สูบบุหรี่และกินหมาก

บางคนมีคำพูดทำนองนี้ ตั้งคำถามไว้
พูดเรื่องพระติดบุหรี่เพราะอะไร?!
โดยอ้างว่าพระอรหันต์จะไม่ติดใจในรสชาติของการสูบบรี่รวมทั้งติดหมาก
หากยังติดใจในการสูบบุหรี่และกินหมาก ไม่ใช่พระอรหันต์

คำตอบ
ไม่จำเป็นต้องพูดเรื่องพระอรหันต์หรอก
ใครอยากสูบก็สูบไป ร่างกายของคนนั้น

เป็นหอบหรือการเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่ ก็เลือกกันเอง ทำกันเอง
ถือว่าคำพูดเรื่องสูบบุหรี่ก็ตกลงไป
ไม่ต้องมาสร้างวาทะเรื่องสูบบุหรี่และเรื่องกินหมาก
เป็นความชอบส่วนตัว

ตัณหามี ๓
กามตัณหา
กามาสวะ ความติดใจ ทางผัสสะ เวทนา มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ภวตัณหา
ภวาสวะ ความติดใจในขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
รวมทั้งเรื่องฤทธิ์ที่เกิดจากกำลังสมาธิ
วิภวตัณหา
อวิชชาสวะ ความไม่รู้ ไม่แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทาน ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

ด้วยเหตุนี้จึงบอกว่าให้ทิ้งไปเรื่องพระอรหันต์
ผัสสะมองเห็นแค่เปลือก
ไม่สามารถจะรู้ได้หรอกว่าสิ่งที่มองเห็นน่ะคนไหนเป็นพระอรหันต์

มีแต่อุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕
หากยังพูดเรื่องพระอรหันต์ นั่นยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ไม่ได้

สนทนาลานธรรมจักร

เข้าเวปสนทนาธรรมจักรไม่ได้ คือลีมระหัส
ครั้งก่อนทำให้เข้าได้ ครั้งนี้เข้าไม่ได้

เราได้เขียนเรื่องการเห็นความเกิดและความดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ(สัญญาเวทยิตนิโรธ)
“เรื่องสมาธิ หากเข้าถึงสภาวะนั้นๆ
รายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ไม่ใช่เรืองสำคัญต่อไปอีก
ดิฉันจะเน้นการเห็นความเกิดดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
หากผู้ปฏิบัติสามารถรู้ทัน มีเห็นความเกิดดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ทำให้ผู้นั้นจะสามารถรู้ได้ว่าสภาวะของตนนั้นอยู่ตรงไหน
เริ่มต้นจะรู้ตรงนี้ก่อน
เริ่มจากความเกิด ขณะกำลังเกิด และขณะดับในรูปฌาน
แรกจะรู้แบบหยาบๆก่อน
ความรู้ความเห็นจะมีเกิดขึ้นตามลำดับ”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=51021&sid=40a4068c42e85eb5633b020667e7e444&start=270

มีคนหนึ่งมาเขียนอธิบายในสิ่งที่เราเขียนไว้ ประมาณนี้
“ความรู้ตาม กะความเห็น นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างมากค่ะ เวลาที่ปรากฎ
เมื่อมีการเกิด ขณะเกิด และขณะดับไป
เมื่อมองไป เหมือนเทียน ที่จุดไฟ ที่ค่อยๆเผาตนเอง จนดับไป
เรียกว่า การรู้ตาม
แต่เมื่อมีการเกิด มีสติความรู้สึกตัวอยู่ มีจิตระลึกได้สัมปชัญญะ อยู่พร้อม
เทียนที่จุดไฟ จะดับลงทันที เหมือนเป่าดับไป
แบบนี้เรียกว่าการเห็นค่ะ
เมื่อมีการเห็น ความเข้าใจ ความรู้จริง และ ต่อด้วยรู้แจ้ง จะค่อยๆแง้มออกค่ะ”

สิ่งที่เขาเขียนบรรยายไว้
เกิดจากเขาไม่เข้าถึงสภาวะที่เราเขียนไว้
คือรู้แค่ไหน ก็เขียนอธิบายได้แค่ไหน

เมื่อไม่รู้ทันในสิ่งที่ตนเขียน
ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ
ประมาณว่า “ฉันรู้มากกว่าเธอนะ เธอน่ะไม่รู้อะไรเลย”
ทั้งๆที่สิ่งที่เขาเขียนมานั้น “ผู้เห็นความเกิดดับเหมือนเปลวประทีป”
ลอกมาจากพระสูตรเป็นสภาวะของกีสาโคตมีเถรี
การลอกมาเขียนกับการเข้าถึงสภาวะนั้นด้วยตน
การเขียนอธิบายจึงแตกต่างกันสิ้นเชิง

เอาล่ะ เราจะอธิบายให้ฟังในสิ่งที่เขาเขียนไว้
ข้อแรก เขาไม่เข้าใจคำว่าเห็น ที่เราเขียนไว้
คำว่าเห็นที่เราเขียนไว้นั้น เป็นการรู้ด้วยใจ มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ
ไม่ใช่เห็นด้วยตาหรือจากการท่องจำหรือไปลอกมาแล้วนำมาโพส
ประมาณว่าตนรู้ตนเห็นสิ่งที่เขียนนั้น รู้ด้วยตัวเอง

ส่วนตรงนี้ที่เขาเขียนไว้
“เมื่อมองไป เหมือนเทียน ที่จุดไฟ ที่ค่อยๆเผาตนเอง จนดับไป”
สิ่งที่เขาเขียน ไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
คือสอนหรือพูดให้คนอื่นเข้าใจในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ต้องจินตนาการเอาเอง คือใช้ความคิด
จึงไม่ใช่ของการเข้าถึงสภาวะนั้นๆ

ตรงนี้ที่เขาเขียนไว้
“ความรู้ตาม กะความเห็น นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างมากค่ะ”
ซึ่งเราสามารถบอกได้ทันทีว่า แน่นอน
สิ่งที่เขาเขียนกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นที่เราเขียน
แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
สิ่งที่เขาเขียนมานะ เรียกว่าจิตนาการ
คือคิดเอาเอง แต่ไม่ได้เกิดจากผลการปฏิบัติ
หรือปฏิบัติ แต่ยังเข้าไม่ถึง จึงคิดเอาเองว่าตนนั้นเข้าถึง
ยกตย. ความเกิด ขณะเกิด ความดับในรูปฌาน
และขณะกำลังสมาธิในรูปฌานที่มีอยู่ คลายตัวลง

ข้อสอง
เขาไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ มาก่อน
เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
เมื่อเขาไม่เคยสดับ ทำให้เขาเกิดความสำคัญในสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
คือคาดเดาเอาเองว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นสภาวะที่มีชื่อเรียกว่านี้ๆ

ข้อสาม
เขายังเข้าไม่ถึงสภาวะนั้นๆ
หากเข้าถึงจะมาเขียนอธิบายแบบนั้นหรอก

ทีนี้พอจะเข้าใจไหมว่า คำว่าแจ้งที่เขานำมาเขียนน่ะ มันไม่ใช่หรอก
การเห็นแจ้ง จะรู้ด้วยใจ รู้จากผลของการทำกรรมฐาน
และเข้าถึงสภาวะนั้นๆ เช่น รูปฌาน ที่เราได้เขียนไว้

การเห็นความเกิด ขณะกำลังเกิด ขณะดับและสมาธิคลายตัวในรูปฌาน
ความรู้ความเห็นนี้ มีเกิดขึ้นเฉพาะรูปฌานเท่านั้น
ไม่ต้องเขียนปรุงแต่งอะไรมากมาย เขียนตรงๆสภาวะที่มีเกิดขึ้น
คือ ขณะนั่งอยู่ มีแสงสว่างเกิดขึ้น และรู้กายที่นั่งอยู่
(แสงสว่างมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ)
เมื่ออินทรีย์สมดุลย์ จะเห็นความเกิดดับที่มีเกิดขึ้นของรูปฌาน
คือ แสงสว่างและกายที่นั่งอยู่ แล้วดับ
เหมือนปิดสวิทซ์ไฟ
เมื่อสมาธิคลายตัว จะมารู้กายที่นั่งอยู่

เห็นไหมว่าความแตกต่างกันชัดเจน ไม่ต้องพูดอะไรมาก
ยกตย.ของผู้ปฏิบัติ
ก่อนนอน เขาจะนั่งอย่างเดียว ๑ ชม.
ตอนเช้า เขาจะเดินจงกรม ครึ่งชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
นี่คือสภาวะมีเกิดขึ้นกับเขา
“เมื่อคืนนั่งไปหายไป50นาทีแต่ไม่ได้หลับนะคะตั้งนาฟิกาไว้60นาที
พอรู้ตัวก็มาดูพองยุบต่อก่อนหายไปมีเวทนาร้อนวูปวาบค่ะอจ แล้วหลับเลย
อาการเหมือนหลับค่ะแต่คอไม่พับนั่งปกติ

ได้ถามเขาว่า แล้วคุณรู้ได้ยังไงว่าเวลาหายไป50นาทีน่ะ

เขาตอบว่า ตั้งนาฟิกาปลุกไว้60ค่ะ
แล้วดูพองยุบไปประมาณ5นาทีพอเกิดอาการร้อนทั่วตัววูปวาบแล้วหายไปค่ะ
มาตื่นอีกทีก็ดูพองยุบอีก5นาทีหมดเวลาพอดีค่ะ รู้สึกว่า60นาทีไวมากก

ได้ถามเขาว่า มีเกิดขึ้นบ่อยไหม

เขาตอบว่า เกิดมาแบบนี้ครั้งที่สามค่ะ”

นี่คือลักษณะอาการเห็นความเกิดและความดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน

อาการวูบวาบที่เขาอธิบายไว้
คำว่าวูบ คืออาการของจิตตกภวังค์
คำว่าวาบ คืออาการของจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ตือขณะนั้นสติดี จึงรู้ทันอาการที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ
จิตตกภวังค์ อาการที่มีเกิดขึ้น วูบ
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ อาการที่มีเกิดขึ้น วาบ

ส่วนตรงนี้ ที่เขาเขียนไว้
“เมื่อมีการเห็น ความเข้าใจ ความรู้จริง
และ ต่อด้วยรู้แจ้ง จะค่อยๆแง้มออกค่ะ”
ที่เขาเขียนอธิบายแบบนี้
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้น

เมื่อมีความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
อุปาทานย่อมมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ ปรุงแต่งจะตามมา ตามที่เขาเขียนไว้แถมลอกมาอีก

สิ่งที่เขาเขียนอธิบายมานั้น
ไม่ใช่การกระทำเพื่อดับทุกข์ มีแต่การปรุงแต่งตามใจตัวเอง
และเชายังไม่เข้าสภาวะที่เราเขียนเรื่องความเกิดและความดับ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่านิโรธที่เราเขียนนั้น เป็นสภาวะของสัญญาเวทยิตนิโรธ
คือมีการเข้าถึงสภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะตามลำดับ
จากรูปฌาน อรูปฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ มีเกิดขึ้นตามลำดับ

ที่ได้เขียนไว้ถึงสภาวะที่มีเกิดขึ้นของผู้ปฏิบัติ
ทำนองว่าเป็นรูปฌานที่มีเกิดขึ้น
เป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
เพราะสภาวะเหล่านี้ที่มีเกิดขึ้น สามารถเสื่อมได้ จึงไม่ฟันธงลงไป

การเห็นความเกิดและดับ
ขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
เป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าเป็นปัญญา

เมื่อปฏิบัติเข้าถึง จะทำให้เกิดความมั่นคงทางใจมีเกิดขึ้น
ทำนองว่าไม่ผิดทาง คือเชื่อพระพุทธเจ้า และไม่สงสัย
เกิดจากมีโอกาสได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษมาก่อน

เห็นไหม การเห็นจากการอ่าน ท่องจำ นำมาพูดหรือลอกแล้วนำโพส
กับการเห็นด้วยใจ จะรู้ชัดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ
ความรู้ความเห็นจะแตกต่างกันสิ้นเชิง

ถ้าคนนี้ปฏิบัติกับเรา
เราจะบอกว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ให้กำหนดตามจริง อย่านำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เมื่อนำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เกิดจากเคยอ่าน เคยฟัง แล้วท่องจำจนขึ้นใจ
ฟันธงปักใจเชื่อสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แล้วนำเปรียบเทียบกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน
ทำให้อุปกิเลสมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
ทำให้สภาวะจมแช่ไปไหน
เราปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อความเป็น ที่อยากเป็นตามที่เคยอ่านหรือฟังมา
หากยังละความอยากเป็นนั้นๆไม่ได้
สิ่งที่คิดไว้จะเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถจก้าวไปข้างหน้าได้เลย
และทำให้เกิดการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
คือลอกตัวหนังสือ แล้วนำมาโพส

ทำเหมือนตนรู้ตนเห็นด้วยตัวเอง
เรียกว่ายังขาดหิริโอตัปปะ
ขาดความละอายใจต่อการกระทำของตน
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

พระอนาคามี

พระอนาคามี

หากได้อ่านตั้งแต่แรกเริ่มเรื่องอนาคามีที่เราได้เขียนรายละเอียดไว้
น่าจะเข้าใจมากขึ้นเรื่องอนาคามี
ไม่ใช่เป็นอนาคามี แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
ยกตย.เด็กในข่าวชื่อน้องไนซ์
ที่พูดทำนองว่า ตัวเองอนาคามีมาก่อน(ชาติก่อน)
แล้วกลับชาติมาเกิดเป็นอนาคามีต่อ
ที่น้องพูดแบบนี้เกิดจากขาดการศึกษาในพระธรรม

ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องพระอนาคามี
ไม่มีหรอกนะ ที่เด็กบอกว่าเป็นอนาคามีมาก่อน แล้วตาย
แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษ์อีก
ไม่มีหรอกนะ ไม่มีแน่นอน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจน
พระอนาคามี มีเกิดขึ้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง
บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้


ดีใจอีกเล็กน้อย
ที่สามารถสะสมพระสูตรที่ควรรู้
แม้จะค่อยๆรู้ก็ตาม
แต่ก็ทำให้รู้สึกดีใจได้เหมือนกัน
ประมาณว่า นั่นหมายถึงสิ่งที่เราทะยอยเขียนมาเรื่อยๆ
ค่อยๆเป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้ และปฏิบัติตามได้
โดยมีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
เป็นเสมือนแผนที่ ทำให้ไม่ไปสนใจข้างนอก
ข้างนอก สิ่งที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ล้วนเกิดจากการกระทำของตน
ผลของกรรมมาในรูปแบบของเวทนา โลกธรรม ๘
ที่เกิดเป็นทุกข์ เกิดจากยังขาดปัญญา ยังไม่มีปัญญามีเกิดขึ้นในตน
เกิดจากไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษมาก่อน
หากเคยได้สดับธรรมมาก่อน
อย่างน้อย ทุกข์ที่มีเกิดขึ้น ย่อมเบาบางลง
เพราะมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง
ทำให้สามารถรับมือกับผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ
ตั้งแต่ลืมตา(ตื่น) จนกระทั่งหลับลง


เรื่องพระอนาคามีและวิธีการปฏิบัติ เคยเขียนไว้แบบคร่าวๆ
เรื่องวิธีการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ

วิธีการปฏิบัติ

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

.
เทวตาวรรคที่ ๒
อนาคามิสูตร
[๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ความเป็นผู้ไม่มีหิริ ๑
ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑
ความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑
ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑
ความเป็นผู้มีปัญญาทราม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ความเป็นผู้ไม่มีหิริ ๑
ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑
ความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑
ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑
ความเป็นผู้มีปัญญาทราม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ

.
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4083&Z=4299

.

