ปัญญินทรีย์

30 กย. 65 แก้ไขใหม่

เห็นความเกิดดับของรูปนาม ตามจริง

1. มีเกิดขึ้้ขณะดำเนินชีวิต

2. มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

2.1 มีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม

2.2 มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

3. มีเกิดขึ้้นขณะมรรคญาณ(ไตรลักษณ์) ผลญาณ(วิมุตติปาริสุทธิ) ปรากฏตามจริง

3.1 มรรคญาณ(ไตรลักษณ์) ผลญาณ(วิมุตติปาริสุทธิ) ปรากฏตามจริง
โคตรภูญาณ
วิชชา ๑ สุญญตา แจ้งนิพพาน แจ้งอริยสัจ ๔
(เป็นความรู้ความเห็นเฉพาะผู้ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น)

3.2 มรรคญาณ(ไตรลักษณ์) ผลญาณ(วิมุตติปาริสุทธิ) ปรากฏตามจริง
วิชชา ๒ ปรากฏตามจริง แจ้งอริยสัจ ๔

3.3 มรรคญาณ(ไตรลักษณ์) ผลญาณ(วิมุตติปาริสุทธิ) ปรากฏตามจริง
วิชชา ๓ ปรากฏตามจริง มหาสุญญตา แจ้งอริยสัจ ๔

วิมุตติญาณทัสสนะ ปรากฏตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔
แจ้งขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕


26 พ.ย. 2017

[๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

หมายเหตุ;

ปัญญินทรีย์ มีเพียงอย่างเดียว
ได้แก่ อริยสัจ ๔

19 ธ.ค. 2017

ปัญญินทรีย์ กับ อาสวะ(บางเหล่าและทั้งหลาย)
ของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

เป็นคนละตัว คนละสภาวะกัน

19 ธ.ค. 2017

ปฏิบัติที่เรียกว่า ลำบาก
และปฏิบัติที่เรียกว่า สบาย
ล้วนเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้นทางใจล้วนๆ

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑

ข้อปฏิบัติ ได้แก่ การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(วิปัสสนา/ไตรลักษณ์เกิดก่อน สมถะ/สัมมาสมาธิ เกิดทีหลัง)

สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑

ข้อปฏิบัติได้แก่ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
(สมถะ/สัมมาสมาธิ เกิดก่อน วิปัสสนา/ไตรลักษณ์เกิดทีหลัง)

ทั้งสุขาและทุกขาปฏิปทา จะรู้ช้าหรือรู้เร็ว
เป็นเรื่องของอินทรีย์ ๕ ตัวแปรของสภาวะทั้งหมด คือ ปัญญินทรีย์

กล่าวคือ ถึงแม้จะมี อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณเกิดขึ้นแล้ว
แต่ปัญญินทรีย์อ่อน ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ มีเกิดขึ้นช้า

ด้วยเหตุปัจจัยนี้ เป็นเหตุปัจจัยให้
ไม่รู้ชัดวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
(รู้แค่เปลือก ไม่รู้ถึงที่สุด)
จึงชื่อว่า ปฏิบัติลำบากและปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
การแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ จะมีเกิดขึ้นได้ ต้องแจ้งใน นิพพาน
ในแง่ของการนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์(ดับเหตุปัจจัยของการเกิด)

เมื่อแจ้งในนิพพาน ตามความเป็นจริง
ที่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้

เป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน ผัสสะและอริยสัจ ๔
และเป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔ ในที่สุด

หัวใจพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ทุกข์
เหตุแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
ทางให้ถึงความดับทุกข์

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔

27 ม.ค. 2018

ปัญญินทรีย์ กับ อาสวะ(บางเหล่าและทั้งหลาย)ของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
เป็นคนละตัว คนละสภาวะกัน

แต่อาสวะบางเหล่าหรือทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายถึง ไตรลักษณ์

อนิจจัง(ไม่เที่ยง)
ทุกขัง(เป็นทุกข์)
อนัตตา(เป็นอนัตตา)

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ใจเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เมื่อมีเกิดขึ้นเนืองๆ
อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา
อนัตตานุปัสสนา

ผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ.

