อินทรีย์ ๕

ผัสสะ เวทนา ตัณหา
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติตาม คือ สีลปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้รู้ทันโลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้น
และไม่หลงกับโลกธรรม ๘ ที่ปรากฏตามจริง

การเดินจงกรม ไม่ใช่ประโยชน์มีแค่นี้
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้คร่าวๆ
มากกว่านี้ต้องปฏิบัติด้วยตนจึงจะสามารถเข้าใจได้

๙. จังกมสูตร
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ

การเดินจงกรมซึ่งมีทั้งหมด ๖ ระยะ
เมื่อเดินครบเวลาที่ตั้งไว้
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง แล้วนั่ง

ทำให้จิตที่เป็นสมาธิจากมิจฉาสมาธิมาเป็นสัมมาสมาธิได้
อันนี้ต้องฝึก ไม่ใช่สักแต่ว่าเดิน เดินไปคุยไป
ตั้งสติที่เท้า ไม่ใช่ปาก(บริกรรม) เพียงอย่างเดียว
เมื่อจำคำบริกรรม วิธีกำหนดระยะที่ ๑ จนถึงระยะที่ ๖ จำได้ไม่ลืม
ต่อจากนั้นทิ้งคำบริกรรม ใช้ใจ ใช้สติ กำหนดตามจริง
ขณะเคลื่อนไหวของเท้าในแต่ละขณะๆๆ ไม่เผลอ

ถ้ากลัวเผลอ ให้ฝึกตั้งแต่เดินจงกรมระยะที่ ๑ ใช้คำบริกรรม
ทำต่อเนื่อง จนจำคำบริกรรมหรือการกำหนดได้ ไม่ลืม ไม่เผลอ
ให้ฝึกขั้นตอนต่อไป ไม่ใช้คำบริกรรม
กำหนดการเคลื่อนไหวของเท้าในแต่ละขณะๆ
เรียกว่าใช้ใจ ทำให้สติมีเกิดขึ้นตามจริง

เมื่อสติมีเกิดขึ้นตามจริง สัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้นตาม
หากสติยังมีกำลังอ่อน สัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้นย่อมน้อย
ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนด ให้พยามกำหนดช้าๆ ไม่ต้องรีบ ให้ตั้งใจกำหนด
บางคนติดใจสมาธิ จะกำหนดยืนหนอ ยืนจนหมดเวลา สติไม่มี
ให้กำหนด ๕ ครั้ง แต่ดันกำหนดยืนหนอจนหมดเวลา
เพราะติดใจสมาธิที่มีเกิดขึ้น
ที่จิตเป็นสมาธินั้น เกิดจากคำบริกรรมที่ใช้อยู่
ที่ให้กำหนด ๕ ครั้ง เพื่อให้มีสติมีเกิดขึ้น
ไม่ใช่ไปสนใจเรื่องสมาธิขณะยืน

การทำกรรมฐาน
สติ สัมปชัญญะ สมาธิ
สัมมาสมาธิ
สามารถเปลี่ยนภพชาติของการเกิดได้


21 มค. 2566
การทำกรรมฐาน ขึ้นอยู่กับของเก่าที่มีอยู่
กรรมในอดีตที่กระทำสะสมไว้ ไม่ใช่เรื่องฟลุ๊ก
มาในชาติปัจจุบัน ทำให้เข้าสู่มาเส้นทางของการทำกรรมฐานอีกครั้ง
ส่วนจะปฏิบัติได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
บางคนชอบแสวงหานอกตัว

สำหรับเรานั้นในอดีตชาติ เคยเป็นคนเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระสูตร
บ้านเป็นบ้านโบราณ มีบริวาร มีทาส เราเป็นเมียหลวง
เป็นเมียในนาม เมียแต่งตั้ง เราไม่สนใจเรื่องการเสพกามกับสามี
สามีมีเมียน้อยเยอะแยะ เขาอยู่ในฐานะสูง จะมีเมียหลายคนได้

มาในชาติปัจจุบัน เราก็ว่าทำไมเราจึงไม่สนใจเรื่องอ่านพระไตรปิฎก
หรือจะสนใจหนังสือเกี่ยวกับศาสนา คือไม่สนใจ
พอรู้เรื่องการปฏิบัติ เรื่องการทำกรรมฐาน ทำให้เราสนใจมากกว่า

เวลาเราบอกกับหลายๆคนทำนองว่าให้ตั้งใจปฏิบัตินะ
หากปฏิบัติเข้าถึงธรรมตามจริง
ตัวปัญญาที่มีเกิดขึ้นในตนจะทำให้รู้อะไรมากกมายกว่าจากการท่องจำมา
การท่องจำมา คนที่สอน รู้แค่ไหน จะสอนได้แค่นั้น
สอนปริยัติ จะรู้เพียงปริยัติ
ปฏิบัติ สอนแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของผู้สอน รู้แค่ไหน สอนได้แค่นั้น
นี่แหละกรรมและผลของกรรมที่มีเกิดขึ้นในแต่ละคน

ด้วยเหตุนี้ ใครจะมาใครจะไป
เรามักจะบอกเหมือนๆเดิมว่า ตามสบายนะ คือเราชินกับสิ่งเหล่านี้
ใครจะปฏิบัติแบบไหน ชอบแบบไหน ชอบอ่าน ชอบเรียน ก็ตามสบาย
เรามองว่ากรรมที่เคยกระทำร่วมกันไว้มีวาสนาต่อกันมีแค่นี้
จากที่เคยถาม เคยพูด จะเลิกถามอีก
เพราะเส้นทางไปคนละเส้นทางกัน
เพราะศรัทธายังไม่มั่นคง จึงแสวงหาทางอื่น

อันนี้เจอกับตน ก็เหมือนบางคนปฏิบัติกับอีกคน แล้วมาปฏิบัติกับเรา
พอถึงจะถามอะไร เขามักนำสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน
ทีนี้สมัยนั้นเราจึงไม่ละเอียดในเรื่องการรู้จิตของคนอื่น
ทำให้เข้าใจผิดว่าเขาปฏิบัติกับเราคนเดียว
ทีนี้เราจะดูสภาวะที่มีเกิดขึ้นของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก มากกว่าเรื่องรูปแบบ
พอเขามาเล่าเรื่องสภาวะให้ฟัง เราจึงบอกว่าต้องปรับอินทรีย์ใหม่
ให้เพิ่มเวลาการเดินจงกรม
ไปๆมาๆเขาเล่าว่าอจ.ที่สอนเขาให้เขานั่งอย่างเดียว ๒ ชม.
เราก็ว่าสภาวะของเขาแปลกๆ
เอ้า!!!! ก็เมื่อเขาเชื่ออจ.ของเขา เราไม่จำเป็นต้องพูดอะไรอีก
ทางไปคนละทางกัน

การที่เราจะปรับอินทรีย์ให้กับใครก็ตาม
นั้นหมายถึงเราเห็นว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคนนั้นที่เขานำมาเล่า
ต้องปรับอินทรีย์ใหม่ เพื่อให้อินทรีย์สมดุลย์กัน ไม่มากหรือน้อยกว่ากัน
จนกว่าสภาวะสัมมาสมาธิมีเกิดขึ้น เราไม่จำเป็นต้องปรับอินทรีย์อีก
เหมือนเดินจงกรม มีตั้งแต่ระยะที่ ๑ จนถึงระยะที่ ๖
จะมีเรื่องเรื่องอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
เวลาเราจะหยิบยกสภาวะของใครมาเป็นตัวอย่าง
นั่นหมายถึง ทุกคนที่ปฏิบัติสม่ำเสมอ ทำตามที่เราบอก
คนนั้นๆจะมีสภาวะนั้นๆมีเกิดขึ้นเหมือนๆกัน เป้าหมายถึงสัมมาสมาธิ

การเห็นความเกิด ขณะเกิด และดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามจริง
ความรู้เห็นตรงนี้ จะทำให้รู้ว่าสภาวะของตนนั้นอยู่ตรงไหน
จะได้มีความพยายามมากขึ้น เช่นเคยนั่ง ๑ ชม. เพิ่มเป็น ๑ ชม.ครึ่ง
เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งทุกครั้งที่นั่งจะรู้กายที่นั่งอยู่ก่อน
ต่อมามีแสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ กายไม่ปรากฏ ลมหายใจไม่ปรากฏ
แต่สภาวะจมแช่ไม่ไปไหน ก็ต้องปรับอินทรีย์อีก
การปฏิบัติละเอียดนะ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ
หรือไปหาอ่านตามหนังสือ ไม่มีหรอก
เพราะอะไรเหรอ เพราะผู้สอน ทำได้แค่ไหน จะพูดอธิบายได้แค่นั้น

สมัยนั้นเราไม่มีใครมาสอนหรือแนะนำให้
ต้องอาศัยการสังเกตุสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะเดิน นั่ง ขณะปฏิบัติ
แม้กระทั่งนอน กิริยบาทย่อยที่มีเกิดขึ้นขณะดำเดินชีวิต ต้องสังเกตุหมด
ที่เราเป็นคนละเอียดเรื่องการปฏิบัติเกิดจากสิ่งเหล่านี้แหละ
สิ่งที่มีเกิดขึ้นในตนน่ะแหละ
ทำให้เราจึงเขียนรายละเอียดเรื่องการปฏิบัติไว้หลายอย่าง

การปรับอินทรีย์ก้ต้องดูสภาวะที่มีเกิดขึ้นของผู้ปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติต้องเป็นคนพูดเล่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนตามจริง
ไม่งั้นจะปรับอินทรีย์ให้ได้อย่างไรล่ะ

ตอนนี่มีน้องขึ้นหนึ่ง ปฏิบัติกับเรามานาจะ ๑๐ กว่าปีแล้ว
ตอนนั้น เรายังไม่มีความรู้อะไรมากกมาย
แต่เข้าถึงธรรม มรรคผลตามจริงแล้ว
เรื่องการปฏิบัติ จะพูดเรื่องกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง เดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
การสอบอารมณ์ เราจะให้ผู้ปฏิบัตินั่งก่อน พอเขาทำเสร็จ
เราจะถามสภาวะที่มีเกิดขึ้นกับเขา
พอเห็นว่าคนนี้รู้รูปนาม แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม
การสอบอารมณ์สมัยนั้น ทำง่ายๆแบบนี้แหละ

ยิ่งตอนที่เราป่วย น้องยังคงปฏิบัติอยู่กับเราไม่ไปไหน
อาจเพราะเขาเห็นผลของการปฏิบัติเกิดขึ้นในตัวเขาเอง
ทำให้ความศรัทธามีเกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ไปแสวงหาทางอื่น
นี่ก็บอกน้องไปละ
เมื่อน้องเดินจงกรมถึงระยะที่ ๖ ไม่ใช้คำบริกรรม กำหนดตามจริง
เราจะดูสภาวะให้เขาก่อน
เมื่อเห็นตัวสภาวะของการกำหนดค่อนข้างโอเค
ต่อไปให้น้องทำเอง ไม่ต้องส่งสภาวะมาให้เราดูอีก
เพราะเห็นแล้วว่าตอนนี้การปฏิบัติของน้องนั้น เข้าสู่มรรคมีองค์ ๘ ตามจริง
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

สภาวะที่สำคัญคือ สติ สัปชัญญะ สมาธิ
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม

สติมีกำลังมากขึ้น เกิดจากเขากำหนดตามที่เราบอก
เริ่มจากกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
สติมีเกิดขึ้นก่อน
เมื่อสติมีเกิดขึ้น สัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้นตาม
สัมปชัญญะมีเกิดขึ้น สมาธิจะมีเกิดขึ้นตาม
สัมมาสมาธิจึงมีเกิดขึ้นตามลำดับ
ส่วนการเข้าถึงธรรม มรรคผลตามจริงนั้น
ขึ้นอยู่กับวิริยะ ความเพียร
ทำน้อยก็ได้แค่นั้น ขยันทำหลายรอบ อินทรีย์ ๕ ย่อมแก่แกล้า
มรรคผลไม่หายไปไหนหรอก ทั้งหมดขึ้นอยู่กับวิริยะ

