การทำสมาธิ

คำบอกเล่า

“พอดีว่าจะเริ่มเข้ามาปฏิบัติ และที่ผ่านที่เคยปฏิบัติมาที่รู้ว่าผิดพลาดก็คือ ขี้สงสัยมากไปด้วย เลยพยายามไม่ไปเปิดอ่านค้นหาแบบโดยรวม จะยิ่งสับสนไปใหญ่ เอาอารมณ์ความคิดสงสัยในแบบตัวเองจริงๆนี่แชร์คนอื่น เผื่อจะได้เห็นบางมุมที่เรามองไม่เห็น หรือหลายลิงค์ที่แนะนำมา ก็เข้าไปดูบ้าง แต่ด้วยจิตที่ยังไม่เป็นสมาธิ และบางคำศัพก็ยากจะเข้าใจชัดเจน อ่านหลายรอบก็ไม่มั่นใจว่าจะเข้าใจถูก”

 

คำตอบ

วลัยพรเริ่มทำ สิ่งที่เรียกว่า นั่งสมาธิ ประมาณ ชั้นประถม

ในสมัยนั้น ยังไม่รู้จักคอมฯ ไม่รู้จักศัพท์คำเรียกต่างๆ คำเรียกนั่นนี่ ไม่รู้จักสักคำเดียว

รู้จักแค่ว่า ถ้าเห็นเขาจับกลุ่มนั่งหลับตา มีพระเทศน์ นั่นเรียกว่า นั่งสมาธิ

ที่รู้ว่า เป็นการนั่งสมาธิ รู้จากการได้ยินผู้ใหญ่พูดคุยกัน

 

จุดเริ่มต้นการทำนั่งสมาธิ เกิดจากความอยากรู้ อยากเห็น ที่ได้อ่านในหนังสือ

ซึ่งหลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม โยนให้ พร้อมกับบอกว่า เอาไปทำเอง

ตอนที่รับหนังสือมา ก็ไม่รุ้หรอกว่า คืออะไร และให้ทำอะไร

 

กลับมาบ้าน เปิดอ่านดูแล้ว เป็นหนังสือเกี่ยวกับการฝึกกสิณ ในแบบต่างๆ

ลองทำดู เลือก เตโชกสิณ เพราะคิดว่า อุปกรณ์หาได้ง่ายสุด คือ เทียนไข

 

ทำตามหนังสือ ปิดห้อง ประตู หน้าต่าง ปิดหมด จุดเทียน นั่งจ้องแสงเทียน หลับตา สลับกับลืมตา

ท่องคำว่า เตโช หายใจเข้าเต หายใจออกโช

 

จนกระทั่ง แสงเทียนติดตา แม้ไม่ลืมตามองแสงเทียน ก็ยังปรากฏภาพแสงเทียนอยู่

เกิดอาการขนลุก ขนพอง ตัวโต บ้านโยกไปทั้งบ้าน

ใจก็คิด ผีแน่เลย กลัวผี ลืมตา เลิกทำ

 

วันต่อมา ทำอีก ครั้งนี้ ไม่ต้องลืมตสลับกับจ้องแสงเทียน

พอหลับตาลง มองเห็นแสงเทียนทันที

อาการเก่า เกิดขึ้นอีก ขนลุก ขนพอง หนังหัวตึงไปหมด รู้สึกบ้านโยก

 

ได้ยินเสียงมีคนอยู่ในห้อง ทั้งๆที่ อยู่นั่งอยู่คนเดียว

กลัวผี เลิกนั่ง

 

พอทำบ่อยๆ เริ่มชินกับอาการพวกนั้น เลิกกลัวผี

วันต่อมา พ่อเปิดห้อง เจอนั่งอยู่ พ่อให้เลิกทำ บอกว่า เดี่ยวเป็นบ้า ของพวกนี้ ต้องมีครูอาจารย์

 

วลัยพรมารู้ทีหลังว่า สิ่งที่วลัยพรทำนั้น เรียกว่า ทำสมาธิในอิริยาบทนั่ง

สมัยนี้ อุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสาร ช่องทางวิชาการเยอะ

 

ผู้ปฏิบัติส่วนมาก คอยแต่จะใส่คำเรียกนั่นนี่ลงไป ในสิ่งที่คิดว่าน่าจะ ตรงตามคำเรียกนั้นๆ(ตามที่อยากให้เป็น)

เมื่อใจเต็มไปด้วยความอยาก ประกอบด้วยความไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น

 

ผลคือ สิ่งที่เขาบอกเล่ามา

คำแนะนำ

ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติ ยินดีให้คำแนะนำ

 

 

ในที่นี้ หมายถึงเฉพาะ ผู้ที่ตั้งใจทำความเพียร ส่วนผู้ที่สนใจแค่การสนทนา วลัยพรไม่ยินดีสนทนาด้วย

 

 

เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะการปฏิบัติ และ ที่มีเกิดขึ้น ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด หรือมีฐานะใดๆ ก็ตาม

 

 

สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆนานา มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่มีอยู่(ของตัวเอง)

และเหตุปัจจัยที่มีกับสิ่งที่เกิดขึ้น(นอกตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต)

 

 

เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงเกิดการสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

 

 

หากรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นว่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า ผัสสะ

 

 

สิ่งที่เกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต และ มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร เป็นความปกติของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น

 

 

ความยึดมั่นถือมั่นต่อผัสสะ ที่เกิดขึ้น ย่อมลดน้อยลงไป ตามความรู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น

 

 

การสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ย่อมลดน้อยลงไป ตามความรู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น

 

 

ที่หยิบยกมานี้ เป็นหนึ่งในผัสสะ ที่เกิดขึ้น ขณะทำความเพียร และ ที่มีเกิดขึ้น ในการดำเนินชีวิต

 

 

 

ถาม

 

 

เคยมีประสบการณ์ทำสมาธิวันละประมาณ 1ชม.ต่อเนื่องเป็นเวลา1เดือน

 

 

แต่ณ เวลานี้ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติต่อ

 

 

 

ตอบ

 

 

ปัจจุบัน ทำแบบไหนอยู่หรือคะ?

 

 

หรือตามคำบอกเล่าที่เขียนมาว่า “ณ เวลานี้ ไม่ได้ปฏิบัติต่อ”

 

 

 

ถาม

 

คุณ walaiporn ห่างมาหลายเดือนมากๆแล้วค่ะ ก่อนจะถอยออกมาก็เจออุปสรรคหนักๆมากมายหลายอย่าง

แต่ก็คิดว่าใจตั้งมั่นพอสมควร ไม่หวั่นไหวแม้จะต้องเจอเรื่องให้ลำบากขนาดไหน เหมือนจะเข้ามาทดสอบหลายๆด้านของอารมณ์

 

แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดปรุงแต่งอะไรต่อ ไม่เกิดทุกใจ หวั่นไหวใดๆทั้งสิ้น จนมาเจอปัญหาที่ไม่มีเวลามานั่งสมาธิได้

 

แม้ใจอยากมาก แต่ไม่อาจจริงๆ มันเป็นห่วงเกี่ยวกับภาระการงาน เหมือนหากเราหยุดแล้วอีกเป็นร้อยชีวิตต้องกระเทือน

 

แม้สักครึ่งชม. ยังหยุดไม่ได้ ไม่อยากจะเชื่อเหมือนกัน ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง แต่ก็เหมือนเรายอมแพ้

 

ก็เริ่มจากอยากปฏิบัติจริงๆแต่ไม่มีเวลา จนมาถึงอยากปฏิบัติแต่ไม่หาเวลา

 

ปกตินั่งวันละประมาน1ชม. +เจริญสติ(คือรู้ลมกับรู้ทันอิริยาบทต่างๆรึเปล่าคะ)เกือบตลอดเวลา

 

แต่พอห่างการนั่งมาก็เหมือนการรู้ทันสติระหว่างวันมันลดหายไปด้วยค่ะ

 

ตอนนี้อยากเริ่มใหม่ จึงมาตั้งกระทู้ว่าที่เราปฏิบัติมาเองแบบไม่มีใครแนะนำ ผิดหรือถูก ควรปรับปรุงยังไง เราหลงหรือติดตรงไหนรึเปล่า

 

ตอนนี้เริ่มมาได้ประมานอาทิตย์หนึ่งแล้วค่ะ ไม่อยากจะห่างหายไปอีก

 

 

 

 

ตอบ

 

คำศัพท์ต่างๆ ที่คุณใช้สำทับลงไป ในสิ่งที่คุณคิดว่า น่าจะเรียกว่าอะไร ก็ตาม

 

คุณสามารถใส่คำเรียกต่างๆ สำทับคำลงไปได้ เรียกได้ตามสะดวก เรียกได้ตามถนัด

 

หากคุณทำความเพียรต่อเนื่อง คำเรียกต่างๆที่คุณใช้อยู่ จะค่อยๆถูกปรับเปลี่ยนไปตามความรู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น

 

 

ผัสสะ

 

สิ่งสำคัญ สิ่งแรกที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตและที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียรอยู่

 

ไม่ว่าจิตจะเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ หรือมีเกิดขึ้นใน อิริยาบทใดๆ ก็ตาม

 

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ มีชื่อเรียกว่า สภาวะ ซึ่งเป็นสภาพธรรม

หรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

 

 

ทำไมจำเป็นต้องรู้ เกี่ยวกับผัสสะก่อนหากรู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต และที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียรอยู่

 

ไม่ว่าจิตจะเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ หรือมีเกิดขึ้นใน อิริยาบทใดๆ ก็ตาม

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ล้วนเป็นความปกติของผัสสะ ที่เกิดขึ้น

 

อย่างน้อยๆ อาจช่วยให้ การให้ค่า ให้ความหมาย ความติดใจในสภาวะที่เกิดขึ้น เบาบางลง

เมื่อรู้ชัดว่า เป็นเพียงความปกติของผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง

 

 

สิ่งที่คุณบอกเล่ามาทั้งหมด เป็นความปกติของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น

 

คำบอกเล่า

 