๑. มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
กล่าวคือ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)
เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างหยาบ
๒. มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
กล่าวคือ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ อรูปภพ)
เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างกลาง

๓. มีเกิดขึ้นขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย
หากยังไม่ทำกาละ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสภาวะ
อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างละเอียด

ปัจจเวกขณญาณ

ครั้งที่ ๑. แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองใน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ผัสสะ กับ อริยสัจ ๔

ครั้งที่ ๒. แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองใน อวิชชา สังขาร วิญญาณ
ปฏิจจสมุปทาท กับ อริยสัจ ๔

ปัญญินทรีย์ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔
เกิดที่หลังสภาวะ อาสวะบางเหล่าหรือทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา(ไตรลักษณ์)

ศิล สมาธิ ปัญญา

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า

“เราพึงเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่เคารพ ที่ยกย่อง ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลาย” ดังนี้ก็ดี,…

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นผู้มีลาภ…
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงอดทนได้ซึ่งความไม่ยินดี และความยินดี…
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงอดทนความขลาดกลัวได้…
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้

ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔…

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน …
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นสกทาคามี …
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นโอปปาติก (อนาคามี) ดังนี้ก็ดี,…

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า

“เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงแล้วแลอยู่” ดังนี้ก็ดี,

เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบ แห่งจิตในภายใน
เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิปัสสนา
และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลายเจริญงอกงามเถิด
มู. ม. ๑๒/๕๘/๗๓.

หมายเหตุ:

เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย หมายถึง หยุดสร้างเหตุนอกตัว

พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบ แห่งจิตในภายใน หมายถึง ฝึกจิตให้ตั้งมั่น(สมาธิ)

เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน หมายถึง ระดับของสมาธิ ในสภาวะต่างๆ เรียกตาม องค์ประกอบของสภาวะ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิปัสสนา หมายถึง ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ หรือ มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นร่วม ขณะจิตเป็นสมาธิ

และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลายเจริญงอกงามเถิด หมายถึง สัมมาทิฏฐิ คือ ปราศจาก ความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้อง ในสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

เคล็ดไม่ลับเรื่องสมาธิและวิปัสสนาญาณ ๑ ( ใหม่ )

ของเก่า https://walailoo2010.wordpress.com/2008/01/09/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b4/

เป็นสภาวะในปี ๒๐๐๘ นำมาแก้ไขใหม่

แก้ไขข้อความทั้งหมดใหม่ เพราะที่ลงไว้คือ สภาวะเก่า ของเดือน 09 ม.ค. 2008

ที่ลงใหม่นี่ ๑ พค. ๕๔

รู้ไว้แค่ตัวเอง รู้นั้นย่อมดับสิ้นไปพร้อมกับเวลาที่ตัวเองตาย หลายๆท่านที่เราได้สนทนามา ทั้งญาติธรรมที่ได้เคยร่วมปฏิบัติกรรมฐานมาด้วยกัน และอีกหลายๆท่านที่ได้สนทนากันทางอินเตอร์เน็ต

บางคนเฝ้าค้นหาคำตอบว่านี่คืออะไร นั่นคืออะไร มันเป็นคำถามที่ได้คำตอบไม่รู้จบ เพราะต่างคนต่างรู้ ต่างก็ตอบแบบที่ตัวเองเข้าใจ แบบที่ตัวเองรู้ แบบที่ตัวเองทำแล้วทำได้ถนัด

ถาม 100 คนก็ได้ 100 คำตอบ อาจจะคล้ายคลึงกันบ้าง แตกต่างกันไปบ้าง แต่จะให้เหมือนกันที่สุดนั้นไม่มี

เมื่อสมัยที่เราได้เริ่มปฏิบัติกรรมฐานตั้งแต่ตอนแรก เราทำตามครูบาอาจารย์ท่านสอนมาตลอด ท่านบอกว่า ” ไม่ต้องไปสงสัย เห็นอะไรก็กำหนดรู้ ตามรู้ ตามดูมันไป จนกว่ามันจะดับหายไปเอง สักวันหนึ่งก็จะเข้าใจเอง ในสิ่งที่เห็น

ไม่ต้องเที่ยวไปถามใคร มันจะเสียเวลาในการปฏิบัติไปเปล่าๆ เพราะมัวแต่สงสัย”

อย่างที่เราเคยได้บันทึกไว้ว่าเมื่อก่อนเราน่ะไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ไม่รู้ว่า สิ่งที่เราได้ผ่านจากการทำกรรมฐานแต่ละขั้นตอนนั้นมีคำเรียก ในสมัยก่อนอาจจะมีตำราเกี่ยวกับการทำกรรมฐาน

