ปริยัติ

ปริยัติ เกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย ไม่ได้อยากรู้ เพราะสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นเพียง สภาวะสัญญา ที่ใช้ในการถ่ายทอดออกไป

เวลารู้ ไม่ใช่รู้ครั้งเดียวจบ จะค่อยๆรู้แบบตัวต่อ ต้องทำความเพียรต่อเนื่อง สภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถเจาะจงได้ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด

เหมือนเรียนหนังสือ เรียนไปทีละบท ทีละตอน หนังสือสามารถเปิดอ่านล่วงหน้าได้ แต่สภาวะที่เกิดขึ้นภายในจิต คาดเดาไม่ได้ เปิดอ่านก็ไม่ได้ มีความอยากรู้ก็ไม่ได้ เรียกว่า มีกิเลสแทรกไม่ได้ ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัยจริงๆ

ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับการทำความเพียรต่อเนื่อง และการหยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

 

สภาวะปัญญา รู้แล้ว จบจริงๆ จบภพ จบชาติ(ปัจจุบัน ขณะ)

ส่วนอยู่จบพรหมจรรย์ สังโยชน์ ๑๐ ต้องถูกประหานหมดสิ้น ที่เกิดจาก สภาวะสมุจเฉทประหาน ซึ่งเกิดขึ้นใน สภาวะสัมมาสมาธิิเท่านั้น

เกิดขึ้นใน ปัจจุบันธรรม ไม่ใช่ใน ปัจจุบัน ขณะ

 

หากยังไม่เบื่อการเกิด สร้างเหตุของ การดับภพชาติปัจจุบัน ได้แก่ ปัจจุบัน ขณะ

หากไม่อยากเกิดอีกต่อไป ต้องสร้างทั้งเหตุของปัจจุบัน ขณะ และ ปัจจุบันธรรม ขาดอย่างใด อย่างหนึ่ง สภาวะย่อมย่อหย่อน สภาวะสมุจเฉทประหาน ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก

 

แก้ที่เหตุ ที่ตัวเองยังมีอยู่และเป็นอยู่
เมื่อแก้ได้ ใจย่อมสงบ ไม่ว่อกแว่ก ทางย่อมตรง ไม่คดเคี้ยว ไม่วกวน

รู้ที่จิต จบที่จิต

 

 

ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง

เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้า สอนคนทั่วไป สอนแต่สติปัฏฐาน ๔(ดับภพชาติปัจจุบัน)

สอนภิกษุ สอนให้อยู่แต่สุญญตา/สุญญคารเนืองๆ แต่ใช้คำเรียกโดยรวมว่า สติปัฏฐาน ๔ ปัจจุบันเรียก มหาสติปัฏฐาน(ดับภพชาติในวัฏฏสงสาร)

เป็นที่มาของ สติปัฏฐาน ๔ ฝ่ายสมถะ และ สติปัฏฐาน ๔/มหาสติปัฏฐาน ฝ่าย วิปัสสนา

ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919#102

โอรัมภาคิยสังโยชน์และอุทธัมภาคิยสังโยชน์

 โอรัมภาคิยสังโยชน์

สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่

1. สักกายทิฏฐิ – มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง

2. วิจิกิจฉา – มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และนิพพาน

3. สีลัพพตปรามาส – ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร

หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย

4. กามราคะ – มีความติดใจในกามคุณ

5. ปฏิฆะ- มีความกระทบกระทั่งในใจ

 

 

อุทธัมภาคิยสังโยชน์

สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่

6. รูปราคะ – มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน

7. อรูปราคะ – มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย

8. มานะ – มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน

9. อุทธัจจะ – มีความฟุ้งซ่าน

10. อวิชชา – มีความไม่รู้จริง

ปัจจุบันขณะ กับปัจจุบันธรรม

การดำเนินชีวิต

ปัจจุบันขณะ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต

ปัจจุบัน ขณะ ได้แก่ สัมมาสติ  หมายถึง เมื่อทำกิจใดๆอยู่ก็ตาม แม้กระทั่งผัสสะเกิด เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย แต่ไม่ได้สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดถึง ขณะนั้น เป็นเหตุให้เกิดการรู้ชัดอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม(สติปักฐาน ๔/มรรค มีองค์ ๘)

 

 

การปฏิบัติ 

ปัจจุบันธรรม เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่(ทำสมาธิ)