กำลังสติ ทำให้รู้เห็นความเกิด ขณะเกิด ขณะดับ ขณะจิตเป็นสมาธิ
กับ
สติมีเกิดขึ้น สัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตาม ทำให้จิตเป็นสมาธิ
เมื่อฝึกฝนจนชำนาญ จากเพียงจิตเป็นสมาธิจะมาเป็นสัมมาสมาธิ
เมื่อสัมมาสมาธิมีเกิดขึ้น
ยถาภูตญาณทัสสนะจะมีเกิดขึ้นตามจริง
สติปัฏฐานจึงมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะ

สภาวะสองตัวนี้
กำลังสติ ทำให้รู้เห็นความเกิด ขณะเกิด ขณะดับ ขณะจิตเป็นสมาธิ
กับ
สติมีเกิดขึ้น สัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตาม ทำให้จิตเป็นสมาธิ
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นคนละตัวกัน รายละเอียดย่อมแตกต่างกัน

การมีพี่เลี้ยง ทำให้ไม่ออกนอกเส้นทาง
กิเลสมารมีมาหลอกล่อให้สนใจ ออกนอกเส้นทาง
แทนที่จะใช้เวลาทุ่มเทกับการปฏิบัติ ทำเพื่อตัวเองแท้ๆกลับไม่ชอบ
ชอบไปสนใจนอกตัว เหมือนคนที่ชอบเดินชมสวนดอกไม้ ประมาณนี้
ทำให้ห่างจากสมถะและวิปัสสนา คือทำกรรมฐาน


6 มกราคม 2566
จะเล่าเรื่องข้อปฏิบัติหรือการปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด
กับการปฏิบัติเพื่อให้ได้มรรคผลมีเกิดขึ้นตามจริง
วิธีการปฏิบัติจะมีรายละเอียดแตกต่างกัน
โดยเฉพาะอินทรีย์ ๕
จะค่อยๆอธิบายรายละเอียด

เมื่อได้อ่าน ได้ศึกษาในพระสูตร
ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าความแตกต่างของสภาวะที่มีเกิดขึ้น
จากการปฏิบัติคือการกระทำของตนนั้น
ผลที่ได้รับทำไมจึงแตกต่างกัน
ทำไมทำแล้วจึงมีแต่ทุกข์มากกว่าสุข
ทำไมอุเบกขาจึงมีเกิดขึ้น

สาเกตสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน
มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕
ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่
ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕
ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ
ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่
อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน?
คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล
ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน?
คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล
ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.
ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ธิบาย
การที่จะเข้าถึงธรรม มรรคผลตามจริงในแต่ละขณะๆๆ
ไม่ใช่ทำเพียงวันล่ะรอบ หรือสองรอบ หรือวันละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้งต่อวัน
ต้องปฏิบัติทั้งกลางวันและกลางคืน
ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงข้อปฏิบัติไว้
ต้องหาเวลาปลีกวิเวก โดยเฉพาะฆราวาส ที่ยังทำงานอยู่
ต้องหาเวลาใช้วันหยุด เข้ารับทำกรรมฐาน ๓ หรือ ๕ หรือ ๗ วัน
ทำให้ติดเป็นนิสัย

สมัยก่อน ทำไมเราถึงสามารถผ่านสภาวะเหล่านั้นมาได้
อาจเพราะเหตุทุกข์ ไม่อยากทุกข์ ตั้งใจทำความเพียร
แรกๆก็ทำเหมือนที่หลายๆคนที่ปฏิบัติกัน
ปฏิบัติที่บ้าน วันหยุดเข้าวัด ทำกรรมฐาน
อันนี้คิดเอาเอง สภาวะเหมือนจะไม่ไปไหน
ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย สักแต่ว่าทำ
ที่ทำเพราะเกิดจากความเชื่อ ความศรัทธามั่นคงไม่คลอนแคลน ไม่หวั่นไหว
ใครจะไปไหน ชวนไปไหน เราไม่ไป
สมัยนั้นเปลี่ยนอาชีพไปดูแลเด็กตามบ้าน
แล้วมีเหตุให้เลิก แล้วหันไปทำขายของ
ก็ไม่เวิร์คหรอก ทำดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ชีวิตช่วงนั้นลำบากมากๆ
อาจเพราะสร้างกรรมดีที่เคยกระทำไว้
เจอรุ่นน้องชวนไปทำงานที่บริษัท ฝ่ายห้องพยาบาล
เราเห็นว่างานนี้เคยทำมาก่อน ทำไม่ยากอาศัยวิชาชีพที่เคยทำมาก่อน
มีห้องทำงานส่วนตัว ติดแอร์ พื้นปูพรหม พนง.มาหาน้อย
ใช้เวลาช่วงที่ไม่มีคนมาหา ก็เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
ทำตลอดจนถึงเลิกงาน
บางวันเลิกค่ำจึงกลับบ้าน
การใช้ชีวิตจะเป็นแบบนี้
พอกลับถึงบ้าน หัวค่ำขึ้นห้องทำกรรมฐาน เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
สมัยนั้นไม่เคยไม่ใครบอกว่าควรทำแค่ไหนจึงจะเหมาะสม
ไม่เคยอ่านพระสูตร ไม่เคยรู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสข้อปฏิบัติแค่ไหน
อาศัยศรัทธา เพราะเห็นกรรมและผลของกรรมตามจริง
ที่เกิดจากปฏิบัติตามที่หลวงพ่อจรัญเทศนาเนืองๆ
จะทำให้ชีวิตดีขึ้น ต้องฝืนใจ ไม่ทำตามใจ

การทำกรรมฐาน กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
ต่อด้วยเดินจงกรม รวมเวลาทั้งหมด ๑ ชม.
เมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้งก่อน จึงค่อยลงนั่ง
พอหมดเวลา เข้าห้องน้ำ แล้วปฏิบัติต่อ จนไม่ไหว ง่วงมากๆ
จะนั่งแบบเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ
นั่งตัวตรง ปลายเท้าราบ นั่งลงบนฝ่าเท้า มือทั้งสองข้างซ้อนกันไว้
แล้วฟุบหน้าลงบนหลังมือ
หลับไปในท่านั้นจนถึงเช้า เรียกว่าหลังไม่ติดพื้น
บางคนการปฏิบัติลักษณะแบบนี้เรียกเนสัชชิก
เมื่อทำต่อเนื่อง ทำทุกวัน หลายรอบ ยิ่งกว่าไปวัดอีก
หลังจากนั้น ไม่ไปวัดอีก ปฏิบัติที่ทำงานและที่บ้าน ทำแบบนี้มาตลอด

การพูดคุยกับคนอื่นจะมีอยู่
เพราะการคุยนี้แหละ หลังได้มรรคผล
ต่อจากนั้นทำให้สมาธิเสื่อมหมดสิ้น ก็จากการพูดคุยกับคนที่เข้ามาหา
ทั้งที่รู้จักและคนที่ไม่รู้จัก ตอนนั้นไม่รู้เรื่องการถ่ายเทสมาธิ การดูดสมาธิ

เล่าแค่นี้ก่อน จะเล่าให้รู้ว่าหากปฏิิบัติตั้งเป้าหมายมรรคผล
กว่าจะเข้าถึงธรรม มรรคผลตามจริง ต้องมีอินทรีย์ ๕ แก่กล้า
ทำแค่วันละรอบ วันละสองหรือสาม อย่าหวังเลย ไม่ได้แอ้มหรอก

ซึ่งการปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด จะแตกต่างกัน
ไม่ต้องมาทำความเพียรหนัก
เพียงทำตามที่หลวงพ่อจรัญท่านตั้งพื้นฐานไว้ให้แล้ว
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง ต่อเดินจงกรม รวมทั้งหมด ๑ ชม.
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง ต่อนั่ง รวมทั้งหมด ๑ ชม.
ต้องปฏิบัติตลอดชีวิต
ผลที่ได้รับ เวลาทำกาละ จะไปเกิดสุทธวาส
เป็นสภาวะของบุคคลที่บรรลุช้า(มรรคผล)
ซึ่งสภาวะตรงนี้จะนำมาอธิบายในครั้งต่อๆไป

เดินจงกรมระยะที่ ๑ สเต็ปที่ ๑

การเขียนเรื่องการเดินจงกรมแรกเริ่ม
ส่วนการปรับอินทรีย์ จะนำมาพูดถึงที่หลัง

สเตปที่ ๑

เดินจงกรมระยะที่ 1
ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

ในคลิป
การที่กำหนดยืนหนอใช้ปากเปล่า
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
เป็นการให้ตั้งสติรู้กับการยืน ก่อนจะเริ่มเดินจงกรม

การกำหนดแรกเริ่มจะทำแบบนี้
เพื่อให้จิตจดจำคำบริกรรม
ทำตามคลิปได้เลย

เมื่อเดินถึงสุดทาง
กำหนดยืนหนอปากเปล่า ๕ ครั้ง
แล้วเริ่มกลับเท้า
เมื่อกลับเท้าเสร็จ
กำหนดยืนหนอ(ปากเปล่า) ๕ ครั้ง
แล้วเริ่มเดินจงกรม
ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

ทำแบบนี้เดิมๆซ้ำๆ
ทำจนจำคำบริกรรมได้

เมื่อเดินครบเวลาที่ตั้งไว้
กำหนดยืนหนอ(ปากเปล่า) ๕ ครั้ง แล้วนั่งลง
ขณะนั่งจะใช้วิธีการแบบไหน ใช้ได้หมด ไม่มีข้อห้าม

การตั้งเวลา
การเดินจงกรมและนั่ง ใช้เวลาเท่ากัน
จะเริ่มจากน้อยก่อน
ทำแบบนี้ให้ครบ ๑ อาทิตย์

มาตราฐานที่ใช้
กำหนดยืนหนอ+เดินจงกรม ใช้เวลา ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
เมื่ออินทรีย์มั่นคง คือสามารถทำต่อเนื่องได้ ไม่ล้มเลิกทำ
จะเพิ่มเวลาขึ้นไปอีก

หากใครสามารถทำได้
ผลของการปฏิบัติตาม ซึ่งมีคนที่สามารถทำได้แล้วในระดับหนึ่ง
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป
เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก
เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

จะเขียนวิธีการกำหนดตั้งแต่แรกเริ่ม
เพื่อให้จิตจดจำคำบริกรรมให้ได้ก่อน
ซึ่งมีทั้งหมด ๖ ระยะ
นั่นผู้ปฏิบัติต้องฝึกเดินจงกรมตั้งแต่ระยะที่ ๑ จนถึงระยะที่ ๖ ด้วยตน
ซึ่งมีผลที่ได้รับ จะมีต่ออินทรีย์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
โดยเฉพาะสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ที่มีเกิดขึ้น

ขอเรียกวิธีนี้ว่าเป็นสเตปที่ ๑
เมื่อทำจนจำคำบริกรรมทั้งหมด ๖ ระยะได้
จะปรับอินทรีย์ใหม่อีกครั้ง
จะเรียกว่าเป็นการมีความรู้เห็นเป็นสเตปที่ ๒


สาเหตุเขียนเรื่องประโยชน์ของการเดินจงกรม
เช้านี้ เจ้านายเล่าเรื่องผลของการเดินจงกรม
เขาบอกว่าสภาวะตอนนี้จะรู้เท้า การเคลื่อนไหว จะรู้ขึ้นภายในใจ ตึกๆ
จะทำอะไร ตอนที่ทำงาน จะรู้ชัดเท้าทุกย่างก้าว ตึกๆขึ้นในใจ

เราบอกเขาว่า เมื่อมีสติ สัมปชัญญะ สมาธิมีเกิดขึ้นแล้ว
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจะมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
เราบอกว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องประโยชน์ของการเดินจงกรม
เขาบอกว่า ส่งไลน์มาให้เขาด้วย

๙. จังกมสูตร
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ

ส่วนสติ สัมปชัญญะ สมาธิ
มีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม
ขึ้นอยู่กับรูปแบบของผู้ที่รู้เห็นด้วยตนจากการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ
จึงนำมาแนะนำหรือสอนต่อคนอื่น

เราได้รูปแบบการปฏิบัติจากหลวงพ่อจรัญ
เริ่มจากการกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง ใช้ใจ ไม่ใช้ปากเปล่า
ต่อด้วยเดินจงกรม มีทั้งหมด ๖ ระยะ จากวัดมหาธาตุ แต่ยังไม่สมบูรณ์
แต่ปฏิบัติได้ผล ซึ่งสามารถยืนยันด้วยจากผลของการปฏิบัติด้วยตน
“การเห็น( ทางใจ ) สัตติขาด ฆนะแตก ตามจริง”

