จิตเป็นสมาธิ

จิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดว่าจิตเป็นสมาธิ
จิตเป็นสมาธิ มีเกิดขึ้นเนืองๆในอิริยาบท ๔

คำว่า “หลับ” จะหายไปจากชีวิต

แหกโค้ง

๒๒ พค.๕๗

สภาวะการทำความเพียร ตามรูปแบบที่เคยทำ ยืน เดิน นั่ง เกิดการแหกโค้ง ไม่ป็นรูป ไม่เป็นร่าง เหตุเกิดเมื่อ ช่วงที่เดินทางไปแพร่ เป็นครั้งแรก หลังจากนั้น สภาวะการทำความเพียร ลุ่มๆดอนๆ เนื่องจาก ปรับตัวไม่ทัน


หลังจากนั้นมา ที่เคยทำตามรูปแบบ ยืน เดิน นั่ง ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ กลับกลายมาเป็น ทำในอิริยาบทนอนมากกว่า ทำในอิริยาบทอื่นๆ ที่เคยทำ

ช่วงแรกๆ ก็ทุกข์อยู่เหมือนกัน ทุกข์ใจที่เห็นสภาวะการทำความเพียรของตนเอง เป็นแบบนั้น ทุกข์เพราะ ความอยาก อยากแต่ไม่รู้ว่าอยาก อยากให้สภาวะเดิมๆ ที่เคยทำ กลับคืนมา นี่แหละ อยากแต่ไม่รู้ว่าอยาก กิเลสบดบังสภาวะ

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะทำสมาธิอยู่ในอิริยาบทนั่ง เกิดมีสภาวะที่เคยเกิด มีเกิดขึ้นอีก ไม่ได้เกิดครั้งเดียว ช่วงหลังๆก็มีเกิดขึ้นอีก

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้รู้ว่า หากยังทำความเพียรต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นท่านอนก็ตาม เมื่อรู้สึกตัว ก่อนลุกขึ้นทำกิจอื่นๆ ตั้งจิตแผ่เมตตา กรวดน้ำ ทำแบบนี้มาตลอด

วันใด วันหนึ่ง นึกอยากนั่งทำสมาธิ หลังเสร็จงานต่างๆ ก็นั่งลง เมื่อจิตเป็นสมาธิ สภาวะที่เคยพบเจอมา ได้พบอีกครั้งหนึ่ง นั่งได้เป็นชม.ๆ เวทนาเกิดก็รู้ เริ่มเกิด กำลังเกิด เริ่มคลายตัว จนกระทั่งอาการปวดที่เกิดขึ้น ดับหายไปเอง กายส่วนกาย จิตส่วนจิต เวทนาส่วนเวทนา ความนึกคิด ส่วนความนึกคิด แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ

สภาวะที่เคยเกิดขึ้น ก็ยังมีเกิดขึ้นอีก ถึงแม้ไม่ได้ทำตามรูปแบบ ยืน เดิน นั่ง อย่างต่อเนื่องก็ตาม เมื่อรู้เห็นเช่นนี้แล้ว ทำให้ทุกข์กับการคาดหวัง น้อยลง

ทุกวันนี้ การทำความเพียรของวลัยพร จะเอาแน่นอน ในอิริยาบทใด อิริยาบทหนึ่ง ยังไม่ได้ เหนื่อยนัก เมื่อยนัก เบื่อนัก ก็นอน นอนลงจิตก็เป็นสมาธิ คือ พอหลับตาลง โอภาสเกิดตลอด จากแสงส่ว่าง แล้วเปลี่ยนเป็น เหมือนนั่งมองกระจกใสๆ อยู่ตรงหน้า

กิเลส กิเลส กิเลส

คลาดแคล้วจากอุปกิเลสมาได้ คลาดแคล้วจากความสุขสบายทางโลก(ไม่ติดใจ) แต่มาเสียทีกิเลสอีกตัว ติดเนต ชอบเล่นเกมส์ เมื่ออยู่บ้าน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าไม่ได้เล่นทั้งวันก็ตาม แต่ถือว่า ติด เพราะมีความชอบใจ ในการเล่น

ถึงแม้ไม่ยุ่งกับใครๆ เมื่อเหตุปัจจัยยังมีอยู่(กิเลส) ก็ฟาดฟัดกับกิเลสของตัวเอง ที่ยังมีอยู่

