จิตสว่าง

บุคลลที่ทำความเพียรต่อเนื่อง
ในอิริยาบท ๔ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ
“จิตสว่างอยู่”

เมื่อเป็นดังนี้
คำว่า หลับ จะไม่มีเกิดขึ้นอีกต่อไป

จึงต้องอาศัย ถีนมิทธะ
เป็นตัวช่วยให้จิตตกภวังค์
เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน

.

ถีนมิทธะ
สำหรับคนทั่วไป คือ อาการง่วง หาวนอน
แต่สำหรับบุคคลที่คำว่า หลับ ที่ไม่มีเกิดขึ้นอีกต่อไป

อาการถีนมิทธะ ที่มีเกิดขึ้น
ทำให้จิตตกภวังค์ เกิดอาการวูบ หรือวาบ ขึ้นมา
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ สว่าง
รูปปรากฏบ้าง

ยิ่งสว่างมากเท่าไหร่
รูปที่มีอยู่ ย่อมหายไปหมดสิ้น เหลือแต่จิตที่รู้อยู่
แล้วดับลงไปในที่สุด

.

เมื่อรู้สึกตัว
บางครั้ง จิตเกิดก่อนที่จะรู้กาย
บางครั้ง รู้ชัดทั้งตัวที่กำลังนอนอยู่

.

.

“กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
อบรมจิตให้สว่างอยู่”

.

อิทธิบาท ๔

อิทธิบาท ๔ สมาธิ

อิทธิบาท ๔

พุทธพจน์ และ พระสูตร

อิทธิบาท ๔ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จ, หรือบาทฐานแห่งอิทธิหรือความสำเร็จด้วยดี อันมี ๔ ประกอบด้วย

๑. ฉันทะ ความพอใจ ความรักใคร่ ความยินดีในสิ่งนั้น เป็นความหมายในทางกุศล ที่หมายถึง ความรักงาน ความรักในกิจที่ทำ

๒. วิริยะ ความพากเพียร ความพยายามในสิ่งนั้น

๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ ความฝักใฝ่ ความสนใจในสิ่งนั้น

๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องการพิจารณาหาเหตุหาผลในสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องสัมพันธ์กัน และแต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน เป็นเหตุเป็นผลเกื้อหนุนกัน กล่าวคือ เมื่อมี ฉันทะ ความยินดีความรักในกิจหรืองานที่กระทำา ย่อมทำให้เกิด วิริยะ ความเพียรความพยายามในกิจหรืองานนั้น เมื่อมีความเพียรเกิดขึ้น จึงย่อมต้องเกิด จิตตะ ความฝักใฝ่ ความสนใจหรือเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้น เมื่อฝีกใฝ่ใส่ใจย่อม วิมังสา สอดส่องหรือพิจารณาในสิ่งนั้นอย่างหาเหตุหาผลหรือกอปด้วยปัญญานั่นเอง อิทธิบาทจึงเป็นคุณอันวิเศษที่เกื้อหนุนให้ประสบความสำเร็จในกิจหรืองานต่างๆ พระองค์ท่านจึงตรัสว่า เป็นบาทฐานเครื่องแห่งความสำเร็จ อันมีเหล่าเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องหนุนหรือองค์ประกอบในการทำให้เจริญขึ้นในอิทธิบาท ๔

จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก

อิทธิบาท ๔ จึงเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย

พระไตรปิฎก

เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ หัวข้อที่ ๕๐๘

ได้อรรถกถาธิบายไว้ดังนี้

คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึงซึ่งธรรมเหล่านั้น

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

ปุพพสูตร

(พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙)

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๓๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่

ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ของการเจริญอิทธิบาท.

[๑๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า

ฉันทะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.

[๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า

วิริยะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.

[๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า

จิต ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.

[๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า

วิมังสา ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

[๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง…..ฯลฯ.

[๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบ สูตรที่ ๑

(พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)

วิภังคสูตร

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อม เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ … จิตตสมาธิ … วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่. [๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบ ด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.

[๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก.

[๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร? ความสำคัญในเบื้องหลังและ เบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ ด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วย เพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร? อาโลกสัญญา (ความสำคัญในแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.

[๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุต ด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.

[๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่าวิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

[๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.

[๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วย ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.

[๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภ กามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

[๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.

[๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมป- *ยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.

[๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ [๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้ อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.

[๑๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบ สูตรที่ ๑๐

———————–

มหัปผลสูตร

อานิสงส์ของการเจริญอิทธิบาท

[๑๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมี

ผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและ

ปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ใน

ภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้า

ฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น

เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวัน

ก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยวิริยสมาธิ … จิตตสมาธิ … วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเรา จักไม่ย่อ

หย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมี

ความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด

เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไร

หุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด

พรหมโลกก็ได้.

