โลกสันนิวาสและกามคุณ ๕

โลกสันนิวาสและกามคุณ ๕

หลงทางไปนาน ไปสนใจเรื่องคำว่ากามคุณ ๕
ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โลกสันนิวาส
ต้องเจอพระสูตรก่อน แล้วพิจรณาจากผลของการปฏิบัติ
การแจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตน จึงสามารถเข้าใจได้
ต้องละที่ละอย่าง
ละโลกสันนิวาสก่อน
ตามมาด้วยละกามคุณ ๕
ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
รู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อรู้แล้วจะเป็นเรื่องของโลกธรรม ๘
ที่มีเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
ผลที่ได้รับ มาในรูปของเวทนาที่มีเกิดขึ้น

สัตบุรุษ(สกทาคามี) ประเภททุกขาปฏิปทา
จะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรมเนืองๆ ที่มีเกิดขึ้นกับตน
หากเข้าถึงธรรมอนาคามิผล ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค)

สัปบุรุษ(อนาคามี) ประเภททุกขาปฏิปทา
จะพูดเรื่องการแจ้งอริยสัจ ๔ โลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้นกับตน
หากเข้าถึงธรรมอนาคามิผล ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค)

ทุกขาปฏิปทา
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
วิชชา ๒ ปรากฏตามจริง
เข้าถึงอนาคามิผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
ได้แก่ พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหันตมรรค)

สุขาปฏิปทา
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
วิชชา ๒ ปรากฏตามจริง
ได้อนาคามิผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
ได้แก่ พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหันตมรรค)


โลกกามคุณสูตรที่ ๑
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอะไรเล่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก
ถือว่าโลก ด้วยจักษุ …ด้วยหู… ด้วยจมูก… ด้วยลิ้น… ด้วยกาย… ด้วยใจ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอันใด
ธรรมนี้เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยะ

.
๑๓. เตวิชชสูตร
[๓๗๗] ดูกรวาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี
น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป
เขามัดแขนไพร่หลังอย่างแน่น ด้วยเชือกอย่างเหนียวที่ริมฝั่งนี้
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำอจิรวดีได้แลหรือ?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้.
ดูกรวาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่าขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง
กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่าขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง
พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา กำหนัดสยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ
ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้อยู่

ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย
สมาทานธรรมที่มิใช่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ประพฤติอยู่
กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ
ไม่มีปัญญาคิดสลัดออกบริโภคกามคุณ ๕ พัวพันในกามฉันท์อยู่
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๓๗๘] ดูกรวาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี
น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป
เขากลับนอนคลุมตลอดศีรษะเสียที่ฝั่ง
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำอจิรวดีได้หรือหนอ?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้.
ดูกรวาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์
พยาปาทนิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์
นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่าเครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง.

[๓๗๙] ดูกรวาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา
ถูกนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตราแล้ว
ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย
สมาทานธรรมที่มิใช่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ประพฤติอยู่
ถูกนิวรณ์ ๕ ปกคลุม หุ้มห่อรัดรึง ตรึงตราแล้ว
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

.
ผัสสะ
โลกสันนิวาส
วิธีการดับ ด้วยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้ละสักกายทิฏฐิ จะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

๑. ละด้วยศิล
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
จตุตถเปยยาลที่ ๔
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ
[๔๖๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออะไรมีอยู่เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ
เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.
เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ฯลฯ
เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.

[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๔๖๕] พ. เพราะเหตุนั้นแหละ
ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

.
๒. ละด้วยการทำกรรมฐาน
๒.๑ ละด้วยรูปฌาน ละด้วยอรูปฌาน
๒.๒ ละด้วยปัญญาไตรลักษณ์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๙. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดและความดับทุกข์
[๖๖] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป
นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง
เวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ
แห่งวิญญาณ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.

[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป
นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความเข้าไประงับแห่งโรค
เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้
แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ
แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความเข้าไประงับแห่งโรค
เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.

๓. ละด้วยการเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลตามจริง
ละสักกายทิฏฐิเป็นสมุจเฉท ไม่มีกำเริบกลับมาอีก

.

กามคุณ ๕ ละด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่สามารถละได้ คือ พระอนาคามี หรือสัปบุรุษ ประเภททุกขาปฏิปทา
รู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะฯลฯ
และลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำเรียกเหล่านี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะ
ภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน?
คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ
นี้เรียก ว่า ทุกขอริยสัจ.
[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
มหาวรรคที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย… คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้
นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้นในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
ย่อมหมุนเวียนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้นในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
หมุนเวียนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ
กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย… คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้
นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ


กว่าจะรู้จะเห็นจะเจอพระสูตร
การสดับธรรมพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
อาศัยความเพียรต่อเนื่อง เวลาเวทนากล้ามีเกิดขึ้น ใจเด็ด
ปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมตามลำดับก่อน
โสดาบัน
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกทาคามี
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามี
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหันต์
อรหัตมรรค อรหัตผล
วิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะจะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง

.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปัญจสิขสูตร
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น ปัญจสิขเทพบุตรผู้เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพันธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี
อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี
ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน
ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

[๑๘๒] ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี
ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน
ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล
เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล บรรลุช้าและเร็ว