บางครั้ง ก็ทำให้ทุกข์ ทุกข์เพราะ ยึด ยึดติดว่า รู้ว่า ควรทำอย่างไร แต่ยังทำไม่ได้ บางครั้ง เมื่อจิตเกิดการทบทวนสภาวะ จึงทำให้เกิดทุกข์ เพราะเหตุนี้

เมื่อจิตทบทวนเนืองๆแบบนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย มองเห็นโทษของอวิชชา นี่แหละ ไอ้ตัววายร้ายที่สุดกว่าตัวอื่นๆ

หลุดจากบางสภาวะได้ เจอกับดักหลุมพรางตัวใหม่ต่อ พอหลุดจากตัวนี้ เจอกับดักตัวใหม่ต่อ ถึงบอกไง มีแต่การเรียนรู้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น มีหน้าที่คือ รู้อย่างเดียว

เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น ที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด นี่คือ เหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่ ทั้งภายนอก(เคยกระทำมาร่วมกัน) ทั้งภายใน(กิเลส)

เออหนอ เกิดมาแล้ว มันทำให้ทุกข์ เพราะเหตุนี้เองหนอ
นี่แหละ ทุกข์ โทษ ภัย ของการเกิด

เพราะอวิชชา เจ้าตัววายร้าย ตัวเดียวแท้ๆ
ถ้ายังมีเหลือเชื้ออยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งภพ ย่อมยังมีอยู่

บางครั้ง ก็มีครุ่นคิดนะ นี่จะเจออะไรอีกต่อไปหนอ
ไม่อยากพบ ไม่อยากเจอ ชีวิตนี้ น่าเบื่อจริงๆ

แม้เราบอกว่า ไม่เอาอะไรๆอีกแล้ว
แหมม เจ้าเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่ ก็ขยันหยิบยื่นมาให้จัง

เบื่อนะเฟ๊ยยยย ไม่อยากได้อะไร ไม่ต้องเอาอะไรมาทดสอบชั้นอีก
ชั้นแค่ต้องการอยู่แบบสงบๆ แบบนี้ ก็พอแล้ว

 

มีเขียนต่อ

พอดีมีคำถามเข้ามา สิ่งที่วลัยพรได้อธิบายไป ก็ไม่ปะติดปะต่อ เอาไว้จะมาอธิบายเพิ่มว่าด้วย ความสงบ 

คิดว่า ควรอธิบาย เพื่อเป็นแนวทางให้กับคนอื่นๆ หากมีความสำคัญผิดเกี่ยวกับสภาวะ ที่เรียกว่า ความสงบ

ขอบคุณสำหรับคำถาม เพราะการเขียนของวลัยพร มักจะไม่มีการอธิบายรายละเอียดอะไรมาก

อย่างที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ ประมาณว่า ถ้าไม่มีถามมา อาจจะเข้าใจตรงกันหรือ ไม่ก็ไม่มีอะไรจะถาม หรือก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

 

ต้องศึกษา

ก่อนจะเขียนคำเรียกต่างๆลงไป วลัยพรมักหาข้อมูลก่อน(ถ้าไม่ลืม) เช่นคำว่า ความสงบ ที่จะนำมากล่าวถึง

คำว่า ความสงบ มีหลายลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

ความสงบในชีวิต

ความสงบก่อนจิตเป็นสมาธิ

ความสงบที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

ความสงบในชีวิต หมายถึง การดำเนินชีวิต สงบราบเรียบไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีเหตุการณ์ให้ชีวิตเกิดความวุ่นวาย(เกิดจาก การทำความเพียรต่อเนื่อง และการหยุดสร้างเหตุนอกตัว)

ความสงบก่อนจิตเป็นสมาธิ อันนี้มีชื่อเรียกว่า ปัสสัทธิ

ความสงบที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ การรู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรม เห็นการเกิด-ดับ ของสภาวะที่เกิดขึ้น ในแต่ละ ขณะๆๆๆ(อุปาทะ ฐีติ ภังคะ/เริ่มเกิด กำลังเกิด ดับไป) อันนี้มีชื่อเรียกว่า อุเบกขา

