคคลผู้นี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ
ย่อมไม่พ้นไปจากภัยทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น
คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกาม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า ทุกข์ ฯลฯ
โรค ฯลฯ หัวฝีฯลฯ ลูกศร ฯลฯ ความข้อง ฯลฯ
เปือกตม จึงเป็นชื่อของกาม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม
เพราะบุคคลนี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ
ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากการอยู่ในครรภ์ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น
คำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม ฯ
ภัย ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง เปือกตม และการอยู่ในครรภ์
นี้เรียกว่ากามที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว อันกามสุขครอบงำแล้ว
ย่อมไปเพื่อเกิดในครรภ์อีก
ก็เพราะภิกษุมีความเพียร ยินดีด้วยสัมปชัญญะ
ภิกษุเห็นปานนี้นั้น ก้าวล่วงทางหมุนเวียนที่ข้ามได้ยากนี้ได้แล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่ ฯ


๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕
คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก
เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต …
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ …
รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

อธิบาย

คำว่า ประกอบด้วยกาม
ได้แก่ กามราคะ

คำว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ได้แก่ ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า ความกำหนัด
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า รัก
ต้องใช้อีกพระสูตรมาอธิบายเกี่ยวกับ
ความรักเกิดจากตัณหาและทิฏฐิ

ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการเที่ยวไปผู้เดียว
[๖๗๑] ชื่อว่า ความรัก
ในอุเทศว่า อาทีนวํ เสฺนหชํ เปกฺขมาโน ดังนี้
ความรักมี ๒ อย่าง คือ
ความรักด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑. ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา. ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.

หรือพระสุตรนี้
ผัสสะ เวทนา ตัณหา

มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย
ท่องเที่ยวไปแผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้
ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้าปล้อง
ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้

เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้
ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม
เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง
ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้นั้นเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้
อาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้
อาศัยขันธบัญจกภายนอก

ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายในเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อมีความถือว่า เรามี ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้
เราเป็นอย่างนั้น
เราเป็นอย่างอื่น
เราไม่เป็นอยู่
เราพึงเป็นอย่างนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้น
เราพึงเป็นอย่างอื่น
แม้ไฉนเราพึงเป็น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น
เราจักเป็น
เราจักเป็นอย่างนี้
เราจักเป็นอย่างนั้น
เราจักเป็นอย่างอื่น
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการ
นี้อาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายนอกเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้
ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธบัญจกภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายนอก ด้วยประการฉะนี้
รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้
ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖
รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้นั้นแล เช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป
แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้
ซึ่งนุงเหมือนด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม
เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง
ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาตและสงสารไปได้ ฯ

[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้
ย่อมเกิด ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก ๑
โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก ๑
ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑
โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร
บุคคลในโลกนี้ เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจของบุคคล
คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้น
ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติ
ต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา
ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ
เขาย่อมเกิดความรักในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร
บุคคลในโลกนี้
เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล
คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลนั้น
ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติ
ต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา
ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร
บุคคลในโลกนี้
ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ
มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ
มาประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา
ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เขาย่อมเกิดโทสะในบุคคลเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิด ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่
สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
แม้โทสะที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก
เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
แม้โทสะที่เกิดเพราะความรัก…
แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ…
แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว
ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตน หรือเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีสัญญา เห็นสัญญาในตน หรือเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีสังขาร เห็นสังขารในตน หรือเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ
ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนว่ามีรูป ไม่เห็นรูปในตน
หรือไม่เห็นตนในรูป
ไม่เห็นเวทนา…
ไม่เห็นสัญญา…
ไม่เห็นสังขาร…
ไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ
ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่โต้ตอบอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ด่าตอบผู้ด่าตน
ย่อมไม่โกรธตอบผู้โกรธตน
ย่อมไม่โต้เถียงตอบผู้โต้เถียงตน
ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมบังหวนควันอย่างไร
เมื่อมีความถือว่าเราเป็นอย่างนี้
เราเป็นอย่างนั้น
เราเป็นอย่างอื่น
เราเป็นอยู่
เราไม่เป็นอยู่
เราพึงเป็น
เราพึงเป็นอย่างนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้น
เราพึงเป็นอย่างอื่น
แม้ไฉนเราพึงเป็น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น
เราจักเป็น เราจักเป็นอย่างนี้
เราจักเป็นอย่างนั้น เราจักเป็นอย่างอื่น
ภิกษุชื่อว่าย่อมบังหวนควันอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บังหวนควันอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีความถือว่า เรามีอยู่
ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ …
เราจักเป็นอย่างอื่น
ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่บังหวนควันอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุลุกโพลงอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีขันธบัญจกนี้
ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลุกโพลงอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ลุกโพลงอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้
ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้…
เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่ลุกโพลงอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังละอัสมิมานะ ตัดรากขาด
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้อย่างนี้แล ฯ