ที่กำหนดได้สมบูรณ์ ดูในยูทูปของช่องjrp_memo
“วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่”
มาตัดทอนแยกเป็นหัวข้อ เพื่อให้ผู้สนใจดูง่ายขึ้น

เมื่อปฏิบัติจนรู้ชัดด้วยตน “การเห็นสัตติขาด ฆนะแตก ตามจริง”
จึงสามารถนำไปแนะนำหรือสอนคนอื่น ให้ปฏิบัติตามได้
ส่วนจะรู้เห็นเหมือนที่เรารู้เห็น ขึ้นอยู่กับความเพียรของผู้ปฏิบัติ
หากทำตามวิธีการกำหนดที่เราบอกไว้
อย่างน้อย ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดด้วยตนเอง
ในคำเรียกเหล่านี้ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ
ที่มีเกิดขึ้นขณะกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
เดินจงกรม ระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖
เริ่มจากใช้คำบริกรรม

เมื่อทำจนวิธีการกำหนดและจำคำบริกรรมได้ไม่ลืม
ให้ทิ้งคำบริกรรม มากำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ใช้ใจรู้
ที่มีเกิดขึ้นขณะกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
เดินจงกรมระยะที่ ๑ ถึง ระยะที่ ๖
เมื่อเดินจงกรมเสร็จตามเวลาที่ตั้งไว้
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง แล้วนั่ง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้เขียนอธิบายไว้หมดแล้ว
วิธีการกำหนด ต้องกำหนดแบบไหน
เมื่อปฏิบัติตาม ทำให้สติมีเกิดขึ้น ดูตรงไหน
สัมปชัญญะมีเกิดขึ้น ดูจากตรงไหน
สมาธิมีเกิดขึ้น ดูจากตรงไหน

สิ่งที่กระทำผ่านมา
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
ต่อเดินจงกรม
การกลับเท้าก็ต้องกำหนด
สมาธิจะเกิดต่อเนื่อง
เมื่อกำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง
พอมานั่ง จิตจะเป็นสมาธิง่าย

การกำหนดยืนหนอ

รายละเอียดการกำหนดยืนหนอ

แก้ไข ๒ กันยายน ๒๕๖๖
สติ = ความระลึกได้
สัมปชัญญะ = ความรู้สึกตัว
สติ+สัมปชัญญะ+สมาธิ = ความรู้ชัด
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

การกำหนดยืนหนอ
หากสามารถกำหนดต่อเนื่องได้ จิตจะไม่ว่อกแว่กไปข้างนอก
ขณะสูดหายใจเข้าลึกๆยาวๆ ปล่อยลมหายออกช้าๆ
เวลากำหนดจากศรีษะจนถึงเท้า
หากสติ สัมปชัญญะ สมาธิ มีเกิดขึ้น
จะรู้ชัดลมค่อยๆเคลื่อนไหวที่ละส่วน จากศรีษะ จนถึงเท้า
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติเริ่มแรกจะยังไม่รู้ลมนี้หรอก
เมื่อเอาจิตจดจ่อกับการกำหนดไล่จากศรีษะจนถึงเท้า
แล้วเวลากำหนดจากเท้าถึงศรีษะ จะรู้สึกลมพุ่งผ่านศรีษะ ทำให้รู้สึกโล่ง
หากกำหนดถูก จะรู้ชัดถึงลมที่เคลื่อนไหวไปตามร่างกาย
มันจะค่อยๆรู้ที่เป็นสเตปๆๆ

เวลากำหนด ให้ทำช้าๆ ไม่ต้องรีบ
ตัวสติ สัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตรงไหน
การกำหนด ทำให้สตินทรีย์มีเกิดขึ้น
หากกำหนดถูกตัวสภาวะ ตัวสัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้น
เมื่อสัมปชัญญะมีเกิดขึ้น สมาธิจะมีเกิดขึ้น
สภาวะที่มีเกิดขึ้น จะเกิดแบบนี้ตามลำดับ
สติ
สัมปชัญญะ
สมาธิ
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีเกิดขึ้น

เมื่อกำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง
จะรู้ชัดฝ่าเท้าทั้งสองข้างยืนแนบอยู่กับพื้น
อันนี้เรียกว่า สัมปชัญญะมีเกิดขึ้นแล้ว
สมาธิมีเกิดขึ้นตรงไหน
มีเกิดขึ้นตรงนี้ “จะรู้ชัดลมค่อยๆเคลื่อนไหวที่ละส่วน จากศรีษะ จนถึงเท้า”
นี่คือลักษณะของความรู้สึกทั่วทั่วพร้อม

คำว่ารู้ชัด
นั่นหมายถึงจิตเป็นสมาธิ ทำให้เกิดความรู้ชัด

ส่วนวิธีการกำหนดยืนหนอ เคยเขียนไว้แล้ว
ใครจะเลือกกำหนดแบบไหน
ซึ่งมีหลายแบบ ต้องลองทำดูก่อน
พอลองทำตามแล้ว จะรู้เองว่ากำหนดแบบไหนจึงจะเหมาะกับตัวเอง
ตัวสภาวะที่ต้องจำให้แม่น
หากกำหนดสภาวะถูกต้อง
เมื่อกำหนดรู้หนอครบ ๕ ครั้ง แล้วหยุด
หากกำหนดถูก
จะรู้ชัดฝ่าเท้าทั้งสองข้างยืนแนบกับพื้น
จะรู้แบบนี้ก่อน

เมื่อกำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง แล้วหยุดก่อน
แล้วจิตจะไม่รู้เท้าทั้งสองที่ยืนแนบอยู่กับพื้น
ให้ฝึกทำบ่อยๆ

หากสามารถรู้ชัดลมทั้งปวงที่มีเกิดขึ้นภายในกาย
จะสามารถกำหนดจากศรีษะถึงเท้า
โดยไม่ต้องแบ่งลมหายใจคนละครึ่งเหมือนตอนฝึกครั้งแรก
เรียกว่า หนึ่งคาบ

การกำหนดยืนหนอ เพื่อละนิวรณ์
เมื่อมากำหนดเดินจงกรม ความคิดจะไม่มีเกิดขึ้น
ที่ยังมีความคิดเกิดขึ้นอยู่
เกิดจากการละเลยเรื่องการกำหนด
ทำให้สะสมนิวรณ์เก็บไว้
พอมาเดิน จะเดินไปด้วย คิดไปด้วย

พอเดินครบเวลา
กำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง
จะรู้ชัดฝ่าเท้าทั้งสองข้างยืนแนบอยู่กับพื้น แล้วนั่งลง
เมื่อมานั่ง จะมีความคิดเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ
ซึ่งเกิดจากยังมีความหย่อนของการกำหนดตั้งแต่แรกเริ่ม
นี่คือตัวสภาวะสิ้นคิด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
คือละนิวรณ์ ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

๒๖ เมย. ๒๕๖๖

การที่ดิฉันจะให้การกำหนดแต่ละครั้งจะดูจากสภาวะของผู้ปฏิบัติส่งมาให้ดู
เมื่อดูแล้ว ทำให้รู้ว่าทำไมสภาวะของผู้ปฏิบัติจึงปรากฏนี้ๆ
เมื่อรู้แล้ว จะแนะนำเรื่องการกำหนดเพิ่มรายละเอียดลงไปอีก

ยกตัวอย่าง
เมื่อกำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง แล้วหยุด
เมื่อหยุดแล้ว จิตไปรู้เท้าขวาทันที
ไม่รู้ชัดฝ่าเท้าทั้งสองข้างที่ยืนแนบอยู่กับพื้น
ตรงนี้เกิดจากการกำหนด รีบทำ ไม่ทำช้าๆ

อธิบายที่รายละเอียด
เริ่มจากรอบที่หนึ่ง
กำหนดจากศรีษะ ไล่จากลงไปเรื่อยๆ จนถึงเท้า แล้วหยุด ไม่กำหนดต่อทันที
หากกำหนดต่อทันที่(จากเท้าไปถึงศรีษะ)
จะทำให้จิตละเลยเรื่องการกำหนด

หากสะสมความรู้เห็นแบบนี้ต่อเนื่อง
เมื่อมากำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง จะหยุดหรือไม่หยุด
จิตจะไปรู้เท้าขวาทันที
อันนี้ถือว่าเป็นการกำหนดผิด สักแต่ว่ารีบกำหนด
ไม่ตั้งใจพยายามกำหนดช้าๆ บอกให้หยุดก็ต้องหยุด
การที่ให้หยุดก่อน เพื่อให้สติมีกำลังมากขึ้น
เมื่อสติมีกำลังมากขึ้น สัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้นตามมา
จะรู้ชัดฝ่าเท้าทั้งสองข้างที่ยืนแนบอยู่กับพื้น
นี่คือการกำหนดยืนหนอครั้งที่ ๑

เมื่อเวลามากำหนดรอบที่สอง
อาศัยสติที่มีกำลังมาก(จากการสะสมไว้)ขึ้น
จิตมีแรงมากขึ้น ทำให้สามารถหายใจยาวได้มากขึ้น
จากที่เคยต้องแบ่งลมหายใจ
จะใช้เวลาการแบ่งลมหายใจน้อยลง จนไม่ต้องแบ่งลมหายใจอีก
สามารถกำหนดยืนหนอจากเท้าไล่ถึงศรีษะ
โดยหายใจเข้าและออก เพียงครั้งเดียว

วิธีการปฏิบัติ

ก่อนกำหนดยืนหนอ ยืน เท้าห่างจากกันพอประมาณ
ให้สูดลมหายใจเข้า แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง ก่อน คือ
ตัวสภาวะของการกำหนดจะเป็นแบบนี้
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
ตรงนี้ที่ให้ทำ เพื่อให้สติมีกำลังมากขึ้น

ตอนบริกรรมรู้หนอเป็นเพียงการสำทับสภาวะที่มีเกิดขึ้น มีแค่นี้ ไม่ได้ใช้ลมหายใจอะไรเลย
คำบริกรรมรู้หนอ เป็นเพียงคำพูดสำทับตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น แค่นั้น
จะทำให้สติมีกำลังมากขึ้น จิตจะจดจำสภาวะที่กระทำไว้

เมื่อกำหนดรู้หนอครบ ๓ ครั้ง
ต่อมา สูดลมหายใจเข้าลึกๆเต็มที่ แล้วอั้นลมหายใจไว้
ตั้งสติที่ศรีษะ พร้อมๆกับค่อยๆปล่อยลมหายใจออกช้า
ไล่จากศรีษะไล่ลงไปด้านล่างเรื่อยๆ กำหนดช้าๆ

สำหรับผู้ที่ฝึกใหม่
จะใช้จิตนาการแทน ไล่จากศรีษะไล่ลงไปด้านล่างเรื่อยๆ
พร้อมๆกับปล่อยลมหายใจออกช้าๆ

ถ้าไม่ทำแบบนี้ จะทำให้ลมหายใจที่อั้นไว้จะไม่พอ
เมื่อกำหนดถึงสะดือ จะหยุดก่อน ไม่กำหนดต่อทันที
แล้วทำเหมือนตอนเริ่มก่อนกำหนดยืนหนอ คือ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง ก่อน
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้า แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ

เมื่อกำหนดรู้หนอครบ ๓ ครั้ง
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วอั้นลมไว้
ตั้งสติที่สะดือ แล้วปล่อยลมหายใจออกช้าๆ
ทำช้าๆ ไม่ต้องรีบ
จากสะดือ ไล่ลงไปด้านล่างเรื่อยๆ จนถึงเท้าที่ยืนอยู่ แล้วหยุด

หากกำหนดถูดตรงตัวสภาวะ

เมื่อกำหนดจนถึงเท้า แล้วหยุด
พอหยุด จิตจะรู้ชัดที่ฝาเท้าทั้งสองข้างที่ยืนแนบอยู่กับพื้น
นี่เป็นกำหนดครั้งที่ ๑
แล้วนับหนึ่ง ไว้ในใจ

จะได้ไม่ลืมว่าสภาวะการกำหนดเป็นครั้งที่เท่าไหร่ จิตจะจดจำไว้ ไม่ลืม
หากลืม ตัวสติจะบอกเองว่ากำหนดไม่ถึงหรือกำหนดเกิน

.