๒๕ ตค. ๒๕๖๖

เช้านี้จิตพิจรณาเรื่องสภาวะที่เขียนไว้ในพระสูตร
ทบทวนสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ
จะอ้อๆๆๆๆ ต้องแก้ไขอีก ยังเขียนคำเรียกเพี้ยนอยู่
ต้องมาไล่สภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ
เล่าให้เจ้านายฟังว่า หากไม่ทำเป็นหนังสืออกมา
จะไม่มีการพิจรณาในสิ่งที่อาจจะที่อาจจะหลงตาไปได้
แล้วอีกอย่างหนึ่งการที่เขียนเพียงพระสูตร
แต่ไม่เขียนอธิบายสภาวะที่มีเกิดขึ้น
คนเข้ามาอ่าน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อความในพระสูตรได้

เช้านี้ได้แก้ไขในพระอรหันต์ที่บรรลุช้า(อรหัตมรรค)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เป็นสภาวะของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี(สุขาปฏิปทา)
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี(ทุกขาปฏิปทา)

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ไม่ใช่การปรินิพพาน
คำว่าปรินิพพานคือทำกาละ
ชาวบ้านเรียกว่ามรณะคือตาย
ด้วยเหตุนี้ยังมีชีวิตอยู่ พระองค์ทรงตรัสเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เราเคยเขียนเล่าไว้ก่อนหน้านี้
ทุกๆคำเรียกที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้น
สภาวะในแต่ละสภาวะของคำเรียกนั้นๆ ค่อนข้างซับซ้อน ละเอียด

หากอ่านในเราได้แบ่งวรรคไว้ จะเข้าใจมากขึ้น
“โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุช้า)”
ได้แก่ สัทธานุสารี
บุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ คือพระพุทธเจ้า แล้วเชื่อ ปฏิบัติตาม

ธัมมานุสารี
บุคคลที่ได้สดับธรรมจากสาวก เรียกว่าอาจารย์

ยกตย. เราไม่รู้ปริยัติ ไม่รู้อะไรสักอย่าง การเริ่มปฏิบัติ จากรักษาศิล
ที่ถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ แม่พาเข้าวัด ความที่เป็นดื้อ ซุกซนเหมือนเด็กผู้ชาย
หลังทำบุญ แม่จะฝากกับหลวงตาที่วัดให้สั่งสอน ท่านจึงให้อยู่กับเด็กวัด
ความที่ผมโศก แม่ตัดยาก จึงให้ที่ร้นตัดให้ ทรงผมจะเหมือนเด็กผู้ชาย
จึงสามารถอยู่ร่วมกับเด็กวัดได้ ซึ่งมีแต่เด็กผู้ชาย
จากการไปทำบุญที่วัด ได้ฟังเทศน์
สมัยเด็กชอบฟังเทศน์มหาชาติ ไม่มีตังค์ จะใช้มือจบอนุโมทนาสาธุ
พอฟังธรรมเสร็จ ตั้งจิตอธิษฐานตามที่ตนอยากให้มีเกิดขึ้นในตน
การฟังเทศน์มหาชาติทำให้เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม
เริ่มทำกรรมฐาน ไม่รู้คำเรียกหรอก เคยเขียนเล่าไว้แล้ว
เพราะกสิณ จิตที่เป็นสมาธิ ทำให้เป็นคนที่มีความจำดี เรียนเก่ง
สอบคะแนนดีทั้งๆที่ไม่ต้องอ่านหนังสือล่วงหน้า
แต่จำได้เวลาครูสอนจะนั่งโต๊ะหน้า เวลาครูสอนจะมองหน้าครูตลอด
เหตุนี้ทำให้จำได้ในสิ่งที่ครูสอน ทำให้เรียนเก่ง

พูดเยอะล่ะ กลับมาจากเรื่อง “โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุช้า)”
ได้แก่ สัทธานุสารี ธัมมานุสารี
ซึ่งได้เขียนแบบย่อไว้ให้
สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ กสิณ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
เจริญวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เจริญสมถะและวิปัสสนา ใช้ทั้งมีบัติเป็นอารมณ์และวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

บรรลุช้า จะแบ่งสภาวะออกเป็น ๒ ส่วน
เวลาอ่าน จะทำให้เข้าใจสภาวะที่มีเกิดขึ้นมากขึ้น

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ กสิณ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
เจริญวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เจริญสมถะและวิปัสสนา ใช้ทั้งมีบัติเป็นอารมณ์และวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

สุขาปฏิปทา
หากยังไม่เข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
อาศัยการทำความเพียรตลอดชีวิต
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

คำว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

คำว่า พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ กสิณ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
เจริญวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เจริญสมถะและวิปัสสนา ใช้ทั้งมีบัติเป็นอารมณ์และวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
หากยังไม่เข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
อาศัยการทำความเพียรตลอดชีวิต
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

คำว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
คำว่า พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม


บรรลุเร็ว จะแบ่งสภาวะออกเป็น ๒ ส่วน
เวลาอ่าน จะทำให้เข้าใจสภาวะที่มีเกิดขึ้นมากขึ้น

