จิตตปาริสุทธิ(ปริยัติ)

จิตตปาริสุทธิและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
พระพุทธเจ้าทรงตรัสย่อไว้แค่นี้

ทำกรรมฐาน

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา
ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง
มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
เมื่อภิกษุนั้น เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด
หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

ผลของปฏิบัติ

ทำให้รู้ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำเรียกเหล่านี้
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
ทำให้ไม่สร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นอีก “สัทธรรมปฏิรูป”
ที่เกิดจากการสร้างวาทะต่างๆให้มีเกิดขึ้นอีก ซึ่งเกิดจากอวิชชาที่มีอยู่

สัมมาสมาธิ
กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ …
บรรลุทุติยฌาน …
ตติยฌาน …
จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ …
บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ …
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

สัมมาสมาธิ
กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานและเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

สัมมาสมาธิ
กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ


วิธีการปฏิบัติ

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)


เมื่อปฏิบัติตาม

หากปฏิบัติถูกต้องตัวสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
จะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้า ล้วนเกิดจากการกระทำของตน
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้

ปฏิปทาวรรคที่ ๒


๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามฉันทะ
พยาบาท
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

[๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ?

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้
มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่
ก็กามฉันทะในกามทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต
เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้
อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้
อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้
อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น
แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้
เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น
แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้
เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้
เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของตน
จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

รูปฌาน ๔
[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก
เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น
ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์

อรูปฌาน
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน
ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต
คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นอาสวะ
ถ้าไม่บรรลุ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่.
เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น
คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์.

อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่านั่นมีอยู่ นั่นประณีต
คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ นิพพาน ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ
ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล.
ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร
ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.

ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.


ประโยชน์ของการศึกษาและปฏิบัติตาม
บุคคลที่รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

ฌานสูตร
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
ทุติยฌานบ้าง
ตติยฌานบ้าง
จตุตถฌานบ้าง
อากาสานัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข
เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง …นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด
และทำลายร่างใหญ่ๆได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
บรรลุจตุตถฌานฯลฯ
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน …
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ

อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล
สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้
คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้
อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ
เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ


บุคคลที่รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
และรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏตามความเป็นจริง

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป
เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก
เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ


บุคคลที่รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับคือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

จิตตปาริสุทธิ

คำว่า ปาริสุทธิ
ได้แก่ ปราศจากตัณหาและทิกฐิ

คำว่า จิตตปาริสุทธิ
ได้แก่ การทำกรรมฐาน
ทำเพราะเห็นทุกข์ ชาติ ชรา มรณะ
ไม่ได้ทำเพราะความอยากเป็นในคำสมมุติ

การทำกรรมฐาน

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา
ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง
มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
เมื่อภิกษุนั้น เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด
หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ


  1. สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์
    ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ
    กำหนดต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

สัมมาสมาธิ
กามเหสสูตรที่ ๑

[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ …
บรรลุทุติยฌาน …
ตติยฌาน …
จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ …
บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ …
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ


  1. วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
    กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง เช่น
    หายใจเข้า รู้ลมหายใจเข้าตามความเป็นจริง
    หายใจออก รู้ลมหายใจออก ตามความเป็นจริง
    ขณะหายใจเข้า ท้องพอง รู้ตามความเป็นจริง
    ขณะหายใจออก ท้องแฟ่บ รู้ตามความเป็นจริง
    กำหนดต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

สัมมาสมาธิ
กามเหสสูตรที่ ๒

[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานและเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง
ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ


  1. สมถะ วิปัสสนา
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

สัมมาสมาธิ
กามเหสสูตรที่ ๓

[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง
ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

3.1 สมถะเกิดก่อน(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนาเกิดที่หลัง(มีรูปนามเป็นอารมณ์)

ตัวสภาวะมีเกิดขึ้นคือ
สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม
กำหนดต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
จิตละทิ้งคำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์(วิปัสสนา)
กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

3.2 สมถะเกิดก่อน(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนาเกิดที่หลัง(มีรูปนามเป็นอารมณ์)

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น คือ
สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
เวทนากล้าปรากฏ ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง(มีรูปนามเป็นอารมณ์)

3.3 สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน

เวทนากล้าปรากฏ ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
มีความกลัวเกิดขึ้น ไม่สามารถจะผ่านเวทนากล้าไปได้
ใช้คำบริกรรมมาช่วย เช่น รู้หนอบริกรรมถี่ๆ หรือพุทโธบริกรรมถี่ๆ
จิตจะจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นจะค่อยๆคลายหายไป

3.4 วิปัสสนาเกิดก่อน(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
สมถะเกิดที่หลัง(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)

ตัวสภาวะมีเกิดขึ้นคือ
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
กำหนดต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
เวทนากล้าปรากฏ ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
มีความกลัวเกิดขึ้น ไม่สามารถจะผ่านเวทนากล้าไปได้
ใช้คำบริกรรมมาช่วย เช่น รู้หนอบริกรรมถี่ๆ หรือพุทโธบริกรรมถี่ๆ
จิตจะจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นจะค่อยๆคลายหายไป

จิตตปาริสุทธิ

จิตตปาริสุทธิ
การทำกรรมฐาน เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มี ๔ แบบ

๑. กายสักขี(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ)

๒. หลุดพ้นด้วยปัญญา(วิปัสสนา)

๓. หลุดพ้นสองส่วน(สมถะและวิปัสสนา)

๔. ฟังธรรมว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ เริ่มจากศิล สมาธิ
เพื่อละนิวรณ์ ๕ และทำกรรมฐาน
ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุดดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา
ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ


๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ


สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ
เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