กำหนดยืนหนอครั้งที่ ๒

เริ่มต้นทำเหมือนกำหนดครั้งที่ ๑
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง ก่อน คือ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ

เมื่อกำหนดรู้หนอครบ ๓ ครั้ง
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วอั้นลมไว้
ตั้งสติที่เท้าที่ยืนอยู่
พร้อมๆกับค่อยๆปล่อยลมหายใจออกช้า
ไล่จากเท้าไล่ขึ้นไปด้านบน ไล่ไปเรื่อยๆ
กำหนดช้าๆ จนถึงสะดือ แล้วหยุด

แล้วทำเหมือนตอนเริ่มก่อนกำหนดยืนหนอ คือ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง ก่อน
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออก บริกรรมรู้หนอ

เมื่อกำหนดรู้หนอครบ ๓ ครั้ง
สูดลมหายใจเข้า ลึกๆ แล้วอั้นลมไว้
ตั้งสติที่สะดือ แล้วปล่อยลมหายใจออกช้าๆ
ทำช้าๆ ไม่ต้องรีบ
จากสะดือ ไล่ลงไปด้านบนเรื่อยๆ จนถึงศรีษะ
จะรู้สึกถึงลมพุ่งออกจากศรีษะ แล้วหยุด ไม่กำหนดต่อทันที

.
กำหนดยืนหนอครั้งที่ ๓,๔ และ๕ กำหนดเหมือนเดิม
เมื่อกำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง แล้วหยุด
หากกำหนดถูกต้อง
จะรู้ชัดฝ่าเท้าทั้งสองข้างที่ยืนแนบอยู่กับพื้น

ให้สังเกตุสภาวะที่มีเกิดขึ้นกับตน
ขณะกำหนดยืนหนอ
เมื่อจิตจดจ่อรู้กับการกำหนดต่อเนื่อง
ความคิดจะไม่มีเกิดขึ้นเลย นิดเดียวก็ไม่มีเลย
เพราะอินทรีย์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นสมดุลย์
ทำให้ความรู้สึกทั่วพร้อมมีเกิดขึ้น
คือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ มีเกิดขึ้นตามจริง

ฉะนั้น การกำหนดต้องตั้งใจทำ ใจแน่วอยู่กับการกำหนดในแต่ละขณะๆ
แรกๆสำหรับผู้ที่มีนิวรณ์มาก ราคะ โทสะ โมหะมีเยอะมาก
บางคนนึกถงอาหาร รสชาติอาหารที่ชอบกิน
บางคนถึงคนที่ครุ่นคิดถึง
ฯลฯ สารพัดการปรุงแต่ง

เมื่อมาฝึกกำหนดยืนหนอ
ทำบ่อยๆ ความคิดหรือคำว่าวิตก จะมีเกิดขึ้นน้อยลง
เมื่อกำหนดถูกต้องตัวสภาวะ ความคิดจะไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย

นี่เป็นวิธีการละนิวรณ์ขั้นที่ ๑
ไปที่ละสเตป เหมือนขึ้นบันได
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมแก่พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะ


๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)
[๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
เราอาจบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้
เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด
ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว
ให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน
ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด
ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น
ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้มีศีล
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ

ต่อมาการสดับพระธรรมจาก
พระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ตามลำดับและปฏิบัติ
เมื่อปฏิบัติ ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเป็นแบบนี้

[๙๕] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุมาเถิด
เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ
ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่
พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด
เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว …
เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว …
เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว …
เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว …
เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ
ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่
พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด ฯ

ต่อมาข้อปฏิบัติที่ควรปฏิบัติ

[๙๖] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
คือ พึงบริโภคอาหาร
พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น
มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป
เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น
ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา ฯ

อธิบายรายละเอียดเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติ
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
ต่อด้วยการกำหนดเดินจงกรม
ต่อด้วยกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง แล้วนั่ง
ต่อด้วยต่อด้วยการกำหนดขณะนั่ง

[๙๗] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้
ตถาคต ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ
จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน
จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจ
แล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ

[๙๘] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ
ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดูและเหลียวดู
ในเวลางอแขนและเหยียดแขน
ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร
ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ

หาที่สงัดในการทำกรรมฐาน

[๙๙] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟางเถิด
ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง
เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า

ละอภิชฌาในโลกแล้ว
มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้

ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว
เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้

ละถีนมิทธะแล้ว
เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ
มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้

ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว
เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายในอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้

ละวิจิกิจฉาแล้ว
เป็นผู้ข้ามความสงสัย
ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ

อธิบาย

กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
ต่อด้วยการเดินจงกรม จนครบเวลาที่ตั้งไว้
ต่อด้วยกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
หากกำหนดถูก จะรู้ชัดฝ่าเท้าทั้งสองยืนแนบอยู่กับพื้น
ต่อด้วยการกำหนดขณะนั่ง
ความคิดที่มีอยู่จะแคบลง จนกระทั่งไม่มีเกิดขึ้นอีกเมื่อมานั่ง

การทำกรรมฐาน แล้วแต่นะ เหตุปัจจัยไม่เหมือนกัน
บางคนชอบกำหนดผัสสะตามจริง มีรูปนามเป็นอารมณ์(วิปัสสนา)
บางคนนิวรณ์มาก ต้องใช้คำบริกรรมมาช่วย มีบัญญัติเป็นอารมณ์(สมถะ)
บางคนใช้ทั้งกำหนดผัสสะ(วิปัสสนา)และใช้คำบริกรรมมาช่วย มีบัญญัติเป็นอารมณ์(สมถะ)
สลับกันไปมา(สมถะและวิปัสสนา)

กรณีเจอเวทนากล้าปรากฏ
สำหรับบุคคลที่มีความอดทนน้อย จะผ่านได้ยาก
ต้องใช้คำบริกรรมามาช่วย
เช่น เวทนากล้ามีเกิดขึ้น กลัวมาก จะบริกรรมว่ารู้หนอถี่ๆ
ไม่ให้มีช่องโหว่ ความกลัวจะหายไปเพราะจิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม

ทำไมเราถึงไม่ใช่คำบริกรรมอื่นๆมาใช้
เช่น เวลามีความคิดจะไม่ใช้คิดหนอๆ
เพราะทำให้บางคนปรุ่งแต่งมากกว่าเดิม
อันนี้เจอกับตัวเอง จึงใช้บริกรรมรู้หนออย่างเดียว เป็นคำกลาง

เวลาเจอเวทนากล้าแสนสาหัส จะไม่ใช้ปวดหนอ
ยิ่งกำหนดปวดหนอ ทำให้ปวดหนักไปยิ่งกว่าเดิม
อันนี้ก็เจอกับตัวเอง จึงใช้บริกรรมรู้หนออย่างเดียว เป็นคำกลาง

การกำหนดรู้หนอ หมายถึงกำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ใช้คำบริกรรมรู้หนอมาช่วย
เพื่อให้จิตมีที่เกาะเป็นที่พึ่ง
ซึ่งไม่มีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เมื่อจิตจดจ่อกับคำบริกรรม สภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้นจะหายไปเอง
ที่หายไป เกิดจากคำบริกรรม
ขณะบริกรรม จิตจะเป็นสมาธิจะมากหรือน้อย ก็มีเกิดขึ้น
กำลังสมาธิจะบดบังความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ทำให้ละนิวรณ์ ๕ ลงไปได้ ตามลำดับ
จากกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
จากกำหนดเดินจงกรม
จากกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
จากกำหนดขณะกำลังนั่ง
กำลังสติมีกำลังมากขึ้น
สัมปชัญญะมีเกิดขึ้น
กำลังสมาธิมีกำลังมากขึ้น

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเป็นแบบนี้

[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว
จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน
มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่
และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ดูกรพราหมณ์
ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค
ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น
เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

เมื่อกำหนดถูก

สภาวะไตรลักษณ์จะปรากฏตามจริง
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเป็นแบบนี้
ซึ่งมาเกี่ยวข้องกับการบรรลุช้าและบรรลุเร็ว

บุคคลที่รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

ฌานสูตร
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
ทุติยฌานบ้าง
ตติยฌานบ้าง
จตุตถฌานบ้าง
อากาสานัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข
เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง …นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด
และทำลายร่างใหญ่ๆได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
บรรลุจตุตถฌานฯลฯ
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน …
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ

อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู
เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง … นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล
สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้
คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้
อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ
เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ

อธิบาย

“ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน”

คำว่า สิ้นตัณหา
ได้แก่ ดับตัณหา ๓
วิชชา ๑ ดับกามตัณหา
วิชชา ๒ ดับภวตัณหา
วิชชา ๓ วิภวตัณหา
ตามลำดับ

คำว่า คลายกำหนัด
ได้แก่ ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า ความดับ
ได้แก่ วิมุตติปาริสุทธิ

คำว่า นิพพาน
ได้แก่ ดับภพ ๓
กามภพ ที่เกิดจากกามตัณหา ดับกามาสวะ
รูปภพ ที่เกิดจากภวตัณหา ดับภวสวะ
อรูปภพ ที่เกิดจากภวตัณหา ดับภวสวะ
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่เกิดจากอวิชชา ดับอวิชชาสวะ ดับทิฏฐาสวะ
ดับอุปาทาน ๔
กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน


ทบทวนตัวสภาวะ

พระสูตรที่สำคัญ นี่คือแผนที่

๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)

๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

ได้โสดาปัตติผลตามจริง
ปัญหาคือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เฉพาะของผู้ทำกรรมฐาน
ไม่จำกัดในรูปแบบของวิธีการปฏิบัติ
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น

เวลาได้โสดาปัตติผลตามจริง
จะมีความรู้ความเห็นตรงกับที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมไว้
วิชชา ๑
อาหุเนยยสูตรที่ ๑

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

๘. โกสัมพิยสูตร
ทรงโปรดภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

อนาคามิมรรค อนาคามิผล
เทวตาวรรคที่ ๒
อนาคามิสูตร

อรหัตมรรค อรหัตผล
วิชชา ๓

หลักฐานที่ได้วิชชา ๓ ตามจริง
คือ วิมุตติญาณทัสสนะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่ได้เกิดจากการท่องจำหรือการศึกษา
มาจากการปฏิบัติล้วนๆ

เมื่อวิมุตติญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้ว
จะรู้จักวิมุตติปาริสุทธิและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
เพราะเกิดจากผลของการปฏิบัติตามลำดับ
ทำให้รู้ว่าตนผ่านมาได้
จนกระทั่งได้มรรคผลตามจริงนั้น
มาทางไหน

ยกตย. ของวลัยพรเกิดจากไม่รู้ปริยัติ
อาศัยพระสงฆ์ เข้ากรรมฐานที่วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
หลงพ่อจรัญจะสอนการทำกรรมฐาน
เรื่องการกำหนดยืน เดินจงกรม นั่ง

ได้รู้จักวิธีการโยนิโสมนสิการ
ซึ่งเดิมไม่รู้จักคำเรียกนี้หรอก

แค่ปฏิบัติตามที่ท่านสอนเรื่องการกำหนด
และการปรับอินทรีย์ ๕
จากหลวงพ่อภาวนานุกูล วัดนาค บางปะหัน

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
คือ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

อย่านำตัวตน(ทิฏฐิ)เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เมื่อกำหนดต่อเนื่อง กำลังสติมีมากขึ้น สัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตาม
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิต่อเนื่อง
สติ สัมปชัญญะ สมาธิ
จะมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีเกิดขึ้น
จะเห็นความเกิดดับขณะเดินจงกรมในแต่ละก้าว ขาดออกจากกัน

การที่ได้จักที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ
เกิดจากการกำหนดตามที่ท่านบอก
จนกระทั่งได้มรรคผลตามจริง
จึงจะรู้จักคำว่าโยนิโสมนสิการ
จริงๆแล้วตรงกำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
นี่คือขั้นแรกที่รู้จักคำว่าโยนิโสมนสิการ
ยังมีอีกนะ เกี่ยวกับคำว่าโยนิโสมนสิการ ไม่ได้มีเพียงแค่นี้
ต้องผ่านสภาวะตรงนี้ให้ได้ก่อน
คือได้โสดาปัตติผลตามจริงให้ได้ก่อน