เขียนแบบย่อตัวสภาวะที่สำคัญ

ทุกขาปฏิปทา
โคตรภูญาณปรากฏตามจริง
วิชชา ๑
โสดาปัตติผลตามจริง (บรรลุเร็ว)
ได้แก่
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี
วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาเท่านั้น
กำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้ จะไม่มีความรู้เห็นนี้มีเกิดขึ้น

เขียนรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑ เกิดขึ้นต่อ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด
ละความสงสัย
ละสีลัพพัตตปรามาส
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

หากทำความเพียรต่อ ยังไม่เข้าถึงอนาคามิผล
เมื่อทำกาละ
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

คำว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

คำว่า พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

.
สขาปฏิปทา
โคตรภูญาณปรากฏตามจริง
วิชชา ๑
โสดาปัตติผลตามจริง (บรรลุเร็ว)
ได้แก่
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี
วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาเท่านั้น
กำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้ จะไม่มีความรู้เห็นนี้มีเกิดขึ้น

เขียนรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑ เกิดขึ้นต่อ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด
ละความสงสัย
ละสีลัพพัตตปรามาส
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

หากทำความเพียรต่อ ยังไม่เข้าถึงอนาคามิผล
เมื่อทำกาละ
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

คำว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

คำว่า พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

.
เพราะมาเขียนเรียบเรียงสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ
ทำให้รู้ว่าหนังสือที่ทำไว้ ยังต้องมีแก้ไขในบางส่วน
๑. คำเรียก
๒. สภาวะที่มีเกิดขึ้น ไม่ได้เขียนรายละเอียด แค่เขียนคร่าวๆ
ทำให้เนื้อหาไม่สมบูรณ์
เกิดจากมานั่งอาจพระสูตร ๗. กามสูตร เขียนสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ
ทำไมยังละกามสังโยชน์ยังไม่ได้ ยังละรูปราคะ อรูปราคะยังไม่ได้
ปัจจุบันยังเป็นพระอนาคามีได้อย่างไร จากที่่เคยฟัง เคยอ่านมาก่อน
พระอนาคามีต้องละกามโยคะหรือกามสังโยชน์ได้นี่
ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้ที่พูดน่ะ รู้แค่ไหน จะพูดอธิบายได้แค่นั้น
มากกว่านั้นพูดรายละเอียดไม่ได้หรอ เพราะยังไม่เข้าถึงสภาวะนั้นๆ

และได้มาเขียนเรื่องโสดาบันบรรลุเร็ว
ทำให้ย้อนกลับไปที่โสดาบันบรรลุช้า
ทำไมเมื่อทำกาละไปเกิดที่สุทธวาส

เนื้อความในพระสูตรที่ช่วยให้เข้าใจได้ คือ ๗. กามสูตร
“บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ เป็นอาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

ได้แก่ บุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สับุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้เป็นผู้ที่มีสีลปาริสุทธิเกิดขึ้นตามจริง
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม
ทำให้สนใจทำกรรมฐาน จิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง มาในรูปแบบของเวทนากล้ามีเกิดขึ้น
สภาวะเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น เป็นสภาวะสักกายทิฏฐิที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อเสพสภาวะนี้มีเกิดขึ้นเนืองๆ
ทำให้ค่อยๆละความยึดมั่นถือมั่นในกายว่าเป็นตน เป็นของตน
อาศัยความเพียรต่อเนื่อง ไม่ล้มเลิก
หากยังไม่สามารถเข้าถึงธรรมในโสดาปัตติผลในปัจจุบันได้
การเสพสภาวะไตรลักษณ์ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
เวลาทำกาละ จะไปเกิดที่สุทธาวาส

ทีนี้เข้าใจหรือยังว่าสีลปาริสุทธิ
นั่นหมายถึงสภาวะสัมมาทิกฐิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อมาทำกรรมฐาน หากปฏิบัติต่อเนื่องมีสัมมาสมาธิมีเกิดขึ้น
ภพชาติของการเกิดอยู่ตรงนี้ เปลี่ยนภพชาติของการเกิดอยู่ตรงนี้
ไม่ใช่แค่การทำสมาธิทั่วๆไปที่นำมาพูดกัน

พระโสดาบัน

สัปปัญญวรรคที่ ๖
สคาถกสูตร

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๖๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว …
ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๒๒] ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต
มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรม ดังนี้.


โสตาปัตติยังคสูตร
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน?
คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรม ๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง
พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์ ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล ทูลถามแล้ว
ย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว ไ
ด้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้ แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญา ความคิด ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้ พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวกไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น
แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด
สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์ เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น
ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด
สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป เพราะความเมานั่นเอง
สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าว อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว
แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์
แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท
ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่ ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

เวรสูตรที่ ๒
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน
แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน
แม้ในสัมปรายภพและไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ
ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน
แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพและย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้
อริยสาวกย่อมสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑
ประกอบด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ


ธนสูตรที่ ๒
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย
คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว
คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ
เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


นฬกปานสูตรที่ ๑
[๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ได้เสด็จถึงนิคมของชาวโกศล ชื่อว่านฬกปานะ ทราบมาว่าพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปลาสวัน ใกล้นฬกปานนิคมนั้น
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคผู้อันหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่งแล้วในวันอุโบสถ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ห้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา สิ้นส่วนแห่งราตรีเป็นอันมาก
ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่ แล้วตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร
ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาเพื่อภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะเธอ เราเมื่อยหลัง จักเอนหลัง
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น
ทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า
ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำอุฏฐานสัญญาไว้ในพระทัย

ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในกาลปักษ์ย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์ย่อมเสื่อมจากวรรณะ ย่อมเสื่อมจากมณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง
ย่อมเสื่อมจากด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย คำว่าบุคคลผู้ไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่มีหิรินี้เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีปัญญาทรามนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มักโกรธนี้ เป็นความเสื่อม คำว่าบุคคลผู้ผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าผู้มีมิตรชั่วนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐินี้ เป็นความเสื่อม ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยวรรณะย่อมเจริญด้วยมณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง
ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรม ทั้งหลายมีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลยฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย คำว่าบุคคลผู้มีศรัทธานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีหิรินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีโอตตัปปะนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ปรารภความเพียรนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีปัญญานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่โกรธนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่ผูกโกรธนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ปรารถนาน้อยนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฐินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม ฯ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสชมท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายไม่หวังได้ความเจริญเลย
ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในกาลปักษ์ย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเสื่อมจากวรรณะ ย่อมเสื่อมจากมณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากด้านยาวและกว้างฉันใด
ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ฯลฯ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อม ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรสารีบุตร คำว่าบุคคลผู้ไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลไม่มีหิริ … ผู้ไม่มีโอตตัปปะ … ผู้เกียจคร้าน … ผู้มีปัญญาทราม … ผู้มักโกรธ … ผู้ผูกโกรธ …
ผู้มีความปรารถนาลามก … ผู้มีมิตรชั่ว … ผู้เป็นมิจฉาทิฐินี้ เป็นความเสื่อม ฯ

ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย
ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยวรรณะ ย่อมเจริญด้วยมณฑล
ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและกว้าง ฉันใด
ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย …
ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรสารีบุตร คำว่าบุคคลผู้มีศรัทธานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีหิริ … ผู้มีโอตตัปปะ …ผู้ปรารภความเพียร …ผู้มีปัญญา …ผู้ไม่มักโกรธ …
ผู้ไม่ผูกโกรธ …ผู้มีความปรารถนาน้อย …ผู้มีคนดีเป็นมิตร …ผู้เป็นสัมมาทิฐินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม ฯ


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน

[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด
ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.


อานันทสูตร
ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน

[๑๔๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์
อยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นแล้ว
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เพราะละธรรมเท่าไร เพราะเหตุประกอบธรรมเท่าไร
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า?

[๑๔๘๖] ท่านพระอานนท์กล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เพราะละธรรม ๔ ประการ เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการ
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม.

[

[๑๔๘๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน.

[๑๔๘๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน.

[๑๔๘๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

[๑๔๘๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความทุศีลเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น
ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เป็นศีลไม่ขาด … เป็นไปเพื่อสมาธิ เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้น.

[๑๔๙๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการนี้
เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการนี้ หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

มีคำถาม
ข้าพเจ้าเคยได้ยินมาว่า พระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันก็สามารถ ปิดอบายภูมิ และจะได้ตรัสรู้ในการข้างหน้า ไม่ตกต่ำอีกเลย จึงขอเรียนถามว่า มีเหตุมีปัจจัยอย่างไร จึงให้ผลนั้น อกุศลจิตที่เคยสั่งสมมาไม่ให้ผลหรือ

คำตอบ
การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม ทำให้ปิดอบายภูมิ และตรัสรู้ในเบื้องหน้า


ธรรมทินนสูตร
ธรรมทินนอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล

[๑๖๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่า ธรรมทินนะ พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คนเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อใดจะพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสสอน โปรดทรงพร่ำสอนข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ
ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก
เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่
ดูกรธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๑๖๒๖] ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังครองเรือน
นอนกกลูกอยู่ยังทาจันทน์แคว้นกาสี ยังใช้มาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีทองและเงินอยู่
จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก
เป็นโลกุตตะ ประกอบด้วยความว่าง ตลอดนิตยกาลอยู่ มิใช่กระทำได้โดยง่าย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่แล้วในสิกขาบท ๕ เถิด.

พ. ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ดูกรธรรมทินนะท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลายและข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.

พ. ดูกรธรรมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลอันท่านทั้งหลายพยากรณ์แล้ว.