“เคยมีประสบการณ์ทำสมาธิวันละประมาณ 1ชม.ต่อเนื่องเป็นเวลา1เดือน จึงอยากจะอธิบายเพื่อขอคำชี้แนะ ติเตือนค่ะ ก่อนอื่นขอบอกก่อนเลยว่า ณ ช่วงเวลาที่ปฏิบัติไม่ได้มีความรู้สึกยินดีกับทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแนวที่รู้สึกว่ามันพิเศษ นอกจากยินดี และรับรู้ภายใต้ความสงบ อารณ์ตอนนั้นนิ่งแทบจะไม่มีเรื่องใดมากระทบจนทำให้จิตกระเทือน เช่นหากตกใจ ใจมันกระตุกแวบเดียว เหมือนมันรู้มาพร้อมๆกันก็หยุด ไม่ติดใจสงสัย ซึ่งปกติต้องใจสั่นอะไรตามมา มันดับเร็วมาก ช่วงนั้นมีความรู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตเป็นกำลังมาก กระตุ้นจิตใจตลอดเวลา อยากบวช อยากมุ่งหน้าปฏิบัติ ต้องการความสงบ เพราะถ้าอยู่ณจุดนี้มันมีผลกระทบหลายอย่างทำให้จิตไม่สงบเต็มที่ ใจมันไม่อยากจะเบียดเบียนสิ่งใดก็ตาม หาอาหารการกินบางทีเราเป็นแม่บ้านพยายามหลีกเลี่ยงเพราะอยากถือศิล5ให้ครบยังรู้สึกว่าอยู่ตรงนี้ลำบาก-ไม่รู้ว่าเกิดจากเรื่องมากเกินไปรึเปล่า-อีกอย่างจิตมันคอยนึกถึงคำภาวนาพุธโธหรือสลับกับแค่รู้ลมเข้าออก มันเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลาแม้แต่เคลิ้มจะตื่นเหมือนมันตื่นขึ้นมาพร้อมกันเลย-หมกหมุ่นเกินใหม-อีกเช่นมองเห็นอะไรคิดถึงเป็นธรรมะตลอดจิตจะคอยบอกคอยแยกแยะเช่นเห็นบ้านรถของใดๆที่เคยชื่นชมกลับมองเป็นของธรรมดา มองแล้วทบทวนย้อนคิดถึงหาเหตุตั้งแต่มันเริ่มเกิด เก่า แก่ทรุดโทรมจนผุพังหายไป และอย่างวันหนึ่งมองดูพระอาทิตยขึ้นพอคิดว่าสวยปุ๊บ มันเหมือนมีสายใยอะไรสักอย่างเหนี่ยวดึงใจไว้ไม่ให้หลงในคำนั้น มันเป็นชั่ววินาทีแต่มันรู้สึกจริงนะ อธิบายยาก อย่างได้ยินเพลงเพราะ มันเห็นช่วงเวลาระหว่างที่เราจะวางเฉยหรือไปวิ่งตามอารมณ์นั้นๆ-เหมือนคนบ้ารึเปล่า-เพราะช่วงที่ปฏิบัติจะชอบอยู่สงบนึกถึงแต่ลมหายใจคือจะว่ากลัวก็ไม่ใช่แต่จะพยายามรักษาระดับจิตให้สงบอยู่เนื่องๆ เหตุหนึ่งเพราะมันคิดเกือบตลอดที่เราจะเผลอ ว่าความตายมันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาจึงต้องระวังรักษาตัวแลจิตไม่ให้ก่อกรรมขึ้นทั้งกายวาจาใจ-มันมากเกินไปรึเปล่า-ก่อนหน้าเคยทรมานกันโรคร่างกายหาหมอหลายที่ก็ไม่ดีขึ้นไม่มีโรคบ่งชี้ ยิ่งปวดตานี่หมอยอมแพ้หาสาเหตุไม่ได้ส่งตรวจทุกอย่างก็แล้ว แต่มาปฏิบัตินี่หายหมดจริงๆ ไม่มีเจ็บไข้ ไม่มีอยากหรือไม่อยาก ขี้เกียจนั่นนี่ไม่มี ทรงอารมณ์เฉยๆอยู่เรื่อยๆ เหมือนตื่นตลอดเวลา มันเหมื่อนคนสดชื่นอิ่มใจแม้หลังตื่นคือรู้ตัวปุ๊บลุกปั๊บ เพราะปกติ2ทุ่มจะเข้านอนไม่ง่วงนะ แต่พอรู้ว่าหมดหน้าที่ระหว่างวันแล้วก็อยากปฏิบัติต่อ ทั้งลูก2และสามีเปิดทีวีวิ่งกันวุ่นวาย ไม่มีความรู้สึกรำคาญ นอนปุ๊ปกำหนดจิต คือก่อนนอนนี่จะใช้วิธีกำหนดลม+กับนึกถึงเปลวเทียน(เป็นความชอบแบบที่พยายามหลีก แต่ก็ยังอดไม่ได้ยังเอามาใช้ตอนนี้อยู่ พอหลังจะมองเห็นจริงๆไฟลุกพรึบๆ ก็จ้องไปบวกกับภาวนาด้วยจนหลับไป บางทีก็ตัวหมุนๆลอยๆถ้าได้ถึงตรงนี้ก็จะแผ่เมตตา และรู้ไปเรื่อยๆจนหลับ ท่านอนนี่จะตะแคงเอามือข้างหนึ่งหนุน ไม่เอาหมอน เท้าเหยียดตรงมืออีกข้างวางแนบลำตัว ใหม่ก็ฝืนลำบากหน่อยตื่นกลางดึกปวดแขนชามาก แต่สักพักถึงเช้าท่าเดียวเลยไม่เป็นไร ทีนี้นึกจะตื่นเวลาไหนตี4ตีห้า กี่นาทีตรงเป๊ะ อีกเรื่องตื่นเช้าจะลุกมาไหว้พระ อธิษฐานแล้วแผ่เมตตาเป็นประจำ พอเริ่มอธิฐานปุ๊ปจะเกิดความยินดีปลาบปลื้มขนลุกชันซาบซ่านภายในกาย น้ำตาไหลเออ เป็นจนกว่าเราจะหยุดเลย อาการอย่างนี้จะเกิดอีกเมื่ออ่าน/ฟังธรรมะบางประโยค,แผ่เมตตา,ชื่นชมยินดีเมื่อรู้เห็นใคร ไม่ว่าจะทำบุญหรือทำสิ่งดีๆ-เรียกว่าปิติรึเปล่า ทำไมมันเกิดขึ้นแรงและง่ายเหลือเกิน-แล้วอีกอารมณ์หนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันที ไม่ว่าตอนนั้นจะทำอะไรเช่นพอทรุดนั่งปุ๊บก็มาทันที คือจะรู้สึกสุขมาก อิ่มใจ เห็นสิ่งรอบกายแต่เหมือนอารมณ์ว่างเปล่าไร้ สภาวะใดๆ มันเป็นอารมณ์สุขที่สุดที่เคยสัมผัสมาจริงๆ ทุกครั้งที่เกิดก็จะหยุดเคลื่อนไหว ประคองจิตให้รู้อาการนั้นอย่างสงบ แต่จะเป็นแค่2-3นาทีก็หยุดไป-อันนี้คืออะไรคะ- อารมณ์นี้ยังตามมาหลังจากห่างการปฏิบัติมาเป็นครั้ง แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว มันเป็นปิติตัวหนึ่งรึเปล่าเพราะช่วงที่ปฏิบัติ จะรักษาสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ขอใช้คำว่าแทบตลอดเวลา แต่ว่าอารมณ์นี้ มันสุขมากๆ สุขแบบไม่หลง เหมือนสุขกับความว่าง แต่เราก็จะแค่หยุดมองและปล่อยให้มันผ่านไป-หรือควรทำตัวอย่างไร-เคยนั่งสมาธิ,อ่านหนังสือหรือตั้งใจทำอะไรสักอย่างก็จะเกิดอารมคล้ายๆกัน ตัวจะเบาๆหมุนๆไม่รู้ทิศหรือตัวใหญ่พองขึ้น และพอเกิดขึ้นก็จะยังทำอะไรต่อไปโดยก็กำหนดรู้ไปด้วย ต่างกันที่สุขละเอียด กว่ากัน และที่แปลกอีกเรื่องมักจะเห็นภาพแวบมา สถานที่บ้าง คนบ้าง แล้วก็จะได้พบเจอจริง บางทีเห็นก่อน ไม่กี่นาทีก็บังเอิญได้เจอ ลางสังหรก็แม่นด้วย เช่นเดี๋ยวใครจะมา จะว่าอะไร แบบลางสังหรนะคะไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว อีกอย่างเวลาโต้ตอบกับใครไม่ว่าเรื่องใดเคยรู้หรือไม่เคยรู้ ก็สามารถพูดให้เหตุผลกับเขาได้หมด อัศจรรย์มากไม่ต้องมีการเตรียมคิดหาคำตอบเหตุและผลมันพรั่งพรูออกมาเหมือนดังสายน้ำไหล(ไม่รู้จะเปรียบยังไง) สุดท้ายนี้ขอขอบคุณท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ด้วยค่ะ ถ้ายังอยู่ณ อารมนั้นคงไม่มีหลายๆคำถามมารบกวน เพราะตอนนั้นมันแทบจะไร้ความคิดนึกอยากใดๆ แต่จนถึงวันนี้ ห่างมาหลายเดือน ได้ย้อนไปคิดแล้วเกิดความสงสัยขึ้น ว่ามันแปลกและมีความผิดพลั้งประการใด สิ่งที่ทำถูกต้องใหม ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับจิตใจที่มากเหลือเกินในช่วงเวลา1เดือน มันดูเหมือนเราจะสงบมากเกินไป เข้าถึงธรรมะมากเกินไป หรือเราพยายามทำให้มันเกิดรึเปล่า ระหว่างที่ปฏิบัตินั้นก็เตือนตัวเองอยู่ตลอดเหมือนกันนะ แต่ก็ยังไม่แน่ใจ เพราะแม้แต่ความชอบในสุขก็ยังเป็นกิเลส เผื่อมีตัวไหนที่เรามองไม่เห็น เพราะยังไงก็คิดว่าทุกอาการที่เกิด เราจะคอยตามรู้และดูมันอย่างสงบ ความอยาก ใดๆไม่มี ในตอนนั้น นอนจากอยากบวช,อยากถือศิล,อยากปฏิบัติให้มากเพื่อลดการก่อกรรมทางกาย วาจา ใจ อยากไปให้ถึงพระนิพพาน ลืมบอกไปว่าคำอธิษฐานที่ทำหลังไหว้พระเช้า,ก่อนนอน,นั่งสมาธิ คือขออำนาจพระรัตนตรัย ช่วยหนุนนำบุญกุศลใด ในชาติใดสูงสุดที่ข้าพเจ้าเคยได้ปฏิบัติถึงมาช่วยส่งผลให้ข้าพเจ้าได้สัมผัสเข้าถึงจุดนั้นได้โดยเร็วเพื่อส่งผลการปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปตามมรรค แห่งพระพุทธองทรงสอน ให้ได้ถึงพระนิพพานในชาตินี้เถิด อย่าได้หลงผิดทางใดเลย และวิธีนั่งสมาธิ ก็จะนึกอธิฐาน,แผ่เมตตาและกำหนดพุทโธ วันใดจิตฟุ้งมาก ก็จะเอาหลักธรรมคำสอนมาท่องวนไปมาด้วย จิตก็จะสงบส่วนมากก็กฏไตรลักษณ์ สงบในที่นี้ก็คือจะหายใจละเอียดขึ้นตัวเบาตัวหมุน นี่บ่อยๆกะตัวใหญ่พองขึ้น หลังจากนั้นจะหยุดและจะเห็นแสงจ้าและเปลี่ยนมาเป็นขาวนวลตอนนี้ลมจะเบาลงมาก จนเหมือนไหลเข้าออกเอง จิตสบาย รับรู้เสียงทุกอย่างเบาลง เราก็จะกำหนดรู้ดูเรื่อยๆแบบอารมจะเฉยๆ สักพักจะรูสึกอึดอัดแน่นไปทั้งร่าง จะเริ่มหายใจไม่สุด คือหายใจเข้ายาวนานมากๆ หรือออกนานมากๆ และพอเหมือนแน่นจนสุดละวูบเดียวก็สบายเบา เฉย ลมละเอียดมาก แต่ยังรู้สึกทางจิตตอนนี้จะมีแสงส่องมาจ้าขึ้นมากๆอีกละก็จะมาขาวนวลสว่างไสวกว่าเดิม แล้วก็จะเริ่มแวบคิดหรือรู้ลม วนมาปิติ วนมาแสง มาอึดอัด มันเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย ไม่ก้าวหน้าเลยใช่ใหมคะ ทำไม่ถูกรึเปล่าช่วยแนะนำด้วยค่ะ ด้วยเหตุนี้ด้วยถึงมาคิดว่าตัวแปลกต้องมีสิ่งผิดพลาด เพราะสมาธิไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่อารมทางธรรมดูจะเกินจริง เพราะอ่านประสบการจากคนอื่น เขาเห็นนู่นนี่ พระพุทธรูปบ้าง,ตัวเองบ้าง หูดับกายดับบ้างได้เข้าฝึกมโมยิทธิบ้าง สมาธิเขาก้าวหน้าดี แต่ก็ยังพูดคิดถึงคนรัก อยากเที่ยว อยากไปอยากได้อะไรในทางโลกอยู่ แต่ทำไมสมาธิเราไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่ด้านอารมณ์สงบเหลือเกิน แค่คิดก็ดับเสียแล้ว ไม่รู้จะอธิบายยังไงตรงนี้ แต่ณ เวลานี้ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติต่อ ทุกอารมที่เคยได้ก็หายไปด้วยค่ะ กลับมาเป็นตัวตนเดิมรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนเดิม แต่จิตตั้งมั่นในบุญมากขึ้น พยายามมากขึ้น ต่างกับตอนปฏิบัติ จิตมันเป็นของมันเองจบแค่นี้ค่ะ หากผิดพลั้งประการใดขอขมาโทษด้วยนะคะ และขอคุณแห่งสิ่งศักสิทธ์คุ้มครองทุกท่านด้วยค่ะ”