สมถะและวิปัสสนา

  • สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์
    ในที่นี้หมายเอาเฉพาะรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
  • วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
    ในที่นี้หมายเอาเฉพาะรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
  • สมถะและวิปัสสนา ควบคู่กัน
    ในที่นี้หมายเอาเฉพาะรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
  • สมถะล้วนๆ
    กามเหสสูตรที่ ๑
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9604&Z=9623
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น รูปฌาน อรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ อีกส่วน
    มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง อีกส่วน
    ยถาภูติญาณทัสสนะ
  • วิปัสสนาล้วนๆ
    กามเหสสูตรที่ ๒
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9624&Z=9635…
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น รูปฌาน อรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ อีกส่วน
    มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง อีกส่วน
    ยถาภูติญาณทัสสนะ
  • สมถะและวิปัสสนา ควบคู่กัน
    สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง
    วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง
    สมถะและวิปัสสนามีเกิดขึ้นสลับกันไปมา
    กามเหสสูตรที่ ๓
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9636&Z=9649…
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น รูปฌาน อรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ อีกส่วน
    มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง อีกส่วน
    ยถาภูติญาณทัสสนะ

.

  • บรรลุช้า ปฏิบัติตลอดชีวิต
    มีเรื่องกรรมและผลของกรรม และอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
    สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ
    ฌานสูตรที่ ๑
    https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3451&Z=3504…
  • บรรลุช้า ปฏิบัติตลอดชีวิต
    มีเรื่องกรรมและผลของกรรม และอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
    สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิและมีไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง
    ฌานสูตรที่ ๒
    https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3505&Z=3525…
  • บรรลุช้าและบรรลุเร็ว
    มีเรื่องกรรมและผลของกรรม และอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
    สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิและมีไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง
    ฌานสูตร
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9041&Z=9145

.

ผลของการปฏิบัติตาม บรรลุบุรรลุช้าและเร็ว

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี
คือ หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.
[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.
[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น
ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.
[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.
[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?
[๓๘๒] คือ
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุไม่ได้
เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๖) ถ้าในปัจจุบัน ก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.
.
พระสูตรเหล่านี้ ล้วนเป็นจิ๊กซอที่ได้สะสมเก็บไว้ในหลายปี
ค่อยๆเจอที่ละพระสูตร ไม่ได้เจอแบบเป็นกลุ่มก้อน
พระสูตรแรกที่เจอ คือ ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ซึ่งเป็นความรู้เห็นของสัปบุรุษ
บุคคลนี้ได้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
มีสภาวะเหล่านี้ตามในพระสูตรนั้น มีเกิดขึ้นในตนตามจริง


การเขียนรายละเอียดเรื่องพระอนาคามี
และลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น
มีเกิดขึ้นมาตั้งแต่หลังเข้ารพ. นอนรพ. มีอาการหัวใจล้มเหลว หมดสติ
ต่อจากนั้นค่อยๆเจอจิ๊กซอพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องพระอนาคามี
พอจะคร่าวๆได้ว่า พระอนาคามี แบ่งใหญ่ๆมี ๒ ประเภท
บรรลุช้าและบรรลุเร็ว
มีเกิดขึ้นตอนมีชีวิตอยู่ และหลังเสียชีวิต
แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท
เพราะมีเรื่องของอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสัมมาสมาธิ
และมีเรื่องของกรรมเก่าที่เคยกระทำไว้(มิจฉาสมาธิ)
และกรรมใหม่ ที่กำลังกระทำอยู่( อินทรีย์ ๕ สัมมาสมาธิ)

.
การที่เราได้เขียนมาเรื่อยๆ จะมีเหตุให้เจอพระสูตรในแต่ละสูตร
ค่อยๆเจอ ไม่ได้เจอทันทีทั้งหมด
ที่สำคัญ บุคคลนั้นต้องเข้าถึงสภาวะนั้นๆตามจริงด้วยการปฏิบัติ
ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ แล้วนำมาเขียนหรือนำมาพูด
หากไม่ได้พระสูตร จะไม่สามารถอธิบายได้เลย
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะดับเฉพาะตน
ไม่สามารถย่อหรือขยาย รายละเอียดของสภาวะที่มีเกิดขึ้น

.
พูดเรื่องกรรมเก่า และกรรมใหม่
ก็ต้องอาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอธิบายกับพระสารีบุตร
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

กรรมเก่า
“บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
ย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

.
กรรมใหม่
“ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้น
แล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ”
คำว่า ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ปรินิพพานบนโน้น

” บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว”
หมายถึงเป็นบุคคลที่ได้สดับธรรม
จากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ประกอบด้วยได้สิกขา ๓ และปฏิบัติตาม
ตัวแปรของสภาวะคืออินทรีย์ ๕
โดยเฉพาะสัมมาสมาธิและปัญญา
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ(สีลปาริสุทธิ)
ปัญญาไตรลักษณ์
ปัญญา แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง

.
การอธิบายรายละเอียด
จะอธิบายเรื่องวิธีการปฏิบัติเริ่มจาก ศิลและสีลลัพพตปรามาส
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติตาม ทำให้จากศิล มาเป็นสีลปาริสุทธิ
สภาวะสัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้น แม้จะไม่รู้จักคำเรียกก็ตาม
ปาริสุทธิเกิดจากการปฏิบัติตามบุคลลเหล่านี้ คือพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ทำให้ค่อยละๆกามุปาทานที่มีอยู่ เบาบางลง
ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ เบาบางลงโดยตัวของสภาวะ

เมื่อมาทำกรรมฐาน
อาศัยผู้ที่ผ่านเส้นทางนี้มาก่อนและปฏิบัติตาม
คือการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ส่วนจะเจอใครเป็นคนแนะนำ ขึ้นอยู่กับกรรมและผลของกรรม
คือกรรมเก่าที่เคยกระทำไว้และกรรมใหม่ที่ได้กระทำขึ้นมาใหม่
ส่วนผลของการปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕

โดยเฉพาะวิริยะ ทำมากแต่ขาดผู้แนะนำ
ทำให้ปฏิบัตินั้นกลายเป็นทุกข์ไป
เกิดจากความสงสัยในสภาวะที่มีเกิดขึ้น นิวรณ์ครอบงำ
เพราะผู้ที่มาแนะนำ มีความรู้แค่ไหน ย่อมพูดและอธิบายได้แค่นั้น
ให้พูดมากกว่านี้ ทำไม่ได้หรอก เพราะสภาวะนั้นๆ ตนยังไม่เข้าถึง
ยกตย. ผู้ปฏิบัติได้รูปฌาน จะให้พูดเรื่องอรูปฌาน ทำไม่ได้หรอก
ผู้ปฏิบัติได้อรูปฌาน จะให้พูดเรื่องนิโรธสมาบัติ ทำไม่ได้หรอก

เพราะผู้ที่อธิบายได้ ต้องมีสภาวะเกิดขึ้นในตนก่อน
คือเห็นความเกิด ขณะกำลังเกิด และดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ

หากสภาวะนั้นๆไม่มีเกิดขึ้นในตน
จะไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นปฏิบัติตามได้หรอก
จะโทษใคร ต้องโทษตัวเอง
สิ่งที่ตนกระทำไว้ในแต่ละขณะๆ ขณะดำเนินชีวิต คือศิล
โดยเฉพาะการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ เป็นตัวแปร
การฟังธรรมจากพระอริยะ จะมีความรู้เห็นเรื่องการรักษาศิลต่างๆ
การฟังธรรมจากสัตบุรุษ
เป็นผู้ที่ปฏิบัติมีสมาบัติ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
จนกระทั่งเข้าธรรม โสดาปัตติมรรค โสดาปัติผล ตามจริง

โดยมีหลักฐานจากพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
จะมีความรู้เห็นเรื่องกรรมและผลของกรรม
สภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน นำมาเล่าให้คนอื่นฟัง
ผู้ที่ฟัง เคยสร้างกรรมในอดีตกับบุคคลนั้น เคยเชื่อกัน
มาในชาติปัจจุบันมาเจอกัน พอได้ฟัง ก็เชื่อกันอีกและปฏิบัติตาม
การฟังธรรมจากสัปบุรุษ เป็นผู้ที่แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตน
ย่อมพูดเรื่องผัสสะ เวทนา
และวิธีการกระทำเพื่อดับภพชาติของการเกิดปัจจุบัน

ผลของการปฏิบัติตามบุคคลเหล่านี้
ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ เบาบางลง
เมื่อมาทำกรรมฐาน นิวรณ์ ย่อมน้อยลง
จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีโอกาสที่จะเป็นสัมมาสมาธิ
เพราะบุคคลเหล่านี้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
สภาวะเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน


เมื่อวาน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน
บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาท
ของวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว
ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน๑-
และบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอก๒-
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว
ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป)
มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๓-
เธอจุติจากอัตภาพนั้น เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นบรรลุเจโตวิมุตติที่สงบอย่างใดอย่างหนึ่ง
ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๑-
เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกามทั้งหลาย
ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพทั้งหลาย
เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นความโลภ
หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้

= ตรงนี้จะนำมาอธิบายอีกที=

.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
[๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระ
สารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนคร
สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อแตกกายตายไป
ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน
เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ
ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรนั่นกำลังเทศนา
ถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอกแก่ภิกษุทั้งหลาย
อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณา
เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับคำอาราธนาด้วยดุษณีภาพ
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระเชตวันวิหาร
ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร
ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร
เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่
ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย
อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด
ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง
๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง
๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง
แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น
ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาส
แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง … ๖๐ องค์บ้าง
เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน
ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้
ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น
ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก
แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง
เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ
สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้นแหละ
สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิต
ที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย
ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ
ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ

= อธิบาย =
ข้อแรก ภายใน ผัสสะ เวทนา
“ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อแตกกายตายไป
ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน
เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ”

ตัวแปรของสภาวะคือ โอรัมภาคิยสังโยชน์
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตร
เรื่องเนวสัญญาฯที่ป็นมิจฉาสมาธิ

.
ข้อที่สอง
“ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ”

ภายนอก
ตัวแปรของสภาวะคือ โอรัมภาคิยสังโยชน์

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตร
เรื่องเนวสัญญาฯที่ป็นสัมมาสมาธิ
คือภายนอกหรือภายใน ตัวแปรคือ โอรัมภาคิยสังโยชน์
โดยเฉพาะสัมมาสมาธิสำคัญที่สุด
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอธิบายให้พระสารีบุตรฟังแล้ว
ในพระสูตร สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

เอาจริงๆนะ หากสภาวะเหล่านี้ไม่มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน
เราก็ไม่สามารถจะเข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตร
เพราะเราเคยตายในอดีตชาติ ในชาติที่เราเป็นหลวงจีน
มรณะขณะทำกรรมฐาน
มาในชาตินี้ ทำให้เราจึงสนใจเรื่องการทำกรรมฐาน
จนกระทั่งปฏิบัติได้สมาบัติ ๘
นั่นเกิดจากของเก่าที่เคยทำไว้มาในอดีตชาติก่อน
เพียงเป็นเนวสัญญาฯที่เป็นมิจฉาสมาธิ

.
ข้อที่สาม
“ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ
ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ”

คำว่า เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ได้แก่ กามคุณ ๕
เกิดจากกามุปาทาน

คำว่า เพื่อความดับภพทั้งหลาย
ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ดับกามาสวะ ดับภวาสวะ

สรุปที่พระสารีบุตรสรุปไว้แบบนี้
ต้องเข้าใจก่อน รู้แค่ไหน ย่อมอธิบายได้แค่นั้น
นึกถึงตัวเอง สมัยนั้นก็อธิบายวกวนแบบนี้แหละ
ผู้ที่มีวิชชา ๓ เกิดขึ้นในตนแล้ว
แรกๆใช่ว่าจะมีความรู้อะไรมากมาย

