อินทรีย์ ๕

ความหมายของ “อินทรีย์ ๕” สำหรับผู้ที่ยังมีอุปทานในขันธ์ ๕

๕. สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕

[๙๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นตน เป็นหลายวิธี
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมตามเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมตามเห็นรูปในตน ๑
ย่อมตามเห็นตนในรูป ๑
ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน …
ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน …
ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน …
ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมตามเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมตามเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณ ๑.

การตามเห็นด้วยประการดังนี้แล  เป็นอันผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น

เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นในกาลนั้น อินทรีย์ ๕ คือ
จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์
ย่อมหยั่งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่
ธรรมทั้งหลายมีอยู่
อวิชชาธาตุมีอยู่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์
ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า
เราเป็นดังนี้บ้าง
นี้เป็นเราดังนี้บ้าง
เราจักเป็นดังนี้บ้าง
จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง
จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาดังนี้บ้าง
จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้
ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่  ในเพราะการตามเห็นนั้นทีเดียว
เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว  ย่อมละอวิชชาเสียได้  วิชชาย่อมเกิดขึ้น  เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา
อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า
เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง
เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

จบ สูตร ๕.

 

สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็น

[๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อพิจารณา ก็พิจารณาเห็นตนเป็นไปต่างๆ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

๑. พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป

๒. พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ

๓. พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ

๔. พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

๕. พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา  พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ  พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา  หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ

การพิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดว่าผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’
เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ ย่อมเกิดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑- ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒- มีอยู่

เมื่อปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ถูกความเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว  เขาก็มีความ ยึดมั่นถือมั่นว่า
‘เราเป็น’บ้าง
‘เราเป็นนี้’บ้าง
‘เราจักเป็น’บ้าง
‘เราจักไม่เป็น’บ้าง
‘เราจักมีรูป’บ้าง
‘เราจักไม่มีรูป’บ้าง
‘เราจักมีสัญญา’บ้าง
‘เราจักไม่มี สัญญา’บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล

เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓- จึงเกิดขึ้น
เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น  อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า
‘เราเป็น’ บ้าง
‘เราเป็นนี้’ บ้าง
‘เราจักเป็น’ บ้าง
‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง
‘เราจัก มีรูป’ บ้าง
‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”

สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ

 

หมายเหตุ :

๑. มนะ ใจ
ธรรม ธรรมารมณ์

๒. อวิชชาธาตุ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔

เกิดจากผัสสะอันสัมปยุตด้วยอวิชชา.
เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงฯลฯ

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่ อุปทานขันธ์ ๕ ย่อมมีเกิดขึ้น
เมื่อความยึดมั่นถอมั่นในขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น “เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา”
๓. วิชชาเกิด การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ (ปัญญินทรีย์)
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกอินทรีย์ ๕ ได้แก่ จักขุอินทรีย์ โสตินทรีย์ฯลฯ
เป็นเรื่องของ อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นกับปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ฯลฯ

สำหรับอริยสาวก จักขุอินทรีย์ ฯลฯ ทรงตรัสเรียกว่า อินทรีย์ ๖

นี่เป็นความต่างของคำเรียก”อินทรีย์ ๕” ในพระอริยบุคคลกับปถุชน

ความตาย

๔. อนุราธสูตร ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

 

[๒๐๘] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี.
ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.
ครั้งนั้นอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พากันเข้าไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วจึงได้กล่าวกะท่านอนุราธะว่า
ดูกรท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ ในฐานะ ๔ นี้ คือ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมไม่เกิดอีกอีกก็หามิได้ ๑.

 

เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า
ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม
เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑.
เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า
ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด.
ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวรุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะหลีกไป.

 

[๒๐๙] เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิดว่า
ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว
และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

 

ลำดับนั้น ท่านพระอนุราธะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นอันมาก พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ฯลฯ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ดูกรท่านพระอนุราธะ พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม
เมื่อจะทรงบัญญัติในฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกะพวกเขาว่า
ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม
เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ นอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชไม่นาน ก็หรือว่าเป็นเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่า เป็นผู้ใหม่ เป็นผู้เขลาแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.

เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์เกิดความคิดว่า
ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าว ตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว
และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

 

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่าฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๑๑] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นรูปว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นสัตว์บุคคลหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๒] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในรูปหรือ
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในเวทนาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสังขารหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

 

[๒๑๓] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๔] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรอนุราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม  เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑

อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์

.

หมายเหตุ;

ทุกข์ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5
ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพาน(ดับตัณหาและอวิชชา)

พระเสขะ ผู้เจริญอินทรีย์

สำหรับพระเสขะ(โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี) ผู้เจริญอินทรีย์
.
[๘๖๒] ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น

เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต …
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ …
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา …
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน …
เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น

 

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ ฯ

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

.