 

 

 

เมื่อคุณยังไม่รู้ชัดใน สิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

 

เหตุของความไม่รู้ชัดในผัสสะ

 

เป็นปัจจัยให้ คุณเกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามที่เขียนมาทั้งเรื่องของคุณ และเรื่องจากคำบอกเล่าของผู้อื่น การเห็นโน่น เห็นนี่

 

หากรู้ชัดในผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งต่างๆที่คุณเขียนเล่ามาแบบนี้ จะไม่มีเกิดขึ้น

 

เพราะสักแต่ว่า ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น เป็นปกติ ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังทำให้เกิดขึ้นใหม่

 

 

การทำความเพียร

 

เรื่องการทำความเพียร จะเรียกว่า การปฏิบัติ หรือการเจริญสติ หรือการทำมาธิ หรือ วิปัสสนา

คุณจะใช้เรียกว่าอะไรก็ได้ ตามความรู้ เข้าใจของคุณ ในตอนนี้

 

เพราะคำเรียกต่างๆเหล่านี้ ไม่มีผลกระทบต่อผัสสะ ที่เกิดขึ้นหากคุณ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในคำเรียกต่างๆ

 

 

การทำความเพียร ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นหลักอิริยาบทใหญ่ คุณทำแบบไหนถนัด ทำได้ตามสะดวก ให้เลือกทำแบบนั้นไปก่อน

 

เช่น คุณบอกว่า ไม่มีเวลา(ปัจจัยจาก คุณติดอยู่เพียง “นั่งสมาธิ”)

 

 

หากจัดสรรเวลาไม่ได้จริงๆ ให้ใช้เวลาก่อนนอน และ ตอนตื่นนอน เป็นการฝึกสติ

 

โดยการ ขณะที่นอนอยู่ ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ที่มีเกิดขึ้นปกติ รู้ไปตามนั้น

หรือชอบใช้การภาวนาต่างๆ แบบไหนก็ได้ ใช้ไปตามนั้นหรือชอบ

ใช้การกำหนดรู้ท้องพองขึ้น ยุบลง ตามลมหายใจเข้าออก รู้ไปตามนั้นจนกระทั่งหลับลงไป

 

เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้นในตอนเช้า ก่อนลุกจากที่นอน จะอยู่ในท่านอน หรือ ลุกขึ้นนั่งบนที่นอนก็ได้

ให้ตั้งใจแผ่เมตตา กรวดน้ำ ตั้งจิตอธิษฐาน ก่อนที่จะลุกขึ้นทำกิจวัตรประจำวัน

 

การแผ่เมตตา กรวดน้ำ จะท่องในใจ ก็ได้หรือหากมีอาการง่วงนอน สะลึมสะลือ

ให้ใช้ปากขมุบขมิบท่องเมื่อกลับมารู้ที่กาย(ปากขมุบขมิบ) อาการง่วงนอน จะค่อยๆหายไปเอง

 

หากทำต่อเนื่องแบบนี้ทุกวัน จะเป็นปัจจัยให้ สติมีกำลังมากขึ้นเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) มากขึ้น

เป็นปัจจัยให้ รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ที่มีเกิดขึ้นในเวลานอน

 

 

หากต้องการรู้ชัดในรายละเอียดของคำเรียกต่างๆ เช่น สมถะ-วิปัสสนาควรศึกษาตามคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้ มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

 

 

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8&book=9&bookZ=33

 

 

คำแนะนำที่วลัยพรให้กับคุณคือ ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า

หากมีข้อสงสัย เกี่ยวกับผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ให้อ่านตามลิงค์ ที่แนบมาให้ เกี่ยวกับสมถะ-วิปัสสนา

 

ตรงนี้ ว่าด้วย ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ขณะทำความเพียร

 

ส่วน ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ในการดำเนินชีวิต คนละเรื่อง แต่เกี่ยวเนื่องต่อกัน

 

เพราะต่างเกื้อหนุน แก่กันและกัน ในการกระทำเพื่อ ดับเหตุแห่งทุกข์

ชักดาบ

บางคนถามว่า ทำไมมาปฏิบัติกับพี่แล้ว เจอแต่ทุกข์ล่ะ

มีแต่ทุกข์จริงๆ ทำแล้วทุกข์ จะทำไปทำไม ทั้งๆที่เมื่อก่อน สบายดี ถึงจะทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ขนาดนี้

คำตอบ การทำความเพียร ในรูปแบบที่ได้แนะนำไป เป็นการดับเหตุของการเกิด เหมือนเราเคยติดหนี้คนอื่น(เหตุที่เคยทำให้คนอื่นเจ็บช้ำน้ำใจ)

ตอนนี้ ที่ทำแบบนี้ เหมือนจะคิดชักดาบ เหมือนกับไม่ยอมใช้หนี้เขา(ภพชาติการเกิด สั้นลง) เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมรุมทึ้ง …เป็นธรรมดา

ที่เจอแต่ทุกข์ ที่คิดว่าทุกข์ เพราะ ใจยังไม่ยอม ไม่ยอมปล่อยวางจากสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อยังยอมไม่เป็น ย่อมเย็นไม่ได้

คิดดูละกัน เกิดมากี่ชาติแล้ว ระลึกได้ไหม ระลึกได้ทั้งหมดไหม เอาแค่จิ๊บๆ วลัยพร ระลึกได้เป็นระยะๆ ชาตินี้ไม่ได้ร่ำรวยนะ แต่ชาติก่อนๆ เป็นเจ้าขุนมูลนาย เป็นกษัตริย์ ก็เคยเป็น นักรบก็เคยเป็น เป็นผู้ชาย ก็เคยเป็น เป็นสัตว์ ก็เคยเป็น เป็นพระแถมปฏิบัติด้วย ก็เคยเป็น เกิดหลากหลายอาชีพ แล้วที่ยังระลึกไม่ได้อีกล่ะ