ต้องอาศัยเวลา คือตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแนะนำพระสารีบุตรไว้
ที่เรารอดมาได้ เพราะเราแค่เขียนออกมาเรื่อยๆ
เพราะรู้ว่าสิ่งที่รู้เห็นหรือผุดขึ้นมา ยังไม่จบ ยังมีผุดขึ้นมาเรื่อยๆ

ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสพระสารีบุตรแบบนั้น
พระองค์ไม่ได้ทรงตำหนิพระสารีบุตร
เพียงบอกว่าพระสารีบุตรควรทำอะไร

ส่วนตรงนี้
“ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ”
ก็บรรลัยสิ เหมือนเราในอดีตชาติที่เกิดเป็นหลวงจีนน่ะ


เมื่อวาน

เขียนมาตั้งนาน
เพิ่งจะเจอพระสูตรจนครบ
พระสูตรนี้มีเกิดขึ้นก่อน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสย่อไว้ ตัวสภาวะที่สำคัญมีแค่นี้

  • บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ ยังละกามุปาทานยังไม่ได้
  • และบุคคลบุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ ละกามุปาทานได้แล้ว

พระสูตรที่ ๑
พระพุทธเจ้าทรงตรัสย่อไว้แค่นี้
ถึงบุคคล ๓ ประเภท

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. กามสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคล
ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
(แต่) ยังประกอบด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคล
ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
พรากแล้วจากภวโยคะ
เป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว

ในพระสูตรนั้น จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบตนด้วยกามโยคะและภวโยคะทั้งสอง
ชื่อว่ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ

ส่วนสัตว์เหล่าใด ละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพระอนาคามี

ส่วนสัตว์เหล่าใด ตัดความสงสัยได้แล้ว
มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว
ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว
สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

= อธิบาย =
“บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้ “

สามารถอธิบายสภาวะที่มีเกิดขึ้น ๒ แบบ
กรรมเก่าและกรรมใหม่(ปัจจุบัน)

  • กรรมเก่า ให้อ่านในพระสูตร สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
  • กรรมใหม่ มีเกิดขึ้นปัจจุบัน
    เป็นบุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
    ยังละกามโยคะ เป็นสมุจเฉท คือยังไม่ได้มรรคผลตามจริง
    ผลของการปฏิบัติทำให้โอรัมภาคิยสังโยชน์ที่มีอยู่ เบาบางลง
    เป็นอนาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
    คำว่า ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
    ได้แก่ ผัสสะ เวทนา
    ปฏิบัติตลอดชีวิต
    .
    พระสูตรใช้นำมาขยายคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสย่อไว้
    จากการสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระสารีบุตร
    สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

.
เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังการอธิบายจากพระพุทธเจ้า
แล้วพระสารีบุตรนำไปสนทนากับพระภิกษุ
มาเป็นพระสูตรนี้
๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน
บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก

ในพระสูตร ทำไมพระพุทธเจ้าทรงตรัสแบบนั้นกับพระสารีบุตร
“ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น
ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก
แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง
เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ
สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้นแหละ
สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิต
ที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย
ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ”
และทรงตรัสกับพระสารีบุตรอีกครั้ง
“ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ”

ซึ่งมีเหตุนะ
ก็ให้อ่านเนื้อความเต็มในพระสูตร ๔. สมจิตตวรรค


ย่อ

๗. กามสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอาคามี
ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
(แต่)ยังประกอบด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
พรากแล้วจากภวโยคะ
เป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะและภวโยคะ
ย่อมไปสู่สงสารซึ่งมีปรกติถึงความเกิดและความตาย
ส่วนสัตว์เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพระอนาคามี
ส่วนสัตว์เหล่าใด ตัดความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว
ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว
สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

= อธิบาย =
“กามโยคะ”
ได้แก่ กามตัณหา

คำว่า ภวโยคะ
ได้แก่ ภวตัณหา

คำว่า สัตว์เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
ได้แก่ ละกามุปาทาน

วิธีการละ
๑. ด้วยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
๒. ด้วยการทำกรรมฐาน ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ ในชาติปัจจุบัน

.

ขยาย

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
[๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ
หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ในภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะวจีสัญเจตนา ๒ เป็นเหตุ
หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะมโนสัญเจตนา เป็นเหตุ

อีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งกายสังขารของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น
หรือบุคคลรู้สึกตัว
ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว
ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งวจีสังขารของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง
หรือบุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว
ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งมโนสังขารของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง
หรือบุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
หรือบุคคลไม่รู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาติดตามไปแล้วในธรรมเหล่านี้
แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ
กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น
ย่อมไม่มี วาจา … ใจ … เขต … วัตถุ… อายตนะ …
อธิกรณะอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นย่อมไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน
คือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป
ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป
ไม่ใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย
สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตน
ก็มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นก็มิใช่เป็นไปก็มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้
ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป
มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้
คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น
ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้
คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น
ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปนี้
คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น
ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มิใช่
สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มิใช่นี้
จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลายด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร
พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยอัตภาพนั้น ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้น แล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

= อธิบาย =
“บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน”

คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ในที่นี้หมายถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นมิจฉาสมาธิ

“นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

.
“บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน”

คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ในที่นี้หมายถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะที่เป็นสัมมาสมาธิ

“นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ”

.
การที่เข้าใจในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
แล้วการเข้าถึงสภาวะนั้นๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
การท่องจำเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถจะเข้าใจได้หรอก
เกิดจากสภาวะนั้นๆยังไม่มีเกิดขึ้นในตน

.
ส่วนตรงนี้เราได้เขียนอธิบายสภาวะที่มีเกิดขึ้นเรื่องคำเรียกพระอนาคามี

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เรื่องอนาคามี มี ๒ ประเภท
ไม่ใช่เรื่องมรรคผล แต่เป็นเรื่องของภพชาติของการเกิด
ส่วนอนาคามี ๕ ประเภท คนละเรื่องกัน
อันนั้นเรื่องสัมมาสมาธิอยู่ในอินทรีย์ ๕ ทั้งบรรลุเร็วและบรรลุช้า

การศึกษาก็สำคัญ
นำมาบางส่วนจากพระสูตร พระพุทธเจ้าสนทนากับพระสารีบุตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

= อธิบาย =
เนวสัญญานาสัญญา มี ๒ ประเภท มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

“บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

เนื้อความที่สำคัญอยู่ตรงนี้ “ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้”
สมาธิในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่เป็นมิจฉาสมาธิ

คำว่า กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ เกิดเป็นมนุษย์ มีของเก่าเนวสัญญายตนะติดตัวมา
ชาติปัจจุบันมีเหตุให้ทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
ย่อมเป็นอนาคามี ณ ปัจจุบัน

.
“บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญานั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

เนื้อความที่สำคัญอยู่ตรงนี้ “ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว”
สมาธิในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ สภาวะมีเกิดขึ้นปัจจุบัน
คำว่า ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ ไม่กลับมาเกิดเป็นนมนุษย์อีก

การศึกษาก็สำคัญ การเข้าถึงด้วยการปฏิบัติ ยิ่งสำคัญมากขึ้น
มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงเนวสัญญาฯที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ยังไม่ตรัสถึงเรื่องมรรคผล
ไปหาอ่านได้พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องสัมมาสมาธิ
เพียงปฏิบัติเข้าถึงรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ ไม่เสื่อม
จนกระทั่งเสียชีวิต ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก

.
สิ่งที่เราเขียนเพื่อให้คนที่เข้าไปอ่าน สามารถจะทำให้เข้าใจมากขึ้น
ตัดทิ้งไปก่อนเรื่องพระอนาคามี
คนที่ติดพยัญชนะ จากที่เคยอ่านหรือฟังมา
จะไม่ยอมรับ เกิดจากยึดมั่นในตำราในบางส่วนที่เคยอ่าน เคยฟังมา

.

อธิบายสภาวะมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ ผลที่ได้รับจะแตกต่างกัน

ผลของการทำกรรมฐาน
จะใช้สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม
หรือใช้วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
หรือสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันก็ตาม
ทำต่อเนื่อง ทำทุกวัน
จนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ
ในที่นี้ตามพระสูตรที่นำมาแสดงนั้น
เป็นสภาวะของสัมมาสมาธิตามจริง
อยู่จนคุ้นด้วย สมาธิไม่เสื่อม

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับคือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น
น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

.
ตัวสภาวะตามพระสูตรนี้
ในที่นี้หมายถึง หากยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง ต้องปฏิบัติตลอดชีวิต

และกำลังสมาธิที่มีอยู่ไม่เสื่อม จนสิ้นชีวิต
อย่าลืมว่า ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
กรรมและผลของกรรม เหตุมี ยังคงให้รับผลอยู่
ผัสสะมี เวทนาย่อมมี
ปฏิบัติจนรูปฌาน ก็สามารถเสื่อมได้
จะมีเหตุทำให้ปฏิบัติต่อไม่ได้ เช่นอุบัติหรือการเจ็บป่วย
และอะไรอีกมากมาย คาดเดาไม่ได้หรอก

กามคุณ ๕กับความกำหนัด(ทางเพศ)

05-04-2567
ได้ดูข่าวเรื่องคนบวชเป็นพระ
ยังเป็นพระอยู่ ได้ช่วยตัวเอง

พระพูดทำนองว่าเป็นเรื่องปกติ พระหลายรูปย่อมผ่านเหตุการณ์นี้มาก่อน
ซึ่งเราได้เขียนคอมเมนต์ไว้ว่า สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่าโมฆบุรุษ
เป็นผู้ที่ขาดสิกขาและไม่ปฏิบัติตามพระวินัย

มีคนมีคำถามไว้ว่า มีฮอร์โมนอะไรที่คุมความกำหนัดได้มั่งครับ
เราได้ตอบไว้ว่า มีค่ะ ด้วยการสร้างโฮโมนเกิดขึ้นในตนก่อน
ด้วยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
.
จะอธิบายให้ฟังนะ
หลายคนไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกามคุณ ๕ และคำว่าความกำหนัด(ทางเพศ)
สำหรับบุคคลที่มีโอกาสฟังธรรมจากพระอริยะ ในที่นี้หมายเอาพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงตรัสรู้ มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตนตามจริง

ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรมวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตนตามจริง
เวลาอธิบายรายละเอียดคำเรียกที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
จะพูดหรืออธิบายเหมือนๆกัน
โดยเริ่มจากการกรักษาศิล ๕ รักษาอุโบสถ ทำทาน ทำกรรมฐาน

ต่อมาได้สดับธรรมจากสัตบุรุษ
ลักษณะสัตบุรุษที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
จะมีสภาวะนี้มีเกิดขึ้นในตน
คือเป็นผู้ปฏิบัติทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลตามจริง
ได้แก่ กายสักขีบุคคล ทิฏฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล
ปัจจุบันจะเป็นสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ซึ่งยังคงมีพระสูตรที่เป็นหลักฐานอยู่
ตรงนี้เป็นความรู้เห็น
เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
ฯลฯ
[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

= อธิบาย =
ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
แจ้งนิพพาน ดับภพ คือดับตัณหา ๓
ความเกิดและดับอวิชชา สังขาร วิญญาณฯลฯ
นี่เป็นสภาวะของโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ประเภท กายสักขี
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนได้มรรคผลตามจริง
สำหรับบุคลที่มีกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
ความรู้ความเห็นนี้จะไม่มีเกิดขึ้น ให้กำหนดรู้ตามจริง
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ
เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
.
สัตบุรุษจะมี ๒ ประเภท
เข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
ประเภทที่ ๑ มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สุขาปฏิทา

ส่วนจะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้า
การอธิบายจะแยกออกจากกัน
ประเภทที่บรรลุเร็ว
หลังได้มรรคผลจะพูดเรื่องสมาธิ เรื่องฤทธิ์ เรื่องทำกรรมฐาน

ประเภทที่ ๒ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่าทุกขาปฏิปทา

ส่วนจะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้า
การอธิบายจะแยกออกจากกัน
ประเภทที่บรรลุเร็ว
หลังได้มรรคผลจะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรม
คือกว่าจะได้มรรคผลตามจริง ต้องเอาชีวิตเข้าแลก

ชดใช้กรรมที่ตนเคยกระทำไว้
ด้วยเหตุนี้จึงจะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรม
โดยนำเรื่องราวในชีวิตของตนนำมาเล่าให้ฟัง

ยกตย. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ไปหาอ่านได้ประวัติของท่าน
ท่านคอหักเกิดจากเคยสร้างกรรมไว้กับเต่า
วีรกรรมของท่านตั้งแต่ไว้เด็ก สุดยอดเลย
ท่านเคยตายนะไส้เน่า เกิดจากเคยสร้างกรรมไว้กับไก่
ทำการตอนไก่ คือเลียนแบบจนไก่ไส่เน่าแล้วตาย
ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากสัตุบุรษและปฏิบัติตาม
จะแจ่มแจ้งกรรมและผลของกรรม คือรู้ด้วยตน
.
ตอนนี้จะเริ่มอธิบายเรื่องความกำหนัด
หมายถึงผัสสะ เวทนา และความกำหนัดทางเพศ

ผู้ที่เชื่อกรรมและผลของกรรม ย่อมไม่ทำผิดศิล ๕
เช่นเห็นผู้หญิงหรือผู้ชาย การแต่งตัว ดูยั่วใจ หรือชอบดูหนังโป้
ทำให้เกิดความกำหนัดทางเพศ
บางคนเลือกช่วยตัวเองมากกว่าไปทำผิดศิลต่อครอบครัวของคนอื่น
ซึ่งหลายๆคนยังไม่เข้าใจเรื่องกามคุณ ๕ หรอก