ย้อนมาเรื่องการปฏิบัติหรือทำกรรมฐาน
การกำหนดยืน ที่ใช้หนอมาช่วย
จึงเป็น “ยืนหนอ”
ทำให้จิตอยู่กับปัจจุบัน

กำหนดครั้งแรก รู้ตั้งแต่จากศรีษะไล่ลงไปจนถึงเท้าทั้งสองข้างที่ยืนอยู่
กำหนดครั้งที่ ๒ รู้ตั้งแต่เท้าที่ยืนแนบอยู่กับพื้น ไล่ขึ้นบนจนถึงศรีษะ
ทำแบบนี้ทั้ง ๕ ครั้ง

การกำหนดยืนหนอ ทำให้รู้ตัวเองเป็นคนที่หายใจยาวหรือหายใจสั้น
ทำให้รู้จักว่า สมาธิสั้น(อันนี้รู้จากผู้ปฏิบัติเล่าสภาวะให้ฟัง)

มีคำถาม ทำไมต้องกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง แค่ ๓ ครั้งได้เหรอ
คำตอบ การกำหนดยืนหนอ จะช่วยให้สตินทรีย์มีกำลังมากขึ้น
การที่ใช้คำบริกรรมมาช่วย
หากคนไหนที่ขี้หลงลืม จะไม่สามารถกำหนดได้ครบ
พอกำหนดๆไปนึกไม่ออกว่าตนกำหนดไปกี่ครั้ง
เหตุนี้จึงต้องกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง

โดยเฉพาะคนที่สมาธิสั้น จะพอใจกับสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะกำหนดยืนหนอ
ทำให้เน้นยืนมากกว่ากำหนดเดินจงกรม
แล้วสติจะมีเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ เน้นไปสนใจสมาธิ
เราปฏิบัติเพื่ออินทรีย์ ๕ ให้สมดุลย์
เราปฏิบัติเพื่อดับทุกข์
ไม่ใช่ทำเพื่อสมาธิอย่างเดียว

การเดินจงกรม
ให้ตั้งใจตามการกำหนด
หากตั้งใจกำหนดทุกย่างก้าวในแต่ละขณะๆ
จะเห็น(ทางใจ)ความเกิดดับขณะเดินจงกรม
ในแต่ละย่างก้าว ขาดออกจากกัน ไม่ติดต่อกัน

เมื่อกำหนดยืนหนอและเดินจงกรม ครบเวลา
กำหนดยืนหนอก่อนนั่ง
คือ
กำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง
จะรู้ชัดที่เท้าทั้งสองข้างที่ยืนแนบอยู่กับพื้น

จิตจะเป็นสมาธิตั้งแต่ตอนนั้น แล้วลงนั่ง
จิตจะเป็นสมาธิต่อเนื่อง
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
จะเห็นความเกิดและความดับที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ

จะทะยอยเขียน บางครั้งนึกไม่ออก
ต้องทบทวนตัวสภาวะก่อนที่จะเขียนออกมา
และผลของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามที่เราให้กำหนด
คือต้องทำตามที่บอก ไม่ใช่ทำตามใจอยากของผู้ปฏิบัติ

ยืนหนอและเดินจงกรมระยะที่ ๑ นั่ง

กำหนดอิริยาบทยืน

รอบที่ ๑
สูดลมหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง แล้วอั้นลมหายใจ
ตั้งสติที่ศรีษะ บริกรรมยืน( ในใจ )
ปล่อยลมหายใจออกช้าๆ บริกรรมหนอ( ในใจ )
จิตนาการไล่ลงไปข้างล่างเป็นเส้นตรง
คือจากหัว หน้า คอ อก ท้อง สะดือ ขา จนถึงเท้าที่ยืนแนบอยู่กับพื้น
แล้วหยุด ไม่กำหนดต่อทันที

รอบที่ ๒
สูดลมหายใจลึกๆ ๓ ครั้ง อั้นลมหายใจ
ตั้งสติที่เท้ายืนแนบอยู่กับพื้น บริกรรมยืน( ในใจ )
ปล่อยลมหายใจออกช้าๆ บริกรรมหนอ( ในใจ )
จิตนาการไล่ขึ้นข้างบนเป็นเส้นตรง
คือจากเท้า ขา ท้อง สะดือ หน้าอก คอ หน้า ศรีษะ
แล้วหยุด ไม่กำหนดต่อทันที

ทำแบบนี้ทั้งหมด ๕ ครั้ง แล้วหยุด ไม่เดินต่อทันที

หากการกำหนดยืนหนอที่ถูกตัวสภาวะตามจริง
เมื่อกำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง
จะรู้ชัดเท้าทั้งสองข้างที่ยืนแนบอยู่กับพื้น
นี่เป็นลักษณะสภาวะสัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
สำทับด้วยบริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง(รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ) แล้วหยุด
การกระทำแบบนี้จะทำให้สติมีกำลังมากขึ้น
ทำให้สัมปชัญญะมีเกิดขึ้น
สมาธิจะมีเกิดขึ้นตาม

ต่อด้วยอิริยาบทเดิน

เดินจงกรมระยะที่ ๑
ขวา_ย่าง_หนอ
ซ้าย_ย่าง_หนอ

ตั้งสติที่เท้าขวา
บริกรรมรู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ บริกรรมธรรมดา ไม่ช้าและถี่ๆ
บริกรรมขวา ( เท้าขวาที่ยืนแนบอยู่กับพื้น )
บริกรรมย่าง พร้อมกับเคลื่อนเท้าขนานกับพื้นไปข้างหน้าพอประมาณ
บริกรรมหนอ เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง
แล้วหยุด อย่าเดินต่อทันที

ตั้งสติที่เท้าขวา
บริกรรมรู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ บริกรรมธรรมดา ไม่ช้าและถี่ๆ
บริกรรมซ้าย ( เท้าซ้ายที่ยืนแนบอยู่กับพื้น )
บริกรรมย่าง พร้อมกับเคลื่อนเท้าขนานกับพื้นไปข้างหน้าพอประมาณ
บริกรรมหนอ เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง
แล้วหยุด อย่าเดินต่อทันที

ขณะกำลังเดิน
ให้จดจ่อรูู้การเคลื่อนไหวเท้าในแต่ละขณะทั้งขาไปและขากลับ
เดินจงกรมจนครบเวลาที่ตั้งไว้

การกำหนดไม่ต้องรีบ จะกำหนดเร็วหรือกำหนดช้า เวลาเท่าเดิม
คนที่กำหนดช้า จะได้เปรียบกว่าคนที่รีบ คือสตินทรีย์
คนที่กำหนดช้า ทำให้สติมีกำลังมากกว่าคนที่รีบกำหนด สักแต่ทำ ให้หมดเวลาที่ตั้งไว้

เมื่อเดินสุดทาง การกลับเท้า
ตั้งสติที่รู้เท้าขวา บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง (รู้หนอ รุ้หนอ รู้หนอ) แล้วหยุด
กลับเท้า กลับเสร็จรู้สึกที่เท้า บริกรรมรู้หนอ 3 ครั้งแล้วหยุด
ตั้งสติรู้ที่เท้าซ้าย บริกรรมรู้หนอ 3 ครั้ง(รู้หนอ รุ้หนอ รู้หนอ) แล้วหยุด
กลับเท้า กลับเสร็จ บริกรรมรู้หนอ 3 ครั้งแล้วหยุด
กลับเท้าต่อจนจบ บริกรรมรู้หนอ 3 ครั้ง
เวลากลับเท้าไม่ต้องรีบ
การที่ให้บริกรรมรู้หนอ ๓ ครั้ง สำทับ เพื่อให้สติมีเกิดขึ้น
หากกลับเท้าไปเลย ก็เหมือนสักแต่ว่ากลับเท้า สติจะไม่มีกำลัง

เวลามีความคิดเกิดขึ้น ให้หยุดเดิน หลับตาลง
สูดหายใจลึกๆ(เต็มที่) พร้อมกับกำหนดว่า รู้
แล้วค่อยๆปล่อยลมหายใจออกช้าๆ พร้อมกับกำหนดว่า หนอ
ความคิดหายไป จึงเดินต่อ

หากมีความคิดเกิดขึ้นอีก ให้ทำเหมือนเดิม
เมื่อทำแบบนี้ได้ต่อเนื่อง
จะทำให้มีสติกลับมาอยู่ปัจจุบัน ไม่นึกถึงอดีตหรืออนาคต
ความคิดจะจาง คลาย หายไป ในที่สุด

บางคน พอให้กำหนดแบบนี้ จะทำให้รู้สึกง่วงนอน
ให้ใช้วิธีนี้ เวลามีความคิดเกิดขึ้น ให้หยุดเดิน หลับตาลง บริกรรมรู้หนอถี่ๆ
บริกรรมถี่ๆไปเรื่อยๆจนกว่าความคิดจะหายไป
พอความคิดหายไป ลืมตา แล้วเดินจงกรมต่อ

ต่อด้วยอิริยาบทนั่ง

ก่อนนั่ง
ให้กำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง จะรู้ชัดเท้าทั้งสองข้างที่ยืนแนบอยู่กับพื้น
ค่อยๆลดตัวลงนั่ง ไม่ต้องรีบนั่งทันที

ขณะนั่ง
เคยใช้รูปแบบไหน ให้ใช้ที่เคยทำ
ยังไม่ต้องเปลี่ยนรูปแบบที่เคยทำไว้
เช่น เคยใช้พุทโธ ก็ใช้พุทโธ
เคยใช้พองหนอ ยุบหนอ ก็ใช้พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ

การตั้งเวลา
ให้รวมเวลากำหนดยืนและเดินในเวลาเดียวกัน
เช่น ยืน+เดิน 15 นาที ต่อด้วยนั่ง 10 นาที
สามารถปรับเวลาตามสะดวก อาจจะเป็นยืน+เดิน 35 นาที ต่อนั่ง 30 นาที
แต่การตั้งเวลา การกำหนดยืน+เดิน ให้มากกว่านั่ง

หากทำแบบนี้เนืองๆ
เวลาจิตเป็นสมาธิ
จะเป็นสัมมาสมาธิอัตโนมัติโดยตัวสภาวะของมันเองตามลำดับ
คือ รูปฌาน( 1 2 3 4 ) อรูปฌาน( 5 6 7 8 ) นิโรธ

เมื่อนั่งครบเวลาที่ตั้งไว้
ยังคงอยู่ในอิริยาบทนั่ง ยังหลับตาอยู่ นั่งต่อสักพัก
ตั้งใจแผ่เตตาให้ตัวเองและสรรพสัตว์ กรวดน้ำ อธิษฐานจิต แล้วลืมตา

เกี่ยวกับรายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ขณะกำหนดยืนหนอ
ขณะกำหนดเดินจงกรมระยะที่ ๑
ขณะกำลังนั่งอยู่
จะมาเขียนที่หลัง จากการปฏิบัติตามที่บอกไว้ครบหนึ่งอาทิตย์

ถ้าเป็นไปได้
หลังทำกรรมฐานเสร็จ ควรเขียนจดบันทึกลงไว้ในสมุด
จะทำให้ได้ทบทวนสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ตั้งแต่กำหนดยืนหนอ ขณะเดินจงกรม ขณะนั่ง
แรกๆจะรู้ชัดสภาวะเหล่านี้แบบหยาบๆก่อน
ยังไม่สามารถจดจำสภาวะทั้งหมดได้

เมื่อเขียนออกมาตามจริง
หากทำแบบนี้เนืองๆ จิตจะจดจำตัวสภาวะไม่ลืม
เวลามาพูดรายละเอียดตัวสติ สัมปชัญญะ
จะเข้าใจมากขึ้นในคำเรียกเหล่านี้
เพราะได้จากการปฏิบัติ ไม่ใช่จากการท่องจำ

สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะแตกต่างกัน
เกิดจากความรู้ชัดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

ที่มีเกิดขึ้นจากการปฏิบัติของตัวเอง
ไม่ใช่จากการปฏิบัติของคนอื่น
ของใครก็ของคนนั้น
ความรู้ความเห็นจะแตกต่างกัน
เกิดจากความพยายามในการตั้งกำหนดตามที่ได้เขียนไว้

นี่คือข้อดีของการจดบันทึกลงในสมุด ไม่ใช่ในโทรศัพท์

มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

เมตตสูตร พรหมวิหาร ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์
ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้
เว้นเสียจากตถาคต
สาวกของตถาคต
หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต
หรือจากสาวกของตถาคต.