กรรมหนักที่วลัยพรมองเห็น เป็นชาติที่เกิดเป็นกษัตริย์ สั่งฆ่า สั่งเผาบ้านเผาเมือง นี่วิบากยังมีอยู่นะ ชอบมีปัญหาเกี่ยวกับของร้อนบ้าง ไฟบ้าง แผลเป็นมีแต่เกี่ยวกับไฟ ดูสิ ทำไว้ชาติไหนก็ไม่รู้

ราวบันไดเลื่อนตามห้าง รถเข็นของห้าง ขนาดมีพลาสติกหุ้มอยู่ ไฟยังดูดได้เลย จะระวังตลอด ไม่แตะโดยตรง โดยเฉพาะตัวรถเข็น หรือบันไดเลื่ื่อน ที่ไม่มีอะไรหุ้ม พยายามไม่ให้ถูกตัว ถูกที ไฟดูด เล่นเอาสะดุ้งทั้งตัว

โต๊ะกินข้าวสแตนเลส ถ้าเลี่ยงได้ จะเลี่ยง เผลอไม่ได้ ไฟดูดทันที บางครั้งอุทานเลย แมร่งงงง จะดูดอะไรนักหนา

เกิดมาแล้ว อย่าปล่อยให้ตัวเอง ถูกเวลากลืนกินไปวันๆ ถ้าคิดเอาแต่ความถูกใจ เอาความสบายเป็นหลัก นั่นแหละเหตุของการเวียนว่ายในวัฏกสงสาร ยังมีอยู่

ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์ เมื่อไม่ยอมละเหตุแห่งทุกข์(การสร้างเหตุของการเกิด) จะพบสุขที่แท้จริง(นิพพาน) ได้อย่างไร

สภาวะที่เกิดขึ้น ควรทำอย่างไร?

คำถาม พองยุบ ยุบเยอะมาก…ยุบๆๆๆๆๆๆ บางครั้งยุบถี่รัวย่อย ยิ่งยุบๆๆๆๆ ยิ่งหายใจไม่ได้แล้วเหมือนเจอแบบเดิมๆๆๆ หลายครั้ง หาทางแก้ไม่ได้ค่ะ

คำตอบ ไม่ต้องแก้อะไรค่ะ
เป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้น รู้ว่า เป็นอย่างไร รู้ไปตามนั้น

ทำความเพียรต่อเนื่องไปค่ะ
แล้วสภาวะนี้จะหายไปเอง มีสภาวะใหม่ มาให้เรียนต่อ

คำถาม เวลาหลุดหายใจเฮือก มันเหมือนจะเริ่มใหม่
เริ่มยุบน้อยๆ เช่น 6 ยุบ ต่อมาเพิ่มขึ้น 11ยุบ13 ยุบ
มีเยอะสุดหากนับไม่พลาดน่าจะ 70 ยุบ
วันนี้ก้อเจออีก สูงสุดน่าจะ40 ยุบ

คิดว่าตอนนั่งอาจเผลอกลั้นหายใจ…
เลยลองอ้าปากเผยอทิ้งไว้ ทีนี้ก็เป็นอีก

คำตอบ เป็นความปกติของสิ่งที่เกิดขึ้น
พอไม่ถูกใจ จึงคิดแก้ไข
ถ้าทำแล้วสุข ก็จะไม่คิดแก้ไข

คำถาม แบบเหมือนยังสอบตก เรียนซ้ำๆ เดิมๆ
เลยคิดว่าทำรายผิดไปหรือเปล่า

คำตอบ เราให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเองค่ะ
เกิดจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่

คำถาม เป็นสิ่งที่มาสอนเหรอคะ
เป็นสิ่งที่มาฝึกให้เราวางเฉยต่อทุกสิ่งทั้งสุขและทุกข์
สิ่งที่เราให้ค่าว่าดี ไม่ดี ในชีวิตมนุษย์ ที่ยังเพลอลืม …ทำให้ใจเกิดทุกข์

คำตอบ เหมือนการเจอทุกข์ เมื่อไม่ถูกใจ อยากผลักไสออกไป
พอเจอสุข ก็อยากให้เกิดขึ้นอีก ทำให้เกิดการคาดหวัง
พอไม่ตรงตามการคาดหวัง ก็ทุกข์อีก

การทำความเพียรส่วนมาก จะติดขัด
ตรงที่ไปให้ค่า ต่อสภาวะที่เกิดขึ้น

คำถาม กลับมาพร้อมกับคำสอนพี่น้ำ ทำให้ทุกวันนี้ นั่งได้นานไม่นาน
ก็พยายามนั่งต่อไปเรื่อยๆ แต่ก่อนทุกข์ที่นั่งไม่ถึงเกณฑ์ หนึ่งชั่วโมง ..

ทุกข์ก่อนหน้าได้แก้ไขด้วยคำแนะนำจากพี่..
ตอนนี้ทำๆ ไป เจอทุกข์ตัวใหม่อันเกิดจากการให้ค่าต่อสภาวะที่เกิด…

คำตอบ วันข้างหน้า จะขอบคุณ ความตั้งใจทำความเพียรของตนเอง
เพราะ ชีวิตจะดีขึ้น ทุกข์น้อยลง เพราะ ความยึดมั่นถือมั่น ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น น้อยลง เหมือนเกี่ยวกับสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะปฏิบัติ เช่นเดียวกันค่ะ

หมายเหตุ:

รู้สึกพอใจ กับ ความเพียรของผู้ปฏิบัติ การถามคำถาม เกี่ยวกับสภาวะที่เกิดขึ้น

อย่างน้อย เผื่อมีผู้ที่กับเจอสภาวะนี้ จะได้รู้ว่า ควรทำอย่างไร

แสดงความคิดเห็น

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=42261&p=295947#p295947

“พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติธรรมนะ เราจะวาดภาพว่า ต้องไปนั่งสมาธิ ต้องไปเดินจงกรม จะทำอะไรก็ต้องไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดา ต้องช้าๆ ต้องนุ่มนวล ต้องช้าๆ ค่อยๆขยับ ยกตัวอย่างจะเดินก็ต้องช้าๆนะ จะทำอะไรทุกอย่างต้องช้าๆ แล้วจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่งก็ต้องหลับตา ถึงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรม นั่งลืมตาก็ไม่ได้ ต้องนั่งในท่านี้ด้วย ต้องเดินในท่านี้ด้วย ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติ”

บุคคลที่มีความยึดติดเหนียวแน่น ชอบกล่าวทำนองเดียวกับคุณวังโพธิฯ เหตุเพราะ ทำได้แบบไหน จะพูดหรืออธิบายได้แค่แบบที่ตัวเองทำอยู่ และมีการยึดติดในรูปแบบ

 

ใครจะเดินเร็วหรือเดินช้าหรือเดินแบบไหนๆก็ตาม จะยืน จะนอน หรือนั่ง หรือทำในรูปแบบอื่นๆ จะลืมตาทำ หรือหลับตาทำก็ตาม จะมีคำบริกรรมหรือไม่มีคำบริกรรมก็ตาม หรือไม่ว่าจะทำในรูปแบบอื่นๆก็ตาม ที่อาจจะแตกต่าง ผิดแผกแหวกแนว ไปจากคนอื่นๆก็ตาม

ทุกๆคนสร้างเหตุมาแตกต่างกันไป เหตุหรือรูปแบบของการปฏิบัติก็เหมือนกัน ย่อมแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่

รูปแบบของการปฏิบัติ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ใครจะปฏิบัติแบบไหน นั่นก็เหตุของคนๆนั้น แต่เพราะความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ เป็นเหตุให้กล่าวเพ่งโทษการปฏิบัติของผู้อื่น ดังเช่นคำที่กล่าวมานั้น

“หลวงปู่มั่นท่านสอนไว้ดีมากเลย ท่านบอกว่า ถ้าเราทำสมาธิมาก จะเนิ่นช้า”

ดีหรือไม่ดี ล้วนเกิดจากความถูกใจกับไม่ถูกใจเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริง เป็นเรื่องเหตุของคนๆนั้น

ยึดติดกับครูบาฯมากไป ต้องดูด้วยว่า ท่านพูดกับใคร ที่ไหน อย่างไร คนๆนั้นมีสภาวะอะไรอยู่ ไม่ใช่ไปหยิบยกคำพูดบางส่วนของท่านมาพูด เพื่อสนับสนนุคำพูดหรือตามความเข้าใจของตัวเอง ที่คิดเข้าข้างว่าสิ่งที่ตัวเองรู้แล้วนั้น มันถูกต้อง

“ใครจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ คนไหนเจริญสติในชีวิตประจำวันไม่ได้เนี่ย โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้นะ ยังห่างไกลเหลือเกิน”

ทุกอย่างไม่เที่ยงนะ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ดูเรื่องขององคุมาลเป็นตัวอย่าง เหตุมี ผลย่อมมี

“มันยากมากเลยที่คนๆ หนึ่งจะมีสติขึ้นมา สติที่แท้จริง แต่ไม่ยากเลยที่คนที่มีสติที่แท้จริงแล้ว จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ มรรค ผล นิพพาน มีจริง”

ไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของคนๆนั้นต่างหาก

สิ่งที่ผู้เขียน เขียนลงไปนั้น เป็นมุมมองอีกหนึ่งมุมมอง ส่วนใครที่มีมุมมองแตกต่างออกไปอีก อันนี้ก็เหตุของแต่ละคน

คำถาม/คำตอบ

๑. “จะทำอย่างไรให้เกิดศาสนาเดียวทั้งๆที่ไม่ได้เป็นศาสดาหรือผู้สอนศาสนา และ จะแก้ด้านเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ได้อย่างไร เป็นต้น”

ตอบ

ไม่ต้องทำ เพราะทุกสิ่งล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ เหตุมี ผลย่อมมี แก้ต้องแก้ที่ตัวเอง ต้องดับที่ต้นเหตุ เพียงหมั่นรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต แล้วจะรู้ทุกๆคำตอบในสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ภายนอกเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ของทุกๆสรรพสิ่ง

๒. ของจริงและของปลอม

“จะรู้ได้อย่างไรว่า คำสอนไหนเป็นของจริง คำสอนไหนเป็นของปลอม?”