ต่อมาได้สดับธรรมจากสัปบุรุษและปฏิบัติตาม
สัปบุรุษจะอธิบายรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นและความดับ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

เมื่อได้การอธิบายตรงนี้ ทำให้ค่อยๆมีปัญญาเกิดขึ้นในตน คือไตรลักษณ์
เกิดจากการอดทนอดกลั้น ไม่กระทำตามความอยากที่มีเกิดขึ้น
ไม่กระทำจนถึงขั้นทำผิดศิล

ผลของการปฏิบัติ คือพยายามหยุด ไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
ทำให้แจ่มแจ้งแทงตลอดเรื่องกรรมและผลของกรรมด้วยตน
เมื่อเป็นแบบนี้ เรื่องกามคุณจะถูกเพิกถอนออกไปเป็นอัตโนมัติ
เกิดจากสีลปาริสุทธิมีเกิดขึ้นในตนมากขึ้น
ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ย่อมเบาบางลงโดยตัวของสภาวะ

ทีนี้มาพูดเรื่องความกำหนัดทางเพศ
สามารถมีเกิดขึ้นโดยไม่มีอะไรมากระทบทำให้เกิดความรู้สึกเกิดขึ้น
เกิดจากคนเหล่านั้นเคยผ่านการเสพกามมาก่อน
จากการมีคูู่หรือไม่มีคู่ด้วยการช่วยตัวเอง
นี่กำลังพูดเรื่องความกำหนัดทางเพศ ไม่ใช่เรื่องกามฉันทะนะ
ต้องแยกออกจากกัน
กามฉันทะ(เวทนา)มีเกิดขึ้นจากมีผัสสะเป็นปัจจัย
ผู้ที่ละกามฉันทะ ได้แก่ พระอนาคามี

ส่วนความกำหนัดทางเพศ
ผู้ที่มีวิชชา ๓ จึงจะสามารถละได้หมดสิ้น เหมือนตอไหม้
แรกๆความกำหนัด มาปรากฏในฝัน แค่ดูเหมือนดูหนังเรทอาร์ประมาณนี้
ความรู้สึกมีเกิดขึ้น แล้วจะคลายหายไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร
ต่อมามีอีก เปลี่ยนเรื่องใหม่ แต่ความรู้สึกเดิมๆ
แค่มองมากขึ้น เพราะไม่สามารถบังคับไม่ให้มีเกิดขึ้นได้ เป็นเพียงนิมิต
หากให้ความสำคัญสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แล้วมีพิจรณาทำนองว่าเอสภาวะของเรานี่เข้าถึงนี่ๆ
ทำไมยังมีฝันเรื่องพวกนี้ได้
ที่มีการนำเรื่องฝันมาพิจรณากันนี่
เกิดจากยังละความเป็นของที่ตนคิดว่าเป็น
ก็พยายามทำสมาธิให้มากขึ้น
เมื่อสมาธิมีกำลังมากขึ้น ความฝันจะไม่มีเกิดขึ้นอีก

เราปฏิบัติเพื่อการดับภพชาติของการเกิด
หากยังมีใจยังมีคิดอยู่ทำนองว่าตนเป็น
นั่นหมายถึงยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
ความรู้ความเห็นจะจมแช่อยู่แค่นี้
คำพูดมีแต่จากการท่องจำ ไม่ใช่การเข้าถึงสภาวะนั้นๆ


06-04-2567
อธิบายต่อเมื่อวาน

ที่เราเขียนไว้ว่า เราปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้
๑. กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามสัญโญชน์ กามาสวะ
ทั้งหมดนี้เป็นสภาวะตัวเดียวกัน
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติคำเรียกให้แตกต่างกัน
เพราะผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน จะอธิบายรายละเอียดทั้งหมด
ตรงกับลักษณะสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
หากยังไม่สามารถอธิบายได้
นั่นหมายถึงสภาวะของผู้นั้นยังไม่เข้าถึงโดยตัวของสภาวะนั้นๆ
ให้ทำความเพียรต่อได้ จนกว่าจะแจ่มแจ้งแทงตลอด
ในลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ
ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามสัญโญชน์ กามาสวะ
เป็นสภาวะมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
หากกามาสวะถูกทำลายเป็นสมุจเฉท
ทำให้ดับกามภพลงไปได้
ที่เรียกว่า ภพที่เป็นกามาวจรภูมิ

.
มีคำถามว่า เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นใดชั้นนึง
สามารถปฏิบัติเพื่อละกามได้หรือเปล่าครับ

มีเนื้อหาในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ตรงๆหรือเปล่าครับ
เช่นการที่เทวดาลงมายังโลกมนุษย์
แล้วได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดเลื่อมใส
ถ้าจะกลับไปปฏิบัติธรรมท่านเหล่านั้นจะปฏิบัติยังไงครับ
ในเมื่อบนสวรรค์มีกามอยู่ตลอด
เป็นเทวดาจะสามารถทำสมาธิเข้าฌานจนสงัดจากกามได้ไหม
หรือต้องทำกาละ จุติจากเทวดาไปเป็นพรหมก่อน ถึงปฏิบัติเนกขัมมะได้

คำตอบ คำตอบของคำถามข้อแรก คำว่าสวรรค์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขณสูตร
[๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖
อันเราเห็นแล้ว ในผัสสายตนิกนรกนั้น
สัตว์จะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ
ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา
ย่อมเห็นแต่รูปไม่น่าใคร่
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าใคร่
ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าพอใจ
จะฟังเสียงอะไรๆ ด้วยหู…
จะดมกลิ่นอะไรๆ ด้วยจมูก…
จะลิ้มรสอะไรๆ ด้วยลิ้น…
จะถูกต้องโผฏฐัพพะอะไรๆ ด้วยกาย…
จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าใคร่
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าใคร่
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
[๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๖ ชั้น
เราได้เห็นแล้ว ในผัสสายตนิกสวรรค์นั้น
บุคคลจะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ
ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าปรารถนา
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าปรารถนา
ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าใคร่
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าใคร่
ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าพอใจ
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าพอใจ ฯลฯ
จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ฯ
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปัคคัยหสูตรที่ ๑
[๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี
เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป
เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป
เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีเสียงเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี
เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์
เพราะธรรมารมณ์แปรปรวน คลายไปและดับไป
เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี
ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป
ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป
เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นความดับไป คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเสียง … กลิ่น … รส … โผฏฐัพพะ …
ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี
ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์
ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์
เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป คลายไปและดับไป
ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ
ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ฯ
[๒๑๗] รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น
อันน่าปรารถนา น่าใคร่และน่าพอใจ ที่กล่าวกันว่ามีอยู่ประมาณเท่าใด
รูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล
เป็นสิ่งอันชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก สมมติว่าเป็นสุข
ถ้าว่ารูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้นดับไปในที่ใด ที่นั้น
เทวดา และมนุษย์เหล่านั้นสมมติว่าเป็นทุกข์
ส่วนว่าพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เห็นการดับสักกายะว่าเป็นสุข
การเห็นของพระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้
ย่อมเป็นข้าศึกกับชาวโลกทั้งปวง
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข
พระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์
พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข
เธอจงเห็นธรรมที่รู้ได้ยาก
คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งในนิพพานนี้
ความมืดย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์หุ้มห่อ
เหมือนความมัวมนย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่เห็น
นิพพานย่อมมีแก่สัตบุรุษ เหมือนแสงสว่างย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็น
ชนทั้งหลายแสวงหา ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานอันมีในที่ใกล้
ธรรมนี้อันบุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ
ผู้แล่นไปตามกระแสตัณหาในภพ
ผู้อันบ่วงแห่งมารท่วมทับไม่ตรัสรู้ได้ง่าย ใครหนอ
เว้นจากพระอริยะเจ้าทั้งหลายแล้ว
ย่อมควรเพื่อจะตรัสรู้นิพพานบท
ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้โดยชอบ
เป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ฯ
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร
[๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคม
ชื่อว่าเทวทหะของสากยราชทั้งหลาย ในสักกชนบท
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุทั้งปวงเทียวควรทำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุทั้งปวงเทียวไม่ควรทำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว
มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว
มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น
ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีก เพราะความไม่ประมาทนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
รูปเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่
เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯลฯ
ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มีธรรมารมณ์เหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ
ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่
เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯ

คำถามข้อที่ ๒ ซึ่งถามว่าการที่เทวดาลงมายังโลกมนุษย์
แล้วได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดเลื่อมใส
ถ้าจะกลับไปปฏิบัติธรรมท่านเหล่านั้นจะปฏิบัติยังไงครับ
คำตอบ จะเข้าใจด้วยตนต้องเข้าถึงธรรม คือวิมุตติที่มีเกิดขึ้นในตนก่อน
มีเกิดขึ้นขณะตอนมีชีวิต ประเภทบรรลุเร็ว

เป็นความรู้เห็นของผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน ตามจริง
ซึ่งมีหลักฐานที่ยังคงปรากฏอยู่
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดังนี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น
ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น
ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา
หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
.
หากวิมุตติยังไม่มีเกิดขึ้นในตนตอนมีชีวิตอยู่
จะมีเกิดขึ้นขณะทำกาละ
หากขณะทำกาละ วิมุตติยังไม่มีเกิดขึ้นขณะนั้น จะมีเกิดขึ้นในอนาคต
เป็นประเภทบรรลุช้า
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดังนี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรม
อันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติ หลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…เวทัลละธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ … บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์
ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย
ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

โลกธรรม ๘

2 วัน ·
ถ้าให้พูดถึงผู้ที่เข้าถึงธรรม
แค่โสดาปัตติมรรค โสดปัตติผล ตามจริง

และประกอบได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรุษ สัปบุรษ ปุริสบุคคล
คนนั้นชีวิตค่อนข้างสบายมากกว่าคนที่ได้มรรคผลตามจริง
แต่ขาดการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
เพราะอะไรเหรอ
เพราะยังขาดปัญญาการกระทำเพื่อดับทุกข์
อาศัยความเชื่อส่วนตัว ทำให้เกิดการกระทำตามตัณหาที่มี่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะความโลภ สะสมกิเลสไว้
ความโลภแม้จะไม่ได้โลภต่อนอกตัว(ของคนอื่น)ก็ตาม
แต่ยังละความโลภที่มีอยู่ข้างใน(เฉพาะตน ของตน)
เป็นการกระทำทำให้เกิดการสะสม มากกว่าสละออก
เราหมายถึงยังละกามฉันทะยังไม่ได้
ยังมีความยินดีพอใจในโลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้น
เราไม่ได้พูดถึงกามคุณ ๕ แต่พูดถึงโลกธรรม ๘


2 วัน
ปัญญาแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
ความเกิดและความดับมีเกิดขึ้น
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะฯ
แม้ผู้นั้นไม่รู้ว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนนั้นเป็นสภาวะคืออะไร เรียกว่าอะไร
ปัญญาที่มีเกิดขึ้นตรงนี้
อย่างน้อยจากที่เคยทุกข์มากถึงขั้นน้ำตานองหน้าเนืองๆ
ที่เกิดจากศรัทธา เชื่อกรรมและผลของกรรม
ทำให้เกิดความอดทนอดกลั้นต่อคำพูดและการกระทำของคนอื่น
ซึ่งเป็นเรื่องของผลของกรรมในรูปแบบของเวทนา
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของโลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เพียงแต่ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษมาก่อน
ต่อให้เจอทุกข์แสนสาหัสก็ตาม ยังคงทำกรรมฐานต่อเนื่อง
เมื่อจิตเป็นสมาธิเนืองๆ
จากที่เคยทุกข์จากคำพูดของคนอื่น
ความอดทนอดกลั้นไม่ต่อปากต่อคำคนนั้น
ประกอบกับจิตเป็นสมาธิ
เชื่อกรรมและผลของกรรม
ทำให้สามารถอยู่กับสภาวะที่มีเกิดขึ้นนั้นๆได้
ไม่ถึงขั้นเป็นการป่วยเป็นคนซึมเศร้า

เมื่อเกิดการปลงตกว่าทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้น บังเอิญไม่มีอยู่จริง
ล้วนเกิดจากการกระทำของตน
จะด้วยเจตนาได้ก็ตาม ทำไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ระลึกไม่ได้
เมื่อเป็นแบบนี้ จิตค่อยๆปล่อยความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่กระทบมา
จะค่อยๆมีปัญญาเกิดขึ้นทีละน้อย
เห็นความไม่เที่ยงที่มีเกิดขึ้น
วันนี้เขาด่า เพราะเขาไม่ถูกใจ
วันไหนเขาถูกใจ เขาจะยกยอ
ด้วยเหตุนี้ ทำให้จะมีเหตุให้เราห่างจากบุคคลนี้ ไม่คบค้าสมาคมด้วย
โดยที่อาศัยความอดทนอดกลั้นไม่สร้างกรรมใหม่ร่วมกับคนนี้
เวลาเขานินทาหรือยกย่อใคร
จะไม่เข้าร่วมสนทนาด้วย
เมื่อกรรมที่เคยกระทำต่อกันไว้จบลงแค่นี้
คนนี้จะไปเจอคนใหม่ แล้วจะห่างจากเราไปเอง