อธิบาย
“พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้วอันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก
เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่”
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

คำว่า ประกอบด้วยความว่าง
ได้แก่ ว่างจากตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา
เมื่อปฏิบัติตาม ทำให้ละละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ เบาบางลงและทำให้สิ้นสุดลงไปได้ตามลำดับ

วิมุตติญาณทัสสนะ มีเกิดขึ้นขณะมีชีวิตอยู่

วิมุตติญาณทัสสนะ มีเกิดขึ้นขณะมีชีวิตอยู่

แจ้งวิมุตติปาริสุทธิ

๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรม
ตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แลซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ


มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อสาปุคะในแคว้นโกฬิยะ
ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

องค์ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือ
ศีล ๑
จิต ๑
ทิฐิ ๑
วิมุตติ ๑

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น
อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน…ทุติยฌาน…ตติยฌาน…จตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังจิตตปาริสุทธิ
เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองจิตตปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่าทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังทิฏฐิปาริสุทธิ
เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองทิฏฐิปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน
อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
คือ สีลปาริสุทธิ…จิตตปาริสุทธิ…ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว
ย่อมคลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง
ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าวิมุตติปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิ
เห็นปานนี้อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล
อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ


โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากามโยคะ

ก็ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าภวโยคะ

ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ

ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ

บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ
ความพรากจากกามโยคะ ๑
ความพรากจากภวโยคะ ๑
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม ความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ

ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ

ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงในทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ

ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ

ความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้
บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ

อธิบาย

ความพรากจากกามโยคะ ด้วยสีลปาริสุทธิ
ความพรากจากภวโยคะ ด้วยจิตตปาริสุทธิ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ด้วยทิฏฐิปาริสุทธิ(แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง)
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ด้วยวิมุตติปาริสุทธิ(วิชชา ๑ วิชชา ๒ วิชชา ๓)


อุปาทาน ๔
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน?
คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น
พวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ
ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว
มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.

อรหัตมรรค อรหัตผล บรรลุเร็ว

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

อธิบายย่อ

ทุกขาปฏิปทา

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่
คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า

อธิบาย

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ดับเวทนาด้วยปัญญา
ปัจจุบันเป็นอรหัตตมรรค

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
วิชชา ๓ ปรากฏตามจริง
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์ (อรหัตผล)

อรหัตมรรค อรหัตผล

ปัญญาไตรลักษณ์(อนิจจัง/อนิมิตตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
วิชชา ๓ เกิดขึ้นต่อ
อรหัตมรรค อรหัตผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละอัตตวาทุปาทานตามจริง เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตผล)
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

วิมุตติญาณทัสสนะปรากฏตามจริง

สุขาปฏิปทา

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้
คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า

อธิบาย

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ดับเวทนาด้วยสมาธิ
ปัจจุบันเป็นอรหัตตมรรค

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

สุขาปฏิปทา
วิชชา ๓ ปรากฏตามจริง
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์ (อรหัตผล)

อรหัตมรรค อรหัตผล

ปัญญาไตรลักษณ์(อนิจจัง/อนิมิตตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
วิชชา ๓ เกิดขึ้นต่อ
อรหัตมรรค อรหัตผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละอัตตวาทุปาทานตามจริง เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตผล)
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

วิมุตติญาณทัสสนะปรากฏตามจริง


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

อธิบาย
คำว่า มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
ได้แก่
สังโยชนสูตร
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด ๑ ความสงสัย ๑
มานะ ๑ ความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์คือความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. ธรรมสูตร
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม
เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงการกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม
เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงการกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว อย่างไร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้
ภิกษุนั้นได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้แล้วกำจัดอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
สมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ฯ
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือยึดการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ กำจัดอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
สมเป็นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ฯ
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ กำจัดอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
สมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม
ย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์
โดยเหตุเพียงกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว อย่างนี้แล ฯ