หมายเหตุ;
“เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น”

.

๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)

[๘๖๓] ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ฯ

.

[๘๖๔] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต …
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ …
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา …
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …

เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้

 

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ

เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป
ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น
เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

.

หมายเหตุ;
“เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่”

.

๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)

[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรอานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

.

[๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

.

[๘๕๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบ ใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

.

[๘๕๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น แล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

.

[๘๖๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก  เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

.

[๘๖๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ เกิดทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากอย่างนี้ เหมือนบุรุษมีกำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็วทีเดียว ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

.

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

สภาวะมรณะ

ตั้งแต่ที่คนทั่วๆไปเรียกว่า ป่วย
สำหรับเรา สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ป่วย)
เป็นเรื่องของการละอุปาทานขันธ์ 5
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย กล่าวคือ มรณะ

แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะของการพิจรณา

1. ขณิกมรณะ เช่น หัวใจเต้นสลับหยุดเต้น ที่เกิดจากหัวใจขาดเลือด อาการที่มีเกิดขึ้นชัดคือ หากหยุดเดิน 5 วินาที จะรู้สึกวูบ เหมือนคนจะเป็นลม บ้างครั้งมีอาการหน้ามืด เกิดระยะสั้นๆ ประมาณ 10-20 นาที

หากหยุดเดิน 8 วินาที สลับหัวใจเต้นเร็ว จะรู้สึกวูบ มีอาการเหมือนจะขาดใจ(หายใจไม่ออก) เกิดระยะสั้นๆ ประมาณ 10-20 นาที

กว่าจะรู้ว่าอาการที่เราเรียกว่า วูบๆ เกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติ(เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ) ที่ยังมีเป็นอยู่ แต่เกิดน้อยลง ต่างกับเมื่อก่อน จะตายเนืองๆ(หายใจไม่ออก) ทรมาณมาก

ใจสั่น ในความหมายแพทย์ หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ

สมาธิช่วยทำให้ไม่ทรมาณมาก เช่น เมื่อเกิดใจไม่ดี แล้วเริ่มวูบ หายใจไม่ออก จะหยุดทุกสิ่งที่ทำอยู่ จะนั่ง 90 องศา(หัวสูง) ขาเหยียดยาว รู้ตามความเป็นจริง แปบเดียวจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ สำหรับผู้ที่มีสภาวะรู้ชัดรูป,นาม ตามความเป็นจริง จะไม่ต้องตั้งใจทำสมาธิ ไม่มีความพยายามทำให้จิตตั้งเป็นสมาธิ ขณะรู้อยู่ว่า หายใจไม่ออก ก็แค่รู้ว่ามีสภาวะเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง จิตตั้งเป็นสมาธิเป็นอัตโนมัติ แล้วเข้าสู่ความว่าง(กายหาย) สลับมารู้ที่กาย เกิด-ดับ จนกระทั่งรู้ว่า อาการวูบและใจสั่นหายไป จึงกลับมาทำงานปกติ เท่าที่สังเกตุมา จิตจะเป็นสมาธิประมาณ 1 ชม.

.

2. สมมติมรณะ หมายถึง ที่เรียกว่า มรณะ/ตาย จะตายด้วยเหตุปัจจัยก็ตาม ที่ชื่อว่า สมมุติมรณะ คนทั่วๆไป ที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5

.

3. สมุจเฉทมรณะ ในที่นี้
หมายเอาเฉพาะขณะเกิดมรรค ผล
(อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ) ได้แก่

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหันตมรรค อรหันตผล

 

เพิ่มเติมรายละเอียดสภาวะมรณะ
ที่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อนิพพาน(ดับภพ)

โดยพระสูตร ๔. อนุราธสูตร
ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

.

๔. อนุราธสูตร

ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

[๒๐๘] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.
ครั้งนั้นอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พากันเข้าไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วจึงได้กล่าวกะท่านอนุราธะว่า
ดูกรท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ ในฐานะ ๔ นี้ คือ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมไม่เกิดอีกอีกก็หามิได้ ๑.

เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า
ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑.

เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด.

ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวรุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๒๐๙] เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

ลำดับนั้น ท่านพระอนุราธะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นอันมาก พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ฯลฯ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านพระอนุราธะ พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติในฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกะพวกเขาว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ นอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชไม่นาน ก็หรือว่าเป็นเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่า เป็นผู้ใหม่ เป็นผู้เขลาแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์เกิดความคิดว่า
ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าว ตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่าฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๑๑] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นรูปว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นสัตว์บุคคลหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๒] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในรูปหรือ
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในเวทนาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสังขารหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๓] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๔] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรอนุราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑
อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
พ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์

หมายเหตุ;
ทุกข์ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5
ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพาน(ดับตัณหาและอวิชชา)

มิถุนายน 2019
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

คลังเก็บ