ความรู้ความเห็นไม่ต้องเข้าถึงอรหัตมรรค อรหัตผลหรอก
เพียงแต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเส้นทางเดินไว้
หากปฏิบัติเข้าถึงตรงนี้ ตัวสภาวะจะก้าวข้างหน้า
จนถึงสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
วันนี้ไมถึง อนาคตย่อมถึง
แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม
อาศัยความเพียรต่อเนื่อง ไม่คลุกคลีเป็นหมู่คณะ
เพราะการคลุกคลีก็ไม่พ้นโลกธรรม ๘
ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นล้วนเกิดจากการกระทำของตน
การมีเพื่อน มีได้ แต่ไม่ถึงขั้นต้องคลุกคลีเป็นหมู่คณะ
การที่เพื่อนมาไปสถานที่อโคจร ทั้งดื่มทั้งเที่ยว
อย่าโทษเพื่อน ต้องโทษตัวเอง ทำตามใจอยาก
ผลที่ได้รับ ต้องยอมรับได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกธรรมสูตร
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดาธรรมอันน่าปรารถนา
ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกวิปัตติสูตร
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี
ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี
นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี
สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไร
เป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ … ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภ …
แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ … แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้
เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ
ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา
ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์
เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้
ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด
ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ …ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด
ทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
แม้ความเสื่อมลาภ … แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ …
แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ
ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา
ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์
ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้
ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

= อธิบาย =
การแจ้งอริยสัจ ๔ จะทำให้ไม่หลงในผัสสะที่มากระทบอีก
สิ่งที่มากระทบที่เรียกว่าผัสสะ
สิ่งที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
หากพูดสั้นๆ เวทนา ความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ
ตอนแรกจะรู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
และรู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนี้ด้วยตน
ไม่ต้องเชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นอีกต่อไป
จากที่ต้องใช้ความอดทนอดกลั้นต่อผัสสะที่มากระทบ
จะสามารถเริ่มอยู่กับสภาวะที่มีเกิดขึ้น ทำให้ทุกข์น้อยลง
จะรู้ด้วยตนว่า สิ่งที่มีเกิดขึ้นนั้น
เป็นเรื่องของกรรม กรรมเก่าที่เคยกระทำไว้
ผัสสะมี เวทนาย่อมมี
เวทนาที่มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องของผลของกรรมมาให้รับในรูปแบบของ
ผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้น

ความรู้เห็นจะเปลี่ยนไปจาก
ผัสสะ เวทนา จากเป็นเรื่องกรรมและผลของกรรม
มาเป็น โลกธรรม ๘
ซึ่งเป็นลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกว่า ชรา มรณะ

คำว่า ชาติ ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องของกาย วาจา ใจ
ที่กระทำออกไปตามแรงผลักดันของตัณหาหรือกิเลสที่มีเกิดขึ้น
เมื่อแจ้งสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทำให้ละกามฉันทะ ทำให้ละกามคุณ ๕ โดยตัวของสภาวะ แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

13 มีนาคม เวลา 09:34 น. ·
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

สามารถมีเกิดขึ้นจิตเป็นสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
คนที่นำมาพูดส่วนมากไม่ใช่วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑ กับ บุพเพนิวาสานุสติญาน
ที่เคยอ่านกันมา สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะแตกต่างกัน

มีคนที่รู้เห็นตามจริงขณะเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
เป็นสมาธิสัมมาสมาธิ ต้องปฏิบัติถึงเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
หากกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
แม้จะเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลตามจริง
วิชชา ๑ จะไม่มีเกิดขึ้น

มีคนทำได้นะ เวลาเห็นจะเห็นเหมือนๆกัน “บิ๊กแบง”
แล้วพระรูปนี้สำคัญผิดสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน เป็นพระอรหันต์
อันนี้พูดได้เพราะเคยมีเกิดขึ้นในตนมาก่อน
สมัยก่อนพระรูปนี้ดังมาก หลายๆคนคิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์
เกิดจากท่านพูดเรื่องสัมมาวิมุตติอยู่ในมหาจัตตารีสกสูตร
ตอนที่เราอ่านเจอคำพูดของท่าน เรารู้ทันที พระรูปนี้ติดอุปกิเลส
ปัญญาที่มีเกิดขึ้น ความรู้ความเห็นจะดับเฉพาะตน
ยังไม่รู้แจ่มแจ้งผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีอยู่บดบังไม่ให้เห็นตามความเป็นจริง
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเหมือนคนไม่มีกิเลส

มีคำถามว่า ถ้าปฐมฌานก็ทำให้สิ้นอาสวะได้ แล้วเราจะต้องทำต่อไปถึงระดับที่ ๙ ทำไม?
คำตอบ การตั้งคำถามเกิดจากไม่เข้าใจเรื่องสมาธิ
จิตเป็นสมาธิและกำลังสมาธิ สภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
ก็เช่นเดียวกันกับมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ สภาวะที่มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

ทำไมต้องทำให้ถึงนิโรธสมาบัติ คือต้องถึงเนวสัญญาฯ
เมื่อเนวสัญญาฯมีเกิดขึ้น นิโรธสมาบัติจึงมีเกิดขึ้น
ความเกิดและความดับรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ สภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
รูปฌาน 1 2 3 4 สภาวะมีเกิดขึ้นจะแตกต่างกัน
เวลาดับจะมีเกิดขึ้นเหมือนๆกัน
คือ จิตเป็นสมาธิในรูปฌานจะเป็น 1 2 3 4 กายยังคงปรากฏอยู่
เวลาดับจะมีเกิดขึ้นเหมือนๆกัน
จะเหมือนปิดสวิชไฟ ดับทันที
เมื่อสมาธิคลายตัว จะรู้กายที่นั่งอยู่ คือรู้กายก่อน

อรูปฌาน 5 6 7 สภาวะมีเกิดขึ้นเหมือนๆกัน
คือ แสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ กายไม่ปรากฏ เหมือนไม่มีกิเลส
จะมีเพียงสองสภาวะเด่นชัดเจน
เวลาดับ แสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ แล้วดับ
เมื่อสมาธิคลายตัว จะรู้จิตหรือใจก่อนเป็นอันแรก ต่อมาจะรู้กายที่นั่งอยู่

เมื่อทำถึง เนวสัญญาฯ นิโรธสมาบัติจึงมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
เนวสัญญาฯ ขณะจิตเป็นสมาธิ จะมีแสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่
ขณะดับมีเกิดขึ้น จะดับฐานกายก่อน จากล่างสุด
อาการเหมือนนั่งอยู่ในตุ่มเปดก็อกน้ำ
น้ำจะท่วมจากก้น ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือนปิดสวิชไฟไปทีละดวง
ไล่ขึ้นไปถึงข้างบนถึงหัว คือกายหายไปหมดสิ้น
จะเหลือเพียงจิตหรือใจโดดเด่น แล้วดับ
เมื่อสมาธิคลายตัว จะรู้จิตหรือใจมีเกิดขึ้นก่อน
แล้วรู้กายที่นั่งอยู่
“เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิด
ขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง”

ส่วนพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่เข้าถึงความเกิดและความดับจิตเป็นสมาธิ
อ่านแล้วจะไม่เข้าใจหรอก
อ่านเพียงพยัญชนะ ไม่สามารถเข้าใจหรอก ต้องปฏิบัติและเข้าถึงด้วยตน
ที่สำคัญต้องเคยอ่านหรือฟังจากผู้ที่เข้าถึงความเกิดและดับในแต่ขณะรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

.
อนุปุพพนิโรธสูตร
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้
๙ ประการเป็นไฉน
คือ อามิสสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป ๑
วิตกวิจารของผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป ๑
ปีติของผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป ๑
ลมอัสสาสปัสสาสะของผู้เข้าจตุตถฌานย่อมดับไป ๑
รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานย่อมดับไป ๑
อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานย่อมดับไป ๑
วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานย่อมดับไป ๑
อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานย่อมดับไป ๑
สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แล ฯ

.
นี่คือประโยชน์ของความเกิด ขณะมีเกิดขึ้น และขณะดับ
จะทำให้รู้ว่ากำลังสมาธิที่มีอยู่ในตนนั้น อยู่ตรงไหน
เมื่อรู้แล้วจะได้พยายามทำให้มากขึ้นไปอีก
ไปให้ถึงสภาวะที่ตนยังไม่มีเกิดขึ้นในตน

อันนี้พูดเรื่องการปฏิบัติ ไม่นำเรื่องมรรคผลมาเกี่ยวข้อง
เรื่องมรรคผลเป็นเรื่องการดับทุกข์คือดับภพชาติของการเกิด
ผู้ที่ปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน คือดับทุกข์หรือดับภพชาติของการเกิด
ไม่จำเป็นปฏิบัติให้ถึงเนวสัญญาฯ แค่รูปฌานสัมมาสมาธิเท่านั้นก็พอ
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ
จะได้รู้ว่าสภาวะของตนนั้นอยู่ตรงไหน

ข้อปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิดจะมี ๒ แบบ
๑. ดับปัจจุบัน ดับไปที่ละส่วน สักกายะทิฏฐิ กามฉันทะ ปฏิฆะ
ก็อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

๒. ดับภพชาติการเวียนว่ายตายเกิด
ก็อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
และทำกรรมฐาน ขาดไม่ได้เลย จำเป็นมาก

สภาวะของเจ้านาย

2 วัน ·
ก็คืนมีการพิจรณาพระสูตรหลายเล่ม

๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ
เป็นความรู้ความเห็นของผู้ที่มีปุพเพนิวาสานุสสติมีเกิดขึ้น
ซึ่งสามารถมีเกิดขึ้นจิตเป็นสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

“บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต รวมทั้งเรื่องทิฏฐิ ๖๒”

.
๒. ปัญจัตตยสูตร (๑๐๒)
“กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า เราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ๆ”
เรื่องกามสัญโญชน์
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องของกามุปาทาน
กามโยค กามตัณหา การาคะ กามาสวะ

เกิดจากไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
ทำให้เกิดความสำคัญผิดเรื่องสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้นในตน
เมื่อสำคัญผิด ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนนั้น
เป็นการเข้าถึงธรรมมรรคผลตามคำเรียกนั้นๆที่เคยอ่านหรือฟังมา
เกิดจากยังละวิภวตัณหายังไม่ได้

.
๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส
เป็นเรื่องของอรหัตมรรค(ละภวสังโยชน์)และอรหัตผล(ละตัณหา ๓)

.
๒. สีหนาทวรรค
๑. จูฬสีหนาทสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
เป็นเรื่องอุปาทาน ๔
เป็นความรู้ความเห็นของผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
จะแจ่มแจ้งแทงตลอด
ขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทาน ๔

.
สำหรับเรานั้นไม่มีถือความมั่นในสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น
โดยอาศัยการทำความเพียรที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ที่เกิดจากได้สดับธรรมจากสัตบุรุษ
ทำให้มีศิล สังวรมากขึ้น
มีความอดทนอดกลั้นมากขึ้นต่อคำพูดของคนอื่น
สัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้นตามลำดับ
และทำกรรมฐาน เวลาเวทนากล้ามีเกิดขึ้น มีความอดทนอดกลั้นมากขึ้น
มีปัญญาไตรลักษณ์ที่มีเกิดขึ้น
จนกระทั่งเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
โดยมีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
จึงมีความรู้เห็นเหล่านี้มีเกิดขึ้น
เราพอใจในสิ่งที่เห็นชัดแจ่มแจ้งด้วยตน
รู้แต่ว่าเมื่อทำกาละ ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
หากเกิดบนสุทธวาส แล้วปรินิพพานบนโน้น
ตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้
เราเป็นคนที่มีความมักน้อย ไม่ได้สนใจเรื่องคำเรียกต่างๆเรื่องความเป็น
ด้วยเหตุนี้สัญญาต่างๆจึงทำอะไรกับเราไม่ได้
เมื่อสัญญาทำกับเราไม่ได้
โลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้นก็ทำอะไรไม่ได้เช่นกัน
ซึ่งเป็นเรื่องของกรรมและผลของกรรม มีแค่นี้
ทำให้ไม่หลงในโลกธรรมที่มีเกิดขึ้น
ประกอบกับตอนที่สมาธิเนวสัญญาฯที่มีอยู่มีเหตุให้เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติฯที่มีเกิดขึ้นตามจริง
และรู้สภาวะหรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกเหล่านี้
ด้วยเหตุนี้สภาวะอื่นๆย่อมทำอะไรกับเราไม่ได้เลย
เราแค่เขียนออกมาตามจริง รู้สึกนึกคิดก็เขียนออกมา
ไม่ไปคิดว่าอันนี้ถูกอันนี้ไม่ถูก แค่เขียนออกมา
เมื่อทำแบบนี้เนืองๆ ธรรมต่างๆย่อมกระจ่างมากขึ้น
เกิดจากปราศจากตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการเขียนออกมา

นี่คือความพอใจของเราในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน
ด้วยเหตุนี้เรื่องความเป็นต่างๆนานาตามสมมุติจึงทำอะไรกับเราไม่ได้

เช้านี้เจ้าตื่นตีสามกว่าๆ ยังมีอาการง่วงอยากนอนอยู่ แต่ฝืนใจลุกขึ้น
เข้าห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัวเสร็จ กำหนดยืนหนอสักพักแล้วนั่ง ๓ ชม.
หลังเจ้านายทำกรรมฐานเสร็จ เราถามเขาถึงเรื่องเวทนา
เขาบอกว่านั่ง ๓ ชม. ย่อมมีเวทนาเกิดสั้นกว่านั่ง ๔ ชม.