[๑๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมกระทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบ สูตรที่ ๒

————–

ความหมายของสมาธิและปธานสังขาร ในอิทธิบาท ๔

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ ในหัวข้อที่ ๕๐๗)

สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใดนี้เรียกว่า สมาธิ

ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้ง ฉันทะ….. ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

http://nkgen.com/766.htm

 

 

 

วิรัทธสูตรผู้ปรารภอิทธิบาทชื่อว่าปรารภอริยมรรค

             [๑๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่า
นั้นก็ชื่อว่า เบื่ออริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร อิทธิบาท ๔ เหล่านี้
อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

จบ สูตรที่ ๒อริยสูตรเจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความสิ้นทุกข์

             [๑๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและ
ปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์
ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

จบ สูตรที่ ๓นิพพุตสูตรเจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความหน่าย

             [๑๑๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท
ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธาน-
*สังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว ... เพื่อนิพพาน.

จบ สูตรที่ ๔ปเทสสูตรฤทธิ์สำเร็จได้เพราะเจริญอิทธิบาท

             [๑๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ยัง
ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็
เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล
จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้
ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน
ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้
ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประ
กอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.
             [๑๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ยัง
ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็
เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ใน
อนาคตกาล จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์
ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยัง
ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

จบ สูตรที่ ๕http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6424&Z=6471

 

สมถะในปัจจุบัน (ตอนที่ ๘)

การเจริญสมาธิภาวนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ด้วยหัวข้อว่า จิตฺตํ โดยพระบาลีว่า

สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ

ดังนี้ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่ง โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสมาธิไว้อย่างย่อสั้นมาก ไม่ต้องกล่าวถึงที่จะเจริญภาวนา แม้แต่เพียงจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะกระทำได้ง่ายเลย

แต่อย่างไรก็ดี ขึ้นชื่อว่าภาวนาฝ่ายกุศลแล้ว ที่จะไม่มีกำจัดกิเลส มีราคะเป็นต้น หรือที่ไม่เป็นอุปการะแก่คุณธรรม มีศัรทธาเป็นต้น เป็นอันไม่มี ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ซึ่งมีในเมฆิยสูตรว่า

พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งๆ ขึ้นไป คือ พึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานทั้งหลาย เพื่อประหานเสียซึ่งราคะ

พึงเจริญเมตตา เพื่อประหานเสียซึ่งพยาบาท

พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อกำจัดเสียซึ่งมิจฉาวิตก

พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนซึ่งอัสมิมานะ
อง. นวก. (ไทย) ๒๓/๓/๔๓๔, ขุ. อุ. (ไทย) ๒๕/๓๑/๒๓๕-๒๓๖

แม้ในราหุลสูตร พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงพระกัมมัฏฐาน ๗ ประการ โปรดพระราหุลเถระเพียงองค์เดียว โดยมีนัยอาทิว่า

ราหุล เธอจงเจริญซึ่งภาวนา อันมีเมตตาเป็นอารมณ์ …. ม. ม. (ไทย) ๑๓/๑๒๐/๑๓๐

เพราะเหตุฉนี้ นักศึกษาจงอย่าได้ทำความยึดถือเพียงแต่ในถ้อยคำแถลงที่แสดงไว้ว่า กัมมัฏฐานอย่างโน้นเหมาะสมแก่จริตบุคคล ประเภทโน้น พึงค้นคว้าแสวงหาอรรถาธิบายในคัมภีร์ต่างๆ ทั่วไปเถิด

การวินิจฉัยกัมมัฏฐานกถาโดยพิศดาร ในหัวข้อสังเขปว่า เรียนเอาเฉพาะพระกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาพระกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ ยุติเพียงเท่านี้

จากคัมภีร์วิสุทธิมัรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) แปลและเรียบเรียง

หมายเหตุ:-

จากเรื่องการเจริญสมาธิภาวนานั้น ส่วนมากจะกล่าวไว้เพียงเรื่องพระกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ

พระอาจารย์ได้อธิบายเรื่องจริตต่างๆ และกรรมฐานทั้ง ๔๐ รวมทั้งเรื่องของสมาธิต่างๆไว้อย่างพิศดารและแยบคาย ทั้งเรื่องของจริยา และจริตต่างๆว่าเหตุแท้จริงมาจากไหน

ซึ่งบทความอาจจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีเหตุร่วมกัน และอาจจะไม่มีประโยช์แก่ผู้ที่ไม่มีเหตุร่วมกัน เมื่อเห็นในเรื่องของเหตุและผลเช่นนี้แล้ว จึงไม่ได้นำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้