ตอบ

ไม่มีทั้งจริงและปลอม แต่เป็นเรื่องของเหตุและผล สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

สร้างเหตุให้เชื่อกัน ย่อมมาเชื่อกัน ไม่ได้สร้างเหตุให้มาเชื่อกัน ย่อมไม่เชื่อ

ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เรื่องโยคีและอีกหลายๆคนที่ไม่เชื่อถือในคำสอนของพระผู้มีพระภาค ทั้งๆที่เกิดในสมัยที่ยังทรงมีพระชนม์อยู่

๓. “บาปทำให้ไม่เห็นความจริง”

ตอบ

บาปและบุญ ล้วนเป็นเพียงอุบายในคำสอน เป็นเพียงสมมุติบัญญัติ ที่ใช้เรียกสื่อสารให้เข้าใจในทางเดียวกัน สภาวะที่แท้จริง ไม่มีถูก ไม่มีผิด ไม่มีบาปและบุญ แต่เป็นเรื่องของเหตุและผล สร้างเหตุมาให้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมได้เห็น หากสร้างเหตุมาให้ไม่เห็นตามความเป็นจริง ผลย่อมเป็นเช่นนั้น

คำทำนาย

พอดีช่วงนี้ กระแสคำทำนายค่อนข้างฮิต พออ่านหลายๆบทความ มองเห็นแต่เรื่องของเหตุและผล เพราะเมื่อยังไม่มีที่พึ่งเป็นของตนเอง ย่อมหวังผู้พึ่งผู้ที่คิดว่าจะช่วยตนเองได้ แล้วการช่วยแบบนั้น ต้องช่วยกันไปอีกนานเท่าไหร่ เหมือนการเลี้ยงลูกที่ไม่รู้จักโต ต้องคอยหุงหาอาหารให้กินตลอดชีวิต

ไม่ได้คัดค้านเรื่องคำทำนาย เพราะตลอดชั่วชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ สิ่งที่เรียกว่าคำทำนาย มักจะเรียกว่านิมิตหรือความฝัน นี่คือเหตุที่ทำให้มายืนอยู่ที่ปัจจุบันนี้ได้ เพราะเพียงแค่รู้ ไม่ได้ไปยึดติดในสิ่งที่รู้หรือเห็น ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีคำทำนายหรือไม่มีคำทำนายก็ตาม

เหมือนชีวิต หากเอาชีวิตไปผูกติดกับคำทำนาย ชีวิตที่เกิดมา คงไร้รสชาติพิลึก คงเหมือนหุ่นยนต์ที่ถูกบังคับให้เดินด้วยมือที่มองไม่เห็น ชีวิตที่เกิดมา ล้วนมีเหตุปัจจัยทั้งในอดีตที่ทำไว้และปัจจุบันที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดจากอวิชชาที่ยังมีอยู่

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค – ๘. สักกปัญหสูตร ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต ด้านทิศอุดร แห่งพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์
อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระ นครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ฯ

ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ (เทพเจ้าแห่งสามโลก) ได้บังเกิดความขวนขวาย เพื่อจะเฝ้า พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงพระดำริว่า บัดนี้ พระผู้มีพระ ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ

ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรง เห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต ด้านทิศอุดร แห่งพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีนแห่งพระนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ

ครั้นแล้ว จึงตรัสเรียกพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า …. ….

ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคทรงให้โอกาสแล้ว ได้ทูลถามปัญหาข้อแรกกะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวก เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่องผูกพันใจไว้

อนึ่ง ชน เป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความ พยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามี ความปรารถนาอยู่ดังนี้

ก็ไฉน เขายังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคด้วยประการ ฉะนี้ ฯ

พระผู้มีพระภาค อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ดูกรจอมเทพ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีความริษยาและ ความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพันใจไว้

อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็น ผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามีความปรารถนาอยู่ดังนี้

ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็น ผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาค อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ ….

ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อแรกดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไป ว่า …. ….

ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สี่อย่างนี้ว่า ถ้าความตรัสรู้จักมีแก่เราในภายหน้า โดยธรรมไซร้ เราจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ นั่นแหละจักเป็นที่สุดของเรา ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ

ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ห้าอย่างนี้ว่า หากเราจุติจากกายมนุษย์แล้ว ละอายุอันเป็นของ มนุษย์แล้ว จักกลับเป็นเทวดาอีกจักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก ดังนี้ จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสเห็นปานนี้ ฯ ….

ท้าวสักกะเปล่งอุทาน ได้ธรรมจักษุ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเอาพระหัตถ์ตบปฐพี แล้วทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และบังเกิดขึ้นแก่เทวดาแปดหมื่นพวกอื่น

เวลาอ่านคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเห็นว่า พระองค์จะทรงสอนเรื่องของเหตุและผล ไม่ใช่เรื่องการเชื่อแบบเลื่อนลอย ไม่มีที่มาที่ไป ตราบใดที่ยังมีเหตุ ผลย่อมมีอย่างแน่นอน

เฉกเช่นเดียวกับคำทำนาย ถึงแม้ไม่มีคำทำนาย ทุกสรรพสิ่งย่อมเสื่อมสิ้นไปตามเหตุปัจจัย

จงอยู่อย่างผู้มีสติ

จงรู้ชัดในผัสสะ

จงรู้เหตุของการเกิดผัสสะ ว่าแท้จริงแล้วอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

ดีกว่าไปนั่งหมกมุ่นกับคำทำนาย ส่วนจะรู้ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมาและเหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่

ไม่มีอะไรประเสริฐที่สุดไปมากกว่าการให้ธรรมะเป็นธรรมทาน ทุกอย่างล้วนเป็นธรรมะ ถ้าไม่ไปยึดติดแล้วสบาย

ไม่ว่าจะพูด จะคิด หรือรู้สึกใดๆ ดูที่จิต จงดูให้ทัน ยังมีไหมเรื่องการเพ่งโทษนอกตัวหรือมีการเปรียบเทียบ

จิตเป็นเรื่องละเอียด ต้องมีสมาธิที่ตั้งมั่น มีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ จึงจะรู้ชัดเช่นนั้นได้ พูดมาก ขาดทุน พูดน้อยได้กำไร พูดพอประมาณ มนสิการไว้ในใจให้มากๆ เพราะมีแต่เรื่องเหตุและผล นอกนั้นไม่ได้มีอะไรเลย

ที่ยังมี เพราะยังมี “เรา” มี “เรา” น้อยลงเมื่อไหร่ สุขที่แท้จริงย่อมปรากฏขึ้นแทน “เรา” แล้วจะรู้ว่า การไม่มี “เรา” มันเป็นแบบนี้นี่เอง

เตโชกสิณ(ตอบคำถาม)

จากสภาวะที่นำมาถาม “การเข้าสู่ฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ต้องมีสติมากพอ ที่จะไม่ดิ่งดับหายไป จนขาดความรู้ตัว”

สภาวะนี้เกิดจากการทำสมาธิจนจำสภาวะได้แม่นยำ แล้วจึงปรับอินทรีย์ ระหว่างสติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์ แล้วตัวสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นเอง เป็นเหตุให้มีความรู้สึกตัวในขณะที่จิตเป็นสมาธิ

คำถามต่อมา ” การทำสมถะกรรมฐาน โดยอาศัยเตโชกสิน จนได้ฌาน พอเข้าเตโชกสิณ กระทั่งเห็นภาพกสิณแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ”

การฝึกเตโชหรือแม้กระทั่งการทำกรรมฐานในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเกิดจากสัญญาเก่าหรือเหตุที่เคยทำมา คนที่เคยมีสัญญาเก่าติดตัวมา สามารถฝึกเองได้โดยไม่ต้องมีพี่เลี้ยงกำกับ

แต่จะพบปัญหาในเรื่องสภาวะที่ไปต่อไปไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรต่อ บางคนติดอยู่กับสิ่งที่ได้พบ ได้รู้เพราะกำลังของสมาธิเป็นเหตุ

เมื่อฝึกเตโช จนชำนาญ เรียกว่านิมิตภาพหรือแสงสว่างนั้นติดตา ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา จะสามารถเห็นภาพนั้นได้ดังใจนึก หลายๆคนจะติดอยู่ที่สภาวะนี้ ติดกับสิ่งที่ได้รู้เห็นประหลาดๆ

วิธีไปต่อ คือ ปรับอินทรีย์ค่ะ ปรับสติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์ ให้เดินก่อนที่จะนั่งทุกครั้ง ครั้งแรกให้ตั้งเวลาเดินกับนั่งเท่าๆกัน แล้วสังเกตุดูเรื่องความรู้สึกตัวขณะที่จิตเป็นสมาธิ

เวลาเป็นสมาธิ มีโอภาส ไม่สามารถรู้ชัดในกายส่วนอื่นๆได้ คือเห็นแต่แสงสว่าง แต่ไม่อาจรู้ชัดในกายส่วนอื่นๆได้ ให้เพิ่มเวลาเดินให้มากกว่านั่ง เพิ่มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความรู้สึกตัวขณะจิตเป็นสมาธิ

ส่วนโอภาสที่เกิดขึ้น เกิดความรู้สึกนึกคิดอะไรอย่างไร รู้ไปตามนั้น ไม่ต้องไปอยากให้เกิดต่อ หรืออยากทำให้หายไป โอภาสเป็นเรื่องปกติของสมาธิ แต่ผิดปกติทันที ถ้าไปยึดติดกับสิ่งที่เห็น

๑ พย.