ความรู้สึกนึกคิดมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ชอบใจ ไม่ชอบใจ

เมตตสูตร พรหมวิหาร ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร
มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขา
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า
เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่
เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า
เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า
เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า
เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย
มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง
เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่งไม่มี
ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนะอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุติว่ามีอากิญจัญญายตนะเป็นอย่างยิ่ง
เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้
ปัญญาของเธอจึงเป็นโลกีย์.

เมตตาสูตรที่ ๒
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่
ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ
ประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์
ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใด มีอยู่ในอุเบกขาฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก
เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป
เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน


ความแตกต่างระหว่างมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ

เมตตาสูตรที่ ๑
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์
ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจอุเบกขาฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยอุเบกขาฌานนั้น
ยับยั้งอยู่ในอุเบกขาฌานนั้น น้อมใจไปในอุเบกขาฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยอุเบกขาฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ปุถุชน ดำรงอยู่ในเวหัปผละนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

= อธิบาย =

การที่จะผ่านสภาวะเหล่านี้มาได้
ต้องผ่านเวทนากล้าให้ได้ก่อน
ซึ่งมีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ
ไตรลักษณ์จะปรากฏตามจริง
เมื่อผ่านได้ กำลังสมาธิจะมีมากขึ้น เข้าสู่อรูปฌาน
ลักษณะจิตเข้าสู่อรูปฌาน คือ แสงสว่างเจิดจ้า กับใจที่รู้อยู่

หากฝึกสติที่ไว้ดี ตัวสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวจะมีเกิดขึ้น
จะรู้ชัดความเกิด ขณะเกิด ความดับ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ซึ่งความเกิดและความดับที่มีเกิดขึ้น จะแตกต่างกันได้
แยกแยะรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นได้

ต้องอาศัยการกำหนดตั้งแต่แรกเริ่ม
ด้วยการกำหนดขณะเดินจงกรม
เมื่อมีสติอัตโนมัติมีเกิดขึ้น ตัวสัมปชัญญะมีเกิดขึ้นตามจริง
เวลาเท้ากระทบพื้น จะรู้ชัดการเคลื่อนไหวของเท้าในแต่ละขณะ
เช่น เดินระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
คำบริกรรม ขวา-ย่าง-หนอ
พอบริกรรมหนอ เท้ากระทบพื้น แล้วหยุด
จะรู้ชัดที่เท้าซ้ายอัตโนมัติ
จะมีความรู้เห็นนี้มีเกิดขึ้นตามลำดับ

เมื่อตั้งใจ จดจ่อรู้การเคลื่อนไหวของเท้าตามคำบริกรรมเป็นตัวกำหนดไว้
เมื่อกำหนดต่อเนื่องได้ หากกำลังสติมีกำลังมาก ตัวสัมปชัญญะจะแจ่มแจ้ง
สมาธิมีกำลังมากขึ้น
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีเกิดขึ้นตามจริง
จะรู้ชัดการเคลื่อนไหวของเท้าในแต่ขณะๆๆ จะขาดออกจากกัน
จะรู้ชัดที่ฝ่าเท้า และความรู้ชัดมีเกิดขึ้นในใจ
นี่คือวิธีการดับนิวรณ์ลงไปได้

เมื่อมานั่ง
ก่อนนั่งกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
จิตจะเป็นสมาธิตั้งแต่ยืน
พอมานั่งต่อ จิตจะเป็นสมาธิต่อเนื่อง
จะรู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้น
นิวรณ์ไม่มีมารบกวน
บางครั้งมีความคิดเกิดขึ้น
หากสติมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ ความคิดที่มีเกิดขึ้นจะดับทันทีของตัวสภาวะเอง

“วันที่ 74
ยืนแล้วเดิน 50 นาที นั่ง 45 นาที
ในขณะที่ยกขาขวาเตรียมตัวจะเหยียบ
เห็นความคิดมันวิ่งเข้ามาเหมือนมันเคลื่อน
หนูกำหนดหยุดเดินทันทีแล้วหันมากำหนดรู้หนอ
หนูเห็นความคิดมันกำลังเคลื่อนและมันก็ดับด้วยความรู้ทัน
เป็นครั้งแรกที่จับได้ไวมากและชัดเจน ปกติจะไหลไปแล้วจะเพิ่งรู้สึกว่าคิด”

“วันที่ 75 ยืนบวกเดิน 55 นาที นั่ง 50 นาที
วันนี้สติอัตโนมัติเกิดขึ้นบางทีสลับขาทั้งสองข้าง จึงกำหนดรู้ชัดที่เท้าก็ทำได้นะ
ช่วงหลังๆจะเห็นเท้าชัดมากขึ้นความคิดเริ่มคลายลงแล้ว”

“วันที่ 77 ในระหว่างที่เดินตอนที่หยุดและมีสติอัตโนมัติเกิดขึ้น
หนูมีความรู้สึกวูบไปที่เท้าข้างที่มีสติอัตโนมัติ
คือพอหยุดและมันวูบไปที่เท้าอีกข้างนึงเลยเหมือนมันไวมาก
นอกนั้นก็กำหนดได้ปกติ”

“วันที่ 79 ยืนแล้วเดิน 55 นาที
การเดิน มีสติอัตโนมัติเกิดขึ้นสลับเป็นบางครั้งเหมือนเดิม ก็กำหนดรู้ได้ชัด”

“วันที่ 80 ยืนและเดิน 55 นาที นั่ง 50 นาที
ยืนหนอในรอบแรกจิตไม่ค่อยนิ่งมีความคิดเข้ามาจิตจึงหยุด
กำหนดรู้หนอพักใหญ่เลยกว่าจิตจะรวมได้หลายรอบ
จากนั้นก็กำหนดได้ปกติ
วันนี้ไม่ได้ไปสนใจเรื่องนาฬิกาเลยสนใจแต่การกำหนดอย่างเดียวทำให้เวลาผ่านไปไว
การเดิน สติอัตโนมัติมีเกิดขึ้นบ้างแต่บางทีไม่ชัดเจน
หนูเลยกำหนดสำทับลงไปให้ชัดเจนยิ่งขึ้นให้แน่นมากขึ้น
มีความคิดแต่ก็กำหนดรู้ได้ทัน

“วันที่ 81 ยืนและเดิน 60 นาที นั่ง 55
เมื่อเหยียบเต็มฝ่าเท้าจะรู้ชัดที่เท้านั้น
เมื่อหยุดสติอัตโนมัติยังไม่เกิดขึ้นทันที
เมื่ออีกข้างนึงดับไปแล้ว ประมาณ 1-2 วินาที
สติอัตโนมัติจึงเกิดขึ้น

“วันที่ 82 เดินและยืน 60 นาที นั่ง 55 นาที
ในขณะที่เดินกำลังเหยียบเท้าซ้ายเต็มฝ่าเท้า
ความง่วงมันพุ่งเข้ามามันเริ่มเคลิ้ม
พอสักพักนึงมารู้สึกที่เท้าขวาอัตโนมัติได้ทันที
ความง่วงเคลิ้มๆหายไปสว่างขึ้น

“วันนี้มีความคิดเข้ามาเช่นหน้าคนที่เรากำลังคิดอยู่โผล่ขึ้นมา
หนูก็ตัดรู้หนอทันที ทำให้เรื่องราวต่างๆหายไปไม่ปรุงแต่ง”

“ขณะที่นั่งกำหนดลมหายใจเช่นความคิดมันโผล่ขึ้นมาแล้วมันก็ดับเลย”

นี่คือประโยชน์ของการใช้คำบริกรรม หนอ มาช่วย
ดีกว่าเดินสักแต่ว่าเดิน เดินให้ครบเวลา

สิ่งที่รู้เห็น ถูกสะสมไว้
ทำให้สติมีกำลังมากขึ้น สัมปชัญญะมีเกิดขึ้นเนืองๆ
ทำให้สมาธิมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ โดยไม่ต้องตั้งใจทำให้มีเกิดขึ้น

สติที่มีเกิดขึ้นทั่วๆไปกับสติที่เกิดจากการกำหนด
จะเห็นความแตกต่างได้ชัด จากการใช้การกำหนดเดินจงกรมที่มีรูปแบบ
เดินจงกรม ระยะที่ ๑
เดินจงกรมระยะที่ ๒
เดินจงกรมระยะที่ ๓
เดินจงกรมระยะที่ ๔
เดินจงกรมระยะที่ ๕
เดินจงกรมระยะที่ ๖

การเดินจงกรม

เดินจงกรม ๖ ระยะ

ตัวสภาวะที่สำคัญ
การเห็นสันตติขาด ฆนบัญญัติแตก
ขณะกำลังเดินจงกรม เห็นแต่ละก้าวย่าง ขาดออกจากกัน เป็นท่อนๆๆๆๆๆๆ
รู้ชัดในอาการเกิดทุกขณะของการเคลื่อนเท้า ขาดออกจากกัน
คือ เอาจิตจดจ่อรู้อยู่ ทุกย่างก้าวในแต่ละขณะ ที่มีเกิดขึ้นกำลังเดิน
รู้ที่ใจ คือ รู้การขาดออกจากกันทุกย่างก้าว รู้ขึ้นมาที่ใจ

ในกรณีที่กำลังเดินจงกรม เดินจนครบเวลาที่ตั้งไว้
ผลคือเมื่อกำหนดนั่งลง จิตเข้าสู่สมาธิทันที
คือ รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม

ที่สำคัญ การกระทำกรรมในแต่ละขณะๆๆๆ
ล้วนส่งผลกระทบต่อสภาวะขณะทำความเพียร
วุ่นวายนอกตัวมาก นิวรณ์ย่อมมาก
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ยาก

เหตุปัจจัยให้เกิดความรู้ชัดในเรื่อง
คำว่า สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก

กราบของพระคุณหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูล และพระอาจารย์ปรีชา
วัดนาค บางปะหัน อยุทธยา

หลวงพ่อพระครูภาวนานุกูล สอนเรื่องการกำหนดรู้ตามความเป็นจริง
จนกระทั่งแจ่มแจ้งในโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง

พระอาจารย์ปรีชาสอนให้เรียนรู้เกี่ยวกับรูป,นาม
จนกระทั่งแจ่มแจ้งในสติ สัมปชัญญะ
และความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ด้วยตนเอง

3 กันยายน
การเดินจงกรม ละเอียดชัดเจนมากขึ้นขณะที่เดิน มีอะไรมากระทบอายตนะ
กำหนดได้ตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน จับลมหายใจพร้อมกับอาการท้องพองยุบ ขณะที่เดินได้อย่างชัดเจน

เมื่อเดิน สังเกตุได้ ลมหายใจจะรวมเป็นหนึ่งขณะที่เดิน
มันจะไปพร้อมกันหมดทั้งตัว รู้พร้อมหมด สติดีตลอด
เมื่อมานั่งต่อ สมาธิเกิดอย่างต่อเนื่อง สมาธิตั้งอยู่ได้นานขึ้น

เป็นสมาธิเร็วขึ้น พอกำหนดนั่ง ปรับลมหายใจแค่ 5 ครั้ง เข้าสู่สมาธิได้เลย
เพิ่มเวลาในการปฏิบัติ เป็นวันละ 4ชม.บ้าง 5 ช.ม.บ้าง 6 ช.ม.บ้าง
บางวัน 1ช.ม.ก็มีไม่แน่นอน แล้วแต่สะดวก สูงสุด 8 ช.ม.
เดินจงกรม เดินระยะ 1- 4 ละเอียดมากขึ้น ชัดเจนขณะที่ก้าวเดิน

22 ม.ค. ’51
วันนี้เดินจงกรม มันแปลกมากๆ ปกติแล้ว เราเคยเดินแค่ระยะที่ 5
ระยะที่ 6 ไม่เคยเดิน เพราะฐานสติยังไม่แน่นพอ มันจะเซ