เนื่องจาก ผู้เขียนต้องการอรรถสำคัญในเรื่องที่มาของคำเรียก สมถะ-วิปัสสนาในปัจจุบัน ว่ามีที่มาอย่างไร

แม้กระทั่งเรื่องของคำเรียกวิปัสสนาญาณที่มีปรากฏขึ้นในปัจจุบัน มีที่มาอย่างไร ซึ่งจะนำมาแสดงในหัวข้อเรื่อง วิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖

ส่วนเรื่องการเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิที่ผู้เขียนได้เคยกล่าวถึงไว้บ้างนั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีเนื้อหาเพียงดังนี้ว่า มีปรากฏอยู่ในพระสูตร โดยยึดหลักของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสมาธิ โดยแยกเป็นอธิบดีทั้ง ๔ ได้อรรถาอธิบาย โดยมีพระบาลีสมอ้างดังนี้ คือ :-
(คำว่า “สมอ้าง” พระอาจารย์ท่านบันทึกไว้เช่นนั้น)

ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า ฉันทาธิปติสมาธิ

ถ้าภิกษุทำวิริยะให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า วีริยาธิปติสมาธิ

ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า จิตตาธิปติสมาธิ

ถ้าภิกษุทำวิมังสาให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า วิมังสาธิปติสมาธิ

วิธีทำให้สมาธิเกิด

การทำให้สมาธิเกิด มีหลายวิธี ซึ่งมีอยู่ในอิทธิบาท ๔

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ฉันทสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท
ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร.

ฉันทสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นจาก ทำตามสัปปายะที่ถูกจริตของตัวเอง ทำตามอิริยาบทที่ตัวเองถนัด ไม่จำเป็นจะต้องนั่งในท่าขัดสมาธิเสมอไป ในอิริยาบทอื่นๆก็สามารถทำให้เกิดสมาธิได้

อิริยาปโถ-อิริยาบถ

แม้ในอิริยาบถ ๔ บางคนมีอิริยาบถเดินเป็นที่สบาย บางคนมีอริยาบทนอน อิริยาบทยืนหรืออิริยาบทนั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลพึงทดลองอิริยาบถนั้นๆอย่างละ ๓ วัน เหมือนกับทดลองที่อยู่

ในอิริยาบถใด จิตยังไม่ตั้งมั่น ย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น พึงทราบว่าอิริยาบทนั้น ชื่อว่าเป็นอิริยาบถเป็นที่สบาย อิริยาบถอื่นๆนอกจากนี้ ไม่ใช่เป็นอิริยาบทที่สบาย

โภชนะ-อาหาร

อาหารที่มีรสหวาน ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ที่มีรสเปรี้ยว ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน

แม้อากาศเย็นก็เป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน อากาศร้อนเป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน

เพราะฉะนั้น เมื่อโยคีบุคคลส้องเสพอาหารหรืออากาศชนิดใด จึงมีความผาสุกสบาย หรือจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น

อาหารชนิดนั้นและอากาศชนิดนั้น ชื่อว่าเป็นที่สบาย อาหารและอากาศชนิดอื่น นอกจากนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่สบาย

อาวาส-ที่อยู่

เมื่อโยคีบุคคลอยู่ ณ ที่ใด นิมิตหมายเกิดขึ้นด้วย ย่อมถาวรมั่นคงด้วยสติ ย่อมตั้งมั่นในนิมิตนั้น จิตก็เป็นสมาธิ ที่อยู่เช่นนี้ชื่อว่า ที่อยู่เป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น ในวัดใดที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ในวัดเช่นนั้น

โยคีบุคคลพึงอาศัยทดลองดู แห่งละ ๓ วัน ณ แห่งใดทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ก็พึงอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเถิด จริงอยู่ เพราะเหตุได้ที่อยู่เป็นที่สบาย

วิริยสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิตนี้ เรียกว่า วิริยสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิริยะนี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร.

วิริยสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากความเพียรพยายามทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง

จิตตสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

จิตนี้ด้วย จิตตสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร.

จิตตสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการกำหนดต้นจิต

วิมังสาสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิตนี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย

เพื่อความเจริญยิ่งๆขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่าปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

วิมังสาสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการนำเรื่องธรรมะต่างๆมาพิจรณา เช่น ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปปบาทฯลฯ

เหตุของแต่ละคนแตกต่างกันไป แนวทางการปฏิบัติจึงมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น ใช่ว่าปฏิบัติแบบเดียวกันจะได้ผลหรือสภาวะเหมือนกัน

สมาธิทุกคนน่ะมีอยู่แล้ว เพียงแต่วิธีที่จะนำสมาธิที่มีอยู่นั้นออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร หากจับจุดได้ถูก การทำจิตให้ตั้งมั่นหรือทำให้เป็นสมาธิไม่ใช่เรื่องยาก

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