คำถาม

เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ระหว่างที่ผมกำลังนอนคว่ำบนเตียงเพื่อทำความเข้าใจกับบทเรียน ผมท่อง excitation ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ในใจไปเรื่อย ๆ ด้วยจิตใจมุ่งมั่นกับบทเรียน จิตคิดอยากจะไปเที่ยว ผมก็ดึงจิตไว้ไม่ให้จิตไปสนใจเรื่องอื่น ผมยื้อกับความอยากไปเที่ยวนั่นเที่ยวนี่ของจิตได้สักครู่ ก็เกิดความรู้สึกว่าจิตวูบดิ่งไป ทั้ง ๆ ที่ผมลืมตาจ้องและมีสติเต็มร้อย ผมปล่อยจิตให้ดิ่งวูบต่อไปนิดหนึ่งก็รีบถอนจิตออกมา

๑. อาการที่จิตดิ่งวูบเข้าไป ในขณะที่ผมมีสติเต็มร้อย คืออะไรครับ

ปัจจุบันนี้ผมก็มาเริ่มปฏิบัติใหม่ โดยมีความคิดว่า หากจิตดิ่งวูบอีกก็จะปล่อยให้จิตดิ่งวูบ แต่ ………. ฝึกแล้วฝึกเล่าขณะนี้ยังทำไม่ได้ครับ จิตยังไม่นิ่งเลย

๒. ผมเคยฝึก เตโชกสิณ ด้วยการจ้องมองแสงเทียน แล้วหลับตานึกเห็นเปลวเทียน ทำอยู่หลาย ๆ รอบ กระทั่งเห็นเปลวเทียนเปลี่ยนสีไปเป็นสี แดง สีแดงแบบอะไรดีละ อธิบายไม่ถูก สีแดงสดใสมากและเป็นรูปคล้ายใบตะลาปัดที่พระสงฆ์ยกมาบังขณะให้พรนะครับ

ทุกวันนี้พอมองเปลวเทียนแล้วหลับตาก็จะเห็นเป็นดวงสีแดงทันที พอมองนาน ๆ ก็หายไปต้องลืมตามองเปลวเทียนใหม่อีก ฝึกมาถูกทางหรือไม่ก็ไม่ทราบ ยังไม่รู้จะไปปรึกษาใครดี

ปัจจุบันผมก็อาศัยดวงสีแดงนี่แหละครับสงบจิต มองดูเบา ๆ เฉย ๆ (เคยเพ่งแล้วหลายครั้ง จิตยังไม่ดิ่งวูบ แบบยังฟุ้งซ่านนะครับ) พอดีทราบว่าอาจารย์ฝึกเตโชกสิณสำเร็จกระทั่งได้ฌาณ ก็ขออนุญาตปรึกษานะครับ

๓.ผมเคยคิดว่า จะดูเปลวเทียนกระทั่งหลับตาเห็นดวงสีแดงสดใสแล้ว เพ่ง ๆ ๆ ๆ ดวงสีแดงไม่ให้จิตวอกแวกให้จิตดิ่งวูบที่ดวงสีแดงนี้ จะเป็นการฝึกที่ถูกต้องหรือไม่ ครับ ขออนุญาตสอบถามนะครับทั้ง ๆ ที่ ขณะนี้ยังทำให้จิตมีสมาธิดิ่งวูบไม่ได้

คำตอบ

ก่อนจะตอบคำถามที่นำมาถามทั้งหมด ขอถามก่อนนะคะว่า คุณปฏิบัติเพื่ออะไร เพื่อจะได้แนะนำสภาวะที่คุณควรจะทำต่อไปได้น่ะค่ะ

เป็นคำถามที่ดีมากครับ

ผมขอตอบอาจารย์ว่า ผมไม่ได้หวังนิพพานในขณะนี้ แต่ผมฝึกปฏิบัติเพื่อต้องการทำความดีให้ได้สมาธิเพื่อที่จะได้เพิ่มพูนปัญญาให้รู้แจ้ง ซึ่งจะรู้แจ้งหรือไม่นั้น ผมยังไปไม่ถึง รู้แต่ว่าผมต้องฝึกเพื่อให้ถึงตรงนั้นนะครับ

ถึงตรงไหนผมก็ยังไม่อาจจะรุ้ได้ในขณะนี้ครับ เพราะจิตยังปฏิบัติไม่ถึงครับ อย่างไรเสียผมก็ต้องปฏิบัตินะครับ ผมมีผลของการปฏิบัติมาบอกอาจารย์ครับ ขออนุญาตบอกนะครับ

คือ อาจารย์คงต้องเคยเกิดอาการสะอึก เวลาเกิดอาการสะอึก อาจารย์ทำอย่างไรให้หายจากอาการสะอึก ผมได้เรียนรู้จากการทำสมาธิพุทธ คือ เวลาเกิดอาการสะอึก ผมจะมองกายในกาย กล่าวคือให้สังเกตดูตรงที่สะอึกว่ามันเกิดอย่างไร

เชื่อมั๊ยครับว่า พอเราเอาจิตมองดูตรงที่สะอึก อาการสะอึกจะหายไปทันทีโดยไม่ต้องไปกินน้ำหรือแกล้งให้ตกใจใด ๆ ทุกท่านที่ผมประสบก็มักสอนวิธีปฏิบัติ แต่ผมขออนุญาตบอกอาจารย์ถึง ผล ของการปฏิบัติเบื้องต้นนะครับ

เอาละ อาจารย์พอจะช่วยอธิบายธรรมที่ผมสงสัยได้แล้วนะครับ

คำถาม อาจารย์คงต้องเคยเกิดอาการสะอึก เวลาเกิดอาการสะอึก อาจารย์ทำอย่างไรให้หายจากอาการสะอึก

ตอบ อับดับแรกแค่ดูค่ะ เกิดอะไรดูไปตามนั้น บางครั้งก็หาย บางครั้งก็ไม่หาย ส่วนถ้าจะหายหรือไม่หายไม่ได้ใส่ใจ แต่ถ้าทำให้รู้สึกรำคาญก็จะเปลี่ยนอิริยาบทค่ะ โดยการไปดื่มน้ำ คือ ตอบตามตรง ไม่ได้ใส่ใจจริงๆค่ะ

เพราะเมื่อเห็นทุกเรื่องเป็นแค่เพียงสภาวะ เห็นความไม่เที่ยงบ่อยๆ จะไม่ไปหาวิธีการอะไร เพราะรู้ดีว่า เดี๋ยวก็หายไปเอง เกิดเอง หายเอง มันเป็นเรื่องปกติน่ะค่ะ ยกเว้นไปจ้อง อาจะทำให้รู้สึกรำคาญได้ เพราะไปมุ่งหวังเรื่องปฏิบัติมากเกินไป

คำถามที่เคยถาม

เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ระหว่างที่ผมกำลังนอนคว่ำบนเตียงเพื่อทำความเข้าใจกับบทเรียน ผมท่อง excitation ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ในใจไปเรื่อย ๆ ด้วยจิตใจมุ่งมั่นกับบทเรียน จิตคิดอยากจะไปเที่ยว ผมก็ดึงจิตไว้ไม่ให้จิตไปสนใจเรื่องอื่น

ผมยื้อกับความอยากไปเที่ยวนั่นเที่ยวนี่ของจิตได้สักครู่ ก็เกิดความรู้สึกว่าจิตวูบดิ่งไป ทั้ง ๆ ที่ผมลืมตาจ้องและมีสติเต็มร้อย ผมปล่อยจิตให้ดิ่งวูบต่อไปนิดหนึ่งก็รีบถอนจิตออกมา

๑. อาการที่จิตดิ่งวูบเข้าไป ในขณะที่ผมมีสติเต็มร้อย คืออะไรครับ

ตอบ เรื่องปกติสำหรับการทำสมาธิ ไม่ว่าจะตั้งใจทำหรือไม่ตั้งใจทำ สามารถเกิดสภาวะนี้ขึ้นได้ และ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะอิริยาบทนั่งอย่างเดียว ในอิริยาบทอื่นๆก็สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ

ปัจจุบันนี้ผมก็มาเริ่มปฏิบัติใหม่ โดยมีความคิดว่า หากจิตดิ่งวูบอีกก็จะปล่อยให้จิตดิ่งวูบ แต่ ………. ฝึกแล้วฝึกเล่าขณะนี้ยังทำไม่ได้ครับ จิตยังไม่นิ่งเลย

ตอบ เพราะความอยากที่มีอยู่ ต้องการให้เกิด ย่อมไม่เกิด ถ้ารู้ไปตามธรรมชาติของจิตหรือตัวสภาวะ ถ้าจะเกิดสภาวะดิ่งอีก จะเกิดเอง

๒. ผมเคยฝึก เตโชกสิณ ด้วยการจ้องมองแสงเทียน แล้วหลับตานึกเห็นเปลวเทียน ทำอยู่หลาย ๆ รอบ กระทั่งเห็นเปลวเทียนเปลี่ยนสีไปเป็นสี แดง สีแดงแบบอะไรดีละ อธิบายไม่ถูก สีแดงสดใสมากและเป็นรูปคล้ายใบตะลาปัดที่พระสงฆ์ยกมาบังขณะให้พรนะครับ

ทุกวันนี้พอมองเปลวเทียนแล้วหลับตาก็จะเห็นเป็นดวงสีแดงทันที พอมองนาน ๆ ก็หายไปต้องลืมตามองเปลวเทียนใหม่อีก ฝึกมาถูกทางหรือไม่ก็ไม่ทราบ ยังไม่รู้จะไปปรึกษาใครดี

ตอบ โอภาสมีหลายสี ไม่ได้มีเฉพาะแสงสว่างสีขาวหรือสีแดง สีอื่นๆยังมีอีกมากมาย บางครั้งเห็นเป็นแบบฉัพพรรณรังสี บางครั้งเห็นแบบสายฟ้าฟาด คือมีหลายลักษณะค่ะ

ปัจจุบันผมก็อาศัยดวงสีแดงนี่แหละครับสงบจิต มองดูเบา ๆ เฉย ๆ (เคยเพ่งแล้วหลายครั้ง จิตยังไม่ดิ่งวูบ แบบยังฟุ้งซ่านนะครับ) พอดีทราบว่าอาจารย์ฝึกเตโชกสิณสำเร็จกระทั่งได้ฌาณ ก็ขออนุญาตปรึกษานะครับ