เราบอกว่าให้อดทน แรกๆจะเป็นแบบนี้ ความง่วง
ลำบากไปก่อน ค่อยสบายที่หลังตามที่หลวงจรัญท่านเทศนาไว้
เมื่ออินทรีย์แก่กล้า ความง่วงทั้งหลายจะไม่มีเกิดขึ้นอีก

เขาบอกว่าน่าจะสักหนึ่งปี ตอนนี้เขาปฏิบัติเข้าเดือนที่ ๘ ยังไม่เต็ม
เราบอกเขาว่าเราทำได้ เขาย่อมทำได้เหมือนเรา
เราเองก็เริ่มจากนั่งอย่างเดียว ๓ ชม.
นี่เป็นทางลัดของการทำให้จิตเป็นสมาธิ
คือต้องผ่านเวทนากล้าให้ได้ก่อน
เมื่อผ่านได้ สภาวะอื่นๆที่ไม่เตยเห็น จะค่อยๆมีเกิดขึ้น
เขาต้องการปฏิบัติให้ถึงเนวสัญญาฯ
เวลาได้เข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริงครั้งแรก
ความรู้ความเห็นจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

เมื่อได้ปรับอินทรีย์ใหม่ให้เขาอีกครั้ง
วันหยุดเคยนั่ง ๔ ชม. มาเป็นดินจงกรมครึ่งชม.ต่อนั่ง ๓ ชม.
เขาบอกว่าเริ่มเห็นแสง บางครั้งเหมือนหมอก เหมือนลืมตามอง

เราบอกกับเขาว่า แค่รู้ไปก่อน
จนมีแสงสว่างเจิดจ้าเหมือนลืมตากลางวัน นั่นแหละจึงจะเชื่อได้

เขาถามว่าวันทำงาน เดินสิบนาที ต่อนั่ง ๓ ชม. ได้ไหม
เราบอกว่า อย่าไปทำแบบนั้น ให้นั่งอย่างเดียว ๓ ชม.
การเดินจงกรม ๑๐ นาที
แค่เขาตื่นแล้วลุกขึ้นเตียง เข้าห้องน้ำก็เกินสิบนาทีแล้ว
ต้องเดินอย่างน้อยครึ่งชม.
ทีนี้เขาต้องไปทำงาน เวลาไม่พอที่จะนั่ง ๓ ชม.

การสดับธรรมจากพระอริยะ สัมมาทิฏฐิ

ความเป็นและความดับ

คำว่า ความเป็น
เป็นที่อยากเป็น
ปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดา สกทาคา อนาคามี อรหันต์
กับ
คำว่าดับภพชาติของการเกิด
การปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด

ความหมายของสองคำนี้แตกต่างสิ้นเชิง

ศิล สมาธิ ปัญญา
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ
ปัญญาไตรลักษณ์
เป็นเส้นทางของการปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด
เหตุของการภพชาติของการเกิด
เกิดจากตัณหา(๓) อุปาทาน(๔) ภพ(๓) ชาติ
หากเคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
ราคะ ปฏิฆะ โมหะ จะทำอะไรกับใจนี้ไม่ได้เลย
เพราะอะไรเหรอ
เพราะรู้ทัน
ที่รู้ทันเกิดจากการฟังธรรมบุคคลเหล่านี้และปฏิบัติตาม
ด้วยเหตุนี้การทำให้ค่อยๆละอาสวะที่เป็นต้นเหตุของการกระทำทุกหมด
ทางกาย วาจา มโน
ที่ทำให้เป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

มโนกรรมอาศัยการสดับธรรม ปฏิบัติตามและการทำกรรมฐาน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี
เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี
เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี
เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี
เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี
เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี
เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้วไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี
เมื่อไม่มีตัณหา คติในการเวียนมาจึงไม่มี
เมื่อไม่มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี
เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ
ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทว
ทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


ปัญญาสัมมาทิฏฐิตัวแรก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
จักกวรรคที่ ๔
จักกสูตร
[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ประการนี้
เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบ
เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว
ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ)
ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก
จักร ๔ ประการเป็นไฉน
คือ
ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ๑
สัปปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ ๑
อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ ๑
และปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ประการนี้แล
เป็นเครื่องเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบ
เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว
ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ)
ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก ฯ
นรชนพึงอยู่ในถิ่นที่เหมาะ
พึงกระทำอริยชนให้เป็นมิตร
ถึงพร้อมด้วยความตั้งตนไว้ชอบ
มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน
ธัญชาติ ทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง และความสุข ย่อมหลั่งไหลมาสู่นรชนนั้น ฯ


เส้นทางปัญญาสัมมาทิฏฐิ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง
ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญา ความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ
ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง
สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท
ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ


ผลของการรักษาศิลและผลการไม่รักษาศิล
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต
คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ
มีอายุสั้น มีอายุยืน
มีโรคมาก มีโรคน้อย
มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม
มีศักดาน้อย มีศักดามาก
มีโภคะน้อย มีโภคะมาก
เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง
ไร้ปัญญา มีปัญญา
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต ฯ

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดาร
ของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ
มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้
ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการ
ที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ
พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ
บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น
ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้
คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ

[๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้
คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ

[๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อยนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดินหรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้
คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้
คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลังจะเป็นคนมีศักดาน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้
คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้
คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้
คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้
คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้
หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้
คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ
เคารพคนที่ควรเคารพ
นับถือคนที่ควรนับถือ
บูชาคนที่ควรบูชา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้
คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ
เคารพคนที่ควรเคารพ
นับถือคนที่ควรนับถือ
บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้
คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้
คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก
ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำหรือเปิดของที่ปิด
หรือบอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ


ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน
[๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ
[๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระ
ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ
เสด็จออกผนวชจากศากยสกุลเสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวารคามแล้ว
ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
พระสมณโคดมพระองค์นั้น ทรงกระทำโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นความดี.
[๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
[๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า
ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน
พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี
พึงทัดทรงมาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้
พึงยินดีทองและเงิน
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน …
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น
แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา
ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.
[๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
พราหมณ์และคฤบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
[๑๔๕๙] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา
อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของคนอื่น
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๒] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๓] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๔] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
ด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
[๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว … เป็นไปเพื่อสมาธิ.
[๑๔๖๗] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้
ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
จูฬยมกวรรค
๑. สาเลยยกสูตร
ทรงโปรดชาวบ้านสาละ
[๔๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ลุถึงพราหมณคามชื่อสาละของชาวโกศล.
พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ
ได้สดับข่าวว่า ท่านพระสมณโคดมศากยบุตร เสด็จออกจากศากยสกุล ทรงผนวชแล้ว
เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ลุถึงพราหมณคามชื่อสาละ
กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์
แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีดังนี้.
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
บางพวกทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
บางพวกประนมมือต่อพระผู้มีพระภาค
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาค
บางพวกก็นิ่งอยู่
แล้วพากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตและนรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรม.

พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นทูลว่า พวกข้าพระองค์
ไม่ทราบเนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรม
ที่พระโคดมตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดาร
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดแสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์
โดยอาการที่พวกข้าพระองค์จะพึงรู้เนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรม
ที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกความให้พิสดารเถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงฟังจงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว.
พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว.
อกุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรม
ทางกาย มี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง
ทางใจมี ๓ อย่าง.
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
พอใจในการประหารและการฆ่า
ไม่มีความละอาย
ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง.

เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ คือ
ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของบุคคลอื่น
ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า
ที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย.

เป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ
ถึงความสมสู่ในพวกหญิงที่มารดารักษา ที่บิดารักษา ที่มารดาและบิดารักษา
ที่พี่ชายรักษา ที่พี่สาวรักษา ที่ญาติรักษา ที่มีสามี ที่อิสรชนหวงห้าม
ที่สุดแม้หญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย (หญิงที่เขาหมั้นไว้)
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จ
คือ ไปในที่ประชุมหรือไปในหมู่ชน
หรือไปในท่ามกลางญาติ
หรือไปในท่ามกลางขุนนาง
หรือไปในท่ามกลางราชสกุล
หรือถูกนำไปเป็นพยาน
ถูกถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เชิญเถิด ท่านรู้เรื่องใด ก็จงบอกเรื่องนั้น
เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่า รู้บ้าง
เมื่อรู้บอกว่า ไม่รู้บ้าง
เมื่อไม่เห็น ก็บอกว่าเห็นบ้าง
เมื่อเห็นก็บอกว่า ไม่เห็นบ้าง
เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งรู้อยู่
เพราะเหตุตนบ้าง
เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง
เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งเล็กน้อยบ้าง.

เป็นผู้ส่อเสียด
คือ ได้ฟังข้างนี้แล้ว นำไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายพวกข้างนี้บ้าง
หรือฟังข้างโน้นแล้ว นำไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลายพวกข้างโน้นบ้าง
ยุพวกที่พร้อมเพรียงกันให้แตกกันไปบ้าง
ส่งเสริมพวกที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมพวกที่แตกกันแล้วบ้าง
ชอบใจในคนที่แตกกันเป็นพวก ยินดีในความแตกกันเป็นพวก
ชื่นชมในพวกที่แตกกัน และกล่าววาจาที่ทำให้แตกกันเป็นพวก.

เป็นผู้มีวาจาหยาบ
คือ กล่าววาจาที่เป็นโทษหยาบ
อันเผ็ดร้อนแก่ผู้อื่น
อันขัดใจผู้อื่น
อันใกล้ต่อความโกรธ
ไม่เป็นไปเพื่อความสงบจิต.

เป็นผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อ
คือ พูดในเวลาไม่ควรพูด พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง
พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย
กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สุด
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่สมควร
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่างเป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความโลภมาก
คือ เพ่งเล็งทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ดังนี้.

เป็นผู้มีจิตพยาบาท
คือ มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่าบ้าง
จงถูกทำลายบ้าง จงขาดสูญบ้าง อย่าได้มีแล้วบ้าง ดังนี้.

เป็นผู้มีความเห็นผิด
คือ มีความเห็นวิปริตว่า
ผลแห่งทานที่ให้แล้วไม่มี
ผลแห่งการบูชาไม่มี
ผลแห่งการเซ่นสรวงไม่มี
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาตและนรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย
คือไม่ประพฤติธรรมอย่างนี้แล.

กุศลกรรมบถ ๑๐
[๔๘๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกายมี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง
ทางใจมี ๓ อย่าง.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้
ละการฆ่าสัตว์เว้นขาดการฆ่าสัตว์
วางทัณฑะวางศาตราเสียแล้ว
มีความละอาย มีความเอ็นดู
มีกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

ละการถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้
เว้นขาดจากการลักทรัพย์
ไม่ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น
ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้
ซึ่งนับว่าเป็นขโมย.

ละการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
คือ ไม่ถึงความสมสู่ในพวกหญิง
ที่มารดารักษา ที่บิดารักษา ที่มารดาและบิดารักษา ที่พี่ชายรักษา
ที่พี่สาวรักษา ที่ญาติรักษา ที่มีสามี ที่อิสรชนหวงห้าม
ที่สุดหญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ
ไปในทีประชุม หรือไปในหมู่ชน หรือไปในท่ามกลางญาติ
หรือไปในท่ามกลางขุนนาง หรือไปในท่ามกลางราชสกุล
หรือถูกนำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ
เชิญเถิด ท่านรู้เรื่องใด ก็จงบอกเรื่องนั้น
เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่า ไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่า รู้
เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า ไม่เห็น
หรือเมื่อเห็นก็บอกว่า เห็น ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่
เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง
เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งของเล็กน้อยบ้าง.

ละวาจาอันส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด
คือได้ฟังข้างนี้แล้วไม่นำไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายพวกข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกข้างนี้
เพื่อทำลายพวกข้างโน้น สมานพวกที่แตกกันให้ดีกันบ้าง
ส่งเสริมพวกที่ดีกันให้สนิทสนมบ้าง ช
อบใจพวกที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีแล้วในพวกที่พร้อมเพรียงกัน
ชื่นชมในพวกที่พร้อมเพรียงกัน และกล่าววาจาอันทำให้พร้อมเพรียงกัน.

ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ
เพราะหูชวนให้รัก จับใจเป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ ชอบใจ.

ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
พูดในเวลาที่ควรพูดตามความจริง พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์
พูดเรื่องที่เป็นธรรม พูดเรื่องที่เป็นวินัยและกล่าววาจามีหลักฐาน
มีที่อ้างได้มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือความประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ก็ความประพฤติเรียบร้อย
คือ ความประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีความโลภมาก
ไม่เพ่งเล็งทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ดังนี้.

เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
มีความดำริในใจไม่ชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข รักษาตนเถิด ดังนี้.

เป็นผู้มีความเห็นชอบ
คือมีความเห็นไม่วิปริตว่า
ผลแห่งทานที่ให้แล้วมีอยู่
ผลแห่งการการบูชามีอยู่
ผลแห่งการเซ่นสรวงมีอยู่
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมีอยู่
โลกนี้มีอยู่โลกหน้ามีอยู่
มารดามีอยู่ บิดามีอยู่
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะมีอยู่
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ
ปฏิบัติชอบผู้ทำโลกนี้ และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอน
ให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเรียบร้อย
คือความประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย
คือ ประพฤติธรรมอย่างนี้แล.

ว่าด้วยผลแห่งความประพฤติเรียบร้อย
[๔๘๖] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกกษัตริย์มหาศาลเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกกษัตริย์มหาศาล
นั่นเป็นเพราะอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกพราหมณ์มหาศาล ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ ประพฤติธรรมพึงหวัง เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดีมหาศาลเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกคฤหบดีมหาศาล นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ
เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
พึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นยามา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นดุสิต …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นนิมมานรดี …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี …

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ ประพฤติธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหมเถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม
นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือประพฤติธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภา
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภา นั่นเป็นเพราะอะไร
เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือประพฤติธรรมธรรมพึงหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา …
ความเป็นเทวดาชั้นอัปปมาณาภา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสรา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตสุภา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอัปมาณสุภา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหกะ …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผละ …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอวิหา
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอตัปปา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสา …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี …
ความเป็นพวกเทวดาชั้นอกนิฏฐะ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ …
ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ นั้นเป็นเพราะอะไร
เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแหละ.

ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือประพฤติธรรมพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในชาตินี้เถิด
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
บุคคลนั้นพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
เข้าถึงอยู่ในชาตินี้นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร
เป็นเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย
คือ เป็นผู้ประพฤติธรรม อย่างนั้นแหละ.

ความเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
[๔๘๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านสาละ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยาย
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
พวกข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไปฉะนี้แล.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หัตถกสูตรที่ ๒
[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ใกล้เมืองอาฬวี
ครั้งนั้นแล หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ดูกรหัตถกะ
บริษัทของท่านนี้ใหญ่ ก็ท่านสงเคราะห์บริษัทใหญ่นี้อย่างไร ฯ

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงสังคหวัตถุ ๔ ประการไว้
ข้าพระองค์สงเคราะห์บริษัทใหญ่นี้ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการเหล่านั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ว่าผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยทาน
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยทาน ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน
ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการวางตัวเสมอ
ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการวางตัวเสมอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มีอยู่
ชนทั้งหลายจึงสำคัญถ้อยคำของข้าพระองค์ว่าควรฟัง ไม่เหมือนของคนจน ฯ

พ. ถูกแล้วๆ หัตถกะ นี้แลเป็นอุบายที่ท่านสงเคราะห์บริษัทใหญ่
ดูกรหัตถกะ จริงอยู่ ใครๆ ก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทใหญ่ ในอดีตกาล
ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้
และใครๆ ก็ตามที่จักสงเคราะห์บริษัทใหญ่ ในอนาคตกาล
ก็ล้วนแต่จักสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
ใครๆก็ตามย่อมสงเคราะห์บริษัทใหญ่ในปัจจุบัน
ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ

ลำดับนั้น เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี หลีกไปแล้วไม่นาน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
เป็นผู้มีศรัทธา ๑
มีศีล ๑
มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑
เป็นพหูสูต ๑
มีจาคะ ๑
มีปัญญา ๑
มีความปรารถนาน้อย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ฯ

อรหัตผล

อรหัตผล
วิธีการสอบอารมณ์
สำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองนั้นเข้าถึงธรรม อรหัตผล

“อยู่จบพรหมจารรย์ อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”
จะมีสภาวะการดับอุปาทาน ๔ ตามจริง
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

หากผู้นั้น พูดอ้างอิงทำนองว่าตนไม่รู้ปริยัติ
แต่ตนเข้าถึงสภาวะโดยจากผลของการปฏิบัติ

ถ้าตอบแบบนี้ ถือว่าผู้นั้นยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่
ที่ยังมีอ้างทำนองนี้ ว่าตนไม่รู้ปริยัติ
เกิดจากยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้

ผู้ที่เข้าถึงธรรม อรหัตผลตามจริง
จะมีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง

เมื่อมีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน
วิมุตติญาณทัสสนะจะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
ความรู้ความเห็น จะแจ่มแจ้มแทงตลอดในอรรถ พยัญชนะ
โดยปราศจากตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ปราศจากตัณหา(๓)และทิฏฐิ(ทิฏฐุปาทาน)
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
ที่เป็นหลักฐานยังคงปรากฏอยู่

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๒. สีหนาทวรรค
๑. จูฬสีหนาทสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
อุปาทาน ๔
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้.
๔ อย่างเป็นไฉน
คือ กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น
เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด
ความเลื่อมใสนั้น
เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด
ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด
ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น
เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว
มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์
ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กามโยคะ ๑
ภวโยคะ ๑
ทิฏฐิโยคะ ๑
อวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม
ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม
ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม
ความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม
และความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่ากามโยคะ

ก็ภวโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ
ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ
ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ
ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ
และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าภวโยคะ

ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงเพราะทิฐิ
และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ

ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ
บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก
มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการ เป็นไฉน คือ
ความพรากจากกามโยคะ ๑
ความพรากจากภวโยคะ ๑
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม
ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม
ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม
ความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม
ความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ

ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ
ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ
ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ
ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ
และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ

ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงในทิฐิ
และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ความพรากจากอวิชชาโยคะ
เป็นดังนี้
บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันลามก
อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ

= อธิบาย =

“สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ”

“ความพรากจากกามโยคะ”
ด้วยสีลปาริสุทธิ
โดยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม

“ความพรากจากภวโยคะ”
ด้วยจิตตปาริสุทธิ
โดยการทำกรรมฐาน สมถะ วิปัสสนา

“ความพรากจากทิฏฐิโยคะ”
ด้วยทิฏฐิปาริสุทธิ
แจ้งอริยสัจ ๔

“ความพรากจากอวิชชาโยคะ “
ด้วยวิมุตติปาริสุทธิ
วิชชา ๑ แจ้งอริยสัจ ๔
วิชชา ๒ แจ้งอริยสัจ ๔
วิชชา ๓ แจ้งอริยสัจ ๔
วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
แจ้งอริยสัจ ๔
ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ละตัณหา ๓ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ละอุปาทาน ๔ เป็นสมุจเฉท


การละอาสวะ
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติตาม
ความรู้ความเห็นจะมีเกิดขึ้นในตน
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

๘. ทุติยนฬกปานสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่นฬกปานนิคม สูตรที่ ๒
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริ …
มีโอตตัปปะ …
มีวิริยะ …
มีปัญญา …
มีการเงี่ยโสตฟังธรรม …
มีการทรงจำธรรม …
มีการพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม …
มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม …
มีความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย
เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป
เขาพึงหวังได้แต่ความ เจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
มีความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย
เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป
เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์ผ่านไป
ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงามย่อมเจริญด้วยรัศมี
ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง

คำถาม สมมุติ

ถ้ามีคนหนึ่งตั้งคำถามกับเราว่า การเห็นเลขเหล่านี้ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
เรารู้สึกอย่างไร

คำตอบ เป็นคำถามสมมุติเรื่องตัวเลขที่มากระทบ
เรามีความคิดกับเลขเหล่านี้อย่างไร
เมื่อเป็นคำถาม เป็นเรื่องสมมุติ ไม่บอกว่าเรื่องอะไรทำไมจึงตั้งคำถามแบบนี้
เมื่อให้เราตอบ เราจะบอกว่า ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรามองเห็น
แล้วสิ่งที่มีเกิดขึ้น ทำให้เราคิดอย่างไร
สำหรับเรา สมมุตติก็คือสมมุติ คำตอบมีแค่นี้ อื่นๆไม่มี
ก็มันเป็นเพียงสมมุตติ ไม่ใช่เรื่องหรือสิ่งที่มีเกิดขึ้นตามจริง

แล้วมีคนตั้งคำถามว่า ที่ปฏิบัตินี้ เพื่อไม่มีใช่ไหม
คนนี้ตั้งคำถามสั้น “เพื่อไม่มีใช่ไหม”
การที่เคยได้ฟังเรื่องการปฏิบัติของคนนี้ ทำให้รู้ว่าคำถามของเขาคืออะไร
คำว่าเพื่อไม่มีของเขา คือ ไม่มีตัวตน

สำหรับเรา อาจเพราะสร้างเหตุไว้ดีมากกว่าไม่ดี
และไม่รู้ปริยัติ ไม่รู้คำเรียก หลักๆปฏิบัติตามที่หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
ที่ปฏิบัติตามเพราะเห็นทุกข์ หลายสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิตค่อนข้างทุกข์
พอเริ่มรู้ปริยัติ เมื่อมีคนถามว่าปฏิบัติเพื่ออะไร
เราสามารถตอบคำถามได้ทันทีว่า ปฏิบัติเพื่ออนุปาทานปรินิพาน
คือดับภพชาติของการเกิด
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อเป็นคำเรียกเหล่านี้ โสดา สกทาคา อนาคามี อรหันต์

เหมือนคนติดกระดุม
หากติดกระดุมตามลำดับ ตัวสภาวะจะดำเนินโดยตัวของสภาวะของมันเอง
ที่มีสะดุดบางครั้งบางคราว เกิดจากติดกระดุมผิดช่อง

ประกอบด้วย มีคบกัลยาณมิตร
แล้วกัลยาณมิตร ไม่พูดเรื่องความเป็น จะพูดแต่เรื่องการปฏิบัติ
และวิธีการกำหนด ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
สิ่งที่มีเกิดขึ้น เมื่อเกิดอะไรขึ้น อย่าไปชอบใจ อย่าไปชัง ให้ตั้งจิตไว้กลางๆ
สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่าเห็น
อย่าไปให้ค่าหรือความหมายใดๆในสิ่งที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ
ให้ทำจิตให้ได้อย่างนี้ตลอดเวลา เดี๋ยวจะแจ้งเอง คือจะรู้ด้วยตน

เพราะเมื่อก่อนเราก็ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ได้แต่ปฏิบัติอย่างเดียว
เพราะรู้ว่าถามไปแล้วก็จะได้คำตอบแบบนี้ เลยเลิกหาคำตอบ

กิเลสน่ะมันเนียนมากๆ
โน่นต้องมีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง ไม่ใช่มโนเอาน่ะ
เมื่อวิชชา ๓ มีเกิดขึ้น วิมุตติญาณทัสสนะจะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
จะค่อยๆมีความรู้ความเห็นมีเกิดขึ้น ไม่ใช่รู้แบบปุ๊บทันที
แล้วไม่ใช่จากการนำมาพิจรณาในสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
แต่เป็นเรื่องข้อปฏิบัติ การปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ
ที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆๆๆ
และการเข้าถึงธรรม มรรคผลที่มีเกิดขึ้นตามจริงที่มีเกิดขึ้นในตน
ไม่ใช่จากการท่องจำหรือไปฟังจากการบอกเล่าของคนอื่น
แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน

ขณะดำเนินชีวิต ขณะทำกรรมฐาน ขณะจิตดวงสุดท้าย
ซึ่งตอนแรกเราจะไม่รู้หรอก อาจเพราะไม่สนใจ
จะมีนิมิตเสียง เหมือนเรื่องเล่า แรกๆฟัง พอเจอบ่อย ไม่อยากฟัง
จึงปฏิเสธไม่ฟัง น่ารำคาญ เสียงที่เคยเล่าก็หายไปเอง
วันดีคืนดี เสียงบอกเล่าจะมีเกิดขึ้นอีก ครั้งนี้เราตั้งใจฟัง
พอฟังทุกคืน ฟังแล้วพิจรณาเรื่องบอกเล่านี้
อ้าว นี่เป็นเรื่องการปฏิบัติตั้งแต่แรกเริ่มนี่นา
จากไม่สนใจ เริ่มตั้งใจฟังมากขึ้น
ถือเสียว่าเป็นการทบทวนสภาวะที่มีเกิดขึ้นที่เคยปฏิบัติมา
จนกระทั่งเข้าถึงธรรม มรรคผลตามจริงตามลำดับ
จึงมีเหตุให้เจอพระสูตรนี้ วิมุตติสูตร
พอได้อ่านกระสูตรนี้ อ้อ เสียงที่เราได้ยินได้ยินทุกคืนนั้นเป็นสภาวะอะไร
ซึ่งตรงกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เรื่องวิมุตติ
ซึ่งจะมีเกิดขึ้นเมื่อวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม
เมื่อวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
สภาวะที่มีเกิดขึ้นกับเราที่เป็นเสียงบอกเล่าทุกคืน
“๖. วิมุตติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ”