แต่เท่าที่เราเคยอ่านเจอจริงๆก็คือ หนังสือการฝึกกสิณที่หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม ท่านโยนให้มาฝึกเอง ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า นี่ก็คือการฝึกกรรมฐานอย่างหนึ่งเหมือนกัน

จะพูดถึงเรื่องสมาธิ อ่านพระพุทธเจ้าตรัสไว้ จากพระสุตันตปิฎก

[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถ้อยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่

ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว

เพราะผู้ชอบนั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ สัมปชัญญะ ฯ

การที่จะผ่านสมาธิแต่ละขั้นได้ต้องมีสติ สัมปชัญญะมากพอ จะเกิดสมาธิก็รู้ จะคลายออกจากสมาธิก็รู้ ส่วนฌาน 5 6 7 8 จะเกิดได้ง่าย ถ้าผ่านฌาน 4 แล้ว

ที่กล่าวมาแล้วนี่คือเรื่องสมาธิแต่ละขั้น

วิธีสร้างสติให้เกิด

ก็คือ การกำหนดรู้ ตามรู้ ตามดู ลงไปในสิ่งที่เกิดการกระทบ ตรงไหนเกิดชัดเจนที่สุดให้กำหนดตรงนั้น ตามรู้ ตามดูตรงนั้นไป แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน

อย่าปล่อยให้ผ่านไปโดยการดูเฉยๆ คือ รู้ในการเกิดกระทบนั้น แต่ไม่ไปให้ค่าในสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด กำหนดรู้บ่อยๆ เมื่อกำหนดได้ชัดเจนดี สติย่อมมีมากขึ้น

เมื่อสติมากขึ้น สัมปชัญญะย่อมเกิด เมื่อมีทั้งสติ และสัมปชัญญะเกิดร่วมกัน สมาธิย่อมเกิด เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ย่อมรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต การทำงานของขันธ์ 5 ที่เป็นการปรุงแต่ง ย่อมดับ เพราะ มีสติรู้เท่าทันจิต ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่มีการเข้าไปปรุงแต่ง โดยมีตัวกูของกู เข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

โดยเฉพาะขณะที่เกิดสมาธิ และมีสติ สัมปชัญญะรู้ตัวอย่างต่อเนื่อง มันจะรู้แล้วก็รู้ๆๆๆๆๆๆ เช่น เวทนาเกิด เรากำหนดรู้ดูลงไป จะเห็นการเกิดเวทนาและอาการที่หายไปอย่างต่อเนื่อง

ตรงนี้ถ้าคนรู้จักโยนิโสมนสิการเป็น มันจะเกิดปัญญา จะเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา จะไปบังคับให้เกิดหรือไม่เกิดก็ไม่ได้ มันไม่เที่ยง มันเกิดจากอุปทานที่เรายึดมั่นถือมั่นนั่นเอง

เราเองคนนึงละโยนิโสไม่เป็น ก็อาศัยกำหนดรู้ลงไปทุกๆครั้งที่เกิดตั้งแต่หยาบจนมันละเอียดขึ้น สุดท้ายพอมันเต็มที่ มันก็เกิดเป็นวิปัสสนาญาณทันที จะเห็นการเกิดดับของรูปนาม อย่างต่อเนื่อง

โดยปราศจากการกำหนด หรือความคิด มันไม่มีเลย มีแต่ตัวรู้เกิดขึ้นมาล้วนๆ สติอยู่คู่กับจิตตลอดเวลา สุดท้ายจะมีรู้ผุดขึ้นมาว่า มันไม่มีอะไรเลย มีแต่รูป นาม สมมุติแค่นั้นเอง (จริงๆแล้ว สภาวะที่รู้นั้นจะไม่มีคำเรียก จะมีแค่สิ่งที่เกิดขึ้น กับ สิ่งที่รู้ มีแค่ ๒ สิ่งนี้เท่านั้น แล้วจะเข้าใจเรื่องรูป,นาม สมมุติทันที)

( ช่วงที่ปฏิบัติในช่วงนี้ จะใช้เวลาในการปฏิบัติประมาณ 10 ช.ม. ต่อวัน ถ้าวันไหนติดธุระก็ 4 ช.ม. ) แต่ละคนไม่ว่าจะปฏิบัตแบบไหน เมื่อเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ขั้นที่ 1  ภังคญาณ ทุกคนจะรู้เหมือนกันหมด