เรากล่าวผู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ เห็นทั้งสวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไปแห่งชาติ เป็นมุนี
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้มีไตรวิชชาด้วยวิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์
เราไม่กล่าวบุคคลอื่นผู้มีการกล่าวตามที่เขากล่าวไว้แล้วว่าเป็นพราหมณ์ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. กัลยาณสูตร
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม
เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุดในธรรมวินัยนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามด้วยประการดังนี้ ฯ
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียร
ในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้ ฯ
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม ด้วยประการดังนี้
เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษสูงสุดในธรรมวินัยนี้ ฯ
ภิกษุใดไม่มีการทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
กล่าวภิกษุผู้มีหิรินั้นแลว่า ผู้มีศีลงาม
ภิกษุใดเจริญดีแล้ว ซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันให้ถึงอริยมรรคญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ดีที่ตนได้บรรลุแล้ว
พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
กล่าวภิกษุผู้ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นนั้นแลว่า ผู้มีธรรมอันงาม
ภิกษุใดรู้ชัดซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ของตนในอัตภาพนี้แล
พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
กล่าวภิกษุผู้ไม่มีอาสวะ สมบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านั้น ผู้ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว
ไม่อาศัยละกิเลสทั้งหมดในโลกทั้งปวงว่า ผู้มีปัญญางาม ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๒. สีหนาทวรรค
๑. จูฬสีหนาทสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว.
สมณะ ๔ จำพวก
[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในพระ-
*ศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีใน
พระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
จงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะ
มีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ในโลกนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อะไรเป็นความมั่นใจของ
พวกท่าน อะไรเป็นกำลังของพวกท่าน พวกท่านพิจารณาเห็นในตนด้วยประการไร จึงกล่าว
อย่างนี้ว่า สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีใน
พระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว มีอยู่ ที่พวกเราเห็นธรรมเหล่านี้ในตน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะมี
ในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่
มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน?
๔ อย่าง คือ ความเลื่อมใสในพระศาสดาของพวกเรา มีอยู่ ความเลื่อมใสในพระธรรมมีอยู่
ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีอยู่ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน เป็นที่
น่ารัก น่าพอใจ มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว ที่พวกเราเล็งเห็นธรรม
เหล่านี้ในตน จึงกล่าวอย่างนี้ สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้
สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจาก
พระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ผู้ใดเป็นศาสดาของพวกเรา ความเลื่อมใสในศาสดาแม้ของพวกเรา
ก็มีอยู่ คำสอนใดเป็นธรรมของพวกเรา ความเลื่อมใสในธรรมแม้ของพวกเรา ก็มีอยู่ ธรรม
เหล่าใดเป็นศีลของพวกเรา แม้พวกเราก็กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต
ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แม้ของพวกเรา ก็เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ ผู้มีอายุ ในข้อเหล่านี้
อะไรเป็นข้อที่แปลกกัน อะไรเป็นข้อประสงค์ อะไรเป็นข้อที่กระทำให้ต่างกัน ในระหว่างของ
ท่านและของเราดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอ
พึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ความสำเร็จมีอย่างเดียว หรือมีมากอย่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จมี
อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีมากอย่าง พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ก็ความสำเร็จนั้นเป็นของ
ผู้มีราคะ หรือของผู้ปราศจากราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะ
พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากราคะ มิใช่ของผู้มี
ราคะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น เป็นของผู้มีโทสะ หรือของผู้ปราศจากโทสะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโทสะ มิใช่ของผู้มีโทสะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความ
สำเร็จนั้นเป็นของผู้มีโมหะ หรือของผู้ปราศจากโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญ-
*เดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโมหะ
มิใช่ของผู้มีโมหะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีตัณหา หรือของผู้
ปราศจากตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากตัณหา มิใช่ของผู้มีตัณหา พวกเธอ
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีอุปาทาน หรือของผู้ไม่มีอุปาทาน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ
สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่มีอุปาทาน มิใช่ของผู้มีอุปาทาน พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น
เป็นของผู้รู้แจ้ง หรือของผู้ไม่รู้แจ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะ
พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้รู้แจ้ง มิใช่ของผู้ไม่รู้แจ้ง
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดียินร้าย หรือของผู้ไม่ยินดียินร้าย. ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ
สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่ยินดียินร้าย มิใช่ของผู้ยินดียินร้าย. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จ
นั้นเป็นของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี หรือของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า
มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์
โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้า
เป็นที่มายินดี มิใช่ของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.
ทิฏฐิ ๒
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ คือภวทิฏฐิ และวิภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงภวทิฏฐิเข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่
ภวทิฏฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงวิภวทิฏฐิ เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒
อย่างเหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ
ยังมีตัณหา ยังมีอุปาทาน ไม่ใช่ผู้รู้แจ้ง ยังยินดีและยินร้าย เป็นผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความ
เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวกเขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย
ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับคุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒ อย่าง
เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีและยินร้าย มีความ
ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวกเขา ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา
มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่าย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
อุปาทาน ๔
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
โดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ
ความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น
พวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทาน
ทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ
ความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณ-
*พราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้
อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้
อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความ
รอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขา
จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
โดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้
สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสใน-
*ศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความ
เลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เราไม่
กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า
ไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออก
จากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะว่า
รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อม
บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ย่อมบัญญัติความรู้สีลัพพัตตุ-
*ปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด
ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรา
กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ในพระ-
*ธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใส
ในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความ
สงบอันท่านผู้รู้เองโดยชอบประกาศแล้ว.
เหตุเกิดอุปาทานเป็นต้น
[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ
เกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ
มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่า
มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิดมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ตัณหามีเวทนา
เป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะ
เป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ
มีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น-
*แดนเกิด? นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณ
เป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขาร
เป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชา
เป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุ
ละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้เพราะวิชชา
บังเกิดขึ้น ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นสีลัพพัตตุปาทาน
ย่อมไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน
นั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของ-
*พระผู้มีพระภาค แล้วแล.

อรหัตมรรค อรหัตผล บรรลุช้า

อรหัตมรรค อรหัตผล บรรลุช้า
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

อธิบายแบบย่อ

ทุกขาปฏิปทา

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน

อธิบาย

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ดับเวทนาด้วยปัญญา
ปัจจุบันเป็นอรหัตตมรรค

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ (บรรลุช้า) ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

สุขาปฏิปทา

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน

อธิบาย

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ดับเวทนาด้วยสมาธิ
ปัจจุบันเป็นอรหัตตมรรค

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

สุขาปฏิปทา
ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ (บรรลุช้า) ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

สอุปาทิเสสนิพพาน(อรหัตมรรค)

๗. กามสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ เป็นอาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
ยังประกอบด้วยภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคล ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจากภวโยคะ เป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะและภวโยคะ ย่อมไปสู่สงสารซึ่งมีปรกติถึงความเกิดและความตาย
ส่วนสัตว์เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบด้วยภวโยคะ สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพระอนาคามี
ส่วนสัตว์เหล่าใด ตัดความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