มีความรู้สึกคุ้นๆว่าน่าจะเคยเขียนอธิบายไว้แล้ว แต่นึกไม่ออก
ก็ไม่เป็นไร ถือเสียว่าได้ทบทวนอีก
อาจจะเขียนถึงบ่อยๆก็ไม่เป็นไร
จนกว่าจะจำขึ้นใจได้

ก็เหมือนการทำกรรมฐาน
กว่าจะทำได้ผล ต้องทำบ่อยๆ ทำต่อเนื่อง
กำหนดต่อเนื่อง ตั้งใจกำหนดเนืองๆ กำหนดช้าๆ ไม่รีบ
เมื่อยังมีพลั้งเผลอในเรื่องการกำหนด
จะใช้คำบริกรรมถี่ๆมาช่วยให้จิตอยู่ปัจจุบัน
เมื่อจิตกลับมาอยู่ปัจจุบันได้ เริ่มต้นใหม่
อาจจะเริ่มใหม่หลายครั้ง ก็ไม่เป็นไร
ผู้ที่ยังฝึก ต้องเป็นแบบนี้
เมื่อทำบ่อยๆ
นิวรณ์ย่อมถูกทำลายลงไปได้
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิอัตโนมัติ
เพราะผ่านจากจากกำหนดเนืองๆ
เริ่มจากกำหนดยืนหนอ
ต่อมาด้วยเดินจงกรม
ต่อมาด้วยนั่ง
ทำต่อเนื่อง
อินทรีย์จากยังไม่มั่นคง สติยังไม่มั่นคง
เมื่อทำบ่อยๆ ทำต่อเนื่อง เบื่อก้ทำ
ทำเพื่อตัวเอง รักตัวเอง ต้องทำ
ทำเพื่อไม่ต้องมาเวีนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป


กามโยค เกิดจากอวิชชา ความไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
กามราคะ เป็นกามที่ประกอบในกามคุณ ๕
กามตัณหา ความเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจในเวทนาที่มีเกิดขึ้น
กามาสวะ เป็นอนุสัย ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำออกไป


หน้าปก ที่เขียนไว้ 7 กันยายน 2022 ·
ต้องลบทิ้ง
เพราะสมัยนั้นเข้าใจผิดเรื่องคำเรียกในกามต่างๆ
แม้กระทั่งเรื่องการละอาสวะในกามาสวะ เขียนผิด
นี่ ๒ ปีน่ะเนี่ย ถ้าไม่ตั้งค่าเขียนไว้ที่หน้าปก จะจำไม่ได้เลย
รวมทั้งคำเรียกกามคุณ ๕

เรื่องการละอาสวะ เราคงงง
เพราะเห็นเขียนวิธีการดับตัณหา ๓
กลับเขียนสภาวะถูกต้อง
เหมือนเรางงๆกับตัวเอง
ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆแก้

อันนี้เขียนไว้ถูก

คำเรียกว่า กามตัณหา
ละด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ในสกทาคามิผล
ปัจจุบันเป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามตัณหา
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

อันนี้เขียนถูก

คำเรียกว่า กามราคะ
ละด้วยการแจ้งขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามราคะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

โดยรวม กามุปาทาน จะเข้าใจในลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น
หากดับเฉพาะตน คือ วิชชา ๑ ดับกามตัณหา

ดับด้วยสมาธิ ในสุขาปฏิปทา
ดับด้วยปัญญา(อริยสัจ ๔) ในทุกขาปฏิปทา
ส่วนจะรู้ชัดสภาวะคำเรียกของกามต่างๆ ต้องได้วิชชา ๓ ตามจริง
และการศึกษาในพระสูตรด้วย ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