หนังสือ พระยาธรรมิกราช

พระยาธรรมิกราช

“ดูกรอานนท์ ธรรมนี้ชื่อว่าพระยาธรรมิกราช เพราะเป็นใหญ่กว่าธรรมทั้งหลาย
ข้อที่เราตถาคตได้ตรัสไว้แล้วในธรรมหมวดนี้
คือได้ชี้นรก สวรรค์ พระนิพพาน กิเลสตัณหา โดยจะแจ้งสิ้นเชิง
เมื่อผู้ใดได้ฟังแล้วปรารถนาสุขทุกข์ประการใด ก็จงเลือกประพฤติตามความปรารถนา”


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. ทานสูตร
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้
คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม
วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ
รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ
ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า
ประโยชน์อย่างยิ่งนั้นของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง๒
ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจดประโยชน์อย่างยิ่งนั้น
ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ

ผู้จัดทำ
คุณวลัยพร โลหิตคุปต์
คุณชาญชัย แก้ววิเชียร
๒๓ ตุลาคม พศ.๒๕๖๖


สารบัญ

เริ่มจากการสดับธรรมจากพระอริยะ
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๒
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๓
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๔

การสดับธรรมจากสัตบุรุษ
การสดับธรรมจากสัปบุรุษ
การสดับธรรมจากปุริสบุคคล

ตามรอยพระพุทธเจ้า

ฤทธิ์ของอริยะ 

ภิกษุทั้งหลาย ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า 
ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มาก… มีอานุภาพมาก… คือ

(๑) ทาน การให้

(๒) ทมะ การบีบบังคับใจ,

(๓) สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้
อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.

หมายเหตุ:

เมื่อรู้ชัดในสภาวะผัสสะ/สิ่งที่เกิดขึ้นว่า
เพราะเหตุใด สิ่งที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด

ทำให้รู้ว่า

สิ่งที่เคยกระทำไว้ทาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ส่งมาในรูปของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น

การรู้ชัด ในผัสสะ ที่เกิดขึ้น เช่นนี้ได้ สามารถรู้ด้วยการฟัง รู้ด้วยการอ่าน รู้ด้วยการภาวนา

เป็นเหตุให้ เกิดการกระทำเช่นนี้ ทุกๆครั้งที่ผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด)

ผลแห่งวิบากกรรม ๓(ผลของการกระทำดังนี้) หมายถึง

๑. ทาน การให้ หมายถึง การให้อภัย
ให้อภัยต่อการกระทำของผู้อื่น ที่มีกับตน

๒. ทมะ การบีบบังคับใจ หมายถึง อดทน อดกลั้น กดข่มใจ
ไม่สร้างเหตุออกไปทาง(ไม่ปล่อยให้ ก้าวล่วงออกไป) กายกรรม วจีกรรม
ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

๓. สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้
หมายถึง เมื่อกระทำได้เช่นนี้(การหยุดสร้างเหตุนอกตัว)
เป็นเหตุให้ เกิดความสำรวม สังวร คือ ระวัง ทุกๆครั้งที่ผัสสะเกิด

http://www.buddha-quote.com/?page_id=1418

ฤทธิ์ของพระอริยะ

การอยู่ของท่านผู้มีความสำคัญในของปฏิกูลเป็นต้นว่าของไม่เป็นปฏิกูลเป็นต้น อยู่เป็นนิตย์ ชื่อว่า อริยาอิทฺธิ คือ ฤทธิ์ของพระอริยะ สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน?

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ หากจะหวังว่าเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญไม่เป็นของปฏิกูลในของปฏิกูลนั้นอยู่ฯลฯ เป็นผู้วางเฉยมีสตินึกรู้สึกอยู่ในของปฏิกูลนั้นดังนี้
ก็ฤทธิ์อย่างนี้ท่านเรียกว่า อริยาอิทฺธิ ฤทธิ์ของพระอริยะ เพราะบังเกิดแก่พระอริยะทั้งหลาย ผู้มีความเชี่ยวชาญทางใจอย่างเดียว

จริงอยู่ พระขีณาสพประกอบด้วยฤทธิ์นี้ ย่อมทำการแผ่เมตตาหรือใฝ่ฝจโดยความเป็นธาตุไปในวัตถุที่ปฏิกูลไม่น่าปรารถนา เป็นผู้มีความสำคัญหมายว่าไม่น่าเกลียดอยู่

และทำการแผ่โดยเป็นของไม่งาม หรือใฝ่ใจว่าไม่เที่ยง ในวัตถุที่ไม่น่าเกลียดคือที่น่าปรารถนา เป็นผู้มีความสำคัญหมายว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ อนึ่ง ย่อมทำการแผ่เมตตาหรือใฝ่ใจในความเป็นธาตุนั้นแล

ในทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่า ไม่ปฏิกูลอยู่ และทำการแผ่ว่าไม่งาม หรือใฝ่ใจว่าไม่เที่ยงนั่นแล ในวัตถุทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล เป็นผู้มีความสำคัญหมายในของปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่

อนึ่ง ท่านยังอุเบกขาทั้ง ๖ ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ให้เป็นไปอยู่ ย่อมพรากห่วงทั้ง ๒ คือ ทั้งในของปฏิกูลและไม่ปฏิกูล วางเฉย มีสติรู้สึกอยู่

ก็เนื้อความอย่างนี้แหละ ท่านจำแนกไว้ในปฏิสัมภิทาโดยนัยเป็นต้นว่า อย่างไรภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญหมายว่าไม่ปฏิกูลและปฏิกูลนั้นอยู่ คือ ภิกษุแผ่เมตตา หรือน้อมนำไปโดยธาตุในวัตถุอันไม่น่าปรารถนาเป็นต้น ดังนี้

ฤทธิ์ดังกล่าวมานี้ ท่านเรียกว่า ฤทธิ์ของพระอริยะ เพราะบังเกิดเฉพาะแก่ผู้ประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางใจดังนี้แล

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