ความสงบ ที่เกิดขึ้นหลังจากทำสมาธิ อันนี้เกิดจาก ผลจากการทำสมาธิ

คำว่าเสื่อม 

อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจว่า เขาใช้กับว่าเสื่อม ที่กล่าวถึงในแง่ เรื่องใด เช่น ความสงบเสื่อม นี่ก็เพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก

สมาธิเสื่อม อันนี้รู้ด้วยตัวเองว่า สภาวะสมาธิเสื่อม นั้นมีอยู่จริง คือ โดยปกติคนทั่วๆไป มีสมาธิมาตั้งแต่เกิดแล้ว

ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาสมาธิที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ และนำมาใช้ให้ถูกทาง คือ การดับเหตุของการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร

สมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิ(ยังไม่ได้พัฒนา ขาดความรู้สึกตัว ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ บ้างนิยมเรียกว่า สมาธิหัวตอ ตั้งแต่รูปฌาน จนถึงอรูปฌาน) มีเกิดขึ้น ก็เสื่อมได้ ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง(การทำความเพียร)

สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ(มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตั้งแต่รูปฌานจนถึงอรูปฌาน)

สมาธิชนิดนี้ เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม มีเหตุให้ กำลังสมาธิที่มีอยู่ หายไปหมดสิ้น หายเกลี้ยงไม่มีเหลือหรอ เป็นเหตุให้ เห็นความเกิดขึ้นของกิเลสที่มีอยู่ อย่างชัดเจน(อันนี้ไม่เกี่ยวกับการทำความเพียร เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะ มีชื่อเรียก แต่ยังไม่เขียนชื่อ เก็บไว้ก่อน)

สภาวะสัมมาสมาธิ มีความโดดเด่นเฉพาะตัว คือ หากมีเหตุให้ สมาธิที่มีอยู่(เกิดจากการทำความเพียร) มีเหตุปัจจัยให้หายไปหมดสิ้น(เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของสภาวะหนึ่ง)

เพียงทำความเพียรต่อเนื่อง กำลังสมาธิจะค่อยๆมีกำลังเพิ่มมากขึ้น และไม่มีความตกต่ำ คือ ไม่เป็นมิจฉาสมาธิ สมาธิที่เกิดขึ้น ยังคงเป็นสัมมาสมาธิ จึงชื่อว่า ไม่ตกต่ำ(ไม่ต้องเริ่มต้นปรับอินทรีย์ใหม่)

ปัสสัทธิ กับ สมาธิ

ปัสสัทธิ เป็นคนละสภาวะกับสมาธิ

ปัสสัทธิ มีลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ความสงบ

ขณะที่เกิดสภาวะปัสสัทธิ จะแค่รู้สึกว่า สงบ คือ มีความสงบเกิดขึ้น
จะไม่มีอาการวูบ หรือ วาบ ก่อนอาการปัทสัทธิเกิด

สมาธิ มีลักษณะเด่นชัด ที่เกิดขึ้นก่อนที่จิตจะเป็นสมาธิคือ
มีอาการวูบ หรือ วาบ เกิดขึ้น อาจจะมีโอภาส หรือ ไม่มีโอภาส เกิดขึ้นร่วมด้วยก็ได้

ลักษณะที่เด่นชัดของจิตเป็นสมาธิอีกอย่างหนึ่งคือ
ขณะหลับตาอยู่ แต่ตาในไม่หลับ เหมือนคนลืมตาภายใต้เปลือกตา
จะมีอาการเหมือน มองกระจกอยู่

ส่วนปัสสทธิ จะมีแค่อาการสงบ แต่ไม่มีสภาวะอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเหมือนจิตเป็นสมาธิ คือ
ขณะที่ ก่อนจิตเป็นสมาธิ และกำลังเป็นสมาธิอยู่

การที่ได้ยินเสียง หรือ สัมผัสกับ การเต้นของหัวใจ
จะเกิดขึ้นเมื่อ ความสงบเกิดก่อน
ไม่ใช่เกิดขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่

การที่มารับรู้การเต้นของหัวใจ หรือ การเต้นของชีพจร ตามจุดต่างๆของร่างกาย
เหตุจาก กำลังสมาธิที่เกิดขึ้นอยู่ คลายตัวลง จึงมารับรู้อาการที่เกิดขึ้นกับกายได้

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