วันนี้ที่ว่าแปลกมากๆก็คือ มันเดินได้เอง คือเราเก็บรายละเอียดทุกย่างก้าวที่เดิน
ตั้งแต่ ยก ย่าง วาง ถูก เหยียบ กด กำหนดดูตามทุกอริยาบทที่เท้าก้าวไป
เราเห็นว่าอาการมันเกิดคล้ายๆกับในสมาธิ เห็นการเกิดดับ ขาดออกเป็นตอนๆของทุกย่างก้าวที่เดิน มันชัดเจนมากๆ

แม้แต่เวลายืน ปกติจะต้องกำหนดยืนหนอ
คราวนี้ไม่ต้องกำหนดเลย มันรู้ขึ้นมาเองขณะที่ยืน
ตั้งแต่กระหม่อมถึงปลายเท้า ปลายเท้าถึงกระหม่อม
มันรู้ตัวต่อเนื่องไม่ขาดสาย เห็นตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ

15ก.พ.’51
(หลวงพ่อ พระครูภาวนานุกูล วัดนาค บางปะหัน อยุธยา)

วันนี้เดินจงกรม มีอาการแปลกๆอีกแล้ว
เราไม่ได้กำหนดอะไร เดินแล้วก็รู้ตัวลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน
ที่ว่าแปลกก็คือ ยิ่งเดิน ยิ่งละเอียด ยิ่งแยกข้อปลีย่อยออกมาให้เห็นเด่นชัด
กายส่วนกาย ลมหายใจส่วนลมหายใจ มันไม่ใช่ความรู้สึกเหมือนเมื่อก่อนที่เราเดิน

เมื่อก่อนมันจะรู้พร้อมไปทั้งตัว เราถึงว่ามันแปลกๆ
มันรู้สึกวาบๆขึ้นมาเหมือนเป็นภาพที่มองเห็นทุกขณะที่ก้าวเดิน
มันผุดขึ้นมาในใจ อธิบายไม่ถูก

เราก็เลยโทรฯหาหลวงพ่อพระครูภาวนา
ถามท่านว่า ทำไมมันเป็นแบบนี้ มันรู้สึกเสียววาบๆทุกขณะที่ย่างก้าว
ขนหัวลุก ขนลุกไปทั้งตัว ภาพมันจะผุดขึ้นมาในใจ เห็นภาพชัดเลย

หลวงพ่อถามว่า ที่เห็นน่ะ เห็นที่ตาหรือเห็นที่ข้างใน
เราบอกว่า เห็นข้างใน ตาไม่ได้มองที่ปลายเท้า แต่มองไปข้างหน้า ขณะที่เดิน

ถามท่านว่า ควรทำอย่างไร ในเมื่อรู้สึกก็เลยหยุดเดิน
แล้วกำหนด รู้หนอๆๆๆ ก็ยังไม่หาย

อาการเสียวแบบนั้น มันเสียวๆอยู่อย่างนั้น อธิบายไม่ถูก
โดยเฉพาะที่ฝ่าเท้านี่ชัดเจนมาก มันเสียวๆวาบๆบอกไม่ถูก

หลวงพ่อบอกว่า ไม่มีอะไร มันมีสติ สัมปชัญญะเกิดขึ้น

เกือบจะถามหลวพ่อแล้วว่า คราวก่อนที่รู้ตัวทั่วพร้อมกับอาการเดิน
ท่านก็บอกว่า นั่นแหละเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ

แต่พอนึกขึ้นได้ว่า หลวงพ่อปรีชา ท่านบอกไว้ว่า มันจะมี 3 ระยะ
ก็เลยไม่ถามหลวงพ่อปรีชา ว่าทำไมมันถึงแตกต่างจากคราวแรก

หลวงพ่อบอกว่า ภาษา พระปฏิบัติ การดูลงไปในอาการที่เกิดก็คือการกำหนด แต่เป็นการกำหนดโดยกริยา ไม่ใช้บัญญัติ

ท่านบอกว่า ให้ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิด ไม่ให้ใช้รู้หนอที่เป็นสมมุติบัญญัติ
ดูลงไปจนอาการนั้นหายไปในที่สุด แล้วค่อยเดินต่อ

19 ก.พ.’51
เดินจงกรม ตั้งแต่เริ่มเดินมันจะเสียวๆที่ฝ่าเท้ายังไม่หาย
แล้วเดี๋ยวนี้มันแปลกๆ เหมือนฝ่าเท้าเรามีชีวิต
เรารู้สึกไปกับมันทุกระบบที่กระทบ มันเสียวๆอยู่อย่างนั้น
เราก็ทำแบบที่หลวงพ่อบอก เดินมันไป เอาสติ จิตจดจ่ออยู่กับการเดิน
พอเดินถึงช่วงยืน อยู่ๆมันก็เกิดเป็นสมาธิขึ้นมา
แต่เราไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่นักเรื่องสมาธิ
เพราะเดี๋ยวนี้สมาธิเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราบ่อยมากๆ

20 ก.พ.’51
วันนี้เป็นสมาธิเกือบทั้งวัน ทั้งๆที่บางทีแค่นั่งคิดอะไรบางอย่าง จู่ๆมันก็สว่างพรึ่บขึ้นมา
เป็นเกือบทั้งวันเลยวันนี้ สว่างมากๆ ทั้งๆที่โอภาสแบบนี้ เราแทบจะไม่ค่อยเกิดให้เห็นด้วยซ้ำ

21 ก.พ.’51
เดินจงกรม นั่งสมาธิ เป็นระยะๆ
เบื่อมากๆเลย ไม่รู้ว่าเบื่ออะไร นั่งก็เบื่อ เดินก็เบื่อ

22 ก.พ.’51
เดินบ้าง นั่งบ้าง กำหนดดูอริยาบทย่อย
ก็เกิดสมาธิอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่สนใจละ มันออกจะรำคาญไปด้วยซ้ำ

แต่พยายามทำจิตไม่ให้ชอบ ไม่ให้ชัง
เพราะหลวงพ่อพระครูภาวนานุกูลสอนไว้ว่า
อย่าไปเบื่อ อย่าไปเกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ มันเป็นสภาวะของมัน
ให้พิจรณาดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างเดียว
ไม่ต้องไปใส่ใจว่าอะไรเป็นอะไร ทำไป เดี๋ยวมันจะแจ้งขึ้นมาเอง

25 ก.พ.’51
ความรู้สึกที่ฝ่าเท้า นับวันมันจะมากขึ้นเรื่อยๆ ขนาดใส่รองเท้าเดินแท้ ไม่ใช่เท้าเปล่าเลยนะ
มันก็ยังรู้สึกกระทบทุกย่างก้าวที่เดิน เหมือนมันรู้สึกเข้าไปถึงในจิตของเรา มันชัดมากๆ
แม้แต่นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางอยู่บนพื้นเฉยๆ มันจะชัดมากๆตรงที่เท้ากระทบถูกพื้น

โทรฯหาหลวงพ่อ ถามท่านตั้งแต่ เรื่องฝ่าเท้าที่เป็นอยู่
ท่านบอกว่า ให้ดูลงไปอย่างเดียว ไม่ต้องไปทำอะไร

และเรื่องที่เป็นสมาธิบ่อยๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็เกิดสมาธิตลอดเวลา
ท่านบอกว่า ให้เดินจงกรมเพิ่ม อย่างน้อย 2 ช.ม.เพื่อเจริญสติให้มากขึ้น
อย่านั่งมาก ถึงไม่ใช่นั่งขณะที่ทำสมาธิก็ตาม ไม่ให้นั่งมาก ให้เน้นเดิน

04 มี.ค. 2008
ตั้งแต่เพิ่มเวลาเดินจงกรม บางวันเดิน 2 ช.ม. บางวันเดิน 3 ช.ม.
แต่ละรอบจะเดินอย่างนี้ตลอด ทำไปเรื่อยๆแล้วแต่สะดวก
สมาธิที่เกิดถี่ๆเริ่มลดน้อยลง ไปเกิดขณะที่ยืนเป็นพักๆไม่มากเท่าเมื่อก่อน
แต่การเข้าออกสมาธิยังคล่องเหมือนเดิม
คือแค่ดูท้องพองยุบ 2หรือ 3 ครั้งก็เข้าสู่สมาธิได้เลย
อาการเสียวๆที่ฝ่าเท้ายังมีอยู่แต่น้อยลง

แต่ความรู้สึกในการที่ฝ่าเท้าหรืออาการที่เคลื่อนย้ายอริยาบทที่เท้านี้ชัดมากๆ
มันจะรู้ขึ้นมาในจิตแบบอธิบายไม่ถูก แต่ก็ไม่ถามหลวงพ่อ
เพราะเชื่อว่า ปฏิบัติไป เดี๋ยวก็จะรู้เอง

———–

สภาวะที่สำคัญ


ตัวสภาวะ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นบัญญัติถูกเพิกถอนจนหายไปหมด
คือ จิตละทิ้งคำบริกรรม(บัญญัติ) มีรูปนามเป็นอารมณ์
ส่วนจะรู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ขึ้นอยู่กับกำลังสติ สัมปชัญญะ

แม้ขณะมีเวทนา เช่น ปวดขา สักแต่ว่าปวด แต่ใจไม่ได้ปวดด้วย
(กายและจิตแยกออกจากกัน ไม่ป่ะปนกัน)
ความปวดที่มีเกิดขึ้นก็ซ่าหายไปเอง แล้วสงบ เหมือนไม่มีกิเลส

หากยังอยู่ในรูปฌาน จะรู้ชัดสติปัฏฐาน ๔ นิวรณ์ไม่มี
เมื่อเข้าถึงอรูปฌาน กายหายไปหมด มีจิตรู้อยู่


หากมีโอภาสสว่างมากๆ ยิ่งสว่างสุดๆ ต้องเดินจงกรมให้มากขึ้น
เมื่อกำลังสติมีมากขึ้น จะรู้ชัดความเกิด ความดับที่มีเกิดขึ้นในอรูปฌาน นิโรธตามลำดับ

ถ้ากำลังสติด้อยสมาธิ จะเข้าสู่ความดับมากกว่าจะรู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรม
ส่วนจะเข้าสู่ความดับมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ

ถ้าสติมีกำลังมากกว่าสมาธิ จะมีสภาวะกายแตก กายระเบิดมีเกิดขึ้นอีก แล้วเข้าสู่ความดับ
หลังจากนั้น ขณะทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิง่าย บางครั้งหายใจเข้า จิตเป็นสมาธิทันที

การเดินจงกรม

๑๐ ตค. 63

การเดินจงกรม ถ้าสติดี จะรู้ทันยก ยก เหยียบ คือรู้ทุกการเคลื่อนไหวของเท้า
มันจะสามารถอธิบายได้ในแต่ละขณะ เหมือนที่เคยเขียนไว้เรื่องการเดินจงกรม

หากสติไม่มากพอ มันจะไม่อยู่กับเท้าในแต่ละขณะที่ย่างก้าวเดิน

พอมีสติจากเดินจงกรม พอมานั่งจิตจะเป็นสมาธิทันที มันจะรู้ด้วยตน

เวลาเดินจงกรม ต้องตั้งใจ แรกๆยากหน่อย
พอฝึกบ่อยๆ จะทำให้สติมีกำลังมากขึ้น


หากสติไม่มากพอ มันจะไม่อยู่กับเท้าในแต่ละขณะที่ย่างก้าวเดิน

พอมีสติจากเดินจงกรม พอมานั่งจิตจะเป็นสมาธิทันที มันจะรู้ด้วยตน

เวลาเดินจงกรม ต้องตั้งใจ แรกๆยากหน่อย พอฝึกบ่อยๆ จะทำให้สติมีกำลังมากขึ้น

หากทำได้ หากมีเรื่องราวในชีวิตมีเกิดขึ้น
อาจจะมีพลั้งเผลอ(สร้างกรรม) มันก็รู้ตัว
เผลอไปแล้ว เมื่อมีกรรม/การกระทำ ผลย่อมมี

ลองดูนะ เวลาเดินจงกรม ไม่หลงกับความคิด
เวลามีความคิด พยายามกำหนดรู้เท้า ไม่ใส่ใจกับความคิด
มันคิดก็ปล่อยไป แต่ให้พยายามรู้เท้าในแต่ขณะ
พอสติมีกำลังมากขึ้น ความคิดจะจางหายไปไวขึ้น

ฝืนใจน่ะ ฝืนให้รู้เท้า สติทำให้มันอยู่กับปัจจุบัน

การเห็นสภาวะสันตติ-ฆนะ ในแง่ของบัญญัติ

ใน ๖ ส่วน ในแง่ของการยก ( เท้าขึ้น ) ธาตุทั้ง ๒ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีประมาณต่ำ อ่อน ส่วนอีก ๒ ธาตุ ( คือ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ) มีประมาณมาก มีกำลังในการย่างเท้าและในการย้ายเท้าก็เหมือนกัน

ในการหย่อนเท้าลง ธาตุทั้ง ๒ คือ เตโชธาตุ วาโยธาตุมีปริมาณต่ำ อ่อน ส่วนอีก ๒ ธาตุ ( คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ ) มีประมาณมาก มีกำลัง ในการเหยียบและกดก็เหมือนกัน

ครั้นโยคีทำ ( ระยะของการก้าวเท้าก้าวหนึ่ง ) ให้เป็น ๖ ส่วนอย่างนี้แล้ว จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่ถึงความแตกดับด้วยความเติบโตขึ้นตามวัยนั้น

โดยส่วนทั้งหลาย ๖ ( ของก้าวเท้าก้าวหนึ่ง ) เหล่านั้น ยกขึ้นอย่างไร?