ตอบ เรื่องสภาวะดิ่ง เป็นเรื่องของกำลังสมาธิที่กำลังเกิดอยู่ จะไปเจตนาทำให้เกิดขึ้นมาไม่ได้หรอกค่ะ คุณเพียงแค่รู้ แค่ดู ไม่ต้องไปพยายามเพ่ง หรือพยายามจะทำให้เกิด ยิ่งพยายาม ยิ่งเครียดค่ะ เพราะไม่ได้ดั่งใจ ให้รู้ไปแบบปกติ มีอะไรเกิดก็รู้

๓.ผมเคยคิดว่า จะดูเปลวเทียนกระทั่งหลับตาเห็นดวงสีแดงสดใสแล้ว เพ่ง ๆ ๆ ๆ ดวงสีแดงไม่ให้จิตวอกแวกให้จิตดิ่งวูบที่ดวงสีแดงนี้ จะเป็นการฝึกที่ถูกต้องหรือไม่ ครับ ขออนุญาตสอบถามนะครับทั้ง ๆ ที่ ขณะนี้ยังทำให้จิตมีสมาธิดิ่งวูบไม่ได้

ตอบ เรื่องโภาสสีแดง ตอบไปแล้วนะคะ สำหรับเรื่องการฝึกกสิณ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร เหมือนๆกับการภาวนาแบบอื่น แบบอื่นบางครั้งต้องหลับตาภาวนา เพื่อตัดสภาวะรอบนอกออก ไม่ให้จิตไปว่อกแว่กกับภาพที่ผ่านไปผ่านมา

ไม่ทราบว่าคุณเพ่งแต่แสง หรือใส่คำบริกรรมกำกับลงไปด้วยหรือเปล่าคะ ถ้าไม่ได้ใส่ ลองทำแบบนี้ดูนะคะ จิตเป็นสมาธิเร็วดี อันนี้แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนด้วยนะคะ

วิธีการทำ

ยังคงใช้แสงเทียนนำทางเหมือนเดิม เพียงแต่ สถานที่ไม่มีลมจริงๆ ลมต้องนิ่ง แสงต้องไม่ซัดส่ายไปมา แสงต้องตั้งตรง มองไปที่แสง ใช้คำบริกรรมว่า เตโชๆๆๆๆพร้อมกับหายใจเข้าออก
สลับกับการหลับตา คือ จำภาพนิมิตหรือแสง แล้วหลับตาลง พร้อมๆกับยังบริกรรมภาวนาว่า เตโชๆๆไปด้วย ถ้าภาพยังไม่ติดตา ให้ลืมตามองไปที่แสงใหม่ ทำสลับไปมาแบบนี้ สภาวะคือ ดู จำ หลับตา ดูจำ หลับตา สลับไปมาแบบนี้

ขณะลืมตา หายใจเข้าภาวนาว่า เต หายใจออก ภาวนาว่า โช พร้อมๆกับมองไปที่แสง จดจำภาพของแสง

ขณะหลับตา หายใจเข้าภาวนาว่า เต หายใจ ภาวนาว่า โช ภาพจะเกิดขึ้นมาเอง หากจิตจดจำภาพของแสงได้ หากยังจำไม่ได้ เวลามอง จะมีแต่ความมืด ถ้าจำภาพได้ จะมีแสงปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆ ทำไปแค่นี้ก่อนค่ะ

คำถามเรื่องสมาธิ

ถาม

ขอคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติหน่อยครับ จำเป็นไหมครับ ที่เราต้องรู้ว่าสมาธิของเรา อยู่ในองค์ฌาณใด หรือปล่อยไปตามธรรมชาติ การที่จะรักษาสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิต เช่น เวลารู้สึกว่าจิตสงบแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอะไรต่อ ทำให้เกิดความลังเลสงสัย สมาธิเลยไม่ต่อเนื่อง ต้องเริ่มต้นใหม่บ่อยๆ เราควรจะวางจิตเราอย่างไรครับ ที่จะทำให้เราอยู่ในสมาธิได้นานๆ

คำถาม

จำเป็นไหมครับ ที่เราต้องรู้ว่าสมาธิของเรา อยู่ในองค์ฌาณใด หรือปล่อยไปตามธรรมชาติ

ตอบ ไม่จำเป็นค่ะ

คำถาม

การที่จะรักษาสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิต เช่น เวลารู้สึกว่าจิตสงบแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอะไรต่อ ทำให้เกิดความลังเลสงสัย สมาธิเลยไม่ต่อเนื่อง ต้องเริ่มต้นใหม่บ่อยๆ

คำตอบ

สมาธิก็ไม่เที่ยงค่ะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จะไปยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้ค่ะ

คำถาม

เราควรจะวางจิตเราอย่างไรครับ ที่จะทำให้เราอยู่ในสมาธิได้นานๆ

คำตอบ ฝึกทำต่อเนื่องค่ะ

คำตอบที่ตอบไป ตอบแค่ตามสภาวะที่ถามมา จริงๆแล้วต้องคุยรายละเอียดมากกว่านี้ค่ะ

เพราะสภาวะของสมาธิที่ทำให้เกิดปัญญา เป็นสมาธิที่มีความรู้สึกตัวค่ะ ไม่ใช่แค่ความสงบอย่างเดียว

คำถาม

เท่าที่ฝึกมาส่วนใหญ่ก็มีความรู้ตัวดี แต่พอรู้สึกว่าจิตรวมแล้ว ก็ไม่รู้จะพิจารณาอะไรต่อครับ หรือปล่อยไว้เฉยๆ ดูไปเรื่อยๆ ใช่ไหมครับ

คำตอบ

ตรงนี้ต้องขอถามกลับนะคะ

การปฏิบัติ ทำแบบไหนคะ กรุณาช่วยบอกรายละเอียดด้วยต่ะ เช่น ใช้พุทโธตามลมหายใจเข้าออก หรือรู้ไปตามลมหายใจเข้าออกโดยไม่ได้ใช้คำภาวนา

หรือใช้พองหนอยุบหนอตามลมหายใจเข้าออก หรือดุท้องพองยุบตามลมหายใจเข้ออกโดยไม่ต้องใช้พองยุบกำกับ

หรือว่าปฏิบัติแบบอื่นๆ ช่วยบอกรายละเอียดด้วยค่ะ

คำถาม

ก็ตามหลักอานาปานสติ เป็นส่วนใหญ่ คำภาวนาก็ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ไม่ทราบว่าจะเป็นไรไหมครับ ส่วนใหญ่จะอ่านจากอานาปาสติสูตร แล้วก็หนังสืออานาปานสติของท่านพุทธทาส ครับ ดูท้องยุบเข้าออก นี่ก็ใช้เป็นบางครับ เพราะบางทีตามลมไม่ทัน ก็ดูท้องครับ ทำแบบหลายสายมากเลยครับ แต่เน้นอานาปานสติเป็นหลัก

คำตอบ

สภาวะทั้งหมดที่คุณถามมา คุณเพียงใช้การปรับอินทรีย์เข้าช่วยเท่านั้นเองค่ะ

คือ เดินก่อนที่จะนั่ง ถ้าดูลมหายใจ แล้วลมหายใจหายไป ต่อจากนั้น ให้ดูเรื่องการรู้กายและจิตเป็นหลัก

มีสภาวะอะไรเกิดขึ้น ให้รู้ไปตามนั้น

จริงๆแล้ว สิ่งที่คุณถามมา มีคำตอบอยู่ในบล็อก เพียงแต่คิดว่า คุณคงเลือกอ่านแค่เพียงหัวข้อที่ต้องการอ่านเท่านั้นเอง

ข้อแนะนำ ขอให้คุณไล่อ่านไปทีละเรื่อง เช่น สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ , จิตที่ตั้งมั่น , การกำหนด , การเดินจงกรมฯลฯ

ลองไล่อ่านไปเรื่อยๆนะคะ หัวข้อจะอยู่ด้านทางขวามือของหน้า

อ่านแล้วสงสัยตรงไหนถามได้ค่ะ

คำถาม

ขอบคุณมากครับ ที่สละเวลามาตอบ ผมจะลองไล่อ่านตามที่คุณบอกมาละกันนะครับ

คำตอบ

เราทุกรูปทุกนาม ล้วนเป็นเพื่อนพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่การที่จะรู้รู้ตามความเป้นจริงได้ ต้องเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเอง

แรกเริ่มเรียนรู้เรื่องกาย เวทนา จิต ธรรม ย่อสั้นๆเหลือกายและจิต สุดท้ายเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ เราต้องรู้จักจิตที่ถ่องแท้ของตนเองก่อน แล้วเรื่องวิธีการต่างๆ ตลอดจนสิ่งต่างๆที่เคยยึดติดอยู่จะค่อยๆปล่อยวางลงไปเอง

เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้จิตแบบหยาบๆก่อนนะคะ โดยต้องอาศัยจิตที่ตั้งมั่น คือ สมาธิ แต่เป้นสมาธิที่มีความรู้สึกตัว

อิริยาบทหลักที่ขาดไม่ได้เลย คือ เวลาที่ทำเต็มรูปแบบ ปรับอินทรีย์โดยการเดินก่อนที่จะนั่ง แล้วหมั่นสังเกตุดูสภาวะที่เกิดขึ้น หากจิตยังติดอยู่ในความสงบแบบที่เคยเป็น ให้เพิ่มอิริยาบทเดิน จนกว่าจะสามารถรู้ชัดที่กายส่วนอื่นๆได้

ทำไปก่อนนะคะ แล้วค่อยมาถามใหม่ หากยังมีข้อสงสัยอยู่

๒๐ สค.๕๔

จะถามเรื่องสภาวะน่ะค่ะ นั่งสมาธิเป็นยังไงมั่งคะ รู้กายได้หรือยัง หรือว่านั่งแล้วสงบ

ถาม สวัสดีครับตอนนี้มีสภาวะใหม่อีกครับ เหมือนร่างกายจะหลุดออกไปน่ะครับเหมือนจิตจะออกจากร่างกาย.