ปัจจุบันธรรม ได้แก่ สภาวะที่เกิดขึ้น ในสัมมาสมาธิ หมายถึง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ เป็นเหตุให้รู้ชัดอยู่ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา ธรรมในธรรม จิตในจิต(มหาสติปัฏฐาน/อริยมรรค มีองค์ ๘)

ยุคของ ปัจจุบัน ขณะ

ยุคนี้ เป็นยุคของ ปัจจุบัน ขณะ

ไม่ใช่ยุคของ ปัจจุบันธรรม ดั่งสมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่อง สุญญาคาร/สุญญตา ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นของ สัมมาสมาธิ

ปัจจุบัน ขณะ(สัมมาสติ) ตัดภพชาติใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน ปัจจุบันชาติ(ยังต้องเกิด)

ปัจจุบันธรรม(สัมมาสมาธิ) ตัดภพชาติในวัฏฏสงสาร(ไม่เกิดอีกต่อไป)

แต่จะให้ผลสูงสุด ปัจจุบัน ขณะ ต้องควบคู่กับปัจจุบันธรรม แล้วอริยมรรค มีองค์ ๘ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องถูก/ผิด ไม่ว่าใครจะปฏิบัติแบบไหน ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละคน และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

 

เมื่อยังต้องเกิด สิ่งที่เคยกระทำไว้ ถูกสะสมไว้ในจิต เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม สิ่งที่เคยรู้ สติจะขุดแคะงัดแงะขึ้นมาเอง ในรูปของ สัญญา

 

สภาวะปัญญาที่แท้จริงคือ รู้แจ้งอริยสัจ ๔ และนิพพาน รู้แล้ว จบภพ จบชาติ 

ส่วนรู้อื่นๆ เป็นเพียงสัญญา เหตุเพราะ รู้แล้ว ยังไม่จบ ยังคงสร้างเหตุของการเกิด

ตถาตา

มองแล้ว ทิ้งไป ไม่มีใครช่วยใครได้หรอก

ต้องฝึกอีกเยอะนะเรา ฝึกที่จะนิ่งให้มากๆ อย่าได้ขยับแม้แต่มือ

เหตุของใคร ก็ของคนนั้น

 

เมื่อผัสสะเกิด แค่ดูบ่อยๆ เห็นบ่อยๆ เห็นเนืองๆ เราจะเห็นว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง แล้วจิตจะปล่อยวางลงเอง ตามเหตุปัจจัย

ตราบใดที่จิตยังมีอวิชชา เป็นเจ้านาย ตราบนั้น ย่อมสร้างเหตุทาง มโนกรรมบ้าง วจีกรรมบ้าง กายกรรมบ้าง นี่เป็นฝ่ายเหตุ เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่

ฝ่ายผล ส่งมาในรูปของผัสสะ เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ ก็หลงสร้างต่อไปอีก วัฏฏสงสาร ยาวนานเพราะเหตุนี้ เหตุของความไม่รู้

เมื่อยังมีการสร้างเหตุ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ย่อมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และต่อสภาวะ ทั้งปฏิบัติ และสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะปฏิบัติ

เมื่อยังรักตัวเอง ไม่มากพอ มันก็เป็นแบบนี้ ดังที่กล่าวมา

 

เมื่อรู้วิธีจัดการกับสภาวะที่เกิดขึ้นอยู่ เป็นเหตุให้หมดเหตุ อย่างน้อยๆ ไม่ต้องมากระทบ

ทีนี้อยู่ที่ว่า เราวิ่งเข้าไปหาหรือเปล่า หากอยู่กับที่ ไม่วิ่งเข้าไปหา ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมจบลงไปตามเหตุปัจจัยเอง

ถ้าถามว่า การทำเช่นนี้ เป็นการปฏิเสธต่อสภาวะที่เกิดขึ้นหรือไม่?