คือ กว่าจะรู้ กว่าจะเห็นตามจริง
สำหรับเราน่ะ ผ่านความตายมาทั้งหมด ๓ ครั้ง
ครั้งแรกมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สุขาปฏิปทา
ตอนที่มีเกิดขึ้นจะมีนิมิตเหมือนมีเกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ
เหมือนคนจมน้ำ หายใจไม่ออก ตะเกียกตะกายเพื่อหายใจให้ได้
ทีนี้เห็นว่าท่าทางจะไม่รอด จึงคิดว่าตายไปก็ดี จะได้เกิดใหม่
พอคิดแบบนี้ จากที่พยายามหายใจให้ออก จึงปล่อยเลย ตายก็ตาย
แสงสว่างเจิดจ้ามีเกิดขึ้น สว่างจริงๆ สว่างมากๆ
แล้วมีลมมหาศาลมาดูดออกไปนอกโลกไปจักรวาลเหมือนเหาะเร็วมาก
เหาะไปข้างหน้า สายตาที่มองเห็นทั้งสองข้าง จะเห็นเหมือจอหนังเล็กๆ
อัดกันในจักรวาลไม่มีที่ว่าง จอหนังที่เห็นชัดรู้ว่าเป็นในอดีตชาติที่เคยเกิดมา
ไม่มีความคิดอะไรหรอก เหาะพุ่งไปข้างหน้าเร็วมาก
ครั้งแรกสะดุดกลับมารู้กายที่นั่งอยู่ เพราะมีเสียงคนตะโกนมาถามว่ายังไม่กลับบ้านเหรอ คือสมัยนั้นเรายังทำงานอยู่ ห้องทำงานติดห้องน้ำ คนนี้เขาเข้าห้องน้ำ เห็นห้องทำงานของเรายังเปิดไฟ เขาจึงตะโกนถาม
ตอนที่กลับมารู้สึกกายที่นั่งอยู่ รู้สึกเสียดายมาก คือไม่รู้ว่าจะมีสภาวะอะไรที่มีเกิดขึ้นอีกคืออะไร สมัยนั้นเราเป็นคนที่มีสมาธิมาก เนวสัญญาฯ แสงว่างหรือโอกาส จะสว่างมากน้อยแค่ไหน สีอะไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
แล้วเหมือนจะมีสภาวะนี้มีเกิดขึ้นอีก แต่ไม่เกิดขึ้นอีก ประมาณ ๓ ครั้งได้ แล้วสภาวะนี้ก็หายไป
เรายังคงปฏิบัติต่อไป ไม่สนใจล่ะ แล้วจู่ๆสภาวะนี้มีเกิดขึ้นอีก เหมือนเดิม ครั้งนี้ไม่มีความคิด แค่กำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง จมน้ำอีกครั้ง ครั้งนี้ปล่อยเลย ก็มีลมหมาศาลหมุนๆพุ่งไปจักรวาล จนกระทั่งแรงดูดมหาศาล แล้วกลับมารู้สึกกายที่นั่งอยู่ อาการเหมือนเกิดใหม่จากท้องแม่ โดยวิธีหมอใช้เครื่องดูดเด็กออก ความรู้สึกแบบนั้น
ต่อมา สภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตค่อนข้างลำบาก
เวลาจิตเป็นสมาธิ เหมือนคนจะหมดแรง มือจะกำแฮนด์มอไซค์ไม่ได้
รู้ชัดเท้าที่เหยียบบนที่พักเท้า เหมือนเท้าเปล่า รู้ชัดแบบนั้น
พอรู้สึกมืออ่อนจับแฮนด์ไม่ได้ จึงหยุดรถข้างทาง ไม่หยุดก็ต้องหยุด
เหมือนร่างกายนี้ไม่สามารถบังคับได้ สักแต่ว่าร่างกาย แต่บังคับไม่ได้ เหมือนหุ่นยนต์
สิ่งที่ข้างเห็นด้านหน้า เห็นวิวหรือภูเขา ก็คนที่เดินผ่าน ไม่มีคำเรียก เหมือนอาการสมองที่เราเป็นตอนแรก สภาวะที่มีเกิดขึ้นสักแต่ว่ามีเกิดขึ้น ไม่มีคำเรียก ไม่มีความคิด เห็นความเกิดดับอยู่อย่างนั้นคือผัสสะมากระทบแล้วดับ จะเกิดอยู่อย่างนั้น รอจนกว่ากำลังสมาธิคลายตัว จึงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ นั่นแหละจึงขับรถไปทำงาน ก็มีปัญหาคือทำงานสาย
ต่อมาเลิกขับมอไซค์ไปทำงาน เพราะเวลาจิตเป็นสมาธิ ทำอะไรไม่ได้เลย ต้องรอสมาธิคลายตัว ด้วยเหตุนี้ทำให้ไปทำงานสาย ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงาน
เมื่อมาถึงห้องทำงาน ไม่มีพนง.มาหา เราก็ปฏิบัติเหมือนที่ทำทุกวัน กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง เดินจงกรม เมื่อเดินสุดทาง กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง กลับเท้า เมื่อกลับตัวเสร็จ กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง เดินจงกรมต่อ เมื่อเดินจงกรมครบเวลาที่ตั้งไว้ กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง แล้วนั่ง จิตเป็นสมาธิตั้งแต่กำหนดยืนหนอก่อนจะนั่ง เมื่อมานั่งจิตเป็นสมาธิต่อเนื่อง แสงสว่างเจิดจ้า รู้กายที่นั่งอยู่ แล้วตัวสภาวะจะดำเนินของตัวสภาวะไม่ต้องไปทำอะไร ไม่ต้องพิจรณา ไม่สงสัยสภาวะที่มีเกิดขึ้นคืออะไร มีหน้าที่คือทำเดิมๆซ้ำๆนี่แหละ เหมือนที่หลวงพ่อจรัญเคยเทศนาไว้ว่าทำเหมือนหญิงทอผ้า เดิมๆซ้ำๆ เมื่อจะรู้เดี๋ยวจะรู้เอง เราก็ทำแบบนั้นแหละ ไม่มีการนำความตัวตนไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความคิด ไม่มีพิจรณาใดๆ แค่รู้สภาวะที่มีเกิดขึ้นมีแค่นี้ จะรู้ชัดความเกิดดับขณะจิตเป็นสมาธิ ก็ความรู้เดิม ความเกิดดับขณะจิตเป็นสมาธิรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ มีเกิดขึ้นก่อนที่มาปรับอินทรีย์ใหม่อีกครั้ง มาครั้งนี้จะเห็นความดับมีเกิดขึ้นบ่อย ดับขณะจิตเป็นสมาธิรูปฌาน ดับหลายชม.
ขณะนั่งอยู่ แสงสว่างเจิดจ้ากับกายที่นั่งอยู่ มีความเรียกผุดขึ้นมา นิพพานดับภพ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ตอนนั้นแค่นี้
พออกจากทำกรรมฐาน พอกลับบ้าน จะนำคำเรียกที่ผุดขึ้นมาไปเสริชกูเกิ้ล เจอพระสูตรพระสารีบุตรสนทนากับพระอานนท์
เมื่อเจอพระสูตร เราก็คิดนะ ทางนี้มาถูกตรงทางล่ะ สิ่งที่รู้เห็นตรงกับที่พระสารีบุตรก็รู้เห็นเหมือนกัน
ทีนี้ไปเจอเรื่องอวิชชา สังขาร วิญญาณ ความรู้ความเห็นตริงนี้ มีความคิดเกิดขึ้นเองหรือว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องของพระอรหันต์หรือเปล่า นี่คิดแบบนี้เลย เกิดจากไม่เคยฟังจากใครเล่ามาก่อน จะดูตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว
ก่อนจะเข้าถึงธรรมน่ะ ป่วยแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ตกเลือดหนักไม่หาหมอ ใช้สมุนไพร อบตัว ให้ความร้อนไล่เลือดเสียทิ้ง อาบน้ำสมุนไพร เวลานั่งอบตัวใช้เวลานาน แล้วชอบด้วย อาจเพราะเคยฝึกกสิณ ให้ร้อนขนาดไหนก็อยู่ได้ ยิ่งร้อน เหงื่อจะออกเยอะ เลือดออกเยอะ จะรู้สึกโล่ง สบาย
พอไปทำงาน เวลาพนง.ไม่หา ก็ทำกรรมฐาน เวลาจิตเป็นสมาธิ จะมีโอภาสเป็นสีฟ้าเหมือนอบตัว จะรู้ชัดถึงสมาธิชอนไชไปทั่วร่างกายเหมือนอบตัวด้วยสีฟ้า มีนิมิตแม่กวนอิม มีกุญแจใส่น้ำใช้กิ่งหลิวมาพรมน้ำให้ รู้สึกเย็นทั้งตัว หลังจากนั้นอาการป่วยค่อยๆทุเลาลง แล้วหายป่วย

หลังจากไม่ได้สนใจเรื่องมรรคผลเท่าไหร่นะ
รู้แค่ว่าเวลาตายจะสบาย ไม่ต้องลำบากอีก
ก็คุยมาก คุยผ่านออนไลน์
ทีนี้สมาธิมาก เวลาคุยกับคนเหล่านี้สมาธิจะไหลไปหาคนนั้น เมื่อเป็นแบบนี้ใครก็เข้าหามาขอเป็นเพื่อขอสมาธิจากเรา
ตอนนั้นปวดหัวมากนะ น่าจะเกิดจากสมาธิมากน่ะ พอมีคนมาบอกว่าหากให้คนอื่นถ่ายเทสมาธิออกไปอาการปวดหัวจะดีขึ้นเอง
เราก็ถามว่าไม่เป็นไรเหรอ
เขาบอกว่าไม่เป็นไร เดี่ยวสมาธิจะกลับคืนมาเองแหละ ซึ่งเราก็เชื่อนะ
กว่าจะรู้ตามความจริง ถูกคนหลายๆคนเข้ามาหาเพื่อดูดสมาธิ ถูกดูดจนสมาธิเนวสัญญาฯที่มีอยู่น่ะ หายไปหมดสิ้น ไม่มีเหลือสักนิด อันนี้พูดถึงเวลาทำกรรมฐานนะ เวลานอนยังปกติ
เมื่อสมาธิเสื่อมหายไปหมดสิ้น ทำให้รู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ตอนนั้นทุกข์สุดๆ ทุกการกระทำจะเหมือนเหมือนของเหล็มแทงตามเนื้อขณะสนทนากับคนอื่น
แล้วมีเหตุให้เจอพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องผัสสะ เวทนา เป็นเรื่องของอายตนะ กรรมเก่า กรรมใหม่ ทำให้มีปัญญามีเกิดขึ้นตามจริงมีเกิดขึ้นในตนเกิดขึ้น รู้ชัดความเกิดและความดับผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ
ผัสสะ สิ่งที่มีเกิดขึ้น
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
รู้ความหมายของคำเรียกเหล่านี้และรู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เดิมจากทุกข์ เมื่อแจ่มแจ้งผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง ทำให้ทุกข์น้อยลงไปเรื่อยๆ ทำให้จิตปล่อยวางต่อผัสสะที่มากระทบ พยายามไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก แรกๆใช้ความอดทนอดกลั้น แต่ไม่มากเหมือนตอนที่เชื่อกรรมและผลของกรรมที่มีเกิดขึ้นในอดีต อันนั้นเชื่อการเทศนาของหลวงพ่อจรัญ แล้วปฏิบัติตาม ยังไม่มีปัญญามีเกิดขึ้นในตน
ตอนนั้นความรู้สึกจะเปลี่ยนไป จากทุกข์ ก็ทำข์น้อยลง ปล่อยวางมากขึ้น
ชรา มรณะ เป็นเรื่องของโลกธรรม ๘ ด้วยเหตุนี้การคลุกคลีย่อมน้อยลง ชอบความสงัดมากกว่า ไม่ชอบพูดมากเหมือนเมื่อก่อน พูดทางโลกก็ไม่พ้นโลกธรรม ๘ ถูกใจเขาก็ยกย่อง พอไม่พูกใจเขาก็ตำหนิ นินทาลับหลังก็มี
พูดให้น้อย ย่อมกระทบกับสิ่งเหล่านี้ก็น้อยลง

ครั้งที่สอง หัวใจวาย มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
มีความเจ็บปวดที่หัวใจแสนสาหัส ทนไม่ไหว
รู้ชัดกาย เวทนา จิต จะแยกออกจากกันไม่ปนกัน แล้วหมดสติ

พอกลับมารู้สึกตัว ก็งงว่ามีอะไรเกิดขึ้นอะไรกับเรา
ตอนนั้นยังไม่รู้หรอกนะว่านี่เกิดจากหัวใจวาย คือไม่รู้ก็คือไม่รู้จริงๆ
แล้วไม่รู้ด้วยว่าเกี่ยวข้องกับมรรคผล

เมื่อเราเคยผ่านความตายมา จะรู้ชัดสภาวะจิตดวงสุดท้ายด้วยตน
ย่อมรู้ว่าสภาวะจิตดวงสุดท้ายของคนอื่นด้วย

ส่วนความแตกต่าง ยกตย.
บางคนเวลาตาย ไปสวรรค์ ไปบรก พอฟื้นกลับมา พฤติกรรมจะเปลี่ยนไป
บางคนเวลาตาย จะเห็นร่างกายที่ตายแล้ว
อยู่ในสภาวะขณะตายจะอยู่ในลักษณะแบบนั้น
เช่น นั่ง หรือนอน เหมือนถอดกายทิพย์
แต่นี่มีเกิดขึ้นหลังหมดลมหายใจคือตาย

ครั้งที่ ๓ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ป่วยเข้านอนรพ.
หัวใจล้มเหลว ความดันสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้น ๑๕๐
มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกไขเตียงนั่งหัวสูง
จิตเป็นสมาธิ รู้ชัดอาการแน่นหน้าออก หายใจไม่ออก แล้วหมดสติ
ตอนฟื้นขึ้นมา เหงื่ออกเหมือนคนอาบน้ำ
เสื้อผ้า ผ็าปู ปลอกหมอน เปียก ต้องเปลี่ยนใหม่หมด
ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าอาการที่มีเกิดขึ้นในตนนั้นจนหมดสติคืออะไร
มารู้ที่หลังจะรู้ว่าเป็นเรื่องของหัวใจล้มเหลว

ลักษณะก่อนตายจากหัวใจล้มเหลวจะเป็นแบบนี้แหละ หรือไหลตาย
จะแค่รู้สึกแน่นๆที่หน้าอก หายใจไม่ออกแล้วหมดสติหลายชม.

ความตายหรือสภาวะจิตดวงสุดท้าย
สำหรับเรา ไม่มีนะ ไม่ไปสวรรค์ ไม่ไปนรก ไม่มีถอดกายทิพย์
แต่เป็นเรื่องของการฝึกอบกรมกายและจิตที่ทำมาต่อเนื่อง
จะมีเวทนากล้าแสนสาหัส เจ็บหัวใจสุดๆ หายใจไม่ออก
กาย เวทนา จิต แยกออกจากกันไม่ป่ะปนกัน แล้วหมดสติไปเลย
สภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งที่สองนี้ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า ทุกขาปฏิปทา

สภาวะที่มีเกิดขึ้นตรงนี้
เวทนากล้า กาย เวทนา จิต แยกออกจากกันไม่ป่ะปนกัน
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของอนัตตา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
จึงมาเป็นคำเรียก อัตตานุทิฏฐิ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
อัตตานุทิฏฐิละด้วยอนัตตา

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อัตตานุทิฏฐิสูตร
[๒๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
บุคคลรู้เห็นหู… รู้เห็นจมูก… รู้เห็นลิ้น… รู้เห็นกาย…
รู้เห็นใจโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้
ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ ฯ

ที่เราไม่ติดอุปกิเลส เกิดจาการได้มรรคผลตั้งแต่ครั้งแรกน่ะ ลืมไปหมด
ประกอบกับไม่เคยฟังธรรมเกี่ยวกับวิชชา ๑ วิชชา ๒ วิชชา ๓ คือไม่รู้เรื่อง

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