เพราะ สภาวะของภังคญาณ เป็นสภาวะก้าวล่วงจากบัญญัติ เข้าสูสภาวะปรมัตถ์แบบเต็มตัว จะไม่มีการใช้คำบริกรรมภาวนาของคำบัญญัติต่างๆ มาในการช่วยเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ แต่จะเป็นสภาวะรู้อยู่กับรูป,นาม หรือ รู้อยู่ในกายและจิต

คำว่า ” ธรรมเอกผุด หมายถึงรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ทำให้สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง

แก้ไข เรื่องธรรมเอกผุด

1 ตค. 64

ส่วนเรื่องการปฏิบัติ ให้ดูปัจจุบัน ปีพศ 64 จิตตาปาริสุทธิ

ที่เคยเขียนไว้ เป็นความรู้ความเห็นแบบคร่าวๆ ยังไม่ละเอียด

ปัญญาญาณ

ญาณ ๑๖

ญาณ ๑๖ สามารถเห็นได้ ๒ ทางคือ

๑ . ทางวิปัสสนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง

ได้แก่ ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวร ทุกสิ่งล้วนแปรเปลี่ยนตลอดเวลา เกิดเพราะเหตุ ดับไปก็เพราะเหตุ

เมื่อรู้ได้ดังนี้ จิตที่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน ย่อมลดน้อยลงไป อุปทานการให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้นจากกิเลสที่มีอยู่ในจิตนั้นย่อมลดน้อยหรือเบาบางลงไป
รู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิตมากขึ้น อยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้น

สภาวะนี้วิปัสสนาจะนำหน้าสมถะ คือ พื้นฐานด้านสมาธิอาจจะน้อย หรือมีมากแต่ยังไม่รู้จักวิธีที่จะนำออกมาใช้ แต่ก็ต้องมีการปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์

๒. ทางวิปัสสนาญาณ คือ การเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ที่เรียกว่า ปัญญาญาณ

อย่างน้อยต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานหรือได้จตุตถฌานที่เป็นสัมมาสมาธิและเป็นไปตามญาณ ๑๖

เมื่อญาณทัสสนะบังเกิด ย่อมเห็นแจ้งโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นแต่เหตุและผล ( สัจจานุโลมิกญาณ )

เรียกว่า จะเห็นตัวหนึ่งเด่นชัดก่อน แล้วจึงเห็นตัวที่สองและที่สาม แต่ละสภาวะที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ชั่วเสี้ยวเดียว จึงละ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศิลลัพพตปรามาสได้ทันที เป็นสมุเฉจประหาณ

มิใช่ค่อยๆละแบบวิปัสสนาแต่อย่างใด แล้วปัจจเวกเกิดอีก ย่อมกลับมาทบทวนกิเลสหรือสภาวะที่หลงเหลืออยู่

สภาวะนี้สมถะนำหน้าวิปัสสนา แล้วสลับไปมา คือ หนักไปทางสมาธิก่อน แล้วมาปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์เช่นกัน

สิ่งที่เหมือนๆกันทั้งสองสภาวะนี้คือ การปรับอินทรีย์ ต้องคอยปรับเปลี่ยนตามสภาวะตลอดเวลา เพราะสภาวะจะแปรเปลี่ยนตลอด จึงไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แล้วแต่เหตุของแต่ละคนที่กระทำมา อินทรีย์สมดุลย์เมื่อไหร่ ปัญญาย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น ฉะนั้นจึงไปคาดเดาอะไรไม่ได้ สภาวะยากที่จะคาดเดา เพราะกิเลสมีตั้งแต่หยาบๆจนกระทั่งละเอียด

จะรู้เท่าทันกิเลสต่างๆได้ ต้องมีสติ สัมปชัญญะที่ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้จิตสามารถตั้งมั่นได้เนืองๆ ส่วนจะตั้งมั่นได้นานหรือมากน้อยแค่ไหน ก็แล้วแต่เหตุที่ทำมา รวมทั้งเหตุที่กำลังทำขึ้นในปัจจุบันด้วย

ไม่ว่าจะเห็นได้โดยแบบไหน ก็แล้วแต่เหตุของแต่ละคนที่กระทำ

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