คำตอบ แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน สุดแต่ว่า จะรู้สึกนึกคิดยังไงกัน นั่นเหตุของคนๆนั้น

สำหรับตัวเอง อะไรที่เป็นเหตุให้ มีผลกระทบกลับมา ต่อการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติ ตัดทิ้งหมด ใครจะว่าใจจีดใจดำก็ช่าง

เพราะ พูดเป็นประจำอยู่แล้วว่า หยุดสร้างเหตุนอกตัว ทำความเพียรต่อเนื่อง สภาวะจะดำเนินไปตามเหตุปัจจัยเอง ส่วนจะเชื่อกันหรือไม่ ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

เพียงพูดในสิ่งที่ควรพูด เพราะทุกสรรพสิ่ง ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

ต้องเรียนรู้กับความผิดพลาด ยิ่งเฝ้าระวังตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งแก้ที่ตัวเองได้ทัน มากขึ้นเท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ ใจก็เบาสบาย สภาวะทั้งการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติ ย่อมดำเนินไปด้วยดี

เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

หนทางย่อมโล่ง สะดวกโยธิน

สภาวะแปลกๆ

๒๐ กพ.๕๕

ช่วงหัวค่ำ นั่งสมาธิพร้อมเจ้านาย


เป็นมาหลายวันแล้ว ขณะที่นั่งอยู่กับเจ้านาย ได้ยินเสียงกระดูกเจ้านายลั่น ระหว่างที่นั่งสมาธิอยู่ด้วยกัน ได้ยินหลายครั้ง เหมือนเจ้านายขยับตัว แต่ไม่ได้ขยับ

แรกๆที่ได้ยิน รู้สึกเฉยๆ พอได้ยินบ่อยๆ ก็ลืมตามอง เจ้านายยังคงนั่งปกติ ไม่ได้ขยับตัว

วันนี้ ขณะทำสมาธิอยู่ มีสภาวะแปลกๆเกิดขึ้น รู้สึกถึงพลังที่หัว วาบบบ แผ่ไปที่กายครึ่งตัว คือ แค่เอว

แล้วรู้สึกวูบ พลังที่แผ่ออกมานั้น วูบกลับไปที่หัว

พลังที่แผ่วาบออกมา และวูบกลับไป มีพลังแรงมากๆ จนรู้สึกได้

นามรูปปริจเฉทญาณ

 รู้ชัดในสภาวะรูปนาม ขณะจิตตั้งมั่น/เป็นสมาธิอยู่

๑. พองตอนหนึ่ง ยุบตอนหนึ่ง เรียกว่า สภาวะรูปปริจเฉทญาณ

๒. พออาการพองเกิดขึ้น ใจก็รู้อาการพอง

ใจที่รู้อาการพอง กับอาการพอง(ท้อง) แยกจากกัน คือ อาการพองอย่างหนึ่ง ใจที่รู้อย่างหนึ่ง
แต่ทั้งสองอย่างนี้ เกิดพร้อมกัน เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ

๓. พองตอนหนึ่ง ยุบตอนหนึ่ง แยกออกจากกัน ไม่ติดเป็นพืด

๔. อาการพอง กับใจที่รู้ เป็นคนละอย่าง
เมื่อโยคาวจรบุคคล มีความรู้สึกปรากฏขึ้นว่า มีรูปกับนาม เพียง ๒ อย่างเท่านั้น
ไม่มีตัวตน ไม่มีคน ไม่ใช่เขา,เรา เข้าใจถูกต้องอย่างนี้

ก็จะประหาน สักกายทิฏฐิได้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นบริสุทธิ์แล้ว

สภาวะรู้ชัดภายในกายและจิต

เดี๋ยวนี้ สภาวะเปลี่ยนไป การรู้ที่กาย จะรู้ชัดตามจุดชีพจรต่างๆที่เต้นอยู่ เสียงการสูบฉีดโลหิต เสียงหัวใจเต้น กระเพาะทำงาน การขยับตัวของลำไส้ฯลฯ

คือ จะรู้ชัดเนืองๆ ของสภาวะต่างๆเหล่านี้ แม้ขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะรู้เนืองๆแบบนี้

ถ้ามีสมาธิไม่มากพอ บางครั้ง จะรู้สึกรำคาญ ต้องคอยกำหนด เมื่อรู้ที่กายปกติได้ ความรู้สึกรำคาญ จะหายไปเอง เหตุเพราะ จะรู้ชัดในสภาวะต่างๆแบบปกติ ไม่มีการเด่นชัด

สภาวะที่เกิดขึ้นภายในจิต อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ รู้ทันมากขึ้น เห็นสภาวะที่กำลังจะเกิด ขณะเกิด และดับหายไป รู้ทันมากขึ้น สงบกายวาจา ทันมากขึ้น ความคิดที่เกิดขึ้น น้อยลง