วิธีการปฏิบัติมี ๒ แบบ

๑. นั่งอย่างเดียว ใช้คำบริกรรม จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีโอภาสแสงสว่างมาก
จะเหลือสภาวะ ๒ อย่างปรากฏคือ ใจรู้อยู่กับโอภาส(แสงสว่าง)
ทำจนชำนาญ แล้วปรับอินทรีย์ ๕ โดยการเดินจงกรมก่อนนั่ง ตั้งเวลานั่งเท่าเดิม
ตั้งเวลาการเดินจงกรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ทำแบบนี้ต่อเนื่อง ทำทุกวัน
เมื่อรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

๒. เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม. ทำแบบนี้ต่อเนื่อง
มีเวลามาก ทำบ่อยๆเดินและนั่งสลับไปมา
ถ้ามีเวลาน้อย ทำวันละครั้งก็ได้ อย่าหยุดทำ ให้ทำทุกวัน
เมื่อรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ทำมาก(หลายรอบ) ทำน้อย(วันละครั้ง)
ผลที่ได้รับ ย่อมไม่เท่ากัน
ก็เหมือนการทำงาน แต่เป็นงานที่ทำแล้วจบ
ไม่ต้องใช้เงิน ใช้ความศรัทธา ใช้ความพยายาม(ทำต่อเนื่อง)
แรกๆอาจฝืนใจ พอทำบ่อยๆจนจิตชำนาญในสมาธิ อาการฝืนใจจะหายไปเอง
อีกอย่างจะเริ่มเห็นผลของการปฏิบัติทุกวัน
อะไรที่เคยคิดว่ามันแย่ๆที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
ทุกสิ่งจะกลับมาดีขึ้น แย่ ดี เกิดขึ้นสลับกันไปมา
จนเห็นว่าทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นที่ว่าแย่หรือที่ว่าดี มันไม่เที่ยง คือคาดเดาไม่ได้
ทำให้ละความยึดมั่นถือมั่น จิตเริ่มปล่อยวาง เหตุนี้จึงทำให้ไม่เลิกการปฏิบัติ

กรณีเดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
สำหรับผู้ปฏิบัติเริ่มใหม่ เริ่มจากเดิน 10 นาที ต่อนั่ง 10 นาที ทำจนจิตเกิดความคุ้นเคย
จะทำกี่รอบก็ได้ กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด
เมื่อทำได้โดยไม่เลิกทำความเพียร
ให้เพิ่มเวลาการปฏิบัติ เดิน 15 นาที ต่อนั่ง 15 นาที ทำจนจิตคุ้นเคย จะทำกี่รอบก็ได้
กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด
เมื่อทำได้โดยไม่เลิกทำความเพียร
เพิ่มเวลาปฏิบัติจนเดิน 1 ชม. ต่อนั่ง 1 ชม. จะทำกี่รอบก็ได้
กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด

เมื่ออินทรีย์ ๕ มั่นคง
เพิ่มเวลาการปฏิบัติทั้งเดินจงกรมและนั่ง
จะทำให้รู้ชัดความดับเกิดรูปนามที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ขณะเดินจงกรม
ขณะนั่ง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ขณะเวทนากล้ามีเกิดขึ้น
ให้กำหนดตามความจริง
ไตรลักษณ์จะปรากฏ
ให้กำหนดตามจริง
อาจจะเกิดเนืองๆหรืออาจจะนานๆเกิด ก็ตาม
เป็นเรื่องปกติของสภาวะที่ดำเนินถูกตรงมรรค

สภาวะใดๆที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ไม่นำเรื่องมรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะเมื่อนำเรื่องมรรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทำให้อุปกิเลสมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
จะทำให้ตัวสภาวะจะจมแช่เพียงแค่นั้น

———–

๑. ทำกรรมฐาน ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า สมถะ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขี ฯ

 สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

= อธิบาย =

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา”
คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


๒. ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์
ได้แก่ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เช่น
หายใจเข้า รู้ลมหายใจเข้าตามความเป็นจริง
หายใจออก รู้ลมหายใจออก ตามความเป็นจริง
ขณะหายใจเข้า ท้องพอง รู้ตามความเป็นจริง
ขณะหายใจออก ท้องแฟ่บ รู้ตามความเป็นจริง
เรียกว่า วิปัสสนา
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า เธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม


๓. ทำกรรมฐาน
ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์(สมถะ)
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จิตละทิ้งคำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์(วิปัสสนา)
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ

สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

กามเหสสูตรที่ ๓
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า เธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม


๔. ฟังธรรมว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ เริ่มจากศิล สมาธิ
เพื่อละนิวรณ์ ๕
ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา
ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ


บรรลุเร็ว บรรลุช้า ขึ้นอยู่กับ
๑. อินทรีย์ ๕
๒. อุปกิเลสของจิต(นิวรณ์ ๕)
๓. ขาดการศึกษาศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

แก้ไข 16 สค. 64

แก้ไข 10 มีค. 65


๓. อุปนิสสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

= อธิบาย =

สีลสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

คำว่า สัมมาสมาธิ
ได้อธิบายไปแล้ววิธีการปฏิบัติทำให้สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง

คำว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะตามจริง
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

“เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ”

คำว่า นิพพิทา
ได้แก่ ความเบื่อหน่าย
ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

“เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ”

คำว่า วิราคะ
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

“วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า วิมุตติ
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

คำว่า วิมุตติญาณทัสสนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔


“ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ”

คำว่า ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ได้แก่ นิพพาน

คำว่า มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
ได้แก่

ไตรลักษณ์ ทุกข์
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑ ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ไตรลักษณ์ อนัตตา
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกขาดออกจากกัน
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น กับใจที่รู้อยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๒ ในอนาคามิมรรค อนาคามิผล

ไตรลักษณ์ อนิจจัง
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น รู้สึกแน่นๆที่หัวใจ
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๓ ในอรหัตมรรค อรหัตผล

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