โยคีท่านนั้นพิจรณาเห็นอยู่ดังนี้ว่า ” ธาตุทั้งหลายในที่เป็นไป ในการยกเท้าขึ้นก็ดี รูปทั้งหลายใดอาศัยธาตุนั้นก็ดี สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดยังไม่ทันถึงการย่างเท้า ก็ดับไปในการยกเท้าขึ้นนี่เอง

เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนึ่ง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไปในการย่างเท้า ยังไม่ทันถึงการย้ายเท้า….

ที่เป็นไปในการย้ายเท้า ยังไม่ถึงกับการหย่อนเท้าลง ….

ที่เป็นไปในการหย่อนเท้าลง ยังไม่ทันถึงการเหยียบ …..

ที่เป็นไปในการเหยียบ ยังไม่ถึงกับการกด ก็ดับไปในการเหยียบนั่นเอง

สังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในนั้นๆ ( มีการยกเท้าขึ้นเป็นต้น ) ยังไม่ทันถึงส่วนนอกนี้ ( และ ) นอกนี้ ก็ทำเสียงตฏะตฏะแตกเป็นปล้องๆ เป็นข้อๆ เป็นท่อนๆ ณ ที่นั้นๆ นั่นเอง

เหมือนเมล็ดงา ที่เขาวางลงบนแผ่นกระเบื้องอันร้อน ทำเสียงตฏะตฏะ ( เปรี๊ยะๆ ) แตกไป ฉะนั้น

เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป้นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ” ฉะนี้แล

การกำหนดรู้รูปของโยคีท่านนี้ แจ้งสังขารทั้งหลายที่เป็นปล้องๆอย่างนี้ เป็นการกำหนดรู้ที่ละเอียดอ่อน

ฉะนั้น การใช้คำในการสอดแทรกการอธิบายของตำราต่างๆ ท่านผู้เขียนตำราจะมีหมายเหตุไว้ว่า ทำไมจึงเรียกแบบนั้นแบบนี้ เพราะบางคำ หาคำเรียกที่ชัดเจนลงไปไม่ได้ เช่น

วิปสฺสติ สมฺมสนฺติ ววฏฺฐเปต ปริคฺคคณหนฺติ ปริจฺฉินฺทติ แปลกันมาทางปริยัติว่า วิปสฺสนฺติ, วิปัสสนา = เห็นแจ้ง

สมฺมสนฺติ, สมฺมสน = พิจรณา

ววฏฺฐเปนฺติ, ววฏฺฐานํ ( หรือ ววตฺถานํ ) = กำหนด

ปริคฺคโห, ปริคฺคหิตํ = ยึดถือ,หวงแหน

ปริจฺฉินฺทนฺติ, ปริจฺเฉโท = กำหนด,จำแนก,ขอบเขต แต่ในทางปฏิบัติ มีความหมายตามไขคำว่า

วิปสฺสนฺติ = เห็นด้วยวิปัสสนาญาณ ( ตามลำดับญาณนั้นๆ )

สมฺมสนฺติ, สมฺมสนํ = กำหนดรู้ อธิบายว่า กำหนด ( เฉยๆ ) ไม่รู้จะกำหนดไปทำไม?

และจะแปลว่า พิจรณา ( ตามที่เรียนมาทางปริยัติ ) ก็เช่นกัน จะมัวไปพิจรณาอยู่ทำไม? กำหนดรู้ไปเลย

และท่านใช้ชื่อญาณด้วย คือ สัมมาสนญาณ = ญาณกำหนดรู้

ววฏฺฐเปนฺติ ก็แปลว่า กำหนดรู้ เช่น จตุธาตุววฏฺฐาน = กำหนดรู้ะาตุ ๔

ปริคฺคณฺหนฺติ,ปริคฺคเหตฺวา,ปริคฺโห,ปริคฺคหตํ ก็แปลว่า กำหนดรู้

ซึ่งในฎีกา ( ปรมตฺถมญฺชูสา,ติตยภาค, น. ๔๘๘-๙ ) ให้แปลอย่างนั้น โดยอธิบายไว้ว่า

” ปริคฺคเหตฺวาติ ญาเณน ปริจฺฉิชฺช คเหตฺวา = กำหนดถือไว้ ด้วยญาณ ”

ส่วน ปริจฺฉินฺทนฺติ แปลว่า จำแนก,กำหนด จึงแปลไว้ในที่นี้ ตามแนวไขคำ

สิ่งที่นำมาแสดงตรงนี้ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ในแง่ของสภาวะที่ต้องอาศัยบัญญัติในการคิดพิจรณา แต่โดยตัวสภาวะที่แท้จริง จะรู้ขึ้นในจิตเอง ไม่มีคำเรียก ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แต่จะรู้โดยตัวสภาวะที่มาแสดงให้เห็นเอง

ฉะนั้นการตีความในพระไตรปิฎก ต้องแม่นโดยตัวสภาวะก่อน จึงจะนำมาสื่อในแง่ของบัญญัติที่เป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้ แสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนได้ว่า สภาวะที่เกิดขึ้นณขณะนั้นๆโดยตัวของสภาวะเองนั้นเป็นอย่างไร

การรู้ จะรู้ทีละขั้น คือ รู้แบบหยาบๆตามกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิ แล้วรู้นั้นๆจะมีความละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆตามสภาวะที่มาแสดงให้เห็น เรียกว่า มหาปัจจเวกขณะ

รู้ชัดเพื่ออะไร?

เมื่อมีคำถาม จึงมีเรื่องมาเขียน มีผู้ปฏิบัติที่เขามองว่าเขามีเวลาน้อยมากสำหรับเวลาที่ทำเต็มรูปแบบ คือเดินกับนั่ง เขาจะมีเวลาทั้งหมด ๔๐ นาทีโดยประมณ

เราบอกกับเขาว่า มันเป็นสภาวะของคุณ เหตุของคุณสร้างมาแบบนี้ นี่คุณกำลังเปลี่ยนแปลงเหตุของคุณ

ฉะนั้นไม่ต้องไปใส่ใจเรื่องเวลา แค่คุณรู้ชัดอยู่ในกายได้ โดยจิตไม่วิ่งแล่บไปข้างนอก นั่นน่ะกุศลเกิดแล้ว เพราะจิตตอนนั้น มันไม่มีไปคิดว่าร้าย ไม่มีทั้งสุขและทุกข์ แต่มันมีตัวรู้เกิด ตัวปัญญาเกิด ตัวนี้แหละกุศลแท้ ที่ไม่มีอามิสบูชาเจือแต่อย่างใด เป็นกุศลที่สะอาดและบริสุทธิ์จริงๆ

เขาบอกว่า ตอนนี้ ยิ่งทำ เขายิ่งเห็นความคิดของเขาชัดมาก

สภาวะตรงนี้ เราอยากจะบอกกับผู้ที่เจริญสติทุกๆคนว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ปฏิบัติมาถึงจุดๆหนึ่งแล้ว สิ่งแรกที่ทุกคนจะเจอเหมือนๆกันหมดคือ เห็นและรู้ชัดในความคิดของตัวเอง

ทั้งๆที่เมื่อก่อน ก่อนที่จะทำนี้ ความคิดต่างๆนั้นมีไหม มันมีของมันและมันเป็นแบบนั้นของมันอยู่แล้ว แต่ตอนนั้นที่เราเห็นจะเห็นแค่แว่บๆแล้วผ่านไป เราไม่เคยเห็นมันชัด ถึงแม้เราไม่ได้ตั้งใจดูความคิดนั้นๆก็ตาม แต่มันจะเห็นและรู้ชัดในความคิดนั้นๆ

เหตุเนื่องจาก ตัวสัมปชัญญะเกิดในตัวบุคคลนั้นนั่นเอง ถ้าไม่มีตัวสัมปชัญญะเกิดเราจะไม่เห็นหรือรู้ชัดในความคิดแบบนี้ได้ มีแต่ไหลไปอดีตมั่ง ไหลไปตามอนาคตมั่ง มันไปของมันเรื่อย

แต่สภาวะตรงนี้ เมื่อคิดเราจะรู้และเห็น แล้วความคิดนั้นจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตัวเก่าหายไป ตัวใหม่เกิดต่อ ถ้ารู้กายได้ จิตจะกลับมารู้กาย

เพราะความเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ ย่อมดึงกลับมารู้ที่กายได้ ไม่ปล่อยให้จิตไหลไปอดีตมั่ง อนาคตมั่ง ยืดยาว

เมื่อกลับมารู้กายได้บ่อยๆ กำลังของสติ สัมปชัญญะมากขึ้น สมาธิย่อมมีกำลังมากขึ้นตาม ต่อไปไม่มีการต้องไปดึงจิตกลับมา จิตเขาจะกลับมารู้ชัดที่กายเอง มันจะเป็นไปตามสภาวะ

อีกคำถามที่เขาถามมาคือ เวลาเดิน เวลาที่เกิดความคิด เขาพยายามดึงจิตให้มารู้อยู่กับการเดิน ต้องการให้รู้ชัดในการเดิน ทำแบบนี้เขาทำถูกแล้วใช่ไหม?

เราถามกลับไปว่า คุณทำเพื่ออะไรล่ะ ที่ว่าต้องการให้รู้ชัดในการเดินน่ะ เวลาเกิดสภาวะพวกนี้ ต้องดูให้ทัน ความอยากมันแทรกตลอดเวลา โดยเฉพาะความอยากที่เป็นกุศลจะมีสภาวะที่ละเอียดมากๆ ยากที่จะรู้ทันได้

เราต้องหมั่นถามตัวเองทุกๆครั้งที่เกิดสภาวะที่ต้องการให้รู้ชัดไม่ว่าจะในการเดินหรือให้รู้ชัดในกายก็ตาม เราต้องตั้งคำถาม ถามตัวเองเสมอๆว่า เราทำเช่นนั้นเพื่ออะไร คำตอบที่ตอบกลับมานั่นแหละ คือตัวสภาวะที่แท้จริง

กำลังสติ สัมปชัญญะของแต่ละคนไม่เท่ากัน ล้วนแตกต่างไปตามเหตุที่ทำมา ฉะนั้นจะรู้ชัดในกายได้มากหรือน้อย แตกต่างกันไปนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เราต้องดูให้ทัน

เราเพียงทำเพราะเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ ทำให้ต่อเนื่องนี่แหละ อุบายหรือวิธีให้รู้อยู่ในกายและจิตของแต่ละคนนั้น แล้วแต่เหตุของใครของมัน

เพียงทำต่อเนื่องไปนี่แหละ กำลังของ สติ สัมปชัญญะจะแข็งแรงหรือมีกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเอง ทำสะสมไป กิเลสน่ะ สามารถทำให้เกิดได้ทั้งสุขและทุกข์ แค่เรารู้อยู่กับมัน รู้ว่ามันมี และยอมรับ นี่ชื่อว่าผู้หลงน้อยลงแล้ว

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