ความคิดที่เกิดขึ้นส่วนมาก มีแต่เรื่อง เหตุ ทุกข์ โทษ ภัยของการเกิด เป็นเหตุให้ จิตมีแต่ความเบื่อหน่าย เบื่อมากๆ

ตอนนี้ ขออนุญาติจากเจ้านาย ขอเข้ากรรมฐาน ๗ วัน ทุกๆเดือน เพื่อรักษาจิต ไม่งั้น ความเบื่อ เอาไม่อยู่ ทำให้รู้สึกทุกข์ ทำให้ ไม่อยากมีชีวิตอยู่

ซึ่งเจ้านาย อนุญาติ และจะดูแลตัวเอง ระหว่างที่วลัยพรไม่อยู่ ส่วนเรื่องเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัวเจ้านาย จัดการไว้ให้เรียบร้อยหมดทุกอย่าง โดยไม่ทำให้เจ้านายลำบาก ระหว่างที่ตัวเองไม่อยู่

 

เหตุที่ปฏิบัติที่บ้านไม่ได้ เพราะ ข้าศึกของสภาวะเยอะ ยังตามใจตัวเองอยู่ ปฏิบัติไม่เต็มที่

เหตุเพราะ ความสบายในชีวิต ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เป็นเหตุให้ ย่อหย่อนในการทำความเพียร

วลัยพรรู้ดีว่า ทำอย่างไร จึงจะไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ที่ผ่านมา ตกหลุมสบาย รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ เพียงทำตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ทำเพราะความอยาก

 

รู้ดีว่า ถ้าทำเพราะความอยาก สภาวะจะหมุนวนอยู่แค่นั้น

ทำเพราะ เห็นทุกข์ ต้องการกำจัดทุกข์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ทำเพราะ ความอยากได้อะไร เป็นอะไร เรื่องนั้น เป็นเรื่องจิ๊บๆไปแล้ว รู้แล้วจบ ไม่ต้องทำเพราะความอยากได้อีกต่อไป

โสดา สกิทาคา อนาคามี

การทำงานทุกชนิด คือ การออกกำลังกาย

การทำสมาธิ คือ การทำให้จิต มีพลัง

สองสิ่งนี้ มีเกิดในทุกๆขณะของชีวิต ถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ก็ตาม แต่สามารถเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

สัมมาสมาธิ เป็นเหตุปัจจัย ของการแจ้งอริยสัจ ๔ และแจ้งนิพพาน

พระนิพพาน คือ การดับภพ

ภพชาติปัจจุบัน และภพชาติในวัฏฏสงสาร

สัมมาสมาธิ ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ แต่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการปรับอินทรีย์

ส่วนจะแจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ และนิพพานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุที่สร้างขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) และการทำความเพียรต่อเนื่อง

แจ้งอริยสัจ สามารถสร้างเหตุดับภพ ดับชาติ ให้เบาบาลง แต่ยังตัดไม่เด็ดขาด เพราะรู้เพียง เหตุและผล(สัจจานุโลมิกญาณ) รู้เรื่อง กิเลส แต่ยังไม่รู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท

แจ้งนิพพาน สามารถสร้างเหตุดับภพ ดับชาติ ได้อย่างเด็ดขาด เพราะ รู้ชัดในปฏิจจสมุปบาท เป็นเหตุให้รู้ว่า เมื่อผัสสะเกิด ทำไมต้องเกิดความรู้สึกยินดี ยินร้ายหรือเฉยๆ

เพราะเหตุนี้ จึงสามารถดับเหตุที่ตนเอง ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยอยู่

โสดาปัตติมรรค แจ้งอริยสัจ ๔ และสภาวะอุปทานขันธ์ ๕

โสดาปัตติผล แจ้งอริยสัจจ์ และนิพพาน

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส ถูกประหาน เป็นสมุเฉทประหาน ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป

สกิทาคามิมรรค สกาทคามิผล กามราคะและปฏิฆะเบาบางลง ไม่มีความพยาบาท

อนาคามีมิมรรค แจ้งอริสัจจฺ และนิพพาน ถือเพศพรหมจรรย์

อนาคามิผล แจ้งอริยสัจจ์ แจ้งนิพพาน กามราคะและปฏิฆราคะ ถูกประหาน เป็นสมุจเฉทประหาน สังโยชน์ทั้ง ๕ ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป

Previous Older Entries

กุมภาพันธ์ 2013
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728  

คลังเก็บ