๑๐. ภวสูตร
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ นี้ควรละ
ควรศึกษาในไตรสิกขา
ภพ ๓ เป็นไฉน
คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ ๓ นี้ควรละ
ไตรสิกขาเป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ควรศึกษาในไตรสิกขานี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภพ ๓ นี้ เป็นสภาพอันภิกษุละได้แล้วและเธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้
เมื่อนั้นภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ

อธิบาย
คำว่า ละมานะ
ได้แก่ ละสักกายทิฏฐิ ละอัตตานุทิฏฐิ

๑๒. ทิฏฐิสูตร
[๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฐิ ๒ อย่างพัวพันแล้ว บางพวกย่อมติดอยู่ บางพวกย่อมแล่นเลยไป ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ
เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ บางพวกย่อมติดอยู่อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไรเล่า
ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อใด ตนนี้ เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก นี้ละเอียดนี้ประณีต นี้ถ่องแท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้วในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วและธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปในนิพพานตามความเป็นจริง เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป
ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

อธิบาย

“เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป”
คำว่า ภวตัณหา
ได้แก่ ภวสังโยชน์ ภวโยคะ ภวราคะ ภวตัณหา ภวาสวะ
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า กำหนัด
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ในรูปฌาน อรูปฌาน

“ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้
ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ภพใหม่”

คำว่า ภพน้อย
ได้แก่ รูปภพ

คำว่า ภพใหญ่
ได้แก่ อรูปภพ

คำว่า ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่
ได้แก่ กามภพ(มนุษย์)


สังขตสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ


๗. ธาตุสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวย อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ

อธิบาย
คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
ได้แก่ ดับภวตัณหา
ละความกำหนัดติดใจในรูปฌาน ดับรูปภพ
ละความกำหนัดติดใใจในอรูปฌาน ดับอรูปภพ

ผัสสะ เวทนา
คำว่า เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ
ได้แก่ อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
สภาวะที่มีเกิดขึ้นของโลกธรรม ๘

คำว่า ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
ได้แก่ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ปรากฏอยู่ภายในพอประมาณ
ไม่มีการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก เพราะมีปัญญาเกิดขึ้นในตน แจ้งอริยสัจ ๔

อนาคามิมรรค อนาคามิผล บรรลุเร็ว

อนาคามิมรรค อนาคามิผล บรรลุเร็ว
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

อธิบายย่อ

ทุกขาปฏิปทา บรรลุเร็ว

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเทียว เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ

อธิบาย

กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี
ดับเวทนาด้วยปัญญา
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
วิชชา ๒ ปรากฏตามจริง
เข้าถึงอนาคามิผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
ได้แก่ พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหันตมรรค)

อนาคามิมรรค อนาคามิผล

ปัญญาไตรลักษณ์(อนัตตา/สุญญตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
วิชชา ๒ เกิดขึ้นต่อ
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละอัตตานุทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
สอุปาทิเสสนิพพาน

ทุกขาปฏิปทา
ปัจจุบันยังไม่ได้อรหัตตผลตามจริง(บรรลุช้า)
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีอุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

สุขาปฏิปทา บรรลุเร็ว

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌานฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา … ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ … ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ

อธิบาย

กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี
ดับเวทนาด้วยสมาธิ
ปัจจุบันเป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

สุขาปฏิปทา
วิชชา ๒ ปรากฏตามจริง

เข้าถึงอนาคามิผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
ได้แก่ พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหันตมรรค)

อนาคามิมรรค อนาคามิผล

ปัญญาไตรลักษณ์(อนัตตา/สุญญตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
วิชชา ๒ เกิดขึ้นต่อ
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละอัตตานุทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
สอุปาทิเสสนิพพาน

สุขาปฏิปทา
เป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
ปัจจุบันยังไม่ได้อรหัตผลตามจริง(บรรลุช้า)
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป


อนาคามิมรรค อนาคามิผล บรรลุช้า

อนาคามิมรรค อนาคามิผล บรรลุช้า

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

อธิบายแบบย่อ

ทุกขาปฏิปทา

บุคคลที่ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯ ในสัมมาสมาธิ
หลังได้โสดาปัตติผลตามจริง

ได้แก่ กายสักขี
ความไม่รู้ที่มีอยู่ ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรุษ มาก่อน
การคลุกคลีในหมู่คณะ ทำให้กำลังสมาธิที่มีอยู่ เนวสัญญาฯ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ
และลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับในภพชาติของการเกิดปัจจุบัน
ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ
ปัจจุบันเป็นอนาคามี ดับเวทนาที่มีเกิดขึ้น ด้วยปัญญา อริยสัจ ๔ ตามจริง

อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะ
ภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน?
คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ
นี้เรียก ว่า ทุกขอริยสัจ.
[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

มหาวรรคที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย… คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้นในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้วในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ย่อมหมุนเวียนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้นในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้วในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุนเวียนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย… คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

ผัสสะ เวทนา
สิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผลของกรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีต ส่งมาให้รับผล(วิบากรรม)
มาในรูปแบบของเวทนา ที่มีเกิดขึ้น
อดทน อดกลั้น ไม่สานต่อ คือไม่มีการกระทำกรรมให้มีเกิดขึ้น
โดยการไม่ปล่อยออกมาทางกาย วาจา เป็นการไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ …
ฟังเสียงด้วยหู …
สูดกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้ระงับไป
กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก…
วิหิงสาวิตก …
ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ

เมื่อปฏิบัติตาม สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้

ทุกขาปฏิปทา บรรลุช้า

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

อธิบาย

กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี
ดับเวทนาด้วยปัญญา
ปัจจุบันเป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
ปัจจุบันยังไม่ได้อนาคามิผลตามจริง(บรรลุช้า)
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ
อินทรีย์ ๕ ประการคือ สัทธินทรีย์ … ปัญญินทรีย์ … ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอเมื่อกายแตก จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ

สุขาปฏิปทา บรรลุช้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้
คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

อธิบาย

กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี
ดับเวทนาด้วยสมาธิ
ปัจจุบันเป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ผู้ที่ยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

สุขาปฏิปทา
เป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)
ปัจจุบันยังไม่ได้อนาคามิผลตามจริง(บรรลุช้า)
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌานฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ …
ปัญญินทรีย์
ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอเมื่อกายแตก จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุเร็ว)

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุเร็ว)
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

อธิบายแบบย่อ

นิวรณ์มาก บรรลุเร็ว

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน

ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ กสิณ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
เจริญวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เจริญสมถะและวิปัสสนา ใช้ทั้งมีบัญญับัติเป็นอารมณ์และมีรูปนามเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
โคตรภูญาณปรากฏตามจริง
วิชชา ๑
โสดาปัตติผลตามจริง (บรรลุเร็ว)
ได้แก่
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี

วิชชา ๑
มีเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
กำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้ จะไม่มีความรู้เห็นนี้มีเกิดขึ้น

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง

วิชชา ๑(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด
ละความสงสัย
ละสีลัพพัตตปรามาส
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

หากทำความเพียรต่อ ยังไม่เข้าถึงอนาคามิผล
เมื่อทำกาละ
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป


นิวรณ์น้อย บรรลุเร็ว

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน

ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ กสิณ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
เจริญวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เจริญสมถะและวิปัสสนา ใช้ทั้งมีบัญญับัติเป็นอารมณ์และมีรูปนามเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
โคตรภูญาณปรากฏตามจริง
วิชชา ๑
โสดาปัตติผลตามจริง (บรรลุเร็ว)
ได้แก่
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง

วิชชา ๑(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด
ละความสงสัย
ละสีลัพพัตตปรามาส
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

หากทำความเพียรต่อ ยังไม่เข้าถึงอนาคามิผล
เมื่อทำกาละ
พระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

อธิบาย

แม้จะมีไตรลักษณ์ปรากฏ
หากโคตรภูญาณ ไม่มีเกิดขึ้น
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง

แม้จะมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏกับตนก็ตาม
หากโคตรภูญาณ ไม่มีเกิดขึ้น
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง


ตรงนี้เป็นความรู้ความเห็นเฉพาะบุคคลกายสักขี
ที่ปฏิบัติได้เนวสัญญา จะมีความรู้ความเห็น ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ส่วนบุคคลอื่น
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ที่มีกำลังสมาธิต่ำกว่าเนวสัญญาฯ
วิชชา ๑ จะไม่มีเกิดขึ้นและไม่มีความรู้ความเห็นตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

“นิพพาน ดับภพ”

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ
วิชชาข้อแรก เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

อริยสัจ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ
แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน
เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ) การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา) การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ) การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ(สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว ว่าเหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้

สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน?
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …
บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

พระโสดาบัน อินทรีย์ ๕ แก่กล้า บรรลุเร็ว มีทั้งหมด 96 ประเภท ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุช้า)

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุช้า)

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

อธิบายแบบย่อ

นิวรณ์น้อย บรรลุช้า

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน

ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ กสิณ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
เจริญวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เจริญสมถะและวิปัสสนา ใช้ทั้งมีบัติเป็นอารมณ์และวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

สุขาปฏิปทา
หากยังไม่เข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
อาศัยการทำความเพียรตลอดชีวิต
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

คำว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

คำว่า พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

นิวรณ์มาก บรรลุช้า

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน

ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ กสิณ พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ
เจริญวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เจริญสมถะและวิปัสสนา ใช้ทั้งมีบัติเป็นอารมณ์และวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ทุกขาปฏิปทา
หากยังไม่เข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
อาศัยการทำความเพียรตลอดชีวิต
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

คำว่า สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

คำว่า พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม


ทุกขาปฏิปทา

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
รูปฌาน อรูปฌาน
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
มี 8 ประเภท

ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
รูปฌาน อรูปฌาน
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
มี 8 ประเภท

สุขาปฏิปทา

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
รูปฌาน อรูปฌาน
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
มี 8 ประเภท

ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
รูปฌาน อรูปฌาน
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
มี 8 ประเภท

สมถะ 32 ประเภท วิปัสสนา 32 ประเภท สมถะและวิปัสสนา 32 ประเภท รวมทั้งหมด 96 ประเภท


บุคคลที่รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
และรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏตามความเป็นจริง
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นในรูปแบบของเวทนากล้า

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน
เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ


รูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับคือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

Previous Older Entries

ตุลาคม 2023
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  

คลังเก็บ