ตอบ ช่วยบอกสภาวะทั้งหมดด้วยค่ะ.

ถาม ส่วนใหญ่ จะนิ่งๆนะครับ มีบางครั้งเหมือนหลับแต่พอขยับออกมาจิตมันก็สว่าง พวกนิมิตต่างๆไม่ค่อยมีครับ

ตอนนี้จะรู้สึกว่ากายจะโล่งๆโปร่งๆครับ มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เลยไม่รู้จะบอกยังไงครับ ส่วนใหญ่จะนั่งอย่างเดียว.

ตอบ ถ้างั้นเป็นเรื่องปกติที่คุณจะเจอสภาวะแบบนี้ถ้าไม่ยอมเดิน สภาวะคุณจะเป็นแบบนี้สมาธิมากเกินสติ ขาดความรู้สึกตัวน่ะค่ะ.

ส่วนโอภาสหรือแสงสว่าง เป็นเรื่องปกติของสมาธิค่ะ ( โอภาสจะสว่างมากตามกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น )

ถาม เหรอครับ ต้องเดินด้วยใช่ไหมครับ พอดีช่วงนี้พาลูกสาวทำวัตรแล้วก็นั่งสมาธิก็เลยไม่ได้เดินก่อน.

ตอบ เดินก่อนที่จะนั่งค่ะ.

เพิ่มเดินไปจนกว่า คือ ให้สังเกตุดู เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้น เช่น สามารถรู้กายส่วนอื่นๆได้ แม้กระทั่งความคิดที่เกิดขึ้น

ถาม เดินไว้ก่อนนั่งทำวัตรได้ใช่ไหมครับหรือเดินหลังนั่งได้ไหมครับ.

ตอบ การปรับอินทรีย์ ควรเดินก่อนที่จะนั่งค่ะ คือเดินก่อนนั่งสมาธิ.

ถาม ครับผม จะพยายามครับ. ปกติทำวัตรเสร็จผมก็ขัดสมาธิกันเลยทำให้ไม่ได้เดิน.

ตอบ ปล่อยให้ลูกสาวนั่งไปคนเดียวสิคะ ส่วนคุณทำวัตรเสร็จแล้ว ไปเดินแล้วค่อยกลับมานั่ง.

เดินที่อิ่นๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเดินตรงที่ลูกสาวนั่งอยู่.

ถาม ครับผม ขอบคุณมากเลย. ผมก็ว่าทำไม ไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไรครับผม

ตอบ การปรับอินทรีย์ แรกๆให้ดูเวลาด้วยนะคะ.

ถาม ต้องเดินนานไหมครับสักกี่นาทีครับ.

ตอบ ไม่นานค่ะ ดูเวลานั่งเป็นหลักคุณนั่งนานเท่าไหร่คะ.

ถาม เท่าๆกันเหรอครับ ปกติผมนั่งสามช่วงครับคือ เช้า สองทุ่ม ก่อนนอนเวลาไม่แน่นอนอีกครับ.

ตอบ ไม่ค่ะ เดินมากกว่านั่งค่ะ

ถ้านั่งแล้วยังติดอยู่ในความสงบอีก ไม่สามารถรู้กายได้ ให้เพิ่มเดินไปเรื่อยๆ ส่วนนั่งให้เวลาเท่าเดิมหรือไม่ก็ลดการนั่งให้น้อยลง อย่าไปเสียดายสมาธิ

๒๒ สค.๕๔

ถาม ขอบคุณมากเลยครับ ตอนนี้พยายามเดินให้มากขึ้น รู้สึกว่าดีมากขึ้นจริงๆครับ มีสมาธิมากกว่าเดิม จะพยายามเดินให้มากขึ้นอีกครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ ถ้าปฏิบัติก้าวหน้าติดขัดอย่างไร ผมขออนุญาตมาถามอีกนะครับ

ตอบ อนุโมทนาค่ะ ทำทุกวันนะคะ แล้วจะเห็นผลชัดมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วคุณจะขอบคุณในเหตุใหม่ของการเจริญสติที่กำลังเริ่มทำอยู่ค่ะ

ถาม ถ้ารู้สึกเบื่อเวลาฝึกสติปัฎฐาน4 ต้องทำอย่างไร ถ้าผมเปลี่ยนเป็นดูจิตแทนไปเรื่อยๆได้ไหม เราดูความเบื่อมันไปเรื่อยๆเหรอครับ ไม่ต้องไปตั้งความหวังกับมัน แต่ดูมันเป็นไปตามธรรมชาติของมันเรื่อยๆอย่างนั้นเหรอ

การตอบคำถาม บอกตามตรงนะคะ ตอบได้ค่ะ เพียงแต่ว่าจะตอบแบบครอบคลุม

การที่จะตอบเจาะจงลงไปเลย มันยากที่จะตอบ เพราะสภาวะของแต่ละคนจะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา การที่จะแนะนำกันได้ ต้องพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง
……………

ถาม พี่ถ้ารู้สึกเบื่อเวลาฝึกสติปัฎฐาน4 ต้องทำอย่างไร

ตอบ เรื่องปกติค่ะ เพราะทำแล้ว ไม่ได้ดั่งใจ เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อค่ะ

…………

ถาม ถ้าผมเปลี่ยนเป็นดูจิตแทนไปเรื่อยๆได้ไหม?

ตอบ การเจริญสติปัฏฐาน คือ มีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่ในสิ่งที่เกิดขึ้นในกายและจิตค่ะ เคยปฏิบัติยังไง ทำเหมือนเดิมค่ะ แต่เพิ่มเรื่องการปรับอินทรีย์ลงไป

คือ ให้เดินก่อนที่จะนั่งทุกครั้ง ส่วนจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ทำตามสะดวกค่ะ แต่ให้ทำทุกวัน

………………

ถาม เราดูความเบื่อมันไปเรื่อยๆเหรอครับ ไม่ต้องไปตั้งความหวังกับมัน แต่ดูมันเป็นไปตามธรรมชาติของมันเรื่อยๆอย่างนั้นเหรอ?

ตอบ รู้สึก,นึกคิดอย่างไร รู้ไปตามนั้น ไม่ต้องไปพยายามทำอะไร ยิ่งพยายามนั่นคือ ความอยาก

ยิ่งอยากมากเท่าไหร่ พอไม่ได้ดั่งใจ ยิ่งเป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย

ทำตามความเป็นจริงสิคะ ทำแล้วจะสบายมากขึ้นค่ะ เพราะไม่ต้องไปกดข่มตัวเองให้ทำด้วยความอยาก

ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนไม่เที่ยงค่ะ ลองดูให้ดีๆนะคะ เพียงยอมรับตามความเป็นจริงที่รู้สึก,นึกคิด รู้ไปตามนั้น แล้วทำความเพียรต่อเนื่อง ทำมาก ทำน้อย ทำให้ต่อเนื่อง

เบื่อมาก ทำยังไงดี

ถาม

หนูเบื่อตัวเองและเบื่อการปฏิบัติ เวลาปฏิบัติแล้วมันฟุ้ง พยายามดึงจิตกลับมาแล้ว มันก็ออกไปอีก ทำได้ไม่นานก็เลิก มันเลยทำให้ไม่อยากปฏิบัติ หนูพยายามไม่อยากให้ตัวเองสงบแล้วนะ มันก็ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังไม่ทำให้หายไปเลยค่ะ เบื่อตัวเองจริง ๆ ทำยังงัยถึงจะหายค่ะ

ตอบ

การตอบคำถาม บอกตามตรงนะคะ ตอบได้ค่ะ เพียงแต่ว่าจะตอบแบบครอบคลุม

การที่จะตอบเจาะจงลงไปเลย มันยากที่จะตอบ เพราะสภาวะของแต่ละคนจะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา การที่จะแนะนำกันได้ ต้องพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง

ไม่ใช่สงสัยแล้วตอบให้หายสงสัย การทำให้ความสงสัยสิ้นไป ต้องเกิดจากผลของการปฏิบัติต่อเนื่องค่ะ
……………….

ขอตอบทีละข้อนะคะ

ถาม หนูเบื่อตัวเองและเบื่อการปฏิบัติ เวลาปฏิบัติแล้วมันฟุ้ง

ตอบ ปฏิบัติแล้วฟุ้ง เป็นเรื่องปกติค่ะ

………….

ถาม พยายามดึงจิตกลับมาแล้ว มันก็ออกไปอีก ทำได้ไม่นานก็เลิก มันเลยทำให้ไม่อยากปฏิบัติ

ตอบ เรื่องปกติค่ะ เพราะไม่ได้ดั่งใจ ถ้าทำได้ดั่งใจ เป็นเหตุให้อยากปฏิบัติต่อ พอทำแล้วไม่ได้ดั่งใจ เป็นเหตุให้ไม่อยากปฏิบัติ
…………………..

ถาม หนูพยายามไม่อยากให้ตัวเอง สงบ แล้วนะ มันก็ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยัง ไม่ทำให้ หายไปเลยค่ะ ( ไม่หาย )

ตอบ อยากให้หายมากเท่าไหร่ ยิ่งไม่หายค่ะ
…………

ถาม เบื่อตัวเองจริง ๆ ทำยังงัยถึงจะหายค่ะ

ตอบ เมื่อไม่ได้ดั่งใจ เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อ ทำให้หาย ทำไม่ได้หรอกค่ะ มีวิธีเดียวเท่านั้น ให้ยอมรับตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น รู้สึก,นึกคิดอย่างไร รู้ไปตามนั้น

เคยปฏิบัติแบบไหน ทำต่อไป แต่ให้ใช้การปรับอินทรีย์เข้าช้วย คือ ให้เดินก่อนที่จะนั่งทุกครั้ง ส่วนเวลามากน้อยแค่ไหน ทำได้แค่ไหน ทำไปตามนั้นค่ะ

………………….

จริงๆแล้ว ต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ การตอบคำถาม จึงตอบตามสภาวะของคำถามที่ถามมา

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